อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ
    คือบุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าดีที่สุด ในหมู่ผู้ได้ฌาณ4จำพวก

    **********
    [๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
    ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
    ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

    ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
    ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”
    .....................
    สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…

    หมายเหตุ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงบุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก คือ
    ๑. ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    ๒. ผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
    ๓. ผู้ไม่ฉลาดทั้งในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และในการเข้าสมาธิ
    ๔. ผู้ฉลาดทั้งในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และในการเข้าสมาธิ
    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญบุคคลจำพวกที่ ๔ว่าดีที่สุด เหมือนยอดเนยใสดีกว่านมสด นมส้ม เนยข้น และเนยใส

    #ฌาน #สมาธิ #วิธีปฏิบัติ

    -aqnm2jtnjlmbzljo4hk0sxh_g3we8zv0_n0p7b0-dcqzmuwlqwjg51ky7uhdw-aikts-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=47df461b03ac29acde59778226d4356f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    มหากัมมวิภังคสูตร

    "เรื่องนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสในมหากัมมวิภังคสูตรว่า บุคคลผู้ตั้งใจปฏิบัติภาวนา ทรงฌานสี่ได้ ยังทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้น สามารถรู้เห็นนรกสวรรค์ แล้วกล่าวว่าบุคคลทำความดีไปสวรรค์โดยส่วนเดียว บุคคลทำความชั่วไปนรกโดยส่วนเดียว ตถาคตขอกล่าวว่าไม่ใช่

    ท่านบอกว่า บุคคลผู้ทำดีในอดีตทำชั่วในปัจจุบัน...ไม่แน่ว่าจะไปชั่ว ตัวอย่างคือมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ในอดีตเคยทำดีมาก่อน เคยสร้างพระพุทธรูป อานิสงส์มาส่งผลในชาติปัจจุบันที่ชั่วแสนชั่ว แต่มาทันในวินาทีสุดท้าย เพราะฉะนั้น

    ในอดีตทำดี...ในปัจจุบันทำชั่ว....ไม่แน่ว่าจะไปชั่ว
    ในอดีตทำชั่ว....ปัจจุบันทำชั่ว....ไปชั่วแน่นอน
    ในอดีตทำดี....ปัจจุบันทำดี......ไปดีแน่นอน
    ในอดีตทำชั่ว....ปัจจุบันทำดี......ไม่แน่นักว่าจะไปดี


    ตัวอย่างก็คือนางมัลลิกาเทวี ทำความดีมาตลอดชีวิต ก่อนตายจิตเศร้าหมองระลึกถึงกรรมเก่าของตนเอง จึงตกนรกเสีย ๗ วัน ท่านถึงได้บอกว่าเห็นนรกสวรรค์แล้วอย่าได้บอกว่าคนที่ทำดีแล้วไปสวรรค์ คนที่ทำชั่วแล้วไปนรก ไม่แน่
    อดีตดี......ปัจจุบันดี..........ถึงจะไปดี
    อดีตชั่ว.....ปัจจุบันชั่ว......ถึงจะไปชั่ว
    อดีตดี......ปัจจุบันชั่ว......ไม่แน่ว่าจะไปชั่ว
    อดีตชั่ว.......ปัจจุบันดี.....ไม่แน่ว่าจะไปดี


    เพราะว่าแล้วแต่วาระกรรมจะส่งผลเมื่อไหร่"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๒
    ที่มา : www.watthakhanun.com
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    [​IMG]
    ๙. ฌานสังยุต
    ว่าด้วยฌาน ๔
    [๑๓๐๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ฌาน ๔ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
    ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบลงไป มีปีติและสุข
    เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
    ตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี
    อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายฌาน ๔ เหล่านี้แล.
    [๑๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
    ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่
    นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๑๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างไร ย่อม
    เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจาก
    กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
    (พึงขยายความบาลีออกไปอย่างนี้ จนถึงความแสวงหา)
    [๑๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อัน
    เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์
    อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
    [๑๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด
    แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุ
    พึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อละความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน
    ๕ เหล่านี้แล
    (คังคาเปยยาล พึงขยายเนื้อความฌานสังยุต ตลอดถึงบาลีไปจนถึงความแสวง
    หา เหมือนมรรคสังยุต).
    จบ ฌานสังยุต
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974

    "ตั้งสติให้มันเป็นมหาสตินั่น เอาให้มันเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าลึกแท้ๆ แล้วมันก็หลับโลดแล้ว มันเข้าภวังจิต ต้องถอนออกมาแล้วถอนมันอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้มันอยู่ระหว่างกลาง ให้มันเข้าถึงก็ถอนออกมา มันจะมีความรู้ดอก เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่น อย่าไปลดละ ทำอยู่นั่นล่ะ ให้จิตอยู่ที่จิต ใจมันอยู่ใจเท่านั้น อันนี่มันบ่มีสติ ให้มีสติ สติให้มันเป็นมหาสติ มันทันๆ อยู่นั่นจึงค่อยสิเห็น สิเกิดดอก มันเกิดไปเองดอก อันนั่นมันเป็นอัตโนมัติ

    สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นเด๊ บ่เอียงเอนแล้ว คือหลักเขื่อนเขาปักไว้ได้ มีแล้ว ลมมาก็บ่เอนเอียง สมถะ แปลว่า สงบ แยกไปแล้วก็เป็นการบริกรรมนั่นแล้ว"

    พระธรรมเทศนาหลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง จ.อุดรธานี
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    _22_422.jpg


    หลวงปู่อ่อนท่านถามปัญหาหลวงปู่ตื้อว่า...
    “ท่านตื้อ ถ้าไม่รักษาศีล ไม่เจริญสมาธิไม่บำเพ็ญปัญญา จะไป นิพพานได้ไหม ตอบหน่อย”
    พระอย่างหลวงปู่ตื้อ ปฏิภาณไหวพริบท่านดีมาก ท่านจึงตอบหลวงปู่อ่อนว่า ... “มี ก็จะเป็นอะไรไป ถ้าไม่รักษาศีล ก็ให้รักษาผ้าถุง ไม่เจริญสมาธิ ก็ให้รักษา รูเข้า ไม่เจริญไม่บำเพ็ญปัญญา ก็ให้รักษา รูขี้ ...เท่านั้นแหละ”
    -หลวงปู่อ่อน ท่านก็ว่า “โอ...ท่านตื้อนี้พูดหยาบคาย”
    “ไม่หยาบหรอกหลวงพ่อ” ผมจะอธิบายให้ฟัง คืออย่างนี้...
    ๑. ก็ธรรมดา ร่างกายสังขารของเรานี้ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง ก็ตาม เครื่องนุ่งเครื่องห่มก็ต้องรักษาให้สะอาด สังขารร่างกายก็เปรียบเหมือนผ้าเหมือนผ้าถุง ต้องรักษาให้สะอาดอย่าให้มัวหมอง
    ๒. ไม่บำเพ็ญสมาธิ ให้รักษารูเข้า ก็อะไรเล่า กิเลสมันเข้าทางไหน มันเข้า รูตา รูหู รูจมูก รูปาก ลิ้น กาย และใจ ใช่ไหม? รูเข้าเหล่านี้เราต้องรักษาไว้ อย่าให้กิเลสมันเข้า มันจึงจะเกิดความสะอาดบริสุทธิ์ได้ จริงไหม
    ๓. ไม่บำเพ็ญปัญญา ให้รักษารูขี้ ก็ขี้ทุกขี้ ขี้ยาก ขี้ลำบาก ยากจนขี้คร้าน ขี้เกียจ ขี้คุก ขี้ตะราง ขี้อิจฉาริษยา ขี้โกรธ ขี้หึง ไล่มันออกไปให้หมด อย่าให้มันเข้ามารังควานซี เท่านี้ ทำได้มั้ย[/B]

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระอรหันต์ไม่ได้คิดว่าเรามี
    *************
    [๓๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว วันนี้ ผมเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”

    อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้วหรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
    ............
    อุเปกขาสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=268

    vefqjmblq5z1gpzqzjedgzoqpsaog1qlhd9llqbsiuni7pebmzxtdlgmot1_h50or2kk-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ***********
    ก็ท่านแสดงความที่ข้อปฏิบัติของพระเถระเหล่านั้น งามในเบื้องต้นด้วยศีล. และศีลชื่อว่างามในเบื้องต้น ด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า โก จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ สีลญฺจ สุวิสุทฺธํ (ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ศีลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว) บ้าง สีเล ปติฏฺฐาย (นระตั้งอยู่แล้วในศีล) บ้าง สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง) บ้าง เพราะความเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณธรรม มีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้น.

    ท่านแสดงความงามในท่ามกลางด้วยสม...

    ดูเพิ่มเติม
    LHq31YgzyNUo4cOnm1efcxAyJQGB8OXKg6Le2zxT4culYVAlDcXk5LDgzXFWUXYm5v7EJKkt&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=a5efc7102af2c60e3c3c62c1311ffa24.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา จักไม่มีความเคารพในสมาธิ

    ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า
    .................
    ข้อความบางตอนใน สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=67

    หมายเหตุ สักกัจจสูตร พระสูตรนี้มีเนื้อความโดยย่อว่า ท่านพระสารีบุตรเกิดความคิดว่า ภิกษุสักการะเคารพอาศัยอะไร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ท่านคิดได้ว่าภิกษุสักการะเคารพธรรม ๗ ประการ คือ (๑)พระศาสดา (๒) พระธรรม (๓) พระสงฆ์ (๔) สิกขา (๕) สมาธิ (๖) ความไม่ประมาท และ (๗) ปฏิสันถาร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
    หลังจากนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเล่าเรื่องที่ตนคิดให้ฟัง พระบรมศาสดาตรัสรับรองว่าท่านพระสารีบุตรคิดถูกแล้ว
    จากนั้นท่านพระสารีบุตร จึงได้อธิบายโดยพิสดารว่าธรรม ๗ ประการนั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน เช่น ความสัมพันธ์กันระหว่าง พระศาสดา กับ พระธรรม ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายโดยพิสดารไว้ ๓ นัย คือ
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย

    Hsz6uUoaBP_YwslIhwkYIypstQ92TOvP7TpfBMnT-C45h6Kx0dPR5EB4KWvsgtfUsqM3qyh3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    WF9aiDPCbJyxfHYkFjpt2kdA2K-Mc1xeqRl-And88Y46K_NdLbUg2wg0-VL5WMsowu18eFsy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๑. นิสสายวรรค - สัญญาสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน


    สัญญาสูตร


    [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

    พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวี

    ธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่

    พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็น

    วาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็น

    อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี

    ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน

    เนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน

    โลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์

    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่

    แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง
    มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น

    ผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่
    พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง

    เป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ
    ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา

    ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดย

    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน

    อาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์

    ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสาณัญ

    จายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็น

    วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะ

    เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลก

    หน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ

    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
    อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่

    ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ

    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมี

    ได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาต

    ุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง

    ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดย
    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ

    ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง

    ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่

    ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตาม

    แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาติ
    นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้น

    ตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การ

    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ

    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่

    แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
    พยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    temp_hash-15b77f9bae6331b2b0e3eb141ab755b5-png.png
    อนังคณสูตร

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    จะแสดงกรรมฐานที่พระสารีบุตรเถระ ได้สอนภิกษุทั้งหลายใน อณังคณสูตร นำสติปัฏฐาน ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย มีความว่า

    มีบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ ๔ จำพวก

    จำพวก ที่ ๑ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน ก็ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๒ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๓ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    จำพวก ที่ ๔ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่าจำพวกที่ ๑ ที่ ๒ นั้น จำพวกที่ ๑ คือผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น เลว ไม่ดี ๒ ส่วนจำพวกที่ ๒ คือผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น ประเสริฐ ดี อีกฝ่ายหนึ่ง จำพวกที่ ๓ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เลว ไม่ดี ส่วนจำพวกที่ ๔ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน รู้ว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ประเสริฐ ดี ดั่งนี้

    ข้อว่ากิเลสเพียงดังเนิน

    และท่านก็ได้อธิบายแก่ภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า ข้อว่ากิเลสเพียงดังเนินนั้นคืออะไร ท่านก็อธิบายว่า ได้แก่ อิจฉาวจร อันแปลว่าความหยั่งลงสู่ความปรารถนา ความท่องเที่ยวไปแห่งความปรารถนา พิจารณาดูคำนี้ ก็ตรงกับคำที่ใช้ในอภิธรรมถึงจิตที่เป็นกามาพจร หยั่งลงหรือท่องเที่ยวไปในกามเป็นต้น แต่ในที่นี้ท่านพระสารีบุตร ท่านใช้ว่า อิจฉาวจร แทน กามาพจร ก็คือท่องเที่ยวไปในความปรารถนา หยั่งลงสู่ความปรารถนา จึงหมายถึงความปรารถนาต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ อันเป็นฝ่ายอกุศล

    โดยที่ท่านพระสารีบุตรได้แสดงชี้เอาไว้ว่า ฝ่ายที่เป็นอกุศล เพราะความปรารถนาที่บังเกิดขึ้นในจิตใจนั้น ย่อมมีได้ทั้งสอง ฝ่ายกุศลก็มี ฝ่ายอกุศลก็มี ความปรารถนาที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งเป็นตัวกิเลสเพียงดังเนินนี้ จึงหมายจำเพาะที่เป็นอกุศล คือเป็นฝ่ายที่ไม่ดี เป็นฝ่ายที่ชั่ว และต่อจากนี้ท่านพระสารีบุตรก็ได้แสดงยกตัวอย่างต่างๆ เป็นอันมาก สำหรับอบรมสั่งสอนภิกษุทั้งหลาย กล่าวจำเพาะที่เป็นข้ออธิบายในบุคคล ๔ จำพวกนั้นก่อน ซึ่งมีใจความว่า

    จำพวก ที่ ๑ เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน ไม่รู้ว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนินนั้น ก็คือผู้ที่มีความปรารถนาเป็นอกุศลต่างๆ จิตท่องเที่ยวไปในความปรารถนาที่เป็นอกุศลต่างๆ คือคิดถึงเรื่องนั้นบ้าง ถึงเรื่องนี้บ้าง อันเป็นฝ่ายอกุศล คือไม่ถูกไม่ชอบ ไม่เหมาะไม่ควร ประกอบไปด้วยความโลภอยากได้บ้าง ความริษยากันบ้าง ความคิดเปรียบเทียบต่างๆ บ้าง จิตที่มีความปรารถนาดั่งนี้บังเกิดขึ้นตั้งอยู่ ย่อมเป็นจิตที่เปรียบเหมือนอย่างพื้นแผ่นดินที่มีเนินขึ้นมา จึงทำให้พื้นแผ่นดินนั้นไม่ราบเรียบสูงๆ ต่ำๆ พื้นแผ่นดินที่เป็นธรรมดาก็เรียบ แต่ก็มีเนินบังเกิดขึ้นมาที่โน่นที่นี่ ทำให้พื้นแผ่นดินไม่ราบเรียบ จิตที่มีความปรารถนาอันเป็นอกุศลบังเกิดขึ้นดั่งนี้ ก็เป็นจิตที่ไม่ราบเรียบ ไม่สม่ำเสมอไม่สงบ แต่เป็นจิตที่ขึ้นลงสูงๆ ต่ำๆ หรือถ้าจะเทียบกับพื้นน้ำในทะเล พื้นน้ำในทะเลที่ไม่มีคลื่นลมจัด ก็นับว่าเป็นพื้นน้ำที่เรียบพอสมควร แต่ที่มีลมจัดก็เป็นคลื่นขึ้นมา ก็ดูเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่ราบเรียบ และคลื่นที่บังเกิดขึ้นมานั้น ก็เป็นอันตรายแก่การที่จะเดินเรือแล่นเรือไปในท้องทะเล อาจถึงให้อับปางได้

    จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีความปรารถนาอันเป็นอกุศลครอบงำอยู่ ก็ย่อมจะเป็นจิตที่เป็นเนินขึ้นมา ทำให้จิตไม่ราบเรียบ ไม่สม่ำเสมอ ไม่สงบ และทั้งมิได้รู้ว่าจิตของตนมีเนินอันเป็นบาปเป็นอกุศล เป็นกิเลสดังที่กล่าวมานั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นจิตที่ไม่สงบ เป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์

    ความไม่รู้

    เพราะความที่ไม่รู้นั้นเองจึงทำให้ไม่เกิดฉันทะความพอใจ ไม่เกิดความพยายามเริ่มความเพียรที่จะชำระจิตใจของตน จึงเป็นผู้ที่มีราคะโทสะโมหะครอบงำ มีจิตเศร้าหมอง มีจิตเป็นเนิน หากจะทำกาละลงไปในขณะนั้น ก็เป็นผู้ที่มีจิตเศร้าหมองทำกาละไป อันมีทุคติเป็นที่หวังได้

    เพราะฉะนั้นบุคคลจำพวกนี้คือเป็นผู้ที่มีจิตมีเนิน มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็ไม่รู้ตัวว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน จึงเป็นจำพวกที่เลว ไม่ดี เปรียบเหมือนอย่างว่า บุคคลที่ไปซื้อถาดสำริดมาจากร้านตลาด อันเป็นถาดที่เป็นสนิมไม่สะอาด และก็มิได้ตรวจตราให้รู้ว่าเป็นถาดที่เป็นสนิมไม่สะอาด ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลรักษา ก็จะยิ่งไม่สะอาด ยิ่งเป็นสนิมมากขึ้น

    ส่วน จำพวกที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ที่มีกิเลสเพียงดังเนิน แต่มีความรู้ตัวว่าตนมีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความรู้ตัวนี้เองย่อมจะทำให้เกิดฉันทะความพอใจ เกิดความพยายามเริ่มความเพียร ที่จะปฏิบัติชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ทำให้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินต่อไป เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อระงับราคะ โทสะ โมหะ ทำจิตให้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ให้บริสุทธิ์ หากจะทำกาละไป ก็เป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ไม่เศร้าหมองทำกาละไป ย่อมมีสุคติเป็นที่หวังได้ ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้แม้จะยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ก็ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ดี

    จำพวก ที่ ๓ คือเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็ไม่รู้ว่าตนไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน บุคคลจำพวกนี้ก็หมายถึงคนที่มีจิตใจยังไม่ถูกอารมณ์ทั้งหลายมากระทบ มาเป็นเหตุให้บังเกิด อิจฉา คือความอยาก หรือโลภะราคะโทสะโมหะต่างๆ ขึ้น จิตใจจึงยังเป็นปรกติ แต่ก็มิได้กำหนดให้รู้จิตใจเช่นนี้ เมื่อเป็นดั่งนี้ เมื่อไปใส่ใจถึง ศุภนิมิต คือเครื่องกำหนดหมายว่างดงามเป็นต้น ก็ย่อมจะเกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ขึ้น จิตที่ปรกตินั้นก็จะกลายเป็นจิตที่ไม่ปรกติ เป็นจิตที่มีกิเลสกองราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ มี อิจฉา คือความปรารถนาต่างๆ ครอบงำ ก็จะกลายเป็นจิตที่มีกิเลสเพียงดังเนินไป จึงเป็นจิตที่เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลจำพวกนี้ก็ชื่อว่าเลวไม่ดีเช่นเดียวกัน

    ส่วนบุคคลจำพวกที่ ๔ คือที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็รู้ตัวว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ก็หมายถึงบุคคลที่มีจิตใจยังไม่ถูกอารมณ์มากระทบ นำให้บังเกิดกิเลสต่างๆ ขึ้นมา และมิได้เกิด อิจฉา คือความปรารถนาต่างๆ ขึ้นมา เป็นจิตที่สงบเป็นปรกติอยู่ และเมื่อมีความรู้ตัวว่าตนเองมีจิตดั่งนี้ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ไม่ใส่ใจถึงอารมณ์ ที่จะก่อให้บังเกิดกิเลสเพียงดังเนินขึ้น เช่นไม่ใส่ใจถึง สุภนิมิต ๕ เครื่องกำหนดหมายว่างดงามต่างๆ อันยั่วใจให้เกิดราคะโทสะโมหะ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นการปฏิบัติรักษาภาวะของจิต ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ดี ดั่งนี้

    สรุปโอวาทของท่านพระสารีบุตร

    โอวาทของท่านพระสารีบุตรนี้ย่อมใช้ได้สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป และก็นับว่าเป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง เป็นกรรมฐานที่ควรจะปฏิบัติได้เป็นประจำ เพราะว่าความอยู่ด้วยกันเป็นหมู่นั้น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อมจะต้องประสบกับความยิ่งบ้าง ความหย่อนบ้าง ในเครื่องแวดล้อมทั้งหลาย และทั้งจิตใจของทุกๆ คนที่ยังละกิเลสไม่ได้ ก็จะต้องมีอาสวะอนุสัยนอนจมหมักหมม หรือดองจิตสันดานอยู่ เมื่อได้ประสบกับอารมณ์ หรือประสบกับเวทนาต่างๆ ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ก็ย่อมจะนำให้เกิดความคิด ย่อมจะนำให้เกิดความปรารถนา ย่อมจะนำให้เกิดความยินดีบ้าง ความยินร้ายบ้าง ในอารมณ์ต่างๆ ที่ประจวบนั้น และโดยเฉพาะย่อมจะมีความปรารถนา และความปรารถนานั้นเมื่อมีตัณหาชักนำ มีราคะหรือโลภะโทสะโมหะชักนำ ก็ย่อมจะมีความปรารถนาไปในทางอกุศลต่า ๆ เช่น ต้องการ ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข และเมื่อไปคิดเปรียบเทียบถึงบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กันก็ตาม ที่อยู่ห่างกันก็ตาม ที่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม ไม่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม ว่าคนนั้นดี คนนี้ไม่ดี เราไม่ดี เขาดี หรือเขาไม่ดี เราดี เหล่านี้เป็นต้น ก็ก่อให้บังเกิดความโลภบ้าง ความริษยาบ้าง ต่างๆ เหล่านี้มาจาก อิจฉา คือความปรารถนาทั้งนั้น ความอยากทั้งนั้น ซึ่งเป็นอกุศล ซึ่งเป็นเนินขึ้นในจิต ทำจิตที่เคยเป็นปรกติสงบ ให้ไม่ปรกติ ไม่สงบ เหมือนอย่างแผ่นดินที่ถ้าไม่มีเนินก็เป็นดินที่ราบเรียบ แต่ที่มีเนินสูงต่ำตะปุ่มตะป่ำไป ก็ทำให้เป็นพื้นดินที่ไม่ราบไม่เรียบ หรือเหมือนอย่างน้ำทะเลที่ไม่มีลม ก็ไม่มีคลื่น เมื่อมีลมก็มีคลื่นขึ้นมา ตามอำนาจของลมที่น้อยหรือมาก ลมน้อยก็คลื่นเล็ก ลมใหญ่ก็คลื่นมาก นี่ล้วนแต่เป็นเนินทั้งนั้นที่บังเกิดขึ้นในจิต รวมความก็คือจิตที่มีราคะ หรือมี โลภะมีโทสะ มีโมหะนั้นเอง จึงเป็นจิตที่สงบไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้ว่า อิจฉา โลภะ สมาปันโน ผู้ที่ถึงพร้อมในอิจฉาความปรารถนา โลภะความโลภอยากได้ สมโณ ติงภวิสติ จักเป็นสมณะคือผู้สงบได้อย่างไร ดั่งนี้

    ข้อปฏิบัติที่สำคัญ

    เพราะ ฉะนั้น กรรมฐานที่สำคัญก็คือต้องคอยตรวจตราดูตนเอง ให้รู้จิตของตนเอง ว่าจิตของตนเองนั้นเป็นอย่างไร มีความปรารถนาอันเป็นตัวกิเลสเพียงดังเนินหรือไม่ หากพบว่าจิตมีความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นทางโลภะคือความโลภอยากได้มาเพื่อตนเองก็ดี จะเป็นทางริษยาตัดรอนความดีของผู้อื่นก็ดี หรือแม้เป็นในทางที่ทำจิตให้มีความยินดี กลัดกลุ้ม หรือทำจิตให้หงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคือง หรือทำให้ลุ่มหลงมัวเมาอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็ให้รู้ ว่าบัดนี้ตัวเองกำลังมีกิเลสเพียงดังเนิน หรือมีจิตที่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    เมื่อเป็นดั่งนี้ ก็ให้ตั้งฉันทะคือความพอใจ ตั้งความพยายามเริ่มความเพียร เพื่อละกิเลสเพียงดังเนิน คือความคิดปรารถนาไปต่างๆ ดังกล่าวนี้เสีย

    เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะเป็นการปฏิบัติทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ ไม่ให้มีกิเลสเพียงดังเนิน หากว่าจะทำกาละไป ก็จะไปดี หรือไม่ทำกาละยังดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ก็จะเป็นชีวิตที่ดี และจะเป็นสมณะคือผู้สงบได้ ทั้งบรรพชิต ทั้งคฤหัสถ์ เมื่อมีจิตสงบได้แล้ว กายวาจาก็สงบ ก็ได้ชื่อว่าผู้สงบเช่นเดียวกัน

    เพราะ ฉะนั้น ความที่มีสติคอยกำหนด พร้อมทั้งปัญญา คือความรอบรู้ในจิตใจ ตลอดจนถึงในกายวาจาของตนเองนั้นอยู่เสมอ จึงเป็นความดี

    แต่ถ้าหากว่าพบว่าจิตใจของตนสงบดี ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือไม่ได้คิดปรารถนาอะไร ด้วยอำนาจของโลภะก็ตาม ด้วยอำนาจของความริษยาก็ตาม หรือด้วย ราคะ โทสะ โมหะต่างๆ กำลังมีจิตสงบ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

    เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ปฏิบัติรักษาความเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ไว้ ด้วยการที่ไม่ใส่ใจใน สุภนิมิต เครื่องกำหนดหมายว่างามเป็นต้น คือไม่เอาอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของราคะโทสะโมหะเข้ามาใส่ไว้ในใจ ไม่เอาใจเข้าไปใส่ไว้ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะระงับความปรารถนาคืออิจฉาความปรารถนา อันเป็นฝ่ายอกุศลได้ และสามารถที่จะเพิ่มอิจฉาคือความปรารถนาอันเป็นฝ่ายกุศล คือในการที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางศีล ทางสมาธิ และทางปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    เพราะฉะนั้นความที่เมื่อมีจิตสงบเรียบร้อยไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และก็มาทำความรู้ตัวอยู่ และรักษาภาวะของจิตดังกล่าวนี้ไว้ เว้นจากการปฏิบัติกระทำใส่ใจไปในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อันจะนำกิเลสเข้ามาสู่จิตใจ แต่ปฏิบัติรักษาจิตของตนให้เป็นไปในทางของ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นฝ่ายสงบดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้รักษาภาวะของจิตที่เรียบร้อย ที่ดีนี้ไว้ได้นาน ไว้ได้มาก และเมื่อทำเพิ่มพูนอยู่เสมอแล้ว ก็จะยิ่งทำได้ดี และได้มาก ทำให้เป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนี้ได้ ดั่งนี้

    เพราะฉะนั้น คำสอนของท่านพระสารีบุตรที่สอนภิกษุทั้งหลายดั่งนี้ จึงเป็นการสอนกรรมฐานโดยตรง และเป็นกรรมฐานที่ควรจะทำอยู่ทุกเวลา ควรจะทำอยู่เสมอ และเป็นสิ่งที่กระทำได้

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ ท่านได้ฟังโอวาทของท่านพระสารีบุตร ท่านก็ได้เกิดปฏิภาณขึ้นมา คือได้เกิดความคิดเข้าใจ และก็ขอแสดง ท่านพระสารีบุตรก็อนุญาตให้ท่านแสดง ท่านจึงแสดงว่า วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาต ได้ไปพบกับปริพาชกผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นบุตรของนายช่างทำยานพาหนะ เช่นทำรถ ปริพาชกผู้นั้นกับท่านก็ได้เกิดไปพบกับช่างทำรถกำลังไสไม้ ตัดไม้ที่จะทำกงล้อ ปริพาชกซึ่งเคยเป็นบุตรของช่างทำยวดยานด้วยกัน ยืนดูอยู่ก็คิดขึ้นในใจว่า ควรจะต้องถากตรงนี้ ควรจะต้องไสตรงนั้น ควรจะต้องตัดตรงโน้น ฝ่ายช่างซึ่งกำลังทำอยู่นั้น ก็ไส ก็ตัด เหมือนดังที่ปริพาชกที่เคยเป็นช่าง คิดตรงกัน ปริพาชกนั้นก็กล่าวขึ้นว่า ช่างคนนี้ทำเหมือนอย่างรู้ใจของตัวเอง ใจของตัวเองคิดอย่างไรช่างก็ทำอย่างนั้น ทั้งนี้ก็เพราะเป็นช่างด้วยกัน ก็รู้ว่าควรจะไสตรงไหน ตัดตรงไหน เป็นต้น

    ฉันใดก็ดี ท่านพระสารีบุตรได้ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายครั้งนี้ ก็เหมือนอย่างท่านรู้ภาวะของประชุมชน เช่นภาวะของภิกษุทั้งหลาย หรือภาวะของประชุมชนทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะต้องมีอิจฉาคือความอยากความปรารถนาต่างๆ อันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น จึงสอนตรงกับเรื่องราวที่เป็นไป อันเป็นการอำนวยประโยชน์ในด้านที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้อง ดั่งนี้

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
    ******************
    อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวีปัสสีเสด็จไปแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว

    ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว

    ทรงทำลายอวิชชาด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาอรติด้วยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงยังวิตกและวิจารณ์ให้สงบด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญาและนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว

    ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ทรงละความเพิ่มพูนด้วยวยานุปัสสนา ทรงละความยั่งยืนด้วยวิปริณามานุปัสสนา

    ทรงละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละการยึดมั่นด้วยสุญญตานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่าเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ทรงละความยึดมั่นโดยความลุ่มหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ทรงละความยึดมั่นในธรรมเป็นที่อาลัยด้วยอาทีนวานุปัสสนา ทรงละการไม่พิจารณาสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นในการประกอบกิเลสด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา

    ทรงหักกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งหมดได้ด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาพรหมชาลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    หมายเหตุ : ในอรรถกถาพรหมชาลสูตรข้างต้นนั้น พระอรรถกถาจารย์ ได้จำแนกเป็นธรรมฝ่ายอุปจารฌาน ๗, สมาบัติ ๘, มหาวิปัสสนา ๑๘ และโลกุตตรธรรม ๔

    พึงเปรียบเทียบกับ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งในธรรมหมวดกัมมัฏฐาน ที่พระสารีบุตร ได้จำแนกธรรมไว้คือ ธรรมฝ่ายอุปจารฌาน ๗, สมาบัติ ๘, มหาวิปัสสนา ๑๘ และโลกุตตรธรรม ๘ ดังนี้

    ธรรมฝ่ายอุปจารฌาน ๗ ประการ คือ เนกขัมมะ อพยาบาท อาโลกสัญญา อวิกเขปะ ธัมมววัตถาน ญาณ ปามุชชะ

    สมาบัติ ๘ ประการ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
    อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

    มหาวิปัสสนา ๑๘ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา
    ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
    นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา
    ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
    ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา
    อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา
    สุญญตานุปัสสนา อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
    ยถาภูตญาณทัสสนะ อาทีนวานุปัสสนา
    ปฏิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา

    โลกุตตรธรรม ๘ ประการ คือ
    โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ
    สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ
    อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ
    อรหัตตมรรค อรหัตตผลสมาบัติ
    ....................
    สุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    ขุ.ป.(ไทย)๓๑/๑๘-๑๙/๒๖ มจร. http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=5
    ขุ.ป.(บาลี) ๓๑/๔๗-๔๙/๒๙-๓๐ สยามรัฐ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…

    ljljmjxwfyudxbcsy1itvxs4uxl1cfzczdfkqsymsgdhkpassocppkzwijy8vivcvqwx-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



    [​IMG]
    [๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมี
    อุปนิสัยถูกขจัด


    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
    ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมา-
    *สมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา
    วิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
    นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็น
    ธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของ
    ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็
    ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุ
    ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถา
    ภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ
    ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
    ภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
    ถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ
    ผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณ-
    *ทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึง
    พร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ
    ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เปรียบเหมือน
    ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้
    เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
    เป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิ
    สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
    นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
    เป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะ
    สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    จบสูตรที่ ๘
    ๙. นิสันติสูตร
    [๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
    ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโส
    สารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็วใน
    กุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้ว ย่อมไม่
    เลือนไป ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ท่านอานนท์แลเป็นพหูสูต ข้อความนั้น
    จงแจ่มแจ้งแก่ท่านอานนท์ทีเดียว ฯ
    อา. ดูกรอาวุโสสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก-
    *กล่าว ท่านพระสารีบุตรรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส ท่านพระ-
    *อานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดใน-
    *อรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้น
    และเบื้องปลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็วในกุศล-
    *ธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนไป ฯ
    สา. ดูกรอาวุโส น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ท่านอานนท์กล่าว
    ไว้ดีแล้วนี้ และพวกเราย่อมทรงจำท่านอานนท์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ว่า
    ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ
    และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๙
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    นวกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๔. มหาวรรค - นิพพานสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    นิพพานสูตร
    [๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
    ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย

    นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว

    ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น

    สุขได้อย่างไร ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูกรอาวุโส
    กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

    น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ

    กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย

    อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล

    ดูกรอาวุโสสุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข ฯ

    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุ
    นั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ

    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด

    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

    ฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน

    เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่
    ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

    เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญา

    มนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น

    เหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุข

    อย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ

    ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย

    ปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค

    ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย

    ปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือน

    ความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการ

    อันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร

    ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุอากาสานัญ
    จายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้

    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ

    ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคต

    ด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค

    ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย

    ปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหาร
    ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านข้อนั้นเป็นอาพาธ

    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด

    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ

    ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส

    นิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม
    ข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

    เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญา

    มนสิการอันสหรคตด้วยวิญญานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

    ฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน

    เป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วย
    วิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ

    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด

    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ

    ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส

    นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส

    นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๓
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    นิโรธสูตร ...ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ

    ...[๕๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

    ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกลจึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.

    แท้จริง ท่านพระสารีบุตร ถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้นานแล้ว ฉะนั้นท่านพระสารีบุตรจึงมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.
    จบ สูตรที่ ๙.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๖๗ ข้อที่ ๕๑๗.
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
    [๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
    [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
    บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา
    เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม
    ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น
    ดังต่อไปนี้ ฯ
    [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรม
    ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ
    ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย
    เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่
    พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ก็ธรรมในตติยฌาน
    คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
    เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
    สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
    และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา
    ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
    พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
    เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
    ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา
    อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเต-
    *กัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
    สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตร
    รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
    เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
    ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรม
    นั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรม
    เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
    ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญ-
    *จายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ก็ธรรม
    ในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
    เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
    มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
    ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
    ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
    กิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอัน
    กระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่ง
    ขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสา-
    *นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
    วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตน-
    *ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
    วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
    สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
    เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
    แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
    ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
    ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญ-
    *จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่
    มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน
    ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
    วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
    สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
    เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
    แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
    ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
    ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ-
    *ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็น
    ผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว
    แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว
    ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษ
    แล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
    ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่
    ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญา
    นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น
    ด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้น
    แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการ
    นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
    ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
    มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัด
    ออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
    [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น
    ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
    อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้
    ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
    อริยวิมุติ ฯ
    [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร
    เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
    อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร
    นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
    เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม
    ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ
    ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
    ทีเดียว ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระ
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล ฯ
    จบ อนุปทสูตร ที่ ๑
    -----------------------------------------------------

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๒๓๒๔ - ๒๔๔๔. หน้าที่ ๙๙ - ๑๐๓.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&pagebreak=0
    อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=11
    ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    g5wpirtavl_kqqmiouzf4iijekukj2edecxc693fkhip1gpgcaqxncxf8o-aom1a4mkg-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    0gA7f1J7eOFSB1XHFXQm12bUAwKPjEHdOrB5ZIMgSk62PkROA9zwlEcn1J7ZtZq5tSpgp9Zs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...