อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQkB27lYD11a593Sg5-oHjY7PaYz0nr3Xvfk964XQ3e5-aCcT_MTTRYvP8WmgZEQsHg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg



    ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
    ********
    [๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
    “ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

    ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

    ฌาน ๔ ประการนี้

    ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

    ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

    ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
    ……….
    ฌานาทิสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298

    #ฌาน #นิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=9ffadebdfb456c2b9ec04e2cd51fe904.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQkkeOQGhfq1brKTXlIxBHFZ9o77W_m-i8nH46SGSl1eoTLWNpsbsLUW91NkyC6-WXc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ท่านพระอาจารย์มั่นเทศนาธรรมให้ฟังว่า

    " ฟังให้ดีนะท่านเจี๊ยะ ปฏิภาคนิมิตนั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนาจึงจะบังเกิดขึ้นได้...

    อุคคหนิมิตนั้นเป็นของไม่ถาวร
    ต้องพิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็นปฏิภาคนิมิต

    เมื่อชำนาญทางปฏิภาค ทวนกระแสเข้ามาเป็นตน
    ปฏิภาคนั้น เป็นส่วนวิปัสสนา

    สำหรับอุปจารสมาธิ
    สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้
    แต่โมหะคลุมจิต

    ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว
    จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อน จิตจึงจะไม่หวั่นไหว

    การที่จะสอนการดำเนินสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้

    เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกไหวพริบของใคร
    เพราะการดำเนินจิต มีหลายแง่หลายมุมแล้วแต่ความสะดวก

    นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว...
    ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต...

    ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง หลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า

    การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม
    ถ้าทำได้อย่างนั้น
    อย่างบางทีเรานั่งภาวนาอยู่กลางป่าเขา มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง เสือนั้นเป็นเทพมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอาเราไปกินแล้ว"

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาพูดธรรมะให้ฟังเพียงสั้นๆ เท่านี้ ก็เกิดความกินใจเป็นอย่างยิ่ง นึกถึงธรรมะคำสอนและองค์ท่านเมื่อไหร่ น้ำตามันจะปริ่มไหลเพราะความถึงใจทุกที น้ำตานี้จึงเป็นน้ำตาที่มีคุณค่ามากนะ

    +++++
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท

    **************
    จิตหนึ่ง จิตหนึ่ง
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ผู้มากด้วยการตรึกธรรม
    *************
    ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา

    เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการตรึกตามธรรมนั้น

    ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
    ..................
    ข้อความบางตอนในปฐมธัมมวิหารีสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=73

    หมายเหตุ ภิกษุประเภทที่ ๔ มากด้วยการตรึกตรองพิจารณาธรรมตามที่ได้เล่าเรียนมา แต่ปล่อยวันคืนให้ล่วงเลยไป ไม่เจริญสมถกัมมัฏฐาน ไม่ถือว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม

    c_oc=AQmjzqI9nZc5S8RX9hn0ZAsvJGF7sFVDAMdssFpWXg17DVCfYHrqPI6AptQ033WROHc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=ce9c04c605fc849335c09a340a5ad999.jpg

    ?temp_hash=ce9c04c605fc849335c09a340a5ad999.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQlH1GKeRqV0l4-u-8HApT0Ce2ScAjd3zjeweigJb3aJwM5KhHlIttTuyDefUy4Nd80&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา


    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง
    **********
    [๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้

    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ

    ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ

    ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

    ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
    ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”
    ...........
    สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php…
    ดูเพิ่มใน อรรถกถาสมาธิสมาปัตติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=585

    #สมาธิ #ฌาน #ตั้งจิตมั่น
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระไตรปิฎกศึกษา

    ความไม่ประมาท
    *************
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
    [๒๑] ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
    ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
    คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
    คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว
    [๒๒] บัณฑิตทราบความต่างกัน
    ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
    แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
    ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย
    [๒๓] บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ
    มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
    ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ
    ………………
    สามาวตีวัตถุ อัปปมาทวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=11
    สามาวตีวัตถุ(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=328

    สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าวคือ สมาบัติ ๘ และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนามรรคและผล.
    (สมาบัติ ๘ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ ๔, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า อรูปสมาบัติ ๔.)

    บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทางกายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึงการบรรลุพระอรหัต.

    บาทพระคาถาว่า นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า
    “ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี.” (เช่นนี้) ชื่อว่าบากบั่นมั่น ชื่อว่าเป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน เรื่องพระนางสามาวดี อัปปมาทวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1

    c_oc=AQlzJ86PnrmBB_W9_9q_3jOIYTyaXdzPhsm8Rrn5WUFWqqn5Bq3xfVpRCtKFgDkt3XY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=d854e7640b148c075bb9940e7b192163.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=9a65047d4ad5e19de63eb45242ee895d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQmUC9f7jsQjusncDKvSvWp40-piQp-o7TmSu1qg9T-jzUuTVOfs1eMqsCPpe4D-o1o&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    **********
    [๙๘๖] กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโนติ กาเลนาติ
    อุทฺธเต จิตฺเต สมถสฺส กาโล สมาหิเต จิตฺเต วิปสฺสนาย กาโล ฯ
    http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php…

    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    .............
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทสมหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ (ฉบับมหาจุฬาฯ)
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16

    บทว่า อุทฺธเต จิตฺเต เมื่อจิตฟุ้งซ่าน คือ เมื่อจิตไม่สงบด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์.

    จริงอยู่ ความเพียรมีกำลัง สมาธิอ่อน ย่อมครอบงำความฟุ้งซ่าน เพราะความเพียรเป็นฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านอย่างนี้.

    บทว่า สมถสฺส กาโล คือ เป็นกาลแห่งความเจริญสมาธิ.

    บทว่า สมาหิเต จิตฺเต คือ เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา.

    จริงอยู่ สมาธิมีกำลัง ความเพียรอ่อน ย่อมครอบงำความเกียจคร้าน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน. สมาธิอันวิริยะผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความเกียจคร้าน. วิริยะอันสมาธิผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ทั้งสองอย่างนั้นพึงทำให้เสมอกัน. เพราะความที่ธรรมทั้งสองเสมอกัน จึงเป็นอัปปนา.

    บทว่า วิปสฺสนาย กาโล เป็นกาลแห่งวิปัสสนา คือ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ เป็นกาลแห่งวิปัสสนาหลายอย่างด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น. ศรัทธาแม้มีกำลังก็ควรแก่ผู้ประกอบสมาธิ. เมื่อเชื่อคือเชื่อมั่นอย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนา. ศรัทธามีกำลังในสมาธิและปัญญา ย่อมควร เพราะผู้ประกอบสมาธิมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

    จริงอยู่ ผู้นั้นย่อมถึงอัปปนาด้วยอาการอย่างนี้. ปัญญามีกำลังย่อมควรแก่ผู้ประกอบวิปัสสนา. เพราะผู้นั้นย่อมบรรลุการแทงตลอดลักษณะด้วยประการฉะนี้. แม้เมื่อทั้งสองอย่างเสมอกัน ก็เป็นอัปปนาแท้.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQlIjVrphXCRVc4XHZhb6lph4UaKmcgtIjzVUJtnOAvaW8AVQf6NjA_09UnDE11Vvhw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg






    อุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    *****************
    [๑๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่น โปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม อยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
    ...........
    ข้อความบางตอนในมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3

    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญวิบาก ที่แม้พระพุทธญาณก็กำหนดไม่ได้ของการบูชาที่บุคคลถือเพียงดอกฝ้ายดอกเดียว ระลึกถึงพระพุทธคุณบูชาแล้วไว้ในที่อื่น ในที่นี้กลับทรงคัดค้านการบูชาใหญ่อย่างนี้.
    ตอบว่า เพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะให้พระศาสนาดำรงยั่งยืนอย่างหนึ่ง.
    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงคัดค้านอย่างนั้นไซร้ ต่อไปในอนาคต พุทธบริษัทก็ไม่ต้องบำเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึง จักไม่ให้สมาธิบริบูรณ์ในฐานะที่สมาธิมาถึง ไม่ให้ถือห้องคือวิปัสสนาในฐานะที่วิปัสสนามาถึง ชักชวนแล้วชักชวนอีกซึ่งอุปัฏฐากกระทำการบูชาอย่างเดียวอยู่.
    จริงอยู่ ชื่อว่าอามิสบูชานั้นไม่สามารถจะดำรงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่มข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง. จริงอยู่ วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์เช่นมหาเจดีย์ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้. บุญผู้ใดทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว ส่วนสัมมาปฏิบัติ ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต. เป็นความจริง ปฏิบัติบูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้ว สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิบัติบูชานั้น จึงตรัสว่า โย โข อานนฺท เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทา อันเป็นธรรมสมควร. ก็ปฏิปทานั่นแล ท่านเรียกว่า สามีจิ ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควร กล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติ การสมาทานธุดงค์ สัมมาปฏิปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา.
    เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม. ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตนทั้งหมดที่ขีดขั่น เขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย ภิกษุนี้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
    แม้ในภิกษุณีก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม บูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
    แม้ในอุบาสิกาก็นัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า ปรมาย ปูชาย แปลว่า ด้วยบูชาสูงสุด.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า แท้จริง ชื่อว่านิรามิสบูชา นี้สามารถดำรงพระศาสนาของเราไว้ได้. จริงอยู่ บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้เพียงใด ศาสนาของเราก็จะรุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญลอยเด่นกลางท้องฟ้าฉะนั้น.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4#ยมกสาลา%E
    #อุบาสก #ปฏิบัติธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    อุฏฐานสูตร พระสูตรนี้มีเนื้อหาโดยย่อว่า พระผู้มีพระภาคทรงสอนปลุกใจให้ลุกขึ้นบำเพ็ญเพียร เจริญกัมมัฏฐานเพื่อบรรลุสันติธรรม อย่าปล่อยให้โอกาสหรือเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ คำว่า “สันติธรรม” หมายถึงธรรมคือความสงบ มี ๓ ประการ คือ (๑) อัจจันตสันติ(ความสงบอย่างสิ้นเชิง) (๒) ตทังคสันติ (ความสงบด้วยองค์นั้น ๆ) (๓) สัมมุติสันติ(ความสงบโดยสมมุติ) แต่ในสูตรนี้หมายถึงอัจจันตสันติ กล่าวคือนิพพาน
    ………….
    ดูรายละเอียดใน อุฏฐานสูตร ว่าด้วยการลุกขึ้นนั่งสมาธิ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=249
    และดูเพิ่มในอรรถกถาอุฏฐานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=327

    c_oc=AQmXsVvayEfL1py_kHHLikeq9lNNhMXFpt7AKox4Rsfi3uZSuNDwF1feM7b5lZPdKeM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    M5WjMw&_nc_ohc=P0jUevhnOdgAQkN0cuLO7aAfs_Y1-LuEi17Oy_jv4vzPKcIL3wNDnrA9A&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    " บางคนให้ทานได้อย่างเดียว แต่เป็นทานขั้นสูง ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ ให้ด้วยจิตว่างโดยไม่หวังอะไรตอบแทน บางคนเจริญสติภาวนา ได้ในขั้นต้น ทำทานไม่เป็น รักษาศีลได้บ้างไม่ได้บ้าง

    คนมีหลายจำพวก หลายจริต เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่เรารู้ว่าเราเป็นเรา

    เราเป็นเราในที่นี้ คือ เราอยากมีความสงบสุข ความสงบสุข สบายใจ ก็ไม่ได้เกิดที่ไหนได้เลย นอกจากที่ใจ จะทำให้ใจมันเย็นได้ ก็ต้องรู้จักปล่อยวาง ละ รู้จักให้อภัยกัน

    อย่างเช่น เมื่อถูกยุงกัด แทนที่จะตบมัน เพราะโกรธที่มาทำให้เราเจ็บ คนที่ให้ทานเป็นก็น้อมนำว่า ยุงมันหิว ให้มันกินเลือดนิดเดียว ยอมทนเจ็บ อภัยให้มัน คือรู้จักให้อภัยทานแบบคนทำทานเป็น คนที่รักษาศีลเป็น เค้าก็จะรู้ว่า ถ้าตบมันเป็นปาณาติปาต เค้าก็จะไม่ทำ คนที่เจริญสติเป็น อาจจะให้อภัยได้โดยการน้อมนำว่า เรามีจิตที่เจริญแล้ว ย่อมมีความยับยั้ง มีความเมตตาต่อสัตว์ที่ไม่มีโอกาสได้เจริญสติ อภัยทานให้ เหล่านี้เป็นการชำระความโกรธ ด้วยธรรมข้ออภัยทาน

    เมื่อเห็นคนที่ให้ทานไม่เป็น เช่น วิทยาทาน ไม่ยอมสอนการบ้านเพื่อน ทั้งๆที่ไม่ได้เสียอะไรเลย คนที่ทำทานเป็นก็ควรมีอภัยทาน ให้อภัยเค้า เพราะถ้าเค้ารู้จักให้ทาน เค้าคงไม่ทำแบบนี้ เราก็สอนซะเองเลย

    เมื่อคนที่ทำทานเป็น พูดเรื่องศีล แต่พูดถูกๆผิดๆ เพราะเขาเพิ่งจะหัดรักษาศีล คนที่รักษาเป็นแล้ว ย่อมมีความเมตตาว่า เราจะไม่โต้ตอบด้วยคำพูดที่ส่อเสียด เพราะเราเป็นผู้ที่รักษาศีลเป็นแล้ว ย่อมให้อภัยแก่ผู้ที่รักษาศีลไม่เป็น จะช่วยเมตตา แนะนำตามภูมิของเรา

    คนที่เจริญสติเป็นแล้ว เห็นความไม่พอใจเกิดได้แล้ว สามารถระงับความไม่พอใจที่เกิดขึ้น หากมีผู้ใดแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ ให้ความไม่พอใจเกิดขึ้น เราจะระงับใจว่า เพราะเขาไม่มีสติ เจริญสติไม่เป็น ไม่สามารถยับยั้งการพูด การแสดงออก ไม่สามารถดูแลจิตใจตัวเองได้ เราย่อมให้อภัยทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติได้น้อยกว่าด้วยความเมตตา ผู้มีสติปัญญามากกว่า ย่อมหาความสงบสุขให้แก่ใจ ด้วยอภัยทาน

    ดังนั้นผู้ที่มีปัญญาแล้ว ย่อมอย่าให้ความโกรธ อย่าให้กิเลสควบคุมจิตใจ หากมีการพลั้งเผลอ เราก็ให้อภัยตัวเอง ยกโทษให้ตัวเอง เอาความผิดครั้งนี้ไปปรับปรุง ด้วยว่ากำลังสติยังน้อย ไม่ต่อเนื่อง รู้จักดูแลไม่ให้จิตเจือด้วยความทุกข์ ด้วยกิเลส โดยอภัยทาน

    _________________________

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    c_oc=AQkPNgyabeAJ9K97w5QqD2WWLPgYf20cQlquKLa82rST_btoj4a1HAhUrGoLcw5Jwdk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=301c117bfa6b700d1f4e12800c767fb5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQkx8MaTZiqQBwt8-CIGtCrb7Wqb1HkccsJMTS1dzL6vKCIzenCMKchUFBgqdM2bokU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    " หลวงพ่อฤๅษีฯ เคยปรารภว่า รูปครูบาอาจารย์นั้น ควรจะเป็นรูปที่ดูดีที่สุด เพื่อที่ศิษย์จะได้จับเป็นอนุสติ ไม่ใช่รูปอีเหละเขละขละอะไรก็ได้"

    คัดลอกข้อความมาจาก
    กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > เรื่องธรรมะ และการปฏิบัติ > เล่าสู่กันฟัง ภาค ๑

    ถ่ายภาพจากวัดท่าขนุน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    c_oc=AQmvNdASS0Zd14PuUaxEL8WrxWn-u0TUFBx3Aibds-GAbgwpqDkfLe2RxZQhMqwIlnc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    [๒๗๓] บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
    บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด
    บรรดาธรรม วิราคธรรมประเสริฐที่สุด
    บรรดาสัตว์สองเท้า ตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด
    [๒๗๔] ทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ
    คือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น
    เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แล
    เพราะทางนี้เป็นทางลวงมารให้หลง
    [๒๗๕] ด้วยว่า เธอทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว
    จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    เรารู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลสแล้ว
    จึงชี้บอกทางนี้แก่เธอทั้งหลาย
    [๒๗๖] เธอทั้งหลายควรทำความเพียรเองเถิด
    ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น
    ผู้บำเพ็ญภาวนา ดำเนินตามทางนี้แล้ว เพ่งพินิจอยู่
    จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้
    ..............
    ข้อความบางตอนใน ปัญจสตภิกขุวัตถุ มัคควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=29

    ดูเพิ่มใน เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป มัคควรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=4250ae6880b7e5cc134d4221d96b5740.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    นอนดุจราชสีห์
    *************
    ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา
    ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล
    .................
    ข้อความบางตอนใน อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37

    ดูเพิ่มใน อรรถกถาอปริหานิสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=37

    หมายเหตุ อปริหานิยสูตร พระสูตรนี้ แสดงถึงธรรมที่เป็นเหตุให้ภิกษุไม่อาจเสื่อมและอยู่ใกล้นิพพาน มี ๔ ประการ คือ (๑) สมบูรณ์ด้วยศีล (๒) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๓) รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ คำว่า ไม่อาจเสื่อม คัมภีร์ชั้นฏีกา อธิบายว่า ไม่อาจเสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา หรือมรรคและผล กล่าวคือไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนาที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๗/๓๖๗)

    c_oc=AQlhHluH3uYXbwwNEJ86PZ2CCJ-F9zIkbCnVDNTEMLqmA3bMIg7aC8caAl-drqbFtFw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    “ธาตุมนุษย์ เป็นธาตุตายตัว”
    ..ไม่เป็นเหมือนนาคเทวดาทั้งหลาย
    ที่เปลี่ยนเป็นอื่นได้ มนุษย์ มีนิสัยภาวนา
    ให้สำเร็จได้ง่ายกว่าภพอื่น

    อคคํ ฐานํ มนุสเสสุ มคคํ สตต วิสุทธิยา
    มนุษย์มีปัญญาเฉียบแหลมคม คอยประดิษฐ์
    กุศล อกุศล สำเร็จอกุศล มหาอเวจีเป็นที่สุด
    ฝ่ายกุศล มีพระนิพพานให้สำเร็จได้ ภพอื่นไม่เลิศเหมือนมนุษย์

    เพราะมีธาตุที่บกพร่อง ไม่เฉียบขาดเหมือนมนุษย์
    ไม่มีปัญญากว้างขวางพิสดารเหมือนมนุษย์ มนุษย์ธาตุพอหยุดทุกอย่าง สวรรค์ไม่พอ อบายภูมิธาตุไม่พอ
    มนุษย์มีทุกข์ สมุทัย..ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดี..กุศล มรรคแปด นิโรธ รวมเป็น ๔ อย่าง มนุษย์จึงทำอะไรสำเร็จ
    ดังนี้ ไม่อาภัพเหมือนภพอื่น .

    โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์
    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    c_oc=AQk9apH44QOYD_09CiBYy-caKOYjvl_f1rECjoAPaL12S5G61nj4CM9GmHjE9A4wtKo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ************************************************************************

     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...