อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQl2Qx8WSyiUjQbQUjx207PNpXRhXgaBBJGun2StNPlF1jLOJ3_cqGyfTEg3eSAqGBI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา

    อุบายกำจัดอกุศลวิตก
    ********************
    [๒๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

    อุบายกำจัดอกุศลวิตก

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการนี้ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ...ฯลฯ...
    ................
    ข้อความบางตอนใน วิตักกสัณฐานสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=20
    *****************^
    อุบายกำจัดอกุศลวิตก คือ นิมิต ๕ ประการ
    ๑. เมื่อมนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกฝ่ายอกุศล (ฉันทะ โทสะ โมหะ)เกิดขึ้น ให้เปลี่ยนไปมนสิการนิมิตฝ่ายกุศล ก็จะละวิตกฝ่ายอกุศลได้
    ๒. ถ้าวิตกฝ่ายอกุศลยังเกิดขึ้นได้อีก ให้พิจารณาถึงโทษของวิตกเหล่านั้น ก็จะละวิตกเหล่านั้นได้
    ๓. ถ้าวิตกฝ่ายอกุศลยังเกิดขึ้นได้อีก ให้เลิกใส่ใจ เลิกมนสิการถึงวิตกเหล่านั้น ก็จะละวิตกเหล่านั้นได้
    ๔. ถ้าวิตกฝ่ายอกุศลยังเกิดขึ้นได้อีก ให้มนสิการถึงฐานหรือที่ตั้งอันมั่นคงแห่งเหตุเกิดของวิตกเหล่านั้น (วิตักกสังขารสัณฐาน) ก็จะละวิตกเหล่านั้นได้
    ๕. ถ้าวิตกฝ่ายอกุศลยังเกิดขึ้นได้อีก ให้ใช้ฟันกดฟัน ใช้ลิ้นกดเพดานให้แน่น ใช้จิตข่มขี่บีบคั้นจิต ทำให้จิตเร่าร้อน ก็จะละวิตกเหล่านั้นได้
    .................
    สรุปความจาก วิตักกสัณฐานสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=20

    อธิจิต หมายถึงจิตมีสมาบัติ ๘ อันเป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา เป็นจิตที่ยิ่งกว่าจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ม.มู.อ.(บาลี) ๑/๒๑๖/๔๑๕ มหาจุฬาฯ

    มนสิการถึงนิมิต หมายถึงอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๒๑๖/๔๑๕ มหาจุฬาฯ
    และดูรายละเอียดในอรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตรhttp://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=256
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQmoPfY7G5OHL48Lu4u3OjQEg7WjZSCHpqzPiaOR5IOCvDZaefhXfyPKoKH2gfsQr4Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    บรรลุธรรมโดยไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า

    ถาม :
    แต่ก่อนผมสงสัยครับว่าพระสารีบุตร ท่านฟังธรรมจากพระอัสชิเถระแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน โดยที่ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าเลยได้อย่างไร ?

    ธรรมที่พระอัสชิเถระ ท่านสอนว่า "ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตกล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้"

    หลังจากฟังจบแล้ว พระสารีบุตรเป็นบรรลุเป็นพระโสดาบันทันที แล้วท่านก็เอาไปบอกพระโมคคัลลานะ ท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันทันที

    ผมสงสัยมาหลายเดือนมาก ผมเลยพิจารณาเลยสรุปได้ว่า ทุกอย่างในโลกนี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน และทุกอย่างในโลกนี้ ก็มีสภาพเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย และในที่สุดก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง

    เลยไปตรงกับคำสั่งสอนของพระที่ว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เลยอยากทราบว่า ท่านพิจารณาประมาณนี้เปล่าครับเลยได้เป็นพระโสดาบัน ?

    ตอบ : ไม่ได้ถามท่านเสียด้วย ต้องบอกว่าคนถามฟุ้งซ่านได้ดีมาก ความจริงต้องแยกเป็นสองประเด็น ประเด็นแรกก็คือไม่ได้พบพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุมรรคผลได้อย่างไร ?

    ไม่มีกติกาข้อไหนที่ต้องพบพระพุทธเจ้าแล้วถึงบรรลุมรรคผล เพราะว่าหลักธรรมของพระองค์ท่านเป็นสากล เป็นอกาลิโก ผู้ใดที่เข้าใจ มั่นใจว่าตนเองทำได้ ตัดสินใจทำทันที

    บุคคลนั้นย่อมได้มรรคผลไปตามวาสนาบารมีของตน


    ส่วนประเด็นที่สองก็ที่ว่าไปแล้ว ในเมื่อท่านฟังเข้าใจ มั่นใจว่าตนเองทำได้ ตัดสินใจว่าจะทำ ท่านก็ย่อมได้รับมรรคผลของท่านไป
    ............................................
    ๖๐ ปี พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙
    ที่มา : www.watthakhanun.com
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    จิตที่นิ่งเป็นสมาธิแล้วเกิด "วิชชา"

    วิชชา นั้น เป็น "มรรค" สิ่งที่ให้เรารู้ต่างๆที่ผ่านไปผ่านมาเป็น "ทุกข์"

    จิตเราอย่าเข้าไปยึดเอา "วิชชา" อย่าเข้าไปยึดเอา "อารมณ์" ที่มาแสดงให้เรารู้

    ปล่อยวาง ไปตามสภาพ ทำจิตให้สบายๆ ไม่ยึดจิต ไม่สมมุติจิตของตนเองว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    ถ้ายัง "สมมุติตนเอง" อยู่ตราบใด ก็เป็น "อวิชชา" อยู่ตราบนั้น

    เมื่อรู้ได้โดย "อาการ" อย่างนี้ก็จะกลายเป็น "โลกุตระ" ขึ้นในตน

    จะเป็นบุญกุศลอย่างประเสริฐสูงสุด ในฐานะที่เป็นมนุษย์พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า

    ถ้าจะสรุปให้สั้นเข้าแล้ว หลักในการปฏิบัติก็มีดังนี้ คือ

    ๑. กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด

    ๒. ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี

    ๓. อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ใน "จุดอันเดียว" ที่เรียกว่า "เอกัคคตารมณ์"

    ๔. พิจารณา "อารมณ์หนึ่ง" นั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตาไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล "ว่างเปล่า"

    ๕. วาง "อารมณ์" ที่ดีและอารมณ์ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์ เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพ "เสมอกัน"

    วางจิต ไว้ตามสภาพของจิต

    รู้ ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้น

    ไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแล คือ "สันติธรรม"

    ดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้

    คือ รู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั่นแหละ

    คือ ธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือน "น้ำที่อยู่ในใบบัว"

    ฉะนั้นจึงเรียกว่า "อสังขตธาตุ" เป็น ธาตุแท้

    เมื่อใครทำได้เช่นนี้ ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นใน ใจแห่งตน

    จะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทาง สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

    จะได้ผล ๒ ประการดังกล่าวมา คือ "โลกิยผล"

    ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่านและคนอื่นๆทั่วไป ในสากลโลกนี้ "ประการหนึ่ง"

    "ประการที่ ๒" จะได้ "โลกุตรผล"

    อันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่านมีความสุขความเยือก เย็นและความราบรื่นชื่นบาน

    ก็จะถึง "พระนิพพาน" เป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ..

    ท่านพ่อลี ธัมมธโร

    c_oc=AQmXb2q9mJk0npxhT-P97-bBhNSKOhZoEHQes-zoxIvotP0xMhaF-semNIShsgflPJg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง
    **********
    [๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้

    บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ

    ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ

    ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ

    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

    ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
    ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”
    ...........
    สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php…
    ดูเพิ่มใน อรรถกถาสมาธิสมาปัตติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=585

    #สมาธิ #ฌาน #ตั้งจิตมั่น

    c_oc=AQkgsP4GtLyfymG3fCv2muMyDDiBP-Ln7o0LQmyWidORPbISGYJXf_soB8XNLLrTxms&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2019
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    49766542_1884052005051279_2677969936495673344_n-jpg-_nc_cat-102-_nc_ht-scontent-fbkk5-6-jpg-jpg.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=2f3cc0579ffc8b7c603721b339b0e7c1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    37823157_1981021541917617_5473243487203753984_n-jpg.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    พระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง)
    *************
    อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใดย่อมทำลายพระเจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรย่อมมีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรม ย่อมเกิดแก่เขา. ก็แลบุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้น ย่อมถ่ายวัจจะ(อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อันทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือนโพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้.
    ..........
    ข้อความบางตอนอรรถกถาวิภังคปกรณ์ ญาณวิภังค์ ทสกนิทเทส อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคตhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=835&p=2

    ดูเพิ่มใน ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ) ทสกนิทเทส ญาณวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=64

    #พระรูปปฏิมากร

    c_oc=AQnX-t6H-EDYOGpwuU94eHjxtAAi-fMZDWg_RjBrHEncnYks80T2A6i7raZcibe_gWY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=93
    ดูเพิ่มใน สุธาปิณฑิยเถราปทาน สุธาวรรค ขุททกนิกาย อปทาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=93
    #พระปฏิมา #ปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา)
    c_oc=AQkGhFtPkFJzMvAU6oiUbSpePIXjoOV_pMdvbGm1HKLQYGJCR5-6xz2YUpMF-isKJ3s&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    พระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง)
    *************
    อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใดย่อมทำลายพระเจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรย่อมมีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรม ย่อมเกิดแก่เขา. ก็แลบุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูปปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้น ย่อมถ่ายวัจจะ(อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อันทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือนโพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้.
    ..........
    ข้อความบางตอนอรรถกถาวิภังคปกรณ์ ญาณวิภังค์ ทสกนิทเทส อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคตhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=835&p=2

    ดูเพิ่มใน ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ) ทสกนิทเทส ญาณวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=64

    #พระรูปปฏิมากร

    c_oc=AQnX-t6H-EDYOGpwuU94eHjxtAAi-fMZDWg_RjBrHEncnYks80T2A6i7raZcibe_gWY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    หลักการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนจากต่ำไปหาสูง
    ********************
    คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคในบุพพาราม ว่า ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาก็ดี พราหมณ์ก็ดี นักรบก็ดี แม้คณกโมคคัลลานพราหมณ์เองก็ดี ต่างก็มีการศึกษาตามลำดับ มีการกระทำตามลำดับ มีการปฏิบัติตามลำดับ,

    คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้บ้างไหม, พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ว่า ทรงสามารถบัญญัติการศึกษาตามลำดับได้ คือ

    ลำดับที่ ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
    ลำดับที่ ๒ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    ลำดับที่ ๓ เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
    ลำดับที่ ๔ เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
    ลำดับที่ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    ลำดับที่ ๖ เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕
    ลำดับที่ ๗ เป็นผู้เข้าฌานที่ ๑ (ปฐมฌาน) ฌานที่ ๒ (ทุติยฌาน) ฌานที่ ๓ (ตติยฌาน) ฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน)
    พระผู้มีพระภาคทรงสรุปว่า ลำดับการปฏิบัติเหล่านี้ ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ถ้าผู้เป็นพระอรหันต์ปฏิบัติตามลำดับเหล่านี้ ก็เพื่ออยู่เป็นสุข (มิใช่เพื่อกำจัดกิเลสอย่างปุถุชน)
    ................
    ดูรายละเอียดใน คณกโมคคัลลานสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ฯ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=7
    พระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=14&A=1602
    อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=93

    #ปฏิบัติธรรม

    c_oc=AQlJJ0oyEt80fYVlDTDlZdJfTZ9g_tBAC9uNY-Oh3z4bhG6h_c8a9Cq6IkyXpcCUwaQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    คำว่า มีสติ อธิบายว่า
    มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรง ข้ามกับสติ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    c_oc=AQnofNAdfm_5g8Jrm-a-Swl0VybjfP3UhWcQyEcqRAsd_0ND0aC6UrM8VLBYEx_BQM8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ใช้สติฝึกจิต
    ***********
    (พระวิชิตเสนเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

    [๓๕๕] เราจะคล้องจิตของเจ้าไว้
    เหมือนควาญช้างกักช้างไว้ที่ประตูเมือง
    เราจะไม่ชักนำเจ้าซึ่งเป็นข่ายแห่งกามเกิดในร่างกายให้เป็นไปในกรรมชั่ว

    [๓๕๖] เจ้าถูกเราคล้องไว้จะไปไม่ได้
    เหมือนช้างไม่ได้ช่องประตู หมดทางไป แน่ะจิตผู้ชั่วช้า ก็เจ้าผู้ดื้อด้าน
    จะพอใจในกรรมชั่ว เที่ยวไปเสมอๆ มิได้

    [๓๕๗] ควาญช้างผู้มีกำลังเข้มแข็ง
    ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ทั้งไม่ต้องการ(จะให้ฝึก)ด้วย ให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันใด เราจะบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันนั้น

    [๓๕๘] สารถีมือหนึ่ง เก่งในการฝึกม้าให้ดี
    ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด
    เราตั้งอยู่ในพละ ๕ จะฝึกเจ้าให้ได้ ฉันนั้น

    [๓๕๙] จักใช้สติผูกเจ้าไว้ จะคอยเอาใจใส่ฝึกเจ้า เจ้าจิตเอ๋ย เจ้าถูกบังคับให้ทำธุระด้วยความเพียรแล้ว จะไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ไม่ได้
    .........
    วิชิตเสนเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=343

    ดูเพิ่มใน อรรถกถาวิชิตเสนคาถา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=343

    c_oc=AQl9iF4-RQGS87vT9jN7Q-ucLXL6jcBhGkQutnGkmCK1l6WJCcPmjmVlbT4ETfc4lno&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    สิกขา ๓ อย่าง
    ********
    ติสฺโส สิกฺขา อธิสีลสิกฺขา อธิจิตฺตสิกฺขา อธิปญฺญาสิกฺขา ฯ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=11&A=4742

    สิกขา ๓ อย่าง
    ๑. อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง]
    ๒. อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง]
    ๓. อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯ
    ……….
    ข้อความบางตอนใน สังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=4501

    พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป.

    ศีลอันยิ่งนั้นด้วย ชื่อว่าสิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอธิสีลสิกขา. แม้ในสิกขาทั้ง ๒ นอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอธิสีลสิกขาเป็นต้นนั้น ศีลคือศีลอันยิ่ง จิตคือจิตอันยิ่ง ปัญญาก็คือปัญญาอันยิ่ง เพราะเหตุนั้น พึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้.

    ศีล ๕ และศีล ๑๐ ชื่อว่าศีล. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่าศีลอันยิ่ง.

    สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต (สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนาจัดเป็นจิตอันยิ่ง.

    กัมมัสสกตาญาณจัดเป็นปัญญา. วิปัสสนาจัดเป็นปัญญาอันยิ่ง.

    เพราะว่า ศีล ๕ และศีล ๑๐ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ศีล ๕ ศีล ๑๐ จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ. ปาติโมกขสังวรศีลย่อมมีเฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวรจึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน.

    อีกอย่างหนึ่ง ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน แม้สมาบัติ ๘ ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน. หรือว่าโลกิยศีลทั้งหมดเป็นศีลเท่านั้น. (ส่วน) โลกุตตรศีลเป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสังคีติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    #สิกขา #อธิศีลสิกขา #อธิจิตตสิกขา #อธิปัญญาสิกขา

    c_oc=AQk8BYkT0Y5QWsOBtdPa38xvselE80ilzthmq3Elm_1fvSagWtzaGZD9_oaqcdIhirI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    Y12424465-0.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnRlhKbHRb8vJdbXXgvKqHavx8_Hnyfh6P0RfGYegAcvHoPuQSWU4ZKnOOSTXDNY5Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    **********************************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQn0A7z4MkC9LoqwFCTxdmc-OSpfMZfB7X-SzQq-RAJT3RElieERcznEG0qsBeMSsLs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQlYCN0LFp7FDMjy_mG9RGbmUX-5xbDypdevnEknvdujskOlXteJawB--YwvwaJGFqQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ********************************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2019
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQl98mzBZGj5Mk0vL18e_dFb67-8HHVO87_88o0CYz3NbbH0pQ4ZjToKhI2z86FA9zw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnjLih8lXedqYWTMuh0v2jx8pCg8FlOOcWWoPq2vS_YxDCRuqWw1NMTGs9M1NriCVY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...