อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    อนุสติ ๑๐
    *************
    [๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร

    คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)

    ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑)

    [๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร

    คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ สังฆานุสสติ(การระลึกถึงพระสงฆ์) ฯลฯ สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ จาคานุสสติ(การระลึกถึงการบริจาค) ฯลฯ เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ อานาปานัสสติ(สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ กายคตาสติ(สติ
    อันไปในกาย) ฯลฯ อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ)

    ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
    ...........
    ปฐมวรรค เอกธัมมบาลี อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=24

    อรรถกถาวรรคที่ ๑ อรรถกถาเอกธัมมาทิบาลีhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=179



    c_oc=AQl82kfoLzMNAe5kzbVv9_BQACbdvrdIYraeC2SogOTOm85BxZr4GXOZMd-2rWUowAY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ?temp_hash=6508e87c8b17ac29930a41ac7f3bba9d.jpg


    ?temp_hash=6508e87c8b17ac29930a41ac7f3bba9d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    #- บาลีข้อ ๑๗๙-๑๘๐

    พึงทราบวินิจฉัยในเอกธรรมบาลี ต่อไป.
    ความเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเอกธรรม ธรรมอย่างหนึ่ง.
    บทว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความหน่าย คือเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อระอาในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.
    บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การคลายกำหนัดในวัฏฏะ.
    อีกอย่างหนึ่ง เพื่อสำรอก คือ เพื่อความไปปราศแห่งกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น.
    บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น คือเพื่อประโยชน์แก่การทำกิเลสมีราคะเป็นต้นมิให้ดำเนินต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การดับวัฏฏะ.
    บทว่า อุปสมาย เพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบกิเลส.
    บทว่า อภิญฺญาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วรู้ยิ่ง.
    บทว่า สมฺโพธาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดญาณในมรรคทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ญาณในมรรคทั้ง ๔ เราเรียกว่า โพธิ การตรัสรู้.
    บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งพระนิพพานซึ่งหาปัจจัย (ปรุงแต่ง) มิได้.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรรณนาพุทธานุสสติกรรมฐาน ด้วยบททั้ง ๗ นี้ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุไร. เพราะพระองค์เป็นบัณฑิต ตรัสพรรณนาไว้เพื่อให้มหาชนเกิดความอุตสาหะ เหมือนพ่อค้าชื่อว่าวิสกัณฏกะผู้ค้าน้ำอ้อยงบฉะนั้น. คุฬวาณิชพ่อค้าน้ำตาลก้อน ชื่อว่าวิสกัณฏกวาณิช พ่อค้าน้ำอ้อยงบ.
    ได้ยินว่า พ่อค้านั้นได้บรรทุกสินค้ามีน้ำตาลก้อนและน้ำตาลกรวดด้วยเกวียนแล้ว ไปยังหมู่บ้านชายแดนแล้วร้องโฆษณา (ขาย) ว่า พวกท่านจงมาซื้อเอาวิสกัณฏกะไป พวกท่านจงมาซื้อเอาวิสกัณฏกะไปดังนี้.
    ฝ่ายพวกชาวบ้าน ครั้นฟังคำโฆษณาแล้วจึงคิดกันว่า ชื่อว่ายาพิษเป็นก้อนก็มีพิษร้ายแรง ผู้ใดเคี้ยวกินก้อนยาพิษนั้น ผู้นั้นย่อมตาย แม้หนาม (ที่มีพิษ) แทงแล้วก็ย่อมตาย สินค้าแม้ทั้งสองเหล่านั้นก็เป็นก้อนแข็งๆ. บรรดาสินค้าที่เป็นก้อนแข็งๆ เหล่านั้น จะมีอานิสงส์อะไร ดังนี้แล้วให้ปิดประตูเรือนและไล่ให้เด็กๆ หลบหนีไป.
    พ่อค้าเห็นเหตุนั้นแล้วคิดว่า พวกชาวบ้านเหล่านี้ ไม่เข้าใจในถ้อยคำ เอาละ เราจะให้พวกเขาซื้อสินค้าไปด้วยอุบาย ดังนี้แล้ว จึงร้องโฆษณาว่า พวกท่านจงมาซื้อสินค้าอร่อยมาไป พวกท่านจงมาซื้อสินค้าดีมากไป พวกท่านจะได้น้ำตาลงบ น้ำอ้อย น้ำตาลกรวดอันมีราคาแพงไป. พวกท่านจะซื้อแม้ด้วยทรัพย์มีมาสกเก่าหรือกหาปณะเก่าเป็นต้นก็ได้.
    พวกชาวบ้านครั้นฟังคำโฆษณานั้นแล้ว ต่างก็ชื่นชมยินดี จับกลุ่มกันเป็นพวกๆ ไปให้ทรัพย์มูลค่าราคาสูง ซื้อเอาสินค้ามาแล้ว.

    ในเรื่องกรรมฐานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนกรรมฐานมีพุทธานุสสติเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนพ่อค้าชื่อว่าวิสกัณฏกะโฆษณาว่า พวกท่านจงซื้อเอาวิสกัณฏกะไป ดังนี้. การที่ทรงกระทำมหาชนให้เกิดความอุตสาหะในกรรมฐานนั้นด้วยการตรัสสรรเสริญคุณของพุทธานุสสติกรรมฐานด้วยบททั้ง ๗ นี้ เปรียบเหมือนพ่อค้ากล่าวสรรเสริญคุณวิสกัณฏกะ ทำให้มหาชนเกิดอุตสาหะเพื่อต้องการจะซื้อเอาวิสกัณฏกะนั้นฉะนั้น.
    ปัญหาว่า กตโม เอกธมฺโม ดังนี้เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามที่พระองค์ตรัสถามเพื่อทรงตอบด้วยพระดำรัสว่า พุทฺธานุสฺสติ นี้เป็นชื่อของอนุสสติซึ่งเกิดขึ้นเพราะปรารภพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์.


    ก็พุทธานุสสติกรรมฐานนั่นนั้นเป็น ๒ อย่าง คือเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริง และเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนา.
    คำที่กล่าวนั้น เป็นอย่างไร.
    คือ ในขณะใดภิกษุเจริญอสุภสัญญาในอสุภารมณ์ จิตตุปบาทถูกกระทบกระทั่ง เอือมระอา ไม่แช่มชื่น ไม่ไปตามวิถี ซัดส่ายไปทางโน้นทางนี้ เหมือนโคโกงฉะนั้น ในขณะนั้น จิตตุปบาทนั้นละกรรมฐานเดิมเสีย แล้วระลึกถึงโลกิยคุณและโลกุตรคุณของพระตถาคตโดยนัยว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้เป็นต้น.
    เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ จิตตุปบาทย่อมผ่องใส ปราศจากนิวรณ์. ภิกษุนั้นฝึกจิตนั้นอย่างนั้นแล้วจึงมนสิการกรรมฐานเดิมนั่นแหละอีก.
    ถามว่า มนสิการกรรมฐานเดิมอีกอย่างไร.
    ตอบว่า มนสิการกรรมฐานเดิม เหมือนบุรุษกำลังตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อต้องการเอาไปทำช่อฟ้าเรือนยอด เมื่อคมขวานบิ่นไปเพราะเพียงตัดกิ่งและใบไม้เท่านั้น แม้เมื่อไม่อาจตัดต้นไม้ใหญ่ได้ ก็ไม่ทอดธุระ ไปโรงช่างเหล็กให้ทำขวานให้คม แล้วพึงตัดต้นไม้ใหญ่นั้นอีกฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น ภิกษุฝึกจิตด้วยอำนาจพุทธานุสสติอย่างนี้ได้แล้ว จึงมนสิการถึงกรรมฐานเดิมอีก ทำปฐมฌานมีอสุภเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น พิจารณาองค์ฌานทั้งหลาย ย่อมหยั่งลงสู่อริยภูมิได้อย่างนั้น. พุทธานุสสติกรรมฐานย่อมเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริง ด้วยประการอย่างนี้ก่อน.


    ก็ในกาลใด ภิกษุนั้นระลึกถึงพุทธานุสสติแล้ว ตามระลึกถึงโดยนัยเป็นต้นว่า โก อยํ อิติปิ โส ภควา แปลว่า บุคคลผู้นี้คือใคร แม้เพราะเหตุนี้ บุคคลผู้นั้นคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้เป็นต้น. กำหนดอยู่ว่าเขาเป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ เป็นเทวดา มนุษย์ มาร พรหม คนใดคนหนึ่งหรือ ก็ได้เห็นว่า ผู้นี้หาใช่ใครอื่นไม่ จิตที่ประกอบด้วยสติเท่านั้นระลึกได้ดังนี้ แล้วกำหนดอรูปว่า
    ก็จิตนี้นั่นแลว่าโดยขันธ์เป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาอันสัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นสัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้นที่เกิดพร้อมกันเป็นสังขารขันธ์ (รวมความว่า) ขันธ์ ๔ เหล่านี้เป็นอรูปขันธ์ แล้วค้นหาที่อาศัยของอรูปนั้นก็ได้พบหทัยวัตถุ จึงพิจารณามหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นที่อาศัยของอรูปนั้นและอุปาทารูปที่เหลือ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไปแล้วกำหนดรูปและอรูปโดยสังเขปว่า นี้เป็นรูปอันก่อนเป็นอรูป และกำหนดทุกขสัจในขันธ์ ๕ โดยเป็นประเภทอีกว่า โดยย่อขันธ์แม้ทั้ง ๕ เหล่านี้เป็นทุกขสัจ ดังนี้ ในเบื้องต้นกำหนดสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นที่เกิดของทุกข์นั้นเป็นสมุทัยสัจ ความดับของทุกข์นั้นเป็นนิโรธสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่องรู้ความดับเป็นมรรคสัจ แล้วก้าวลงสู่อริยภูมิโดยลำดับ.
    ในกาลนั้น กรรมฐานนี้ทั้งหมดย่อมชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนา.






    ในบทว่า อยํ โข เป็นต้น พึงทราบวาระแห่งอัปปนา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
    แม้ในธัมมานุสสติเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ก็ในข้อที่ว่าด้วยธัมมานุสสตินั่น มีความหมายของถ้อยคำดังต่อไปนี้
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภพระธรรม ชื่อว่าธัมธานุสสติ. คำว่า ธัมมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติซึ่งมีพระธรรมคุณที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆานุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติซึ่งมีพระสังฆคุณมีความเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีคุณของศีลมีความมีศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภจาคะ การบริจาค ชื่อว่าจาคานุสฺสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีความเป็นผู้มีทานอันตนบริจาคแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติอันมีศรัทธาของตนเป็นอารมณ์ โดยตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นสักขีพยาน.
    สติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานสติ. คำว่า อานปานสติ นี้เป็นชื่อของสติอันมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นนิมิตเป็นอารมณ์.
    สติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความตาย ชื่อว่ามรณสติ. คำว่า มรณสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีการตัดขาดชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.
    เมื่อควรจะกล่าวว่าสติที่เป็นไปสู่รูปกายอันต่างด้วยผมเป็นต้น หรือที่เป็นไปในกาย ชื่อว่ากายคตา, กายคตาด้วย สตินั้นด้วย ชื่อว่ากายคตสติ แต่ท่านไม่ทำการรัสสะให้สั้น กลับกล่าวว่า กายคตาสติ ดังนี้ คำว่า กายคตาสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีส่วนของกายมีผมเป็นต้น เป็นนิมิตเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความเข้าไปสงบระงับ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ. คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ ระงับทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.
    อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าไปสงบระงับมี ๒ อย่างคือ อัจจันตุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับโดยสุดยอด และขยูปสมะ ความเข้าไปสงบระงับโดยความสิ้นกิเลส.
    ใน ๒ อย่างนั้น พระนิพพานชื่อว่าความสงบระงับโดยสุดยอด มรรคชื่อว่าความสงบระงับโดยความสิ้นกิเลส. ความหมายในอธิการนี้มีว่า สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึงความสงบ ระงับแม้ทั้งสองนี้ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ.



    ในกรรมฐาน ๑๐ เหล่านี้ กรรมฐาน ๓ อย่างนี้ คือ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ ย่อมเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอย่างเดียว กรรมฐานที่เหลือ ๗ อย่างเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริงด้วย เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาด้วย ด้วยประการฉะนี้.
    จบอรรถกถาวรรคที่ ๑
    -----------------------------------------------------



    .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง วรรคที่ ๑ จบ.
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnL4uHussWeJkjaTvna-MLkyEm8D92DrYcId1A4HYyUS_vFYOzYbKigJfRdc1FNGpo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    ผู้ขวนขวายอานาปานสติ เมื่อยังไม่บรรลุ ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ***********
    ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต.

    เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย.

    เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต.

    พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ.

    เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.

    อรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQk0w900TqJZ5E3RpSkXVNRC6Oi1PqQk7leMFMucDg3XctiX192o1FaiWoYazDp4m6g&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    สมาธิสูตร



    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนา
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
    อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
    *สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
    กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
    เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
    อาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    *************************************


    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQme4n7Q7zroIyhc7X5m3VkdHCbrg_fxZSKbRc4OXkl52epwst440XGgSN1GIu1N56U&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=e4fe3f2699e4ce63fa84b97b2b3bc7c9.jpg


    อธิษฐานในความหมายของพระพุทธศาสนา เป็นบารมีอย่างหนึ่ง คือความตั้งใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นให้สำเร็จตั้งจุดมุ่งหมายที่ดีขึ้นมา แล้วก็มุ่งทำการนั้นแน่วไป ไม่ใช่อธิษฐานเพื่อจะได้ แต่อธิษฐานเพื่อจะทำ คนไทยนี่อธิษฐานเพื่อจะได้ แต่ของพระ เป็นการอธิษฐานเพื่อจะทำ

    พระพุทธเจ้าอธิษฐานพระทัย ก็ทรงบำเพ็ญบารมี คือ พากเพียรทำความดีอย่างสูงสุด เพื่อจะบรรลุโพธิญาณ อธิษฐานในที่นี้คืออย่างนั้น เป็นการให้ชาวพุทธฝึกหัดที่จะมีจิตใจเข้มแข็ง มีความตั้งใจจริงในการทำอะไรๆ อันนี้จะสำทับการฝึกสมาธิ

    หนังสือ : หลักชาวพุทธ
    โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ หน้า ๔๒

    สามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่
    http://book.watnyanaves.net/index.php?floor=general

    #ธรรมะ #อธิษฐาน #สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnX1BC8vANksr91K2vAxxsqx5I1lvu0Sm6rU8gPDO7yP0wCpD69_BCv2fapW6Ukf4A&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg





    กรรมฐานจำแนกตามจริตของบุคคล
    ****************************
    ...สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่างๆ จำนวนมาก รับกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาในที่นั้นๆ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต, กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐานมีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณเป็นต้น สำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนพุทธิจริต.
    ลำดับนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะและโคจรคาม เดินไปตามลำดับ ได้พบภูเขาพื้นศิลาคล้ายมณีสีคราม ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงาทึบเย็น มีภูมิภาคเกลื่อนด้วยทรายเสมือนแผ่นเงินข่ายมุกดา ล้อมด้วยชลาลัยที่สะอาดเย็นดี ติดเป็นพืดเดียวกับป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ….
    ..........................
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาเมตตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อว่า ปรมัตถโชติกา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10
    และในเมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=9
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQk1E7JOf0CNDsKFEPZF8KQgxsRNirE1NDleqBju3slwU_QiZuPkcgYbNvoVKkg44c4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    [​IMG]
    ปปติตสูตร


    [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
    เราเรียกว่า ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้

    ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน
    คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑ และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า
    ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
    ๔ ประการ เราเรียกว่า ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
    คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑ และวิมุตติ
    ที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
    เราเรียกว่า ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้

    ผู้ที่ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ชื่อว่าผู้ตกไป

    ผู้กำหนัดเพราะราคะ เป็นผู้กลับมาอีก


    ฉะนั้น ควรทำกิจที่ควรทำ ยินดีในคุณชาติที่ควรยินดี
    จะได้บรรลุสุขทั้งโลกียสุขและโลกุตตรสุข
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=1e2f454502faaf77a83736dace25aff1.jpg

    ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์...
    #แท้จริงคือขันธ์๕

    ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพวกเรามาปฏิบัติธรรม.....

    ธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งหมดในพระไตรปิฎก ไม่มีอะไร คือไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของ " ขันธ์ ๕ " และยอมรับนับถือกฎของธรรมดาของ " ขันธ์ ๕ "

    ที่ทรงเทศน์มาถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ มีเรื่องขันธ์ ๕ เรื่องเดียว

    ขันธ์ ๕ ก็คือร่างกาย กายเรา กายคนอื่น เราไปติดอยู่ในกาย ติดอยู่ในรูป

    ฉะนั้นหากว่าเราไม่หลงกาย เราไม่หลงรูป เราก็หมดทุกข์

    การที่เข้าถึงความไม่หลงนี่มันยาก ไอ้ปากนี่มันไม่หลง แต่ใจมันหลง ปากฉันไม่หลง ๆ ไอ้ฉันน่ะไม่หลง แต่ใจมันหลง ห้ามใจไม่ได้

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    รวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม ๑๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnBuBX2r4RsSYJtLzYj-fD8Yg9NIfLNpMwZS8d64eRlGkVxbrVistIAbRqhLiFVVe8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    "เวลากรรมบังนี่
    มันโง่ทุกคนเลยว่ะ"
    หลวงปู่ศุข เมตตาเตือนสติ
    แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร ให้ชีวิตดี...

    เวลาที่กรรมไม่ดีมาส่งผลหรือที่เรียกว่า "กรรมบัง"
    เป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุดแล้วของชีวิต
    บางคนเสียผู้เสียคน ทำอะไรผิดพลาดไปหมด
    หรือตัดสินใจผิดๆ จนชีวิตพินาศ

    หรือแม้แต่ไม่ทำอะไร ก็ดิ่งลงๆๆๆ
    หรือแม้แต่ไม่รู้ตัว อาจจะพลิกวูบเดียวจบ!!!

    ครูบาอาจารย์ท่านเตือนไว้ตลอด
    ไม่ว่ากรรมดี บุญจะส่งผล
    หรือกรรมไม่ดีเข้าส่งผลหรือกรรมบัง

    ท่านสอนเสมอให้มี "สติ"สำคัญมากๆ

    "สติ"ที่ดีจะวางใจเป็นกลาง
    รู้เท่าทันกรรม ไม่ประมาท
    อ้อที่ดีที่ชั่วก็แค่นั้นเอง มาแล้วก็ผ่านไป

    "สติ"ที่ดีคือ อยู่กับปัจจุบัน
    กรรมเก่าแค่ไหนก็ไม่สำคัญ
    เท่ากรรมปัจจุบันในชาตินี้

    ไม่ประมาทในกรรม
    ละบาป เลิกทำกรรมชั่วให้มากที่สุด
    หมั่นเติมบุญกุศลของตนไม่หยุดยั้ง
    ฝึกสติ ฝึกใจให้แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

    "สติ" มาจากการทำสมาธิ การสวดมนต์ช่วยได้
    เป็นการฝึกแบบง่าย จดจ่อให้จิตมีสมาธิในระดับหนึ่ง
    ก้าวไปเจริญภาวนาได้

    มีสติ ยับยั้ง ละอายและเกรงกลัวต่อบาป
    เข้าใจในบุญ

    แสวงหาปัญญาธรรม เพื่อจะได้เข้าใจโลก
    เข้าใจธรรม ไม่โง่ ไม่หลง
    ไม่ว่าบุญจะส่ง หรือกรรมเก่าจะบัง

    ก็ไม่มี"โง่" อีกต่อไป

    ขอโมทนาพระคุณความดีหลวงปู่ศุขเป็นที่สุด
    และท่านเจ้าของภาพ ขอให้เจริญๆ ยิ่งๆขึ้นไป


    *****************************

     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    มีญาติโยมถามปัญหาว่า เมื่อปฏิบัติไปแล้วเข้าถึงความว่าง จะทราบได้อย่างไรว่าความว่างนั้นเป็นความว่างแบบไหน ? ซึ่งความว่างในการปฏิบัติของเรานั้นมีหลายระดับชั้นด้วยกัน

    ความว่างระดับแรกก็คือ สติ สมาธิ เริ่มทรงตัวเป็นฌาน ถ้าอย่างนี้รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ จะโดนอำนาจของฌานกดดับลงไปชั่วคราว สภาพจิตที่เคยรุงรังด้วยกิเลสต่าง ๆ ก็สงบราบเรียบลง เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นสำหรับตัวเองมาก่อน ก็จะรู้สึกว่าง เบาสบายอย่างยิ่ง อย่างนี้เรียกว่าว่างเพราะอำนาจของฌานสมาบัติกดทับกิเลสเอาไว้

    ความว่างระดับต่อไป คือ ความว่างในอากาสกสิณ เป็นการกำหนดช่องว่างส่วนใดส่วนหนึ่งจับมาเป็นนิมิตในการภาวนา ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนั้นจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เคยมีของเก่าในอดีต ฝึกเกี่ยวกับอากาสกสิณมาก่อน เมื่อทำไปจนสมาธิเริ่มทรงตัว ของเก่ากลับคืนมา เกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น ก็จะรู้สึกถึงความว่างได้เช่นกัน ในส่วนนี้ถ้าจิตของเราละเอียดพอ ก็จะแยกแยะออกได้ว่า ถ้าเป็นความว่างของกสิณนั้นจะเป็นความว่างอยู่ในลักษณะที่เรากำหนดเฉพาะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งตรงหน้า

    ความว่างระดับถัดไปนั้นเป็นความว่างของอรูปฌาน ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะฌานก็ดี วิญญาณัญจายตนะฌานก็ดี อากิญจัญญายตนะฌานก็ดี เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานก็ดี อรูปฌานทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการที่เราเพิกรูปทิ้งไป แล้วจับความว่างของอากาศ จับความไร้ขอบเขตของวิญญาณ จับความรู้สึกที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสื่อมสลายพังไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ และกำหนดความรู้สึกว่ามีเหมือนกับไม่มี รู้เหมือนกับไม่รู้ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จัดเป็นความว่างอีกอย่างหนึ่ง

    บุคคลที่เคยทรงอรูปฌานในอดีต เมื่อกระทำไปจนกระทั่งกำลังทรงตัวแล้ว เข้าถึงอรูปฌานเดิม ๆ ก็ทำให้รู้สึกถึงความว่างเช่นกัน ตรงจุดนี้ถ้าจะสังเกตแยกแยะออกก็จะต้องสังเกตว่า เรายังทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่ การที่เราทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่แม้ว่าจะเบาสบายเพียงใดก็ตาม ความที่ยังต้องทรงฌานอยู่ก็จัดเป็นความหนัก บุคคลที่มีจิตละเอียดจริง ๆ ถึงจะแยกแยะออกได้

    ประการสุดท้ายนั้นเป็นความว่างเนื่องจากจิตมองเห็นโทษของร่างกายนี้ มองเห็นโทษของสภาพจิตที่คลุกคลีอยู่กับรัก โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย แล้วสามารถที่จะปล่อยวางสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลงจนหมด ยกจิตของตนเองขึ้นมาพ้นจากสภาพของราคะ โลภะ โทสะ โมหะได้ ก้าวล่วงจากสมมติเข้าสู่ความเป็นวิมุตติ ก้าวล่วงจากโลกเข้าสู่ทางธรรมแท้ ๆ

    สภาพจิตของตนจะเหลือแต่เพียงผู้รู้เด่นอยู่เท่านั้น เป็นผู้รู้ที่มีหน้าที่กำหนดรู้เฉย ๆ ไม่ไปปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดเป็นรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนกับเราก้าวขาข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามฝั่งไปแล้วเราก็ไม่ย้อนกลับมาแตะต้องวอแวในสิ่งที่เคยผ่านมา ถ้าลักษณะนั้นจึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง เป็นความว่างในลักษณะของการว่างจากกิเลส เป็นความว่าง ความใส ความสะอาด จากสภาพจิตที่ปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความว่างของการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง

    ดังนั้น..ถ้าพวกเราต้องการจะเข้าถึงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราก็ต้องเน้นในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาที่มองเห็นทุกข์เห็นโทษของร่างกายนี้ ของโลกนี้ จนกระทั่งสามารถปล่อยวางได้ การที่เราจะมีกำลังมากพอที่จะยกจิตให้พ้นขึ้นมาจากร่างกายนี้ พ้นจากโลกนี้ได้ แล้วปล่อยสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลง ก็ต้องมีกำลังสมาธิที่เข้มแข็งพอเพียง

    กำลังสมาธิจะเข้มแข็งพอเพียงได้ เราก็ต้องมีศีลอย่างน้อย ศีล ๕ เป็นพื้นฐาน เมื่อสภาพจิตของเราจดจ่ออยู่กับการระมัดระวังรักษาศีลทุกสิกขาบทไม่ให้บกพร่อง การที่เราเอาจิตจดจ่อแน่วแน่ระมัดระวังศีลอยู่นั่นเอง สมาธิก็จะเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิดขึ้นทรงตัว ตั้งมั่น มีกำลังกดกิเลสดับลงได้ชั่วคราว ตัวปัญญาก็จะเด่นขึ้น ผ่องใสขึ้น ก็จะเห็นช่องทางว่าจะทำอย่างไรถึงจะสละ ตัดละ ร่างกายนี้ โลกนี้ ความยินดีต่าง ๆ

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อสละออก ตัดออก ละออกได้ ก็จะก้าวเข้าสู่ความว่างอย่างแท้จริง เป็นความว่าง ใส สะอาด ที่เปี่ยมสุข ไม่สามารถจะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษามนุษย์ได้ ไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษาหนังสือได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ก้าวล่วงการปรุงแต่งทั้งปวงไปแล้ว ภาษามนุษย์ก็ดี ภาษาหนังสือก็ดี ยังเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยการปรุงแต่งอยู่ จึงไม่สามารถที่จะอธิบายสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นได้

    มีแต่สภาพจิตของเราที่เด่น ผ่องใส สะอาด เหลือแต่ตัวรู้อย่างเดียว ไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปปรุงแต่ง ถ้าสิ่งไหนจำเป็นก็ออกไปสัมผัสด้วยความระมัดระวัง แล้วก็ย้อนกลับเข้ามาอยู่กับความผ่องใสที่ปราศจากกิเลสของตนต่อไป ถ้าอย่างนี้จึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าเราจะก้าวเข้าสู่ความว่างที่แท้จริงหรือสภาวะพระนิพพานนั้น ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะพูดให้กว้างออก ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    สำหรับพวกเราทั้งหลายนั้นก็ต้องมาเน้นเรื่องของสมาธิ เพราะเราทั้งหมดส่วนใหญ่มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ในเมื่อศีลบริสุทธ์บริบูรณ์แล้ว ยังไม่สามารถจะก้าวล่วงไปได้ ก็แปลว่ากำลังสมาธิยังไม่เพียงพอ เราจึงต้องมาเน้นการฝึกสมาธิอย่างจริง ๆ จัง ๆ เพื่อที่จะประคองจิต รักษาจิตของเราให้มีความผ่องใส จนกระทั่งกำลังสมาธิเพียงพอ ดวงปัญญาก็จะเกิดขึ้น มีความแกร่งกล้า มีความแหลมคมพอ ก็สามารถที่จะสลัด ตัด ละ ความยินดี ความพอใจในร่างกายนี้ ในร่างกายของคนอื่น ในโลกนี้และในโลกอื่น ภพภูมิอื่นลงได้ เราก็จะหลุดพ้นไปสู่ธรรมอันว่างอย่างยิ่ง ก็คือพระนิพพานนั่นเอง

    ลำดับต่อไปให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
    วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    ที่มา www.watthakhanun.com
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    41399500_1724390694350745_1910947760215949312_n-jpg.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQlvkAKl4CnSQYdx4lcyd4yvf0fSVSKapuph6ox1jX8VHd2A-ro9c5DN_7bkfDuecmI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg




    เรืี่อง.*อย่าเพลินทำสมาธิอย่างเดียว*

    *โอวาท : หลวงพ่อพระราชพรหมยานฯ~หลวงพ่อฤาษีลิงดำ*

    ..." ถ้าหลงระเริง เล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่า.. เราตายคราวนี้ หวังได้ สวรรค์ พรหมโลก นิพพาน นั้น เอาแน่นอนอะไรไม่ได้.

    ~ ถ้าเมื่อเวลาตาย เกิดอารมณ์เศร้าหมองเข้าครองใจ สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะอย่างอื่น เข้าประคองใจด้วย.

    * ธรรมะ ที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคง ไม่ต้องลงอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น ก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ..."

    ( จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๓๕ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หน้าที่ ๔๐ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี..คัดลอก โดย ยุพยง พัฒนเจริญ )
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    เรื่อง "ภพชาติ" อันหยาบละเอียดก็เพราะ "อำนาจแห่งวิบาก" ของจิตแต่ละดวงๆไม่เหมือนกัน ต้องอาศัย "หลักธรรม" เป็นเครื่องพิสูจน์
    (โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)




    ความที่มี "ภพชาติ" อันหยาบละเอียด ก็เพราะ "อำนาจแห่งวิบาก" ของจิตแต่ละดวงๆไม่เหมือนกัน จึงต้องให้เป็นเช่นนั้น อย่างภพหยาบๆอย่างที่เราเห็นนี้ เช่นสัตว์เช่นบุคคล ที่มองเห็นกันด้วย "ตาเนื้อ" นี้ เป็นภพที่ "หยาบ" ภพที่ "ละเอียด" ยิ่งกว่าตาเนื้อนี้ แต่ยังเป็นวิสัยของกล้องที่จะส่อง เช่น กล้องจุลทรรศน์ มองเห็นได้เช่นเชื้อโรคอย่างนี้เป็นต้น ก็ยังเป็นวิสัยของตาที่จะพอดูได้ แต่ที่ละเอียดยิ่งกว่านั้น ซึ่งไม่ปรากฏร่างเลยนี้ ไม่สามารถจะรู้ได้เห็นได้ทั้งๆที่ภพนั้นๆประเภทนั้นๆมีอยู่เต็มโลกสงสาร เช่นเดียวกับความเกิดความเป็นอยู่ของสัตว์ที่มีร่างกายอันหยาบนี้
    สิ่งที่พาให้สัตว์โลกเป็นดังที่กล่าวมานี้ ทั้งส่วนหยาบส่วนกลางส่วนละเอียด เป็นไปจากเชื้อที่ฝังอยู่ภายในจิตใจ ใจจึงเป็นเหมือนกับเครื่องมือของสิ่งนั้น ผลักไสให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตาม ทั้งๆที่ใจนั้นไม่เคยตาย แต่คำว่าเกิดว่าตายนั้นอาศัยร่างที่เข้าไปเกี่ยวข้องเท่านั้นหากได้หมุนไปหมุนมาอยู่เช่นนั้น เพราะอำนาจแห่งวิบากผลักไสพาให้เป็นไป โดยอาศัยเชื้อพาให้เกิดเป็นสำคัญอันดับแรก
    การท่องเที่ยวด้วยความเกิด ความแก่ ก็เท่ากับการแบกหาม "ความทุกข์ความลำบาก" ไปด้วยกันในภพนั้นๆ โดยแยกกันไม่ออก ภพหยาบก็ทุกข์มาก ภพละเอียดก็ทุกข์น้อยลงไปถ้าเป็นภพที่มีบุญ แต่ภพละเอียดที่เป็นบาปก็ทุกข์มากยิ่งกว่าร่างกายที่เป็นบาปนั้นอีก เช่นสัตว์นรกเป็นต้น เรามองไม่เห็น แต่สัตว์นรกเป็นสัตว์นรก สัตว์นรกรับทุกข์สัตว์นรกยอมรับว่าเป็นทุกข์ หากมองไม่เห็นสำหรับผู้ไม่เป็น จึงเรียกว่าละเอียด บาปก็ละเอียดบุญก็ละเอียดไปตามส่วนของบาปบุญ
    มีใจเท่านั้นเป็นผู้จะรับสัมผัสสิ่งเหล่านี้ได้ ตา หู จมูก ดูได้ฟังได้ตามวิสัยของตน แต่ไม่สามารถจะทราบสิ่งที่สุดวิสัยของตา หู จมูก ลิ้น กายไปได้ นอกจากใจเพียงดวงเดียว ใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่กล่าวเบื้องต้นยกความเกิดแก่เจ็บตายขึ้นมา ที่เป็นอยู่ในสัตว์โลกทั่วๆไป เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สัตว์โลกมองเห็นแต่ผลที่เป็นตัววิบากขึ้นมาแล้ว ไม่สามารถจะทราบเหตุแห่งวิบากและเชื้อแห่งวิบากนั้นคืออะไรได้ จึงต้องอาศัยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันกัน หากไม่ใช่ธรรมแล้วไม่มีสิ่งใดที่จะพิสูจน์สิ่งที่ลึกลับสำหรับวิสัยของคนสามัญทั่วไปให้รู้ได้เห็นได้ จึงต้องอาศัยหลักธรรมเป็นเครื่องพิสูจน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2019
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    สมาธิไม่มี ปัญญาจะมีได้อย่างไร
    .. ขาดสติ สติไม่มี เมื่อสติไม่มี สมาธิก็จะมีได้อย่างไร เมื่อสมาธิไม่มี สติสมาธิไม่มี ศีลสมาธิปัญญามันจะเกิดขึ้นได้หรือ มันจะเอาอะไรเกิด เพราะมันไม่มีฐาน ที่ทำฐาน ที่ตั้ง
    ฉะนั้นภาวนาดูให้ดี ตั้งใจให้มั่นคง ทำอะไรให้ตั้งใจทำจริงๆ ศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่สุกเอาเผากินเล็กๆ น้อยๆ ตั้งใจทำจริงๆ ..



    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnha8pUZun37RwlTYSVlMXNBCo7LKnu3yOt1BF2y5p1MOmAAFlmMsGuuJskzNbm_44&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    สมาธิไม่มี ปัญญาจะมีได้อย่างไร
    .. ขาดสติ สติไม่มี เมื่อสติไม่มี สมาธิก็จะมีได้อย่างไร เมื่อสมาธิไม่มี สติสมาธิไม่มี ศีลสมาธิปัญญามันจะเกิดขึ้นได้หรือ มันจะเอาอะไรเกิด เพราะมันไม่มีฐาน ที่ทำฐาน ที่ตั้ง
    ฉะนั้นภาวนาดูให้ดี ตั้งใจให้มั่นคง ทำอะไรให้ตั้งใจทำจริงๆ ศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่สุกเอาเผากินเล็กๆ น้อยๆ ตั้งใจทำจริงๆ ..



    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ๑๐๐ คำอธิษฐานจากพระไตรปิฎก

    คำว่า “อธิษฐาน” ไม่ได้หมายถึงการอ้อนวอนขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแบบหวังผลดลบันดาลโดยไม่กระทำเหตุ แต่หมายถึงการตั้งใจมั่นที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจจะรักษาสัจจะ ตั้งใจจะประกอบความเพียร เป็นต้น โดยได้คัดเลือกเอาพุทธพจน์สั้นๆ นำมาเป็นข้ออธิษฐานประจำวัน หากได้อ่านพุทธพจน์เหล่านี้วันละบทก็จะเป็นแรงหนุนใจให้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น และจะเป็นการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปีฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ด้วยการปฏิบัติบูชา ซึ่งทรงยกย่องว่าเป็นการบูชาอย่างยอดเยี่ยมกว่าการบูชาทั้งปวง
    ขอให้ท่านผู้อ่านหนังสือ “๑๐๐ คำอธิษฐานจากพระไตรปิฎก” เล่มนี้ เสียสละเวลาในแต่ละวัน วันละประมาณ ๕ นาที ทำจิตใจให้สงบ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย แล้วเปิดอ่านคำอธิษฐานนี้วันละ ๑ บท ด้วยความตั้งใจจริง ให้ระลึกนึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาคุณ น้อมอัญเชิญพระคุณเหล่านั้น มาประดิษฐานในจิตใจของเรา จะทำให้มีแรงหนุนใจ มีกำลังใจ ถ้าท่านสามารถอธิษฐานพระพุทธพจน์นี้ด้วยความตั้งใจจริงได้บ่อยๆ มากเพียงไร ชีวิตของท่านจะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากเพียงนั้นอย่างน่ามหัศจรรย์



    ๑๐๐ คำอธิษฐานจากพระไตรปิฎก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...