อาฬวกยักษ์ทูลถาม คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 4 มิถุนายน 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [​IMG]
    อาฬวกสูตรที่ ๑๒
    [๘๓๘]
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี ฯ
    ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า
    ท่านจงออกมา สมณะ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา ฯ
    ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จเข้าไป ฯ
    แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ฯลฯพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ฯลฯ
    [๘๓๙]
    ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จงทำเถิด ฯ
    สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำจิตของท่านให้
    ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ฯ

    อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
    สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจ
    ของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหา
    ตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ

    [๘๔๐]
    อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
    อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้
    อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
    อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด ฯ

    [๘๔๑]
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้
    ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
    ความสัตย์แลเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด ฯ

    [๘๔๒]
    อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
    คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ
    ข้ามอรรณพได้อย่างไร
    ล่วงทุกข์ได้อย่างไร
    บริสุทธิ์ได้อย่างไร

    [๘๔๓]
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
    ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท
    ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
    บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ

    [๘๔๔]
    อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
    คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ
    ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้
    คนได้ชื่อเสียงอย่างไรหนอ
    ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้
    คนละโลกนี้ไปสู่โลกหน้าทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก ฯ

    [๘๔๕]
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ ปัญญา
    เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้
    คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์
    ผู้ให้ ย่อมผูกมิตรไว้ได้
    บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้คือ
    สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ
    บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก

    เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูซิว่า
    ในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่า สัจจะ ทมะ จาคะและขันติ ฯ

    [๘๔๖]
    อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า
    ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากในบัดนี้
    วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมือง
    อาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงทานที่บุคคล
    ให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้าจักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี
    พลางนมัสการพระสัมพุทธเจ้าและพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดี ฯ


    จบยักขสังยุตบริบูรณ์

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    หน้าที่ ๒๕๗/๒๘๙

    ทมะ : [ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา,การปรับไหม. (ป., ส.).

    ธิติ (มค. ธิติ) น. ความทรงไว้, ความแน่นหนา, ความมั่นคง, ปัญญา.

    ธิติ ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).


    พจนานุกรมไทย-ไทย [ธิติ] หมายถึง/ความหมาย ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้ ?
    ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้

    อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ ?
    ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้

    อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย ?
    ความสัตย์แลเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย

    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด ฯ ?
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด ฯ


    คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ? คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา

    ข้ามอรรณพได้อย่างไร? ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท

    ล่วงทุกข์ได้อย่างไร ? ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

    บริสุทธิ์ได้อย่างไร ? บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ


    คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ?บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ ปัญญา

    ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้?เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้

    คนได้ชื่อเสียงอย่างไรหนอ? คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์

    ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้? ผู้ให้ ย่อมผูกมิตรไว้ได้

    คนละโลกนี้ไปสู่โลกหน้าทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก ฯ?บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้คือ
    สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก

     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    นันทนสูตรที่ ๑
    [๒๓]
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    [๒๔]
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง เคยมีมาแล้ว
    พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร อิ่มเอิบ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ
    อันเป็นทิพย์ พวกนางอัปสรบำเรออยู่ในสวนนันทวัน ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า


    เทวดาเหล่าใดไม่เห็นนันทวัน อันเป็นที่อยู่ของหมู่นรเทพ
    สามสิบผู้มียศ เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักความสุข ฯ

    [๒๕]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาองค์ หนึ่งได้ย้อน
    กล่าวกะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า


    ดูกรท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
    สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    หน้าที่ ๗/๒๘๙
     

แชร์หน้านี้

Loading...