"อรูปฌาน" กับ ประโยชน์ที่หลายคนยังไม่รู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 16 สิงหาคม 2019.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ประโยชน์ของอรูปฌาน

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. “อรูปฌานใช้ให้เป็นจักมีประโยชน์มาก คือ มีไว้แต่ไม่ติดอยู่ตามนั้น”

    ๒. “มีอรูปฌานไว้เป็นอาวุธต่อสู้กับเวทนาของร่างกาย ถ้ารู้จักเพิ่มเติมวิปัสสนาญาณอีกเล็กน้อย ปัญญาก็จักแหลมคม ห้ำหั่นกิเลสได้อย่างมีกำลัง

    ๓. “อย่าทิ้งอารมณ์อรูปฌาน ทุกอย่างรู้จักใช้ก็เป็นของดีหมด มีประโยชน์ทั้งหมด ในทุกสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้บัญญัติเข้าไว้”

    ๔. “ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงบัญญัตินั้น ๆ ก็ย่อมยังไม่เห็นประโยชน์ของบัญญัตินั้น ๆ จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จักไปวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่ารูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี หรือแม้แต่ธรรมในหมวดต่าง ๆ หากยังไม่รู้คือยังเข้าไม่ถึง ก็ยังไม่พึงติเตียนธรรมนั้น

    ๕. “เช่นเรื่องธุดงค์ก็เหมือนกัน พระบัญญัติเกี่ยวกับอรัญวาสี ธุดงควัตรมีมาในพระพุทธศาสนาทุก ๆ พุทธันดรเป็นของดี เป็นของประเสริฐ สามารถนำไปปฏิบัติแล้วตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เป็นอย่างดี แต่ธุดงค์นี้ก็เหมาะสมสำหรับผู้ชอบบำเพ็ญเพียรประกอบกิจสมถธรรมอยู่ในป่า เป็นบารมีธรรมของผู้รักสงบ สันโดษ”

    ๖. “อุปนิสัยของคนมีปกติอยู่ ๒ อย่าง บางคนชอบอยู่เมือง บางคนชอบอยู่ป่า ดังนั้น เมื่อบวชเป็นภิกษุเข้ามาในพระพุทธศาสนา ใครใคร่อยู่ในเมืองก็อยู่ ใครใคร่อยู่ป่าก็อยู่ ทำได้ตามอัธยาศัย ประโยชน์เกิดที่ตรงว่าเมื่ออยู่ตามที่ชอบใจ จิตย่อมมีความสบาย มีอารมณ์แจ่มใส ปฏิบัติธรรมก็ได้ผล

    ๗. “อย่าลืม ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนมีประโยชน์ ที่ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะยังไม่เห็นประโยชน์ของเขาต่างหาก

    ๘. ทรงตรัสสอนธรรมแถมท้าย เรื่องกฎของกรรมว่า
    • ๘.๑ “เห็นกฎของกรรมแล้ว ให้เคารพกฎของกรรมด้วย แล้วจงหมั่นพิจารณาเห็นทุกข์อันสืบเนื่องจากกฎของกรรมนั้น จงเพียรเป็นผู้ตัดกรรม อย่ากระทำตนเป็นผู้ชอบต่อกรรม

    • ๘.๒ “การต่อกรรมมี ๓ ประเภท คือ ต่อด้วยมโนกรรม-วจีกรรม-กายกรรม ยิ่งต่อยิ่งทุกข์ ทุกข์เพราะอุปาทานปรุงแต่ง คิดว่าสิ่งที่ต่อกรรมนั้นเป็นของดี ทั้ง ๆ ที่เป็นความเลว ความเลวนั้นใครไม่จำเป็นต้องสร้างให้ เราผู้เดียวเป็นผู้สร้างให้เกิดขึ้น ถ้าหากหมดการต่อกรรมเสียแล้ว กฎของกรรมนี้ก็จักไม่เกิดขึ้นแก่เรา”

    • ๘.๓ “พระอรหันต์ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต่อกรรมด้วยเหตุอันนี้”

    a03cbf1e.gif ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

    ที่มา วัดท่าขนุน
     

แชร์หน้านี้

Loading...