อย่างไรจึงเรียกได้ว่า สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ศรีสุทโธ, 8 กันยายน 2010.

  1. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    m149082[1].jpg

    สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ

    สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ
    ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิ

    สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค

    สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง ๑๐ อย่าง คือ

    เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
    การบูชามีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์ กันมีผล)
    การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
    ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
    คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)
    โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)
    พวก โอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม)
    สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผล นิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง

    ข้อความอ้างอิง
    จาก มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
    ก็ สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    อ้างอิง
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘
    มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สัมมาทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒

    สัมมาทิฏฐิสูตร

    ด้วย เหตุเพียงเท่าไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

    รู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล
    รู้ชัดซึ่งอาหารเหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
    รู้ชัดซึ่งทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    รู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา และมรณะ
    รู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ
    รู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ
    รู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    รู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา
    รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    รู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับแห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖
    รู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป
    รู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    รู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา
    รู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
    เมื่อ ใด อริยสาวกรู้ชัดอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวงละอวิชชา
    ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

    ที่มา : http://th.wikisource.org/wik

    มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด การเห็นกงจักรเป็นดอกบัว พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

    ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
    การบูชาไม่มีผล
    การบวงสรวงไม่มีผล
    ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
    โลกนี้ไม่มี
    โลกอื่นไม่มี
    มารดาไม่มีบุญคุณ
    บิดาไม่มีบุญคุณ
    สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี
    สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี"

    ซึ่งจากการประพฤติผิดมิชอบนี้เอง จะส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ ต้องไปเกิดยังนรกอเวจีเพื่อใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้หลายร้อยชาติ

    ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ

    ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง ได้แก่

    ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น

    อโยนิโส มนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ


    อ้างอิง
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
    อักขณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ^ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ - คหบดีวรรค - ๑๐. อปัณณกสูตร ข้อที่ ๑๐๕.
    ^ ตติยปัณณาสก์ อาสาวรรคที่ ๑ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐

    ที่มา : http://th.wikipedia.org
     

แชร์หน้านี้

Loading...