อยากสอบถามคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย หยุดดี, 25 กรกฎาคม 2011.

  1. หยุดดี

    หยุดดี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +12
    อยากสอบถามคะ
    ถ้าเราสอนคน โดยสอนให้เขาคิด อาจจะไม่ใช่ธรรมะลึกซึ้ง แต่เป็นไปเพื่อการสอนคน ให้แง่คิดคน เรียกว่า การปราบหรือเปล่าคะ
    ถ้าเรายุ่งกับตัวเราเองคนเดียว สอนธรรมเราคนเดียวเผยแพร่ธรรม แต่อาจไม่ใช่การปราบ ก็ได้ใช่ไหมคะ
    แต่ถ้าเราจะสงเคราะห์ ที่ไม่ใช่แค่เราสงบ เราต้องมีทั้งการเผยแพร่ และการปราบด้วยใช่ไหมคะ (การเทศน์สั่งสอน ดิฉันเรียกว่า การปราบ)
    คือ หมายความว่า การเผยแพร่ ก็ต้อง มีการปราบหรือว่าเทศน์สั่งสอนประกอบด้วยใช่มั้ยคะ ถ้าเราหยุด แล้วสงบ มันก็เหมือนหยุดโลก แต่ถ้าเราไม่ปราบหรือเทศน์สั่งสอนจะดีหรือคะ
    ป.ล. อาจเข้าใจผิด ต้องขอโทษด้วยนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  2. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    การปราบที่กล่าวนั้น มันมีนัยยะแห่งอัตตาแฝงอยู่ลึกๆ การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์ ท่านมีเมตตา กรุณา เป็นบาทฐาณ ท่านช่วยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับผู้ที่ยังมืดบอด ผู้ที่ยังไม่รู้ ให้ได้พบแสงสว่าง ด้วยความที่ต้องการให้เขาเหล่านั้นได้พ้นจากทุกข์อย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่มีแบ่งเขาแบ่งเรา ด้วยว่าเราล้วนต่างเกิดขึ้นมาภายใต้กฏแห่งเกิด แก่ เจ็บ ตาย เดียวกัน

    อย่าลืมว่าความอ่อนน้อมถ่อมตนจัดว่าเป็นการประกอบบุญอย่างหนึ่ง
    การทำความดี เพราะว่าเป็นสิ่งที่สมควรที่จะต้องทำ
    หาใช่ทำดีเพราะเห็นว่ายังมีการแบ่งเขาแบ่งเรา
    นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างร้ายกาจ รักดี นั้นดี
    แต่ติดดี หลงดี ยึดดี นี้น่ากลัว เปรียบเสมือนการเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
    จงเพ่งโทษตนเอง อย่าเพ่งโทษผู้อื่น มิฉนั้นท่านจะไม่มีวันยกระดับจิตใจ ภูมิจิต ภูมิธรรมให้เข้าสู่ความเป็นอริยะได้ ขอท่านจงพึงโปรดพิจารณาเถิด
     
  3. หยุดดี

    หยุดดี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +12
    ส่วนตัวดิฉัน อาจจะยังติดกิเลสอยู่ แต่ถ้าพูดถึงความรู้สึกในใจ (อาจจะป่น ๆ กันอยู่)
    คือ ว่า ถ้าพูดกันในระดับมหายาน ก็มักพูดว่า พระโพธิสัตว์มีทั้งภาคปราบ และภาคโปรด
    แต่ ถ้าพูดกันในแง่เถรวาทมันก็น่าจะเหมือนอย่างที่คุณพูด แต่อย่างไร ส่วนตัวดิฉันโดยมุมมองก็ยังมองแบบที่คุณว่าเราติดกิเลส แต่ก็ยังคิดแบบเดิมว่า คนเราแม้แต่การเทศน์มันก็น่าจะต้องมีทั้งภาคปราบและภาคโปรด หมายถึง ถ้ามันดื้อมากก็น่าจะต้องปราบ แล้วค่อยโปรด หรือ ทั้งปราบและโปรด ถ้าดิฉันจะหมายถึง เทศน์สั่งสอน อบรมให้เขาเป็นคนดี เช่นคอยห้ามปราม น่าจะเข้าข่ายการปราบ หรือ เทศน์ถึงกฏแห่งกรรมว่าระวังกรรมไม่ดี (ในกรณีนี้อาจเป็นทั้งการปราบและก็โปรด ก็เป็นได้ คือดิฉันคิดเอาเอง )หรือ การแสดงฤทธิ์ในแง่ของของฆราวาส เพื่อบอกหรือตอบโต้ ความเป็นจริงของสังคมที่เชื่อเฉพาะหลักที่เป็นตรรกะแต่เพียงเท่านั้นแต่ไม่เชื่อในเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้
    ในความรู้สึกในบางครั้ง บางสังคมที่ข้าพเจ้าเคยพบ อาจจะไม่เชื่อเรื่องพระพุทธศาสนาในแง่ปาฏิหารย์บางอย่าง เช่น การเหาะของพระอรหันตเจ้า ตัวดิฉันจึงมีความเชื่อลึก ๆ ว่าบางทีเราอาจต้องใช้การปราบ ถ้าจะยกตัวอย่างเรื่องของพระพุทธเจ้าแสดง ปาฏิหารย์ต่อหน้าพระญาติ ที่ไม่ยอมเคารพ กราบไหว้ จึงได้เหาะขึ้นไปบนนภากาศ ดิฉันคิดเอาเองว่านั่นคือ การปราบ ส่วนความหมายของการโปรดของความคิดดิฉัน น่าจะหมายถึง การให้ขวัญ กำลังใจ น่าจะเป็นในแง่บวกเสียมากกว่า หรือการพูดถึงอานิสงค์แห่งบุญต่าง ๆ ฯ
    ป.ล. จากดิฉันหยุดดี ผู้มีความรู้น้อย ถ่อมตัวคะ ข้อความดังกล่าว เป็นเพียงความคิดโดยส่วนตัวของดิฉันในส่วนของการแสดงความรู้สึกนึกคิดนะคะ ไม่ใช่หลักการนะคะ
    ขอขยายความเพิ่มนะคะ (พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าคะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2011
  4. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,515
    อืม..
    คุณเจตนาดี หวังดีต่อผู้อื่นเป็นกุศลเจตนา แล้วล่ะ
    แต่การ จะปราบหรือ โปรด (ตามการใช้ภาษาของคุณ)
    ก็ต้องพิจารณาตามกาลเทศะ ต้องมีปัญญากำกับ
    ตอนจะเตือนเพื่อน หรือคนที่เราปรารถนาดี ก็ดูตอนจังหวะดี ก็จะมีประโยชน์

    คุณหมายถึงลูกหลาน หรือญาติมิตรใช่ไหมคะ
     
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    การที่เราจะสั่งสอนคนเราก็ต้องดูคนที่จะสอนด้วย ถึงเราจะรู้ธรรมลึกละเอียดขนาดไหน แต่ถ้าเกิดมันขัดกับความเชื่อของคนเราจะไปบอกให้เขากลับความเชื่อทันทีไม่ได้ เพราะสำหรับคนเรานี่ยอมเสียได้ทุกอย่างแม้แต่ชีวิต แต่ไม่ยอมเสียหน้า ไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด คนจำพวกนี้จะใช้ไม้แข็งไม่ได้ อย่างที่พระพุทธองค์แสดงฤทธิ์เพราะเห็นว่าพูดไปก็เสียเวลาเปล่า แสดงให้เห็นไปเลย การเป็นครูที่ดีที่สุดไม่ใช่ครูที่มีนักเรียนมากที่สุด หรือเป็นครูที่มีความรู้มากที่สุด แต่เป็นคนที่ทำให้นักเรียนเข้าถึงความรู้ได้มากที่สุด ในการนี้ต้องดูนักเรียนเราด้วยว่าจะสอนเขาอย่างไร ก็ดูพระพุทธองค์เป็นแบบอย่าง เพราะท่านเป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า พระพุทธองค์ก็ทรงพิจารณาในส่วนที่ยังติดขัดในแต่ละคนและสอนในส่วนที่ยังติดขัดนั้น บางครั้งก็พูดกสั้นๆ แต่โดนใจ บางคนก็ต้องแสดงฤทธิ์ให้เขาหยุดทำชั่วก่อน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรามีเมตตาแค่ไหนในการสอนออกไป ไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายอย่างละเอียดทุกอย่าง อย่างสูตรทั้งหลายที่พระพุทธอวค์แสดง สูตรนี่แปลว่าเส้นด้าย ก็คือคำสอนนี้บางเหมือนเส้นด้ายไม่มีน้ำ มีแต่เนื้อ พิจารณาอ่านดูทุกถ้อยคำมีความหมายอย่างลึกซึ้งไม่ต้องอธิบายยึดยาวก็ได้
     
  6. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ก็ปราบเทวดาไง ไง ไง ไง ไง ไง
     
  7. KBLS

    KBLS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +280
    ชอบ idea และวิธีการตอบของคุณค่ะ

    "แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรามีเมตตาแค่ไหนในการสอนออกไป ไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายอย่างละเอียดทุกอย่าง "

    แล้วก็ไม่ชอบการตอบการเตือน ที่มีความหมาย เป็นนัยอ้อมค้อม ไม่สุภาพ ส่อเสียด
    บางทีอ่านแล้วดูหยาบคายสนองตัณหาตนเอง ก็มี แต่ก็เป็นการแสดงถึงพื้นเดิมของจิตใจ
    ท่านผู้นั้นด้วย
    นี่เข้าใจตามตัวอักษรที่อ่านนะคะ
    เราเป็นคนนอกอาจไม่รู้ความนัย หรือปล่าว
     
  8. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    "คนเราจะต้องมีวิชชาก่อน ถึงจะนำวิชชานั้นไปให้คนอื่นได้ ถ้าไม่มีก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปให้คนอื่น"

    คนที่ปรารถนาจะเป็นครูบาอาจารย์ ควรเริ่มจากการปราบกิเลสตนเอง โปรดตนเองให้มีขวัญกำลังใจในการปราบกิเลส จนตนเองเริ่มมีปัญญาในส่วนใดเข้าถึงธรรมความดีส่วนใด
    ก็ค่อยคิดที่จะนำวิชชาที่มีไปให้กับผู้อื่น ปราบผู้อื่น โปรดผู้อื่น ในส่วนเท่าที่เราเข้าถึงได้ ทำตามกำลังและโอกาสอันควร

    และตนเองก็มีงานหลักคือปราบตนเองโปรดตนเองให้มีวิชชาในการประหารกิเลสที่ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป เมื่อมีมากขึ้น ก็ย่อมมีกำลังจะให้มากขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...