อยากทราบประวัติ พระวิษณุกรรม ครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย kamakura, 8 กันยายน 2006.

  1. kamakura

    kamakura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +210
    คือผมอยากทราบประวัติความเป็นมาขององค์พระวิษณุกรรม เทพเจ้าแห่งการช่างน่ะครับ เนื่องจากว่าผมหาไม่เจอเลย หายากมาก แต่พระวิษณุกรรม กับพระวิษณุนารายณ์ คนละองค์กันนะครับ ถ้าหาได้แล้วช่วยโพสให้จะอนุโมทนาและขอบคุณอย่าง สูงเลยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
     
  2. tect

    tect สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    พรุ่งนี้จะหามาให้
     
  3. นทีมีทอง

    นทีมีทอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +48
    พอดีไปเจอมาครับ............

    พระวิษณุกรรม เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แห่งสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ นักศึกษาด้านวิชาชีพต่างก็ยกย่องนับถือองค์พระวิษณุกรรมในฐานะเทพ ผู้เป็นบิดาในเชิงช่าง

    [​IMG]

    ประวัติ พระวิษณุกรรม
    ประวัติพระวิษณุกรรมไม่แน่ชัดนักตำนานหนึ่งว่าเป็นโอรสของ"ภูวน"อีกตำนานหนึ่งว่าเป็นโอรสของ"ประภาส" ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวสุเทพบริวารของพระอินทร์วสุเทพนี้มี๘องค์คือธร(ดิน)อาป(น้ำ)อนิล(ลม)อนล(ไฟ)โสม(เดือน)ธรุระ
    (ดาวเหนือ) ปรัตยุษ(รุ่ง) และประภาส(แสงสว่าง)

    เรื่องราวของพระวิษณุกรรมมักจะเกี่ยวข้องกับพระอินทร์อยู่เสมอด้วยพระวิษณุกรรมเป็นเทพบริวารฝ่ายช่างของ
    พระอินทร์ดังปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทว่าเมื่ออดีตภพพระอินทร์เกิดเป็นมนุษย์มีนามว่า"มาฆมาณพ"อาศัยอยู่ที่
    ตำบลจุลคามแคว้นมคธมาฆมาณพได้ดำเนินชีวิตไปในทางบุญกุศลตลอดเริ่มด้วยการแผ้วถางทางเดินซึ่งในขณะที่สร้าง
    ได้มีบุรุษมาไต่ถามถึงความประสงค์เรื่อยๆ มาฆมาณพ ตอบว่าสร้างทางไปสวรรค์บุรุษนั้นๆ ก็มาร่วมด้วยจนมีจำนวนได้
    ๓๓คนต่อมาบุรุษทั้ง๓๓คนนั้นได้พากันไปสร้างศาลาที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ด้วยความมุ่งหมายเพื่อสร้างทางไปสวรรค์ต่อ
    ไป ในการสร้างศาลานี้มาฆมาณพพร้อมด้วยบุรุษทั้ง๓๓คนได้ไปเชิญนายช่างไม้ที่มีความสามารถผู้หนึ่งมาเป็นนายงาน
    นายช่างไม้ผู้นี้ได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในที่สุดศาลานั้นก็สำเร็จลุล่วงเป็นประโยชน์แก่ผู้สัญจรไปมาด้วยการ
    กระทำของมาฆมาณพซึ่งเป็นผู้กำกับการนายช่างไม้เป็นนายก่อสร้างและบุรุษทั้ง ๓๓ คนเป็นคนงาน ด้วยอานิสงส์ของกุศลดังกล่าวเมื่อ
    มาฆมาณพและเหล่าบุรุษทั้งหลายถึงแก่กรรมก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพยาดาในสรวงสวรรค์ทั้งหมด

    มาฆมานพไปเกิดเป็นสมเด็จอมรินทราชาธิราช(พระอินทร์)แห่งดาวดึงส์ภิภพเป็นใหญ่กว่าเทพยดาในสองชั้นฟ้า
    นายช่างไม้ไปเกิดเป็นพระวิษณุกรรมนายช่างศิลปะแห่งเทวโลกรับใช้องค์สมเด็จ บุรุษทั้ง ๓๓ คนนั้นก็บังเกิดเป็นเทพยดาองค์อื่นๆ ตามลำดับ
    พระวิษณุกรรมมีหน้าที่คอยรับใช้พระอินทร์ เมื่อพระอินทร์ใคร่จะสร้างเทวาลัย สถานที่หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็มีหน้าที่รับภาระสนองจัดสร้าง

    ลักษณะของพระวิษณุกรรมจะมีกายสีเขียวมีพระโลหิตเป็นสีเลือดหมูโพกพระเศียรด้วยผ้าขาวทรงจำศีลและถือหาง
    นกยูงเป็นเครื่องมือเพื่อโบกปัดกวาดสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างไรก็ตามมักพบรูปปั้นรูปหล่อหรือรูปเขียนของพระองค์ทรงถือผึ่งด้วยพระหัตถ์ขวา
    และทรงถือดิ่งด้วยพระหัตถ์ซ้ายนั้นคงเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อแสดงให้มีความหมายตรงกับหน้าที่ของพระองค์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็น
    บรมครู แห่งศิลปะการช่างเพราะผึ่งกับดิ่งนั้นเป็นเครื่องมือของช่างไม้ หรือคงเพื่อต้องการให้ตรงกับกำเนิดเดิมของพระวิษณุกรรมซึ่งเป็น
    นายช่างไม้สร้างศาลาดังกล่าวแล้วก็เป็นได้

    พระวิษณุกรรม เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แห่งสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ นักศึกษาด้านวิชาชีพต่างก็ยกย่องนับถือองค์พระวิษณุกรรมในฐานะเทพ ผู้เป็นบิดาในเชิงช่าง
    คำว่า "วิษณุ" หมายถึง พระนารายณ์หรือภาคหนึ่งของพระองค์ มีชื่อเรียกได้หลายชื่อด้วยกัน เช่น
    พระวิษณุกรรม วิสสุกรรม เวชสุกรรม เพชฉลูกรรม ตามความเชื่อในลัทธิพราหมณ์จะนับถือพระวิษณุกรรมว่า
    เป็นเทพผู้มีความรู้ ความสามารถในเชิงช่างฝีมือทุกประเภทเราจะพบว่าวรรณคดีหลายเรื่อง กล่าวถึงความ
    สามารถด้านนี้ของพระองค์ เช่น ในมหาเวชสันดรชาดก กล่าวถึงความสามารถด้านนี้ของพระองค์ เมื่อพระเวชสันดรได้พาพระนางมัทรีและสองกุมารมาถึงเขาวงกตนั้น พระวิษณุกรรมได้สร้างอาศรมถวายเพื่อใช้เป็นที่พักบำเพ็ญศีล
    ภาวนา
    ในสถาบันการศึกษาที่สอนวิชาช่างทุกแห่งจะพบว่า มีรูปปั้นของพระวิษณุกรรมไว้บูชาตามความเชื่อของ
    ลัทธิพราหมณ์เคียงคู่กับพระพุทธรูปของชาวพุทธเสมอมา แต่จะมีท่าทางที่ต่างกันอยู่ 2 ท่า คือท่านั่งจะเป็นรูปองค์
    พระวิษณุประทับนั่งบนแท่น มือขวาถือดอกบัวหรือลูกดิ่ง ส่วนท่ายืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่ง
    และไม้ฉาก ท่านคงสงสัยถึงที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ ก็พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอน
    วิชาชีพช่างก่อสร้าง ก็มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัย
    โบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง
    แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย ก็มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว


    บทบูชาพระวิษณุกรรม
    โอม คุรุ เทวา นะมามิ วิษณุกรรม กันเจวะ อาจาริยัง เทวา มหาปัญโย นิมิตตัง ศิลปนามัง โยธามิเศษตัง ปฏิกรรมนานัง ภะวันตุโน อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ เอหิ นะมะมามา วันทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...