หิริและโอตตัปปะเกิดไม่ได้ในผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 23 พฤศจิกายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    z9haeH8Et3C9ZNdK2eS_YT23r27Kh8kG7kzLnxN_SBTw&_nc_ohc=ZEKssQMVzjcAX8BaDpK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    หิริและโอตตัปปะเกิดไม่ได้ในผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ
    ********
    เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ...........
    ข้อความบางตอนใน สติสัมปชัญญสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=154
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะย่อมไม่มี

    ************
    [๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่ออินทรียสังวรมีศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
    ...........
    สติสัมปชัญญสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=154
    หมายเหตุ เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบเสีย แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็ไม่สมบูรณ์ไปด้วย
    ในทางตรงกันข้าม เมื่อสติสัมปชัญญะมี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมจะมีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบที่สมบูรณ์ แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็สมบูรณ์ไปด้วย




    ?temp_hash=48bc0e24655dca2ca4f5ad64bcea653d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๓๗๘] กตเม เทฺว ธมฺมา พหุการา ฯ สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ ฯ อิเม เทฺว ธมฺมา พหุการา ฯ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=11&A=6159
    (ก) ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
    คือ
    ๑. สติ (ความระลึกได้)
    ๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
    นี้ คือธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก
    ………………
    ข้อความบางตอนใน ทสุตตรสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=11
    หลายบทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา พหูการา ความว่า ธรรมคือสติและสัมปชัญญะ ๒ เหล่านี้มีอุปการะ คือนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ในที่ทั้งปวง เหมือนความไม่ประมาทมีอุปการะในกิจทั้งหลายมีการบำเพ็ญศีลเป็นต้น ฉะนั้น.
    ………………
    ข้อความบางตอนใน เทฺวธมฺมวณฺณนา อรรถกถาทสุตตรสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364

    addfm0-6zu8dxrkgvdxgjx7pmysbh1cuk6lr4fyq-_nc_ohc-hyxrjbhgwvuax9vcrc6-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ฐานกาย ที่มีสติ-สัมปชัญญะ เต็มรอบ จะเป็นฐาน เป็นที่พัก ให้การมองเห็นธรรมชาติของเวทนา จิต และธรรมเครื่องปรุงจิต สมบูรณ์ขึ้น

    และสามารถเป็นเครื่องมือตัดเครื่องร้อยรัดในวัฏฏะได้ง่ายอีกด้วย
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สติสูตร
    ว่าด้วยสติ
    [๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย
    ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

    [๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา
    เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.



    [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
    กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
    และจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
    ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    เป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
    เธอทั้งหลาย.
    จบ สูตรที่ ๒

    --------------------------------------
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อภิชฌา คือ ความยินดี(โลภะ)
    โทมนัสคือความยินร้าย (โทสะ)

    กำจัด คือ พรากออกไปด้วยชั่วขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรม หรือกำจัด คือ พรากออกไปด้วยการข่มไว้และกำจัดไม่ให้เกิดขึ้นอีกเลยด้วอริยมรรค

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 669

    อธิบายบท วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และวิธีประกอบกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้

    เพื่อจะแสดงองค์แห่งการละกิเลส จึงได้ตรัสว่า วิเนยฺย โลเกอภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกได้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเนยฺย ได้แก่พรากออกไปด้วยการพรากออกไปด้วยองค์นั้น หรือด้วยการพรากออกไปด้วยการข่มไว้.
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สติ-สัมปชัญญะ เมื่อเกิดขึ่้น จะทำให้จิตบรรเทาและหลุดร่อนออกจาก ความยินดี ความยินร้าย

    จิตก็จะก้าวสู่ความอิสระ สดใส โดยไม่ต้องพิึ่งกิเลสกาม กิเลสวัตถุ หรือไม่ต้องการใช้กาย วาจา ใจ ไปก่ออกุศลกรรม จิตก็มีสุขได้ จนกว่าจะถึงสุขที่ไม่อิงอามิส(โลก)อีกเลย คือ พระนิพพาน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...