หลักธรรมในการประกอบอาชีพ มีอะไรบ้าง ผู้รู้ช่วยที

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ตี๋ใหญ่, 18 มกราคม 2010.

  1. ตี๋ใหญ่

    ตี๋ใหญ่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +79
    พอดีว่าผมจะทำโปรเจ็กเกี่ยวกับหลักธรรมที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ

    ผมอยากทราบหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ

    มีอะไรบ้าง

    ขอกราบรบกวนท่านผู้รู้ ช่วยกรุณาผมด้วยนะครับ

     
  2. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    คำสอนในเรื่องการแสวงหานั้นพระพุทธองค์สอนให้ขยันในการแสวงหา ตามหลักของทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ ๑) ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจ เครื่องเลี้ยงชีพก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่ของตนเอง ๒) ถึงพร้อมการเก็บรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่นขยัน รู้จักเก็บออมทรัพย์ ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตนไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี ๓) ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว มีกัลยาณมิตร และเลี้ยงชีพตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟือยฟูมฟายนัก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่านี้เป็นระบบเศรษฐกิจพื้นฐานในระดับครอบครัว ซึ้งพระพุทธเจ้าทรงชี้บอกทางบรรดาชาวพุทธไว้มาแล้ว ๒๕๕๐ ปี และเป้าหมายของการพัฒนาอยู่ที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือให้เกิดความสุขในการดำรงชีวิต ต่อมาลองมาพิจารณาดูหลักคำสอนที่กล่าวถึงความสุข โดยเฉพาะความสุข อย่างตรัสไว้ในเรื่องความสุขของคฤหัสถ์ คือผู้ครองเรือนไว้ ๔ ประการ คือ ๑) สุขเกิดจาการมีทรัพย์ หมายถึงปัจจัยเครื่องอาศัย อย่างมีปัจจัยสี่ ๒) สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค สอนให้จ่ายแต่ต้องจ่ายเป็น จ่ายถูกต้องเหมาะสม มองเห็นความจำเป็น ความสำคัญ เข้าถึงคุณค่าแท้ของสิ่งนั้น ๆ มิใช่จ่ายเพราะเพื่ออวดโก้ อวดรวยเพื่อต้องการแสดงฐานะ แสดงให้เห็นว่ายังจมปรักอยู่กับคุณค่าเทียม ของใช้จ่าย การบริโภค ๓) สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้ อันนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญ จะยากดีมีจนเพียงใดแต่ต้องไม่เป็นหนี้ มีมากมีน้อยเพียงใดแต่ต้องไม่มีหนี้สิน เหตุนั้นการพัฒนาแบบจากยากจนแล้วก้าวกระโดดไปสู่ความเป็นผู้มีหนี้สิน จึงเป็นความผิดพลาดจากหลักการนี้โดยสิ้นเชิง และ ๔) สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ คือการงานอันเป็นที่มาของทรัพย์มีความสำคัญไม่น้อย พระพุทธศาสนามิได้มองผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว แต่มองเหตุที่ได้มาซึ่งทรัพย์ ได้มาโดยสุจริตหรือไม่
    ในที่นี้อยากจะนำการแสวงหาทรัพย์ อันเป็นที่มาของทรัพย์ว่า แม้การประกอบอาชีพของชาวพุทธที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ อันจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจ และทำธุรกิจ ที่มีหลักคำสอนในเรื่อง “มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายที่ไม่ชอบธรรม ๕ ประการ “ ได้แก่ ๑) การประกอบอาชีพด้วยการค้าเครื่องประหาร ได้แก่พวกอาวุธ ปืน ระเบิด เครื่องประหารต่าง ๆ ๒) การประกอบอาชีพโดยการค้ามนุษย์ ขายมนุษย์เพื่อไปขายแรงงาน ให้เป็นทาสแรงงาน ขายเพื่อให้บริการทางเพศ กินแรงคนอื่น เอาเปรียบแรงงาน ๓) การประกอบอาชีพโดยการขายสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การทำสิ่งใดหากขายเป็นเรื่องของการค้าขาย ทำเป็นธุรกิจแล้วจะเป็นเรื่องใหญ่ สัตว์จะต้องถูกฆ่ามากขึ้น ๔) การประกอบอาชีพด้วยการค้าขายน้ำเมา อย่างสุรา เบียร์ ยาเสพติด ดื่มแล้วทำลายสติ สัมปชัญญะ ให้เกิดความมึนเมาประมาท เป็นการค้าขายสิ่งที่ทำลายสติของคนอื่น และ ๕) การประกอบอาชีพด้วยการค้าขายยาพิษ การค้าขายการประกอบอาชีพ ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสก อุบาสิกา หรือห้ามชาวพุทธไม่ให้ประกอบ อยากให้มองบริบท จากสภาพสังคมไทยที่อ้างว่าเป็นสังคมของชาวพุทธนั้น แต่การกระทำกลับตรงกันข้ามกับหลักการที่ต้องห้ามทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้อยากให้ชาวพุทธทบทวนบทบาทแห่งตนแล้วปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนาแล้วจะมาโทษคำสอนทางศาสนาว่าไม่ได้ช่วย แก้ปัญหาของสังคม จึงไม่น่าจะถูกต้อง เหมือนหมอให้ยามา คนป่วยไม่ยอมกินยา ได้ยามาเก็บซ่อนไว้ใต้หมอน จะมาโมเมโทษว่ายาไม่ได้ช่วยให้ไข้หาย ไม่ได้ช่วยให้โรคหาย ท่านผู้อ่านเห็นว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่ คำตอบอยู่ที่ท่านผู้อ่านเอง

    นอกจากนี้แล้วสังคมเศรษฐกิจแบบพอเพียง เหตุที่ใช้ “คำว่าสังคม”เพราะ ต้องมองไปที่คนเป็นตัวตั้ง ความพอเพียงเป็นความพอเพียงของคน ดังนั้นสมาชิกของสังคมจะต้องมีคุณธรรม อันเป็นคุณลักษณะของจิตใจ หรือคุณภาพของจิตใจ กล่าวคือต้องมีคุณธรรม ๔ ประการ ได้แก่ ปธาน ความเพียร ๔ อย่าง ๑) สังวรปธาน ความเพียรระวังไม่ให้บาป ความชั่วเกิดขึ้นใน(สันดาน)จิตใจ อันมีความโลภ ความโกรธ และความหลง ๒) ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดแล้ว ให้ลดน้อยลงหรือให้หมดไป ๓) ภาวนาปธาน เพียรกระทำให้กุศล คือคุณความดีเกิดขึ้นใน(สันดาน)จิตใจ และ ๔) อนุรักขนาปธาน มีความเพียรรักษากุศล คือความดีงาม ความถูกต้องชอบธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ท่านตรัสว่าความเพียร ๔ อย่างนี้เป็น”สัมมาวิริยะ” ความเพียรที่ชอบ ควรประกอบให้มีในตน สังคมชาวพุทธหรือสังคมนักเศรษฐกิจแบบพอเพียง จะต้องมีคุณธรรม ๔ ประการนี้ด้วย จึงจะทำให้สังคมเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    ที่มา http://www.src.ac.th
    มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
     
  3. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด
    เลี้ยงชีพชอบ หมายถึงการทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต
    เว้นมิจฉาอาชีวะ อันได้แก่ การเลี้ยงชีพไม่ชอบ คือการโกงหรือหลอกลวง เว้นการประจบสอพลอ การบีบบังคับขู่เข็ญ และการต่อลาภด้วยลาภ รวมถึงอาชีพอีก 5 ประเภท ดังนี้
    สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ ได้แก่ อาวุธปืน อาวุธเคมี ระเบิด นิวเคลียร์ อาวุธอื่น ๆ เป็นต้น อาวุธเหล่านี้หากมีเจตนาเพื่อทำร้ายกัน จะก่อให้เกิดการทำลายล้างซึ่งกันและกัน โลกจะไม่เกิดสันติสุข
    สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์ ได้แก่ การค้าขายเด็ก การค้าทาส ตลอดจนการใช้แรงงานเด็กและสตรีอย่างทารุณ
    มังสวณิชชา หมายถึง ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหารเป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนการค้าสารเสพติดทุกชนิด
    วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสัตว์
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ...
    สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ...
    มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”

    หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
    รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

    ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

    หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
    อาจารย์วศิน อินทสระ







    อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค

    ชาร์ตแสดงความสัมพันธ์แห่งอริยสัจ ๔ โดยจับคู่เป็น ๒ คู่

    สมุทัยอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี ทุกข์อริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง
    มรรคอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี นิโรธอริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง




    ความทุกข์


    การดับความทุกข์และสร้างสุขที่แท้จริง







    ความทุกข์





    เหตุให้เกิดทุกข์ : ตัณหา



    ความดับทุกข์
    ดับตัณหาและมีสุขที่แท้จริง



    หลักปฏิบัติที่ทำให้พ้นทุกข์
    และสร้างสุขที่แท้จริง
    มัชฌิมาปฏิปทา
    (ทางสายกลาง)


    ชีวิตคืออะไร : ขันธ์ ๕
    รูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ
    มีตัว มีตน


    ชีวิตเป็นอย่างไร:ไตรลักษณ์
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน


    ความทุกข์ :
    - ทุกข์กาย
    - ทุกข์ใจ


    ประเภทและอาการแห่งทุกข์ ตามหลักทั่วไป

    ทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์

    หลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุกข์



    ชีวิตเป็นไปอย่างไร
    กระบวนการเกิด "ทุกข์"
    ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร


    ตัณหา :
    - กามตัณหา
    (ความอยากมี)
    - ภวตัณหา
    (ความอยากเป็น)
    - วิภวตัณหา
    (ความอยากไม่ให้มี
    อยากไม่ให้เป็น)


    อุปาทาน :
    - กามุปาทาน
    (ยึดมั่นในความอยาก)
    - ทิฏฐุปาทาน
    (ยึดมั่นในทฤษฏี)
    - สีลัพพตุปาทาน
    (ยึดมั่นศีลและพรต)
    - อัตตวาทุปาทาน
    (ยึดมั่นตนเป็นหลัก)
    อุปาทานขันธ์ ๕


    ลักษณะแห่งตัณหา

    ที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา

    อาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์

    ทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา

    กิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย





    ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
    กระบวนการดับ "ทุกข์"
    ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร


    ดับตัณหา


    ดับอุปาทาน


    ดับทุกข์ :
    - ดับทุกข์ทางกาย
    - ดับทุกข์ทางใจ



    ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก



    ความสุขที่เหนือกว่า
    ระดับชาวโลก




















    ความดับแห่งตัณหา

    ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา

    ผู้ดับตัณหา

    อาการดับแห่งตัณหา













    (การละชั่ว)












    สมถะภาวนา
    ดับทุกข์และดับกิเลสชั่วคราว



















    วิปัสสนาภาวนา
    ดับทุกข์และดับกิเลสถาวร













    ไม่มีตัวตน (กาย/ใจ)








    "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไร
    เป็นของตนอย่างแท้จริง
    ----------------------
    สุญญตา : ว่าง




    ไม่อยากเอา ไม่อยากเป็น




    "ไม่ยึดมั่นถือมั่น"
    (ไม่มีตัวกู ของกู)
    สุญญตา : จิตว่าง
    -----------------------
    จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน


    ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
    " มัชฌิมาปฏิปทา "
    ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (มรรค) เป็นอย่างไรเล่า?
    ภิกษุ ท.! หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนั่นเอง ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ :
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การดำรงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
    ความตั้งใจมั่นชอบ อันนี้เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์


    ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น (ความใคร่ในกามและการทรมานตนให้ลำบาก)
    เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดญาณ
    เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน

    ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
    ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วย
    องค์แปดประการนี่เอง แปดประการคืออะไรเล่า? คือ :
    1) สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง)
    2) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง)
    3) สัมมาวาจา (การพูดจาที่ถูกต้อง)
    4) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานที่ถูกต้อง)
    5) สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง)
    6) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง)
    7) สัมมาสติ (ความรำลึกที่ถูกต้อง)
    8) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง)

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
    มัชฌิมาปฏิปทา ๓ ระดับ

    พุทธธรรม : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
    บทที่ ๑๖ : บทนำของมัชฌิมาปฏิปทา
    กระบวนการดับทุกข์ตามมรรค
    กระบวนการแห่งความดับทุกข์
    มรรคในฐานะมรรคาสู่จุดหมายขั้นต่าง ๆ ของชีวิต
    จากมรรคสู่ไตรสิกขา

    ธรรมะบรรยาย
    คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม




    ฟังธรรมะบรรยาย
    (มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

    อ่านพระไตรปิฎก
    (คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา) อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
    (โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง) วิธีปฏิบัติธรรม
    (ธรรมะภาคปฏิบัติ)


    จำนวนผู้เข้าชม : 270 คน
    จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา


    จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
    ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
    จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
    หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
    ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
    ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


    หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป


    พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
    ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล

    ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์
     
  5. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    "อิทธิบาท 4"
     

แชร์หน้านี้

Loading...