หลักการอ่านภาษาบาลี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อาจารย์เตี้ย, 10 มกราคม 2009.

  1. อาจารย์เตี้ย

    อาจารย์เตี้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +603
    สวัดดีครับ วันนี้ผมจอมมารจะมาสอนอ่านภาษาบาลี การสะกด

    เห็นหลายท่านยังจะไม่เคยอ่านและอยากลองอ่านดู

    วันนี้ผมเลยถือโอกาสนี้มานำเสนอขายเอ้ยไม่ใช่ครับ

    มานำเสนอวิธีการอ่านภาษาบาลีกันให้ถูกต้องกัน

    เผื่อท่านใดได้คาถามาแต่ดันเขียนภาษาบาลีมาให้

    ไม่รู้อ่านไง ปัญเล่านี้จะหมดไป เพราะผมนำเสนอเครื่องอ่านภาษา

    บาลีเอ้ยอีกและไม่ใช่ครับ นึกว่าตัวเองขายของขออภัยเอาเป็นว่า

    เรามารู้จักวิธีการอ่านบาลีเบื้องต้นกันนะครับ

    การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น

    บทสวดมนต์ที่โบราณาจารย์คัดจากพระสูตรต่างๆ นำบทสวดนั้น เป็นภาษาบาลี

    หรือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ ภาษานี้พระพุทธเจ้าใช้ใน

    การประกาศศาสนาเป็นหลักแม้ในการทำสังคยานาร้อยกรองพระธรรมวินัย

    พระสังคาหกาจารย์ ก็ได้ใช้ภาษาบาลีในการจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระไตรปิฎก บาลีจึงมีกฎเกรณฑ์ทางไวยยากรณ์เฉพาะตน แม้จะนำมาเขียนในรูปแบบของภาไทย ก็ยังมีวิธีอ่านที่แตกต่างกันจากภาษาไทยบ้างในบางตัว ข้อนี้เป็นปัญหาสำหรับผู้สวดที่ไม่รู้ภาษาบาลีพอสมควรเพราะไม่รู้จะอ่านอย่างไรจึงจะถุกต้องตามหลักอักขรวิธี ผมจึงขอนำเสนอขายเครื่ออ่านภาษาบาลี ในราคา เอ้าๆๆ มั่วอีกและ นึกว่าขายของอยู่เรื่อย ขออภัยครับท่านผู้อ่าน ผมเลยได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือ เพื่อให้ชาวประชาชีเว็ปพลังจิตได้ศึกษาได้อ่านกัน และได้ศึกษากัน
    อักขระหรืออักษรในภาษาบาลีมี ๔๑ ตัวแยกเป็นสระ ๘ ตัว
    และพยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ

    สระ ๘ ตัว คือ อะ อา อ อี อุ อู เอ โอ

    สระ ๓๓ ตัวนี้ชื่อ นิสสิต เพราะออกเสียงได้ตามลำพังตนเองและทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้
    พยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ ​

    ก(กะ) ข(ขะ) ค(คะ) ฆ(ฆะ) ง(งะ) จ(จะ) ฉ(ฉะ) ช(ชะ) ฌ(ฌะ)

    ญ(ญะ) ฏ(ฏะ) ฐ(ฐะ) ฑ(ฑะ) ฒ(ฒะ) ณ(ณะ) ต(ตะ) ถ(ถะ)

    ท(ทะ) ธ(ธะ) น(นะ) ป(ปะ) ผ(ผะ) พ(พะ) ภ(ภะ) ม(มะ)

    ย(ยะ) ร(ระ) ล(ละ) ว(วะ) ส(สะ) ห(หะ)ฬ (ฬะ) อํ(อังนิคหิต)​

    ข้อควรระวังในการอ่านออกเสียงจากภาษาบาลีสู่ภาษาไทย
    ๑.การเขียนภาษาบาลีสะกดแบบไทย ได้คงรูป สระและพยัญชนะไว้ตามอย่างการเขียนบาลี พยัญชนะที่ออกเสียงสระก็เขียนคำประวิสสรรชนีย์ด้วย ยกเว้นบางศัพท์ออกเสียงสระอะเพียงกึ่งมาตรา ออกเยงควบกับพยัญชนะตัวอื่น ตัวอย่าง เช่น

    บาลีว่า ภควโต เขียนสะกดแบบภาษาไทยว่า ภะคะวะโต

    บาลีว่า อรหํ เขียนสะกดแบบไทย อะระหัง

    บาลีว่า ปุริสทมฺมสารถิ ไทยว่า ปุริสะทัมมะสาระถิ

    ๒. พยัญชนะอรรธสระหรืออัฆฒสระ คือ พยัญชนะออกเสียงกึ่งสระและ กึ่งพยัญชนะ สามารถออกเสียงควบกับพยัญชนะอื่นได้ ทำให้พยัญชนะที่สะกดซึ่งอยู่หน้ามีฐานะเป็นตัวสะกดและเป็นตัวควบกล้ำกับพยัญชนะเล่านี้ด้วย พยัญชนะเล่านี้คือ ย,ร,ล,ว, จำแนกดังนี้
    ๒.๑ ร อักษรอยู่ท้ายตัวสะกด หรืออยู่ท้ายพยัญชนะบางตัว เช่น พฺ , ทฺ ให้ออกเสียงกล้ำกันได้ ตัวอย่าง เช่น
    บาลีว่า พฺรูถ ไทยว่า พะ-รู-ถะ
    บาลีว่า พฺราหฺมโณ ไทยว่า พะ-ราม-มะ-โน
    บาลีว่า ยตฺร, ตตฺร, อญฺญตฺร ไทยว่า ยันตระ ตัตระ อัญญัตระ อ่านว่า ยัด-ตะ-ระ
    ตัด-ตะ-ระ, อัน-ยัด-ตะ-ระ
    บาลีว่า อินฺทฺริยํ ไทยว่า อินทริยัง อ่านว่า อิน-ทะ-ริ-ยัง
    บาลีว่ายาตฺรา ไทยว่า ยาตรา อ่านว่า ยาด-ตะ-รา
    บาลีว่า อตฺรโช ไทยว่า อัตระโช อ่านว่า อัด-ตะ-ระ-โช
    บาลีว่า ภทฺรานิ ไทยว่า ภัทรานิ อ่านว่า พัด-ทะ-รา-นิ

    ๒.๒ ย อักษร อยู่ท้ายพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะโดด บางตัว เช่น พ อักษร จะออกเสียงสระอะกล้ำกับพยัญชนะตัวนั้น ทำให้พยัญนะ ตัวหน้านั้น มีสถานะเป็นตัวสะกดและออกเสียงสระอะกึ่งเสียงด้วย ตัวอย่าง เช่น

    บาลีว่า พฺยญฺชนํ ไทยว่า พยัญชะนัง อ่านว่า พะ-ยัน-ชะ-นัง
    บาลีว่า อพฺยากตา ไทยว่า อัพยากะตา อ่านว่า อับ-พะ-ยา-กะ-ตา
    บาลีว่า กลฺยาโณ ไทยว่า กัลยาโณ อ่านว่า กัน-ละ-ยา-โน
    บาลีว่า อพฺยาปชฺฌา ไทยว่า อัพยาปัชฌา อ่านว่า อับ-พะ-ยา-ปัด-ชา
    บาลีว่า กลฺยาณกมฺยตํ ไทยว่า กัลยาณะกัมยะตัง อ่านว่า กัน-ละ-ยา-นะ-กัม-มะ-ยะ-ตัง

    ๒.๓ ว อักษร อยู่ท้ายพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะโดด บางตัว เช่น ท อักษร ในภาษาบาลีจะลง ตฺวา, ตฺวาน ปัจจัยเป็นพื้น ซึ้งมีมากใน ปกรณ์บาลีทั้งปวง โดยออกเสียง ตฺ เป็นตัวสะกด (แม่กด) และออกเสียงสระอะกึ่งด้วย ตัวอย่างเช่น

    บาลีว่า เทว ไทยว่า เทว อ่านว่า ทะ-เว
    บาลีว่า คนฺตวา ไทยว่า คันตะวา อ่านว่า คัน-ตะ-วา
    บาลีว่า วตฺวา ไทยว่า วัตวา อ่านว่า วัต-ตะ-วา
    บาลีว่า ปตฺวา ไทยว่า ปัตวา อ่านว่า ปัต-ตะ-วา

    ๓. พยัญชนะอุสุม คือพยัญชนะที่มีเสียงเสียดแทรก เมื่อเป้นตัวสะกด ก็สามารถอ่านออกเสียงได้อีก คือ สฺ อักษรในบาลี และ ศฺ,ษฺ อังษรในภาษาสันสกฤต สำหรับภาษาลาลีที่เห็นเด่นชัดคือ ศัพที่ลงสฺมา วิภัตติ หรือ สฺมึวิภัตติ อีกด้วย ในกรรีนี้ จะต้องออกเสียง สฺ อักษรในฐานะตัวสะกด (แม่กด) และออกเสียงสระที่ สฺ อักษรเพียงกึ่งมาตรากล้ำกับคำที่อยู่หลังตัวอย่าง เช่น

    บาลีว่า ตสฺมา ไทยว่า ตัสมา อ่านว่า ตัส-สะ-หมา
    บาลีว่า อายสฺมนฺโต ไทยว่า อายัสมันโต อ่านว่า อา-ยัส-สะ-หมัน-โต
    บาลีว่า อายสฺมา ไทยว่าอายัสมา อ่านว่า อา-ยัส-สะ-หมา
    บาลีว่า ทิสฺวา ไทยว่า ทิสวา อ่านว่า ทิส-สะ-หวา

    ๔. บาลีที่ลง เ-ยฺย (เอยย วิภัตติ) หรือ เอยฺย ปัจจัย ให้อ่านออกเสียง กึ่งกลางระหว่าง ไ-ยะ กับ เ-ยย ซึ่งออกเสียงยาก จึงนิยมออกเสียงเป็น ไ-
    ตัวอย่าง เช่น

    บาลีว่า คณฺเหยฺย ไทยว่า คัณเหยยะ อ่านว่า คัณ-ไห-ยะ
    บาลี ว่า อาหุเนยฺโย ไทยว่า อาหุเนยโย อ่านว่า อา-หุ-ไน-โย
    บาลีว่า ปาหุเนยฺโย ไทยว่า ปาหุเยโย อ่านว่า ปา-หุ-ไน-โย
    บาลีว่า เสยฺยถีทํ ไทยว่า เสยยะภีทัง อ่านว่า ไส-ยะ-ถี-ทัง
    บาลีว่า วฑฺเฒยยํ ไทยว่า วัฑเฒยยัง อ่านว่า วัด-ไท-ยัง

    ๕. ฑ อักษร ในภาษาบาลีให้ออกเสียงเป็น ด อักษร ตัวอย่าง
    บาลีว่า ปณฺฑิโต ไทยว่า ปัณฑิโต อ่านว่า ปัน-ดิ-โต
    บาลีว่า ปิณฺฑปาโต ไทยว่า ปิณฑะปาโต อ่านว่า ปิน-ดะ-ปา-โต

    ๖. ห อัษร + อี อัการ ไม่นิยมอ่านออกเสียงตามตัวของมัน นิยมอ่าน ห อักษร เป็นเสียง ฮ อักษร ตัวอย่าง
    บาลีว่า หีโน ไทยว่า หีโน อ่านว่า ฮีโน
    บาลีว่า วิญฺญูหีติ ไทยว่า วิญญูหีติ อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ

    ๗. ศัพท์บาลีถูกแปลงมาจากอาเทศสระสนธิ คือ การแปลงสระ อิ,เอ,อุ,โอเป็นพยัญชนะเพื่อเข้ากับศัพท์อื่นที่อยู่ด้านหลัง หรือแม้แต่ศัพท์เดี่ยวที่มีอุปสัค อยู่หน้าก้สามารแปลงได้ คือ แปลง อุ,โอ เป็น วฺ อักษร แปลง อิ เอ เป็น ยฺ อักษร ตัวอย่างเช่น

    บาลีว่า สฺวากขาโต ไทยว่า สวากขาโต อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต
    (สฺวากฺ มาจาก สุ+อกฺขาต แปลงอุเป็น ว สะ จึงออกเสียงกล้ำกึ่งมาตรา กับ หวาก )
    บาลีว่า จกฺขฺวายตนํ ไทยว่า จักขวายะตะนัง อ่านว่า จัก-ขะ-วา-ยะ-ตะ-นัง
    บาลีว่า อสีตฺยานุพฺยญฺชนํ ไทยว่า อะสีตยานุพยํญชะนัง อ่านว่า อะ-สี-ตะ-ยา-นุ-พะ-ยัน-ชะ-นัง
    บาลีว่า ปฏิปตฺยตฺถํ ไทยว่า ปฏิปัตยัตถัง อ่านว่า ปะ-ติ-ปัด-ตะ-ยัด-ถัง

    ๘.สุดท้ายแล้วครับพี่น้องชาวพลังจิต คำที่สะกดด้วย อิยฺ ให้อ่านเป็น อี โดยใช้ฟันล่าง และฟันบนกดกัน แล้ว ออกเสียง ตัวอย่าง เช่น
    บาลีว่า นิยฺยานิโก ไทยว่า นิยยานิโก อ่านว่า นีย-ยา-นีโก
    บาลีว่า นิยฺยาเทม ไทยว่า นิยยาเทมะ อ่านว่า นีย-ยา-เท-มะ

    จบหลักสูตรแล้วครับ ขอเชิญทุกท่านที่ศึกษาจบไปรับประกาศไปรษณียาบัตรประกาศจบได้ครับ เหอๆๆๆๆๆๆๆ



     
  2. อาจารย์เตี้ย

    อาจารย์เตี้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +603
    มีการบ้านให้ไปลองแปลดู ลองมาแปลงกันดูดิ ว่าอ่านว่าอย่างไร
    ทดสอบ ว่า จบหลักสูตรยัง หาคำอ่านของภาษาบาลีต่อไปนี้
    โยฏฺฐพฺพิโธ อ่านว่าไร
     
  3. อาจารย์เตี้ย

    อาจารย์เตี้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +603
    ไร้ผู้คนเหลียวแลสงสัยจะอ่านเป็นกันหมดแล้ว
     
  4. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,657
    ค่าพลัง:
    +9,236
    ขออนุโมทนาค่ะ
    เจ้าของกระทู้..ทำให้อ่านได้ถูกต้องมากขึ้นค่ะ
     
  5. threeam

    threeam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,364
    โย-ตะ-ทับ-พิ-โธ
    ถูกผิดอย่างไร แนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณที่นำมาสอน
     
  6. อาจารย์เตี้ย

    อาจารย์เตี้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +603


    -----------------------------------------------------------------------
    ถูกต้องแล้วครับผม ขออนุโมธนาด้วยนะครับ
     
  7. อาจารย์เตี้ย

    อาจารย์เตี้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +603
    หายไปหมดเลยนะครับ
     
  8. TJ69

    TJ69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนาสาธุ ในผลบุญด้วยครับ

    --------------------------------------
    คนที่ไม่เคยเป็นผู้ให้...ย่อมยากที่จะได้รับ..
    “การให้”..มองอย่างธรรมดาดูเหมือนว่า..เป็นการสูญเสีย..
    แต่แท้ที่จริงแล้ว...
    ผู้ให้ คือ..ผู้ที่ได้รับต่างหาก..
    คนที่เป็นผู้ให้จึงมีเกียรติคุณเกริกกรรจายชั่วฟ้าดินสลาย
    ทั้งนี้นั่นเป็นเพราะ
    “...โลกคารวะผู้ให้... แต่บอดใบ้ต่อผู้กอบโกยและโกงกิน...”

    ที่มา : ธรรมะรับอรุณ....ท่าน ว. วชิรเมธี


    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    โมทนาบุญด้วยนะครับ.....
    ผมอ่านว่า โยต ตะ ทับ พิ โธ ใช่ปะครับ....
     
  10. phramaha phichit punyawachiro

    phramaha phichit punyawachiro สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เพียงชี้แนะ โยฎฺฐพฺพิโธ

    สวัสดีครับสมาชิกชาว เว็บพลังจิต ทุกท่าน น้องใหม่ขอรายงานตัว
    วันนี้ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาษาบาลีเผอิญมาเจอเว็บบอร์ด
    สนทนาภาษาบาลี ก็ได้อ่านทัศนะของแต่ละท่านก็แสดงทัศนะของใครมัน
    ผมอยากชี้แนะ บทบาลีว่า โยฏฺฐพฺพิโธ ดังนี้ครับ
    ควรอ่านว่า โยด - ถับ - พิ - โท อ่านแบบภาษาไทยนะครับ
    อันที่จริงบทนี้เป็นบทสวดมนต์ทำวัตรเช้านะครับ
    โดยแยกให้เห็นบทบาลีอย่างชัดเจนก็คือ
    โย + อฏฺฐ + พิโธ ทีนี้ทำไมถึงเป็น โยฏฺฐพฺพิโธ โปรดติดตามนะครับ อันนี้เป็นบทสนธินะครับ โย นั้น คงไว้ ทีนี้ ศัพท์ว่า อฏฺฐ นั้น ก็นำไปเชื่อมที่ โย ก็จะเป็น โยฏฺฐ ส่วน พิโธ นั้นก็นำไปต่อกับ โยฏฺฐ มาซ้อนตัว
    พยัญขนะ พฺ เป็นพยัญชนะสังโยค (ที่เรียกว่าตัวสะกดในภาษาไทย)นั่นแหละครับ รวมสามบทเข้าด้วยกัน(ทั้งลบทั้งซ้อนพยัญชนะเหล่านั้นก็จะเป็นบทบาลี ว่า โยฏฺฐพฺพิโธ จากความหมายว่า เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ ๘ จำพวก โย แปลว่า ใด อฏฺฐ แปลว่า ๘ พิโธ แปลว่า แบบ
    อย่าง ถ้าแปลเฉพาะ อฏฺฐพฺพิโธ ก็ แปดอย่าง อย่างคำว่า นานาวิธํ มีอย่างต่างๆ วิวิธํ ก็แปล่า มีอย่างต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้(good)
     

แชร์หน้านี้

Loading...