เรื่องเด่น หลวงปู่ปวง เกจิดังล้านนา ละสังขารอย่างสงบ ศิริอายุ 102 ปี พรรษา 80

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์, 29 มิถุนายน 2019.

  1. โพธิสัตว์

    โพธิสัตว์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +726
    หลวงปู่ปวง1-768x432.jpg

    หลวงปู่ปวง เกจิดังล้านนา ละสังขารอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลพะเยา ศิริอายุ 102 ปี พรรษา 80 เผยหลวงปู่ได้สงเคราะห์สาธารณะประโยชน์เพื่อสาธารณกุศลมากมาย ศิษย์แห่อาลัย

    หลวงปู่ปวง วันที่ 29 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ หรือ หลวงปู่ปวง เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ หรือ วัดพระเจ้าตนหลวง พระอารามหลวงชั้นตรี ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 ได้ละสังขารแล้วในเวลา 20.11 น. ที่ผ่านมา ศิริอายุ 102 ปี พรรษา 80 ณ โรงพยาบาลพะเยา

    ประวัติพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ น.ธ.เอก, ป.ธ.5,พธ.ด.กิตติมศักดิ์) นามเดิม ปวง วงศ์เรือง เกิดวันพุธที่ 11 ก.ค.2460 แรม 7 ค่ำ เดือน 8 (เดือน 10 เหนือ) ปีมะเส็ง ณ บ้านสางเหนือ ต.บ้านสาง อ.เมือง จ.พะเยา โยมบิดาชื่อ พ่อหนานปุ๊ด วงศ์เรือง โยมมารดาชื่อ แม่หลวง วงศ์เรือง บรรพชาวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ค.2475 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ปีวอก ณ วัดสางเหนือ พระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการตื้อ ธมฺมวํโส วัดศรีบุญเรือง ต.บ้านสาง อุปสมบทวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย.2481 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 (เดือน 9 เหนือ) ปีขาล ณ พัทธสีมา วัดสางเหนือ

    จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสาง ต.บ้านสาง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กทม. ความรู้ความสามารถพิเศษ มีความชำนาญอ่านเขียนภาษาล้านนา การออกแบบแปลนพระอุโบสถ กุฏิ แบบล้านนา ประวัติศาสตร์และโบราณคดีล้านนา

    ปัจจุบันหลวงปู่ มีตำแหน่งด้านสังคม เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธจังหวัดพะเยา กรรมการที่ปรึกษาราชประชานุเคราะห์ กรรมการปริวรรตหนังสือล้านนาไทยปัจจุบันตามโครงการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการที่ปรึกษาจัดทำพจนานุกรมล้านนาฉบับแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรรมการที่ปรึกษาศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

    นอกจากนี้หลวงปู่ยังสงเคราะห์สาธารณะประโยชน์เพื่อสาธารณกุศลมากมาย อาทิ สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม จัดตั้งสำนักเรียนบาลี จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา วัดศรีโคมคำ

    ด้วยหลวงปู่มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้ค้นคว้าและศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีของล้านนาและเมืองพะเยามาเป็นเวลามากกว่า 40 ปี และผลงานเขียนหนังสือด้านประวัติศาสตร์ของล้านนาและเมืองพะเยามากมาย จึงเป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งเมืองพะเยา

    จากผลงานทั้งหมดนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสถานศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีและที่รวบรวมจัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น พร้อมกับวัตถุโบราณต่างๆ ที่จังหวัด ในส่วนภูมิภาคของไทยจะมีขึ้นได้โดยไม่ง่ายนัก คือ 1. หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำซึ่งสร้างขึ้นในพื้นที่โฉนดของวัดศรีโคมคำ ด้านทิศใต้ติดกับชายกว๊าน โดยได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทางวางศิลาฤกษ์และทรงเปิด

    2. หอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร จังหวัดพะเยา ซึ่งจัดสร้างขึ้นในพื้นที่บริเวณดอยพระธาตุจอมทอง วัดศรีโคมคำ โดยได้รับพระมหากรุณาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2538 สิ่งที่บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่แสดงกตัญญูในครั้งนี้และทุกปีที่ผ่านมา เพื่อสำนึกในความเมตตาของหลวงปู่ที่มีต่อผู้คนมากมาย ให้ลูกศิษย์ได้สืบสานปณิธานของหลวงปู่สืบไป

    ขอบคุณที่มา ข่าวสด
     

แชร์หน้านี้

Loading...