หนังสือพระแก้วแห่งสยาม

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 7 พฤษภาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    กระทู้นี้เคยชื่อ : ถาม-ตอบ หนังสือพระแก้วแห่งสยาม
    คลิปคล้ายการสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ หน้า 2#24

    55865081_2180130192083287_1362844250311491584_n-jpg.jpg
    ขออนุญาตเวปพลังจิตครับ


    กระทู้นี้ผมขออนุญาตใช้พื้นที่ของเวปพลังจิตในการตอบคำถามที่คุณทนงศักดิ์ โบจรัส เจ้าของหนังสือพระแก้วแห่งสยาม เพราะผมใช้มือถือตอบคำถามหน้าจอเล็กๆไม่ค่อยเป็น จึงต้องขอยืมพื้นที่นะครับ

    ขอขอบคุณและท่านที่สนใจสามารถถามเข้ามาในกระทู้นี้ได้เช่นกันครับ เพราะผมสะดวกกว่าตอบทางมือถือที่หน้าแป้นเล็กเกินครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2019
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    สำรองพื้นที่
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ค่ำวันนี้ผมบังเอิญเปิดมือถือพบว่ามีคำถามเรื่องพระแก้ว ผมจึงมาขอตั้งกระทู้นี้ เพื่อใช้บันทึกและจะได้เป็นประโยชน์โดยกว้างครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    20190507_203712.jpg
    ขออภัยที่ภาพเกรนหยาบ เพราะผมยังจับภาพหน้าจอไม่เป็นในมือถือตัวใหม่นี้ครับ เลยใช้กล้องถ่ายภาพจากจอคอมฯ 20190507_203724.jpg
    คำถามที่คุณทนงศักดิ์ โบจรัส เจ้าของหนังสือพระแก้วแห่งสยามถามมาครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    จากคำถามที่คุณทนงศักดิ์ถามมานั้น ผมเข้าใจความหมายของคุณทนงศักดิ์นะครับ แต่ผมกลัวว่าท่านอื่นที่อ่านคำถามนั้น จะเข้าใจว่า การสร้างพระแก้ว 2 ปางนี้ เป็น 2 เทคนิควิธี ซึ่งไม่ใช่ครับ ทั้ง 2 ปางหรือ 2 รุ่นนี้ ใช้เทคนิควิธีการสร้างวิธีเดียวกัน คือ Pressed Glass ครับ แต่ต่างกันตรงลิ่มเดือยเท่านั้น ซึ่งลิ่มเดือยที่ต่างกันนั้น เดี๋ยวผมจะอธิบายครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    อดทนฟังหน่อยนะครับ เพราะมันเป็นเหตุเป็นผลกัน

    ลิ่มเดือยเหล็กนั้น ช่างแก้วในอดีตทำขึ้นเพื่อแทงลงไปในน้ำแก้วที่ช่างแก้วหยอดน้ำแก้วลงในแม่พิมพ์เหล็กที่ปิดล๊อคแล้ว เมื่อช่างแก้วหยอดน้ำแก้วลงในแม่พิมพ์ น้ำแก้วจะมีอุณหภูมิลดลงจาก 1,400C ลงมาเหลือประมาณ 900C ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีหรือ 1 นาที แต่ก็พบว่า ช่างแก้วบางทีมจะดึงเวลาตรงนี้ให้ช้าลงเพราะทำงานเร็วจะเหนื่อยมาก เขาดึงให้ถึง 1 นาที 15 วินาที จึงจะเป็นเวลาที่ช่างแก้วแทงลิ่มเดือยเหล็กลงไป เมื่อลิ่มเดือยเหล็กแทงลงไปในน้ำแก้ว แท่งลิ่มเดือยจะร้อนมาก ช่างแก้วจะแช่แท่งลิ่มเดือยไว้ประมาณ 15 วินาที เพื่อให้น้ำแก้วอยู่ตัว แล้วโยกก้านดึงแท่งลิ่มเดือยออก ช่างแก้วอีกคนก็จะปลดล๊อคแม่พิมพ์เหล็กแล้วนำพระแก้วออกจากแม่พิมพ์ แล้วช่างอีกคนก็จะนำพระแก้วไปเข้าเตาอบ ขบวนการทั้งหมดใช้เวลาเร็วมาก ประมาณ 1 นาทีเศษๆต่อองค์ โดยใช้ทีมช่างแก้วประมาณ 6 - 8 คน บางทีมใหญ่หน่อยถึง 10 คนก็มี

    ที่สำคัญคือ เมื่อนำพระแก้วออกจากแม่พิมพ์แล้ว ก็จะปิดล๊อคแม่พิมพ์ทันที สร้างองค์ต่อไปทันที คือเร็วมาก ชั่วโมงหนึ่งอาจสร้างได้ 60 องค์ แต่ส่วนมากช่างจะดึงให้ช้าหน่อย ชั่วโมงละประมาณ 30 องค์

    เริ่มเข้าประเด็นแล้วนะครับจากตรงนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2019
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    การสร้างรุ่นแรกๆ ของพระแก้วโสธร ช่างแกะแม่พิมพ์มักสร้างลิ่มเดือยอันใหญ่ แต่เมื่อเหล็กแท่งลิ่มเดือยถูกความร้อนถึง 8 - 900C ต่อเนื่องไม่หยุดเลยจาก 08:00 น. ถึง 12:00 น. และจาก 13:00 น. ถึง 17:00 น. เหล็กลิ่มเดือยมักชำรุด
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    พอรุ่นต่อๆไป หรือบางครั้งยังไม่ทันจะรุ่นต่อๆไป ถ้าหากลิ่มเดือยชำรุด ช่างของโรงงานแก้วจะเข้าแก้ไขทันที อย่างที่โรงงานของคุณพ่อผมจะมีช่างแม่พิมพ์ประจำโรงงานแก้วของเราเลย ช่างคนนี้จะเข้าทำการแก้ไขลิ่มเดือยเหล็กทันทีด้วยการ ตัดสั้นบ้าง เฉือนให้เล็กลงบ้าง จึงทำให้เกิดลิ่มเดือยหลายขนาดขึ้น

    คำถามก็เกิดขึ้นว่า แล้วทำไมไม่ส่งช่างแม่พิมพ์ต้นสังกัดของเขา ซึ่งมักอยู่ที่ตรอกจันทร์สะพาน 3 หรือบางสำนักก็อยู่แถวสำเหร่ คำตอบคือ คนงานที่เป็นช่างแก้วทั้งทีม 6 - 10 คนนี้เขาหยุดงานไม่ได้ หยุดแล้วโรงงานต้องจ่ายค่าแรงเหมือนเดิม จึงให้ช่างแม่พิมพ์ประจำโรงงานรีบตัด รีบเฉือนทันที เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยมากครับ
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เหล็กลิ่มเดือยบางครั้งก็ตัดไม่ได้เซ็นเตอร์ จึงทำให้แก้วที่องค์พระบางส่วนบางเกินไป สังเกตุที่โพรงอากาศในองค์พระครับ ถ้าโพรงอากาศไม่อยู่ในเซ็นเตอร์ ก็แปลว่า มักจะเป็นการแก้ไขลิ่มเดือยโดยช่างของโรงงานแก้วเอง เพราะถ้าเป็นช่างของโรงงานแม่พิมพ์เหล็ก มักจะค่อนข้างตรงเซ็นเตอร์ ( แต่ก็พบบ่อยๆครับ ที่โรงงานแม่พิมพ์เหล็กส่งมาไม่ตรงเซ็นเตอร์ตั้งแต่แรกเลยก็พบบ่อยๆ )
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ช่างแก้วที่สร้างพระแก้วด้วยวิธีกดปั๊ม ช่างบางคนเรียกแก้วปั๊ม บางคนเรียกแก้วบีบอัด แต่ถ้าภาษาอังกฤษเรียก Pressed Glass ดูเหมือนฝรั่งเขาเรียกอย่างเดียว แต่คนไทยเรียกหลายอย่าง ช่างแก้วเหล่านี้มีจำนวนมากครับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ช่างแก้วสร้างพระแก้วเข้ามาจากจีนด้วยกันหลายสาย ผมขอเปิดเผยบางสายได้แล้ว เนื่องจากท่านได้เลิกกิจการไปแล้ว ส่วนสายที่ยังไม่ได้เลิกกิจการผมขอสงวนไว้ก่อนเพราะเป็นรุ่นหลานๆผมแล้ว คือมักเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ที่ 4 ไปแล้ว เดี๋ยวไปทำความเสียหายให้เขา

    สายปรมาจารย์ช่างแก้วจีนสายที่ 1 สายโรงงานแก้วไท้ยิป สร้างพระแก้วตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2498 99 จนกระทั่งมีทายาทสืบต่อและอาจถือว่าเก่งกว่ารุ่นบรรพบุรุษ นั่นคือโรงงานแก้วเจษฏาที่สร้างพระแก้วต่อมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2560 61 จึงได้เลิกกิจการไปเนื่องจากรวยแล้ว
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    สายปรมาจารย์ช่างแก้วจีนสายที่ 2 สายปรมาจารย์ของผมเอง ผมเข้ามาเป็นศิษย์ท่านปี พ.ศ. 2516 - 2520 แต่ยังต้องขอสงวนไว้ก่อน เพราะลูกหลานเหลนโหลนของท่านยังดำเนินกิจการอยู่อย่างใหญ่โตครับ จะเปิดเผยไปไม่สมควร

    สายที่ 2 นี้มีลูกศิษย์จำนวนไม่มาก เพราะท่านไม่ค่อยสอนในวงกว้าง แต่ทุกสายนับถือว่า ท่านปรมาจารย์สายนี้กับสายไท้ยิปคือสุดยอดของปรามาจารย์สร้างพระแก้วของไทย

    หมายเหตุ
    เท่าที่ทราบ ปรามาจารย์ของผมท่านก็เข้ามาไล่เรี่ยกับสายปรมาจารย์ไท้ยิป อาจต่างกันไม่กี่ปี
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    สายที่ 3 ยังขอสงวนชื่อไว้ก่อน แต่สายนี้มีลูกศิษย์จำนวนมาก เนื่องจากเป็นการขยายตลาดความรู้ให้แก่ช่างของไทยในยุคแรกๆ คือประมาณปี พ.ศ. 2498 - 2518 สายนี้ด้วยเหตุใดไม่ทราบจึงทำให้เกิดการเรียนรู้แบบขยายให้แก่ช่างแก้วไทยจำนวนมาก อาจเพราะความที่ไม่เก่งมาจากจีนเหมือนสายที่ 1 และสายที่ 2 จึงมีการเชิญช่างแก้วของฝรั่งที่ทำงานอยู่องค์การแก้วให้เข้ามาช่วยสอน

    ต่อมาลูกศิษย์สายที่ 3 นี้ได้แตกออกไปเป็นกลุ่มๆ บางกลุ่มรวมตัวกันไปเปิดโรงงานแก้วสร้างพระแก้ว บางกลุ่มยังจับกลุ่มอยู่ที่โรงงานดั้งเดิม และบางกลุ่มเลิกอาชีพเป็นช่างแก้วไป
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    สายที่ 4 ช่างแก้วที่เรียนรู้การสร้างพระแก้วจากสายที่ 3 ได้แตกตัวออกไป และกระจายเข้าสู่หลายสิบโรงงานแก้ว ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503 04 จึงเป็นเหตุให้มีโรงงานแก้วที่สามารถรับงานสร้างพระแก้วได้หลายสิบโรงงาน หรืออาจถึง 100 โรงงานแก้วหรือไม่ ? ผมไม่แน่ใจ เอาเฉพาะที่ผมนับชื่อโรงงานแก้วที่เคยสร้างพระแก้วตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2498 ถึงปัจจุบัน ผมนับได้ประมาณยี่สิบกว่าโรงงานแก้วแล้ว แล้วที่ผมไม่รู้จักอีกคงเกือบร้อยโรงงาน

    หมายเหตุ
    มีโรงงานแก้วเกิดขึ้น เลิกกิจการไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็มาก น่าจะเกือบๆร้อยโรงงานได้ ปัจจุบันอาจเหลือไม่ถึง 50 โรงงานแก้วแล้วครับ แต่ทำไมมีผมคนเดียวออกมาเล่าให้ฟังก็ไม่ทราบ และก็มีผมคนเดียวที่สร้างพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วและสร้างพระแก้วในยุคหลังๆด้วยเทคนิคที่ต่างจากอดีตไปเลย
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ขออนุญาตยกภาพพระแก้วที่มีการแก้ไขลิ่มเดือยเหล็ก สังเกตุได้ว่า มีความไม่ตรงเซ็นเตอร์ เป็นเพราะว่า ช่างแม่พิมพ์เหล็กประจำโรงงานแก้วได้ตัดเฉือนลิ่มเดือยไปข้างหนึ่ง จึงทำให้โพรงอากาศไม่ตรงเซ็นเตอร์ครับ
    55865081_2180130192083287_1362844250311491584_n.jpg
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    จังหวะการปั๊มพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ มีความเร็วใกล้เคียงกับคลิปนี้ครับ ถ้าทีมช่างที่ไม่กลัวเหนื่อย เขาจะสร้างเร็วมาก เท่ากับคลิปนี้เลย แต่ถ้าทีมช่างเขากลัวเหนื่อย เขาจะดึงหน่อย ซึ่งเป็นธรรมดาครับ ทำงานตั้งแต่เช้า 08:00 น. - 17:00 น. บางฤดูที่พระแก้วขายดีมาก เราเคยทำ โอที ต่อไปเลย จาก 17:00 น. ต่อเนื่องไปถึง 24:00 น. ก็บ่อยมาก และไม่ใช่ทำแค่วันสองวัน เราโอทีครั้งละเป็นเดือนๆครับ สมัยนั้นพระแก้วขายดีมาก สร้างกี่แสนองค์ก็ไม่ทันขาย
    ani 0001.gif
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    baccarat0000001.jpg
    ภาพวิธีการสร้างพระแก้วจากโรงงานแก้วในฝรั่งเศส เทคนิควิธีตามรูปนี้ คือ Pressed Glass ครับ แต่เป็น Pressed Glass ที่ไม่ใช้แท่งเหล็กลิ่มเดือยแล้วนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2019
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    user236095_pic40951_1255479405.jpg user236095_pic40953_1255479405.jpg
    ต่างจากพระแก้วไทยที่ขนาดของไทยสร้างมักไม่เกินหน้าตัก 5 นิ้ว ( วัดหัวเข่าซ้ายถึงหัวเข่าขวา ) ราคาที่ออกจากโรงงานแก้วขายส่งให้สำนักต่างๆองค์ละเพียง 25.- บาท

    ในภาพนี้เป็นการสร้างของลาลีคฝรั่งเศส หน้าตัก 8 นิ้วเศษ องค์ละประมาณ 4 แสนกว่าบาท ทั้งสีขาวฝ้าและสีเหลืองอำพันฝ้า ซึ่งขนาดหน้าตัก 8 นิ้วนี้ เขาสร้างจำกัด

    แต่ฝรั่งเศสเขาฉลาด เขาไปเน้นขายขนาดหน้าตัก 4 นิ้วซึ่งสร้างจำนวนไม่จำกัด ขายดีมากครับในต่างประเทศ แต่ในไทยคนไม่รู้จัก ดูเหมือนที่ผมเคยไปฝรั่งเศสเขาขายหน้าตัก 4 นิ้วกันองค์ละประมาณ 4 หรือ 5 หมื่นบาทครับ เคยไปเห็นทั้งฮ่องกง หรือประเทศปลอดภาษีก็ราคาเดียวกัน เพียงแต่เวลาซื้อในฝรั่งเศส ถ้าคุณเป็นคนต่างประเทศเขามีคืนภาษีให้นิดหน่อยครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    user236095_pic13786_1227018405.jpg
    องค์นี้เป็นรุ่นที่ผมสร้างครับ หน้าตัก 9 นิ้ว ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเทคนิค Mouth Blow Glass ที่ใช้แม่พิมพ์เหล็กนะครับ ยังไม่มีใครลบสถิติเลย
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    0005 (2).jpg
    หน้าตัก 9 นิ้วที่ผมสร้างอีกเทคนิควิธี คือแทนที่จะใช้เทคนิค Pressed Glass หรือ Mouth Blown Glass ผมไปใช้เทคนิค Lost Wax Glass ไปเลย

    ต่างกันมากนะครับ ระหว่างเทคนิค Mouth Blown Glass ( เป่าแก้วด้วยปอด ) กับ Pressed Glass ( แก้วปั๊ม ) กับเทคนิค Lost Wax Glass ( แม่พิมพ์ขี้ผึ้งหาย )
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    คลิปนี้แสดงให้เห็นหมดทั้งขบวนการ Pressed Glass ที่ใช้เครื่องจักรแบบง่ายๆนะครับ นี่คือต่อ 1 แท่นเครื่องจักร นับเวลาในการสร้างชิ้นงานแก้ว 1 ชิ้นนั้น นับได้ไม่กี่วินาทีเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...