สำรวมกาย-วาจา-ใจ ‘เวียนเทียน’ วันอาสาฬหบูชา ฝึกสติรับมือความทุกข์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    หัวค่ำนี้พุทธศาสนิกชนอย่าลืมไป “เวียนเทียน” เนื่องใน “วันอาสาฬหบูชา” หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่า วันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ หมายถึงทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สัมมาสัมพุทธะ” คือ “เป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถแสดง สิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้”

    881e0b8b2e0b8a2-e0b8a7e0b8b2e0b888e0b8b2-e0b983e0b888-e0b980e0b8a7e0b8b5e0b8a2e0b899e0b980e0b897.jpg

    โดยมี “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เป็นปฐมเทศนา หรือ เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ทำให้ท่านโกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบท เป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัย จึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลกเช่นกัน


    การเวียนเทียน ถือเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ทั้งในวันอาสาฬหบูชา รวมถึงวันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอัฏฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า

    การเวียนเทียน เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติด้วยความสำรวม โดยเตรียมกายเตรียมใจ ดังนี้

    1.อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจเบิกบาน

    2.แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่

    3.เตรียมเครื่องบูชาให้พร้อม เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน

    4.ควรเดินทางมาถึงวัด หรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียน ก่อนเวลาเริ่มเดินเวียนเทียน

    เมื่อเดินทางถึงวัด ก่อนอื่นควรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัย เพื่อร่วมศาสนพิธีตามลำดับขั้นตอนของวัด จากนั้นจึงออกมาเตรียมตัวด้านหน้าพระอุโบสถ หรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียน ถึงเวลาที่ทางวัดกำหนด จะตีระฆังสัญญาณให้ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ประชุมพร้อมกันที่สถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียนของวัดนั้นๆ ภิกษุอยู่แถวหน้า ถัดไปสามเณร ท้ายสุดอุบาสก อุบาสิกา

    โดยทุกคนถือดอกไม้ธูปเทียน ตามแต่จะหาได้ และให้เทียน ถูกจุดสว่างไสวนำทางจนครบ 3 รอบไม่ดับไปเสียก่อน จากนั้นให้หันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่จะเวียน แล้วกล่าวคำบูชา และเดินเวียนไปทางที่มือขวาของตน หันเข้าสถานที่ที่เวียนนั้น จนครบ 3 รอบ ซึ่งการเดินเวียนขวานั้น ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง ตามธรรมเนียมอินเดียในสมัยพุทธกาล

    1e0b8b2e0b8a2-e0b8a7e0b8b2e0b888e0b8b2-e0b983e0b888-e0b980e0b8a7e0b8b5e0b8a2e0b899e0b980e0b897-1.jpg

    แต่ละรอบของการเดินเวียนเทียน ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ตามลำดับ ดังนี้

    รอบแรก : ระลึกถึงพระพุทธคุณ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
    เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ


    รอบที่สอง : ระลึกถึงพระธรรมคุณ

    สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก
    อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ


    รอบที่สาม : ระลึกถึงพระสังฆคุณ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
    อัญชลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


    เมื่อครบ 3 รอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่เตรียมไว้ จากนั้นจึงเข้าไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ แล้วแต่ที่ทางวัดกำหนด ซึ่งแต่ละวัดจะปฏิบัติแตกต่างกันไป บางวัดให้ทำวัตรเย็น และสวดมนต์ บางวัดมีเทศน์พิเศษ หรือบางวัดให้พุทธศาสนิกชนฟังเทศน์ก่อนเดินเวียนเทียนก็ได้ เพราะจะพร้อมเพรียงและเป็นระเบียบมากกว่า

    1e0b8b2e0b8a2-e0b8a7e0b8b2e0b888e0b8b2-e0b983e0b888-e0b980e0b8a7e0b8b5e0b8a2e0b899e0b980e0b897-2.jpg

    ความหมายที่สำคัญ ของการเดินเวียนเทียน อย่าได้ลืม ไม่ใช่การเดินตามปกติทั่วไป แต่เป็นการเดิน เพื่อสำรวม กาย วาจา และใจ ดังนั้นขณะเวียนเทียน จึงควรตั้งใจระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ไม่ควรหยอกล้อ หรือพูดคุยกัน การเดินควรให้ห่างจากคนข้างหน้าพอสมควร เพื่อไม่ให้ธูปเทียนโดนผู้อื่น และเดินตามๆกันไปไม่เร่ง หรือ เดินแซงกัน

    และอย่าลืมนำสาระสำคัญของ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าไปเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ทั้ง “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ ทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์แปด ประกอบด้วย

    • ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
    • ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
    • เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
    • การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
    • เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
    • พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)
    • ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
    • ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

    รวมถึงอริยสัจสี่ หรือ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ สมุทัย ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์และ มรรค ความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

    Add Friend Follow ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/176680/
     

แชร์หน้านี้

Loading...