สำรวจความพร้อมบรรลุมรรคผล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย dr.anatta, 5 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. dr.anatta

    dr.anatta สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +16
    สำรวจความพร้อมบรรลุมรรคผลffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    พุทธพจน์<O:p></O:p>
    1.รู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    2.รู้ชัดว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    3.รู้ชัดว่าวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    4.รู้ชัดว่าปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    5.รู้ชัดว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    6.รู้ชัดว่าสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    7.รู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    อนึ่ง โพชฌงค์ทั้ง 7 ประการที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย โพชฌงค์ทั้ง 7 ประการที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย<O:p></O:p>
    ลงมือปฎิบัติ<O:p></O:p>
    เมื่อเจริญสติตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้าตามลำดับโดยไม่เลิกล้มกลางคัน นักเจริญสติรู้สึกถึงความเป็นไปได้ที่จะบรรลุมรรคผล ด้วยการมีปกติเห็นว่ากายใจไม่ใช่บุคคล ไม่แม้กระทั่งอยากได้มรรคผลเพื่อตนเอง เพราะอุปาทานว่ามีตนน้อยลงทุกที<O:p></O:p>
    อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกเข้าใกล้มรรคผลมีหลายแบบ แบบไม่รู้อะไรเลยแต่นึกว่ารู้ก็มี แบบย้ำหลอกตัวเองให้เชื่อว่าเข้าใกล้ภาวะบรรลุมรรคผลเข้าไปทุกทีก็มี ตัวความรู้สึกจึงไม่ใช่เครื่องประกันที่ดี ตรงข้าม อาจลวงเราให้ไขว้เขว มัวหลงเมากิเลสรูปแบบใหม่ก็ได้<O:p></O:p>
    เราจึงควรมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ตรวจสอบคุณภาพของจิตว่าพร้อมบรรลุมรรคผลจริง และเป็นหลักเกณฑ์ชนิดที่เราสามารถเทียบวัดได้ด้วยตนเอง อาศัยประสบการณ์ภายในมาตัดสินว่าใช่หรือไม่ใช่ โดยภาวะดี ๆ ทางใจที่เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า จวนแล้ว นั้น รวมเรียกว่า โพชฌงค์ มีอยู่ 7 ประการ ดังนี้<O:p></O:p>
    1.มีสติเป็นอัตโนมัติ<O:p></O:p>
    สติคือความสามารถในการระลึกรู้ได้ และไม่ใช่อะไรที่สูงส่งพิสดารเกินจินตนาการ เอาแค่ง่าย ๆ อย่างเช่นตอนนี้กายนั่งอยู่รู้ไหมว่ากายนั่งอยู่ ถ้ารู้ก็นั่นแหละ ปากทางไปนิพพาน<O:p></O:p>
    อย่างไรก็ตาม สติชนิดที่พร้อมจะพาไปถึงมรรคถึงผลได้จริงนั้น หมายถึงรู้ได้เอง และรู้อยู่เรื่อย ๆ ไม่ต้องคอยคุมสติ ไม่ต้องคอยระวังตั้งใจ เปลี่ยนท่านั่งก็รู้ เปลี่ยนจากสบายเป็นอึดอัดก็รู้ เปลี่ยนจากสงบเป็นฟุ้งก็รู้ เปลี่ยนจากจิตดี ๆ เป็นจิตตกก็รู้ เปลี่ยนจากปลอดโปร่งเป็นกระโจนออกไปหาเหยื่อล่อทางตาหูก็รู้ กล่าวโดย่นย่อ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับกายใจก็รู้อยู่อ่างเป็นอัตโนมัติไม่ใช่เวลาส่วนใหญ่เผลอ เหม่อ หรือหลงลืมไปว่ากายใจเป็นอย่างไร แล้วนานๆทีค่อยมานั่งนึกเอาว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่<O:p></O:p>
    2.มีการพิจารณาสิ่งถูกรู้ด้วยปัญญา<O:p></O:p>
    เมื่อสติเป็นอัตโนมัติดีแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเท่าทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตามจริง และการมีความสามารถล่วงรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ตามจริงนั้นก็จะพลอยได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นชอบ เป็นผู้ทรงปัญญาเยี่ยงพุทธแท้ คือ มีสติรู้ภาวะที่เกิดขึ้นตรงหน้าสดๆร้อนๆ และรู้เห็นโดยความเป็นสภาพที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปเป็นธรรมดา แต่หากปราศจากการเห็นโดยความเป็นของเกิดดับ ก็ไม่ได้ชื่อว่าจิตมีปัญญาเห็นตามจริง แค่เห็นไปอย่างนั้นเอง<O:p></O:p>
    3.มีความเพียรพิจารณาธรรม<O:p></O:p>
    เมื่อปัญญาในการเห็นสภาวธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นเต็มที่ สิ่งที่จะตามมาเป็นธรรมดาคือความเพียรไม่ย่อหย่อน เพราะพบแล้วว่าหลักสำคัญของการเจริญสติมีนิดเดียวนั่นคือ มีอะไรให้ดูก็ดูให้หมด ซึ่งหมายความว่าดูได้ตลอดวันตลอดคืนไม่ใช่เข้าสู่สถานที่ปฎิบัติธรรมแล้วค่อยเริ่มความเพียรแบบหน้าดำคร่ำเครียด<O:p></O:p>
    4.มีความอิ่มใจในการเท่าทันสภาวธรรม<O:p></O:p>
    เมื่อความเพียรพิจารณาธรรมแก่กล้าเต็มกำลัง สิ่งที่เกิดตามมาเป็นธรรมดาคือความอิ่มใจ และความอิ่มใจในที่นี้ก็มิใช่ลักษณะเดียวกับความสมหวังน่าชื่นมื่นแบบกิเลสๆ เพราะเป็นความอิ่มใจอันปราศจากเหยื่อล่อแบบโลก ๆ กับทั้งมิใช่ความปลาบปลื้มกับการนึกว่าจะได้มรรคผลรำไรในอนาคตอันใกล้ เพราะใจเราจะพอใจในสติที่มาถึงแล้วเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่มรรคผลที่ยังมาไม่ถึงเบื้องหน้า<O:p></O:p>
    5.มีความสงบระงับเยือกเย็น<O:p></O:p>
    เมื่อความอิ่มเอมเปรมใจเต็มที่ ถึงขั้นไม่อยากได้อะไรนอกจากมีสติ ย่อมตามมาด้วยความสงบระงับเยือกเย็นเป็นธรรมดา กายขยับเท่าที่จำเป็นต้องขยับ ใจเกิดปฏิกิริยาเท่าที่จำเป็นต้องเกิดปฏิกิริยา แตกต่างจากคนธรรมดาที่มักอยู่ไม่สุข นั่งนิ่งไม่เป็นใจเย็นไม่ได้<O:p></O:p>
    6.มีความตั้งมั่น<O:p></O:p>
    เมื่อจิตระงับความกระเพื่อมไหว เหมือนแผ่นน้ำกว้างใหญ่สงบราบคาบจากใจกลางถึงขอบฝั่ง สิ่งที่เกิดตามมาเป็นธรรมดาคือความตั้งมั่นแห่งจิต และไม่ใช่ตั้งมั่นทื่อๆแบบไม่รู้อะไรเลยแต่เป็นความตั้งมั่นอยู่อย่างรู้เห็น ทราบว่ากายใจสักแต่เป็นสภาวะไร้บุคคล เกิดภาวะหนึ่งแล้วต้องเสื่อมจากภาวะนั้นเป็นธรรมดา<O:p></O:p>
    7.มีความเป็นกลางวางเฉย<O:p></O:p>
    เมื่อจิตตั้งมั่นจนความยินดียินร้ายทั้งหมดหายเงียบ สิ่งที่เกิดตามมาเป็นธรรมดาคือความรับรู้อย่างเป็นกลางวางเฉยเป็นความวางเฉยที่เงียบเชียบยิ่ง คือ รับรู้อยู่เงียบๆถึงการผ่านมาแล้วจากไปของสรรพสิ่ง ไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ เห็นใครตายก็รู้เท่าทันว่าแค่ภาวะแห่งรูปหนึ่งดับไป หรือแม้เห็นความคิดแย่ ๆ ผุดขึ้นในหัวก็รู้ว่าแค่ภาวะแห่งสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีบุคคลอยู่ในที่ไหน ๆ ทั้งภายในและภายนอก<O:p></O:p>
    ความมีใจรู้อย่างเป็นกลางเต็มที่ ก็คือปล่อยวางถึงขีดสุดนั่นเอง และการปล่อยวางถึงขีดสุดนั่นเองเป้นคุณภาพของจิตที่พร้อมจะถึงฌานในแบบมรรคผล<O:p></O:p>
    คัดลอกจากเสียดายคนตายไม่ได้อ่านฉบับปฏิรูป<O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...