สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sonny, 1 ตุลาคม 2006.

  1. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    เรื่องสมาธิแยกเป็น 2 ส่วนคือมิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ
    แต่ละสมาธิก็มีวิธีการ และการนำมาใช้งานที่แตกต่างกัน มิจฉาสมาธินั้น หลักสำคัญคือการเพ่งเพื่อให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียว
    โดยเอาความสงบเป็นเป้าหมาย
    เมื่อจิตสงบตามต้องการแล้ว ก็น้อมเอาความสงบนั้นไปสร้างภพสร้างชาติ


    ส่วนสัมมาสมาธินั้น หลักสำคัญคือการมีสติระลึกรู้อารมณ์เฉพาะหน้าอย่างต่อเนื่อง
    เอาความแน่วแน่ที่จิตจะมีสติสัมปชัญญะ รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏเป็นเป้าหมาย
    เพื่อน้อมเอาจิตชนิดนั้นไปเจริญสติปัฏฐานได้อย่างต่อเนื่อง


    สัมมาสมาธิต้องประกอบด้วยศีล และปัญญาด้วยเสมอ
    เพราะในขณะที่จิตตั้งมั่น มีสติระลึกรู้อารมณ์นั้น
    จิตย่อมมีศีล คือความเป็นปกติของจิต เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกกิเลสครอบงำ
    และมีปัญญารอบรู้การเกิดดับของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบัน


    ที่หลวงพ่อชากล่าวว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอันเดียวกันนั้น ก็ถูกของท่าน
    เพราะท่านหมายถึง จิต ในขณะนั้น ว่าประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา


    กรณีของท่านพระอานนท์ การเร่งความเพียรของท่านนั้น
    ท่านทำอย่างไรในตำราไม่ได้ว่าไว้
    แต่ในฐานะผู้ปฏิบัติ ผม-สันนิษฐาน-ว่า ท่านไม่ได้เร่งความเพียรด้วยการเข้าฌาน
    เพราะท่านย่อมรู้ว่า การเข้าฌานทำให้เนิ่นช้า
    และท่านคงไม่ได้เร่งความเพียรด้วยการตรึกตรองธรรมะ
    เพราะนั่นเป็นการใช้ปัญญาอย่างหยาบ
    ผู้ปฏิบัติในขั้นแตกหักเอาจริงเอาจังนั้น
    ท่านน่าจะรวมรู้ลงที่จิตของท่าน จดจ่ออยู่ที่จิตของท่าน
    แต่ไม่ว่าจะรู้ หรือพิจารณาจิตอย่างไร จิตก็ไม่ปล่อยวางจิต
    เพราะอะไร
    ก็เพราะความจงใจนั้นเอง ได้สร้างภพของผู้ปฏิบัติ ให้เกิดกับท่านพระอานนท์
    เมื่อท่านใช้ความพยายามจนสุดความสามารถแล้ว ท่านก็เลิกความจงใจเพื่อพักผ่อน
    ในขณะที่เอนกายลงนอนนั้นเอง
    จิตของท่านก็ปล่อยวางความยึดถือจิต เพราะเห็นแล้วว่าจิตเป็นของที่บังคับเอาไม่ได้
    ปัญญาจริงๆ เกิดตรงที่ตรงนี้ครับ
    แล้วจุดนี้ สัมมาสมาธิก็มีอยู่อย่างบริบูรณ์
    เพราะจิตของท่านในขั้นนี้เป็นมหาสติแล้ว เป็นอัตโนมัติแล้วที่จะประกอบด้วยศีล และสมาธิ
    เมื่อมหาปัญญาอุบัติขึ้นในพริบตาเดียว
    ความหลุดพ้นจึงเกิดขึ้น
    (ขอย้ำนะครับว่าอันนี้เป็นข้อสันนิษฐาน
    จากประสบการณ์ของนักปฏิบัติในยุคเรานี้เอง)


    สำหรับวิชชาธรรมกายนั้น เป็นสมาธิแบบใด ก็ลองพิจารณากันเองเถอะครับ
    ผมมีเรื่องจะเล่าเกี่ยวกับธรรมกายบางเรื่อง
    แต่ไว้หาที่เล่าในกระทู้อื่นดีกว่า
    มิฉะนั้นเดี๋ยวกระทู้นี้ถูกลบไปก็น่าเสียดายทีเดียว
    [8 พฤษภาคม 2542]

    http://www.bangkokmap.com/pm/index.php?option=com_content&task=view&id=146&Itemid=38&PHPSESSID=10c61a9339748eeebe7e6f98dbe19b08
     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,169
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +29,753
    ตั้งกระทู้ไว้หลายที่เหลือเกิน รบกวนรวมไว้ที่เดียวได้ไหมครับ จะได้ถาม-ตอบ

    กันเป็นเรื่องๆไป ทีละประเด็น ท่านอื่นจะได้ไม่ต้องตามเปิดดูหลายที่

    และเนื้อหาที่ตอบจะได้ต่อเนื่องกัน
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขออนุญาตแนะนำเว็ปหน่อยนะครับ ท่านใดต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย ทุกเรื่อง ทุกอย่าง เชิญศึกษาได้ที่เว็ปนี้ครับ

    http://kayadham.org/


    [​IMG]
    <!-- / message -->

    ยินดีและดีใจนะครับ ที่เราผู้ศึกษาวิชชาธรรมกาย ทั้งผู้สนใจอื่นๆ จะได้พูดคุยกันแบบบัณฑิตในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันหรืออย่างน้อยก็ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยอคติทั้งปวง...
    <!-- / message -->
     
  4. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,169
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +29,753
    ถ้าผู้เจริญวิชชาฯ ไม่ก้าวข้ามขั้น

    คือ หมั่นเจริญสติปัฏฐานสี่เนืองๆ จนคล่อง มีจุดยืนคือ กำจัดกิเลสตนตลอดเวลา

    ขณะที่เสียงกระทบหู แต่ใจ รู้ และ เห็น

    เสียง กระทบรู้ แล้วดับไป

    แต่ถ้าใจไม่หยุดนิ่ง ( ไม่มีสมาธิเป็นปัจจุบัน) ...จะเห็นใจเป็นสีต่างๆขึ้นมาทันที เนื่องจากดวงคิด (จิตสังขาร) ดวงจำ ( สัญญา ) ดวงรู้
    (วิญญาณธาตุในขันธ์ห้า ) ทำงาน ปรุงเป็นสิ่งต่างๆขึ้นมา


    ......นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่ง เป็นสัมมาสมาธิหรือไม่ .....
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ถูกต้องแล้วครับคุณTONY ผู้ฝึกวิชชาธรรมกายเมื่อใจจรดที่ศูนย์ ใจหยุดนิ่งใสอยู่ตรงนั้น เราจะมีสติตลอดเวลา รู้เห็นอารมณ์ที่เข้ามารับกระทบในอายตนะ 12 ได้ชัดเจน มีสติอยู่ในอิริยาบถ 4 ก็คือใจจรดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย หยุด นิ่ง ใสเป็นจุดเดียว ไปไหนมาไหน ขึ้นเหนือล่องใต้ปลอดภัยหมด สาธุ
     
  6. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,169
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +29,753
    [​IMG] OO กายคตาสติ OO
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช. เพื่อประโยชน์อันใหญ่, เพื่อความปลอดโปร่งจากโยคะ<SUP></SUP> อันใหญ่, เพื่อสติสัมปชัญญะ, เพื่อได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณคือความรู้ภายใน), เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน, เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา(ความรู้) และวิมุติ(ความหลุดพ้น). ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ? ธรรมอย่างหนึ่ง คือ กายคตาสติ(สติอันไปในกาย). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช, เพื่อประโยชน์อันใหญ่ ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ."

    เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๕ <CENTER>
    [COLOR=gray,direction=115);]๓๑. อานิสงส์ต่าง ๆ ของกายคตาสติ[/color] </CENTER>
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมอย่างหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ก็ระงับ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน? ธรรมอย่างหนึ่ง คือกายคตาสติ(สติอันไปในกาย) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมอย่างนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตก วิจารก็ระงับ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญเต็มที่"
    (ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน หรือคล้ายกัน มีคำแสดงอานิสงส์ของกายคตาสติตอ่ไปอีกว่า)
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว[/COLOR] อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว อันบุคคลย่อมละได้"
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว[/COLOR] กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลยิ่งขึ้น"
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว[/COLOR] อวิชชา อันบุคคลย่อมละได้, วิชชาย่อมเกิดขึ้น, อัสมิมานะ(ความถือตัวว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่) อันบุคคลย่อมละได้, อนุสัย (กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องในสันดาน)ทั้งหลาย ย่อมถึงความถูกถอนราก, สัญโญชน์ (กิเลสที่มัดสัตว์ไว้ในภพ) ทั้งหลาย อันบุคคลย่อมละได้"
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว[/COLOR] ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานในปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (สภาพที่ดับสนิทโดยไม่มีเชื้อเหลือ)"
    "[COLOR=#0000e]อเนกธาตุปฏิเวธ<SUP></SUP> [/COLOR](ความตรัสรู้หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุเป็นอเนก) นานาธาตุปฏิเวธ (ความตรัสรู้หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุต่าง ๆ) นานาธาตุปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธาตุต่าง ๆ) ย่อมเกิดขึ้นเมื่อเจริญกายคตาสติ"
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว[/COLOR] ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล"
    "[COLOR=#0000e]เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว [/COLOR]ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญด้วยปัญญา เพื่อความไพบูลย์ด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเต็มที่ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญารวดเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาอันทำให้บันเทิง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไหวพริบ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากล้า เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส."
    เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๗, ๕๘ <CENTER>
    [COLOR=gray,direction=115);]๓๒. กายคตาสติ กับ อมตะ[/color] </CENTER>
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ผู้นันไม่ได้บริโภคอมตะ ผู้ใดได้บริโภคกายคตาสติ ผู้นั้นได้บริโภคอมตะ
    (ข้อความต่อไปอีกมากมีใจความว่า ไม่เกี่ยวข้องกับกายคตาสติ ก็ชื่อว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับอมตะ ต่างแต่โวหารที่เปลี่ยนไป).
    เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๘
    <HR>๑. กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ อย่าง คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
    ๒. คำว่า ปฏิเวธ แปลว่า "แทงทะลุ" หรือที่โบราณแปลว่า "แทงตลอด" ตรงกับคำแปลในภาษาอังกฤษ Penertration เมื่อมาในลำดับแห่งปริยัติ(การเรียน) ปฏิบัติ(การกระทำ) หมายถึงการได้รับผลของการปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...