สัมมาทิฏฐิสูตรว่าด้วยความเห็นชอบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 3 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'"> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์</CENTER><CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">๙. สัมมาทิฏฐิสูตร</CENTER><CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">ว่าด้วยความเห็นชอบ</CENTER>[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่าดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้นจงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเหง้าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่าอกุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเหง้าของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขาเห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะอโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเหง้าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเหง้าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวงละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุแล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่นที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">อาหารวาร</CENTER>[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหารเหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหารทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด ๒ อาหาร คือ ผัสสะ ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ] ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖] เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบเลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุแล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่นอริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">สัจจวาร</CENTER>[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วนเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลินเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ-*คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">ชรามรณวาร</CENTER>[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุแล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่นอริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆอันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิมีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">ชาติวาร</CENTER>[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพเป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆเมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-*สัทธรรมนี้<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">ภวาทิวาร</CENTER>[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิดความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทานและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทานอัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทานเหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">ตัณหาทิวาร</CENTER>[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหาและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่นตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็นเหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัสเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนาย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ-*เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะเป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัสกายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะเหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับแห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆเมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-*สัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">นามรูปาทิวาร</CENTER>[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูปและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต-*รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูปเหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา-*นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณและทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณเป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">สังขารวาร</CENTER>[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขารเป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขารดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">อวิชชาวาร</CENTER>[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่าพึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชาและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิดความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุแล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่นที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">อาสววาร</CENTER>[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะอาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะเป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบพยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุเมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี-*บุตรแล้วแล.<CENTER style="FONT-WEIGHT: normal; FONT-SIZE: medium; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'">จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙</CENTER>ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉนข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วบทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.


    </PRE>

    ?Ð"]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระสูตร ทิฏฐิสูตร<SMALL style="FONT-SIZE: 12pt; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', AngsanaUPC"><SMALL style="FONT-SIZE: 12pt; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', AngsanaUPC"> </SMALL></SMALL>
    ว่าด้วย ทิฏฐิต่าง ๆ
    [๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระมหานครสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน เพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงหลีกเร้นอยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญ เพระพวกภิกษุผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึงดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียงอย่าได้เปล่งเสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลังเดินมา อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง บรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็นสาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉนเขาทราบบริษัทผู้เสียงเบา พึงสำคัญที่จะเข้ามาหา ลำดับนั้นปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ ท่านอนากถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับพวกอัญญเดีนรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ขอท่านจงบอก พระสมณโคดมมีทิฎฐิอย่างไร
    อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฎฐิทั้งหมดของพระผู้มีพระภาค
    ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า บัดนี้ท่านไม่ทราบทิฎฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม ขอท่านจงบอก ภิกษุทั้งหลายมีทิฎฐิอย่างไร
    อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฎฐิทั้งหมด แม้ของภิกษุทั้งหลาย
    ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า ท่านไม่ทราบทิฎฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม ทั้งไม่ทราบทิฎฐิทั้งหมดของพวกภิกษุด้วยประการดังนี้ ขอท่านจงบอก ตัวท่านมีทิฎฐิอย่างไร
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าบอกทิฎฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฎฐิอย่างใดนี้ไม่ยาก เชิญท่านทั้งหลายบอกทิฎฐิของตนเสียก่อน ข้าพเจ้าจึงจะบอกทิฎฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฎฐิอย่างใดในภายหลัง ซึ่งเป็นการทำไม่ยาก

    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าว กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ปริพาชกอีกคนหนึ่งกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า โลกมีที่สุด... อีกคนหนึ่งพูดว่าโลกไม่มีที่สุด... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี... อีกคนหนึ่งพูดว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
    เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้กล่าวกะปริพาขกเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฎฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจไม่แยบคายของตน หรือเพราะโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฎฐินั้น เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
    แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฎฐิของท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจไม่แยบคายของตน หรือ เพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฎฐินั้น เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
    แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฎฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด... โลกไม่มีที่สุด... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง... สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีก... สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก... สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี... สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฎฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจไม่แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่น เป็นปัจจัย ก็ทิฎฐินั้น เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ

    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี พวกเราทั้งหมดบอกทิฎฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอก ท่านมีทิฎฐิอย่างไร
    อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้ามีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
    ป. ดูกรคฤหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
    อ. ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแลัว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทั้งรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริง
    เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้

    ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีทราบปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแลัวได้กราบทูลถึงเรื่องที่สนทนากับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทุกประการ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ๆ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยการอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมี่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดแล เป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุแม้นั้น พึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้วฉะนั้น


    http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasut/16.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2012
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สักกายทิฏฐิสูตร

    ขันธสังยุตต์ – จุลปัณณาสก์ – ทิฏฐิวรรค – ๖. สักกายทิฏฐิสูตร

    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    ๖. สักกายทิฏฐิสูตร
    ว่าด้วยเหตุแห่งสักกายทิฏฐิ
    [๓๕๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขารมีอยู่ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณเพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.
    [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีสักกายทิฏฐิเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
    ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีสักกายทิฏฐิเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
    ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    จบ สูตรที่ ๖
    สักกายทิฏฐิสูตร | แว่นส่องธรรม
     
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ทิฏฐิสูตร
    ขอแสดงความเห็น สังเกตุดีๆครับ
    พระสูตรนี้พุทธองค์ไม่ได้ตอบ ว่าโลกเที่ยง ไม่เที่ยง เที่ยงก็ไม่ใช่ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่

    แต่ทรงแสดงเหตุ ให้เกิดสติ เห็นเป็นอนุสาสนีปฏิหาร

    ประมาณว่า ท่านกำลังหลงความคิดเป็นทิฏฐิติดตัว เพราะไม่พิจารณาให้แยบคาย หรือไปฟังเขาโฆษณามา เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิ

    ทีนี้พระพุทธองค์ทรงแก้ที่เหตุเลย

    อันมีปัจจัยปรุงแต่ง คือไปกระทบอารมณ์มา

    เกิดความพอใจ เกิดการจำได้หมายรู้ เกิดการปรุงแต่งยึดความคิดเป็นตน สำคัญทิฏฐินั้นเป็นตน

    ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยของขันธ์ เป็นกระบวนการส่งต่อเป็นปัจจัย ซึ่งมีอยู่จริงในปัจจุบันธรรม

    ก็สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้สิ่งต่อไปเกิดแล้วดับลง ล้วนเป็นทุกข์


    เพราะเราไปหลงเรื่องราว เป็นทิฏฐิติดตัว พอมีสติรู้ปัจจุบัน

    เห็นจริงแล้วว่า มีแต่ธรรม สิ่งหนึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งหนึ่ง

    ก็สื่งหนึ่งนั้น ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรที่เป็นเรา ของเรา

    เห็นอย่างนี้ก็แก้อาการ หลงโลก หลงความคิดวิปริตได้
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สัมมาทิฏฐิ ๔๓

    สรุปสติปัฏฐาน ๔

    ›››››


    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    ]

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
    การปฏิบัติกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติใช้หลักปฏิบัติในสติปัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ และพระสูตรที่แสดงสติปัฏฐานซึ่งเป็นพระสูตรใหญ่ ที่เรียกว่า มหาสติปัฏฐานสูตร ก็ได้ประมวลข้อกรรมฐานไว้เป็นอันมาก ซึ่งได้ถือเป็นหลักในการอบรมกรรมฐานในสำนักนี้ และสำหรับในพรรษกาลที่แล้วมาจนถึงบัดนี้ ก็ได้ถือหลักสติปัฏฐานดั่งกล่าว แต่ว่าได้แสดงแทรกธรรมะจากพระสูตรต่างๆ ได้อธิบายธรรมะจากพระสูตรต่างๆ นั้น มิได้แสดงอธิบายสติปัฏฐาน ๔ โดยตรง โดยพิสดาร เพราะว่าได้เคยอธิบายไว้โดยพิสดาร และได้พิมพ์เป็นเล่มไว้ ผู้ต้องการทราบอธิบายในสติปัฏฐานโดยตรง ก็อาจที่จะหาอ่านได้ และแม้ว่าธรรมะที่แสดงอธิบายแทรกเข้ามานั้น จะเป็นธรรมะจากพระสูตรอื่น แต่ก็รวมเข้าได้ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสิ้น ดังเช่นที่ได้ยกเอาข้อสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ จากสัมมาทิฏฐิสูตร ที่ท่านพระสารีบุตรได้แสดง มาอธิบายติดต่อกันมากครั้ง จนจบกระแสความในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ก็รวมเข้าได้ในมหาสติปัฏฐานสูตรเช่นเดียวกัน
    เพราะในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น ก็ได้แสดงมรรคมีองค์ ๘ ในหมวดอริยสัจจ์ ๔ มรรคมีองค์ ๘ นั้น ก็มีสัมมาทิฏฐิเป็นข้อแรก เพราะฉะนั้น เมื่อจับแสดงสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นอันว่าได้แสดงข้อธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ในวันนี้จะได้แสดงสรุปสติปัฏฐาน ๔ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ในพระสูตรหนึ่ง แต่ก่อนที่จะแสดง ก็ขอกล่าวให้ทราบว่า ข้อที่แสดงจากพระสูตรที่กล่าวนี้ มิได้ยกข้อต่างๆ ตรงกับมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งหมด แต่เลือกหยิบยกมาทรงแสดง และทรงแสดงในทางปัญญา แต่ก็พึงทราบว่าแม้ในทางสมาธิก็ย่อมรวมอยู่ในแนวเดียวกัน สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ที่จะแสดงในวันนี้ จึงอาจจะยากไปสำหรับผู้ที่มาอยู่ใหม่ ผู้ที่เข้ามาใหม่ แต่ว่าให้ถือว่าเป็นการแสดงสรุปในคราวสุดท้ายของพรรษกาลที่แล้ว เมื่อเริ่มแสดงใหม่เมื่อเข้าพรรษานี้แล้ว จึงจะได้แสดงตั้งต้น ซึ่งเป็นข้อที่จะฟังได้ง่ายขึ้น
    สติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็คือตั้งสติ คือความระลึกได้หรือความระลึกรู้ไว้ ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม
    ในมหาสติปัฏฐานสูตรได้รวบรวมข้อที่พึงพิจารณาในกายไว้ ก็คือ ข้อว่าด้วยลมหายใจเข้าออก ข้อว่าด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ยืนเดินนั่งนอน ข้อว่าด้วยสัมปชัญญะความรู้ตัว ในความเยื้องกรายอิริยาบถทั้ง ๔ นี้ และอิริยาบถประกอบทั้งหลาย ข้อว่าด้วยกายนี้จำแนกออกเป็นอาการทั้งหลายมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ข้อว่าด้วยธาตุ ๔ ดินน้ำไฟลม ข้อว่าด้วยป่าช้า ๙ คือพิจารณาศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า แยกออกเป็น ๙ ข้อ ตั้งต้นแต่ศพที่ตายแล้ววันหนึ่งสองวันสามวันเป็นต้นไป จนถึงเป็นกระดูกผุป่น
    ตั้งสติ พิจารณาเวทนา ก็คือตั้งสติกำหนดเวทนา ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทั้งที่เป็นสามิสคือมีกิเลสเป็นเครื่องล่อให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นนิรามิสคือไม่มีกิเลสเป็นเครื่องล่อ หรือเป็นเครื่องนำให้เกิดขึ้น
    ตั้งสติ พิจารณาจิต ก็คือตั้งสติกำหนดดูจิตใจนี้ ที่มีราคะความติดใจยินดี หรือปราศจากราคะความติดใจยินดี ที่มีโทสะหรือปราศจากโมสะ ที่มีโมหะความหลงหรือปราศจากโมหะความหลง เป็นต้น
    ตั้งสติ พิจารณาธรรม ก็คือตั้งจิตกำหนดดู ธรรมะทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิต ตั้งต้นแต่กำหนดดูนิวรณ์ทั้ง ๕ คือกิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิต บังเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต มีกามฉันท์ความพอใจรักใคร่อยู่ในกาม พยาบาทความมุ่งร้ายปองร้ายเป็นต้น
    กำหนดดูขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กำหนดดูความเกิดของขันธ์ ๕ ความดับของขันธ์ ๕
    ตั้งสติกำหนดดูอายตนะภายในทั้ง ๖ ที่รับอายตนะภายนอกทั้ง ๖ อายตนะภายในภายนอกที่รับกัน ก็คือตากับรูปที่ประจวบกัน หูกับเสียงที่ประจวบกัน จมูกกับกลิ่นที่ประจวบกัน ลิ้นกับรสที่ประจวบกัน กายและสิ่งถูกต้องกายที่ประจวบกัน มโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวที่ประจวบกัน เกิดสัญโญชน์คือความผูกใจ และก็ให้รู้จักความเกิดของสัญโญชน์ ความดับของสัญโญชน์ และสัญโญชน์ที่ดับแล้วจะไม่เกิดขึ้น
    ตั้งสติกำหนดดูโพชฌงค์ทั้ง ๗ มีสติโพชฌงค์องค์แห่งความรู้คือสติ ธัมวิจยโพชฌงค์องค์แห่งความรู้ คือธรรมวิจัยความเลือกเฟ้นธรรมเป็นต้น
    ตั้งสติกำหนดดูอริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    ก็รวมเป็นตั้งสติ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    วิธีปฏิบัติตั้งสติใน กาย เวทนา จิต ธรรม
    และได้ตรัสสรุปไว้ในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ตรัสอธิบายวิธีปฏิบัติตั้งสติ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม
    รวมความเข้ามาว่า ให้ปฏิบัติตั้งสติ คือความระลึกได้
    ความกำหนดได้ ในกาย ก็คือใน ปฐวีกาย กายที่เป็นส่วนดิน อาโปกาย กายที่เป็นส่วนน้ำ เตโชกาย กายที่เป็นส่วนไฟ วาโยกาย กายที่เป็นส่วนลมเกสากาย กายที่เป็นส่วนผม โลมากาย กายที่เป็นขน ฉวิกาย กายที่เป็นส่วนผิว จัมมะกาย กายที่เป็นส่วนหนัง มังสะกาย ที่เป็นส่วนเนื้อ นหารูกาย กายที่เป็นส่วนเส้นเอ็น อัฏฐิกาย ที่เป็นส่วนกระดูก อัฏฐิมิญชะ กายกายที่เป็นส่วนเยื่อในกระดูก
    ตั้งสติ กำหนดเวทนา ก็คือใน สุขเวทนา เวทนาความรู้ที่เป็นสุข ทุกขเวทนา ความรู้ที่เป็นทุกข์ อทุกขมสุขเวทนา เวทนาที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ตั้งสติกำหนดเวทนาที่เกิดทางสัมผัสทางตา เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางจมูก เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางลิ้น เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางกาย เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางมโนคือใจ
    ( เริ่ม ๗๖/๑ ) ตั้งสติ กำหนดจิตใจ ก็คือกำหนดดูจิตที่มีราคะคือความติดใจยินดี หรือที่ปราศจากราคะคือความติดใจยินดี จิตที่มีโทสะหรือจิตที่ปราศจากโทสะ จิตที่มีโมหะหรือจิตที่ปราศจากโมหะ จิตที่ฟุ้งซ่านหรือจิตที่หดหู่ จิตที่ถึงความใหญ่ด้วยเมตตาภาวนาสมาธิเป็นต้น หรือจิตที่ไม่ถึงความใหญ่ จิตที่ยิ่งคือยิ่งด้วยสมาธิปัญญาวิมุติหลุดพ้น หรือจิตที่ไม่ยิ่ง จิตที่มีสมาธิหรือจิตที่ไม่มีสมาธิ จิตที่หลุดพ้นหรือจิตที่ไม่หลุดพ้น
    ตั้งสติ กำหนดดูธรรม คือธรรมะที่เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือที่เป็นกลางๆ ต่างๆ อันนอกไปจากข้อที่กล่าวแล้วในกายในเวทนาและในจิตทั้ง ๓ ข้างต้น
    และได้ตรัสทางปฏิบัติเพื่ออะไร หรือโดยวิธีอย่างไรไว้ว่า ในการปฏิบัติตั้งสติดั่งกล่าวนั้น ก็ให้ปฏิบัติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งหมด โดยเป็นอนิจจะ คือไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่เกิดดับ มิใช่โดยนิจจะคือเป็นของเที่ยง โดยเป็นทุกข์คือเป็นสิ่งที่ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไม่ตั้งอยู่คงที่ มิใช่โดยเป็นสุข โดยเป็นอนัตตามิใช่ตัวตน มิใช่เป็นเรา มิใช่เป็นของเรา ไม่ใช่โดยอัตตาคือโดยเป็นตัวตน เป็นตัวเราเป็นของเรา มีความหน่ายมิใช่มีความเพลิดเพลิน มีความคลายความติดใจ มิใช่ติดใจ มีความดับคือดับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของใจ มิใช่ก่อตัณหา มีความสละวางมิใช่มีความยึดถือ
    การปฏิบัติตั้งสติก็โดยวิธีดังที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เห็นว่าไม่เที่ยง ต้องเกิดดับ เป็นทุกข์ ต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง เป็นอนัตตามิใช่ตัวเราของเรา และเพื่อหน่ายไม่เพลิดเพลิน เพื่อคลายความติดใจ มิใช่ติดใจ เพื่อดับตัณหาดับทุกข์ มิใช่ก่อให้เกิดตัณหาก่อทุกข์ เพื่อปล่อยวางมิใช่เพื่อยึดถือ
    ภาวนา การปฏิบัติ ๔ ประการ
    และได้ตรัสสอนถึงวิธีปฏิบัติ ว่าการปฏิบัตินั้นเรียกว่า ภาวนา ที่แปลว่า ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มีขึ้น และภาวนานั้นจะทำอย่างไร ก็ได้ตรัสสอนเอาไว้อีกว่า ภาวนาอันหมายถึงปฏิบัตินั้น ก็คือปฏิบัติทำสติ ความระลึกได้ หรือความกำหนด ทำญาณความหยั่งรู้ที่เป็นตัวปัญญาให้บังเกิดขึ้น ให้มีขึ้น ทันในธรรมะที่เกิดขึ้นในเวลานั้น โดยไม่ให้พลาด ไม่ให้ล่วงเลยเผลอเรอในธรรมะที่บังเกิดขึ้นในเวลานั้น
    ยกตัวอย่างเช่นว่า เมื่อตั้งจิตกำหนดดูกาย เช่นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หมายถึงว่ากำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ที่บังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดั่งเช่นกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ที่บังเกิดยู่ในบัดนี้ หายใจเข้าในบัดนี้ ก็มีสติมีญาณกำหนดรู้ หายใจออกในบัดนี้ ก็มีสติมีญาณกำหนดรู้ มิใช่ว่าเผลอ หายใจเข้าหายใจออกอยู่ในบัดนี้ แต่ว่าจิตมิได้กำหนด หรือกำหนดไม่ทัน จึงไม่มีสติไม่มีญาณอยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนั้น เพราะว่าเผลอสติ หรือว่าจิตไม่ตั้งกำหนด ไม่ตั้งเพื่อที่จะรู้
    ฉะนั้น หน้าที่ของภาวนาคือ การปฏิบัติประการแรก ก็คือกำหนดให้มีสติ ให้มีปัญญาหรือญาณ กำหนดทันต่อธรรมะที่เกิดขึ้นในเวลานั้น นี่เป็นหน้าที่ของภาวนาประการที่ ๑
    และให้รวมอินทรีย์ทั้งหลายมาปฏิบัติกิจคือหน้าที่พร้อมกัน ได้แก่รวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะ คือใจ ให้มาปฏิบัติหน้าที่กำหนด อยู่ในธรรมะที่เกิดขึ้นในเวลานั้น สุดแต่ว่าจะยกเอาข้อไหน กายข้อไหน เวทนาข้อไหน จิตข้อไหน ธรรมะข้อไหน ขึ้นมา ก็ให้ทั้งตา ทั้งหู ทั้งจมูก ทั้งลิ้น ทั้งกาย ทั้งมนะคือใจ มาปฏิบัติหน้าที่กำหนดรู้พร้อมกัน ไม่ใช่ว่าทั้ง ๖ นี้จะแยกย้ายกันไปทำงานทำหน้าที่ต่างๆ กัน ตาไปดูเสียทางหนึ่ง หูไปฟังเสียทางหนึ่ง จมูก ลิ้น กาย มนะคือใจไปเสียทางหนึ่งๆ ต้องรวมกัน กล่าวย่อก็คือว่าต้องรวมกายใจนี้ทั้งหมดเข้ามาเป็นอันเดียวกัน นี่เป็นหน้าที่ของภาวนาประการที่ ๒
    และนำความเพียรพยายามปฏิบัติ โดยเริ่มดำเนินและก้าวหน้าไป จนบรรลุถึงเป้าหมาย บรรลุถึงความสำเร็จ เป็นสติเป็นญาณ กำหนดรู้อยู่ในธรรมะที่เกิดขึ้นในเวลานั้น คือในกายในเวทนาในจิตในธรรมที่กำหนดนั้น นี่เป็นหน้าที่ของภาวนาเป็นประการที่ ๓
    และใช้ความเพียรปฏิบัติส้องเสพอยู่ในข้อที่ปฏิบัตินี้เนืองๆ เสมอๆ ให้สม่ำเสมอไม่ทอดทิ้ง และความส้องเสพนี้ก็หมายความว่า ให้รับเอาข้อที่ปฏิบัตินี้เข้าไปให้ถึงใจ ให้ตั้งอยู่ในใจ เหมือนอย่างบริโภคอาหาร ส้องเสพอาหารบริโภคอาหาร ก็ให้นำเข้าปาก เคี้ยวกลืนเข้าไปให้เข้าถึงในท้อง เพื่อย่อยไปเลี้ยงร่างกาย ในการปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ต้องรับเอาข้อที่ปฏิบัติ กรรมฐานที่ปฏิบัติให้เข้าไปถึงใจ ให้ตั้งอยู่ในใจ ให้แผ่สร้านไปในใจ ดังเช่นที่ให้ปรากฏเป็นปีติเป็นสุขขึ้นในใจ เหมือนอย่างบริโภคอาหารเข้าไปย่อยเลี้ยงร่างกาย ให้ร่างกายอิ่มเอิบ ก็ส้องเสพเอาข้อที่ปฏิบัตินี้เข้าไปให้ถึงใจ ให้ใจอิ่มเอิบ เป็นปีติเป็นสุขขึ้น เป็นผลที่ได้รับ ดั่งนี้เป็นหน้าของภาวนาเป็นประการที่ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้
    ก็เป็นอันว่าจบสรุปในสติปัฏฐาน
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
    [​IMG]
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-113.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2012
  6. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เอามะพร้าว มาขายสวนซะแล้ว

    หากเน้นอย่างนี้ แปลว่า จขกท. ทราบแล้ว
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้ว่ามีความยึดมั่นถือมั่นอยู่นะ
    พอดี สงสัยคำว่าสักกายทิฏฐิ ในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้ว่าอย่างไร
    เลยใช้อภิญญากูเกิล เป็นตัวช่วยจึ่งได้บทนี้มาคลายข้อสงสัย
    อ่านแล้ว มันก็ใส ไง จะได้ไม่มัวซัว เวลาพูดถึงสักกายทิฏฐิ และรื่องทิฏฐิ และเรื่อง สัมมาทิฏฐิ
    ถึงแม้จะเป็นสุตมยปัญญา
    ปัญญาที่สำเร็จจากการฟัง ก็ถือว่าโอเค ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย หรือเข้าใจเองไปผิดๆ
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    และก็มันน่าทึ่งจะตาย ที่ความรู้เหล่านี้เขาสอนกันมาตั้ง 2555+ ปีแล้ว
    แค่เรามาอ่านแป๊บๆนี่ ยังเก็บได้ไม่หมดเลยนะ ต้องอาศัยวิริยะบารมี อ่านให้หลายๆ รอบ
    เพราะมีบางช่วงมันอ่านแล้วเบลอ ต้องซ้ำหลายๆรอบ จะได้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น
     
  9. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    น้อมตามสิ ขณะนี้เห็นเกิดทางตา แต่เข้าใจว่าอะไร รู้ว่าอะไร คือทางมโน

    เข้าใจความเป็นปัจจัยเล็กๆ รูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม

    การมีสติระลึก นี้คิด ที่จำได้ ที่จำได้เพราะมีคิด ที่คิดเพรากำลังปรุงแต่ง

    นี่เป็นการเจริญ นามรู้นาม นามเป็นปัจจัยให้นามเกิด มันไม่เที่ยง เดี๋ยวมี เด๊่ยวไม่มี


    ส่วยสักกายทิฏฐิ ไม่ใช่นั่งหลับตาแยกกายแยกจิต

    มันครอบไปถึงรู้รอบ รู้ทั่ว รู้ชัดในกาย ในจิต จมหมดสงสัยความเป็นปัจจัยสืบต่อ

    ปัญญานี้ ดับวิปริต ดับอุเฉททิฏฐิ ดับสสัตทิฏฐิ ดับอกิริยาทิฏฐิ

    หลักๆต้องน้อมตาม ขณะอ่านให้เหมือนสดับจากพระโอษฐ์ แล้วน้อมพิจารณาตาม
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็ตามนั้น นะ เทคนิคส่วนตัวของใครของมัน
    อย่างเจ๊ ก็ต้อง อ่านซ้ำๆย้ำๆ มันก็เข้าใจมากขึ้นเอง
    พอเข้าใจแล้วก็นำไปปฏิบัติได้ถูกและเข้าใกล้ความจริงได้เอง
    ขอให้อ่านด้วยจิตว่าง ก็จะเข้าใจได้ตามจริง แต่ถ้าอ่านไปพิจารณาไปก็คงได้อีก
    ก็ขึ้นกับความถนัดและวาสนาของแต่ละคน
    อย่างน้อยก็ได้อ่านความรู้จากตำราคำสอนของผู้รู้แจ้ง ก็มีประโยชน์เสมอ
    ถึงแม้จะอ่านแล้วไม่เข้าใจวันนี้ แต่วันหน้าอาจได้ใช้ประโยชน์
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๕๕. สรุป ฌาน - สมาธิ
    เทศน์ ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒
    [/FONT]


    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" border=0><TBODY><TR><TD width="3%"></TD><TD width="2%">


    </TD><TD width="90%">

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เรื่องกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น ในตำราท่านไม่ได้แยกออกว่า อันนั้นเป็นอารมณ์ของฌาน อันนั้นเป็นอารมณ์ของสมาธิ หรือท่านแยกไว้แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นตำราก็เป็นได้ ฉะนั้น เทศนากัณฑ์นี้จะรวมกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้นไว้เสียก่อนว่ากัมมัฏฐานใดควรเป็นอารมณ์ของสมาธิ ต่อไปถ้ามีโอกาสจะเทศน์เรื่องอัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกกูลสัญญา ๑ ธาตุววัตถาน ๑ ให้ฟัง[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น พวกที่เป็นอารมณ์ของฌาน ได้แก่ กสิน ๑๐ อสุภ ๑๐ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๒๔ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ส่วนพวกที่เป็นอารมณ์ของสมาธิ ได้แก่ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ ธาตุววัตถาน ๑ รวมเป็น ๑๖ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อนุสสติ ๑๐ ได้แสดงแล้วยังเหลือแต่ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และธาตุ ววัตถาน ๑ นี่แลเรื่องบัญญัติจำเป็นจะต้องจดจำหน่อย ความจำเรียกว่า สัญญาถ้ามีสัญญาอยู่ สมาธิก็จะไม่รวมลงได้ ถ้าสมาธิรวมได้แล้ว กัมมัฏฐาน ๔๐ เป็นอันว่าทำถูกต้องแล้ว ถึงอย่างไรบัญญัติก็ต้องเป็นบัญญัติอยู่ดี ๆ นี่แหละ[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทีนี้จะอธิบายถึงเรื่องฌาน ก่อน ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไปตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสินหรือเพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้เป็นต้น รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่มทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่าอะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมันส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าไม่เห็นอสุภด้วยใจของตนแล้ว ก็จะประมาทมัวเมาอยู่ว่าตัวของเรานี้สวยสดงดงาม จะไม่แก่เฒ่าไม่ตาย[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก จิตไปกำหนดเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานนั้น ๆ มาเป็นอารมณ์ ๑ วิจารจิตนึกคิดตริตรองว่าทำอย่างไรจิตเราจะละอารมณ์นั้น ๆ แล้วเข้ามารวมเป็นฌานได้ ๑ เมื่อจิตละอารมณ์นั้นๆ แล้วก็เข้าสู่ภวังค์ เกิด ปีติ ซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กายหรือเบากายเบาใจ ๑ แล้วก็เกิดความสุข สงบอย่างยิ่ง ๑ จิตก็เป็นอารมณ์อันเดียวกัน เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ ๑ อันนี้เรียกว่าได้ ปฐมฌาน [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ด้วยความคล่องตัวของการกระทำเช่นนั้น จึงไม่ต้องมีวิตก วิจาร มีแต่ ปีติ สุข อกัคคตา เรียกว่า ทุติยฌาน[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ด้วยความคล่องตัวยิ่งขึ้น ตติยฌาน จึงไม่ต้องมีปีติ มีแต่ สุข กับ เอกัคคตา เท่านั้น[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จตุตถฌาน จิตมันแน่วแน่ใน เอกัคคตา จนสุขก็ไม่ปรากฏ แต่ เอกัคคตา กับ อุเบกขา วางเฉยเท่านั้น[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน เป็นเพียงแต่ข่ม นิวรณ์ ๕ ได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะฌานไม่ได้ใช้ปัญญาใช้แต่จิตสงบอย่างเดียว จึงเป็นแต่ข่มนิวรณ์ ๕ ได้ นิวรณ์๕ คือ กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณ ๕ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่นโดยเราไม่ทันรู้ตัวเลยฉะนั้น ๑ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ถีนมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อุทธัจกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้นไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทั้งห้านี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิม[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จิตของฌาน มี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๑. ภวังคบาต[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๒. ภวังคจลนะ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๓. ภวังคุปัจเฉทะ[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคบาต จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของเรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคบาต[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคจลนะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่เรียกว่าส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากรหรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึงเทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจลนะ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคุปัจเฉทะ นั้นขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่เหลือ แม้แต่ผู้รู้ ( คือใจเดิม ) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคบาต ได้แก่ ผู้ได้ ปฐมฌาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคจลนะ ได้แก่ ผู้ได้ ทุติยฌาน และตติยฌาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภวังคุปัจเฉทะ[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] ได้แก่ ผู้ได้ จตุตถฌาน[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน แปลว่า เพ่ง คือ เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานที่ตนต้องการอยากจะให้เป็นไปตามปรารถนาของตน ดังอธิบายแล้วเบื้องต้น นี้เรียกว่า ฌาน ไม่ต้องพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงก็ได้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สมาธิ คือ ทำให้จิตสงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องเกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพจากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียวแล้วพิจารณาพุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไรและใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไป แล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจอย่างเดียว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สมาธิ ท่านไม่แสดงไว้ว่า ผู้ได้ ขณิกะ อุปจาระ และ อัปปนาสมาธได้ขั้นนั้นขั้นนี้ จึงจะได้โสดาบัน สกิทาคามี และพระอรหันต์ เห็นแต่แสดงไว้ว่าองค์ของพระโสดาบัน ๔ ดังนี้ คือ ถึงพระพุทธเจ้า ๑ ถึงพระธรรม ๑ ถึงพระสงฆ์ ๑ มีศีล ๕ เป็นนิจศีล ๑ ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะครบ ๔ อย่างนี้ นับว่าเป็นพระโสดาบันบุคคล ส่วนสมาธิไม่ได้กล่าวถึง แต่สมาธิเป็นการเดินฌานไม่ใช่เดินมรรคถึงจะได้ฌานขั้นสูงสุด คือ นิโรธสมาบัตท่านก็เรียกว่า ณานโลกิยะ อยู่นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระโสดาบัน แปลว่า ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว แต่ยังไม่ถึงพระนิพพานเหมือนกับเดินทางไปสู่พระนครอันสุขเกษมถึงต้นทางแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนคร ฉะนั้น และเมื่อถึงพระโสดาบันแล้ว กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะต้องละได้ด้วยตนเอง คือ สักกายทิฏฐิ ถือว่าอันนี้เป็นของตัวเที่ยงแท้แน่นอน ถือรั้นจนเกิดทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย ไม่แน่นอนว่าเป็นที่พึ่งอันแท้จริง ๑ สีลัพพตปรามาส ลูบคลำในสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์ เชื่อสิ่งอื่นโดยไม่ตรึกตรองให้ถี่ถ้วน ๑ กิเลสทั้ง ๓ กองนี้ ผู้ทำสมาธิให้มั่นคงแล้วย่อมเกิดปัญญาเห็นชัดในพระไตรลักษณญานเห็นแจ้งด้วยปัญญาว่าสิ่งทั้งสามนั้นเป็นของไร้สาระประโยชน์ ไม่มีแก่นสาร แล้วละได้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่าสมาธิมีเท่านั้นเท่านี้ เพราะมิใช่การรู้เพ่งอย่างฌาน จะจับเอาอะไรมาพิจารณาก็ได้ แม้ที่สุดนำอารมณ์ของฌานมาพิจารณาก็ได้ ขอแต่ให้พิจารณาเป็น พระไตรลักษณญาณ ก็แล้วกัน จิตจะรวมลงสมาธิได้เหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จิตของผู้ที่ได้สมาธิแล้วมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับ แต่ท่านไม่ได้เรียกว่า ภวังคเหมือนกับฌาน ท่านเรียกว่า สมาธิ เพราะพิจารณาเห็นตามเป็นจริงในอารมณ์ที่ตนพิจารณาแล้วนั้น คือ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๑. ขณิกสมาธ เมื่อนักปฏิบัติกำหนดเอาอารมณ์ของสมาธิอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เป็นต้นว่า พุทโธ ๆ อยู่นั้น จิตส่วนหนึ่งจะแวบเข้าไปเห็น ผู้รู้ที่ว่าพุทโธ ๆ นั้นชัดเจน เหมือนกับมีผู้มาบอกให้ฉะนั้น พร้อมกับจิตรวมเป็นสมาธิขณะหนึ่ง แล้วก็หายไป แต่จิตไม่ได้ลืมสติ รู้ตัวอยู่ดี ๆ นั่นเอง เรียกว่า ขณิกสมาธิขณิกสมาธินี้ นักปฏิบัติทั้งหลายเป็นไม่เหมือนกัน แต่ขอให้สังเกตไว้ว่า ขณะที่จิตรวมมีสติรู้ตัวอยู่เรียกว่า สมาธิถ้าลืมตัวส่งไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า ฌาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๒. อุปจารสมาธิ นักปฏิบัติมากำหนดเอาอารมณ์ของขณิกสมาธิเช่นนั้นเหมือนกัน หรืออารมณ์อันใดที่ตนชำนิชำนาญแล้วติดอยู่ในใจของตนเองก็ได้ พิจารณาอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว ไม่ส่งไปจากอารมณ์อันนั้นตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ไม่รวมลงเป็นอัปปนา เรียกว่า อุปจารสมาธิ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ก่อนจะเข้าถึง อัปปนาสมาธิ หรือเมื่อถึงอัปปนาแล้ว จิตถอนออกมาอยู่ในอุปจาระ ก็มีอาการเช่นเดียวกัน แต่นุ่มนวลและละเอียดกว่า ตอนนี้จะทำให้เกิดปัญญาและความรู้ต่าง ๆ ที่เรียกว่า อภิญญามีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น เช่น พระโมคคัลลานะเมื่อท่านลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ เห็นเปรตตัวหนึ่งมีร่างกายยาว ๓๐๐ เส้น มีปากเล็กเท่ารูเข็ม แล้วท่านหัวเราะในลำคอฮึ ๆ พระลักขณะเถระผู้ติดตามเห็นดังนั้นเข้าใจว่าท่านเห็นนางเทพธิดา จึงถามท่าน ท่านก็ไม่บอก พอมาถึงสำนักพระพุทธเจ้า พระเถระก็กราบทูลเหตุนั้นถวายพระองค์ให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะก็กราบทูลพระองค์ดังกล่าวข้างต้น พระองค์ตรัสว่า " จริงอย่างโมคคัลลานะว่า เราได้เห็นแล้วแต่แรกได้ตรัสรู้ใหม่ ๆ แต่ไม่มีใครเป็นพยาน นี่โมคคัลลานะเป็นพยานของเรา " แต่ถ้าควบคุมสติไว้ไม่ได้จะเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่นักปฏิบัติทั้งหลายจะเสียก็ตรงนี้เอง ถ้าควบคุมจิตของตนไว้ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อเกิดความรู้และปัญญาต่าง ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็น อัปปนาสมาธิ เพราะพิจารณาเห็นว่า ความรู้และปัญญาเหล่านั้นก็เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง รู้แล้วก็หายไป ทุกขัง เป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ประเดี๋ยวก็รู้ ประเดี๋ยวก็ไม่รู้ ถึงรู้และไม่รู้ สิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นนั้นมันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา รู้และไม่รู้ก็มันไม่ว่าอะไรกับใคร อนัตตาไม่ใช่เป็นของของเรา มันเป็นจริงอย่างไรมันเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะทั้งหมด ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว บาปหรือบุญ ธรรมะเป็นผู้แต่งมาทั้งนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อจิตรวมเข้ามาเป็น อัปปนาสมาธิยู่พักหนึ่งแล้วก็ถอนออกไปเป็น อุปจาระ ออก ๆ เข้า ๆ อยู่อย่างนี้ จิตของท่านผู้นั้นจะมีพลังแก่กล้า เดินก้าวหน้าได้อย่างดีที่สุด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๓. อัปปนาสมาธ จิตจะรวมเข้าอย่างสนิทจนถอนอารมณ์ภายนอกออกหมดไปอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติจะไม่มี ณ ที่นั้นเลย ยังเหลือแต่ผู้รู้อันเดียว บางทีมีคนมาเรียกได้ยินเสียง (เพราะประสาทหรือเซลล์ยังมีอยู่) แต่ไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เมื่อออกจาก อัปปนาสมาธิ แล้ว ในขณะนั้นมองดูคนและสิ่งต่างๆ จะเห็นเป็นสักแต่ว่าเท่านั้น ไม่มีสมมุติบัญญัติว่าคนหรือสิ่งนี้สิ่งนั้น อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่สัก ๕ นาที ๑๐ นาที แล้วจึงค่อย ๆ ลงจนเป็นปกติสมมุติบัญญัติตามเคย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไปตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไปตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน สมาธิ ได้แก่ การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริง จนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิดนึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน และ สมาธิ นี้ จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลกต่างกันที่ฌานนั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสมาธิอยู่ แต่ไปเพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียกว่าความเห็นเป็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌานส่วนสมาธินั้นเมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้นหรือพิจารณาอารมณ์อันใดก็ตามจนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์นั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญานเสีย จิตไม่รวมเป็นภวังค์เรียกว่า ฌานกลับเป็นสมาธิ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าสู่ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาเอาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติไม่เป็นการเสียหายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิอย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณาฌานนี้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็นฌานเสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ในทิฏฐธรรมของท่าน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ฌาน และ สมาธินี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มีสมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]



    </TD><TD width="2%"></TD><TD width="3%"></TD></TR><TR><TD colSpan=5></TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="2%"></TD><TD width="90%">

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]นั่งสมาธิ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน[/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อธิบายเรื่อง สัญญา มามากแล้ว คราวนี้นั่งสมาธิเพื่อลบสัญญากันเถิด ความจริงนั้นสัญญามีประโยชน์มากถ้าใช้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ยุ่งมากเหมือนกัน ความจดจำของเก่าหรือเรื่องเก่าไว้ได้นาน เรียกว่า สัญญา เช่น จดจำอารมณ์แต่ก่อนเก่าที่ตนได้ทำไว้นานแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่วเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นเป็นของดี ก็เอามาปรุงแต่งให้เป็นของดียิ่งขึ้น แล้วก็เพลิดเพลินติดอยู่ในอารมณ์นั้น ถ้าอารมณ์นั้นเป็นของชั่ว ก็ทำใจให้เศร้าหมองเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า จงละอารมณ์ที่ยังไม่มาถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็เป็นอดีตไป อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัญญาเป็นของละเอียดมาก บางทีเราอยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้งที่เป็นของดีและไม่ดี ถ้าใช้เป็นก็เป็นของดี เราจดจำเอามาเทียบเคียงกับความประพฤติของตนในเดี๋ยวนี้ เราควรทำในสิ่งที่ดี หรือจะสอนคนอื่นก็ได้ ให้ทำแต่สิ่งที่ดี เพราะความชั่วเราได้ทำมาแล้ว ได้รับความเดือดร้อนอย่างนั้น ๆ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายท่านก็ได้ตรัสรู้มาแล้ว เพราะสัญญานี้เอง รู้ว่าตัวของพระองค์เองและสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ได้เคยทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วอย่างนั้น ๆ ตายไปแล้วได้เสวยกรรมอย่างนั้น ๆ ในอดีตล่วงมาแล้วนานแสนนาน เรียกว่า อตีตังสญาณ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สัตว์มนุษย์ทั้งหลายที่จะเกิดมาในโลกนี้จะต้องทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยกันทั้งนั้น เมื่อตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่ตนกระทำนั้นทั้งดีและชั่ว ถ้าดีก็ได้ไปเกิดในสุคติภพ ถ้าชั่วก็ได้ไปเกิดในทุคติภพอย่างนั้น ๆ เรียกว่า อนาคตังสญาณ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงกลัวภพกลัวชาตินี้หนักหนา แล้วจึงทรงละสัญญาทั้งอดีตและอนาคตพร้อมทั้งสัญญาในปัจจุบันเสียได้ เรียกว่า อาสวักขยญาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พวกเราทั้งหลายจะให้ได้ญาณ ๓ อย่างพระพุทธเจ้าแล้วจึงจะละไม่ได้หรอกญาณของพวกเราก็เห็นแล้วมิใช่หรือ สัญญาความจดจำว่านั้นลูกกูหลานกู ภรรยาสามีกู ทรัพย์สินเงินทองข้าวของทั้งปวงเป็นของกู แล้วก็ปรุงแต่งให้เป็นไปตามความปรารถนาของตน นี้เป็นญาณปุถุชนของพวกเราทั้งหลาย ซึ่งเห็นอยู่เฉพาะหน้า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จงพากันมาทำความสงบเพื่อลบล้างสัญญาเหล่านั้นเสีย อย่าให้ติดอยู่ในใจของตน ถึงแม้จะไม่ได้นาน ในชั่วขณะที่เราภาวนาอยู่นี้ก็เอา เมื่อถึงความสงบสุขแล้วมันจะชอบใจ ภายหลังมันจะทำเองของมันหรอก ไม่ต้องไปบังคับให้มันทำก็ได้[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum55.html
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สมาธิ


    โดย หลวงปู่คำดี ปภาโส


    วัดถ้ำผาปู่นิมิตร


    ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย


    เทศน์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕


    [​IMG]

    ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11638
    ผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สามารถรักษาศีลให้สำรวมดีแล้ว การทำสมาธิภาวนาก็เป็นไปได้ง่าย แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สำรวมรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว การทำสมาธิภาวนาก็จะเป็นไปได้ยาก ทำไมท่านจึงพูดไว้เช่นนั้น ? ก็เพราะว่าเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการปราบกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว ดังนั้น เมื่อเราทำสมาธิควบคู่กันไป ก็สามารถเป็นไปได้ง่าย
    สำหรับการทำสมาธินั้น เราจะกำหนด “พุทโธ” เป็นอารมณ์ หรือเรียกว่าเอา “พุทโธ” เป็นเป้าหมายก็ได้ หรือว่าจะกำหนดลมหายใจเข้า-ออกเป็นอารมณ์หรือเป้าหมายก็ได้ เป็นต้น อันนี้แล้วแต่ว่าเราจะชอบอย่างไหนหรือถูกจริตกับสิ่งใด เมื่อเรากำหนดสติของเราตั้งมั่นอยู่ที่ไหน จิตของเราก็ให้อยู่ที่นั่น เพราะสติเป็นเครื่องผูกเป็นเครื่องครอบงำเป็นเครื่องบังคับ นอกจากสติและความรู้แล้วไม่มีสิ่งไหนในโลกที่จะสามารถบังคับจิตให้สงบลงได้ เมื่อเราต้องการบำเพ็ญสมถะเราต้องเจริญสติให้มากๆ
    การฝึกหัดทำสมาธิภาวนานี้ ในตอนแรกๆ จะทำได้ยาก มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามแข้งตามขาหรือตามเอวตามหลัง ในตอนแรกๆ นี้จะต้องอาศัยความอดทนและต้องอาศัยความฝืนอยู่มากพอสมควร แต่เมื่อกระทำไปประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ ก็จะรู้สึกเคยชิน อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะค่อยๆ หายไป เมื่อเรารู้สึกปวดเมื่อยแล้ว ท่านจึงแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถ จากนั่งสมาธิไปเป็นการเดินจงกรม ซึ่งการกำหนดใจในขณะเดินจงกรมนั้นก็เหมือนกับเรากำหนดเวลาที่เรานั่งสมาธินั่นเอง เพียงแต่ต่างจากการนั่งเป็นการเดินเท่านั้น
    อานิสงส์ของการเดินจงกรม ๕ อย่าง
    ๑. ทนต่อการเดินทาง คือเดินทางได้ไกล
    ๒. ทนต่อการทำความเพียร คือทำความเพียรได้มาก
    ๓. อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้วย่อมจะย่อยได้ง่าย
    ๔. อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเวลาเดินจงกรมจะไม่เสื่อมง่าย
    ๕. การเดินจงกรมนั้นจิตก็สามารถที่จะรวมได้ และเป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง โรคที่จะมาเบียดเบียนก็น้อยลง
    ในบางครั้งเมื่อเราทำสมาธิได้แล้ว เมื่อจิตเริ่มรวมจะเกิดอาการต่างๆ เช่น มีความรู้สึกว่าเบามือทั้งสองข้าง ซาบซ่านตามร่างกาย ขนลุกขนพองคล้ายกับพบสิ่งที่น่ากลัว มีอาการตัวเบาหวิว เป็นต้น บางคนเมื่อรู้ว่าจิตเริ่มจะรวมจึงคอยดูว่าจิตจะรวมอย่างไร จิตก็รวมไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด อันนี้เป็นการกระทำที่ผิด
    เมื่อเรารู้ว่าจิตของเรากำลังจะรวม ให้เรากำหนดผู้รู้นิ่งอยู่ สติกับใจอย่าให้เคลื่อนจากกัน อย่าให้สติเคลื่อนไหวไปกับอาการใดๆ เมื่อสติไม่เคลื่อนไหวไปกับอาการใดๆ แล้วจิตก็รวมเอง บางครั้งก็รวมสนิทเลย เปรียบเหมือนเอาไม้ปักลงไปในน้ำที่ไหลเชี่ยว ปักให้นิ่งไว้อย่าให้เคลื่อนไปตามน้ำ อย่าให้จิตเคลื่อนจากผู้รู้
    ผู้ที่สามารถทำจิตรวมได้แล้วก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างไรที่ให้จิตรวมกันได้ก็กำหนดอย่างนั้น ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิก็ให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆ ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติในครั้งต่อไป
    ขอย้ำอีกครั้ง กำหนดให้แน่วแน่นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อนไปตามอาการใดๆ จิตก็จะรวมได้เพราะสติอย่างเดียวเท่านั้น (ถ้าขาดสติก็นั่งหลับ, เกิดอาการฟุ้งซ่าน, จิตไม่รวม เป็นต้น) พูดตามปริยัติ “สติ” แปลว่าความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำ แม้คำพูดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ “สติ” แปลว่าระลึกอยู่ที่ใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ
    ใจก็หมายถึงผู้รู้ เมื่อสติกับใจบังคับกันแนบนิ่งดีแล้วจิตก็จะรวมสนิท เมื่อเรานั่งกำหนดแล้ว ขณะที่เราเบาเนื้อเบากาย ก็ให้เรานิ่งไว้อยู่กับผู้รู้ คำบริกรรมต่างๆ ก็ให้เลิกบริกรรม ให้เอาแต่สตินิ่งไว้ ให้ระลึกแต่ผู้รู้เท่านั้น ตามธรรมดาสติมักจะส่งไปภายนอก ชอบเล่นอารมณ์ สังขารที่ปรุงแต่งไม่ว่าจะคิดดี คิดร้าย คิดไม่ดี ไม่ร้าย เราจะต้องพยายามฝึกหัดละวางอารมณ์เหล่านี้ อย่าให้จิตส่งออกไปภายนอก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้น เมื่อเรานั่งสมาธิภาวนาเรากำหนดคำบริกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเราเผลอจากคำบริกรรมนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าเราเผลอไปรับรู้อารมณ์ภายนอก ก็ให้รีบกลับมาบริกรรมอย่างเดิมตามที่เราเคยปฏิบัติมา
    ถ้าในขณะทำสมาธิแล้วจิตรวมวูบลงไป เกิดเห็นร่างกายเป็นซากศพที่มีสภาพที่เหมือนกับว่าเพิ่งขุดขึ้นมาจากหลุมศพ แต่จริงๆ แล้วร่างกายเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเราถอนจิตออกมาก็จะเห็นเป็นตัวตนธรรมดา อาการที่เราเห็นเป็นซากศพเช่นนี้ ท่านเรียกว่า “อสุภนิมิต” ถ้าเราเคยได้ยินครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนในเรื่องของอสุภนิมิตแล้ว เราก็ทำความรู้เท่าทัน
    อสุภนิมิตนี้ถ้าเกิดบ่อยๆ จะเป็นการดีมาก ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ท่านนิยมมาก ถ้าพระเณรองค์ใดได้อสุภนิมิต เห็นร่างกายเน่าเปื่อยเป็นซากศพแล้ว ท่านว่าผู้นั้นจะสามารถที่จะบรรลุธรรมได้ง่าย
    อสุภนิมิตนี้ไม่ใช่เป็นของร้าย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเราอดกลัวไม่ได้ ก็ให้เราลืมตาเสียตั้งสติให้มั่น ขออย่างเดียวอย่าลุกขึ้นวิ่งหนี ถ้าเราเคยได้ยินได้ฟังคำแนะนำอย่างนี้แล้ว เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตก็จะระลึกได้อยู่หรอก แต่ถ้าเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตขึ้นก็จะเกิดความกลัว ถ้าเราลุกวิ่งหนีก็จะทำให้เราเสียสติได้ การลุกขึ้นวิ่งหนีนี้ขอห้ามโดยเด็ดขาด
    การที่เกิดอสุภนิมิตนี้เรียกว่า “มีพระธรรมมาแสดงให้เราได้รู้ได้เห็น ว่าร่างกายของเราเป็นอย่างนี้ ย่อมมีความเจริญในเบื้องต้น มีความชราในเบื้องกลาง และมีการแตกสลายไปในที่สุด”
    เมื่อเวลาเกิดอสุภนิมิตขึ้น ถ้าเราสามารถทนได้นับว่าเป็นการดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณามาก สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นนิมิตในตัวเรา แต่บางครั้งก็เป็นนิมิตภายนอก เช่น บางครั้งเกิดเห็นพระพุทธเจ้าหรือบรรดาครูบาอาจารย์มาปรากฏให้เห็น หรือเห็นพวกวัตถุเช่นโบสถ์ วิหาร หรือสิ่งต่างๆ นิมิตภายนอกนี้เรียกว่า “อุคคหนิมิต”
    เรื่องของนิมิตเป็นเรื่องที่สำคัญ ในบางครั้งก็มาทำท่าแลบลิ้นปลิ้นตา ก็อย่าไปเข้าใจว่าเป็นเปรตเป็นผี ที่จริงแล้วเป็นเพราะว่าสังขารภายในมันฉายออกไปเพื่อหลอกใจของเราเอง มันฉายออกไปจากใจนี่แหละ อันนี้พูดเตือนสติไว้
    การทำสมาธิภาวนานี้ ถ้าบุคคลใดเกิดนิมิตมาก ก็อย่าได้ไปเกิดความกลัวจนกระทั่งเลิกปฏิบัติ ขอให้ปฏิบัติต่อไปโดยให้สติตั้งมั่นกำหนดรู้ อย่างที่แนะนำมาแล้ว เมื่อเราทำต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดอานิสงส์ คือถ้าเป็นคนนิสัยดุร้ายก็จะเป็นคนใจดี ถ้าเป็นคนโกรธง่ายก็จะค่อยๆ เบาบางลง ถ้าเป็นคนปัญญาทึบเมื่อทำจิตสงบได้แล้วก็จะเป็นคนที่ฟังอะไรรู้เรื่องเข้าใจในเหตุผล ถ้าเป็นคนที่ฉลาดอยู่แล้วก็จะเพิ่มพูนปัญญาให้มากขึ้นไปอีก ท่านจึงว่ามีอานิสงส์มาก
    ขณะที่เราเกิดเห็นนิมิตขึ้นมา ถ้าเราแก้ความกลัวในนิมิตได้ต่อไปก็จะสบาย เมื่อเราเกิดความกลัวขึ้น เราอย่าไปยึดถือสิ่งที่เราเห็นในนิมิตเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา ให้กำหนดรู้ว่าเป็นมาร ซึ่งพระพุทธเจ้าเรียกว่า “ขันธมาร” หรือ “กิเลสมาร”
    เรื่องของนิมิตนี้จะเกิดหรือไม่เกิดไม่สำคัญ เพราะว่าที่เราทำสมาธิภาวนาก็เพื่อมุ่งให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถทำจิตใจของตนให้สงบเป็นอารมณ์เดียวได้พอเท่านั้น ไม่มีนิมิตเกิดขึ้นไม่เป็นไร
    การเรียนบำเพ็ญสมถะจึงจำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ เราจึงต้องรู้ไว้ว่าที่แห่งไหนมีครูบาอาจารย์อยู่บ้าง เพื่อว่าในอนาคตเราจะออกปฏิบัติเราจะได้รู้ไว้ ถ้าเป็นวิปลาสแล้วจะไม่ยอมแก้ไขอะไรง่ายๆ กลับมาหาครูบาอาจารย์ที่เคยทรมานกันนั่นแหละ ถึงว่าจะอยู่ห่างไกลก็จำเป็นต้องไปเพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติ เมื่อจิตใจเป็นอย่างใดมีข้อสงสัยอย่างใดจะได้ไปศึกษากับท่านเสียก่อนที่จะผิด
    เมื่อทำสมาธิจนถึงขั้นได้ฌานแล้ว บางครั้งก็จะได้ถึงขั้นอภิญญาซึ่งเป็นความรู้พิเศษ ผู้ที่ปฏิบัติเกิดนิมิตมากๆ มักจะได้อภิญญา เมื่อเหตุการณ์ใดๆ ที่จะเกิดขึ้น ท่านมักจะรู้ล่วงหน้าก่อนเสมอ เช่นจะรู้ล่วงหน้าว่าวันนี้จะมีผู้มาหา เป็นต้น
    อภิญญาเกิดจากฌานสมาธิ อภิญญานี้ไม่แน่นอนมักจะเสื่อมได้ หรืออาจจะเป็นวิปลาสจะพูดไม่ตรงต่อธรรมวินัย เมื่อผู้ได้อภิญญาแล้วถ้าไม่รู้ทันก็จะเกิดความหลงได้
    หลวงปู่มั่นท่านจะหลบหลีกหมู่ (เพื่อน) ไปธุดงค์องค์เดียว หรือสองสามองค์เป็นอย่างมาก บรรดาหมู่คณะหรือผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ต่างๆ หรือมีปัญหาที่จะต้องกราบเรียนถาม ก็จะต้องออกตามหาท่านเอง ซึ่งมิใช่เรื่องง่ายที่จะตามท่านพบเสียด้วย
    บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า ไตรลักษณ์จะเกิดในปฐมฌานหรือทุติยฌาน ส่วนบุคคลที่มีปัญญาขนาดกลางไตรลักษณ์จะเกิดเมื่อสำเร็จฌาน ๔ แล้ว บุคคลใดที่สำเร็จฌาน ๔ ก็มักจะไม่เกิดความกำหนัด หรือที่เรียกว่า “จิตตกกระแสธรรม” มันจะเป็นของมันเอง เรียกว่าเป็นผลของฌานสมาธิก็ได้
    ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะทำสมาธิได้ดี จะได้รับความสุขขนาดไหนก็ตาม หรือจะได้อภิญญาเพียงใดก็ตาม ถ้าไตรลักษณญาณไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังนับว่าเป็นมิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่ยังผิด ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด ไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา) นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
    เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ (รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ) ธาตุ ๔ (ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ) เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว จนเกิดญาณความรู้พิเศษ เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว วิปัสนูปกิเลส หรือวิปลาสก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อสิ่งใดหรือความรู้ใดเกิดขึ้นก็จะเอาไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา) เป็นเครื่องตัดสิน
    การพิจารณาให้ถือเอารู้รูปกายตามความเป็นจริง รู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้จิตตามความเป็นจริง ให้ยึดถือความรู้นี้เป็นหลัก ความรู้อย่างอื่นไม่สำคัญ ถึงจะเกิดอภิญญารู้ในเหตุผลต่างๆ ครั้งแรกๆ ก็อาจเป็นจริง แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านี้ต่อไป ก็จะกลายเป็นเรื่องหลอกลวงเรา ท่านจึงห้ามไม่ให้เอาสิ่งนิมิตเป็นเรื่องสำคัญ
    ขอให้พวกท่านจงทำกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถปฏิบัติได้เหมือนกัน เมื่อตั้งใจทำแล้ว จะไร้ผลเสียเลยก็ไม่มี อย่างต่ำก็เป็นการเพิ่มบุญวาสนาบารมีของเราให้แก่กล้าขึ้น
    [​IMG]

    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-kumdee/lp-kumdee-03.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2012
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
    ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอ กัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่


    ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

    สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้

    นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น

    นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดย สำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง

    นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น

    เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ


    สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ

    ขณิก สมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ

    อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ

    อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียด อยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน

    อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย


    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑

    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น

    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘

    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกาย เป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด

    ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป

    รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว

    ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของ ตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้

    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ

    เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส

    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน


    ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป

    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑

    ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา

    จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา

    ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน

    อรูปฌาน ๔ อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙

    ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้

    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ

    อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยัดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

    อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒

    อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓


    อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔
    เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง

    ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวกดังนี้

    คัดลอกจากคู่มือส่องทางสมถวิปัสสนา
    http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14978
     
  14. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ถ้าสนใจสมาธิขัดเกลากิเลส

    ขอแนะนำเพิ่ม วิสุทธิมรรค และ ปฏิสัมภิทามรรคในพระไตรปิฏก
     
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    3ธรรมะของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ‎ > ‎
    09สัมมาทิฏฐิ๑

    สัมมาทิฏฐิ ๑

    การรักษาศีล

    อุบายในการรักษาศีล

    ศีลมีขึ้นได้หลายอุบาย

    ๑. การสมาทานศีลจากพระ

    ๒. สมาทานวิรัติ

    ๓. เจตนาวิรัติ

    ๔. สัมปัตตวิรัติ

    ๕. สมุจเฉทวิรัติ

    สมาธิ

    การประกาศพระพุทธศาสนา

    วิปัสสนูปกิเลส



    สัมมาทิฏฐิ ๑

    บัดนี้จะได้อธิบายเรื่องสัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิ ให้นักปฏิบัติได้เข้าใจว่า สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิมีความแตกต่างกันอย่างไร ลักษณะอย่างไรเป็นสัมมาทิฏฐิ ลักษณะอย่างไรเป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ถ้าเรามีครูอาจารย์ผู้มีความชำนาญในการปฏิบัติ ท่านจะได้แยกแยะทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้ได้ และอธิบายให้เรามีความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง เพราะทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน มีลักษณะความเห็นที่ตรงกันข้ามทีเดียว ถึงจะเกิดจากใจอย่างเดียวกันก็ตาม แต่ความเห็นจะเป็นคนละอย่างกัน เหมือนกับสิ่งเดียว ด้านหนึ่งจะเป็นสีขาว อีกด้านหนึ่งจะเป็นสีดำ ถ้าผู้มีตาดีจะรู้ได้ทันทีว่าอะไรคืออะไร

    คำว่าตาดี หมายถึง ตาใจ คือปัญญานั่นเอง ถ้าปัญญามีความฉลาดรอบรู้ จะเข้าใจในทิฏฐิทั้งสองนี้ทันที ถ้าปัญญาไม่ดีไม่ฉลาดขาดเหตุผล ก็ยากที่จะเข้าใจได้ เพราะสัมมาทิฏฐินี้ นักปฏิบัติยังไม่ได้ศึกษาให้เกิดความเข้าใจ แต่ก่อนมามีความเคยชินอยู่กับมิจฉาทิฏฐิมาตลอด ความเข้าใจเก่าๆ ที่เคยหมักหมมกับใจมานาน จนกลายเป็นนิสัยฝังใจไว้อย่างเหนียวแน่น จึงยากแก่การแก้ไข เพราะใจได้ยึดมั่นถือมั่นและเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว

    ฉะนั้นความเห็นของใจจึงเป็นเรื่องใหญ่ในการปฏิบัติ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้มีความตั้งใจจริง เพราะหลักปฏิบัติเป็นอุบายแก้ความเห็นของใจโดยตรง จึงเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงในความเห็นของใจเสียใหม่ เพราะตามปกติแล้วใจมีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิมายาวนาน ถ้าไม่แก้ไขให้หมดไปจากใจ ก็จะเป็นภัยต่อการปฏิบัติเป็นอย่างมากทีเดียว

    คำว่า มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดนั้นมีหลายขั้นตอนด้วยกัน เช่น เห็นว่าบาปไม่มี บุญไม่มี ทำดีทำชั่วไม่มีผลที่จะได้รับ และเห็นว่าในภพหน้าชาติหน้าไม่มี ตายไปแล้วไม่ได้เกิดอีก นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี เกิดมาในชาติเดียว ตายแล้วก็หมดกันไป ในชีวิตที่มีอยู่ ต้องการอะไร มีความอยากในสิ่งใด เอาให้สมใจชอบก็แล้วกัน นี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดอีกอย่างหนึ่ง ความเห็นผิดอย่างนี้จะมีในหมู่ ตะโมตะมะปรายโน คือ กลุ่มที่มืดมาแล้ว และจะมืดต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด หรือหมู่ ปทะปรมะ คือผู้หนา ผู้มืด ผู้บอด จะโปรดให้กลับใจไม่ได้เลย หรือเรียกว่า ผู้ตกอยู่ในโลกมืด ความมืดของเขาเป็นอย่างไร เขาก็มีความเข้าใจไปตามภาษาของคนมืดบอดนั้นเอง กลุ่มนี้หรือบุคคลนี้ก็ปล่อยเขาไปตามเส้นทางของเขาไปก่อน จะไปเดือดร้อนกับคนประเภทนี้ทำไม

    ความเห็นที่เป็นมิจฉาอีกอย่างหนึ่ง คือ หาที่พึ่งนอกพุทธศาสนา เช่น หาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ตามต้นไม้ชายเขา เอาหมู่ผีเป็นสรณะที่พึ่ง มีการสะเดาะเคราะห์ ถือฤกษ์งามยามดี โชคราศี มีอะไรหลายอย่าง นี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกรูปแบบหนึ่ง แทนที่จะเชื่อกรรมคือการกระทำของตัวเอง ใครทำกรรมอย่างไรไว้ ต้องได้รับผลของกรรมนั้นต่อไป ถ้าไม่ยอมรับความจริงจากผลของกรรมที่ตัวเองกระทำมาแล้ว จะถือว่ามีความเห็นผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังคำว่า เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม หรือมีความเห็นผิดจากความเป็นจริง ดังที่ได้อธิบายมานี้เป็นลักษณะความเห็นผิดอย่างหยาบๆ เท่านั้น ในความเห็นเป็นไปลักษณะนี้มีอยู่ประจำโลก และมีมาก่อนพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อมาถึงพระพุทธเจ้าของพวกเราทั้งหลาย ความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็มีอยู่อย่างนี้ และจะมีต่อไปในมวลมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิที่มีผู้คนเห็นผิดประจำโลกก็ว่าได้

    เมื่อใดมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลก ก็ได้มาแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบได้บ้าง แต่ไม่มากนัก ยังมีคนผู้เห็นผิดตกค้างอยู่ในโลกนี้มากมาย แต่ก็มีหลายคนที่มีนิสัยเบาบางพอจะเปลี่ยนแปลงจากมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด ได้กลับตัวมาเป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นที่ถูกต้องได้ ฉะนั้นจงมาเป็นผู้มีความตั้งใจเสียใหม่ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    ส่วนมิจฉาทิฏฐิที่มีความเห็นผิดอีกจุดหนึ่ง นักปฏิบัติอาจจะไม่รู้ตัว เพราะความเห็นผิดประเภทนี้มีความลึกลับมาก จะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาจึงไม่สนใจ ทั้งที่เป็นภัยในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก และเป็นความเห็นผิดปิดมรรคผลนิพพานอย่างสนิททีเดียว ถ้าไม่ชำระให้หมดไปจากใจ ก็จะเป็นภัยขัดขวางสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบทันที ถึงจะมีครูอาจารย์อธิบายให้ฟัง ก็ยังไม่ยอมรับ ทั้งที่ความจริงมีอยู่ เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งที่ตำราก็ได้อธิบายไว้แล้วอย่างชัดเจน แต่ความเห็นในส่วนลึกของใจ ก็ยังมีความต่อต้านอยู่ ไม่ยอมรับความจริง ความรู้ที่ได้ศึกษามาก็เป็นเพียงความเข้าใจเท่านั้น แต่เป็นเพียงความเข้าใจจากคนอื่นเล่าให้ฟัง

    ความเห็นผิดก็ยังฝังลึกอยู่ในใจตามเดิม นั้นคือ อัตตา เมื่ออัตตาตัวตนมีอยู่ที่ไหน เราก็มีอยู่ในที่นั้น ถ้าเรามี ตนก็ต้องมี จึงเรียกว่า ตัวเรานั้นเอง นี้คือมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดอย่างละเอียด ธาตุสี่คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ตลอดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เห็นว่าเป็นตัวเราทั้งหมด ตลอดทรัพย์สินเงินทองกองสมบัติทั้งปวงก็ได้มารวมกันอยู่ในตัวเรานี้ทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อความเห็นผิด ความเข้าใจผิดฝังลึกอยู่ที่ใจอย่างนี้ เราก็ต้องแก้ไขในความคิดเห็นนี้ให้หมดไปจากใจให้ได้ เพื่อจะไม่ให้เกิดความเห็นผิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป

    ที่จริง นักปฏิบัติเคยได้ฟังจากครูอาจารย์มา หรือได้อ่านจากตำรามามากก็ตาม ความรู้ทั้งหมดนั้น ถึงเราจะพูดถูกตามหลักความจริงอยู่ก็ตาม เราจะเข้าใจว่าตัวเราเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ชอบธรรมยังไม่ได้ เพราะความเห็นนั้นเป็นเพียงเอาความเห็นจากตำรามาพูดเท่านั้น ความเห็นที่ถูกต้องตามตำราได้ศึกษามาดีแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงความรู้ในภาคทฤษฎี หรือเป็นความรู้ในทางปริยัติเท่านั้น ไม่ได้จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ ส่วนความเห็นผิดก็ยังฝังสนิทอยู่ที่ใจตามเดิม ฉะนั้นการแก้มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด จึงมาแก้กันที่ใจโดยตรง มิใช่ว่าเรียนตามตำรารู้แล้วจะเป็นสัมมาทิฏฐิไปเอง ถ้าเป็นสัมมา ก็เป็นสัมมนาในทางปริยัติเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอง ไม่มีครูอาจารย์อื่นใดมาสอน เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์แล้ว พระองค์ก็ได้ตั้งใจประกาศพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธบริษัทได้ละมิจฉาทิฏฐิที่มีความเห็นผิดมาแล้วให้หมดไปจากใจ ธรรมที่จะนำมาเปลี่ยนแปลงมิจฉาทิฏฐิในคนยุคนั้น พระองค์ก็ได้เลือกคัดสรรไว้แล้วเป็นอย่างดี นั้นคือ สัจธรรม คือ หลักแห่งความจริง สัจธรรมนี้มีอยู่ทั่วไป แต่พระพุทธเจ้าจะเน้นหนักในหมู่มนุษย์เป็นหลักสำคัญ คำว่า มิจฉาทิฏฐิ ก็คือ มนุษย์เราหลงผิดในตัวเอง เมื่อเขาได้มารู้ความจริงในตัวเองเมื่อไร ก็จะเป็น สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบเมื่อนั้น ฉะนั้นการประกาศศาสนาของพระองค์ ก็คือ ประกาศความจริงให้หมู่มนุษย์ทั้งหลายได้รู้จริงนั้นเอง เมื่อมีความรู้จริงเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว ก็จะเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิคือ ความเห็นจริงอย่างชอบธรรม จะลบล้างความเห็นผิดออกไปจากใจได้ทันที นี่คือจุดเริ่มต้นในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาล

    แม้พระสาวกของพระองค์ออกไปประกาศศาสนาในที่ต่างๆ ก็ประกาศสัจธรรมความจริงนี้แก่ประชาชน พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาอย่างไร พระสาวก็ประกาศศาสนาอย่างนั้น หรือพระสาวกเป็นจำนวนมากออกไปประกาศศาสนาในที่แห่งหนตำบลใด จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน หรือพุทธบริษัทได้ฟังธรรมจากพระสาวกองค์ไหนมา ก็มีความหมายเหมือนกันและเป็นเรื่องสัจธรรมอย่างเดียวกัน ฉะนั้นความขัดแย้งกันในความคิดความเห็นจึงไม่เกิดขึ้น ว่าพระสาวกองค์นั้นสอนอย่างนั้น พระสาวกองค์นี้สอนอย่างนี้ ไม่มีในสมัยนั้น เพราะทุกองค์มุ่งเน้นในการสอนด้วยหลักเดียวกัน คือความจริง ในครั้งพุทธกาลยังไม่มีตำราให้ศึกษากันเหมือนยุคปัจจุบันนี้ จึงไม่มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน มีแต่ความเชื่อมั่นว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าและคำสอนของพระสาวกทั้งหลายล้วนแต่เป็นหลักความจริงทั้งหมด เมื่อทุกคนมุ่งปฏิบัติตามหลักความจริงอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมเกิดความรู้จริง เกิดความเห็นจริงในสัจธรรมอย่างชัดเจน ฉะนั้นการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ก็คือจุดเริ่มต้นในการประกาศศาสนา

    หลักสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบนี้จึงเป็นหลักใหญ่ จะว่าเป็นประธานให้แก่หมวดธรรมทั้งหลายก็ไม่ผิด ดังพระองค์ได้เทียบเอาไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารอยเท้าสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมารวมอยู่ในรอยเท้าช้างแห่งเดียว นี้ภิกษุทั้งหลาย บรรดามรรคทั้งหลายย่อมมารวมอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบทั้งหมด คำว่ารอยเท้าช้าง ก็หมายความว่า ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ ก็หมายว่าเป็นใหญ่ เป็นประธานให้แก่มรรคทั้งหลาย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมองเห็นความสำคัญ จึงได้ยกไว้เป็นข้อแรกคือ สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาความเห็นชอบในเบื้องต้น เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมเมื่อไร ความเห็นผิด ความเข้าใจผิดก็สลายจากใจไป การดำริพิจารณาในสิ่งใดก็เป็นการดำริพิจารณาถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งหมด นี่ก็เพราะหลักสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบตั้งมั่นไว้แล้วนั่นเอง

    เมื่อความเห็นชอบเกิดขึ้นที่ใจเมื่อไร ความเห็นผิดของใจก็หมดไป เหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างขึ้นมาเมื่อไร ความมืดก็หายไปทันที เมื่อความเห็นชอบได้เกิดขึ้นที่ใจเมื่อไร การรักษาศีลภาวนาปฏิบัติก็จะง่ายขึ้น เช่น การรักษาศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็รักษาได้ง่าย นี่ก็เพราะมีปัญญาในการรักษานั่นเอง คำว่าปัญญาในที่นี้ คือ สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา ปัญญาระดับนี้มีอยู่กับทุกคน แต่จะเอาไปทำงานประกอบการศึกษาหรือประกอบความคิดพิจารณาในทางไหนก็ได้ ถ้าจะเอาไปประกอบในทางโลกก็เป็นปัญญาในทางโลกไป ถ้าจะเอามาคิดพินิจพิจารณาในทางธรรมก็เป็นปัญญาในทางธรรมไป แต่เมื่อได้ทำสมาธิให้จิตมีความสงบอยู่บ่อยๆ ก็จะเป็นอุบายเสริมปัญญาให้มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุดก็จะเกิดปัญญาระดับสูงขึ้น คือ ภาวนามยปัญญานั้นเอง แต่ในขั้นเริ่มต้นนี้ให้ใช้ปัญญาในระดับสุตมยปัญญาและจินตมยปัญญานี้ไปก่อน เพื่อให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบอย่างเต็มตัว เช่น จะรักษาศีลก็ใช้ปัญญา พิจารณาในหมวดศีลนั้นๆ ให้เข้าใจ จะมีอุบายในการรักษาอย่างไร ศีลนั้นจะมีความบริสุทธิ์ เมื่อล่วงละเมิดศีลข้อนั้นแล้ว จะเป็นโทษอย่างไร ถ้ารักษาศีลให้มีความบริสุทธิ์แล้ว คุณของศีลจะให้ผลอย่างไร นี้คือปัญญาความรอบรู้ในการรักษาศีลนั่นเอง



    การรักษาศีล



    รักษาศีลข้อที่ ๑ คือ ข้อปาณาฯ การรักษาศีลข้อนี้คือ ห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ด้วย การฆ่าสัตว์ทำให้ศีลขาดนั้น มีองค์ประกอบ ๕ อย่างดังนี้ ๑. สัตว์นั้นมีชีวิต ๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓. มีความตั้งใจที่จะฆ่า ๔. มีความพยายามที่จะฆ่า ๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

    เมื่อครบด้วยองค์ ๕ นี้ ศีลจึงขาด แต่ถ้า ๑-๔ ศีลยังไม่ขาดแต่มีความเศร้าหมองไม่สมบูรณ์ การฆ่าสัตว์นั้นทำให้ศีลขาดเท่ากัน แต่บาปกรรมนั้นไม่เท่ากัน สมมติว่า ฆ่าสัตว์ตัวที่มีบุญคุณแก่เรา มีส่วนช่วยเหลือช่วยงานแก่เรา ทำประโยชน์แก่เรา เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า เป็นต้น ถ้าฆ่าธรรมดาก็มีบาปมากอยู่แล้ว ถ้าฆ่าด้วยความโกรธก็จะได้รับผลของบาปมากขึ้นเท่าตัว แต่ถ้าสัตว์ตัวที่ถูกฆ่านั้นเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาใช้ชาติ ก็จะได้รับผลของบาปนั้น ๑๐ เท่าทีเดียว เมื่อตายไปก็จะได้ลงไปสู่นรกทันที จะได้รับกรรมถูกไฟนรกแผดเผาให้เกิดความทุกข์ทรมานยาวนานทีเดียว เมื่อพ้นจากนรกแล้ว ก็จะได้มาเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ให้เขาฆ่ามาเป็นอาหารหลายร้อยชาติ

    ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีวิบากกรรมติดตามมาสนองได้อีก เช่น ทำให้อวัยวะไม่สมประกอบ จะทำให้ตาบอด หูหนวก ง่อยเปลี้ยเสียขา แขนหัก ขาขาด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามร่างกาย หาความสุขไม่ได้เลย หรือเป็นโรคนานาชนิด ทำให้ชีวิตทนทุกข์ทรมาน หรือเกิดมาแล้วมีอายุสั้นพลันตายด้วยอุบัติเหตุต่างๆ นี้คือ ผลกรรมที่ตามสนอง ถ้าฆ่าสัตว์อื่นที่ไม่มีบุญคุณแก่เรา ถ้าฆ่ามากไป ก็ตกนรกได้ เมื่อพ้นจากนรกแล้วจะเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ทำให้ชีวิตหาความสุขไม่ได้ อายุยังไม่ถึงกาลเวลาของอายุขัย ก็ตายไปเสีย ถ้าฆ่าสัตว์เล็กๆ น้อยๆ เกิดมาในชาติหน้า ผลของบาปกรรมนั้นจะทำให้ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณหยาบกร้าน มีโรคผิวหนังประจำตัว มีการเจ็บป่วยเมื่อยตัวเป็นประจำ ดังที่ได้อธิบายมานี้เป็นผลบาปกรรมในการฆ่าสัตว์นั่นเอง

    การใช้ปัญญาพิจารณาในผลของบาปกรรมที่ผิดศีลข้อ ๑ นี้ ก็เพื่อให้เข้าใจผลของกรรมที่ตามสนองให้ได้เกิดความกลัวในบาปกรรมนั้น ๆ ให้เกิดความสำนึกในชีวิตเขาและชีวิตเรา ที่มีความรักความหวงแหนในชีวิตเหมือนกับเรา สัตว์ทุกตัวตลอดเราด้วยก็ไม่อยากตายเพราะถูกฆ่าเหมือนกัน ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะอ้างว่า สัตว์เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ แต่ถ้าจับตัวมนุษย์ที่ชอบพูดอย่างนี้ไปให้เสือกิน ไปให้จระเข้กินดูซิเขาจะว่าอย่างไร สัตว์ทุกตัวมีความกลัวต่อความตายทั้งนั้น เห็นมนุษย์อยู่ที่ไหนก็ต้องหลบหลีกปลีกตัวเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตของเขา ถึงขนาดนั้นก็พ้นเงื้อมมือมนุษย์ใจบาปนี้ไปไม่ได้ พากันตามไล่ตามฆ่าเอามาเป็นอาหาร ไม่มีความเมตตาสงสารเขาบ้างเลย แต่ละวันมีความสะดุ้งหวาดผวากลัวต่อความตายอยู่ตลอดเวลา ไม่กล้าที่จะออกหากินอะไรได้ตาใจ ถ้าเราตกอยู่ในสภาพอย่างนี้ จะมีความทนทุกข์ทรมานขนาดไหน

    ถึงอย่างไร ก็ขอให้คิดถึงชีวิตเขาชีวิตเราดูบ้าง หัวอกเขาอย่างไร หัวอกเราก็เป็นอย่างนั้น ไม่ควรเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ให้ถือว่าเขาเป็นญาติเป็นเพื่อนที่เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันกับเรา มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตใจสูง แต่ขอให้สูงด้วยความรัก ให้สูงด้วยความสงสารต่อสัตว์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ให้สัตว์อื่นได้พึ่งบารมีสมกับที่ว่ามนุษย์มีจิตใจสูงนี้ด้วยเถิด ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาในลักษณะนี้อยู่บ่อยๆ ใจเราก็จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปในทางดี จะมีความเมตตาต่อสัตว์ มีความสงสารสัตว์มากขึ้น ในที่สุดเราก็จะไม่กล้าฆ่าสัตว์อีกเลย นี่คือมีปัญญาในการรักษาศีล หรือศีลเกิดขึ้นจากปัญญาก็ว่าได้ ถ้ารับศีลมาแล้ว แต่ขาดปัญญาในการรักษา ศีลนั้นจะขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น สุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ต้องเกิดมาก่อนศีลแน่นอน นี้คือสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาความเห็นชอบในการรักษาศีลนั้นเอง

    รักษาศีลข้อ 2 คือ อะทินนาฯ ศีลข้อนี้ ก็เกิดขึ้นจากปัญญาเช่นกันจงใช้ปัญญาพิจารณาอยู่บ่อยๆว่า สิ่งของของคนอื่น เขาได้มาด้วยความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินด้วยแรงงาน ด้วยหยาดเหงื่อของเขาเอง หวังว่าจะได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้หล่อเลี้ยงชีวิตต่อไป มีความรักทะนุถนอมดูแลเพื่อหวังความสุขในทรัพย์สินเหล่านี้ ถ้าเราไปลักไปปล้นเอาสิ่งของจากเขามาแล้ว เขาก็จะมีความเสียดาย คิดถึงสิ่งของของเขามากทีเดียว สมมติว่า มีคนใดมาลักมาปล้นเอาสิ่งของของเราไป เราก็จะมีความเสียดายและคิดถึงเช่นกัน ให้คิดถึงหัวอกเขาหัวอกเราดูบ้าง เพราะของทุกอย่างใครๆ ก็มีความหวงแหนด้วยกันทั้งนั้น ไม่อยากให้คนใดมาลักเอาทรัพย์สินจากตัวเราไป เมื่อเราคิดได้อย่างนี้ เราก็จะไม่กล้าไปลักเอาสิ่งของของผู้ใดทั้งสิ้น ศีลข้อนี้ก็จะอยู่เป็นคู่ของกายของใจเราตลอดไป นี้คือผู้มีปัญญาฉลาดในการรักษาศีล

    ต้องใช้ปัญญาอบรมใจตัวเอง และสอนใจตัวเองอยู่เสมอ ให้คิดถึงบาปกรรมที่จะตามสนองในชาติหน้าว่า ถ้าชอบลักสิ่งของของคนอื่น เกิดในชาติหน้า จะเกิดในสถานที่ทุกข์จนขาดแคลนมาก ความสะดวกสบายในทรัพย์ไม่มีเลย ตลอดที่อยู่อาศัยบ้านเรือน ที่จะซุกหัวนอนก็ไม่มี อาหารการกิน สิ่งที่ดีๆ มีโอชารสจะไม่ได้กินเลย มีแต่ไปหาเก็บเอาอาหารในถังขยะกินไปพอประทังชีวิตเท่านั้น จะหางานหาเงินพอจะเป็นไปได้ก็ไม่ได้ พอจะมีก็ไม่มี เหมือนคำว่า นกคาบมา อีกาคาบหนี ถึงจะมีทรัพย์สินอยู่บ้าง แต่ก็จะถูกคนมาลัก คนมาปล้นจากตัวเราไป หรือเกิดความฉิบหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ก็ผลของกรรมในการลักเอาสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตน ให้เราพิจารณาในลักษณะนี้อยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยเห็นโทษภัยที่จะมาถึงตนทีหลัง ใจก็จะเกิดความละอายและเกิดความกลัวต่อกรรมชั่วมากขึ้น นี้เรียกว่า ตนเตือนตนด้วยตนเอง ฉะนั้นผู้รักษาศีลก็ต้องมีปัญญาในการรักษาดังนี้

    ศีลข้อที่ ๓ คือข้อกาเมฯ ศีลข้อนี้ก็ต้องมีปัญญารักษาเช่นกัน ใช้ปัญญาพิจารณาว่าเราเป็นมนุษย์ รู้จักความละอายในการกระทำของตนเอง ไม่ควรประพฤติตัวเหมือนสัตว์ดิรัจฉาน เพราะสัตว์ดิรัจฉานไม่มีปัญญา ไม่มีความละอายในความประพฤติ เขาจึงทำกันไปแบบภาษาสัตว์ ใครเป็นพ่อใครเป็นแม่ ใครเป็นลูกเขาไม่ถือกัน จะล่วงเกินเมียใครลูกใคร เขาก็ไม่ละอาย เขาไม่รู้จักสิ่งที่ควรหรือไม่ควร นี่เราเป็นมนุษย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีสติมีปัญญาที่ดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงไม่ควรฝึกตัวเอาแบบอย่างของสัตว์ดิรัจฉาน ความพอดีของมนุษย์คือผัวเดียว เมียเดียวก็พอแล้ว ถ้ามาฝึกตัวเหมือนสัตว์ เกิดชาติหน้าก็จะได้ไปเกิดเป็นสัตว์อีกต่อไป ดังภาษิตว่า มนุสฺสติรจฺฉาโน ถึงร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเหมือนสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อตายไปก็จะได้ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานต่อไป เมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์ วิบากกรรมก็ยังตามมา กรรมจะบันดาลให้ได้แต่คนนอกใจ ถ้าสามี สามีก็จะนอกใจ ถ้ามีภรรยา ภรรยาก็จะนอกใจ ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน เผลอเมื่อไร เป็นอันเกิดเรื่องทันที ถ้าเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ จะไม่มีความสุขในครอบครัวนั้นเลย มีแต่ทะเลาะเบาะแว้งตีกันฆ่ากันเดือดร้อนวุ่นวายกันไปหมด นี้คือบาปกรรมตามสนองผู้ชอบล่วงละเมิดศีลข้อกาเมฯ ฉะนั้นเราเป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง มีสติปัญญาที่ดี ก็ให้มีศีลข้อนี้ประดับใจประดับกาย ใช้เป็นอุบายสอนใจอยู่เสมอๆ อีกสักวันหนึ่งใจก็จะเกิดความสำนึกตัว มีความละอายในการกระทำในสิ่งที่ผิดจากจารีตประเพณี นี้คือรักษาศีลด้วยปัญญา ถ้าปัญญาได้อบรมสอนตัวเองอยู่บ่อยๆ อย่างนี้ ผู้นั้นจะไม่ผิดศีลข้อกาเมฯ นี้อย่างแน่นอน

    ศีลข้อที่ ๔ คือข้อมุสาฯ ศีลข้อนี้จะขาดไปเพราะคำพูด ฉะนั้นก่อนจะพูดต้องตรึกตรองใคร่ครวญในคำพูดให้ดีเสียก่อนจึงพูดออกไป ว่าการพูดในประโยคนี้จะเกิดความเสียหายกับตัวเองและคนอื่นหรือไม่ ถ้าเราพูดความไม่จริงออกไปจะเกิดความรู้สึกแก่ผู้รับฟังอย่างไร หรือเราได้รับฟังคำพูดไม่จริงจากคนอื่น ในความรู้สึกของเราก็จะขาดความเชื่อถือจากคนนั้นทันที หรือพูดส่อเสียดเบียดบังเปรียบเปรยในลักษณะเสียดแทงให้คนอื่นไม่สบายใจ การพูดออกไปอย่างนี้จะก่อให้เกิดความแตกแยกกัน

    สมมติว่า แต่ก่อนมามีความรักกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน เหมือนกับว่าฝากเป็นฝากตายกันได้ มีความเคารพเชื่อถือกันมาตลอด ไปไหนไปด้วยกันอยู่ด้วยกัน ความรักสมัครสมานสามัคคีมีต่อกันอย่างมั่นคง เป็นเพื่อนสนิทมิตรที่รักต่อกันมาแล้วก็ตาม เมื่อได้รับฟังคำพูดที่ไม่จริง หรือเป็นคำพูดส่อเสียดเปรียบเปรยไปในทางที่เสียหาย ความรักกัน ความไว้ใจกันที่เคยมีมาทั้งหมดก็พังทลายลงทันที ความสามัคคีที่เคยมีต่อกันมา ก็แตกแยกกัน แต่ก่อนเคยแสดงกิริยาในความรัก ความเคารพต่อกัน และมีความเชื่อถือต่อกันมายาวนานก็ตาม ความรู้สึกทั้งหมดนี้ก็หมดสภาพไป ถึงจะมีภาระหน้าที่พูดคุยกัน ก็ไม่สนิทสนมกันเหมือนที่เคยเป็นมา ถึงจะมีกิริยาออกมาในทางที่ดีต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนตัว อกิริยาที่เจ็บใจฝังลึกๆ ในความรู้สึกนั้นยังมีอยู่ อีกสักวันหนึ่งก็จะหาช่องทางระบายอารมณ์แห่งความแค้นนี้ออกไปให้ได้ จะเพ่งเล็งหาจุดอ่อนซึ่งกันและกันออกมาตอบโต้กัน ถ้าพูดต่อหน้าไม่ได้ก็ต้องพูดลับหลัง อาศัยคนใดคนหนึ่งเป็นสุขภัณฑ์เป็นผู้รับถ่ายเท ระบายความในใจที่ไม่พอใจกับคนคนนั้น ด้วยวิธีใดก็จะระบายออกมาอย่างเต็มที่ นี้เรียกว่าพูดโจมตีกันลับหลัง หรือกล่าวคำนินทาว่าร้ายออกมาให้สมใจ เมื่อเริ่มต้นเป็นอย่างนี้ ต่อไปก็จะเกิดความอิจฉาตาร้อนต่อกัน หาคำพูดที่จะเอาชนะกันด้วยวิธีต่างๆ ในที่สุดก็กลายเป็นพยาบาทอาฆาตจองเวรต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ฉะนั้นเราจงฝึกตัวให้เป็นคนจริง ฝึกรับผิดชอบในคำพูดของตัวเองให้มาก เพราะคำพูดนั้นเป็นสื่อที่กระทบใจได้รวดเร็วกว่าการทำทางกาย โบราณท่านกล่าวว่า พูดออกไปสองไพเบี้ย กลับนิ่งเสียตำลึงทอง นี่ก็หมายความว่า ให้รู้จักการยับยั้งในคำพูดเอาไว้ เพื่อจะได้ทบทวนดูว่าการพูดอย่างนี้จะมีผลดีผลชั่วอย่างไรนั่นเอง การเกิดปัญหาในสังคมที่ไม่เข้าใจกันทุกวันนี้ ก็เกิดจากคำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อกน คนจะเกิดความรักกัน หรือเกิดความเกลียดชังกันก็เพราะคำพูด แต่ละวันจะสัมผัสกันด้วยคำพูดนี้มากกว่าการทำทางกาย ถ้าใจขาดสติปัญญาความรอบรู้ คำพูดก็หลุดออกมาในทางผิดได้ง่าย

    ฉะนั้นคำพูดจึงเป็นสื่อที่บอบบางต้องระวังเป็นพิเศษ อย่าพูดด้วยมานะทิฏฐิ ว่าเราดีกว่าเขา เรามีฐานะมั่นคงกว่าเขา เรามีความรู้ดีกว่าเขา เรามีหน้าที่การงานตำแหน่งดีกว่าเขา เรามีชาติตระกูลดีกว่าเขา เราเป็นผู้บังคับบัญชาเขา อยากพูดอย่างไรก็จะพูดไปตามชอบใจ อยากพูดดุด่าอย่างไรกับใคร ก็ใช้อำนาจของตัวเองพูดไปโดยไม่เกรงกลัวต่อใครทั้งสิ้น โบราณว่า เท้าช้างเหยียบปากนก ก็เป็นในลักษณะนี้ นี่เรียกว่า คนหลงในมานะทิฏฐิของตัวเอง ถึงผู้น้อยเขาไม่มีโอกาสตอบโต้ก็ตาม แต่อย่าลืมว่าผู้น้อยก็มีหัวใจที่เต็มไปด้วยกิเลสเหมือนกัน มีความโกรธความเกลียดผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้ สังคมของมนุษย์ที่เคยมีความรักต่อกัน ก็เริ่มจะร้าวฉานหรือแตกสลายไป

    เมื่อความรักทางใจไม่มีต่อกัน ความสัมพันธ์ทางกาย ความสัมพันธ์ทางวาจาก็ตีตัวห่างจากกัน แต่ก่อนเคยช่วยเหลือเจือจานต่อกันด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา ช่วยแก้ปัญหากันมาตลอด แต่บัดนี้ได้พังทลายลง ขาดทั้งความรัก ขาดทั้งความสงสาร ขาดทั้งความเคารพเชื่อถือ ความดีที่มีต่อกันเป็นอันว่าสิ้นสุดลง จะพึ่งอะไรต่อกันไปในวันข้างหน้าก็หมดสภาพลง นี่ก็เป็นเพราะคำพูดเป็นต้นเหตุ ดังคำที่ว่า การพูดไม่ดีกับคนอื่นอย่างไร ย่อมพูดได้ แต่อย่าหวังน้ำใจจากคนอื่น เมื่อมีความสำนึกได้อย่างนี้ จากนี้ไปให้ตั้งใจไว้ว่า เราจะไม่พูดเท็จพูดส่อเสียด หรือเราจะไม่พูดที่ทำให้คนอื่นมีความเดือดร้อนเป็นทุกข์ด้วยคำพูดของเรา นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    ศีลข้อที่ ๕ คือข้อสุราฯ ศีลข้อนี้ก็มีความสำคัญอยู่มากทีเดียว จึงได้บัญญัติเอาไว้ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นทีหลัง เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาม้า เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ใจเกิดความลืมตัว กล้าทำกล้าพูดในสิ่งที่ไม่ควรทำควรพูด ถ้าเมาลงไปเมื่อไร จะไม่คิดถึงในคุณธรรมที่ดีงาม จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดโกหกมดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเหลวไหลไม่มีสาระ หมดความละอาย จะทำจะพูดอะไรไม่มีความสำนึก ไม่มีความรับผิดชอบในการทำการพูดของตนเอง ตามปกติแล้วมนุษย์เรามีนิสัยบ้อบอคอแตกอยู่ในตัวอยู่แล้ว เมื่อได้เสพสิ่งที่ว่ามาผสมลงไป ใจก็จะเกิดเป็นบ้าเพิ่มขึ้นหลายเท่า กิริยาทางกาย กิริยาทางวาจา ที่แสดงออกมานั้น ไม่น่าดูไม่น่าฟัง ดังเห็นกันอยู่ในที่ทั่วไป ย่อมก่อเหตุก่อภัยขึ้นมานานาประการ เกิดความเสียหายให้แก่ตัวเองและคนอื่นเป็นอย่างมาก จะเป็นผู้นำในครอบครัวหรือเป็นผู้นำในการบริหารงานต่างๆ ไม่ได้เลย พวกขี้เมาทั้งหลายนี้จะพัฒนาในสิ่งใดให้ดีขึ้นไม่ได้เลย มีแต่จะก่อให้เกิดความหายนะล้มเหลวล่มจม เสียหายในทรัพย์สินเงินทอง ไม่รู้จักในการเก็บรักษาและไม่รู้จักหาสมบัติเข้ามาเพิ่มเติม มีแต่จ่ายให้หมดไป ไม่รู้อนาคตของตนเองว่าเป็นอย่างไร การกระทำของคนประเภทนี้ นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายไม่มีความสรรเสริญอีกต่อไป ในชาติหน้าเขาก็จะได้รับกรรมชั่วอย่างแน่นอน

    เมื่อคนประเภทนี้ตายไปย่อมลงสู่อบายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ วิบากกรรมย่อมตามมาให้ผล เช่น เป็นคนที่เสียจริตผิดมนุษย์ธรรมดา ที่เรียกว่าคนไม่เต็มบาทนั่นเอง คนประเภทนี้จะเห็นกันอยู่ทั่วไป คนพวกนี้หารู้ตัวไม่ว่าแต่ก่อนได้ทำกรรมอะไรมา ไม่รู้ตัวเลยเพราะกรรมมาปิดบังเอาไว้ เมื่อใครไม่อยากเป็นคนประเภทนี้ในชาติหน้า ในชาตินี้ก็อย่ากินเหล้าเมายาดังที่ได้อธิบายมาแล้ว หรือเคยกินอยู่แล้วก็ขอให้ลดน้อยลงๆ จนน้อยที่สุด และจะไม่กินต่อไปจนตลอดวันตาย ถ้าคิดได้อย่างนี้ ก็เริ่มจะเป็นคนดีได้บ้าง ถ้าไม่กินจริงๆ ก็จะเป็นคนดีมีคุณค่าแก่ตัวเอง

    ดังที่ได้อธิบายวิธีในการรักษาศีล ๕ มานี้เป็นเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนวิธีการและระเบียบในการรักษาศีลนั้นเราจะตั้งขึ้นมาเอง ตามปกติแล้ว การจะรักษาศีล ๕ ให้มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์พร้อมกันทั้ง ๕ ข้อนั้นรักษาได้ยากมาก เพราะสติปัญญาศรัทธาความเพียรเรายังไม่พร้อม การรักษาศีลกับการรับศีลนั้นต่างกัน การรับศีลนั้นรับเอาเวลาไหนก็ได้ แต่ถ้ารับไปแล้วไม่รักษาจะหาคุณค่าจากศีลได้อย่างไร จะรับศีลวันหนึ่งหลายๆ ครั้งย่อมทำได้ แต่ก็เป็นพิธีรับศีลเท่านั้นเอง

    ส่วนการรักษาศีลนั้นต้องมีสติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรให้พร้อม เริ่มต้นจะรักษาศีลสัก ๑-๒ ข้อก็ได้ เพื่อฝึกความพร้อมของตัวเองให้มีความกล้าหาญขึ้นจะรักษาศีลข้อใดข้อหนึ่งก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นจะรักษาเรียงตามตำรา ศีลข้อไหนที่รักษาได้ง่ายที่สุด ก็ต้องรักษาข้อนั้น จะทิ้งช่วงในการรักษาห่างกันอย่างไร ก็ให้อยู่กับความสามารถของตัวเราเอง ต่อไปจะเพิ่มการรักษาข้อไหน ก็ให้เราเลือกเอง ใช้เวลาไม่นานนักเราก็จะมีศีล ๕ ได้อย่างสมบูรณ์ การรักษาศีลด้วยวิธีนี้จะไม่มีการเสื่อม และศีลก็ไม่ขาดด้วย เพราะมีสติปัญญาในการรักษา มีศรัทธาความเชื่อมั่นว่า กรรมชั่วย่อมเกิดขึ้นจากผู้ไม่มีศีล ความเพียรพยายามจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ก็เพียรพยายามอยู่เสมอ ดังคำว่าความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับศีล ๕ นั่นเอง

    ศีล ๘ มีความแตกต่างกันดังนี้ สำหรับศีลข้อกาเมฯ ในศีล ๕ นั้น ศีล ๘ ให้เปลี่ยนเป็นอพรหมจริยาฯ ศีลข้อนี้ไม่เหมือนศีลข้อกาเมฯ เพราะศีลข้อกาเมฯ ร่วมกันได้เฉพาะคู่สามีภรรยาของตัวเอง ส่วนศีลข้ออพรหมจริยานั้นร่วมไม่ได้เลย ถ้าร่วมศีลก็ต้องขาดไป บางแห่งห้ามผู้หญิงและผู้ชายยื่นสิ่งของให้กัน ถ้ายื่นสิ่งของต่อมือกัน ถือว่าศีลขาด บางแห่งก็ว่ายื่นสิ่งของต่อมือกันได้ศีลไม่ขาดเพราะไม่ได้ร่วมกัน ศีลข้อนี้ห้ามร่วมกันเท่านั้น ทั้งสองอย่างนี้จะปฏิบัติต่อศีลข้อนี้อย่างไร ให้พิจารณาด้วยความเหมาะสมก็แล้วกัน ข้อสำคัญอย่าให้เกิดสีลัพพตปรามาส ความลูบคลำความสงสัยในศีลของตน เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นเมื่อไร ความเศร้าหมองของใจ ย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น หรือทำให้ศีลขาดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง

    ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชนาฯ ห้ามรับประทานอาหาร หรือสิ่งของที่จะแทนอาหารได้นับแต่ตะวันบ่ายไปแล้ว ขณะนี้ยังมีผู้ไม่เข้าใจในศีลข้อนี้เป็นจำนวนมาก คำว่าอาหารคือ อาหารที่เรารับประทานกันตามปกตินั้นเอง จะรับประทานได้แต่เช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าตะวันบ่ายแล้วรับประทาน ศีลข้อนี้ขาดไป คำว่า อาหารรวมทั้งอาหารเสริมด้วย เช่น โอวัลติน นมสด นมส้ม นมกล่อง นมกระป๋อง ที่เขาผสมแป้งมันถั่วต่างๆ ไว้แล้ว ตลอดทั้งน้ำเต้าหู้ที่ผสมถั่วต่างๆ ทั้งหมดนี้ถ้ารับประทานในตะวันบ่ายเมื่อไร ศีลจะขาดทันที เพราะเป็นอาหารเสริมสำเร็จ จึงไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้

    ศีลข้อที่ ๗ นัจจคีตวาฑิตะ-มาลาฯ ตามปกติแล้วเป็นศีลคนละข้อกัน แต่นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายพิจารณาเห็นสมควรเอามารวมกัน วิธีรักษาก็ใกล้เคียงกัน การรักษาศีลข้อนัจจคีตวาฑิตะฯ นั้น ห้ามมีการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ให้เกิดความสนุกสนานร่าเริงอันเป็นเหตุให้เกิดความลืมตัว เช่น ร้อง รำ ทำเพลง ดีดี สี ตีเป่า เป็นต้น คำว่า ร้อง คือตะโกนเสียงยาวๆ ทำเป็นเสียงเล็กเสียงใหญ่ เรียกว่า ร้องโห่ คำว่า รำคือ เต้นรำในท่าต่างๆ หรือรำเป็นบทเป็นกลอน เพื่อความสนุกเพลิดเพลิน หรือเรียกว่าหมอลำ คำว่าทำเพลงคือ ร้องเพลงในบทเพลงต่างๆ ที่เห็นกันในที่ทั่วไป คำว่า ดีด คือดีดพิณหรือกีตาร์ คำว่าสี คือ สีซอ คำว่าตี คือ ตีฆ้อง ตีกลอง ตีระนาดฆ้องวง เป็นต้น คำว่า เป่า คือ เป่าขลุ่ย เป่าแคน เป่าปี่ หรือเป่าอะไรก็ตาม ถ้าเพื่อความเพลิดเพลินไม่ได้เลย ข้อห้ามในศีลข้อนี้ คือ ห้ามทำอะไรเป็นสื่อเพื่อความสนุกรื่นเริงนั่นเอง

    บทข้อ มาลาคันธวิเลปนะฯ การรักษาศีลในบทนี้คือ ห้ามแต่งตัวประดับประดา ทัดดอกไม้ ทาหน้าเจิมหน้าในลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งจะก่อให้เกิดความรักสวยรักงาม และหลงตัวเองว่า เราสวยอย่างนี้ เรามีความงามอย่างนั้นไป และจะก่อให้เกิดความหลงรูปกายของตัวเอง และจะทำให้ไปหลงรูปกายของคนอื่นด้วย แต่หากมีกิจในสังคมที่จะต้องไปร่วมกับเขา ก็ให้รู้ว่า ปริสัญญู ในสังคมเขาแต่งตัวอย่างไร เราก็แต่งตัวไปตามนั้น เราไม่ได้ติดใจในการแต่งตัวของเรา แต่เราทำเพื่อสังคมบางครั้งบางคราวเท่านั้น การทำลักษณะอย่างนี้ศีลไม่ขาด

    ศีลข้อที่ ๘ อุจจาสยนะฯ ในศีลข้อนี้ ห้ามนั่งนอนในที่สูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี ศีลข้อนี้เดิมเป็นศีลของสามเณรและสามเณรี เมื่อมาถึงในยุคนี้ไม่มีสามเณรี (หมายถึงผู้หญิงบวชรักษาศีล ๑๐) แต่มีผู้หญิงต้องการจะออกบวช นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายเห็นสมควรให้รักษาเพียงศีล ๘ เท่านั้นและสมควรว่าศีลข้ออุจจาสยนะฯ นี้ให้รวมอยู่กับศีล ๘ ด้วย ในคำว่าห้ามนั่งนอนในอาสนะใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลีนั้น มีคำถามว่า ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ก็ตาม แต่ภายในยัดด้วยของอย่างอื่น เช่น ใบไม้ เศษผ้า ฟองน้ำ เหล่านี้จะนั่งนอนได้ไหม

    ข้าพเจ้าก็จะตอบว่าได้ เพราะภายในไม่ได้ยัดนุ่นและสำลี จะยัดด้วยอย่างอื่นไม่เป็นไร ให้ข้อสังเกตว่า ทำไมจึงห้ามอย่างนี้ จะตีความหมายไว้ ๓ ประเด็น ๑. จะทำให้ติดที่นอนมากเกินไปจนลืมตัวลืมเวลาในการภาวนาปฏิบัติ เพราะที่นอนอ่อนนุ่มอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว ไม่อยากจะลุกขึ้นปฏิบัติภาวนา นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในศีลข้อนี้ ๒. เป็นเพราะที่นั่งที่นอนดีเกินไปและเป็นสิ่งที่หายากมากในยุคนั้น แต่ถ้ามีแล้วจะทำให้ติดในที่นอนนั้น จะออกไปเที่ยวธุดงค์ภาวนาปฏิบัติในที่ต่างๆ ก็จะเกิดความกังวลใจเรื่องสถานที่หลับนอน กลัวจะนั่งไม่เป็นสุข นอนไม่สบาย จึงได้ห้ามนั่งนอนในอาสนะที่ยัดด้วยนุ่นและสำลี นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการห้ามในศีลข้อนี้ ๓. เมื่อติดใจในการนั่งนอนอย่างนี้ ก็จะเกิดลืมตัวไปได้ ก็จะแสวงหานุ่นและสำลีมาทำเป็นที่นอนเป็นการใหญ่ จนเกิดติดใจจนลืมตัว ในช่วงนั้นถ้าหากใจมีความกำเริบในเรื่องราคะตัณหาเกิดขึ้น ก็จะเอาที่นอนเป็นนิมิตหมาย สมมติไปในเรื่องอารมณ์ที่มีความกำหนัด อยากจะสัมผัสนั่นสัมผัสนี่ไป และสมมติไปต่างๆ นานานอกขอบเขต ในที่สุดก็อยู่ไม่ได้รีบสิกขาลาเพศไปเสีย การเป็นไปในลักษณะนี้ย่อมเป็นไปได้ ถ้าสติปัญญาไม่ดีก็จะเพิ่มปัญหากับสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ฉะนั้นการสัมผัสทางกายในลักษณะนี้ก็มีผลสะท้อนเข้าถึงใจได้ การห้ามในศีลข้อนี้ก็เพื่อตัดกระแสไฟแห่งราคะแต่ต้นมือนี้ ก็เป็นไปได้เช่นกัน

    ดังได้อธิบายวิธีการรักษาศีลมาในหมวดศีล ๕ และศีล ๘ นี้คิดว่านักปฏิบัติทั้งหลายพอจะเข้าใจ ถ้าเป็นศีล ๒๒๗ ของพระก็ต้องศึกษาวินัยให้เข้าใจ คำว่าศึกษา ก็หมายถึงสุตมยปัญญา คือปัญญาในขั้นศึกษาตามปริยัตินั่นเอง ถ้าไม่มีปัญญาในการศึกษา จะเข้าใจในอาบัติได้อย่างไร อาบัติหนัก เมื่อต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นพระทันที ไม่มีกฎหมายรองรับสู้คดีเหมือนในยุคนี้ เพราะรูอยู่แก่ใจตัวเอง อีกอาบัติหนึ่งอยู่ปริวาสกรรม จึงพ้นจากอาบัติได้ อาบัติอีกอย่างหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติ คือ ประจานตัวเองรับสารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์หรือบุคคล จึงพ้นจากอาบัติได้ ฉะนั้นการรักษาศีลจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ตาม ก็ต้องมีสติปัญญาในการรักษาทั้งนั้น แม้แต่ทรัพย์สมบัติทางโลกก็ต้องมีปัญญาในการแสวงหา และมีปัญญาในการเก็บรักษาด้วย ศีลก็เช่นกัน เมื่อรับจากพระท่านมาแล้ว ก็ต้องมีปัญญาในการรักษาเช่นกัน

    การรักษาศีลนั้นมิใช่ว่าจะรักษาเพียงกายและวาจาเท่านั้น เพราะต้นของศีลจริงๆ แล้วอยู่ที่ใจ เรียกว่าเจตนา ส่วนรักษากายวาจานั้นเป็นเพียงให้เกิดกิริยาสวยงามให้เหมาะสมกับเพศที่แสดงออกมาภายนอกเท่านั้น ที่จริงแล้วศีลมีต้นเหตุอยู่ที่ใจจึงเรียกว่า มูลฐานของศีลมี ๓ อย่าง ๑. ใจกับกาย ๒. ใจกับวาจา ๓. ใจ กาย วาจา

    ฉะนั้นใจจึงเป็นหลักใหญ่ให้ศีลเกิดขึ้น คำว่ารักษาศีลก็คือ ปัญญาความรอบรู้ในศีลของตน จึงจะรักษาได้ จึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบ ความรอบรู้และฉลาดในการรักษาศีล สัมมาสังกัปโป คือใช้ปัญญาดำริพิจารณาตรึกตรองในศีลข้อนั้นๆ ว่า จะรักษาอย่างไรศีลจะมีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันโต การงานชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ คำว่า ชอบคำเดียวนี้ก็มีความหมาย คือต้องมีปัญญาพิจารณษก่อนจึงพูด จึงเป็นวาจาชอบ มีปัญญษพิจารณาก่อนจึงทำงานนั้นจะไม่ผิดพลาด จึงเป็นการงานชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ คือ มีปัญญารอบรู้ในการเลี้ยงชีวิต จะหาอย่างไรจึงจะได้มาด้วยความชอบธรรมและเลี้ยงชีวิตอย่างชอบธรรม ฉะนั้น ปัญญาในสัมมาทิฏฐิ จึงเป็นขั้นเริ่มต้นที่สำคัญ ถ้าเริ่มต้นถูกต้องชอบธรรม อันดับต่อไปก็จะถูกต้องชอบธรรม และจะเป็นแนวทางที่ชอบธรรมจนถึงที่สุด ถ้าเห็นผิดในขั้นเริ่มต้นนี้ ต่อไปก็จะเห็นผิดไปเรื่อยๆ และเห็นผิดจนถึงที่สุดเช่นกัน ฉะนั้นการเรียนปริยัติ ต้องตีความหมายให้ชัดเจน ให้เข้าใจในเหตุผลและหลักความจริงอย่าแจ่มแจ้ง จึงจะไม่มีปัญหาในการภาวนาปฏิบัติ





    อุบายในการรักษาศีล



    ศีลของฆราวาส ที่รับกันตามพิธีกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ มีศีล ๕ ศีล ๘ การรับศีลก็ต้องรับให้เต็มหมวดของศีลนั้นๆ นี้เป็นพิธีกรรมในการรับศีลทั่วๆ ไป เรียกว่ารับศีลตามพิธี คำว่าพิธีนี้ความจริงจังในทางจิตใจยังไม่ไม่มีความหนักแน่นเท่าที่ควร เพราะรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วว่าพิธี ฉะนั้นเราต้องมีปัญญา มีความฉลาดรู้เท่าในพิธีทั้งปวง เราเองต้องหาผลประโยชน์ในพิธีเหล่านี้ให้ได้ เช่น พิธีการรับศีล จะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ เราก็จะต้องมีปัญญารอบรู้ทั้งสองเรื่อง พิธีรับศีลเราก็ต้องรู้ และวิธีการรักษาศีลเราก็ต้องเข้าใจ ว่าศีลข้อไหนเว้นในการทำอะไร ส่วนมากชาวพุทธเราจะติดอยู่ แค่พิธีรับศีลเท่านั้น ส่วนวิธีการรักษาศีลมีน้อยคนจะเข้าใจ

    ฉะนั้น การรักษาศีลต้องมีปัญญา มีสัจจะประจำใจ มิใช่ว่ารับศีลจากพระ ๕ ข้อ จะเข้าใจว่าตัวเองมีศีล ๕ นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะความเข้าใจกับความจริง ยังไม่ลงกันด้วยเหตุผล ฉะนั้น สามัญชนธรรมดาจะรักษาศีล ๕ ให้ครบพร้อมกันทั้ง ๕ ข้อนั้นยากมาก เว้นเสียแต่ผู้ที่ท่านมีปัญญาดี มีสัจจะประจำใจด้วยความเข้มแข็ง มีเมตตากรุณาต่อมวลสัตว์ทั้งปวง ถ้าธรรมประจำใจดังกล่าวนี้ไม่มีจะรับศีลจากพระวันละร้อย ครั้งก็หายไปร้อยครั้งนั่นเอง การรักษาศีลไม่ใช่จะรักษากันได้ง่าย เมื่อไร เพราะศีลมีอยู่ที่จิตโดยตรง เรียกว่า เจตนาหัง สีลัง วทามิ จิตที่เจตนาเว้นจากข้อห้ามของศีลได้แล้ว นั้นแลชื่อว่าจิตมีศีลมีธรรม

    การรักษาศีล ถ้าเราไม่มีธรรมรองรับเอาไว้ ศีลก็จะหายจากตัวเราไปโดยไม่รู้ตัว ถ้าหากกำลังธรรมเรายังอ่อน ไม่พอจะรักษาศีลให้ครบถึง ๕ ข้อ ก็ขอให้เราเลือกรักษาศีลข้อใดข้อหนึ่งไปก่อน ข้อไหนพอที่เราจะรักษาได้ง่ายที่สุด ก็เจตนารักษาศีลข้อนั้นด้วยความตั้งใจ ไม่ต้องรักษาในวิธีเรียงแบบให้เป็นแถวก็ได้ สมมติว่าเรามีความสามารถจะรักษาศีลของกาเมได้ ก็ต้องรักษาศีลนั้นต่อไป หรือเรามีความสามารถจะรักษาข้ออทินนาเราก็ต้องรักษาศีลนั้นต่อไป หรือจะรักษาพร้อมกันทั้งสองข้อก็ได้ นี้ก็ให้ขึ้นอยู่ความสามารถของตัวเราเอง เมื่อเรามีศีลหนึ่งข้อ หรือสองข้อไว้แล้ว ศีลธรรมที่เรารักษาอยู่นั้นก็จะมีความเจริญ มีพลังพอที่จะรักษาศีลข้อที่ยังเหลือให้ได้ จะเพิ่มศีลในการรักษาอีก ๓-๔-๕ ข้อก็อาจเป็ฯได้ นี้คือการรักษาศีลโดยธรรม การรักษาศีลโดยธรรมอย่างนี้ ศีลของผู้นั้นจะไม่มีการเสื่อม ไม่มีการขาดหาย ถึงผู้นั้นจะยังเป็นปุถุชน แต่เขาเป็นปัญญาชน เขามีความฉลาดเฉียบแหลม เป็นผู้มีปัญญาที่ปรหะกอบด้วยเหตุผล และมีธรรมประจำใจ ลักษณะผู้มีศีลมีธรรมดังที่อธิบายมานี้ดูกันได้ยาก เพราะเราไม่ชอบโอ้อวดตัวเองในที่ทั้งปวง ที่จะรู้กันว่าผู้นั้นมีศีลที่บริสุทธิ์ ต้องอยู่ร่วมกัน แม้ธรรมก็เช่นกัน จะรู้ว่าใครมีธรรม และใครไม่มีธรรม ก็ต้องอยู่ร่วมกัน ดูความประพฤติที่แสดงออกมาทางกาย วาจา และกิริยาที่มีนิสัยการแสดง ออกมาโดยเป็นธรรม สำหรับธรรมภายใน ถ้ามีอยู่กับใครแล้ว รู้ได้ยาก ไม่เหมือนกับธรรมภายนอกที่หลวงปู่แหวนว่า ธัมเมา ธรรมนี้รู้กันได้ง่าย



    ศีลมีขึ้นได้หลายอุบาย



    อุบายที่จะทำให้ศีลมีอยู่ในใจได้มีอุบายต่างกัน แต่ละอุบายย่อมมีปัญญาเป็นเครื่องรอบรู้อยู่เสมอ ไม่เช่นกันศีลก็จะขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว การรักษาศีล ก็คือเจตนาของจิตที่ตั้งไว้แล้ว ถ้ารักษาศีล ไม่มีเจตนาภายในจิต ศีลนั้นจะไม่มีความสมบูรณ์ ฉะนั้น ศีลจึงมีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ดังจะได้อธิบายไว้พอเป็นแนวทาง พอได้สังเกตว่าตัวเองมีศีลด้วยอุบายใด และพอที่จะน้ำเอาอุบายไหนมาก่อให้เกิดขึ้นที่จิตเราได้ ดังที่ได้อธิบายไว้ ๕ อุบาย



    ๑. การสมาทานศีลจากพระ

    ในกิจกรรมที่มีพระเป็นประธานในงานต่างๆ กิจกรรมเบื้องต้น มีการไหว้พระ อาราธนาศีลฟ้า เมื่อพระท่านประกาศศีล โยมก็ว่าตาม พระท่านว่า ปาณา อทินนา กาเม มุสา รุสา ก็พากันว่าตาม หลังพระจบจบ เมื่อพระท่านบอกอานิสงส์ว่า ผู้จะไปสู่สุคติก็เพราะศีล ผู้จะมีโภคทรัพย์มากก็เพราะศีล ผู้จะถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล เราผู้รับศีลก็พากัน ยกมือสาธุ เหมือนกับว่า ให้สมปรารถนาเถิด ดังนี้

    ขอทำความเข้าใจกับท่านสักนิดเถอะ เมื่อท่ารับศีลที่ว่าตามหลังพระท่านไปเมื่อตะกี้นี้ ท่านมีความตั้งใจที่มีเจตนาจะรักษาศีลหรือไม่ หรือท่านว่าตามประเพณี หรือว่าตามพิธีกันแน่ ถ้าหากท่านว่าตามประเพณีเพียงเป็นพิธีอย่างนี้ นี้เพียงเป็นพิธีรับศีลเท่านั้น ส่วนอานิสงส์ที่เราสาธุเอาเมื่อกี้นี้ อาจจะเป็นโมฆะไปก็ได้ เพราะอานิสงส์ของศีลนั้น จะได้รับเฉพาะผู้ที่มีเจตนารักษาศีลเท่านั้น ส่วนผู้รับศีลเฉยๆ ไม่มีการรักษา จะมีอานิสงส์อย่างไร จะได้เหมือนกันกับผู้รักษาศีลหรือไม่ ผู้เขียนยังหาข้อตอบไม่ได้ ขอให้ท่านตอบท่านเองนั้นแหละดี แต่อย่าให้เป็นศีลนกแก้วนกขุนทองก็แล้วกัน

    ๒. สมาทานวิรัติ

    ศีลที่เกิดจากสมาทานวิรัตินี้ ไม่ได้เกิดจากการว่าตามพระแต่อย่างเดียว เราก็สามารถสมาทานว่าศีล ๕-๘ ได้ทุกข้ออยู่แล้ว จงตั้งใจสมาทานเอาศีล ๕ หรือศีล ๘ ด้วยเองก็ได้ จะกำหนดรักษาศีลกี่วันที่กำหนดเอาเอง และเว้นข้อห้ามของศีลเสียเอง การรักษาศีลได้โดยวิธีนี้น้อยคนจะรักษาได้ เพราะศีลเนื่องจากธรรม มีเจตนาเป็นที่ตั้ง มีสัจจะ คือเป็นผู้มีความจริงอยู่ในตัว สัจจะตั้งไว้อย่างไร ทำให้ตรมสัจจะที่ตั้งไว้ นี้ศีลของผู้มีปัญญาที่ฉลาด สามารถรักษาศีลได้ทุกสถานที่ ถึงจะไม่ได้รับศีลจากพระ ก็มีปัญญาความฉลาดสามารถสร้างศีลให้เกิดกับจิตตัวเองได้ นี้คือบุคคลที่พึ่งศีลตัวเองได้แล้ว ศีลนี้เกิดขึ้นด้วยธรรม และตั้งอยู่ด้วยธรรม การรักษาศีลอย่างนี้ จึงจะได้รับอานิสงส์ ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ฉะนั้น ขอท่านจงได้ฝึกใจในการรักษาศีลโดยวิธีนี้ให้ได้



    ๓. เจตนาวิรัติ

    ศีลที่รักษาโดยเจตนาวิรัตินี้ การรักษาเหมือนกันกับข้อ ๒ ในสมาทานวิรัติ เพียงผิดกันในการใช้เสียงในการใช้เสียงและกำหนดตามข้อของศีลเท่านั้น เพราะ เจตนาวิรัติไม่ต้องใช้เสียง จะอยู่ด้วยกันเป็นหมู่ ก็ไม่แสดงเสียงในพิธีให้ใครรู้จัก เพียงมีเจตนาด้วยใจเท่านั้น เพราะศีล ๕ ศีล ๘ ก็รู้ข้อห้ามอยู่แล้ว จะรักษาศีลในหมวดไหนก็ตั้งใจเจตนาเว้นเสียเองเลย นี้เราก็ต้องฝึกตัวให้รักษาศีลได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง เมื่อถึงที่คับขันจะมีอันตรายเข้ามาถึงตัว ก็รีบเจตนารับศีลโดยวิธีให้ทันการณ์ เช่นการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือสถานที่ที่ไม่มีพระสงฆ์ ถ้าโอกาสไม่อำนวยไม่สะดวกในกาลเวลาของเรา และกาลเวลาของพระเพื่อไม่ให้เสียเวลา เราก็ต้องเจตนาวิรัติเอาศีลด้วยตัวเอง นี้คือผู้ฉลาดชาติบัณฑิต ผู้มีปัญญาที่พร้อมแล้ว และเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองเต็มที่ นี้คือผู้ที่มีความจริงอยู่ในใจ จึงไม่มีปัญหาอะไรในการรักษาศีล



    ๔. สัมปัตตวิรัติ

    ศีลที่เป็นสัมปัตตวิรัตินี้ ก็เป็นศีลที่ไม่ได้รับจากพระเช่นเดียวกัน เป็นศีลที่เกิดขึ้นด้วยธรรม และเกิดขึ้นด้วยธรรม และเกิดเป็นบางครั้งบางคราวไม่ตลอดไป ถึงผู้นั้นจะไม่รู้จักศีล ก็เป็นเหตุที่จะให้เป็นศีลเกิดที่จิตได้ แต่ก็ไม่เกิดศีลพร้อมกันครั้งละหลายข้อ สมมติว่า นาย ก. ไม่เคยรู้จักศีลมาก่อนแม้แต่ข้อเดียว เป็นคนมีนิสัยชอบฆ่าสัตว์เป็นอาหาร ถ้าหากนาย ก. ไปเห็นปลากำลังจะตายด้วยน้ำจะแห้ง หรือสัตว์อื่นจะตายไปด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนาย ก. เกิดความเมตตาสงสารสัตว์ดังกล่าว แล้วนำสัตว์นั้นไปปล่อยในที่ปลอดภัยให้พ้นจากความตาย เพราะมีปัญญาคิดไว้ว่า ถ้าปล่อยไว้ในที่นี้สัตว์เหล่านี้ต้องตาย จึงเกิดความเอ็นดูสงสาร แล้วเอาสัตว์ไปปล่อยเสีย ศีลข้อนี้เกิดจากธรรม เป็นสัมปัตตวิรัติ ดังคนที่ซื้อสัตว์บก สัตว์น้ำไปปล่อยให้สัตว์นั้นได้พ้นจากความตาย นี้ก็เข้าข่ายในศีลสัมปัตตวิรัติเช่นกัน ส่วนศีลข้ออื่นๆ เมื่อเกิดขึ้นโดยบังเอิญอย่างนี้ ก็เป็นศีลในสัมปัตตวิรัติทั้งสิ้น



    ๕. สมุจเฉทวิรัติ

    สมุจดฉทวิรัติ เป็นทั้งโลกีย์ และโลกุตระ หรือเป็นได้ทั้งปุถุชน และพระอริยะชั้นโสดาขึ้นไป ส่วนศีล ๕ ของพระอริยโสดานั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติตายตัวอยู่แล้ว เป็นศีลที่ไม่มีเจตนา เป็ฯศีลที่ไม่มีคำปรามาสความลูบคลำ เป็นศีลที่ไม่มีการด่างพร้อย ไม่มีการเศร้าหมองขุ่นมัว เป็นศีลที่ปกติเป็นอธิศีลพร้อมแล้วอย่างสมบูรณ์ นี้เพียงอธิบายโดยย่อในสมุจเฉทวิรัติ คือศีลของพระอริยโสดสที่เป็นฝ่ายโลกตระ

    แต่บัดนี้ต้องการให้เรารู้จักในสมุจเฉทวิรัติได้ คงจะไม่สมบูรณ์เต็มที่ แต่ก็มีส่วนดีอยู่มากทีเดียว ลักษณะของศีลปุถุชนที่เป็นสมุจเฉทวิรัติเป็นดังนี้ สมมติว่าผู้นั้นยังเป็นปุถุชน มีปัญญาที่ฉลาด มีสัจธรรมประจำใจอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ตั้งใจด้วยความเจตนาอย่างใดย่อมทำได้เต็มที่ ถ้าผู้นี้เขามีความพร้อมแล้วด้วยเจตนาด้วยปัญญา ด้วยสัจจะเต็มที่ ว่าจะรักษาศีล ๕ นี้ ตลอดชีวิต เมื่อเขามีความตั้งใจได้ถึงขนาดนี้ก็นับเข้าเป็นสมุจเฉทวิรัติขั้นโลกีย์ได้ เพราะเป็นผู้สลัดตัวออกจากเวร ๕ ประการ ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ผู้ที่ปฏิญาณตนรักษาศีลถึงขั้นนี้ก็หายากอย่างยิ่ง ส่วนท่านผู้อ่านหนังสืออยู่นี้ จะกล้าปฏิญาณตนรักษาศีล ๕ อย่างนี้ได้หรือไม่ คิดว่าคงรักษาได้นะ ถ้าไม่ได้เตลิดชีวิตจะทดลองเอาสัก ๒-๓ ปีจะได้ไหม ให้ถือว่ากำลังฝึกตัวก็แล้วกัน เมื่อฝึกตัวได้สักครั้งหนึ่งแล้ว เราก็จะได้สัมผัสในอานิสงส์อย่างสมใจ ต่อไปก็สามารถปฏิญาณตน รักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตได้ การรักษาศีลเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่บอกให้ใครรู้ก็ได้ เพราะข้อห้ามของศีลเรารู้อยู่แล้ว แต่ตัวเรายังเป็นผู้ไม่จริงเท่านั้น การฝึกตัวให้เป็นผู้มีความจริง ทำไมจะทำไม่ได้ เพราะฝึกความกล้าในการตัดสินใจนี้ เป็นนิสัยเป็นปัจจัยให้ตัดความลังเลสงสัย และตัดในปรามาสที่ลูบๆ คลำๆ นี้ไม่รู้จะลูบคลำกันไปถึงไหน พยายามฝึกใจให้ตัดกระแสดูบ้าง การตัดกระแสเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังไม่กล้า ไฉนจะไปตักกระแสของภพทั้งสามได้เล่า







    สมาธิ



    สมาธิ มี ๓ ลักษณะ ๑. สมาธิ ๒. มิจฉาสมาธิ ๓. สัมมาสมาธิ สมาธิทั้ง ๓ ลักษณะนี้ ต้องศึกษาแต่ละอย่างให้เข้าใจ มิฉะนั้นจะเกิดความสับสน ไม่เข้าใจในวิธีที่ถูกต้อง จริงอยู่การทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความสงบ แต่เมื่อจิตมีความสงบแล้ว จะมีการแปรเปลี่ยนไปสองลักษณะ ๑. อาจเปลี่ยนไปเป็นมิจฉาสมาธิได้ ๒. อาจเปลี่ยนไปเป็นสัมมาสมาธิได้ ในลักษณะอย่างนี้เองนักปฏิบัติจะไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ศึกษาเอาไว้ เพียงจิตมีความสงบได้ ก็เกิดความพอใจดีใจเท่านั้น จะสงบไปทางถูกหรือสงบไปทางผิดนั้นหารู้ไม่ มิจฉาสมาธิคือ ความสงบไปในทางที่ผิด สัมมาสมาธิคือ ความสงบไปในทางที่ถูก ลักษณะความสงบที่ผิดและลักษณะที่ถูกนี้เป็นอย่างไร มีอะไรเป็นตัวแปร จึงทำให้สมาธิผิดได้และทำให้สมาธิถูกได้ จะเข้าใจกันต่อไป

    บัดนี้จะได้อธิบายในคำว่า สมาธิ ที่เป็นหลักเดิมให้เข้าใจเอาไว้ เพื่อจะไม่ให้เกิดความสับสนกัน คำว่าสมาธิ คืออุบายการทำให้จิตมีความสงบ จะสงบด้วยอุบายใดก็ได้ หรือจะใช้คำบริกรรมอย่างไรก็มีความสงบได้เหมือนกัน จึงขอกล่าวย้อนหลังลงไปอีกว่า สมาธินี้เป็นหลักสากล มีชื่ออยู่กับโลกนี้มายาวนาน ในครั้งก่อนพระพุทธเจ้าของเราสร้างบารมีเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ได้ออกบำเพ็ญพรต เป็นดาบสฤๅษีมาแล้วหลายชาติทีเดียว แต่ละชาติพระองค์ก็ทำสมาธิ จิตมีความสงบเป็น รูปฌาน อรูปฌาน ที่เรียกว่า สมาบัติ ๘ จนถึงชาติเป็นพระเวสสันดร พระองค์ก็ได้ทำในสมาธินี้ จนถึงชาติสุดท้ายชื่อว่าพระสิทธัตถะ พระองค์ก็ได้ออกบวชได้ไปศึกษาวิธีการทำสมาธิอยู่กับดาบสทั้งสองชื่อ อุทกดาบสและอาฬารดาบส จนสำเร็จในการทำสมาธิระดับสูง คือ รูปฌาน อรูปฌาน เรียกว่า สมาบัติ ๘ จนเป็น วสี คือ ความชำนาญเข้าออกในการทำสมาธิ จะเข้าเวลาไหนออกเวลาใดก็ทำได้ตามกำหนด พระองค์ตั้งความหวังเอาไว้ว่า เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทั้งที่พระองค์ก็มีพระบารมีที่เต็มเปี่ยม ทั้งทำสมาธิก็มีความสงบละเอียดสูงสุดเต็มที่ ขนาดนั้นปัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์เลย (แต่ทำไมในยุคนี้จึงเข้าใจว่า ปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิเล่า) พระองค์จึงเข้าใจว่าวิธีอย่างนี้มิใช่เป็นแนวที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เลย จากนั้นพระองค์ก็ลาครูทั้งสองเพื่อจะแสวงหาวิธีใหม่ต่อไป บางลัทธิก็บำเพ็ญตบะ ทำให้ร่างกายมีความทนทุกข์ทรมาน พระองค์ก็คิดหาแนวทางปฏิบัติต่อไป จึงนึกได้ว่า อดข้าวอดน้ำ ดังเรารู้อยู่ว่าทุกรกิริยา แต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์คิดหาอุบายใหม่ต่อไป ในที่สุดก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์



    การประกาศพระพุทธศาสนา



    จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เริ่มประกาศพุทธศาสนาเพื่อโปรดแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสัจธรรมเป็นสำคัญ ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้ประกาศพุทธศาสนานี้ พระองค์ได้วางอุบายแนวทางไว้อย่างกะทัดรัด และตรงต่อมรรคผลนิพพานทีเดียว ส่วนอุบายเดิมที่ปฏิบัติมากับดาบสทั้งสองนั้นเป็นปลายเหตุ จึงทำให้พระองค์เสียเวลามานานถึง ๕ ปีกว่า เมื่อพระองค์จะประกาศศาสนา แทนที่พระองค์จะใช้อุบายแบบเก่าๆ ที่ทำมากับดาบสนั้นมาประกาศศาสนา พระองค์หาเอาไม่ แนวทางประกาศศาสนานั้น เป็นแนวทางของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ จะไม่เหมือนกันกับพวกดาบสฤๅษีที่เขาทำกัน พวกดาบสฤๅษี นั้นเขาเริ่มต้นจากการทำสมาธิ

    ส่วนหลักประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้าจึงเริ่มต้นจากความเห็นชอบตามความเป็นจริง ถ้าไม่เชื่อก็ให้ไปเปิดตำราดู คือ มรรค ๘ พระองค์เรียบเรียงไว้อย่างไร เริ่มต้นจากปัญญาความเห็นชอบมิใช่หรือ หรือพระองค์ไปโปรดปัญจวัคคีย์ก็ดี ไปโปรดพระสาวกองค์อื่นก็ดี หรือพระองค์แสดงธรรมโปรดอุบาสอุบาสิกาก็ดี จุดเริ่มต้นพระองค์ก็ได้อธิบายความจริงให้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วก็เกิดความเห็นชอบใช่ไหม อันดับ ๒ เมื่อเขามีความเข้าใจและเห็นชอบตามความเป็นจริงแล้ว เขาก็จะรู้จักดำริพิจารณาตรึกตรองตามหลักความจริงนั้นต่อไป นี้คือหลักเริ่มต้นที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนา ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ไปศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายในครั้งพุทธกาลดูเถิด จะเริ่มต้นจากพระอริยเจ้าองค์ไหนก็ได้ ทุกองค์ก่อนที่ท่านจะได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าได้ ท่านก็เป็นปุถุชนมาก่อน ให้เริ่มต้นจากปุถุชนนี้ว่า พระพุทธเจ้าเริ่มสอนอย่างไร พระองค์ก็เริ่มจากทำความเข้าใจกับเขาว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ๆ เขาก็เริ่มเกิดความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างนี้ๆ เมื่อเริ่มต้นจากจุดนี้ไปได้แล้ว จึงนับว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบขั้นพื้นฐาน หรือหลักเริ่มต้นในการปฏิบัติ จึงเริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบนี้เป็นต้นไป

    การประกาศศาสนาของพระองค์เข้าสู่ประชาชนนั้น พระองค์รู้ดีกว่า คนในยุคนั้นเขามีความเห็นเป็นอย่างไร รู้ว่าทุกคนไม่เข้าใจในหลักสัจธรรมเลย เขามีความเข้าใจผิดมีความเห็นผิดในหลักความจริงมาตลอด พระพุทธองค์จึงได้เปลี่ยนความคิดความเข้าใจและความเห็นให้เขาเสียใหม่ พระองค์จึงได้อธิบายหลักความจริงให้เขาฟัง เขาจึงได้เกิดความเข้าใจตามเห็นตามที่พระองค์สอน เหมือนกับสิ่งที่ถูกคว่ำกลบดินมานาน พระองค์ได้เปิดหงายขึ้นมาให้ดู จึงได้รู้ได้เข้าใจ หรือเหมือนกับสิ่งที่ปกปิดตามานานมองไม่เห็นอะไร พระองค์ได้เปิดสิ่งที่ปิดตาออกให้แล้ว จึงเห็นแสงสว่างและสิ่งอื่นๆ ได้ นี้ฉันใด

    ใจที่ถูกปกปิดด้วยความไม่รู้จริงมายาวนาน จึงได้เกิดความเข้าใจผิดความเห็นผิดมาตลอด เมื่อพระองค์ได้เปิดเผยความจริงให้ฟัง จึงได้เกิดความรู้เห็นเข้าใจอย่างถูกต้อง นี้เองพระพุทธองค์จึงได้วางหลักการแนวทางปฏิบัติเอาไว้แก่พวกเราทั้งหลายให้ได้ปฏิบัติตาม เริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นหลักยืนตัว จากนั้นเป็นหลักสัมมาสังกัปโป เมื่อความเห็นชอบเป็นฐานรองรับไว้แล้ว การดำริพิจารณาก็ให้เป็นไปตามความเห็นชอบนี้เอง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ที่เป็นหมวดของศีล ก็ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก

    จากนี้ไปจะได้อธิบาย หมวด สมาธิ คือสัมมาวายาโม ความเพียรชอบ คำว่าเพียรนั้น นักปฏิบัติยังมีความสับสน ไม่เข้าใจในความเพียรเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ความเพียรคือ การนั่งสมาธินึกคำบริกรรมเพื่อให้จิตมีความสงบหรือเดินจงกรม ให้มีสติในการเดินและให้จิตมีความสงบในการเดิน ส่วนใหญ่จะเข้าใจกันเพียงเท่านี้ การปฏิบัติด้วยวิธีนี้ก็เป็นความเพียรได้เหมือนกัน แต่ยังไม่สมบูรณ์ ความเพียรที่สมบูรณ์นั้นคือ เพียรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาของใจโดยตรง ใจเรามีความรัก ใจเรามีความยินดี ใจมีความผูกพัน ใจมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ใจมีความเห็นผิดในสิ่งนี้อยู่ เพียรพยายามอบรมใจอย่างไรจึงจะมีความเห็นที่ถูกต้องได้

    ส่วนใหญ่นักปฏิบัติมีความเข้าใจแบบผิวเผิน เข้าใจแบบง่ายๆ ในลักษณะสุกเอาเผากิน เช่น เพียรละความโลภ เพียรละความโกรธ เพียรละความหลง เพียรละราคะตัณหา เพียรละอวิชชาให้หมดไปจากใจ หลักความเพียรที่จะละดังที่อธิบายมานี้ ถ้าใช้หลักความเพียรไม่ถูกต้อง จะละไม่ได้เลย จะไปนั่งสมาธิให้จิตมีความสงบแล้วจะละได้ หรือเดินจงกรม เดินให้มีสติอยู่กับกายอยู่กับใจ คิดว่าจะละได้ ที่จริงไม่มีใครหรอกในครั้งพุทธกาลว่า ทำสมาธิให้จิตมีความสงบดี มีสติที่มั่นคง แล้วจะละกิเลสตัณหา ละความโลภ ละความโกรธ ละความหลง และละความเห็นผิดของใจนี้ได้ ที่จริงก็เป็นเพียงอุบาย ข่มกิเลสข่มตัณหาและข่มใจไม่ให้คิด ในเรื่องนั้นเรื่องนี้เท่านั้นเอง เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว กิเลสตัณหาน้อยใหญ่ก็เกิดขึ้นที่ใจอีกเช่นเคย จึงเหมือนกับศิลาทับหญ้าเอาไว้ เมื่อศิลาได้ถูกเคลื่อนที่ไป หญ้าก็เกิดขึ้นจากที่นั้นเอง

    ฉะนั้นสัมมาวายาโม ความเพียรชอบนั้น ต้องเริ่มต้นจากสติปัญญาพิจารณา คือ เพียรพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เราเกี่ยวข้องอยู่ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น และเพียรพยายามสอนใจตัวเองอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นตัวตนของเรานั้น อะไรเป็นตน สิ่งที่เราเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เช่น เงินทองกองสมบัติทั้งหมดนั้นว่าเป็นของของเรา สิ่งทั้งหมดนั้นเป็นของเราอย่างแท้จริงไหม ความอยากจะอยู่กับสมบัติทั้งหลายตลอดไป ไม่อยากให้มีการพลัดพรากจากกันนั้น ความอยากอย่างนี้จะเป็นไปตามความเข้าใจเราหรือไม่ แม้แต่รูปร่างกายที่มีอยู่นี้ จะห้ามไม่ให้แก่ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ให้มีการเจ็บไข้ได้ป่วยและห้ามไม่ให้ตายจะห้ามได้ไหม ต้องใช้หลักความเพียรพยายามใช้ปัญญาสอนใจอยู่บ่อยๆ และสอนให้เป็นไปตามหลักความจริงทั้งหมด ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ของกายและใจ อนัตตา ในที่สุดแล้วร่างกายนี้ก็จะต้องถูกเผา จะเหลือเพียงกระดูก จะเอากระดูกนั้นมาเสกสรรปั้นตัว ให้เป็นสัตว์เป็นคนขึ้นมาอีกไม่ได้เลย กระดูกนั้นก็จะทิ้งเป็นธาตุอยู่กับโลกนี้ นี้คือ อนัตตา คือสิ่งที่สูญเปล่าจากตัวเรา ฉะนั้นหลักความเพียร ต้องเพียรอยู่ในหลักของสมถะและหลักของวิปัสสนา เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิบัติ มิใช่ว่าจะทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว

    จะมีคำถามว่าปัญญาที่จะนำมาพิจารณานั้นมาจากไหน สุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ปัญญา ๒ ประเภทนี้มีอยู่ เป็นคู่กันมากับทุกๆ คน แต่เป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน แต่นำมาใช้ให้เป็นปัญญาในสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบจริงตาหลักความเป็นจริงนี้ไป ปัญญาระดับนี้เอง จะเป็นฐานให้แก่วิปัสสนาต่อไป ถ้าความเพียรนั้นถูก ก็จะเป็นสัมมาวายาโม ถ้าความเพียรนั้นผิด จะเป็นมิจฉาวายาโมทันที

    สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ นี้ก็มีนักปฏิบัติได้พูดกันในเรื่องของสติอยู่มาก คำว่าสติ ความระลึกชอบนี้ เป็นหลักสำคัญอยู่มากทีเดียว ครูอาจารย์ทุกท่านสอนหลักภาวนาปฏิบัติ มีการเน้นหนักเรื่องของสตินี้เป็นอย่างมาก เพราะสติเป็นคู่ของใจโดยตรง ถ้าสติไม่ดีไม่เข้มแข็งแล้ว ใจก็จะคิดเถลไถลไปไม่มีขอบเขตไม่มีจุดยืนที่มั่นคง ถ้าสติไม่ดี ใจตั้งไว้ไม่อยู่ จะทำให้การภาวนาปฏิบัติหมดกำลังลงไปได้ง่าย ก่อนจะอธิบายในเรื่องของสติต่อไป ขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติในเรื่องของสติ ดังนี้ คำว่า สติ นั้นเป็นกำลังที่สำคัญในการปฏิบัติภาวนา หลักภาวนานั้นมีสองอุบาย ๑. สมถภาวนา ๒. วิปัสสนาภาวนา หลักภาวนาทั้งสองนี้มีสติเป็นตัวเข้าไปสนับสนุนให้หลักภาวนาได้มีกำลังมีความหนักแน่นไม่เอนเอียง

    คำว่าสมถภาวนา ก็คือ หลักการทำสมาธินั่นเอง การทำสมาธิ ก็มีสติเป็นตัวควบคุม จึงเรียกว่าสติ สมาธิ วิปัสสนา ภาวนา ก็ใช้สติเป็นตัวเข้าสนับสนุนเช่นกัน วิปัสสนา หมายถึง ปัญญา จึงเรียกว่าสติปัญญา ฉะนั้น สติจึงเป็นกำลังให้แก่สมาธิ เป็นกำลังให้แก่ปัญญา สติจึงมีความสำคัญ จะเป็นงานทางโลกหรืองานในทางธรรม สติต้องมีความเกี่ยวข้องทั้งหมด สติความระลึกชอบนั้นคือ ระลึกที่จะออกจากกามคุณ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกิเลสกาม คือ ความรัก ความใคร่ ความกำหนัดยินดี ให้มีความระลึกอยู่เสมอว่า กามคุณห้าก็ดี กิเลสกามก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ ระลึกถึงทุกข์ โทษ ภัย ที่ใจมีความลุ่มหลงกับสิ่งเหล่านี้อยู่ ว่าทุกข์เป็นอย่างนี้ โทษเป็นอย่างนี้ ภัยเป็นอย่างนี้ ให้มีสติระลึกรู้อยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยอ่อนตัว ไม่กล้าที่จะออกไปสู้รบขบกัดต่อสิ่งเหล่านี้

    ในยุคปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่นักปฏิบัติภาวนาทั้งหลาย จะใช้สติเป็นคู่กันกับการทำสมาธิเป็นหลัก แต่ละแห่งแต่ละสำนักส่วนมากจะทำกันอย่างนี้ จะทำกันอย่างไรนั้นไม่ต้องอธิบาย เพราะทำกันอยู่แล้ว การทำอย่างนี้ก็ถูกแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ในการปฏิบัติคือขาดเรื่องของสติปัญญาไป ฉะนั้นจงมาฝึกภาวนาในอุบายของสติปัญญาเอาไว้บ้าง ถ้าทำในอุบายสติสมาธิเพียงอย่างเดียว ถ้าสมาธิเปลี่ยนไปเป็นมิจฉาสมาธิ สติก็จะเปลี่ยนเป็นมิจฉาสติโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นจงมาฝึกในอุบายภาวนาในสติปัญญาเอาไว้บ้าง ปัญญาของเรานั้นมีอยู่ แต่ชอบคิดไปในทางโลก ฉะนั้น สติจึงมาควบคุมปัญญาให้ทันต่อเหตุการณ์ ให้มีสติระลึกรู้เท่าทันเรื่องความคิดของใจอยู่เป็นประจำ คำว่า ความคิด เป็นศัพท์ของทางโลกพูดกัน คำว่า ปัญญาเป็นศัพท์ของธรรมะ ศัพท์ทั้งสองนี้มีความหมายเหมือนกัน ออกมาจากใจที่เดียวกัน เหมือนกับว่ารับประทานอาหาร กับคำว่ากินอาหาร ความหมายก็คือเอาลงที่ท้องแห่งเดียวกัน จะว่าปัญญา คือความรอบรู้ให้ชัดเจน จะว่าคิดก็คือคิดให้เข้าใจ คิดมีเหตุผลให้รอบคอบ ฉะนั้น สติเป็นหน้าที่ระลึกได้เท่าทันในความคิดของใจ ใจคิดผิดก็รู้เท่าทัน ใจคิดถูกก็รู้เท่าทัน นี่คือหน้าที่ของสติ

    เพียงสติอย่างเดียว จะเอาไปละถอน ปล่อยวางอะไรไม่ได้ เหมือนกันกับมีดที่ลับให้คมแล้ววางเอาไว้ จะไม่ได้ประโยชน์กับมีดนั้นเลย เมื่อเราเอามีดนั้นมาประกอบในการทำงานสับฟันในสิ่งต่างๆ มีดนั้นจึงจะมีประโยชน์แก่เรา นี้ฉันใด สติก็มีลักษณะฉันนั้น ฉะนั้นสติมีหน้าที่ระลึก เราก็ฝึกความระลึกอยู่เสมอ แต่ให้ระลึกหาช่องทางที่จะออกจากกาม ให้เหมือนกับนกที่อยู่ในกรงขัง แต่ละวันมันใช้จะงอยปากสับตากรงวันละหลายๆ ครั้ง เพื่อหาช่องทางออกหนีไป เมื่อโชคดีสับตากรงถูกช่อง ก็จะบินออกหนีไปทันที หรือเหมือนสัตว์อื่นๆ ที่ถูกคุมขัง เมื่อได้ช่องว่างก็จะกระโดดหนีไป นี้ฉันใด สติความระลึกได้ก็ให้ระลึกรู้อยู่ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ระลึกรู้อยู่ในความเป็นทุกข์ และระลึกรู้อยู่ว่า ร่างกายนี้ไม่นานก็จะสูญจากตัวตนนี้ไป หรือระลึกรู้สิ่งอื่นๆ มากกว่านี้ ขอมอบให้นักปฏิบัติระลึกเองก็แล้วกัน เพื่อความชำนาญของสติเราเอง ไม่นานก็จะเป็นผู้มีสติที่มั่นคง

    สัมมาสมาธิ หลักการทำสมาธินั้น ก็ไม่แตกต่างกันกับพวกเราทั้งหลายภาวนากันอยู่ทุกวันนี้ เพราะการทำสมาธิก็เพื่อเป็นอุบายให้ใจได้รับความสงบ ส่วนคำบริกรรมนั้นใครมีความถนัดในคำบริกรรมใด ก็ให้ใช้คำบริกรรมนั้นไป ข้อสำคัญขอให้ใจมีความสงบก็ใช้ได้ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะมีคุณค่าเท่ากัน แต่มีตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติภาวนายังไม่เข้าใจ นั่นคือ ความเห็น ถ้าความเห็นได้แก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบแล้ว การทำสมาธิ ก็จะเป็นสัมมาสมาธิ คือความตั้งใจมั่นอย่างชอบธรรม ถ้าความเห็นเดิมยังไม่ได้แก้ไข ยังมีความเข้าใจผิด มีความเห็นผิดในหลักความเป็นจริงอยู่ ก็รีบร้อนทำสมาธิไปก่อนเสีย จิตก็จะสงบได้ แต่สมาธินั้น ก็จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ คือ เกิดความเข้าใจผิด ความเห็นผิดในหลักสัจธรรมโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นหลักการทำสมาธิ เป็นอุบายวิธีที่บอบบางมาก ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าหากผิดพลาดเมื่อไร จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิความเห็นผิดไปทันที จึงยากที่จะแก้ไข ผู้ที่เป็นมิจฉาสมาธินั้นหารู้ตัวไม่ จะมีความเข้าใจว่าการภาวนาของตัวเองมีความถูกต้องทั้งหมด ถึงจะมีท่านผู้รู้ตักเตือนว่า การภาวนาเราผิดไปอย่างนี้ๆ แทนที่จะเกิดความสำนึกตัวในการปฏิบัติของตน ก็ยิ่งจะเกิดความไม่พอใจกับผู้ที่ไม่สรรเสริญตนทันที ผู้ที่เป็นมิจฉาสมาธินี้ จะมีมานะทิฏฐิมาก ใครจะมาตักเตือนบอกกล่าวว่าแนวทางที่เราทำอยู่นั้นผิดไม่ได้เลย การถือตนถือตัวว่า เราภาวนาดีอย่างนี้นั้นไม่ใช่เลย นี้คือเป็นสัญญาวิปลาส ถ้าเป็นมากกว่านี้ จะทำให้เสียจริตผิดกับคนธรรมดาทั่วไปทันที หรือเรียกว่าบ้ากรรมฐานแตกนั้นเอง



    วิปัสสนูปกิเลส



    จากนี้ไปจะได้อธิบายเรื่อง วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง เพื่อให้นักปฏิบัติได้เข้าใจเอาไว้สำหรับป้องกันตัว วิปัสสนูปกิเลส นี้เกิดขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิที่มีความเห็นผิด ในส่วนลึกของใจยังไม่ได้แก้ไข เมื่อทำสมาธิให้ใจมีความสงบแล้ว ความเห็นผิดนี้ก็แสดงกิริยาออกมาจากใจ ลักษณะของวิปัสสนูปกิเลสนี้มีความใกล้เคียงกันกับวิปัสสนามาก ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะเกิดความมั่นหมายว่าเป็นวิปัสสนาไป แม้ผู้อื่นที่ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็รู้ได้ยาก ไม่ทราบว่าของจริงหรือของปลอม เพราะกิริยามรรยาท ความเคลื่อนไหวทางกายและวาจามีความสำรวมดีมาก ตลอดความเพียรก็โดดเด่นน่าเชื่อถือ การอธิบายธรรมะในทางปฏิบัติแล้วมีทั้งละเอียดอ่อนและโลดโผน การวิจัยวิเคราะห์ในหมวดธรรมต่างๆได้อย่างชัดเจน ถ้าผู้ได้รับฟังไม่เข้าในเรื่องนี้ ก็จะรับรองว่าถูกต้องและส่งเสริมกันต่อไป ดังจะอธิบายในวิปัสสนูปกิเลสดังนี้ ขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลายได้มีความระวังตัว

    ๑. โอภาส ความสว่าง ความสว่างนี้จะเกิดขึ้นจากทำสมาธิ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะปรากฏเห็นแสงสว่างขึ้น แสงสว่างนั้นจะมีความนุ่มนวล ลักษณะไม่เหมือนกัน บางครั้งก็เป็นแสงสว่างพุ่งออกไปเหมือนแสงไฟฉาย บางครั้งเป็นวงแคบ บางครั้งเป็นวงกว้าง และเป็นในลักษณะหลายอย่างที่ต่างกัน แต่ก็เป็นโอภาสความสว่างทั้งหมด เมื่อทำสมาธิมีลักษะนี้เกิดขึ้น ถ้าผู้ไม่เข้าใจก็จะเกิดความเชื่อไปว่านี้เป็นแสงธรรมที่เกิดขึ้นที่ใจเราแล้ว หรือเข้าใจว่าเป็นปัญญาได้เกิดขึ้นแก่เรา หรือเข้าใจว่าตรงกับภาษิตบทหนึ่งคือ นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างอื่นใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี ก็เลยเข้าใจเอาเองว่าสิ่งที่เกิดความสว่างอย่างนี้เป็นตัวปัญญาไป ก็เลยเข้าใจว่าปัญญาได้เกิดขึ้นกับเรา จะมีความพอใจยินดีอยู่กับความสว่างนั้น ถ้าวันใดนั่งสมาธิ ไม่มีแสงสว่างอย่างนี้เกิดขึ้น จะนั่งต่อไปไม่ได้เลย จึงขอเตือนแก่นักปฏิบัติว่า เมื่อมีแสงสว่างลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นแก่เรา ก็ให้มันเกิดไป อย่าไปสนใจว่าเป็นแสงธรรมแสงปัญญาแต่อย่างใด นั้นเป็นสังขารจิตอาการของจิตที่เป็นมารหลอกใจให้เราหลงเท่านั้น ถ้ามีความพอใจยินดีกับแสงสว่างนี้อยู่ ก็เริ่มจะเข้าสู่วิปัสสนูปกิเลสทันที

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ เบิกบานใจ จะยืนเดิน นั่ง นอน ก็จะมีความเอิบอิ่มใจตลอดทั้งวันทั้งคืน มีความยิ้มแย้มแจ่มใส เพลิดเพลินอยู่กับความปีตินี้อยู่ตลอดเวลา จะไม่กินข้าวกินน้ำทั้งวันทั้งคืนก็ไม่มีความอยากความหิว หรือเป็นลักษณะขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหลในบางขณะ ผู้มีความปีติในลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น จะมีความรู้สึกว่าสบายใจ เบิกบานใจเป็นอย่างมากทีเดียว อยากให้ลักษณะอย่างนี้มีอยู่กับตัวตลอดไป และเข้าใจว่าเป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นกับตน และเป็นผลของการปฏิบัติอย่างแท้จริง ถ้าหากนักภาวนาเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ให้มีความรู้เท่าว่า ไม่ใช่ความจริงของธรรมะ เมื่อเกิดขึ้นได้มันก็ต้องเสื่อมไปได้ อย่าไปดีใจพอใจกับเรื่องนี้เลย

    ๓. ปัสสัทธิ เกิดความสงบกายสงบใจเป็นอย่างมาก ใจไม่คิดวอกแวกออกไปสู่ภายนอกเหมือนที่เคยเป็นมา ใจมีความสงบเยือกเย็น ไม่ร้อนไม่หนาวไปตามอากาศที่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะใจไม่รับเอาความร้อนความหนาว มีแต่ความสงบใจเหมือนไม่มีอะไรจะก่อให้เกิดทุกขได้ ถึงตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ได้สัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอยู่ก็ตาม ความผูกพัน ความยินดี จะไม่มีอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นที่ใจ จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ไหน ใจก็มีความสงบแน่วแน่อยู่ทั้งวันทั้งคืน ความพอใจ ความยินดีในความสงบนี้ อยากให้มีตลอดไป ในขณะใจมีความสงบอยู่อย่างนี้ เหมือนกับว่า กิเลสตัณหา ความรัก ความใคร่ ความพอใจในกามคุณไม่มีในใจเลย อาจเข้าใจว่า กิเลสตัณหาได้หมดไปจากใจแล้วก็เป็นได้ หรืออาจเข้าใจว่าเราได้บรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งไปแล้ว ถ้านักปฏิบัติเป็นไปในลักษณะนี้ ก็อย่าตื่นเต้น อย่าเข้าใจผิดว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับเรา นี้เป็นเพียงอาการของจิต ที่เกิดขึ้นจากความสงบเท่านั้น

    ๔. สุขะ มีความสุขกาย มีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกเสมอเหมือน ชีวิตที่เกิดมาพึ่งได้พบเห็นอยู่ในขณะนี้เอง ความติดใจ ความสุขใจ ความดีใจ อยากจะร้องตะโกนให้คนทั้งโลกได้ยินว่า ข้าพเจ้าได้พบความสุขอย่างแท้จริงแล้ว จะเดินก็เป็นสุข จะนั่งก็เป็นสุข จะยืนก็เป็นสุข จะนอนก็เป็นสุข จะอยู่ในที่ไหนก็มีแต่ความสุข ทั้งวันทั้งคืน อยากจะให้ความสุขอย่างนี้มีอยู่กับเราตลอดไป ดังภาษิตว่า ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ความสุขนี้ไม่เหมือนกับความสุขในทางโลกแต่อย่างใด ฉะนั้น นักปฏิบัติจึงมีความพอใจในความสุขนี้เป็นอย่างมาก อยากให้มีความสุขอย่างนี้มีอยู่กับใจตลอดไปไม่เสื่อมคลาย เมื่อนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ก็อย่าให้เกิดความหลงอยู่กับความสุขนี้เลย อีกไม่นานความสุขนี้ก็เสื่อมจากใจไปเท่านั้นเอง เพราะความสุขนี้เจือด้วยสังขาร อีกไม่นานก็เสื่อมไป

    ๕. ญาณะ มีญาณรู้เกิดขึ้นที่ใจ บางครั้งก็เป็นความรู้เกี่ยวกับทางโลก บางครั้งก็เป็นความรู้ในทางธรรมในหมวดต่างๆ บางครั้งก็เข้าใจในธรรมหมวดนั้นๆ บางครั้งไม่รู้เลยต้องไปหาถามคนนั้น ถามคนนี้จึงรู้ได้ ถ้าธรรมะที่ตรงกับตำราที่เคยศึกษามาหรือธรรมะที่ได้ยินจากครูอาจารย์เคยสอนมาแล้ว เมื่อเกิดความรู้ตรงตามนี้ก็จะเกิดความมั่นใจว่า ธรรมะที่เกิดขึ้นกับเราเป็นหลักความจริงตรงตามที่ได้ศึกษามา บางครั้งก็เป็นความรู้เกิดขึ้นในทางโลก เช่น รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ จะเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อไม่นานนักก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่รู้มาอย่างนี้จริงๆ สิ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองสูงมาก จึงเกิดความมั่นใจว่า คุณธรรม ปัญญาธรรมได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว เมื่ออยากรู้ในสิ่งใดก็กำหนดถามใจตัวเองแล้วก็มีความรู้ตอบขึ้นมาที่ใจ ญาณรู้นี้ ถ้าเร่งความเพียรมากขึ้นเท่าไรก็จะเกิดญาณรู้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อญาณรู้เกิดขึ้น ใครผู้นั้นจะชอบพูดชอบถามในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอ คำพูดคำถามนั้นเป็นลักษณะข่มผู้อื่นไปในตัว และพูดด้วยความจริงจังมาก แต่ก็มีความเย่อหยิ่งอวดดีไปในตัว อยากลองภูมิจากผู้อื่นว่าจะรู้ธรรมอย่างนี้เหมือนเราหรือไม่ ถ้าผู้อื่นไม่รู้ ก็จะพูดอวดธรรมะนั้นๆ ให้ฟัง พูดในลักษณะให้เขาสยบยอมรับความรู้ของตัวเอง ญาณรู้นี้ถ้าเกิดขึ้นกับนักเทศน์นักคุยแล้ว จะมีความโดดเด่นในการแสดงธรรมอาจหาญมาก ในขณะที่แสดงธรรมอยู่ ก็จะมีความรู้นี้ผุดขึ้นๆ เป็นระยะๆ แทบจะพูดออกมาเป็นเสียงไม่ทัน ลีลาการแสดงธรรมนั้นน่าเชื่อถือ และพูดไม่รู้จักจบด้วย ถ้าผู้เป็นในลักษณะญาณรู้นี้เหมือนกัน จะคุยกันกี่วันกี่คืนก็ไม่จบ บางคนจึงพยากรณ์ตัวเองว่าได้บรรลุธรรมไปแล้วก็มี นี้ก็ขอฝากกับนักปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้ เมื่อเกิดญาณรู้ในลักษณะอย่างนี้ขึ้น ก็อย่าลืมตัว นี้เป็นเพียงสังขารเป็นญาณรู้เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

    ๖. อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าเป็นความจริง เริ่มมีความเชื่อมั่นมาจากโอภาส ความสว่างมาแล้ว จากนั้นก็มาเชื่อ ปีติ ที่มีความเอิบอิ่มใจตัวเอง แล้วก็มาเชื่อปัสสัทธิ คือความสงบสงัดใจตัวเอง แล้วก็มาเชื่อใน สุขะ คือความสุขที่เกิดขึ้นจากใจตัวเอง แล้วก็มาเชื่อในญาณะ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นทางใจ เมื่อมีญาณรู้เกิดขึ้นอย่างนี้ จะมีความเชื่อมั่นในส่วนลึกของใจอย่างฝังแน่นทีเดียว และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นแนวทางที่ถูกต้อง การน้อมใจเชื่ออย่างนี้เป็นความเชื่อที่ขาดจากเหตุผล จึงเรียกว่า ศรัทธาวิปปยุต คือ ความเชื่ออย่างงมงาย ไม่มีความฉลาดรอบรู้ทางปัญญาเลย คำว่าความเชื่อ มิใช่ว่าจะเชื่ออะไรทั้งหมด ให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อเท่านั้น ก่อนจะเชื่อสิ่งใด ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบรอบรู้ด้วยเหตุด้วยผล จึงเรียกว่า ศรัทธาญาณสัมปยุต คือ เชื่ออย่างมีความฉลาดทางสติปัญญา จึงขอเตือนนักภาวนาไว้ว่า อะไรเกิดขึ้นจากทำสมาธิ อย่าพึงน้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงทั้งหมด การปักใจเชื่อเร็วเกินไปจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ถ้าผิดพลาดไปแล้วก็ยากที่จะแก้ไข ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดจนตลอดวันตาย

    ๗. ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งดีมาก จะเดินจงกรม นั่งสมาธิ มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ เป็นผู้มีความตั้งใจจริงจังในการปฏิบัติ เป็นผู้ไม่ประมาท จะปรารถความเพียรอยู่ตลอดเวลา มีความขยันอดทนเพื่อมรรคผลนิพพานเป็นที่ตั้ง จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนในที่ไหน อยู่อย่างไร ใจจะมีความมั่นคงแน่วแน่อยู่กับความเพียรไม่ลดละ มีปณิธานตั้งไว้ในใจว่า ความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ความเพียรของผู้เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้ จะเน้นหนักในการทำสมาธิอย่างจริงจังทีเดียว จะเดินจงกรมก็เดินกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็กำหนดจิตนึกคำบริกรรมให้เป็นสมาธิ จะยืนจะนอนก็เพื่อสงบในสมาธิอยู่ตลอดเวลา จะปรารภความเพียรในอิริยาบถใด ก็เป็นไปในสมาธิเพียงอย่างเดียว มีความเข้าใจว่าการใช้ปัญญาพิจารณานั้นจะทำให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบตั้งมั่น ไม่เป็นเอกัคตารมณ์ ฉะนั้นจึงทำสมาธิให้จิตเป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ความเพียรในลักษณะอย่างนี้ จะเป็นกำลังหนุนให้วิปัสสนูปกิเลสข้ออื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นได้เกิดความเด่นชัดมากขึ้น หลงว่าเป็นความจริงโดยไม่รู้ตัว จึงได้น้อมใจปักใจ เชื่ออย่างฝังใจอย่างแนบแน่นทีเดียว

    ๘. อุปัฏฐาน มีสติระลึกได้อย่างชัดเจนมาก จะระลึกในคำบริกรรมทำสมาธิด้วยอุบายใด สติก็จะระลึกในคำบริกรรมนั้นไม่ให้เผลอ ถ้ากำหนดในอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออก ก็มีสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกไม่ให้เผลอ ลมหายใจจะเข้ายาวออกยาวก็รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้นก็รู้ ลมหายใจเข้ายาวออกสั้นก็รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกยาวก็รู้ ลมหายใจหยาบก็รู้ ลมหายใจละเอียดก็รู้ จะปรารภความเพียรด้วยอุบายใด สติก็จะอยู่กับความเพียรนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา จะยกขา ก้าวขาอย่างไรจะมีสติระลึกได้ทันตามก้าวขาทุกครั้งไป จะคู้แขนเหยียวแขนมองซ้ายแลขวา สติก็จะระลึกได้ในความเคลื่อนไหวของกายทุกส่วนไป คำพูดออกมาอย่างไร พูดเรื่องอะไร สติก็มีความระลึกได้ในคำพูดของตัวเองทุกครั้งไป แม้แต่จิตมีความนึกคิดอย่างไร สติก็จะมีความระลึกได้ในความนึกคิดของตัวเองอยู่เสมอ

    นักปฏิบัติอาจมีความสงสัยอยู่ว่า ทำไมมีสติดีถึงขนาดนี้ จึงเป็นวิปัสสนูปกิเลสได้ ตอบ สติดีก็จริง แต่ดีในปลายเหตุ ความผิดเดิมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิดที่ฝังลึกอยู่ในหัวใจมาก่อนยังไม่ได้แก้ไข เหมือนขวดยาพิษยังไม่ได้ล้าง จะเอายาดีๆ อะไรกรอกลงไปในขวดยาพิษนั้นแล้ว ยาที่ดีมีคุณภาพทั้งหมดนั้น ก็จะแปรเปลี่ยนไปตามยาพิษนั้นทันที นี้ฉันใด สติที่เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ เมื่อเข้าไปรวมอยู่กับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเมื่อไร ก็จะกลายเป็นมิจฉาสติ ระลึกผิดไปตามกันทั้งหมด ขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย จงเข้าใจตามนี้เถิด

    ๙. อุเบกขา ความวางเฉยของใจ ความวางเฉยในที่นี้มิใช่ว่า จะวางเฉยไปเสียทั้งหมด ความเพียรเคยปฏิบัติมาอย่างไร ก็จะปฏิบัติตามความเพียรอย่างนั้นไป เคยเดินจงกรมนั่งสมาธิมาอย่างไรก็ทำไปตามนั้น ความวางเฉยเป็น อกิริยา มีอยู่เฉพาะใจโดยตรง ส่วนกิริยาเคยทำทางกายมาอย่างไร และเคยพูดอย่างไรก็พูดไปตามปกติ ส่วนใจที่เป็น อกิริยานั้นจะวางเฉยเฉพาะใจเท่านั้น จะมีคนอื่นพูดดุด่าว่ากล่าว พูดส่อเสียดเบียดบังอย่างไรใจก็วางเฉย หรือพูดยกยอ สรรเสริญอย่างไรใจก็ไม่ฟูไปตามคำพูดนั้นๆ จะสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มีความน่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจยินดี ใจก็ไม่เกิดอารมณ์ตามในสิ่งที่เข้ามาสัมผัสนั้นเลย อารมณ์แห่งความรัก อารมณ์แห่งความชัง อารมณ์ของราคะตัณหา อารมณ์แห่งความใคร่ความยินดีไม่มีในใจนี้เลย จะยืน เดิน นั่ง นอนในอิริยาบถใด ใจก็วางเฉย ไม่มีความกระตือรือร้นไปกับสิ่งใดๆ เพราะใจวางเฉยอยู่แล้ว ถึงจะมีความเพียรภาวนาปฏิบัติอยู่ก็เป็นลักษณะเฉยๆ เช่นกัน ถึงจะมีสติก็มีเฉยๆ

    ถ้านักปฏิบัติเป็นอุเบกขาอย่างนี้ การสำรวมกาย การสำรวมวาจาและการสำรวมใจจะเยี่ยมยอดทีเดียว จะเป็นความเคารพเชื่อถือแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ถ้าอุเบกขาในวิปัสสนูนี้เกิดขึ้นกับผู้กำลังศึกษาอยู่ ผู้นั้นก็จะหมดอนาคตในการศึกษนี้ไปเลย เพราะไม่มีจิตใจเกิดความฝักใฝ่ในการศึกษานั่นเอง ถ้าเป็นลักณะอย่างนี้จะแก้ไขได้ยากมาก หรือแก้ไขไม่ได้เลย นี้ก็เป็นเพราะพื้นฐานเดิมมีความเห็นผิดในมิจฉาทิฏฐิมาก่อน ผลจึงออกมาในลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้นขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลายต้องระวังสำรวมต่อไป

    ๑๐. นิกันติ จะเกิดความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ผ่านมาแล้ว ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด ใครจะมาแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นนั้นไม่ได้เลย นี้คือวิปัสสนูปกิเลสตัวสุดท้าย ถ้าใครได้พบเห็นผู้ที่เป็นลักษณะอย่างนี้ จะช่วยชี้แนะแนวทางให้เขากลับใจเป็นสัมมาทิฏฐินั้นยากมาก เพราะแนวทางปฏิบัติของเขาเป็นมาอย่างนี้ ผลที่ได้รับก็ออกมาอย่างนี้ ความเชื่อถือ ความพอใจ ความยินดี ได้หยั่งรากฝังลึก ในความรู้สึกอย่างนี้แล้ว จะไม่ยอมกลับใจอย่างแน่นอน จะมอบกายถวายชีวิตอุทิศตัวเองให้เป็นไปในลักษณะนี้ตลอดวันตาย ไม่มีใครแล้วในยุคนี้จะแก้ได้ แต่ถ้าผู้นั้น เป็นเพียงข้อ ๑ ถึง ข้อ ๔ พอมีทางแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นข้อ ๕ ขึ้นไปก็ยากที่จะแก้ไข หรือแก้ไขไม่ได้เลย เพราะผู้เป็นวิปัสสนูนี้มีมานะทิฏฐิสูงมาก มีความรู้เห็นเฉพาะตัว ใครจะไปพูดว่าผิดนั้นไม่ได้เลย ยกเว้นผู้มีนิสัยเคยเกี่ยวข้องกันมาในอดีตชาติเท่านั้น พอจะแก้ไขได้ ถ้าไม่อย่างนี้ เขาก็จะไม่เข้าใจในคำตักเตือนจากใครๆ ทั้งนั้น

    ฉะนั้น นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อท่านได้อ่านเรื่องของ วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ข้อนี้แล้ว ท่านจะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไรนั้น ขอมอบให้ท่านได้พิจารณาตัดสินด้วยตนเอง ข้าพเจ้าเป็นเพียงชี้แนะแนวทางความผิดความถูกให้รับรู้เท่านั้น เพราะหลักการในการทำสมาธิมีมากมายในปัจจุบัน แต่ละสำนักแต่ละชมรมก็มีหลักการ วิธีทำสมาธิเป็นของตนเอง วิธีภาวนาทำสมาธิแต่ละสำนักก็มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อจิตมีความสงบเหมือนกัน การศึกษาแนวทางก็เป็นหมวดธรรมเล่มเดียวกัน แต่ว่าใครจะตีความหมายในหมวดธรรมนั้นๆ ไปอย่างไร ก็เป็นเรื่องของผู้นำ ถ้าผู้นำตีความหมายถูก ก็นำมาสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติถูกต่อไป ถ้าผู้นำตีความหมายในหมวดธรรมนั้นผิด ก็จะนำมาสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติผิดต่อไป ในยุคปัจจุบันนี้ มีความนิยมภาวนาทำสมาธิเป็นส่วนมาก การทำสมาธิ ขอให้เป็นสัมมาสมาธิก็แล้วกัน เพราะสัมมาสมาธิเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด เป็นแนวทางที่จะให้เกิดเป็นวิปัสสนา ไม่เหมือนทำสมาธิแล้วกลายเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมิจฉาสมาธิจะทำให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ มีความสงบได้เหมือนกัน แต่ความเห็นที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนกัน สัมมาสมาธิจะมีความเห็นเป็นไปในสายของพระอริยเจ้า มิจฉาสมาธิจะมีความเห็นผิดสายทางของพระอริยเจ้า

    ฉะนั้นข้าพเจ้าได้เขียนเรื่องมิจฉาสมาธิ ที่เป็นสายทางให้เกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างนี้เอาไว้ เพื่อจะได้ศึกษาและสังเกตดูตัวเองว่า เป็นไปในวิปัสสนูปกิเลสนี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้เกิดขึ้นแก่เรา ก็ให้หยุดเอาไว้ เพื่อจะมาทำความเข้าใจในตัวเองเสียใหม่ หรือไปถามครูอาจารย์ผู้ที่มีความชำนาญในการทำสมาธิที่ถูกต้อง อย่าฝืนทำสมาธิที่ผิดให้มากไปกว่านี้ มันจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง เพราะวิปัสสนูปกิเลสเป็นผลเกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ คือความตั้งใจไว้ผิด มิจฉาสมาธิ เป็นผลเกิดขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ เมื่อต้นเหตุเป็นฐานความเห็นผิดไว้แล้ว จะภาวนาปฏิบัติอย่างไรด้วยอุบายใดก็ตาม ก็จะภาวนาผิดไปทั้งหมด ฉะนั้นขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย จงมีความรอบรู้ในการปฏิบัติของตนนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    https://sites.google.com/site/watpalan54/1/93-1
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    3ธรรมะของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ‎ > ‎
    10สัมมาทิฏฐิ๒
    สัมมาทิฏฐิ ๒

    สมาธิเป็นหลักสากล

    ภาวนามี ๒ อย่าง

    มีความรู้ดี แต่ไม่มีความฉลาดทางปัญญา

    ให้ปฏิบัติในมรรค ๘

    ปัญญาศึกษาศีล สมาธิ

    ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ

    ไตรลักษณ์เป็นหลักประกอบปัญญา

    ใจหลงสมมติ

    สัญญาเป็นฐานรองรับปัญญา

    อุบายฝึกปัญญา

    ความตายเป็นสิ่งที่แน่นอน

    ปัญญาพิจารณาในเวทนา

    ปัญญาพิจารณาในสัญญา

    ปัญญาพิจารณาในสังขาร

    ปัญญาพิจารณาในสมมติ

    วิญญาณเป็นประธานในขันธ์ห้า

    รักษาใจด้วยสติปัญญา

    ผลของการปฏิบัติเกิดจากปัญญาของตัวเองเท่านั้น

    พิจารณาตามไตรลักษณ์คือหลักวิปัสสนา

    ศีล สมาธิเป็นอุบายเสริมปัญญา

    การใช้ปัญญาอย่าเอาตามตำรา และอย่าทิ้งตำรา

    ปัญญาหนุนสมาธิ สมาธิหนุนปัญญา

    นิมิตเป็นอุบายในการใช้ปัญญา

    ใคร่ครวญก่อนตัดสินใจ

    โง่อวดฉลาดเหมือนบอดคลำช้าง

    วางทิศทางให้ตรงต่อจุดหมาย

    มัคคามัคคญาณเกิดจากปัญญา

    เหตุผลเป็นตัวตัดสินที่ถูกต้อง

    เหตุไม่เกิดปัญญา



    สัมมาทิฏฐิ๒



    สมาธิเป็นหลักสากล

    การทำสมาธินั้นเป็นหลักสากลทั่วไป ไม่จำกัดชาติศาสนาใดๆ หรือผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอะไร ก็สามารถฝึกใจให้มีความสงบเป็นสมาธิได้ กำลังใจที่เกิดขึ้นจากความสงบนั้น จะมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากจิตธรรมดา จะแตกต่างกันอย่างไร จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่ทำสมาธิมีจิตที่สงบเท่านั้น จึงเรียกว่า ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว กำลังใจที่เกิดขึ้นจากสมาธินี้จะนำไปใช้ในทางไหนก็ได้ เอาไปใช้ในทางโลกก็ได้ เอาไปใช้ในทางธรรมก็ได้ จะเป็นโทษเป็นคุณอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ถ้าเอาไปใช้ประกอบกับมิจฉาวิชา ก็เป็นกำลังให้แก่มิจฉาวิชาไป ถ้าใจมีความเห็นผิดอย่างใด กำลังใจที่เกิดจากสมาธิก็จะไปหนุนในความเห็นผิดนั้นๆ ไป

    ฉะนั้นความสงบของสมาธิจึงมีทั้งคุณและโทษ เป็นได้ทั้งผิดและถูก ผู้ภาวนาทำสมาธิ ควรสังวรให้ดี มิใช่ว่าจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้ว จะดีไปเสียทั้งหมด เพราะกำลังใจที่เกิดขึ้นจากสมาธินั้นเป็นดาบสองคม การน้อมไปใช้ในทางใดนั้นต้องศึกษาให้ดี การทำสมาธิก็เป็นอุบายหนึ่งในหลักภาวนา การนึกคำบริกรรมทำสมาธินั้น จะนึกคำบริกรรมใดก็ได้ คำบริกรรมนั้นเป็นเพียงนิมิตหมายให้แก่สติเท่านั้น เป็นอุบายให้จิตได้อยู่กับที่ ให้จิตได้เกาะติดอยู่กับคำบริกรรม ให้สติได้ระลึกรู้อยู่กับคำบริกรรมนั้นๆ เรียกว่า สติสัมปชัญญะ มีความระลึกได้และรู้ตัวเองอยู่เสมอว่า ขณะนี้เราทำอะไรอยู่ ระลึกรู้ในสิ่งใดคำบริกรรมใด ก็ให้ใฝ่ใจในคำบริกรรมนั้นๆ อย่าให้เผลอ ถ้าเผลอไปก็ให้ตั้งหลักใหม่ กำหนดรู้อยู่ในคำบริกรรมอีกต่อไป มีความใฝ่ใจอยู่บ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน ฝึกใจให้อยู่ในปัจจุบันอยู่เสมอ เป็นอุบายวิธีฝึกห้ามความคิดของตัวเอง ถ้านึกคำบริกรรมตามปกติอยู่ แต่ใจยังชอบคิดจะแก้อย่างไร ก็ให้นึกคำบริกรรมเร็วๆ นึกต่อเนื่องกันไวๆ ไม่ให้มีช่องว่างที่จะคิดอะไรได้ นี่ก็เป็นอุบายห้ามความคิดได้เช่นกัน

    ผู้ปฏิบัติทั้งหลายอย่าให้คำบริกรรมพาให้เกิดทิฏฐิมานะ เอาคำบริกรรมไปโจมตีกันจนเกิดความแตกแยกกัน แบ่งเป็นสายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง ดังรู้กันอยู่ในปัจจุบัน สายนั้นผิดสายนั้นถูก สายนั้นโค้ง สายนั้นตรง การพูดออกมาอย่างนี้มีแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งกันไม่มีผลดีเลย เหมือนกับหลายคนเข้าร้านอาหารเดียวกัน ใครชอบอาหารอย่างไรก็ให้สั่งตามชอบใจ อาหารแต่ละชนิดมีคุณมีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น เพราะธาตุขันธ์ของคนชอบอาหารไม่เหมือนกัน แต่ถ้าคนใดพูดว่าอาหารของผู้อื่นไม่ดี ไม่มีคุณค่าเหมือนอาหารเรา การพูดออกมาได้เช่นนี้จะว่าคนบ้าหรือคนดีให้พิจารณาดูก็แล้วกัน นี้ฉันใด การนึกคำบริกรรมอะไรก็ตาม ถ้าจิตมีความสงบได้ คำบริกรรมนั้นดี แต่ถ้าใจไม่สงบ จะนึกคำบริกรรมอะไรก็ไม่ดี คำบริกรรมจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับสติและความตั้งใจอันแฝงอยู่ในความฉลาดเฉพาะตัว ถ้ามีความฉลาดอยู่ในตัวแล้ว คำบริกรรมอะไรก็ดีทั้งนั้น เหมือนกับธาตุขันธ์ที่เป็นปกติ จะรับประทานอาหารประเภทใด ก็อร่อยไปเสียทั้งหมด จะรับประทานในที่ไหน ไม่สำคัญ ขอให้ธาตุขันธ์ปกติก็แล้วกัน นี้ฉันใด การทำสมาธิจะมีคำบริกรรมอะไรก็ได้ ขออย่าให้ใจคิดเร่ร่อนพเนจรไปตามกระแสโลกจนลืมตัว การฝึกสมาธิต้องฝึกนิสัยตัวเองให้เป็นผู้เรียบง่าย มีนิสัยที่นิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่มาสัมผัส อย่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ที่ตกค้าง สิ่งใดมาสัมผัสก็อย่าไปติดใจ สิ่งใดที่ผ่านไปแล้ว หรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปคำนึงคาดการณ์ เพราะอุบายการทำสมาธิ มีความแตกต่างกันกับอุบายในการใช้ปัญญา อุบายการทำสมาธิเป็นวิธีห้ามความคิด ส่วนอุบายในการใช้ปัญญาเป็นวิธีใช้ความคิด ทั้งสองอุบายนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ท่านจะได้ศึกษาจากหนังสือเล่มนี้



    ภาวนามี ๒ อย่าง



    การทำสมาธิมีอุบายให้จิตเกิดความสงบได้หลายวิธี ในครั้งพุทธกาลกำหนดไว้ถึง ๔๐ วิธี จะเป็นวิธีใดก็ตาม อุบายใดก็ตาม จะต้องมีสติกำกับอยู่ในคำบริกรรมนั้นๆ ทั้งหมด และสติก็ยังเป็นองค์ประกอบให้แก่ปัญญาที่เรียกว่า สติปัญญา ถ้าทำสมาธิก็เรียกว่า สติสมาธิ ในยุคนี้สมัยนี้ส่วนใหญ่ จะเข้าใจในวิธีทำสมาธิกันเท่านั้น ส่วนสติปัญญา ผู้ภาวนายังไม่เข้าใจเท่าที่ควรและยังเข้าใจไปว่าปัญญาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสมาธิ ถ้าจิตไม่สงบเป็นสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิดขึ้น ผู้ภาวนาจึงไม่สนใจในการใช้ปัญญา

    การภาวนานั้นแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา หรือผู้ปฏิบัติจะเข้าใจในสมถภาวนาเท่านั้น เพราะสอนกันเป็นประจำ ถ้าพูดเรื่องภาวนาแล้ว นักปฏิบัติมักจะนึกถึงคำบริกรรมทำสมาธิในทันที ที่ข้าพเจ้าเคยได้สัมผัสสอบถามผู้ที่ภาวนาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศ ทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การภาวนาต้องนึกคำบริกรรมทำสมาธิให้จิตมีความสงบเท่านั้น หรือปัญหาที่ถามมากก็เป็นเรื่องของจิตมีความสงบและไม่สงบเหมือนๆ กัน เมื่อจิตสงบแล้วก็เกิดเป็นในลักษณะอย่างนั้นเกิดในลักษณะอย่างนี้ เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง จิตเป็นอย่างนี้หมายถึงอะไรไปในทำนองนี้ บางคนก็บ่นว่า ภาวนาแล้วจิตไม่นิ่งเลย มีแต่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา จะมีอุบายไม่ให้คิดในขณะทำสมาธิได้อย่างไร จึงได้เข้าใจว่า ในยุคนี้ผู้ภาวนาจะรู้จักแต่การทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว แม้แต่ผู้สอนก็เน้นหนักในวิธีทำสมาธิ เพื่อให้จิตมีความสงบเท่านั้น ส่วนหลักปัญญาภาวนานั้นสอนกันเพียงเบาบาง จึงทำให้ผู้ภาวนาไม่เข้าใจ จึงไม่ให้ความสำคัญในการใช้ปัญญาแต่อย่างใด ความเข้าใจของผู้สอนและผู้ปฏิบัติในยุคนี้คือสอนการทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความสงบเท่านั้น

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นเพียงเอามาประดับในคำพูด ศึกษาจากตำรามาอย่างไร มีหลักการปฏิบัติอย่างไรก็พูดไปตามหลักการนั้นๆ ผู้รับฟังก็รู้ตามหลักการเช่นกัน ครูอาจารย์สอนมาอย่างไรก็รู้ไปตามนั้นและเข้าใจไปตามนั้น เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาในหมวดธรรมต่างๆ ก็พิจารณาไปตามหลักการที่รู้มาหรืออ่านตามตำรา รู้จากครูอาจารย์มาอย่างไร ก็ใช้ปัญญาพิจารณาไปตามนั้น ไม่ให้ผิดจากตำราไปได้แม้แต่ประโยคเดียว การใช้ปัญญาพิจารณาด้วยวิธีนี้ ก็มีความเข้าใจในตัวเองว่า เราได้เจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องแล้ว จะพิจารณาในธาตุสี่ขันธ์ห้า ในอายตนะภายใน อายตนะภายนอก ให้เป็นไปในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ถูกต้องตามตำราทั้งหมด หรือพิจารณาในเรื่องอสุภะ ความสกปรกโสโครกของร่างกายทุกส่วน ก็เป็นไปตามตำราที่ว่าเอาไว้ ความเข้าใจในลักษณะนี้มีความมั่นใจว่า เราได้เจริญวิปัสสนาถูกต้องแล้ว

    ถ้าจะถามข้าพเจ้าว่า การใช้ปัญญาพิจารณาตามตำราที่ว่ามานี้ เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้วหรือยัง ขอตอบอย่างสวยงามว่า เป็นวิปัสสนาได้ แต่เป็นวิปัสสนาในภาคปริยัติเท่านั้น ส่วนการเจริญวิปัสสนาในภาคปฏิบัตินั้น ยังไม่เข้าขั้นแต่อย่างใด เพราะการเจริญวิปัสสนานั้น ไม่จำเป็นจะให้ถูกต้องตามตำราทั้งหมด มันเป็นอุบายเฉพาะตัว มีปฏิภาณ ไหวพริบในการครุ่นคิดด้วยเหตุผลเฉพาะตัว ถึงจะไม่ถูกตามสำนวนในตำราที่ว่าเอาไว้ ก็เข้าใจถูกต้องในความหมายที่เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ตำราว่า เสวย แต่เราว่ารับประทานหรือกิน ก็ความหมายอย่างเดียวกัน หรืออาหารหวานคาว สูตรในตำราทำอย่างนี้ แต่สูตรของเราทำอย่างนี้ แต่ก็ออกมาเป็นอาหารหวานคาวได้เช่นกัน นี้ฉันใด ถึงประโยคข้อความสำนวนไม่ตรงตามตำรา แต่ให้เป็นความหมายอย่างเดียวกัน นั่นจึงเป็นปัญญาเฉพาะตัว ดังคำว่า การภาวนาอย่าทิ้งตำราและอย่าเอาตามตำรา ให้พิจารณาดูก็แล้วกัน

    ในหลักการเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางแนวทางเอาไว้ชัดเจนมาก คำว่า สมถะ เป็นอุบายทำให้จิตมีความสงบ วิปัสสนา หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามหลักสัจธรรมที่เป็นจริง ให้สังเกตดูความหมายในกรรมฐานทั้งสองอย่างว่า มีความแตกต่างกัน ถ้าพูดตามภาษาง่ายๆ ให้รู้กันชัดๆ จะมีความหมายที่แตกต่างกันว่า สมถะเป็นอุบายวิธีฝึกการห้ามความคิดทุกประเภท จะคิดเรื่องอดีตคิดเรื่องอนาคต ให้ตัดขาดไปเสียทั้งหมด วิปัสสนา หมายถึง การฝึกใช้ความคิดให้ฝึกคิดในเรื่องความเป็นจริง ให้คิดอยู่ในขอบข่ายของไตรลักษณ์

    แต่ยุคนี้มีผู้สอนภาวนาปฏิบัติในวิธีห้ามความคิดทั้งหมด ถ้าไปคิดก็แสดงว่าเกิดความฟุ้งซ่าน นั่นคือผู้สอนยังไม่รู้ไม่เข้าใจในคำว่าวิปัสสนา ว่าฝึกอย่างไร คำว่าวิปัสสนา ก็เป็นฐานความมั่นคงตั้งมั่นของใจ จึงว่า วิปัสสนากรรมฐาน ถ้าฐานของความเห็นไม่ตั้งมั่นพอ ก็จะเกิดความเห็นผิดความเข้าใจผิดต่อหลักความเป็นจริงได้ ถ้ารู้เห็นสิ่งใดมีความชัดเจนแจ่มแจ้งตามไตรลักษณ์ ความรู้เห็นนั้นจะเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม จะเกิดความเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนี้จริงๆ ถ้าสิ่งที่ไม่เที่ยวก็มีความเห็นชอบว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงจริงๆ ถ้าสิ่งที่เป็นทุกข์ก็รู้เห็นชอบว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์จริงๆ ถ้าสิ่งที่เป็นอนัตตาก็มีปัญญาความเห็นชอบว่า สิ่งนี้ไม่มีอัตตาตัวตนเราเขา เป็นธรรมชาติจะต้องสูญเปล่าจากคำว่าสัตว์และบุคคลไป ฉะนั้น การฝึกปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนา มีความหมายอย่างเดียวกัน นั่นคือฝึกใจให้เกิดความรู้เห็นให้เป็นไปตามหลักความจริง นี่เป็นจุดเด่นของหลักการภาวนาปฏิบัติ การฝึกปัญญาให้เกิดความฉลาดรอบรู้นั้น ก็เพื่อจะนำปัญญานั้นมาอบรมใจสอนใจอีกขั้นตอนหนึ่ง ถึงปัญญาจะมีมาก ถ้าไม่มีความฉลาดที่จะนำมาสอนใจได้ ปัญญานั้นแทบไม่มีความหมายในทางธรรมแต่อย่างใด เพราะไม่ได้นำมาสอนใจตัวเองให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมได้



    มีความรู้ดี แต่ไม่มีความฉลาดทางปัญญา



    คนมีปัญญามาก มีความรู้มาก จะนับว่าเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดในธรรมทีเดียวยังไม่ได้ เหมือนกับคนที่มีเงินทองจำนวนมาก แต่ไม่มีปัญญาความฉลาดที่จะบริหารทรัพย์สมบัตินั้น เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ตัวเองและสังคม ก็นับว่าเป็นคนจนด้วยน้ำใจ ไม่มีการเสียสละให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสาธารณกุศลส่วนรวม ถึงจะมีสมบัติมาก็ไม่มีความหมายอะไร นี้ฉันใด ผู้ที่มีความรู้มาก มีปัญญามาก แต่ขาดความฉลาดที่จะนำความรู้นั้นมาสอนตัวเองได้ เป็นที่น่าเสียดายที่ทำตัวเป็นผู้ประมาท ดังคำว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้เอาตัวรอดเป็นยอดรู้ทั้งหลาย ความรู้นี้มิใช่ว่าจะทำสมาธิให้จิตสงบแล้วเกิดขึ้นเองได้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการนึกคิดใคร่ครวญด้วยเหตุและผล อันพร้อมด้วยความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริงในหลักสัจธรรม

    ในยุคนี้ไม่ค่อยมีผู้ฝึกปัญญาในทางธรรมเท่าที่ควร ส่วนมากจะฝึกปัญญาแนวความคิดต่างๆ ไปตามกระแสโลก ใช้ความนึกคิดไปตามกิเลสตัณหา การคิดให้เกิดเป็นปัญญาในทางธรรมนั้นไม่เข้าใจ อย่างมากก็พิจารณาไปตามหลักปริยัติเท่านั้น หรือทำสมาธิแล้วแทนที่จะฝึกการเจริญปัญญาต่อไป แต่ไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากทำสมาธิแล้วก็มาอ่านตำราที่ครูอาจารย์ท่านเขียนเอาไว้ หรือฟังเทปของครูอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ไป ไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นของส่วนตัวเลย เป็นเพียงมีความรู้จากผู้อื่นอธิบายให้ฟัง ไม่ได้เป็นความรู้ที่เกิดจากปัญญาของตัวเองแต่อย่างใด จึงเป็นเพียงความรู้ตามภาคทฤษฎีไป ความรู้ลักษณะนี้ ถ้าไม่มีความฉลาดเป็นของส่วนตัว อาจจะเอาความรู้นี้ไปปิดช่องทางปัญญาระดับสูงได้ เพราะเข้าใจในหลักธรรมะไปเสียหมด นี้เรียกว่า รู้ก่อนเห็น ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ยากที่จะฝึกปัญญาให้เกิดขึ้นได้ ธรรมหมวดไหนก็รู้ไปเสียทั้งหมด ธรรมะขั้นต่ำ ธรรมะขั้นกลาง ธรรมะขั้นสูงก็รู้แล้ว จะฝึกปัญญาให้เกิดขึ้นจากความรู้นี้ฝึกได้ยากมากทีเดียว อย่างมากก็ฝึกได้แค่ปัญญาในสัญญาภาคปริยัติเท่านั้น









    ให้ปฏิบัติในมรรค ๘



    ปริยัติเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ ถ้าไม่ศึกษาในทางปริยัติเอาไว้ จะไม่เข้าใจในการปฏิบัติเลย พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงไว้แล้วเป็นอย่างดี มีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ คำว่าปริยัตินั้น กว้างขวางมาก จึงยากที่บุคคลจะศึกษาให้จบได้ หรือศึกษามาแล้วก็ยากที่จะเลือกเฟ้นหมวดธรรมนั้นๆ มาปฏิบัติให้ถูกกับนิสัยตัวเอง ปริยัติที่ได้ศึกษาตามตำรานั้นมีหลายขั้นตอน มีทั้งธรรมะขั้นต่ำ ธรรมะขั้นกลางและธรรมะขั้นสูง การศึกษาธรรมะไปตามตำราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะศึกษาได้ แต่เมื่อศึกษามาแล้วจะนำมาปฏิบัติเป็นเรื่องยากที่จะนำมาปฏิบัติได้ เพราะไม่เข้าใจว่าจะเริ่มอย่างไร ถ้าเข้าใจในมรรค ๘ แล้วการเริ่มต้นในการปฏิบัตินั้นง่าย เพราะขั้นตอนการปฏิบัตินั้น พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงเอาไว้แล้ว ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เป็นเรื่องยากที่จะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เลย

    ฉะนั้น มรรค ๘ จึงเป็นหลักที่สำคัญในการปฏิบัติ ต้องศึกษาให้เข้าใจตีความหมายให้ถูกต้อง ให้ปฏิบัติเป็นไปตามหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางแนวทางเอาไว้แล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามนี้ จะเกิดความสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ธรรมหมวดใดควรนำมาปฏิบัติก่อนและไม่รู้ธรรมหมวดใดควรนำมาปฏิบัติทีหลัง เห็นว่าเป็นธรรมก็นำมาปฏิบัติทำให้สับสนกันไปหมด เหมือนกับผู้ไม่รู้หลักสูตรในการเรียนหนังสือ เช่น นักธรรมชั้นตรีในชั้นนี้มีหนังสืออะไรบ้างที่จะต้องนำมาศึกษา ต้องเรียนเฉพาะนักธรรมชั้นตรีเท่านั้น เมื่อมีปัญหาออกมาก็จะตอบถูกต้องตรงประเด็น นี้ฉันใด การภาวนาปฏิบัติ ถ้ารู้จักขั้นตอนในการปฏิบัติแล้ว ปัญหาที่จะก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัตินั้นจะหมดไป เพราะมีความเข้าใจในหลักปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว หลักปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นก็ต้องศึกษาจากครูอาจารย์ผู้ที่ท่านมีความชำนาญและถูกต้องตามขั้นตอนที่ตรงต่อมรรคผลนิพพาน การปฏิบัติก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี การปฏิบัติต้องมีหลักการที่ดี มีครูอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะแนวทางที่ตรงต่อมรรคผล

    เช่น ปริยัติเป็นคู่กันกับสุตมยปัญญา ปฏิบัติเป็นคู่กันกับจินตามยปัญญา ปฏิเวธเป็นคู่กันกับภาวนามยปัญญา ส่วนปฏิเวธกับภาวนามยปัญญานั้นเป็นธรรมะชั้นสูงและเป็นธรรมะขั้นละเอียด เหมือนเด็กกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลจะไม่เข้าใจในชุดวิชาเรียนในหลักสูตรการศึกษาของระดับปริญญาเอกได้ เพราะสติปัญญาและความสามารถยังไม่พอ จะไม่เข้าใจในวิชาระดับสูงนี้เลย นี้ฉันใด ปฏิเวธและภาวนามยปัญญานั้นเป็นอุบายธรรมะระดับสูงเกินสติปัญญาของผู้เริ่มต้นการปฏิบัติ เพราะยังไม่มีความฉลาดรอบรู้ทางสติปัญญา ถ้ายังไม่เข้าใจในหมวดธรรมขั้นเริ่มต้น ก็จะไม่เข้าใจในขั้นตอนของธรรมะขั้นสูงได้เลย ปฏิเวธและภาวนามยปัญญาจะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ฉะนั้นการภาวนาปฏิบัติต้องเริ่มต้นจากสัมมนาทิฏฐิปัญญาความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ใช้ปัญญาพิจารณาดำริตริตรองตามหลักความเป็นจริง ให้ถูกต้องตามมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้แล้ว ถ้าย่นย่อในมรรค ๘ เรียบเรียงลำดับตามหลักเดิม จะออกมาเป็นปัญญา ศีล สมาธิ พระพุทธเจ้าจึงให้ความสำคัญในหลักปัญญาเป็นอย่างมาก ถ้าปัญญาขั้นพื้นฐานไม่มี จะไม่รู้วิธีในการปฏิบัติแต่อย่างใด

    ฉะนั้นสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ถึงในยุคนี้จะเรียบเรียงให้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญาก็ตาม ในภาคปฏิบัติแล้วก็ต้องเข้าใจว่า ศีล สมาธิเป็นปริยัติ ก็ต้องเอาปัญญาในขั้นสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญามาศึกษาเรื่องศีลเรื่องสมาธิอยู่นั้นเอง ถ้าไม่เอาปัญญามาศึกษาเรื่องศีล เรื่องสมาธิ จะรักษาศีลทำสมาธิไม่ถูกต้องตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ได้เลย ฉะนั้นศีล สมาธิ ต้องมีปัญญาเป็นองค์ประกอบในการรักษาศีลและปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิต่อไป เรียกว่าปัญญารอบรู้ในศีล ปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธินั่นเอง

    การรักษาศีลแต่ละหมวดหมู่ ต้องรู้จักศีลของตนว่าจะรักษาศีลหมวดใด ถ้าเป็นฆราวาส จะต้องรักษาศีล ๕ และศีล ๘ ตามความสามารถของตน ถ้าเป็นสามเณรจะต้องรักษาศีล ๑๐ ถ้าเป็นพระจะต้องรักษาศีล ๒๒๗ ที่เรียกว่าศีลในพระปาฏิโมกข์ จะรักษาศีลหมวดใดก็ต้องใช้ปัญญาระดับขั้นพื้นฐานนี้มาศึกษาศีลให้เข้าใจ รู้วิธีการรักษาศีลให้ถูกต้องว่า ศีลแต่ละข้อจะรักษาให้มีความสมบูรณ์และบริสุทธิ์ได้อย่างไร มิใช่พูดว่าให้พากันรักษาศีลหมวดนั้นหมวดนี้ไป ดังในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระ ก็ต้องมีพิธีไหว้พระรับศีลตามพุทธประเพณีที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน นั่นเป็นพิธีรับศีล ถ้าจะรักษาศีลก็ต้องศึกษาเรื่องของศีลให้เข้าใจ เพราะอุบายวิธีการรักษาศีลแต่ละข้อนั้นมีอุบายในการรักษาแตกต่างกัน ฉะนั้นต้องใช้ปัญญารักษาศีลทุกขั้นตอน ฆราวาสก็ต้องมีปัญญารักษาศีลของฆราวาส พระเณรก็ต้องมีปัญญารักษาศีลของตัวเองเช่นกัน ไม่เช่นนั้นศีลจะขาดตกบกพร่องเศร้าหมองไปโดยไม่รู้ตัว ถ้ามีปัญญารักษาศีลอยู่ ความบริสุทธิ์สมบูรณ์ในศีลจะมีอยู่ที่กาย วาจา ใจของเราตลอดไป ศีลทั้งหมดเป็นปริยัติ จะต้องใช้ปัญญาในการศึกษาให้เข้าใจ นี่ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบในการรักษาศีลในระดับหนึ่ง จะรักษาศีลได้อย่างหยาบ รักษาศีลได้อย่างกลาง รักษาศีลได้ขั้นละเอียดอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละบุคคล



    ปัญญาศึกษาศีล สมาธิ



    หลักการที่ครูอาจารย์สอนในวิธีภาวนานั้นมีมาก แต่ละท่านก็มีเจตนาดีต่อผู้ปฏิบัติทั้งนั้น เราเป็นผู้รับอุบายวิธีภาวนาจากครูอาจารย์มา ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูก่อนว่า อุบายวิธีนี้ถูกกับจริตนิสัยเราไหม อุบายใดไม่ถูกกับจริตนิสัยเรา ก็อย่าเอามาใส่ใจ อุบายใดที่เหมาะสมตรงกันกับจริตเราก็เอามาปฏิบัติต่อไป อุบายในการสอนของแต่ละท่านมีหลักใหญ่อยู่ ๒ ประการดังได้กล่าวมาแล้วคือ กรรมฐานสองอย่างได้แก่ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนใหญ่ในยุคนี้จะสอนหนักไปในวิธีทำสมาธิ ดังมีการสอนกันในที่ทั่วไป บางแห่งก็สอนในวิธีทำสมาธิล้วนๆ โดยไม่มีอุบายปัญญาแฝงอยู่ในสมาธินั้นเลย บางแห่งก็สอนวิธีทำสมาธิเช่นกัน แต่ก็ยังมีอุบายปัญญาแฝงอยู่ในสมาธินั้นๆ เช่น สอนว่า ให้ทำสมาธิไปก่อน เมื่อจิตมีความสงบแล้วจึงใช้ปัญญาพิจารณาทีหลัง ท่านมีเหตุผลว่า ถ้าจิตไม่มีกำลังจากการทำสมาธิ จะพิจารณาด้วยปัญญาไม่ได้ นี่เรียกว่าสอนอุบายวิธีภาวนาอย่างผูกขาดตายตัว เป็นในลักษณะว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมแต่ละครั้ง จะต้องทำสมาธิให้จิตมีความสงบก่อนจึงจะใช้ปัญญาพิจารณาอะไรได้ สมมติว่าวันไหน เดือนไหน ปีไหน จิตไม่สงบเป็นสมาธิ ก็ใช้สติปัญญาพิจารณาธรรมะอะไรไม่ได้เลย การสอนในลักษณะนี้ก็ยังดีกว่าวิธีสอนให้ทำสมาธิล้วนๆ โดยไม่มีอุบายปัญญาแฝงอยู่บ้างเลย

    อย่างไรก็ตาม การสอนในวิธีทำสมาธิก่อนปัญญานั้นก็ใช้ได้ แต่จะมีกี่คนที่ทำสมาธิให้จิตสงบได้แล้วต่อด้วยปัญญา ปัญญาที่จะนำมาต่อท้ายสมาธินั้นเอามาจากไหน เราเตรียมไว้แล้วหรือยังว่าปัญญาเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ได้เตรียมปัญญาเอาไว้ ถึงจิตมีความสงบเป็นสมาธิอยู่ก็ตาม ก็ไม่มีปัญญาพิจารณาต่อจากสมาธิอยู่นั้นเอง ผู้สอนในวิธีนี้ชอบพูดว่า ทำสมาธิไปเถอะ เมื่อจิตมีความสงบแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเอง แล้วเอาปัญญานั้นเจริญในวิปัสสนาต่อไป การสอนด้วยวิธีนี้ ก็จะเข้าลักษณะว่า บอดจูงบอดไปไม่รอดเพราะบอดจูงกัน



    ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ



    ถ้าผู้สอน ผู้ปฏิบัติภาวนา ได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลแล้ว จะรู้ทันทีว่า ท่านเหล่านั้นบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าด้วยอุบายธรรมอย่างไร แนวทางการบรรลุธรรมนั้นเหมือนกับเราสอนและปฏิบัติอยู่นี้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าสอนเอาไว้ จึงยากที่จะเป็นไปได้ หรือเป็นไปในมรรคผลไม่ได้เลย ฉะนั้นจงศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ ในจุดเริ่มต้นท่านเหล่านั้นก็เป็นปุถุชนธรรมดาทั่วไป เมื่อท่านเหล่านั้นได้ไปพบพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าแล้ว ก็ต้องได้รับฟังธรรมอันเป็นความจริง ในสิ่งที่เข้าใจมาก่อนว่าเป็นเราและเป็นของของเรา ก็มีความเข้าใจตรงกันข้ามทั้งหมด มีเหตุผลเชื่อถือได้ว่าไม่มีธาตุขันธ์ส่วนใดเป็นอัตตาตัวตนแต่อย่างใด ธาตุขันธ์ทุกส่วนจะเป็นไปตามความจริง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ปัญญาที่รู้เห็นเป็นไปตามความจริงเหล่านี้ เป็นปัญญาที่มีอยู่ในตัวเองมาก่อนทั้งนั้น มีเหตุผลประกอบในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่าสิ่งนี้ย่อมเป็นอย่างนี้จริงๆ เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ก็มีพยานหลักฐานว่า ทุกคนย่อมแก่ด้วยกัน การเจ็บไข้ได้ป่วยก็เห็นกันในที่ทั่วไป เมื่อเขาแก่ได้ เราก็ต้องแก่เหมือนเขา เมื่อเจ็บป่วยได้ เราก็จะต้องเจ็บป่วยเหมือนเขา เมื่อเขามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ เราก็ต้องมีความทุกข์กายทุกข์ใจเหมือนเขา เมื่อเขามีความตายได้ เราก็ต้องตายเหมือนเขา ทุกคนทุกตัวสัตว์เมื่อเกิดมาแล้วนั้น ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน การพลัดพรากจากสิ่งที่รักและหวงแหนทุกคนก็ต้องเป็นไปตามนั้น ไมมีใครจะเกาะอยู่ในสิ่งที่รักไปตลอดกัปตลอดกัลป์ได้ ในวันหนึ่งก็ต้องตายจากกันแน่นอน เมื่อเข้าใจในความจริงในคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าอย่างนี้ จึงมีสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบในขั้นเริ่มต้น ตัดขาดจากมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเดิมทันที

    นี่เป็นอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าได้สอนแก่พุทธบริษัทมาในครั้งพุทธกาล เป็นจุดเริ่มต้นในการประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจะสอนให้มีสติปัญญาก่อนทุกครั้ง เพราะสติปัญญาเป็นแสงสว่างให้แก่ใจ ถ้าใจมีสติปัญญาเป็นองค์ประกอบแลวจะทำให้ใจมีความรู้เห็นที่เป็นจริง สิ่งใดที่ใจมีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ สติปัญญาก็จะช่วยให้จิตมีความกระจ่างรู้เห็นได้ชัดเจน ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เหมือนกับกระจกเงาที่ใสสะอาดย่อมสะท้อนภาพกลับมาเห็นหน้าตัวเองได้ นี้ฉันใด สติปัญญาจึงเปรียบเหมือนแสงสว่างให้แก่ใจฉันนั้น เพราะใจหลงตัวเองมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ จึงตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นจริงมาตลอด หรือเรียกว่าจิตตกอยู่ในที่มืด คืออวิชชา ไม่รู้เห็นว่าอะไรจริงหรือไม่จริง สิ่งใดที่มาสัมผัสจะรับเอาในสิ่งนั้นๆ ทันที ไม่มีความรู้ความฉลาด ขาดทั้งเหตุและผล เหมือนกับผู้เดินทางในที่มืด จะไปไม่ถึงไหน ถึงจะก้าวขาเดินไปอยู่ก็ตาม การเดินนั้นก็จะวกวนไปมาหาที่เดิมอยู่เสมอ ถึงจะเดินวนมาที่เดิมอยู่ก็ตาม หารู้ไม่ว่าในที่แห่งนี้เราเคยหลงมาก่อนแล้ว เหตุที่ไม่รู้ก็เพราะความมืดเป็นอุปสรรคในการสังเกตในจุดหมายใดๆ ถึงจะเข้าใจว่าเป็นของใหม่อยู่ก็ตาม นั่นเป็นเพียงความเข้าใจหลอกตัวเองเท่านั้น ที่จริงก็เป็นของเก่านั่นเอง นี้ฉันใด ใจที่หลงอยู่ในภพทั้งสามนี้ก็เช่นเดียวกัน หรือบางภพอาจจะได้ไปพักผ่อนหย่อนอารมณ์ในรูปภพ อรูปภพอยู่บ้าง ในที่สุดเมื่อถึงกาลเวลา อำนาจของฌานเสื่อม ก็กลับมาเกิดในกามภพนี้ตามเดิม

    บางภพเป็นเปรตบ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นมนุษย์บ้าง ขึ้นอยู่กับกรรมที่จะพาเป็นไป หรือได้มาเกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีสติปัญญาฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริงแต่อย่างใด จึงให้ชื่อว่า ตะโมตะมะปรายะโน เป็นผู้มืดมาแล้วมืดไปวนเวียนอยู่ใน ๓ ภพ หาทางออกไม่ได้เลย นี่เป็นเพราะอวิชชาปิดบังใจ จึงไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ถึงจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในโลกนี้อีกก็ตาม ก็ยังมาหลงว่าเป็นสถานที่เกิดใหม่อยู่นั้นเอง ที่จริงแล้วก็เป็นโลกเก่าสถานที่เก่า ที่เราเคยเกิดเคยตายมาแล้วในอดีตเกิดตายๆ ในโลกนี้ไม่รู้ว่ากี่ชาติกี่ภพ ก็หาที่จบลงไม่ได้และไม่รู้ว่าเกิดตายมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไมมีใครนับได้และจะเกิดตายต่อไปในอนาคตชาติหน้า ไม่รู้ว่าจะเกิดตายอีกยาวนานเท่าไร ไม่มีใครกำหนดได้ นี่คือใจมืดบอดในโมหะอวิชชา เหมือนกับการหลงทางในที่มืด จะไปไม่ถึงไหนเลย จะวนไปมาในที่แห่งเดียวจนนับรอบไม่ได้ ก็ยังมืดยังหลงเข้าใจว่าเป็นของใหม่อยู่เรื่อยไป นี่คือใจไม่มีสติปัญญาเป็นของตัวเอง ความหลงความมืด ความไม่รู้เห็นตามเป็นจริงก็จะมีต่อไป พระพุทธเจ้าอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทก็เพื่อให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ก่อนจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องฝึกสติปัญญาให้เกิดขึ้นที่ใจให้ได้

    ถ้าสติปัญญาเกิดขึ้นที่ใจเมื่อไร ความหลงของใจความมืดที่ปิดบังความจริง ก็จะสลายออกจากใจไป ความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นที่ใจ รู้เห็นในสิ่งใดก็จะเป็นไปตามความเป็นจริงทั้งหมด จึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สิ่งนี้เองที่พระพุทธเจ้าต้องการในจุดเริ่มต้น ถ้าเริ่มต้นในจุดนี้ไม่ได้ การภาวนาปฏิบัติต่อไปก็จะเป็นโมหะภาวนา จะทำสมาธิก็จะเป็นโมหะสมาธิต่อไป อาการของใจที่เกิดขึ้นจากจิตมีสมาธิก็จะหลงในอาการของจิต มีนิมิตอะไรเกิดขึ้นก็ไม่มีสติปัญญานำมาพิจารณาว่า นิมิตนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม มีแต่น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงทั้งหมด จุดนี้เองผู้ทำสมาธิด้วยความหลง ความไม่รู้จึงกลายเป็นมิจฉาสมาธิไปโดยไม่รู้ตัว



    ไตรลักษณ์เป็นหลักประกอบปัญญา



    พระพุทธเจ้าจึงได้ชี้แนะความจริงในสรรพสังขารทั้งหลายว่า ทุกสิ่งมันมีความจริงอย่างนี้ๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธาตุสี่ ขันธ์ห้าให้สติปัญญาพิจารณาอยู่เสมอ ถึงจิตจะไม่ละถอนปล่อยวางในสิ่งใดก็ตาม ก็ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาอยู่บ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ อีกวันหนึ่งข้างหน้าจะเกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง

    ได้ เมื่อจิตรู้เห็นตามเป็นจริง จิตจะมีการเปลี่ยนความเห็นผิด กลายมาเป็นความเห็นถูกได้ แต่ก่อนเห็นว่าเป็นของดีที่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อพิจาณาให้รู้เห็นด้วยปัญญาแล้ว ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แต่อย่างใด แต่ก่อนเข้าใจว่ากามคุณเป็นความสุข ทำให้ใจเกิดความสนุกร่าเริง

    เมื่อใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบรู้แล้ว กามคุณเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ทั้งนั้น ที่เข้าใจว่าเป็นความสุขก็เพราะความหลงของใจ และความไม่รู้ทุกข์โทษภัยในกามคุณนั้นเอง แต่ก่อนเข้าใจว่า ธาตุสี่ ขันธ์ห้าเป็นอัตตาตัวตน เมื่อใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามเป็นจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นอัตตาตัวตนแต่อย่างใด เมื่อใจได้รู้เห็นตามปัญญาอย่างนี้ จะมีความเชื่อมั่นในความรู้เห็นที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวได้ชัดเจนทีเดียว ความยึดมั่นถือมั่นในธาตุขันธ์ว่าเป็นอัตตาตัวตนก็จะสลายตัวไปได้ จึงจะเกิดความเข้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง

    ฉะนั้นการใช้สติปัญญาพิจาณาให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ จะทำให้ใจเกิดการเปลี่ยนแปลงในทัศนะความเห็น เปลี่ยนจากความเห็นผิดที่เป็นมิจฉา มาเป็นสัมมาทิฏฐิที่มีความเห็นที่ถูกต้อง ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เห็นละเอียดมากขึ้นกว่านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากปุถุชน ก้าวขึ้นเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามวาสนาบารมี ถ้าใครได้อ่านประวัติของพระอริยเจ้าแล้ว ก็จะเกิดความมั่นใจว่า หลักสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบ เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสสอนเอาไว้อย่างชัดเจน ผู้ที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาล ท่านเหล่านั้นก็ปฏิบัติภาวนามาอย่างนี้ ในยุคนี้สมัยนี้ถ้าผู้ภาวนาปฏิบัติเป็นไปตามหลักเดิม มีความรู้เห็นเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ก็มีสิทธิ์บรรลุเป็นพระอริยเจ้าในชาตินี้ได้เช่นกัน

    พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระศาสนาเป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ ปี เจตนาจะประกาศความจริงให้มนุษย์ได้รู้เห็นความจริง เมื่อมนุษย์ยังเพ้อฝันไปตามกระแสของโลกอยู่ ความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิย่อมเข้าใจผิดต่อหลักความจริงตลอดไป เมื่อใจยังไม่ยอมรับความจริงแต่อยากจะรู้ความจริง มันเป็นไปไม่ได้ อย่างมากก็เป็นเพียงรู้ความจริงไปตามตำรา ส่วนความจริงที่รู้เห็นในสติปัญญาหารู้ไม่เพราะเราไม่ฝึกสติปัญญาให้เกิดขึ้นที่ใจไว้เลย อย่างมากก็เป็นเพียงปัญญาในสัญญาเท่านั้น จึงเป็นปัญญาอยู่ในขั้นสุตมยปัญญา ยังไม่ก้าวขึ้นสู่จินตามยปัญญาแต่อย่างใด

    คำว่า จินตามยปัญญา อุบายวิธีจินตนาการเป็นวิธีใช้ความคิดพินิจพิจารณาตรึกตรอง วิจารณ์ วิเคราะห์ใคร่ครวญ จึงเรียกว่า สัมมาสังกัปโป การดำริพิจารณาให้เข้าใจในความเป็นจริงต่อสิ่งนั้นๆ ถ้าพิจารณารู้เห็นความจริงชัดเจนเท่าไร ความเข้าใจที่รู้เห็น ก็จะมาหนุนสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเห็นจริงตามความเป็นจริงมากขึ้น การดำริพิจารณาในสัจธรรมต่างๆ ก็มีความขยันหมั่นเพียรตรึกตรองอยู่เสมอ ความรู้เห็นก็มีความกระจ่างชัดเจนมากขึ้น ความเข้าใจตามหลักความเป็นจริง ก็ยิ่งมีความเห็นจริงมากขึ้น ความรู้จริง ความเห็นจริงนี้เอง จะทำให้เกิดความแยบคาย ความแยบคายจะทำให้เกิดความหายสงสัย ไม่มีการลูบคลำดังที่เคยเป็นมา ใจก็จะได้ละมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดความเข้าใจผิดไปได้ ความเข้าใจในความเป็นจริงก็จะเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบตามความเป็นจริงได้อย่างเต็มตัว นี่จึงเป็นการละความเห็นผิดในเบื้องต้น ถ้าความเห็นขั้นเริ่มต้นไม่เป็นไปตามนี้ จะไม่มีทางได้บรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งได้เลย ถึงจะมีความเพียรมากสักปานใด ก็จะเป็นไปในทางมิจฉาวายาโม ความเพียรผิดตลอดไป



    ใจหลงสมมติ



    อุบายการฝึกปัญญามีองค์ประกอบสองอย่าง ได้แก่ สัญญา ความจำได้หมายรู้ และสมมติที่เป็นสภาพความจริงที่มีอยู่ในตัวมันเอง เรียกว่า จริงสมมติ ทุกอย่างที่เรียกขานกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นสมมติทั้งสั้น แม้แต่ดินฟ้าอากาศ เดือนดาว ก็ตั้งชื่อตามสมมติ หรือลมมรสุมที่แปรปรวนอยู่ตามธรรมชาติของมัน ไม่ได้ประกาศตัวเองว่า ชื่อนั้นชื่อนี้แต่อย่างใด แต่คนไปสมมติชื่อให้ต่างหากเล่า หรือตั้งชื่อคนและสัตว์ว่าชื่อนั้นชื่อนี้ก็ตาม ก็เพื่อได้เรียกขานกันในคำสมมติเท่านั้น รถแต่ละคัน เครื่องบินแต่ละลำ ก็เป็นคำสมมติเรียกกัน ถ้ารื้อชิ้นส่วนรถและเครื่องบินออกมาแล้ว ชื่อของรถและเครื่องบินก็เปลี่ยนไป เรียกเพียงว่าอะไหล่ชิ้นส่วนแต่ละอย่างเท่านั้น แม้ร่างกายที่ให้นามสมมติว่าเป็นมนุษย์ก็ดี หรือเรียกว่าคนก็ดี ก็เป็นคนเพียงสมมติเท่านั้น

    ถ้าแยกชิ้นส่วนแต่ละอย่างออกไป ก็เรียกตามสมมติปลีกย่อยไปอีก แต่ละอย่างก็มีชื่อของมันตามสมมติ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ถ้าเอาชิ้นส่วนต่างๆ ในร่างกายนี้ออกไปแล้วจะเรียกว่าอัตตาตัวตนไม่ได้เลย หรือเอาไฟเผาไหม้ไปทั้งหมด จะได้คำสมมติอีกอย่างหนึ่งว่า อนัตตา แปลว่าไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเราแต่อย่างใด เป็นเพียงจิตสังขารสร้างขึ้นมาอาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่กี่วันเดือนไป ร่างกายนี้ก็แก่เฒ่าชราไปตามอายุขัยแล้วตายไป คำว่าตาย ก็คือจิตได้ออกจากร่างกาย บางคนก็ตายตามอายุขัย บางคนก็ตายไปด้วยกรรมตัดรอน อายุยังไม่ถึงวัยที่จะตายก็ตายได้ ฉะนั้นร่างกายจึงเป็นคนแค่สมมติ ถ้าผู้มีสติปัญญาที่ดีมีความฉลาดรอบรู้ ก็จะไม่หลงในรูปสมมตินี้เลย นี่คือหลักปัญญาสอนใจให้รู้จริงเห็นจริง จึงเป็นอุบายตัดกระแสแห่งความหลงของใจและความไม่รู้ของใจออกไปได้

    การสร้างปัญญาจากสมมติมิใช่ว่าจะพิจารณารูปกายเพียงอย่างเดียว รูปกายคนอื่น สัตว์อื่นก็เป็นรูปสมมติเช่นเดียวกัน การพิจารณารูปกายเราอย่างไร ก็ให้พิจารณารูปกายคนอื่น สัตว์อื่นให้เป็นรูปสมมติอย่างเดียวกัน หรือรูปอย่างอื่นที่ไม่มีวิญญาณครอง เช่น วัตถุสมบัติที่เรามีกรรมสิทธิ์อยู่ในคำสมมติว่า เป็นสมบัติของเรา ก็ให้เข้าใจว่า วัตถุสมบัติทั้งหมดนั้นเป็นของเราโดยสมมติ ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็อาศัยในสมบัตินี้ไป

    สมมติภายในคือร่างกายเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องการสมมติภายนอกเข้ามาเสริมค้ำจุนอุดหนุนกันไป เพราะธาตุสี่จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องใช้ธาตุภายนอก คือ อาหารหวานคาวต่างๆ มาบำรุงให้ทรงตัวอยู่ต่อไปได้ เมื่อถึงอายุขัยของธาตุสี่แล้ว ถึงอาหารจะดีมีคุณค่าทางโภชนาการสักปานใดก็ไม่มีความหมาย หรือยาบำรุงอย่างดีก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อถึงจุดนั้นแล้วไม่มีสิ่งใดช่วยได้เลย จะมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุขในกามคุณ จะมีสมบัติมากมายมหาศาลอยู่ก็ตาม เมื่อถึงกาลเวลาก็จะต้องพลัดพรากจากของที่รักนี้ไป หรือญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่รักก็ตาม ก็จะต้องเป็นตัวใครตัวมัน ผู้ที่ตายก็ตายไป ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็หากินกันไป หายใจเข้าออกกันไป ในอีกช่วงหนึ่งเราก็จะเป็นเหมือนกันกับผู้ที่ตายไปแล้ว ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทุกประเภท เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ แล้วก็ตายไปเสีย ไม่มีใครๆ จะมีชีวิตอยู่ตลอดไปได้ อุบายเสริมสร้างปัญญายังมีอยู่อีกมากมาย อะไรก็ตามที่เราสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอายตนะภายใน อายตนะภายนอก ให้ใช้ปัญญาพิจารณาว่าเป็นสมมติที่เกิดดับๆ อยู่ในโลกนี้ทั้งหมด จงดำริพิจารณาอยู่บ่อยๆ ปัญญาจะเกิดขึ้นจากการพิจารณานั่นเอง



    สัญญาเป็นฐานรองรับปัญญา



    คำว่า ปัญญา ต้องมีสัญญาเป็นองค์ประกอบ นี่เป็นเรื่องจริง ถ้าไม่มีสัญญาเป็นตัวกำหนดทิศทางเอาไว้ ปัญญาจะพิจารณาไปโดยไม่มีขอบเขต คิดไปไม่เป็นเรื่องเป็นราว คิดไปแบบเรื่อยเปื่อย จับต้นชนปลาย ไม่มีหลักการที่จริงจัง เป็นความคิดฝันไปตามกระแส โลกที่ไม่มีขอบเขตพรมแดน เป็นความคิดที่เลื่อนลอยไปตามโมหะอวิชชา ยิ่งคิดก็ยิ่งมืดยิ่งหลง ในที่สุดก็มีความคิดที่ติดพันอยู่กับสังขาร เป็นความคิดที่เสริมความโลภ เสริมความโกรธ เสริมความหลง เสริมราคะตัณหาให้เกิดความรุนแรง ทำให้ใจเกิดความกำเริบขึ้นได้ ถ้าผู้มีสติปัญญาดีไม่ประมาทฉลาดรอบรู้ในสัญญา ก็เลือกจำเอาในสัญญาที่เป็นประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดความรู้จริงเห็นจริงในสัจธรรมได เลือกเอาในสัญญาส่วนนั้นมาเป็นองค์ประกอบในปัญญาได้ เช่น เรื่องคิริมานนท์ที่มีในพระสูตร ถ้าผู้ปฏิบัติได้ประวัติคิริมานนท์เมื่อไร ก็จะเข้าใจว่า สัญญาเป็นคู่กับปัญญาได้เป็นอย่างดี ถ้าไม่มีความกำหนดจดจำในสิ่งนั้นมา จะใช้ปัญญาพิจารณาไม่ตรงกับความหมายนั้นเลย เช่น อนิจจสัญญา การกำหนดดูในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามสรรพสังขารทั้งหลาย จะเป็นภายในภายนอก ใกล้ไกล หยาบละเอียด สิ่งที่มีวิญญาณครองและสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น เป็นไปตามธรรมชาติในตัวของมันเอง ทั้งที่ไม่อยากให้เป็นไปอย่างนั้น แต่ก็ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา ในร่างกายทุกส่วนย่อมมีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงในร่างกายจึงไม่มีใครสนใจที่จะนำมาพิจารณา เพราะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นก็ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นที่ใจได้ เช่น คนเฒ่าคนแก่ที่รู้เห็นได้ชัดทีเดียว เมื่ออายุมากขึ้นเท่าไร กำลังกายกำลังใจย่อมถดถอยอ่อนเพลียลง จะเดินไปมาในที่ไหนแห่งใดไม่สะดวกทั้งสิ้น แม้จะอยู่กินหลับนอนทุกอย่างจะเป็นอุปสรรคอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว ถึงจะเป็นไปตามธรรมชาติของสังขาร แต่ก็เป็นทุกข์ใจมิใช่น้อยเลย

    ผู้ภาวนาปฏิบัติแล้วไม่ควรนิ่งดูดาย ควรใช้ปัญญาพิจารณาดูให้รู้เห็นในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเสมอว่า ความไม่เที่ยงในสังขารร่างกายทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร ถ้าผู้มีอายุยังน้อย กำลังกายกำลังใจยังแข็งแรง เขาเหล่านี้จะไม่มีความสำนึกตัวได้ ในเมื่อใดมีอายุขัยมากขึ้น ทุกคนจะเกิดความรู้สึกเหมือนกัน ฉะนั้นถึงเรายังไม่เฒ่าแก่ ก็อย่าประมาทลืมตัว เมื่อเราไปพบเห็นคนเฒ่าคนแก่อยู่ในที่ใดก็ตาม เราไม่ควรมองข้ามในคนเฒ่าแก่นั้นๆ พยายามที่จะกำหนดจดจำเอาความเฒ่าแก่ของท่านเหล่านั้นมาเป็นกระจกเงาสะท้อนถึงความจริงที่ทุกคนต้องเป็นไปอย่างนี้

    แม้ตัวเราผู้กำลังดูในลักษณะท่าทางแห่งความทุกข์จากคนเฒ่าแก่นี้อยู่ ในวันต่อไปเมื่ออายุขัยเราเท่ากันกับท่านเหล่านั้น สังขารร่างกายเราก็จะแก่เฒ่าเหมือนกันกับท่านเหล่านั้นแน่นอน ใช้สติปัญญาพิจารณาคิดคำนึงถึงเหตุการณ์แก่เฒ่านี้มาเป็นอุบายสอนใจตัวเองอยู่เสมอ เพื่อเป็นอุบายธรรมสังเวชสลดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งไม่ควรปรารถนา แต่มาได้รับในสิ่งที่ไม่พึงพอใจ ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาพิจารณาตรึกตรองตามอาการของธาตุขันธ์ถึงความเฒ่าแก่อย่างนี้อยู่บ่อยๆ นับได้ว่าผู้นั้นมีความเพียรอยู่ในตัวหรือใช้ปัญญาพิจารณาในคนอื่นสัตว์อื่นภายนอกว่า เป็นความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ถ้าพิจารณาเป็นไปในลักษณะอย่างนี้อยู่ ก็ชื่อว่ามีความเพียรได้เช่นกัน เพราะเป็นการพิจารณาให้เกิดความเข้าใจให้รู้เห็นเป็นสามัญลักษณธาตุ เป็นธาตุขันธ์ที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน

    การใช้ปัญญาพิจารณาในอนิจจสัญญาให้เป็นไปในความทุกข์ ก็เป็นสิ่งต่อเนื่องกัน ความไม่เที่ยงอยู่ที่ไหน จะทำให้เกิดความทุกข์ในที่นั้น เป็นความทุกข์เกิดขึ้นเพราะความผิดหวังที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา นั่นเป็นความเข้าใจผิดมีความเห็นผิด มีแต่คิดที่ผิดไปจากธรรมชาติ อยากให้สิ่งที่ไม่เที่ยงได้เกิดความเที่ยงตามความตั้งใจ เมื่อไม่เป็นตามความตั้งใจ ก็เกิดความทุกข์ใจ เกิดความโศกเศร้าพิไรรำพันไม่เป็นอันกินอันนอน นั่นเรียกว่า ใจหลง ใจไม่รู้ในความเป็นจริง ฉะนั้นจงใช้ปัญญาอบรมใจอยู่เสมอว่า ในสรรพสังขารทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วก็ดับสลายไป ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีวิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครองก็ตาม ทุกอย่างย่อมเป็นไปอย่างนี้ ในเมื่อมีชีวิตอยู่ ก็อาศัยกันไป อยู่กันไป ให้ทำความเข้าใจแก่ตัวเองว่า สรรพสังขารทั้งหลายเราจะไม่ติดใจในสิ่งนั้นๆ หรือเราจะไปเห็นคนเจ็บป่วยไข้ในลักษณะใดก็ตาม ต้องใช้สัญญาจดจำในลักษณะอาการของคนเจ็บป่วยมาพิจารณาว่า คนป่วยอย่างนั้นย่อมมีความทุกข์ใจแน่นอน การเจ็บป่วยไม่มีใครต้องการ ถึงจะไม่ต้องการก็หนีไม่พ้น ทุกคนย่อมเป็นอย่างนี้

    แม้เราผู้ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่ก็จะเกิดความทุกข์เพราะการเจ็บป่วยนี้เช่นกัน บางคนถึงกับตาบอดหูหนวก แขนขาดขาขาด อวัยวะไม่สมประกอบอีกเป็นจำนวนมาก ทุกคนไม่ต้องการอยากจะเป็นเช่นนั้น แต่ก็เป็นไปแล้ว ในชาตินี้ถึงเราไม่เป็นอย่างนั้นก็ตาม ในเมื่อเราจะต้องมาเกิดในโลกนี้อยู่ ต้องพบในลักษณะอย่างนี้แน่นอน หรือผู้ที่สูญเสียจากสิ่งที่รักไปมีความทุกข์ใจอย่างไร เช่น สูญเสียสามีอันเป็นที่รัก สูญเสียภรรยาอันเป็นที่รักหรือสูญเสียลูกอันเป็นที่รัก ความทุกข์ใจที่เกิดจากความสูญเสียอย่างนี้ ผู้ที่ได้สัมผัสมาแล้วจะมีความรู้สึกว่า ทุกข์ใจเป็นอย่างมาก เช่น บุตรธิดาผู้ที่สูญเสียพ่อแม่อันเป็นที่รัก ลูกศิษย์ที่สูญเสียครูอาจารย์อันเป็นที่รัก ญาติมิตรอันเป็นที่รักสูญเสียไป ย่อมเกิดความทุกข์ใจทั้งนั้น หรือวัตถุสิ่งของที่มีค่าราคาแพงได้สูญเสียจากเราไป ความทุกข์ใจความไม่สบายใจจะเกิดขึ้นทันที นี่คือความทุกข์ใจเกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ความทุกข์เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรารัก

    ความทุกข์ใจย่อมมีเหตุเกิดขึ้นมากมาย เช่น คนอื่นมีกิริยาแสดงออกมาทางกายที่เราไม่ชอบใจในลักษณะต่างๆ หรือพูดส่อเสียดเบียดบังไม่เป็นความจริงในสิ่งใดก็ตาม ก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นทันที ฉะนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ใจได้ แม้แต่หน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบอยู่หรือทำอยู่ ก็ทำให้เกิดความเครียดเป็นทุกข์ได้เช่นกัน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากภายในคือ ร่างกายเราเองก็มีมากมาย ความทุกข์ที่เป็นเหตุจากภายนอกทำให้เราเป็นทุกข์ก็นับไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน ฉะนั้นการใช้ปัญญาพิจารณาทุกข์ที่เกิดจากความไม่เที่ยงนั้น จึงมีเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่เราจะเมินเฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไป แต่ถ้ามีความทุกข์มากไป ก็จะตัดสินกันด้วยน้ำตา แต่ถ้าทุกข์มากขึ้นไปกว่านี้ก็จะตัดสินด้วยการฆ่าตัวตาย นั่นคือผู้ที่ไม่มีสติปัญญาระบายอารมณ์ภายในใจ จึงทำให้เก็บกดทางอารมณ์ เมื่ออารมณ์ใหม่ อารมณ์เก่าทับถมกันมากขึ้น ก็จะเกิดความกดดัน เมื่อเกิดความกดดันมากขึ้น ก็จะทำให้ใจมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นอารมณ์แห่งความโลภ ก็อยากได้มากขึ้น ถ้าเป็นอารมณ์แห่งความโกรธ ก็จะอิจฉาพยาบาทเพื่อเอาชนะคนอื่นให้ได้ หรือฆ่ากันถึงตายไปได้ อารมณ์แห่งความหลงภายในใจ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความหลงมากขึ้น ทั้งหมดนี้ คือความเห็นผิดเป็นต้นเหตุและไม่มีสติปัญญาแก้ปัญหาให้แก่ตัวเองได้ จึงทำให้เกิดความทุกข์ใจ

    สัญญาอนัตตา ความจำใส่ใจอยู่เสมอว่า ร่างกายนี้ไม่เป็นตัวตน เพียงเป็นธาตุที่จิตครองร่างอยู่เท่านั้น การทำใจให้เป็นไปในลักษณะนี้ทำได้ยาก หรือทำไม่ได้เลย เพราะข้ามขั้นตอนมากเกินไป ที่จริงแล้วต้องผ่านขั้นตอนในอัตตา ต้องรู้เห็นในคำว่าอัตตาให้ชัดเจนก่อนว่า ส่วนประกอบในคำว่าอัตตามีอะไรบ้าง อัตตานั้นมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟมารวมกัน เรียกว่ารูปอัตตา ส่วนนามที่เป็นอัตตา ก็ต้องรู้เห็นในเวทนา รู้เห็นในสัญญา รู้เห็นในสังขาร รู้เห็นในวิญญาณ ทั้งสี่หมวดนี้รวมกันจึงเรียกว่า นามอัตตา จึงแยกอัตตาออกมาได้เป็นสองหมวดหมู่ เรียกว่า รูปธรรม และนามธรรม รูปธรรมก็มีธาตุประกอบกันสี่ธาตุ นามธรรมก็มีนามประกอบกันสี่อย่างเช่นเดียวกัน

    ฉะนั้นจึงสรุปได้ความว่า อัตตามีสองอย่างคือ อัตตาอย่างหยาบคือ รูปอัตตา มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รวมกันเป็นรูปอัตตาอย่างละเอียด คือ จิตอัตตา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นองค์ประกอบ ส่วนรูปอัตตานั้นขึ้นอยู่กับจิตอัตตาทั้งหมดและเป็นที่ยึดเหนี่ยวเกี่ยวเนื่องถึงกัน เหมือนกับว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จริงแล้วไม่ใช่ ในรูปอัตตาจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องเนื่องจากจิตสังขารเป็นตัวกำหนด ในเมื่อจิตสังขารสร้างรูปให้เกิดขึ้นได้แล้ว จิตสังขารก็มาหลงในธาตุสี่นี้อีก เป็นอันว่าจิตสังขารหลงสองขั้นตอน คือ หลงรูปและหลงนาม ที่เรียกว่า รูปธรรม นามธรรมนั่นเอง ทั้งสองอย่างจึงพูดรวมกันว่าอัตตา

    ฉะนั้น การทำลายอัตตาลงสู่อนัตตาได้นั้น จึงมีขั้นตอนสลับซับซ้อนกันมากทีเดียว ถ้าไม่มีสติปัญญาที่ฉลาดรอบรู้ ก็ยากที่จะทำลายอัตตาลงสู่อนัตตาได้ เพราะรูปกับนามมีความเกี่ยวโยงถึงกันทั้งหมด เหมือนกับว่าเป็นสายโซ่เส้นเดียวกัน ฉะนั้นจิตสังขารที่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณให้มารวมเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า ฆนะ แปลว่า ก้อน หรือแปลว่า ขันธ์ จึงเรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์นั่นเอง

    การทำลายอัตตาในขันธ์ห้า ต้องฝึกสติปัญญาไว้ให้พร้อม เพื่อจะแยกแยะขันธ์แต่ละขันธ์ออกมาให้ละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ให้เกิดความแยบคายหายสงสัยในคำว่าอัตตาไปในที่สุด มีเคล็ดลับอยู่เฉพาะตัวว่า ปัญญาที่จะนำมาทำลายอัตตาในขันธ์ห้านี้ ต้องเป็นปัญญาที่เกิดขึ้น มีขึ้นเฉพาะตัวเท่านั้น จึงจะทำลายฆนอัตตานี้ได้ ดังคำว่า หนามยอกเอาหนามบ่ง หมายความว่า เราเป็นผู้สร้างปัญหา เราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเราเอง จึงจะสมคำว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน หรือคำว่า ตนเตือนตนด้วยตนเอง ตนฝึกตน ตนสอนตน ความรู้ความฉลาด ความมีสติปัญญารอบรู้ในอัตตาว่า เป็นตัวตนอยู่ ต้องฝึกสติปัญญามาหักล้างในความเห็นผิดนี้ให้ได้ ถ้าไปยืมปัญญาจากผู้อื่นมาแก้ปัญหา ความเห็นผิดความเข้าใจผิดนี้จะแก้ไม่ได้เลย จึงเรียกว่าเคล็ดลับ จะเอาความรู้เอาปัญญาจากผู้อื่นมาแก้ปัญหาแทนสติปัญญาของตัวเองไม่ได้ ถ้าใครได้อ่านประวัติของพระโปฐิละ จะเข้าใจในเรื่องนี้ดี ดังคำว่า รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ รู้พอดีนั้นเป็นมัชฌิมา จึงเรียกว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หรือว่ารู้ถึงไหนให้เห็นจริงด้วยปัญญาตามนั้น

    อุบายที่จะฝึกปัญญาให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาในปริยัติเพื่อให้รู้แนวทางที่เรียกว่า สุตมยปัญญา ศึกษาให้เข้าใจในขั้นตอน ตามแนวทางของพระอริยเจ้าทั้งหลายว่า พระอริยเจ้าแต่ละท่านเริ่มต้นในการปฏิบัติอย่างไร ให้ศึกษาประวัติของท่านว่า เมื่อครั้งที่ท่านเป็นปุถุชนยังไม่รู้แนวทางภาวนาปฏิบัติ ท่านเหล่านั้นได้ศึกษาอุบายวิธีการปฏิบัติจากพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าด้วยอุบายอย่างไร ถ้าใครได้อ่านได้ศึกษาในมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงลำดับในขั้นตอนการปฏิบัติแล้วจะเกิดความมั่นใจว่า แนวทางปฏิบัติให้ถึงมรรคผลได้ จึงเริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบนี้ไป เมื่อได้เกิดความเห็นชอบด้วยปัญญาของตัวเองอย่างนี้ การดำริพิจารณาด้วยปัญญาตามความเป็นจริงในสัจธรรมต่างๆ ก็ต่อเนื่องกัน ในยุคนั้นสมัยนั้น ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่ในปริยัติ ยังไม่ได้แจกจ่ายตำราให้คนได้ศึกษา พุทธบริษัท ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจะรู้ธรรมะได้จากการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและฟังธรรมจากพระอริยเจ้าเท่านั้น การฟังธรรมนั้นมิใช่ว่าจะจำได้ทั้งหมด อาจจำได้ในหมวดธรรมคนละหมวดสองหมวดเท่านั้น เมื่อจำในหมวดธรรมได้แล้วจึงไปตีความขยายหมวดธรรมนั้นออกไปด้วยสติปัญญาของตัวเองให้ถูกต้องตามเหตุและผล ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผู้มีสติปัญญาดี มีความรอบรู้ที่ฉลาดเฉียบแหลม ก็ได้บรรลุธรรมในขณะนั้น จึงเรียกว่า อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่สติปัญญายังไม่พร้อม ก็ต้องฟังธรรมพิจารณาธรรมต่อไป จึงเป็นวิปจิตัญญูและเนยยะ ถึงจะรู้เห็นธรรมช้าไปบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้รู้เห็นธรรมในชาตินั้นก็ดีแล้ว นี่คืออุบายในการฝึกปัญญาในครั้งพุทธกาล

    ความเข้าใจในตำราเป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน

    การฝึกใจให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั้นมิใช่เป็นของง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบไปตามตำราเท่านั้น ตำราว่าอย่างนี้ก็ใช่ ตำราว่าอย่างนั้นก็ใช่ นี่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามตำรา มิใช่เป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบด้วยปัญญาเฉพาะตัวเองแต่อย่างไร ความเข้าใจในตำราเป็นเพียงปัญญาในสัญญาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ถ้ารู้เพียงเท่านี้ การภาวนาจะไม่ก้าวหน้าแต่อย่างใด และความเข้าใจของผู้ปฏิบัติว่า จะคอยให้ปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธินั้น เป็นความเข้าใจข้ามขั้นตอนเป็นอย่างมาก มันเป็นไปไม่ได้เหมือนกับเด็กที่เขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก มีความต้องการอยากจะได้ใบประกาศนียบัตร หรือใบปริญญานี้ฉันใด ใจที่ยังโง่เง่าไม่เข้าใจว่าสติปัญญาเป็นอย่างไร ความไม่เข้าใจในหลักสัจธรรมที่เป็นจริง แต่อยากให้มีปัญญาเกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้ละในความคิดนี้เสีย แล้วมาฝึกปัญญาของตัวเองเสียใหม่ จึงจะเป็นไปด้วยความถูกต้องชอบธรรม



    อุบายฝึกปัญญา



    ในครั้งพุทธกาล ผู้ที่ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เป็นผู้ได้บรรลุมรรคผล ท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าแล้ว จดจำเอาหมวดธรรมนั้นมาฝึกปัญญาของตัวเอง เป็นผู้รู้จักคิดพินิจพิจารณาตรึกตรองให้เป็นไปในเหตุและผล ความรู้ที่เรียนรู้มาจากตำรานั้น เหมือนกับน้ำมันดิบที่ดูดขึ้นมาจากพื้นดินจะนำไปใช้กับเครื่องยนต์อะไรไม่ได้ ต้องนำมากลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง จำนำไปใช้กับเครื่องยนต์ได้ นี้ฉันใด ความรู้ที่ได้ศึกษาจากตำรามาจะเอาไปละกิเลสตัณหาอวิชชายังไม่ได้ ต้องใช้ปัญญาพิจารณากลั่นกรองให้เกิดความฉลาดเฉพาะตัวเองก่อน จึงนำไปประกอบในการปฏิบัติภาวนาจึงจะได้ผล แล้วนำไปแยกแยะในความเห็นที่เป็นอัตตาจึงจะเกิดความแยบคาย ละความเข้าใจในความยึดถือธาตุสี่ขันธ์ห้า ว่าเป็นอัตตาตัวตนได้เป็นอย่างดี การพิจารณาแยกแยะในรูปขันธ์นามขันธ์ ต้องแยกพิจารณาเป็นหมวดๆ แต่ละหมวดต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้ละเอียด จึงจะเกิดความแยบคายหายสงสัยในความเข้าใจผิดนี้ไปได้ การพิจารณาในธาตุสี่ต้องเน้นหนักในธาตุดินให้มาก ส่วนธาตุอื่นๆ ก็ให้พิจารณาระดับรองลงมาก็ได้ ใจที่หลงในอัตตาตัวตนก็มาหลงในธาตุดินนี้เป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นจึงได้หลงในธาตุอื่นๆ ต่อไป การพิจารณาธาตุใดก็ให้เป็นไปตามที่เรากำหนดเอาไว้ เช่น พิจารณาให้เป็นไปในความไม่เที่ยง พิจารณาให้เป็นไปในความทุกข์ พิจารณาให้เป็นไปในอนัตตา พิจารณาให้เป็นไปในความเป็นโรคภัย พิจารณาให้เป็นไปในธาตุอาศัยชั่วคราว พิจารณาให้เป็นไปในอสุภะความสกปรกโสโครก พิจารณาให้เป็นไปในเรื่องกายกับใจจะพลัดพรากจากกัน พิจารณาให้เป็นไปในป่าช้าผีดิบ การพิจารณาธาตุสี่ทั้ง ๘ อุบายนี้ ให้พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เพื่อให้ใจเกิดความเคยชินในการใช้ปัญญา เมื่อพิจารณาแต่ละอย่างมีความชำนาญแล้วจึงเอามาพิจารณารวมกันในภายหลัง

    อุบายการพิจารณานั้น จะชี้แนะเอาไว้เพียงย่นย่อ ต่อนั้นไปให้ท่านใช้ปัญญาของตัวเอง เช่น พิจารณาธาตุดินว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ให้ตั้งสมมติฐานจินตนาการขึ้นมาจากวัยเด็ก หรือสมมติฐานจินตนาการขึ้นมาตั้งแต่เป็นก้อนเลือดอยู่ในท้องแม่มาก็ได้ แล้วให้เรียงลำดับมาตามเหตุปัจจัยว่า แต่ละวัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ให้จินตนาการออกมาตามเหตุปัจจัยนั้นๆ ว่าวัยเด็กมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร ถ้านึกไม่ได้ ก็ให้คาดการณ์ไปตามวัยเด็กอื่นๆ ที่เราเห็นอยู่มาประกอบการพิจารณาได้ เพราะวัยเด็กทั่วๆ ไป กับวัยที่เราเป็นเด็กก็มีพฤติกรรมเหมือนกัน เมื่อเราเป็นเด็กโตขึ้นมาแล้วพอจะจดจำอะไรได้ ก็ให้เรียบเรียงธาตุขันธ์ของวัยนั้นๆ ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงเป็นอย่างไร จนถึงวัยหนุ่มสาววัยชราว่า ธาตุขันธ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ให้นำมาพิจารณา ให้เรียงลำดับในความไม่เที่ยงของร่างกายมาจนถึงปัจจุบัน และพิจารณาต่อไปว่า อายุของธาตุขันธ์เมื่อล่วงเลยไปหลายปี ย่อมมีการแก่เฒ่า ถ้าเรายังไม่แก่เฒ่า ก็ให้เอาคนที่แก่เฒ่ามาเป็นพยานบุคคล เป็นพยานหลักฐานยืนยันว่า เมื่ออายุเราแก่ถึงเพียงนั้น ธาตุขันธ์เราก็จะแก่เฒ่าเหมือนกับท่านเหล่านั้น พฤติกรรมของคนเฒ่าคนแก่เป็นอย่างไร เราก็จะเป็นไปอย่างนั้น การใช้ปัญญาพิจารณานั้น คิดพิจารณาได้ทั้งอดีต พิจารณาได้ในปัจจุบันและพิจารณาได้ในอนาคต ไม่เหมือนกับการทำสมาธิ การทำสมาธินั้น ให้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นหลัก อดีต อนาคตตัดทิ้งไป นี่เป็นวิธีแนะแนวทางในการใช้ปัญญาพิจารณาธาตุให้เป็นไปในความเป็นจริง

    ในขั้นนี้จะได้ชี้แนะในการใช้ปัญญาพิจารณาความทุกข์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกาย จะอธิบายไว้เพียงย่นย่อ พอเป็นแนวทางให้ท่านได้เข้าใจ ที่จริงแล้วร่างกายไม่มีความทุกข์แต่อย่างใด แต่ดูผิวเผินแล้วเหมือนกับร่างกายเป็นทุกข์ ที่จริงแล้วความทุกข์ของร่างกายเพียงเป็นสื่อของใจที่เชื่อมโยงถึงร่างกายเท่านั้น หรือเป็นทุกข์เพราะใจครองร่างกายนี้อยู่ ถ้าใจปราศจากร่างกายนี้ไปแล้ว ความทุกข์ของร่างกายจะไม่มีเลย จะเอาร่างกายนี้ไปสับไปฟันเอาไฟเผา ร่างกายก็ไม่มีความทุกข์เดือดร้อนแต่อย่างใด ในขณะที่ใจยังครองร่างกายนี้อยู่ ความทุกข์ย่อมเป็นสื่อถึงกันทั้งกายและใจ เหตุปัจจัยในร่างกายที่จะนำไปเป็นทุกข์ทางใจนั้นมีมาก เป็นทุกข์เพราะธาตุขันธ์เกิดความวิบัติภายใน เป็นไปตามอนิจจังความไม่เที่ยง ก็เป็นสื่อให้เกิดความทุกข์ถึงใจ หรือเนื่องจากเหตุปัจจัยภายนอกมากระทบร่างกาย แล้วเป็นสื่อกระทบถึงใจ

    ฉะนั้น ความทุกข์จึงมีใจเป็นหลัก ร่างกายจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วยวิธีใด ทำให้แขนขาด ขาขาด ตาบอด หูหนวก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูกัด แมลงต่อยอย่างไรก็ตาม ความทุกข์นั้นจะเป็นสื่อเข้าหาใจทั้งหมด ความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายเป็นต้นเหตุนั้นมีมาก มีทั้งเหตุปัจจัยเกิดขึ้นจากภายใน มีทั้งเหตุปัจจัยเกิดขึ้นจากภายนอก เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความทุกข์ทางกายและใจนั้นมีมาก ให้พิจารณาดูทั้งเราทั้งเขาว่า ทุกคนมีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ใครจะทุกข์ในเหตุปัจจัยอะไรนั้น ไม่สามารถจะพรรณนาให้จบสิ้นได้ ถ้าดูลักษณะในการกระทำและการแสดงออกทางกายวาจาจะรู้ได้ทันทีว่า ผู้นั้นมีปัญหาในความทุกข์ ส่วนความทุกข์ที่มีกับบุคคลอื่น ก็นำมาพิจารณาได้ ในจุดสำคัญต้องการให้เรารู้ทุกข์ เห็นทุกข์ภายในตัวเราเอง ส่วนพิจารณาทุกข์ของผู้อื่นเป็นอุบายประกอบในการน้อมเข้ามาหาตัวเราให้รู้เห็นว่า ทั้งเราและเขามีความทุกข์เหมือนกัน

    การพิจารณาร่างกายก็ให้รู้ว่าร่างกายเพียงเป็นที่พักอาศัยของใจชั่วคราวเท่านั้น ที่พักของใจนี้มิใช่ว่าจะมาพักในร่างกายมนุษย์นี้เท่านั้น ถ้าสร้างกรรมไม่ดีมา อาจจะได้ไปพักอยู่กับร่างกายของหมู่สัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ ฉะนั้นใจจึงไม่มีที่อยู่อันแน่นอน จึงเป็นใจเร่ร่อนพเนจรไปตามกระแสของกรรม จะไปพักพิงอิงอาศัยอยู่กับภพใดชาติใดไม่คงที่ นั่นก็เพราะกรรมจะเป็นตัวกำหนดพาไปเอง ในชาตินี้เป็นชาติที่โชคดีน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ภพชาติเกิดมาเป็นมนุษย์และโชคดีที่ได้มาเกิดในช่วงที่มีพระพุทธศาสนา ที่เกิดมาในชาติอดีตนั้น อาจจะเกิดผิดพลาดได้ พระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้แล้ว เราอาจจะไปตกอยู่ในนรกขุมไหนก็ไม่รู้ หรือไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้

    ถึงอย่างไรก็ตามชาตินี้เรามีโอกาสดีแล้ว ถึงจะมาอาศัยร่างกายนี้ชั่วคราวก็ไม่เป็นไร แต่จะอาศัยร่างกายนี้สร้างความดีให้เต็มที่ ในช่วงนี้พระธรรมวินัยยังมีความอุดมสมบูรณ์ ครูอาจารย์ผู้ที่ท่านมีความฉลาดรอบรู้ยังมีอยู่ ร่างกายเราก็มีความพร้อมในมนุษย์สมบัติ เราจะบำเพ็ญกุศลได้อย่างเต็มที่ มีการให้ทานรักษาศีลให้เต็มความสามารถ เฉพาะการภาวนาปฏิบัติถือว่าเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นอุบายวิธีฝึกใจให้เป็นโยคาวจร อันจะข้ามล่วงพ้นไปจากภพทั้งสาม การที่จะข้ามพ้นไปได้ใจจะไม่หลงในภพชาติที่เกิด เพราะภพชาตินั้นไม่ถาวรมั่นคง ก่อนที่ร่างกายนี้จะสูญสลายตายไป ใจจะออกจากร่างกายนี้ไป จะได้ตักตวงเอาบุญกุศล เอาร่างกายประกอบในการภาวนาปฏิบัติให้เต็มที่ นั่นเรียกว่าผู้ไม่ประมาทในชีวิต อีกไม่กี่วันใจกับร่างกายก็จะพลัดพรากจากกันแน่นอน

    ร่างกายนี้มีความสำคัญเฉพาะโมหบุรุษ โมหสตรี ที่จะอยู่เป็นคู่สร้างโลกอีกต่อไป ไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใดที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นถึงพระนิพพานพร้อมกันได้ เพราะนิสัย วาสนา สติปัญญาของมนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน จึงได้ตกค้างอยู่ในโลกนี้มาจนถึงปัจจุบัน หรือจะตกค้างต่อไปในภพชาติหน้านานเท่าไรไม่มีใครรู้ได้ เหตุที่มนุษย์ตกค้างอยู่ในโลกนี้มายาวนาน ก็เพราะคนสองคนเป็นต้นเหตุ นั่นคือ ผู้หญิงและผู้ชายที่เกาะถ่วงกันอยู่ไม่ยอมปล่อยวางซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้ารู้แนวทางที่สลัดผู้หญิงหนีไปได้ พระองค์ก็ได้หลุดพ้นไปจริงๆ วิธีสลัดให้คนทั้งสองได้แยกทางกันนั้นไม่ยากเลย แต่จะยอมปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่เท่านั้น ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็สลัดออกจากกันไม่ได้ ในครั้งพุทธกาลมีพุทธบริษัททั้งหลายได้ปฏิบัติตาม จึงได้สลัดทิ้งจากผู้หญิง ได้สลัดทิ้งจากผู้ชายนี้ไปมากมายทีเดียว นั่นคือการพิจารณาอสุภะในร่างกาย เพราะร่างกายนี้เป็นสื่อให้มนุษย์หลงกันได้ ไม่ว่าแต่มนุษย์จะหลงมนุษย์กันเอง จำพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกประเภทก็หลงกันได้ จึงเป็นธรรมชาติของหมู่สัตว์โลก ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ วิธีการยั่วยุให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหลงในตัวเองนั้น ย่อมทำได้ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งไม่หลงตามแล้ว วิธีการยั่วยุต่างๆ ก็ไม่มีความหมายอะไร ฉะนั้นการพิจารณาอสุภะ ความไม่สวยไม่งาม ความสกปรกโสโครก ในร่างกายตนและร่างกายคนอื่น จึงเป็นวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดความหลง เป็นวิธีป้องกันไม่ให้ใจเกิดความรุ่มร้อนในราคะตัณหา ผู้ปฏิบัติภาวนาควรฝึกปัญญามาพิจารณาในอสุภะนี้ให้ได้ ถึงจะไม่เบื่อหน่ายเด็ดขาดและสลัดทิ้งไปในชาตินี้ได้ แต่จะเป็นนิสัยเป็นปัจจัยในชาติหน้า ถ้าพิจารณาอสุภะความไม่สวยงามในร่างกายนี้อยู่บ่อยๆ ไม่แน่อาจจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งก็เป็นได้



    ความตายเป็นสิ่งที่แน่นอน



    อุบายการพิจารณาความตาย ก็เป็นอุบายต่อเนื่องจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ฉะนั้น การพิจารณาความตาย หมายถึงให้รู้จักความสิ้นสุดของชีวิต ถ้าคิดดูเพียงผิวเผินเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว คิดเอาเองว่า เมื่อตายไปแล้วจะอยู่อย่างไร กินนอนอย่างไร มีใครพอจะรู้จักบ้างไหม ความสะดวกสบายความอบอุ่น จะเหมือนกับอยู่กับพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงนี้หรือไม่ ถ้าคิดไปในทำนองนี้จะเกิดความกลัวตายขึ้นมาทันที ฉะนั้นจึงเปลี่ยนวิธีการคิดเสียใหม่ โดยใช้ปัญญาปรับความเข้าใจในตัวเองว่า เรามาเกิดในโลกนี้เป็นเพียงมาท่องเที่ยวชั่วระยะเวลาอันสั้น ไม่กี่วันเราก็หนีจากที่นี้ไป หรือเรามาเที่ยวชมงานมหรสพ งานนี้มีคนเข้ามาดูมาชมเป็นจำนวนมาก มีความสนุกร่าเริงอย่างไร เรามาสังเกตเหตุการณ์ดูเท่านั้น

    เมื่อเข้ามาดูแล้วไม่เป็นไปตามที่เราคาดคิดไว้เลย ทำไมโลกนี้จึงมีความยุ่งเหยิงถึงขนาดนี้ ฆ่ากันตีกันตายไปไม่เว้นแต่ละวัน คนที่เข้ามาในงานนี้มีนักปราชญ์จำนวนน้อย แต่คนอันธพาลมีในงานี้มากมาย ไม่มีหิริ ความละอายต่อบาปกรรมที่ทำลงไป โอตตัปปะ ไม่เกรงกลัวต่อบาปที่จะตามสนอง ผัวฆ่าเมีย เมียฆ่าผัว พ่อแม่ฆ่าลูก ลูกฆ่าพ่อแม่ หรือเรื่องอื่นๆ มีมากกว่านี้ ให้นำมาคิดเพื่อเป็นคติสอนใจ เหมือนกับว่าเรามีภัยอยู่รอบตัว จะหาความสุขสบายในโลกนี้ไม่มีเลย ถึงชีวิตเราจะสิ้นสุดตายในวันไหน ก็จะเป็นไปเหมือนกับความฝัน เราเคยเกิดเคยตายมาแล้วในอดีตจนนับชาติไม่ถ้วนประมวลไม่ได้ ชาตินี้จะตายวันไหนก็ไม่รู้ ถ้ายังไม่ตาย เราจะบำเพ็ญกุศลต่อไป การภาวนาปฏิบัติก็ไม่ลดละ การไหว้พระสวดมนต์ก็ไม่ท้อถอย จะสร้างความดีต่อไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ให้ตั้งใจว่าเราจะมาดูความจริงของโลกเท่านั้น

    การพิจารณาในอนัตตา ก็ใช้ปัญญาหักล้างในความเห็นว่าอัตตา ในธาตุสี่นั่นเอง ความเข้าใจเดิมว่าเป็นอัตตา เมื่อพิจารณาให้ถึงที่สุดแล้ว ความเข้าใจเดิมก็หมดสภาพไป ไม่มีธาตุส่วนไหนเป็นอัตตาตัวตน เริ่มต้นจากการแยกธาตุทั้งสี่ออกจากกัน ธาตุดินก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ธาตุลมธาตุไฟก็แยกออกไปคนละส่วน แล้วเอาแต่ละส่วนมาแยกออกเป็นปลีกย่อยออกไป

    ถ้าธาตุดินก็แยก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมอง

    ถ้าเป็นธาตุน้ำก็แยกออกเป็นน้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำมันไขข้อ น้ำมูตร

    ส่วนธาตุลมและธาตุไฟนั้นก็ให้พิจารณาไปตามอาการ เช่น ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามร่างกาย ลมหายใจเข้าออก ธาตุไฟเป็นธาตุที่ทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย สองธาตุนี้จะพิจารณาทีหลังก็ได้

    การพิจารณาที่สำคัญคือ ธาตุดินที่เป็นธาตุหลัก การที่เข้าใจว่าเป็นคนก็คือธาตุดินนี่เอง ฉะนั้นจงยกเอาแต่ละส่วนของธาตุดินขึ้นมาพิจารณาให้เป็นอุบายสอนใจว่าตรงไหนเป็นอัตตาตัวตนของเรา จงทำความเข้าใจในตัวเองว่าไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเรา จะพิจารณาธาตุน้ำก็ให้เป็นไปเหมือนกับธาตุดิน ให้พิจารณาบ่อยๆ ให้ทำความเข้าใจว่า ไม่มีธาตุส่วนไหนเป็นอัตตาตัวตน ให้ใจเกิดความรู้สึกว่า เบื่อหน่ายไม่ยึดถือในตัวตนจริงๆ หรือจะใช้วิธีกำหนดในสมมติของร่างกายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ แล้วสมมติเอาไฟเผาให้เหลือเพียงกระดูก แล้วสมมติเอากระดูกบดให้ละเอียดผสมกับธาตุดินธาตุน้ำไป ให้สมมติทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ใจจะค่อยๆ รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริงไปได้

    การใช้ปัญญาพิจารณาตนในส่วนที่เป็นนามคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การพิจารณาในนามสี่อย่างนี้ ต้องฝึกจิตให้เป็นสมาธิ มีความตั้งมั่นอยู่เสมอ เพราะเป็นนามส่วนละเอียดหรือเรียกว่าอาการของใจ ต้องใช้ปัญญาขั้นละเอียดจึงจะรู้เห็นอารมณ์ของใจได้ ในครั้งแรกก็พิจารณาในลักษณะหยาบๆ ไปก่อน ต้องขยันทำสมาธิและขยันในการใช้ปัญญาพิจารณา ตั้งใจปฏิบัติอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ก็จะค่อยเกิดความละเอียดไปเอง

    การพิจารณาเวทนาว่าเป็นตนนั้น ต้องรู้จักจิต เพราะเวทนาเป็นอาการของจิต หรือเรียกว่าอารมณ์ของจิต เกิดขึ้นจากจิต จิตเป็นอย่างไร เวทนาก็เป็นอย่างนั้น เวทนาอยู่ไหนจิตก็อยู่ในที่นั่น คำว่า เวทนาคือ อารมณ์ที่จิตเสวยอยู่ อารมณ์ของจิตนี้มีสามประเภท ได้แก่ สุขารมณ์ ทุกขารมณ์ และอุเบกขารมณ์ หรือเรียกว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนานั่นเอง เวทนานี้ต่อเนื่องกันกับการสัมผัสในอายตนะคือ ตาสัมผัสรูป หูสัมผัสเสียง จมูกสัมผัสกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส โผฏฐัพพะคือ กายสัมผัสกับสิ่งต่างๆ หรือทั้งหมดเรียกว่า กามคุณห้านี้ เป็นองค์ประกอบให้เกิดเวทนา คืออารมณ์ของจิต การสัมผัสในกามคุณห้านี้มีมากมาย มีทั้งอารมณ์เก่ามีทั้งอารมณ์ใหม่ทับถมกัน มีทั้งอารมณ์ที่ชอบใจ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ และอารมณ์กลางๆ อารมณ์ของจิตนี้จะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งมีความรุนแรงในอารมณ์ที่ทุกข์ใจ บางครั้งมีความรุนแรงในอารมณ์ที่สุขใจ บางครั้งเฉยๆ ไม่ดีใจไม่เสียใจกับสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น



    ปัญญาพิจารณาในเวทนา



    อารมณ์ของจิตนี้มีความละเอียดอ่อนมาก จึงยากที่จะรู้เท่าทันได้ทุกขณะจิต แต่ก็ไม่เหลือวิสัยของผู้ที่มีสติปัญญาที่ดี ถึงจะมีสติระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ของจิตอยู่ก็ตาม ก็เป็นเพียงรู้เท่าในขณะที่เราตั้งใจอยู่เท่านั้น ถ้าออกจากที่ภาวนาไปทำกิจการงานอย่างอื่น การระลึกรู้ในการเกิดดับในอารมณ์ของจิตก็ระลึกรู้ไม่ทันอยู่นั่นเอง มีการเผลอไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เรื่อยไป อารมณ์ของจิตนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีสิ่งมากระทบจิตต้องหวั่นไหวไปตาม ถ้าเป็นสิ่งที่ชอบใจก็เกิดอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ของสุขเวทนา มีความรักมีความยินดีพอใจในอารมณ์ประเภทนั้นไป

    ถ้าสิ่งที่ไม่ชอบใจก็เกิดอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ของทุกขเวทนา มีความทุกข์ใจเสียใจเดือดร้อนใจไปตามอารมณ์นั้นๆ ถ้าทำใจให้เป็นกลางได้ คือไม่ชอบใจในสิ่งใดและชอบใจในสิ่งใด อารมณ์ที่จะทำให้ใจเกิดความหวั่นไหวในลักษณะใดก็ตาม ใจไม่เกิดความยินดียินร้ายในอารมณ์เหล่านั้น เรียกว่าอุเบกขาเวทนา นี่เป็นธรรมดาของจิตที่มีกิเลสตัณหา ย่อมมีความหวั่นไหวในสิ่งที่รักที่ชังอยู่เสมอ ถึงจะมีสติกำหนดรู้อารมณ์ของจิตอยู่ ก็สักว่ารู้เท่านั้น เมื่อมีสติระลึกรู้ในอารมณ์ประเภทนี้อยู่ อารมณ์นี้ก็ดับไป แล้วเกิดอารมณ์ประเภทใหม่ขึ้นมา แล้วกำหนดสติรู้อีกอารมณ์นั้นก็ดับไปอีก การมีสติระลึกรู้ในอารมณ์ของจิตนี้ ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ เมื่อใดยังมีชีวิตอยู่ อายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ย่อมออกไปสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นที่จิตตลอดไป กิเลสตัณหาก็เป็นพี่เลี้ยงให้ใจเป็นไปในความรักความยินดีในกามคุณอยู่ ถึงจะมีสติระลึกรู้ในอารมณ์เพียงอย่างเดียวนั้น จะแก้ปัญหาของใจไม่ได้เลย การแก้ปัญหาของใจก็ต้องพร้อมด้วย สติ พร้อมด้วย ปัญญา ทำงานร่วมกันเรียกว่าสติปัญญา เพียงมีสติอย่างเดียว จะเอาไปละกิเลสตัณหาละโมหะอวิชชาให้หมดไปจากใจนั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงพร้อมด้วยสติปัญญาเป็นตัวแก้ปัญหา

    วิธีการปฏิบัติในเวทนาคือ อารมณ์ของใจนั้นต้องมีอุบายสองอย่างคือ มีสติรู้เท่าทันในอารมณ์และมีปัญญาสอนใจ ทั้งสองอุบายนี้ต้องทำงานประสานกัน เหมือนกับมือที่จับมีดไว้อย่างมั่นคง ฟันลงไปให้ตรงเป้าหมายที่ต้องการ ให้ขยันสับฟันอยู่บ่อยๆ จนกว่าของสิ่งนั้นจะขาดไป ถ้าฟันไม่ถูกจุดไม่ถูกเป้าหมาย ฟันจนเหนื่อยก็ไม่มีประโยชน์อะไรนี้ฉันใด ถึงจะมีสติระลึกรู้ในอารมณ์ของใจนั้นๆ อยู่ แต่ไม่มีปัญญาพิจารณาในการอบรมใจสอนใจให้รู้เห็นทุกข์โทษภัยในอารมณ์นั้นๆ ก็ไม่มีผลที่สมบูรณ์

    ถึงจะมีปัญญาสอนใจอบรมใจอยู่บ้าง แต่อบรมไม่ถูกกับอารมณ์ของใจ ก็ไม่ได้ผลดีอะไร หรือเหมือนกับคนไข้กินยาไม่ถูกกับโรค ถึงกินยาอยู่เป็นประจำก็ทำให้โรคนั้นหายไปไม่ได้ หรือรู้ว่าโรคเป็นอย่างนี้อยู่ แต่ไม่มียาที่จะกิน โรคนั้นก็ไม่หายได้เช่นกัน นี้ฉันใด ถึงจะมีสติระลึกรู้ในอารมณ์ของใจ แต่นำปัญญามาอบรมใจไม่เป็น ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในเหตุของอารมณ์ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ใจก็จะมีความหลงสร้างอารมณ์ในเวทนาตลอดไป เป็นทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนาไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่จะก่อให้เกิดเป็นสมมติสังขารปรุงแต่งต่อไป

    ฉะนั้นการปฏิบัติภาวนาในเวทนา ต้องมีความสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา ถ้ามีเพียงสติอย่างเดียว แต่ปัญญาไม่พร้อม การปฏิบัติภาวนาก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เหมือนกับปรบมือข้างเดียว เสียงจะไม่เกิดขึ้น หรือต่อไฟสายเดียวก็ไม่เกิดความสว่างในหลอดไฟนั้นๆ ได้เช่นกัน

    มีต่อ...
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัญญาพิจารณาในสัญญา



    สัญญาที่เป็นนามของจิต หรืออาการของจิตก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ทำหน้าที่ในลักษณะหาข้อมูลเพื่อเป็นส่วนของความจำ ข้อมูลที่ได้ก็มาจากสมมตินั้นเอง สัญญาหมายถึงความจำ ถ้าจำในภาคปริยัติในหมวดธรรมต่างๆ ก็เป็นสัญญาความจำในภาคปริยัติไป ถ้าจำในหมวดวิชาการในทางโลกตามหลักการต่างๆ ก็เป็นสัญญาความจำในทางโลกไป ในที่นี้จะอธิบายความหมายการภาวนาปฏิบัติ เพราะสัญญาความจำในภาคปฏิบัตินั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง มีความละเอียดลุ่มลึก ผิดจากความจำธรรมดา

    การภาวนาปฏิบัตินั้น ถ้าไม่มีสัญญาความจำก็ทำอะไรไม่ได้ สติก็ระลึกรู้อะไรไม่ได้ ปัญญาพิจารณาอะไรไม่ได้เพราะไม่มีข้อมูลจากสัญญา แต่สัญญานั้นมีทั้งคุณทั้งโทษ จะเป็นคุณเป็นโทษอย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับความโง่ของใจและความฉลาดของสติปัญญา เหมือนกับงูพิษ ถ้าไม่รู้เป็นโทษอย่างไร อาจปล่อยให้งูกัดตายไปก็ได้ ถ้าผู้มีความฉลาดก็สามารถรีดเอาพิษงูนั้นมาทำเซรุ่มแก้พิษงูได้ นี้ฉันใด สัญญาความจำเป็นฉันนั้น ถ้าใจโง่อาจจะไปจำในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาทำให้ใจมีความลุ่มหลงเกิดความรักความชอบ ทำให้ใจเกิดราคะตัณหาหลงระเริงในฝ่ายต่ำ ทำให้ใจว้าวุ่นขุ่นมัวเร่าร้อนเป็นทุกข์ใจได้ หรือเกิดความหึงหวงในรูปเสียงนั้นจนลืมตัว เกิดตีกัน ฆ่ากันตายไปเพราะใจโง่นั้นเอง ถ้าใจมีสติปัญญาที่ฉลาดรอบรู้ เมื่อจำรูปนั้นแล้วจะมีวิธีแปรสภาพรูปนั้นออกไปเป็นอสุภะ พิจารณาให้เป็นไปในความสกปรกโสโครก ไม่มีรูปร่างกายส่วนไหนที่หอมหวานชวนชม ทุกส่วนของร่างกายจะเป็นซากศพที่ตายไปทั้งหมด ที่สามารถเดินไปที่ไหนได้ ก็เพราะใจครองร่างอยู่เท่านั้น จะเรียกว่าซากศพเคลื่อนที่ก็ไม่ผิด ฉะนั้นสัญญาความจำ จึงเป็นสื่อเชื่อมโยงต่อกันกับปัญญา เพื่อจะได้พิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง จึงเป็นสัญญาประกอบในการภาวนาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

    อีกประการหนึ่ง อุบายการใช้สัญญาจำในสิ่งที่ไม่เที่ยงมาพิจารณาด้วยปัญญา ให้จดจำเอาความทุกข์ของคนและสัตว์มาพิจารณา ว่ามีความทุกข์เป็นอย่างไร ให้น้อมเข้ามาหาตัวเองว่า เราก็จะมีความทุกข์เหมือนกันกับเขา ชีวิตเขาเป็นทุกข์อย่างไร ชีวิตเราก็จะเป็นทุกข์อย่างนั้น หรือไปจำเอาความเกิด ความแก่ ความเจ็บป่วยไข้และความตายของคนอื่นมาพิจารณาว่า การเกิดแก่เจ็บตายเป็นผลงานของกิเลสตัณหา เป็นผลงานของโมหะอวิชชา จึงพาให้เวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภพทั้งสามนี้ไมมีที่สิ้นสุด โอปนยิโก ให้น้อมเข้ามาหาตัวเราว่า เราก็เหมือนเขา เ ขาก็เหมือนเรา เมื่อใดยังมีกิเลสตัณหาเป็นเชื้อฝังใจนี้อยู่ การเกิดแก่เจ็บตายก็จะมีต่อไป ฉะนั้นสัญญาความจำ จึงเป็นตัวเชื่อมโยงในขันธ์ตัวนี้ทั้งหมด จำในการสัมผัสของอายตนะภายใน จำในการสัมผัสของอายตนะภายนอก จำเอารูปหยาบ รูปละเอียด รูปที่ถูกใจและไม่ถูกใจ จึงกลายเป็นธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ฝังใจ จึงเรียกว่า เวทนา คือใจเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข อารมณ์ที่เป็นทุกข์หรืออารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ คืออุเบกขานั่นเอง

    ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นดาบสองคม เหมือนกับอาวุธมีดปืนที่มีอยู่ ถ้าฉลาดใช้งานก็มีประโยชน์ แต่ถ้าคนพาลสันดานชั่วนำไปใช้ก็จะนำโทษทุกข์ภัยมาให้แก่ตัวเองได้ นี้ฉันใด สัญญาความจำก็ฉันนั้น ถ้าผู้มีสติปัญญาที่ดี มีความฉลาดรอบรู้ ก็สามารถใช้สัญญาความจำให้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าสติปัญญาไม่ดีไม่มีเหตุผล ไปหาจดจำในสิ่งที่จะก่อให้เกิดกิเลสตัณหา จะนำพาให้เกิดความเสื่อมความหายนะ ความเศร้าหมอง ทำให้ใจมีความฝักใฝ่ไปในทางที่ต่ำ จะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก ฉะนั้น สัญญาจึงจะเป็นตัวเชื่อมโยงถึงสังขารและวิญญาณ ดังจะได้อธิบายต่อไป



    ปัญญาพิจารณาในสังขาร



    สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งเรียกว่า สังขารจิต สังขารการปรุงแต่งนี้ จะปรุงแต่งเองโดยไม่มีข้อมูลอื่นมาประกอบนั้น จะปรุงแต่งไม่ได้เลย เหมือนกับปากกาที่ไม่มีที่รองรับให้เขียน จะเป็นตัวหนังสือขึ้นไม่ได้ หรือมีปากกามีกระดาษรองรับอยู่แล้วก็ตาม ถ้าขาดการศึกษาอ่านหนังสือไม่ได้เขียนไม่เป็นแล้ว ก็ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน นี้ฉันใด สังขารการปรุงแต่งนั้น ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดสมมติมาประกอบ ก็ไม่มีความหมาย

    ฉะนั้น การปรุงแต่งต้องมีสมมติเป็นหลักยืนตัว เกิดความยินดีพอใจในสมมตินั้นๆ แล้วจึงปรุงแต่งในสมมตินั้นไป เช่น มีความพอใจยินดีในรูป ก็เอารูปนั้นมาสมมติ ถึงรูปนั้นจะล่วงเลยผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม เมื่อใจยังมีความยินดีอยู่กับรูปนั้นอยู่ ก็รื้อฟื้นขึ้นมาปรุงแต่งได้ สมมติขึ้นมาให้เป็นรูปร่างหน้าตากิริยาท่าทางในลักษณะต่างๆ หรือจำเสียงที่เคยพูดกันในเรื่องใด อารมณ์ในเวทนาที่สัญญาจำไว้อย่างไร ใจก็สมมติปรุงแต่งตามเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเป็นเรื่องของความรัก ก็จะปรุงแต่งตามบทบาทในความรักนั้นๆ อย่างเมามันทีเดียว ที่เรียกกันว่าสร้างวิมานบนอากาศวาดภาพด้วยจินตนาการ จินตนาการให้เป็นอย่างนั้น จินตนาการให้เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องกัน จินตนาการไป เพลิดเพลินร่าเริงในสมมติไป วันหนึ่งคืนหนึ่งเหมือนกับว่าผ่านไปเร็วเหลือเกิน ยืนคิด เดินคิด นั่งคิด นอนคิดจนลืมในการหลับนอนไปได้ ฉะนั้นการปรุงแต่ง ต้องจินตนาการสร้างสมมติขึ้นมา อาศัยสัญญาความจำในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาเป็นมูลเหตุ แล้วสร้างอารมณ์ในสุขเวทนาขึ้นมาประกอบ เพื่อให้ใจเกิดความยินดี มีกิเลสตัณหาเป็นตัวสนับสนุน โมหะอวิชชาเป็นตัวปกป้องปิดบัง การปรุงแต่งในสังขารที่มีสมมติเป็นจอภาพ จินตนาการเป็นผู้ให้สำนวนในการคิด สัญญาเป็นความจำเรื่องที่คิดไว้ให้ดี อารมณ์ของสุขเวทนามีหน้าที่ให้เกิดความสุขอันร่าเริง สังขารการปรุงแต่งของกิเลสตัณหาก็ทำงานได้อย่างเต็มที่

    ในสิ่งใดที่กิเลสตัณหาก่อขึ้น จะใช้สติปัญญาทำลายให้หมดไป รูป กิเลสว่าสวยงาม สติปัญญาจะนำมาพิจารณาตีแผ่ให้เห็นว่าเป็นสิ่งสกปรกโสโครกทั้งหมด รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รูปยังเป็นมูลเหตุให้เกิดความทุกข์ที่ทนอยู่ได้ยาก รูปนี้มีโรคภัยเบียดเบียนหาความสุขไม่ได้เลย จะยืนก็เป็นทุกข์ จะเดินก็เป็นทุกข์ จะนั่งก็เป็นทุกข์ จะนอนก็เป็นทุกข์ จะหาอยู่หากินก็เป็นทุกข์ สภาวทุกข์คือ ทุกข์ประจำธาตุขันธ์ มีชาติความเกิดเป็นทุกข์ ชราการแก่เฒ่าเป็นทุกข์ พยาธิการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ มรณะความตายก็เป็นทุกข์ ปกิณกทุกข์ คือทุกข์ที่จรมาเพิ่มเติม มีความโศกเศร้าเสียใจพิไรรำพัน การพลัดพรากจากสิ่งที่รักไปก็เป็นทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์คือ ความร้อนหนาว หิวกระหาย ทุกข์เพราะไฟราคะที่เกิดความรักความใคร่ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ทุกข์เพราะมีความโกรธแค้นในสิ่งที่ไม่ประสอบกับอารมณ์นานาประการ ทุกข์เพราะโมหะความหลงตามในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทุกข์เพราะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์เพราะถูกกล่าวหานินทาว่าร้าย ทุกข์เพราะความผิดหวังในคู่ผัวตัวเมีย ทุกข์เพราะลูกติดยาเสพติดนานาชนิด ทุกข์เพราะพ่อแม่นอกใจกัน มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือทุกข์รวบยอดว่า แม้ความยึดมั่นในขันธ์ห้าว่าเป็นอัตตาตัวตน ก็เป็นทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากร่างกายมีอะไรบ้าง ให้ผู้อ่านได้คิดหามาเป็นอุบายสอนใจตัวเอง หรือทุกข์เพราะเหตุภายนอกมากระทบกายมีอะไรบ้าง ก็ให้พิจารณาด้วยตัวเอง ทุกข์เพราะเสียงคนอื่นพูดส่อเสียด หรือพูดอย่างไรก็ตาม ที่เราเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา มีอย่างไรบ้างก็ให้นำมาเป็นอุบายสอนใจได้เช่นกัน ถ้าสติปัญญาพิจารณาความทุกข์ดังที่ได้อธิบายมานี้ มีความรู้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนว่าเป็นทุกข์โทษภัยอย่างฝังใจ นี่คือฝ่ายสติปัญญายกมาหักล้างฝ่ายกิเลสตัณหาได้เป็นอย่างดี



    ปัญญาพิจารณาในสมมติ



    อุบายวิธีการหักล้างในสังขารการปรุงแต่งนั้นมีมาก แต่เราไม่ยอมฝึกสติปัญญา ไม่ยอมฝึกความฉลาดรอบรู้ให้แก่ใจ อย่างมากก็แค่ฝึกสติสมาธิให้จิตมีความสงบเท่านั้น ความสงบเพียงเท่านี้จะเอาไปแก้กิเลสตัณหาในการปรุงแต่งไม่ได้เลย เพราะกิเลสสังขารการปรุงแต่งนั้น มันมีรูปสมมติเป็นมูลฐาน การลบล้างสังขารการปรุงแต่ง ต้องรู้จักสมมติที่กิเลสนำมาเป็นข้อมูล กิเลสสังขารเอารูปมาปรุงแต่งให้มีความสวยงาม สติปัญญาก็เอารูปประเภทเดียวกันมาพิจารณาตีแผ่ให้เห็นธาตุแท้ของรูปนั้นๆ ว่าไม่มีความสวยงามแต่อย่างใด

    ทุกอย่างที่กิเลสสังขารปรุงแต่งไป สติปัญญานำมาเป็นมุมกลับตรงกันข้ามทั้งหมด กิเลสสังขารปรุงแต่งว่าเที่ยง สิตัปญญาพิจารณาลงสู่ความไม่เที่ยง กิเลสังขารปรุงแต่งว่าสุข สติปัญญาพิจารณษให้รู้เห็นเป็นความทุกข์ทั้งหมด กิเลสสังขารปรุงแต่งว่าเป็นอัตตาตัวตน สติปัญญาพิจารณษแยกแยะธาตุสี่ขันธ์ห้าออกมาหมดแล้ว ไม่มีอัตตาตัวตนในธาตุสี่ขันธ์ห้านี้แต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นอนัตตาไม่มีตัวตน เป็นธาตุขันธ์ที่สูญเปล่าจากสัตว์และบุคคล ถึงจะเป็นตนก็เป็นตนเพียงสมมติที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น ไม่กี่วันก็จะบงไปทับถมในธาตุดิน กลายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟไปเท่านั้น แม้สังขารจะปรุงแต่งเอารูปคนอื่นมา รูปนั้นก็เป็นธาตุสี่เหมือนกัน ไม่กี่วันรูปนั้นก็จะลงไปทับถมแผ่นดินนี้เหมือนกัน ถึงรูปนั้นจะสวยสดงดงามสักปานใดก็ตาม เมื่อตายแล้วถ้าเอาไปนอนเคียงคู่กันกับสัตว์ตาย ก็จะพุพองเปื่อยเน่าเหมือนกัน แมลงวันก็จะมาเกาะกิน ความเห็นของคนที่ว่าสวยงามกับสัตว์ก็จะไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะเป็นธาตุสี่เหมือนกัน ถ้าตายไปก็จะเน่าเหม็นไม่แพ้กับสัตว์เน่านั้นเอง



    วิญญาณเป็นประธานในขันธ์ห้า



    วิญญาณคือ อาการของจิต เรียกว่านามจิต เป็นความรู้ออกจากจิต ถ้าดูเพียงผิวเผินแล้วเหมือนจิตกับวิญญาณเป็นสิ่งเดียวกัน ที่จริงแล้ว จิตกับวิญญาณเป็นคนละอย่างกัน เหมือนกับก้อนแร่ทองคำที่ยังไม่ได้ถลุง เนื้อทองอันบริสุทธิ์ก็อยู่ในก้อนแร่นั้น เมื่อนำก้อนแร่นั้นมาถลุงแล้วก็จะรู้ว่า ทองคำก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ขี้แร่ก็จะแยกออกไปคนละส่วน หรือเหมือนกับน้ำทะเลที่มีความเค็มตามปกติ ถ้ามีเครื่องมือที่ทันสมัย ก็ทำให้นำเค็มและน้ำจืดธรรมดาแยกออกจากกันได้ นี้ฉันใด จิตกับวิญญาณก็เป็นในลักษณะฉันนั้น

    ฉะนั้นจิตกับวิญญาณจึงอยู่ร่วมกันและมีผลงานร่วมกัน แต่วิญญาณจะเป็นหัวหน้างานทั้งหมด ได้รับผลงานอย่างไรก็ส่งให้จิตได้รับรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นตัวประสานงานในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ทั้งหมด ในรูปขันธ์ที่เป็นสื่อสำคัญเรียกว่า อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทั้งหมดนี้จะมีวิญญาณแฝงอยู่ทั้งหมด มีวิญญาณในตา วิญญาณในหู วิญญาณในจมูก วิญญาณในลิ้น วิญญาณในกายและวิญญาณในใจ

    วิญญาณในตามีหน้าที่สำหรับรู้ในการดู วิญญาณในหูมีหน้าที่สำหรับรู้ในการฟัง วิญญาณในจมูกมีหน้าที่สำหรับรู้ในกลิ่น วิญญาณในลิ้นมีหน้าที่สำหรับรู้ในรสชาติต่างๆ วิญญาณในกายมีหน้าที่สำหรับรู้สิ่งภายนอกมาสัมผัส วิญญาณในใจมีหน้าที่สำหรับรู้ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจ อารมณ์ทั้งหมดนี้จะสัมพันธ์อยู่กับจิตทั้งนั้น วิญญาณในเวทนาขันธ์ คือ รู้ทุกขเวทนา รู้สุขเวทนา รู้อุเบกขาเวทนา วิญญาณในสัญญาขันธ์ก็รู้ในความจำต่างๆ วิญญาณในสังขารขันธ์ก็รู้ในการคิดปรุงแต่ง

    วิญญาณนี้จะมีแฝงอยู่ในธาตุสี่ขันธ์ห้า อายตนะภายในนี้ทั้งหมด วิญญาณมีหน้าที่เพียงรับรู้เท่านั้น ส่วนจะเป็นไปในทางความรัก ความใคร่ ความพอใจในกามคุณ เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ ราคะตัณหา โมหะอวิชชา นี่เป็นหน้าที่กิเลสกับใจจะร่วมกันทำงานต่อไป



    รักษาใจด้วยสติปัญญา



    ที่จริงใจมิใช่เป็นกิเลสตัณหาแต่อย่างใด เป็นเพียงแนวร่วมในขบวนการของกิเลสตัณหาเท่านั้น เพราะใจไม่มีสติปัญญา ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในกิเลสตัณหานี้เลย จึงถูกกิเลสหลอกได้หลอกเอา กิเลสพาไปไหนก็ไป พาอยู่ที่ไหนก็อยู่ กิเลสพาทำอะไรก็ทำ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลที่ผิดถูกชั่วดีแต่อย่างใด จึงเป็นใจที่มืดบอด เรียกว่าอวิชชา ไม่มีสติปัญญาพอจะรักษาตัวเองได้ เหมือนกับผู้เสพยาเสพติดนานาชนิด เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าจะเกิดโทษภัยแก่ตัวเอง ในครั้งแรกก็เสพทีละนิดละหน่อย แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกิดการลืมตัว ความเคยชินของธาตุขันธ์ จึงได้หลงในรสชาติของยาเสพติดนั้นอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ในเมื่อผู้นั้นได้เกิดรู้เห็นโทษภัยของยาเสพติดนั้นแล้ว ผู้นั้นจะละในการเสพยานั้นด้วยตัวเองได้ นี้ฉันใด ใจที่หลงในกิเลสตัณหาอวิชชา ก็เพราะขาดสติปัญญาความรอบรู้ ความรัก ความใคร่ และความอยากทั้งหลายจึงได้เกิดขึ้นที่ใจ ผู้ใดมีสติปัญญาที่ดีมีความฉลาดรอบรู้ ผู้นั้นจะรู้วิธีแยกใจกับกิเลสตัณหาออกจากกันได้ ถ้าสติปัญญามีน้อยก็แยกออกจากกันได้น้อย ถ้าผู้ที่มีสติปัญญาดีมีความฉลาดเฉียบแหลม ผู้นั้นจะมีอุบายแยกใจกับกิเลสตัณหาออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด ถ้าสติปัญญาไม่ดีกิเลสตัณหาก็จะพาให้ใจไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุดได้

    เหมือนกิเลสตัณหาได้พาให้ใจเกิดในภพน้อยใหญ่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะใจไม่มีความฉลาดรอบรู้ทางสติปัญญานั่นเอง เมื่อมาถึงปัจจุบันชาตินี้แล้ว ยังไม่ยอมฝึกสติปัญญาให้เกิดความฉลาดรอบรู้เพื่อจะนำมาแก้กิเลสตัณหาภายในใจให้หมดไปได้ ใจกับกิเลสตัณหาก็จะพากันไปเกิดในภพต่างๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดได้ ฉะนั้น ขอให้ฝึกสติปัญญามาชำระกิเลสตัณหาภายในใจในชาติปัจจุบันนี้ให้มีความเบาบางหรือให้หมดไป จึงเรียกได้ว่าผู้ภาวนาปฏิบัติอย่างแท้จริงเพราะสติปัญญาจะนำพาให้ละกิเลสตัณหาโดยตรง



    ผลของการปฏิบัติเกิดจากปัญญาของตัวเองเท่านั้น



    การฝึกปัญญาต้องฝึกให้เป็นไปตามลำดับชั้น เริ่มจากปัญญาขั้นพื้นฐานคือ สุตมยปัญญานี้ไป เมื่อได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์มาแล้ว หรือได้ศึกษาในตำราในหมวดธรรมต่างๆ มาอย่างไร ก็ต้องมาฝึกปัญญาในขั้นจินตามยปัญญา หาเหตุผลและข้อมูลมาประกอบในหมวดธรรมนั้นๆ ว่าการได้ฟังจากครูอาจารย์มาอย่างนี้ มีเหตุผลพอเชื่อถือได้เพียงใด หรือรู้จากตำรามาอย่างนี้ก็ต้องนำมาวินิจฉัยใคร่ครวญดู คำว่า จินตามยปัญญาก็คือ ฝึกจินตนาการหาข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อจะให้ใจได้เกิดความเห็นชอบในหลักสัจธรรม จนข้อมูลกับเหตุผลลงตัวกันได้ ถ้าเหตุผลและข้อมูลนั้นๆ ขัดกันจะใช้ไม่ได้เลย เหตุผลและข้อมูลในที่นี้ให้เป็นของตัวเอง เกิดจากจินตนาการของตัวเอง ถ้าไปให้คนอื่นวินิจฉัยให้ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น ความแยบคายจะไม่เป็นไปตามโยนิโสของตัวเองได้ จะเป็นการยอมรับจากการตัดสินใจของผู้อื่น เชื่อจากเหตุผลของผู้อื่น โดยตัวเองไม่ยอมฝึกสติปัญญาให้เกิดขึ้นเฉพาะตัว ทุกอย่างจะคอยให้คนอื่นแก้ปัญหาให้อยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนี้สติปัญญาความฉลาดรอบรู้ จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเองได้เลย ฉะนั้นการฝึกจินตามยปัญญา ให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจะนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ใจได้ทันต่อเหตุการณ์ การวินิจฉัยในเหตุผลต่างๆ จะเป็นสติปัญญาของตัวเอง และตัดสินใจในความผิดถูกด้วยเหตุผลตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้นที่ใจเราเอง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จะพึ่งตัวเองได้ ในคำว่าตนแลเป็นที่พึ่งของตน ก็พึ่งสติปัญญาและเหตุผลของตัวเองจึงจะถูกต้องในการปฏิบัติธรรม การภาวนาก็จะมีความเจริญก้าวหน้าไปเป็นอย่างดี ไม่มีการถอยหลังและวกวนในที่แห่งเดียว เพราะได้ละมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดไปได้แล้วอย่างขาดลอย จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมอันจะนำไปสู่มรรคผลนิพพานต่อไป

    ในหลักสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบนี้ มิใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ส่วนมากผู้ภาวนาปฏิบัติที่อ้างตัวเองว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในธรรมนั้น เป็นเพียงความเห็นชอบจากตำราและครูอาจารย์อธิบายให้ฟังเท่านั้น จึงเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบไม่สมบูรณ์ ถ้าเป็นอย่างนี้จะใช้ปัญญาเจริญในวิปัสสนายังไม่ได้ผล ถึงจะเจริญวิปัสสนาก็ไม่สมบูรณ์แบบ ความแยบคายความหายสงสัย จะไม่เกิดขึ้นที่ใจได้เลย เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นยังไม่เข้าขั้นพอจะให้เกิดความหายสงสัยได้ ถึงจะเจริญในวิปัสสนาได้ก็เพียงเป็นไปตามหลักการในภาคทฤษฎีเท่านั้น

    ส่วนมากผู้ปฏิบัติชอบพูดอ้างอิงถึงในวิปัสสนาอยู่เสมอ จะภาวนาปฏิบัติอย่างไรก็ต้องอ้างอิงถึงในวิปัสสนาเอาไว้ก่อน เพราะเป็นคำที่สูงส่งในการปฏิบัติธรรม ที่จริงในคำว่าวิปัสสนานั้นมิใช่ว่าจะเป็นของง่าย การอ้างอิงแบบลอยๆ นั้นอ้างอิงได้ แต่ความเป็นจริงนั้น หลักการในวิธีเจริญวิปัสสนา ต้องได้ผ่านการกลั่นกรองจากจินตามยปัญญา จนเกิดความเชื่อมั่นในความรู้เห็นที่เป็นไปตามเหตุผลของความเป็นจริง จนเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเห็นจริงในสิ่งนั้นๆ อย่างฝังใจ แล้วเกิดความตั้งมั่นขึ้นที่ใจว่า มีความมั่นคงในความเห็นนี้ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปสู่ความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาอีกต่อไป ใจมีความหนักแน่นในความเห็นตามหลักความเป็นจริงต่อหลักสัจธรรมอย่างฝังใจ จากนี้ไปจะใช้ศัพท์ในคำว่าเจริญวิปัสสนาจึงจะเหมาะสม มิใช่ว่าจะพูดอ้างอิงเอาแบบสุ่มเดาตามชอบใจ การพูดอ้างอิงนั้นพูดได้ แต่จะไม่เป็นไปตามคำพูดนั้นเลย เพราะความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิยังมีอยู่ที่ใจ ยังไม่ได้แก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบอย่างสมบูรณ์ เมื่อความเห็นชอบยังไม่สมบูรณ์แต่ไปพูดว่าเจริญวิปัสสนา คำพูดนั้นจะเป็นมิจฉาวาจาพูดผิดไป พูดด้วยความหลง พูดด้วยความรู้ตามแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรม ถึงจะพูดว่าเจริญวิปัสสนาก็เป็นเพียงสักว่าคำพูดเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังไม่ถูกต้องตามคำที่กล่าวว่าเจริญในวิปัสสนานั้นเลย




    พิจารณาตามไตรลักษณ์คือหลักวิปัสสนา



    การเจริญวิปัสสนานั้น ต้องมีความพร้อมด้วยเหตุหลายประการ เช่น มีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิอย่างสมบูรณ์ มีสติปัญญาที่รอบรู้ความเป็นจริงในสัจธรรม รู้จักเหตุปัจจัยในการเกิดดับของรูป รู้จักเหตุปัจจัยในการเกิดดับของนามจิต รู้จักเหตุปัจจัยในการเกิดดับในอายตนะทั้งภายในและภายนอก และมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมาย

    ในความหมายของการเจริญวิปัสสนานั้น เป็นอุบายที่ตีแผ่กระจายความจริงออกมาจากฆนอัตตา ที่ใจยังหลงว่าเป็นอัตตาตัวตน หรือสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นของของตน การเจริญวิปัสสนาหมายถึง การวิจัยวิเคราะห์พิจารณาให้เกิดความแยบคาย เพื่อให้เกิดความหายสงสัยในความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เป็นเราและเป็นของของเราให้หมดไปจากใจ เป็นอุบายที่ทำลายความเข้าใจผิด ความเห็นผิดของใจโดยตรง การเจริญวิปัสสนาคือ การประกาศความจริงให้ใจได้รู้เห็น ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น ๆ เหตุปัจจัยเป็นไปในความไม่เที่ยง เหตุปัจจัยเป็นไปในความทุกข์ เหตุปัจจัยเป็นไปในอนัตตา มีสติปัญญาพิจารณารอบรู้ตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ ให้ชัดเจน มีเหตุผลรองรับให้ใจยอมรับความจริงนั้นๆ เป็นอุบายให้ใจได้ถอนตัวออกมาจากความเห็นผิด ให้ใจได้ถอนตัวออกจากความยึดมั่นถือมั่นในธาตุขันธ์ว่าเป็นอัตตาตัวตน การเจริญวิปัสสนาก็คือ การประกาศความจริงให้ใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงเมื่อไร ใจก็จะละวางจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นทันที

    ปัญญาในวิปัสสนาและปัญญาในวิปัสสนาญาณ เป็นสายทางเชื่อมโยงต่อกัน ถ้าเจริญปัญญาในวิปัสสนาที่ถูกต้องในหลักสัมมทิฏฐิ ความเห็นชอบแล้ว ปัญญาวิปัสสนาญาณก็ถูกต้องเช่นกัน ปัญญาในวิปัสสนาก็มีความหยาบละเอียดต่างกัน เพราะสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นตัวกำหนด ถ้าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบยังไม่ชัดเจนก็จะเป็นปัญญาในวิปัสสนาอย่างหยาบ ถ้าฝึกพิจารณาในสัจธรรมอยู่บ่อยๆ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงก็จะชัดเจนมากขึ้น ก็จะกลายเป็นปัญญาในวิปัสสนาระดับกลาง เมื่อฝึกพิจารณาในสัจธรรมมากขึ้นเท่าไร ความเข้าใจในเหตุผลความรู้เห็นตามความเป็นจริงก็จะมีความรอบรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง จนเกิดความแยบคายหายสงสัยในที่สุด จึงนับได้ว่าเป็นปัญญาในวิปัสสนาขั้นละเอียด จากนั้นก็จะหมุนตัวขึ้นสู่ปัญญาในวิปัสสนาญาณทันที

    ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้เป็นปัญญาที่มีความกล้าหาญ เป็นปัญญาที่จะตัดกระแสของกิเลสตัณหา ตัดกระแสของโมหะ อวิชชาให้หมดไปจากใจได้ ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้จะเกิดขึ้นในชั่วระยะเวลาอันสั้น เป็นปัญญาเกิดขึ้นเพื่อประหารกิเลสตัณหาโดยเฉพาะ เหมือนไฟที่ทำลายเชื้อวัตถุไวไฟทุกชนิด เมื่อเชื้อทั้งหมดถูกไฟไหม้หมดไปแล้ว ไฟที่ไหม้เชื้อต่างๆ ก็ดับไปเช่นกัน เพราะไม่มีเชื้ออะไรจะให้ไหม้อีกต่อไป นี้ฉันใด ปัญญาในวิปัสสนาญาณนั้น เกิดขึ้นเพื่อตัดกระแสของกิเลสให้หมดไปจากใจ เมื่อกิเลสอาสวะน้อยใหญ่ หยาบละเอียดหมดไปจากใจแล้ว ปัญญาในวิปัสสนาญาณก็หมดสภาพไปเช่นกัน จึงเรียกว่า กตํ กรณียํ หมดกิจที่จะพึงทำอีกต่อไป ปัญญาในลักษณะนี้แล ผู้ภาวนาปฏิบัติทั้งหลายมีความต้องการให้เกิดขึ้น ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้เกิดขึ้นจริง แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของการพัฒนาทางด้านปัญญาของนักปฏิบัติ เริ่มต้นจากปัญญาในสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา จนถึงขั้นปัญญาในสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ การเจริญปัญญาในแต่ละขั้น จะทำให้เกิดปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดตามลำดับไป แล้วจึงก้าวขึ้นสู่ปัญญาวิปัสสนา การเจริญปัญญาในวิปัสสนานั้น ก็มีระดับหยาบละเอียดต่างกัน ถึงจะเป็นเรื่องเดียวกัน แนวทางเดียวกัน แต่การรู้เห็นก็หยาบละเอียดต่างกัน



    ศีล สมาธิเป็นอุบายเสริมปัญญา

    การรักษาศีลในหมวดสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต และสัมมาอาชีโว ก็อยู่ในศีล ๕ นี้ทั้งหมด ให้รักษาพร้อมๆ กันไปไม่ลดละล่าถอย เพราะศีลเป็นกำลังเสริมให้แก่การภาวนาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี การทำสมาธิก็ให้มีความต่อเนื่องกันอยู่เสมอ เพราะจิตมีความสงบในสมาธิจะเกิดมีกำลังใจ กำลังใจที่เกิดจากสมาธินี้ก็จะไปเสริมปัญญาอีกต่อหนึ่ง ปัญญาเมื่อมีกำลังของสมาธินี้หนุนอยู่ กำลังของสติ กำลังของปัญญา ก็จะพิจารณาในสัจธรรมนั้น รู้เห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เหมือนกับหม้อแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย เมื่อถ่านไฟฉายอัดแน่นด้วยกำลังไฟก็จะทำให้หลอดไฟฉายเกิดความสว่าง เมื่อฉายความสว่างไปที่ไหน ก็รู้เห็นในสิ่งนั้นได้แจ่มแจ้งชัดเจน แต่ถ้าหลอดไฟฉายไม่มี ถ่านไฟถึงจะมีกำลังไฟอัดแน่นเต็มก้อนอยู่ก็ตามจะเกิดความสว่างขึ้นไม่ได้เลย นี้ฉันใด การทำสมาธิ ถึงจิตมีความสงบในระดับไหนก็ตาม ถ้าไม่ได้ฝึกปัญญาเอาไว้ หรือไม่มีปัญญามาก่อน กำลังใจที่เกิดจากสมาธินั้น ก็เป็นเพียงความสุขทางใจ เกิดปีติ ความเอิบอิ่มใจหรือเกิดปัสสัทธิ ความสงบใจอยู่เท่านั้น อีกไม่กี่นาที ไม่กี่ชั่วโมง ก็เสื่อมไป

    ผู้ภาวนาปฏิบัติเมื่อได้ฝึกปัญญาไว้แล้ว มีความชำนาญในการพิจารณานึกคิดตรึกตรอง ชำนาญในการวินิจฉัยใคร่ครวญตามหลักสัจธรรมมาก่อนแล้ว กำลังใจที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ก็จะเข้ามาหนุนเสริมปัญญาที่เราฝึกมาแล้วนี้ ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ จะพิจารณาในธรรมหมวดใด ก็เกิดความแยบคายได้ง่าย ถ้ามีแต่ปัญญาเพียงอย่างเดียว ไม่มีกำลังใจจากการทำสมาธิเข้าไปเสริม กำลังของปัญญาก็จะไม่พอที่จะรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงได้เช่นกัน

    ฉะนั้น จึงให้ฝึกสติ ฝึกปัญญา และฝึกสมาธิสลับกันไป การฝึกปัญญานั้นฝึกได้ทุกเมื่อ ถึงจิตจะไมสงบเป็นสมาธิ ก็ฝึกปัญญาได้ เพราะปัญญาที่เป็นธรรมชาติของเรามีอยู่แล้ว แต่มิใช่ว่าการพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จะละกิเลสตัณหาไปได้ทันทีทันใดตามความต้องการ ในขั้นนี้เป็นเพียงการฝึกปัญญาให้เกิดความชำนาญเท่านั้น เหมือนกับการฝึกซ้อมกีฬาแต่ละชนิด ก่อนที่นักกีฬาจะได้เข้าไปแข่งขันเพื่อชิงชัยชนะมาได้ ผู้นั้นต้องสร้างทักษะความชำนาญในกีฬาประเภทนั้นๆ ให้ดีก่อน ตัวอย่างเช่น การชกมวยชิงแชมป์โลก ก่อนจะได้ขึ้นเวทีชิงตำแหน่ง นักมวยก็ต้องผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างหนักทีเดียว กว่าจะได้เข็มขัดมาครองได้ ก็ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นอย่างมาก นี้ฉันใด ผู้ภาวนาปฏิบัติ กว่าเราจะแย่งชิงใจออกจากกิเลสตัณหามาได้ การฝึกสติปัญญาและฝึกสติสมาธิต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างมาก ถ้าสติปัญญาและกำลังของสมาธิไม่เหนือกิเลสตัณหาจริงๆ ก็จะไม่มีทางชนะกิเลสตัณหาได้เลย ก็เหมือนในอดีตที่ผ่านมา สติปัญญาพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหามาตลอด ใจได้ตกไปอยู่กับฝ่ายกิเลสตัณหามายาวนาน ในชาติปัจจุบันนี้ ถ้าสติปัญญาเราไม่ดี ไม่มีความฉลาดรอบรู้อยู่อีก ใจก็จะตกเป็นทาสของกิเลสตัณหาต่อไป

    ฉะนั้นการฝึกสติปัญญาพิจารณาในสัจธรรมหมวดใด ก็ให้เกิดความคล่องตัว ในวันหนึ่งข้างหน้า สติปัญญาและสติสมาธิก็จะมีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะขึ้นเวทีเผชิญหน้ากับกิเลสตัณหาด้วยความมั่นใจ ต่อเมื่อสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ทั้งสองกรรมฐานนี้มีกำลังสมดุลกันเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะเกิดภาวนามยปัญญา ขึ้นในตนหรืออีกคำหนึ่งเรียกว่า เกิดปัญญาญาณ หรือเกิดวิปัสสนาญาณ ทั้งสามคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน จะเรียกว่าภาวนามยปัญญา หรือปัญญาญาณ หรือวิปัสสนาญาณก็ได้ แต่ถ้ากรรมฐานทั้งสองคือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ยังไม่ชำนาญหรือชำนาญเฉพาะกรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง ปัญญาญาณหรือวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย



    การใช้ปัญญาอย่าเอาตามตำรา และอย่าทิ้งตำรา



    ฉะนั้น ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายผู้มีความมุ่งหมายอยากให้ปัญญานี้เกิดขึ้น ผู้นั้นก็ต้องมีความขยันฝึกสติปัญญาและฝึกสติสมาธิให้มาก ในช่วงไหนมีเวลาฝึกสติสมาธิก็ฝึก ช่วงไหนมีเวลาฝึกสติปัญญาก็ต้องฝึก การฝึกปัญญาไม่จำเป็นต้องทำสมาธิก่อนทุกครั้งไป

    ตามปกติปัญญาเรามีอยู่แล้วให้พิจาณาหาอุบายฝึกปัญญาได้เลย เรื่องการละถอนปล่อยวางกิเลสตัณหาในช่วงนี้ อย่าพึ่งไปสนใจ เพราะขณะนี้เรามีหน้าที่ฝึกสติปัญญาให้เกิดความชำนาญเท่านั้น เปรียบเหมือนกับผู้ที่ฝึกการร้องเพลง ก่อนที่จะได้เข้าอัดแผ่นเสียง หรือจับไมค์ร้องบนเวทีได้ เขาต้องฝึกการขับร้องเพลงนั้นๆ นับรอบไม่ได้ จนเกิดความชำนาญและมั่นใจในตนเอง จึงจะสามารถขึ้นสู่เวทีแสดงต่อหน้าสาธารณชนได้ นี้ฉันใด การฝึกปัญญา กว่าจะเกิดความชำนาญได้นั้น ต้องมีความหมั่นขยันในการคิดพิจารณาอยู่เสมอ

    ส่วนมากผู้ปฏิบัติจะเข้าใจว่าปัญญาจะต้องเกิดจากสมาธิ ที่จริงหาใช่ไม่เพราะอุบายการทำสมาธิ ก็เพื่อนำไปเสริมปัญญาที่มีอยู่เท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะปิดกั้นปัญญาของตนเองโดยไม่รู้ตัว ถ้าฝึกในสมาธิมากไปจนลืมใช้ปัญญา หรือถ้าฝึกสมาธิให้มีความสงบลึกมากจนจิตดิ่งลงสู่อุเบกขา ปัญญาก็จะหมดสภาพทันทีเพราะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้ายในสิ่งใดทั้งสิ้น เมื่อสมาธิจะเสื่อม ความสุขทางใจจะหมดไป ก็จะกลับมาทำสมาธิอีก จนไม่มีเวลาใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมใดๆ หรืออีกกรณีหนึ่ง ผู้ปฏิบัติศึกษาธรรมะในหมวดต่างๆ รู้มากเกินไป แทนที่จะศึกษาธรรมะมาเป็นอุบายประกอบในการใช้จินตามยปัญญา เพื่อเป็นอุบายฝึกปัญญาตัวเอง ก็ฝึกไม่ได้ หรือฟังเทศน์จากครูอาจารย์ เพื่อพิจารณาให้เกิดปัญญาขึ้นในตน ก็ทำไม่ได้เป็นเพราะอะไร เหตุผลก็คือ นักปฏิบัติท่านนั้นรู้ในธรรมะหมวดนั้นๆ แล้วนี่เอง ธรรมะหมวดนั้นก็รู้ ธรรมะหมวดนี้ก็รู้ เมื่อรู้แล้วอย่างนี้จะพิจารณาในสัจธรรมอะไรได้เล่า

    ถ้ามีคำถามว่าการใช้ปัญญาพิจารณาในธรรมะที่ได้ศึกษามาแล้ว จะเรียกว่าใช้ปัญญาพิจารณาในหมวดธรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ ถูกต้อง แต่เป็นปัญญาในภาคปริยัติ ถึงจะใช้ปัญญาพิจารณาในหมวดธรรมที่เรียนมาได้อย่างละเอียดสักปานใดก็ตาม ก็ยังเป็นปัญญาในภาคปริยัติอยู่นั่นเอง จะเอาปัญญาในระดับนี้ไปหักล้างกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจยังไม่ได้ เพราะปัญญาที่พิจารณาอยู่นั้น เป็นปัญญาเลียนแบบจากตำราที่อธิบายไว้แล้ว หรือใช้ปัญญาพิจารณาจากปัญญาของผู้อื่น ยังไม่เป็นปัญญาของตัวเอง ปัญญาที่เลียนแบบจากผู้อื่นนั้น จะไม่ทำให้เกิดความแยบคาย และหายสงสัยได้เลย กิเลสตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็ยังฝังแน่นอยู่ที่ใจตามเดิม

    ยกตัวอย่างในครั้งพุทธกาล พระโปฐิละที่มีความรู้ดี มีปัญญารอบรู้ในปริยัติดีมาก เป็นธรรมกถึกนักเทศน์เอกในยุคนั้นจะหาผู้เทียบเท่าได้ยาก ความรู้ที่ได้ศึกษามา ปัญญาในทางปริยัติก็พร้อม แต่ก็นำมาทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจไม่ได้ ฉะนั้นปัญญาที่จะนำมาทำลายกิเลส ตัณหา อวิชชาได้ ต้องให้เป็นปัญญาเฉพาะตัวเอง ไม่จำเป็นจะต้องให้ถูกตามตำราทั้งหมด เหมือนกับกระทู้ธรรมที่เฉลยไว้ในตำรา ภาษิตตั้งไว้แล้วอย่างนี้ เฉลยไปอย่างนี้ มีภาษิตเชื่อมอย่างนี้ นั่นเพียงเป็นตัวอย่างทางปัญญาของผู้ที่แต่งกระทู้เอาไว้ ส่วนปัญญาเราก็แต่งไปตามโวหารปฏิภาณของเรา สำนวนที่แต่ง เราถนัดอย่างไร ก็อธิบายไปตามนั้น สำนวนโวหารในการอธิบายให้เป็นเรื่องเดียวกันกับภาษิตที่ตั้งไว้แล้ว ภาษิตที่นำมาเชื่อมก็แตกต่างกันไป เพราะสำนวนที่เราอธิบายไป ไม่เหมือนในตำรา

    การฝึกปัญญา อย่าเอาตามตำราและอย่าทิ้งตำรา ถ้าผู้ใดตีความหมายนี้ได้และปฏิบัติได้ตามนี้ ผู้นั้นมีแววพอจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้ หรือผู้ใดมีสัญลักษณ์ในการทำ พูด และคิดเป็นของตัวเอง ผู้นั้นจะพึ่งตัวเองได้และเป็นนิสัยแห่งความฉลาด มีจุดยืนเป็นของตัวเอง ถึงจะไปดูแบบอย่างจากที่อื่นมาแล้วก็ตาม ในเมื่อนำมาปฏิบัติอาจมีความคิดปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ นี้ก็เข้าข่ายของผู้มีความฉลาดทางปัญญา ถ้าเป็นเรื่องทางโลกก็มีความฉลาดในทางโลก ถ้าผู้ปฏิบัติในทางธรรมก็เป็นผู้มีความฉลาดในทางธรรม

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจงฝึกความฉลาดให้เกิดขึ้นที่ใจให้ได้ อย่าไปเลียนแบบจากผู้อื่นมากเกินไป เดี๋ยวจะได้ความโง่ฝังใจโดยไม่รู้ตัว จุดนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนและผู้อ่านตกค้างอยู่ในกระแสโลกนี้มายาวนานจนถึงปัจจุบันเพราะความโง่ของสติปัญญา ไม่มีความฉลาดอยู่ในตัวบ้างเลย จึงได้ถูกกิเลสหลอกให้มาเกิด แก่ เจ็บ ตายจนถึงปัจจุบัน นี่พวกเราจะปล่อยให้กิเลสหลอกให้เกิดให้ตายกันไปถึงไหน ทำไมไม่สร้างสติปัญญาความฉลาดรอบรู้มาเป็นคู่ของใจเอาไว้บ้างเพื่อจะได้ตัดช่องทางของวัฏฏะให้สั้นเข้า จะได้ไม่มัวเมาจมอยู่ในหลุมมูตรหลุมคูถนี้อีกต่อไป ฝึกใจให้สมกับคำว่ามนุษย์ใจสูง ก็ให้มันสูงกว่าสัตว์ดิรัจฉาน ถ้ายังปล่อยให้กิเลสตัณหาพามั่วสุมอยู่กับสิ่งสกปรกโสโครกในโลกนี้อยู่ ก็ไม่เกินกันกับสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย แมลงผึ้งแสวงหาเกสร แมลงวันแสวงหาของเน่า นักปราชญ์แสวงหาความดี นี้ใจเราเป็นแมลงวันหรือเป็นแมลงผึ้งกันแน่



    ปัญญาหนุนสมาธิ สมาธิหนุนปัญญา



    สัมมาวายาโม ความเพียรพยายามแก้ปัญหาของใจ ที่มีความหลงใหลลืมตัวมัวเมาอยู่ในกระแสของโลก จมอยู่ในราคะตัณหาความรักความใคร่ ไม่มีวันสร่างซา ส่วนมากผู้ภาวนาปฏิบัติยังไม่เข้าใจในคำว่า ความเพียรเท่าที่ควร ถ้าพูดถึงความเพียรแล้ว ผู้ปฏิบัติภาวนาจะต้องนึกหาคำบริกรรมและนึกถึงอิริยาบถเพื่อประกอบความเพียรทันที เพราะมีความเข้าใจว่า ความเพียรคืออิริยาบถและคำบริกรรมให้มีสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก มีสติระลึกรู้อยู่กับอารมณ์ของใจที่เกิดขึ้น หรือกำหนดสติให้รู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของร่างกายในรูปแบบต่างๆ เรียกว่าเอาอิริยาบถของการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นอารมณ์ ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับการยกขา ก้าวขาไปมา หรือคู้แขนเหยียดแขนเข้าออก เพื่อเป็นวิธีฝึกสติให้รู้เท่าทันในอิริยาบถให้ต่อเนื่องกัน หรือให้ฝึกสติรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อารมณ์แห่งความรัก ความชัง อารมณ์แห่งราคะตัณหา อารมณ์แห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง หรืออารมณ์อะไรที่เกิดขึ้นภายในใจ ก็ให้มีสติระลึกอยู่กับอารมณ์นั้นๆ นี่เรียกว่า ฝึกสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายใน

    หรือฝึกสติระลึกรู้ต่ออายตนะภายนอกที่มาสัมผัส จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัสกับอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีอารมณ์เกิดขึ้นกับใจเป็นอย่างไร ก็ให้มีสติกำหนดระลึกรู้อยู่สักว่าอารมณ์เท่านั้น อารมณ์ก็สักว่าอารมณ์ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่ให้ใจเข้าไปยึดติดอยู่กับอารมณ์นั้นๆ การภาวนาปฏิบัติในลักษณะอย่างนี้ ก็เป็นความเพียรเช่นกัน แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เพราะเป็นความเพียรในอุบายวิธีของสมถภาวนาเท่านั้น ในยุคนี้สมัยนี้ ผู้ภาวนาปฏิบัติมักจะฝึกทำความเพียรในหลักสมถะที่เรียกว่า สติสมาธิ การฝึกภาวนาเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอ ผู้ปฏิบัติควรฝึกทำความเพียรในหลักวิปัสสนาภาวนาที่เป็นหลักสติปัญญาให้เกิดขึ้นด้วย การภาวนาปฏิบัติจึงจะมีความสมบูรณ์

    ฉะนั้นความเพียรจึงมี ๒ วิธี เรียกว่า ความเพียรในสมถภาวนาและความเพียรในวิปัสสนาภาวนา เพราะความเพียรทั้งสองนี้มีกำลังหนุนซึ่งกันและกัน เรียกว่าปัญญาหนุนสมาธิ หรือสมาธุหนุนปัญญา ถ้าภาวนาเป็นไปในลักษณะนี้ การปฏิบัติธรรมจะมีความก้าวหน้าไปด้วยดี



    นิมิตเป็นอุบายในการใช้ปัญญา



    การสร้างนิมิตหมายในสมมติอย่างนี้ เราต้องสร้างภาพโดยจินตนาการขึ้นมาเอง ไม่ต้องไปคอยให้นิมิตเกิดจากสมาธิ อุคคหนิมิตที่เกิดจากสมาธินั้น เกิดขึ้นได้ยาก ต้องทำสมาธิให้จิตมีความสงบเสียก่อน อุคคหนิมิตจึงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าไม่มีปัญญาพิจารณาในนิมิตนั้นๆ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร นิมิตนั้นเป็นสังขารสมมติ เกิดจากจิตมีความสงบในสมาธิ หลายคนที่เกิดนิมิตจากสมาธิ มีแต่นิมิตที่เป็นอุบายประกอบด้วยปัญญาทั้งสิ้น แต่ก็น่าเสียดาย ท่านผู้นั้นไม่มีปัญญาพิจารณาในนิมิตให้เกิดประโยชน์เลย บางคนก็นิมิตเห็นตัวเองเหมือนคนแก่ บางครั้งก็นิมิตเห็นตัวเองมีการเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมาน บางครั้งนิมิตเห็นตัวเองนอนตาย บางครั้งก็มีนิมิตเห็นคนอื่นสัตว์อื่นเกิด แก่ เจ็บ ตายเหมือนกับตัวเอง

    นิมิตนั้นเป็นตัวสมมติ เป็นอุบายธรรม เพื่อน้อมนำเข้ามาหาตัวเอง แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่า เราจะต้องเป็นอย่างนี้ๆ คนอื่นสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันกับเรา ทั้งเราทั้งเขาก็ให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ทั้งหมด ถึงนิมิตจะไม่มีสาระอะไรก็ตาม ถ้าน้อมนำมาเป็นอุบายของปัญญาแล้ว จะทำให้ปัญญาได้ขยายตัวออกไปได้เป็นอย่างดี นี้เป็นอุบายสำหรับผู้มีนิมิตเกิดขึ้น แต่ละคนมีนิสัยไม่เหมือนกัน นิมิตก็มีการเกิดขึ้นแตกต่างกันไป ถึงจะมีนิมิตแตกต่างกันก็ตาม ที่สำคัญขอให้นำนิมิตนั้นมาเป็นอุบายเป็นฐานฝึกปัญญาพิจารณาไปตามเหตุการณ์ ตีความลงสู่ไตรลักษณ์ทุกครั้งไป

    ผู้ปฏิบัติอีกประเภทหนึ่งทำสมาธิมีจิตเป็นสมาธิได้เหมือนกัน เมื่อจิตมีความสงบแล้วไม่มีนิมิตเกิดขึ้นเหมือนกับผู้อื่นเขา ถ้าผู้มีนิสัยอย่างนี้ก็มีผลดีอีกรูปแบบหนึ่ง การใช้ปัญญาพิจารณาต้องมีสัญญาจำเอาธรรมชาติที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาเป็นนิมิตหมายพิจารณาได้ เช่น ไปเห็นคนแก่เห็นคนเจ็บป่วยไข้ เห็นคนมีความทุกข์ในลักษณะใดหรือเห็นคนตาย ก็จำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นนิมิตหมายในการใช้ปัญญาพิจารณาได้เลย เพราะสิ่งที่ได้พบเห็นนี้เป็นสัจธรรม เป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติของโลก เมื่อใดยังมีสัตว์ที่เกิดตายในโลกนี้อยู่ เมื่อนั้นสัจธรรมความจริงก็จะอยู่เป็นคู่กับโลกนี้ต่อไป การใช้ปัญญาพิจารณาความแก่ก็ให้รู้เห็นความแก่ของตัวเอง และให้รู้เห็นความแก่ของคนอื่นสัตว์อื่น ให้เป็นในลักษณะเหมือนกันกับร่างกายเรา

    การใช้ปัญญาพิจารณาความเจ็บป่วยของคนอื่นว่ามีความทุกข์อย่างไร ก็ให้น้อมเอาความเจ็บป่วยของคนอื่นสัตว์อื่นเข้ามาหาตัวเรา พิจารณาทั้งเราทั้งเขาว่า ไม่มีใครในโลกนี้จะหนีพ้นจากความแก่ความเจ็บป่วยนี้ไปได้ ให้พิจารณาด้วยจินตนาการออกมาโดยสมมติว่า ลักษณะความแก่เขาเป็นอย่างนี้ ลักษณะความเจ็บป่วยเขาเป็นอย่างไร ก็ให้สมมติว่าตัวเรามีความแก่ ความเจ็บป่วยเป็นไปในลักษณะนั้น นี้เรียกว่า สร้างนิมิตขึ้นมาโดยสมมติ สิ่งที่สร้างขึ้นมานี้เป็นความจริงของแต่ละบุคคลต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าเรายังไม่แก่ก็สมมติว่าเราจะแก่เหมือนท่านผู้นั้น ถ้าท่านผู้นั้นอายุ ๗๐ – ๘๐ ปี มีความแก่อย่างนี้ๆ เมื่อเรามีอายุเท่ากันกับท่านเหล่านั้น ความแก่ของร่างกายเราก็เหมือนกัน นี้เรียกว่าสมมติความแก่โดยคาดการณ์ แต่ก็จะเป็นจริงตามคาดการณ์เอาไว้อย่างแน่นอน ความเจ็บป่วยก็เช่นกัน เราก็พิจารณาโดยคาดการณ์ได้ ถึงความเจ็บป่วยคนละอย่างกัน แต่ความทุกข์ใจที่เกิดจากความเจ็บป่วยนั้นเหมือนกัน ความเจ็บป่วยในร่างกายในส่วนไหนก็ตาม จะเป็นผลสะท้อนความทุกข์ถึงใจทั้งหมด นี้เป็นอุบายการฝึกปัญญาให้แก่ตัวเอง



    พุทโธ : ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    คำว่าพุทโธ หมายถึง ผู้รู้

    พุทโธ หมายถึง ผู้ตื่น

    พุทโธ หมายถึง ผู้เบิกบาน

    ผู้รู้ หมายถึง ญาณรู้ที่มาจากทัศนะคือ ความเห็น จะรู้จะเห็นตามความเป็นจริงได้ก็เพราะปัญญาเป็นแสงสว่างให้แก่ใจ เหมือนกับผู้ตาดีทำงานอยู่ในที่สว่างหรือตาดีเดินทางไปในที่แจ้ง อุปสรรคในการทำงานและการเดินทางจะรู้เห็นอะไรได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด จะเป็นไปด้วยความถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งหมด งานที่ทำจะเสร็จสิ้นโดยเร็ว ทางที่เดินจะไม่มีการหลงอีกต่อไปนี้ฉันใด ใจที่มีญาณทัศนะและมีปัญญาความฉลาดรอบรู้เป็นองค์ประกอบแล้ว การชำระอาสวกิเลส ตัณหา โมหะ อวิชชาให้หมดไปจากใจ จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะมาเข้าใจตามหลักความเป็นจริงด้วยปัญญาญาณทัศนะพร้อมแล้ว จึงเรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ คือรู้ความจริงด้วยปัญญาอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ได้แก่ รู้ในรูปธรรมคือ ธาตุสี่ มีปัญญารู้เห็นเป็นไปตามอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งหมด นามธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็รู้เห็นเป็นจริงในไตรลักษณ์ทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอก ใกล้ไกล หยาบละเอียด มีความรู้เห็นด้วยปัญญาอย่างทั่วถึง ไม่มีสิ่งใดเกิดความสงสัยลังเลว่าเป็นเราเป็นเขาอีกต่อไป

    เมื่อได้มารู้เห็นด้วยปัญญาญาณทัศนะอย่างนี้ จึงเรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ หมายถึงความรู้จริงด้วยปัญญา เมื่อมารู้จริงอย่างนี้จะมีความตื่นตัวจากความหลง ตื่นตัวจากความเห็นผิด ตื่นตัวจากความเข้าใจผิดในความคิดเดิมซึ่งเข้าใจว่าเป็นเราและของของเรา เมื่อมาเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงมีการตื่นตัวไม่มีการหลงใหลเข้าใจผิดดังที่เคยเป็นมา จึงเรียกว่าพุทโธ ผู้ตื่น มีความตื่นจากความหลับ ความมืดบอดจากอวิชชา ความไม่รู้แล้ว จะมีความเบิกบาน ไม่มีความรำคาญใจ ไม่มีความทุกข์เดือดร้อนใจดังที่เคยเป็นมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นดับไป ก็มาเข้าใจด้วยปัญญาทั้งหมด ไม่มีความเห็นผิดเข้าใจผิดในสรรพสังขารอีกต่อไป

    นี่จึงเรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามความหมายที่ถูกต้องอย่างแท้จริง หลายคนอาจตีความแตกต่างกันไป ดังได้ยินจากผู้ปฏิบัติพูดอยู่เสมอว่า พุทโธ ผู้รู้ คืออารมณ์ของใจ เมื่อนึกคำบริกรรมไปจิตมีความสงบนิ่ง จิตมีความสว่าง จิตมีความรู้เป็นเอกัคคตาเป็นหนึ่ง มีความรู้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา จิตไม่มีทุกข์เดือดร้อนเศร้าโศกเสียใจในสิ่งใด จึงเกิดความเบิกบาน ไม่มีความรำคาญกับสิ่งใด ความเข้าใจในลักษณะอย่างนี้ว่าเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานก็ยกให้ท่านผู้นั้นไป ใครจะเชื่อตามท่านก็ให้เชื่อไป ในยุคนี้สมัยนี้ไม่มีใครจะไปพูดเรื่องผิดถูกกันเพราะทุกท่านก็มีเจตนาดีด้วยกันทั้งนั้น ในลักษณะตามรูปแบบจากจิตสงบนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ดูตามรูปการแล้วเป็นเพียงขั้นสมถะ ลักษณะอย่างนี้พวกดาบสฤๅษีเขาทำกันมานาน มีมาก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นในโลก หรือทุกวันนี้ก็ยังเป็นในลักษณะนี้อยู่ การตีความว่า เป็นพุทโธ พุทธะ ผู้ตื่น เบิกบานนั้นก็ปล่อยให้เป็นไปตามความเข้าใจของแต่ละคน ที่ข้าพเจ้าได้อธิบายในความหมายคำว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เกิดขึ้นเนื่องจาก ปัญญา ญาณะ ทัศนะ ที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น ก็ให้ผู้อ่านพิจารณาด้วยเหตุผลของตนเอง ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไรนั้น ก็ให้ท่านตัดสินใจได้ จะเชื่อในสิ่งใดให้เป็นไปในศรัทธาญาณสัมปยุต พิจารณาในเหตุผลด้วยความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริง มิใช่ว่าได้ยินอย่างไรมา หรืออ่านหนังสืออะไรมา ก็น้อมใจเชื่อโดยขาดความยั้งคิด จะติดเป็นนิสัยที่งมงายต่ไปโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นศรัทธาวิปปยุต เชื่อในสิ่งใดไม่มีปัญญาความรอบรู้ จะเชื่องมงายตลอดไป



    ใคร่ครวญก่อนตัดสินใจ



    เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงเลยมาถึงจุดนี้แล้ว พุทธบริษัทที่มีความเคารพเชื่อถือในพระพุทธศาสนายังมีความมั่นคงดี แต่ก็ยังมีบางท่านบางกลุ่มตีความหมายในคำสอนของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันออกไป เฉพาะเรื่องสำคัญคือ อุบายการภาวนาปฏิบัติ บางท่านว่าอย่างนั้น บางท่านว่าอย่างนี้ แล้วออกประกาศสอนปฏิบัติต่อไป ทุกท่านได้อ้างอิงไปว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงทั้งนั้น แต่ก็จริงไปคนละอย่างกัน จึงเกิดความสับสนให้แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่น้อยทีเดียว จึงได้แบ่งออกเป็นสายนั้นสายนี้ไป แต่ละสายก็มีความตั้งใจจริงจังหวังความพ้นทุกข์ด้วยกัน ใครจะพ้นเร็วพ้นช้านั้น ก็ให้เป็นตัวใครตัวมัน เหมือนกับผู้ตกอยู่ในห้วงกระแสของทะเลหลวงแห่งเดียวกัน ใครจะชักชวนกันไปในทางทิศไหนก็พากันไป แต่ก็มีกลุ่มหนึ่งพอจะทวนกระแสเข้าหาฝั่งได้ นี้ฉันใด อุบายการปฏิบัติก็มีความเชื่อมั่นว่า เป็นแนวทางภาวนาที่ถูกต้องด้วยกันทั้งนั้น แต่ใครจะถูกต้องกว่ากันนั้น ผลของการปฏิบัติจะตัดสินให้เอง

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องฝึกสติปัญญา เพื่อนำมาพิจารณาในเหตุผล เพื่อตัดสินกันตามหลักความเป็นจริง ว่าสิ่งใดพอเชื่อถือได้ และเชื่อถือไม่ได้ ต้องตัดสินกันด้วยความเฉียบแหลมของสติปัญญา มิใช่ว่าจะสุ่มเดาเอาตามความชอบใจของตัวเอง เพราะใจยังมีกิเลสตัณหามิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดแฝงอยู่ จะเอาตามความชอบใจยังไม่ได้ ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญตรึกตรองด้วยเหตุผลจนเกิดความแน่ใจก่อน จึงตัดสินใจทีหลัง นี่เป็นนิสัยของนักปราชญ์ผู้ฉลาดในทางธรรม พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ก่อนจะตัดสินใจเชื่อในสิ่งใด ต้องตรึกตรองใคร่ครวญ แม้จะทำจะพูดในสิ่งใด ก็มีการใคร่ครวญเช่นกัน ถ้าผู้มีนิสัยเป็นอย่างนี้ จะไม่ค่อยมีปัญหาแก่ตัวเองและผู้อื่น เรียกว่า แก้ปัญหาให้แก่ตัวเองได้ จึงนับว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน



    โง่อวดฉลาดเหมือนบอดคลำช้าง



    เมื่อได้อธิบายในเรื่องการตีความตามคำสอนของพระพุทธเจ้าออกไปไม่เหมือนกันนั้น จึงนึกได้ในคำพูดของนักปฏิบัติอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ได้พูดให้ข้าพเจ้าฟังในลักษณะเชิงผูกขาดว่า ผู้ภาวนาปฏิบัติจะต้องศึกษาในพระอภิธรรมและปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระอภิธรรมเท่านั้น จึงจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถ้าปฏิบัติธรรมไม่เป็นไปตามนี้ จะไม่มีทางบรรลุธรรมได้เลย ข้าพเจ้าฟังแล้วก็เฉยๆ ไม่โต้ตอบ เพราะเขาได้ผูกขาดไปแล้ว การพูดมาอย่างนี้เป็นเพราะอ่านคัมภีร์ไม่จบเล่ม ศึกษาในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ทั่วถึง ถ้าได้อ่านประวัติของพระอริยเจ้าแล้ว เขาจะไม่พูดออกมาอย่างนี้เลย ถ้าถามว่า พระอภิธรรมเกิดขึ้นมาเมื่อไร ก็จะตอบได้ว่า เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษายังชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา เป็นพรรษาที่ ๕ ที่พระองค์ได้ทรงแสดงพระอภิธรรมให้แก่เหล่าเทพยดา ถ้าถามว่า ก่อนพรรษา ๕ นั้น พระอภิธรรมยังไม่เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทอย่างไร เอาธรรมหมวดไหนมาสอน เมื่อสอนแล้วมีผู้บรรลุธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้ามาพอสมควร เริ่มต้นจากปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เรื่อยมา มีพระอริยเจ้าที่บรรลุธรรมเป็นจำนวนมากมาย ทั้งที่พระอภิธรรมยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น ผู้ที่ตีความในคำสอนของพระพุทธเจ้าออกมาอย่างนี้ จงไปศึกษาในคัมภีร์อื่นดูบ้าง เพื่อจะไม่ให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ชาวพุทธด้วยกัน หรือบางคนบางกลุ่มก็ผูกขาดในสติปัฏฐาน ๔ มีคำพูดอยู่เสมอว่า ถ้าในการภาวนาปฏิบัติไม่ภาวนาให้เป็นไปในสติปัฏฐาน ๔ แล้ว จะไม่บรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย มีสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้นจะปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลได้ นี่ก็อีกรูปแบบหนึ่งที่มีการตีความออกไป และยังมีอีกหลายรูปแบบที่มีการตีความแตกต่างกัน จึงทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสับสนไม่น้อยทีเดียว

    พระอภิธรรมเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อนมาก จึงยากแก่ปุถุชนคนธรรมดาจะรู้ได้ เพราะพระอภิธรรมนั้นเป็นธรรมสำหรับสอนแก่เทวดาโดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าจึงได้อธิบายเรื่อง จิต เจตสิก ที่ไหวไปตามอายตนะเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม จึงได้แยกจิตและอาการของจิตออกเป็นหมวดหมู่ ให้เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตในอาการของจิตนั้นๆ ไปเป็นจำนวนมาก การศึกษาในพระอภิธรรมนั้น ศึกษาได้เพราะมีหลักสูตรอยู่แล้ว แต่การฝึกจิตให้เป็นไปในอภิธรรมนั้นยากมาก หรือฝึกไม่ได้เลย นอกจากเรียนรู้ไปตามหลักสูตรแล้ว ตรึกตรองไปตามตำราเท่านั้น การพูดได้อธิบายได้อย่างคล่องแคล่ว ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้นั้นฝึกจิตให้เป็นไปในอภิธรรมได้แล้ว แต่เป็นเพราะมีความชำนาญในปฏิภาณการศึกษามาดีเท่านั้น มีเหตุผลและหลักฐานพอเชื่อถือได้ดังนี้ ในยุคนั้นก็มีพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีพระสารีบุตรเท่านั้นจะเข้าใจในพระอภิธรรมนี้ได้ พระองค์จึงเสด็จลงมาแสดงพระอภิธรรมนี้แก่พระสารีบุตรองค์เดียวเท่านั้น

    ฉะนั้น การศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าเราต้องศึกษาให้ดีว่า แต่ละท่านแต่ละองค์มีอุบายปฏิบัติอย่างไร มิใช่ว่าพระองค์จะสอนในอภิธรรมนี้ทั้งหมด พระอริยเจ้าเป็นจำนวนมากที่ได้บรรลุธรรม ซึ่งมีมาก่อนพระอภิธรรมเกิดขึ้นด้วยซ้ำไป พระองค์สอนอุบายในการปฏิบัติธรรมอย่างไร เราควรได้ศึกษาในอุบายธรรมในหมวดนั้นๆ ให้เข้าใจ เพื่อจะไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันในหมู่นักปฏิบัติธรรม อย่าให้เป็นเหมือนตาบอดคลำช้าง ใครคลำถูกที่ไหน เป็นลักษณะอย่างไรก็นำมาถกเถียงกัน ถ้าผู้ตาดี ไม่มีคำว่าลูบคลำเพราะมองเห็นช้างทั้งตัวอยู่แล้ว การศึกษาธรรมะก็เช่นกัน อย่าไปจดจำเอาเพียงสัญญาให้มีความรู้ในตำราอย่างเดียว ให้ฝึกสติปัญญาพิจารณาในเหตุผล ให้รู้เห็นในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ ให้รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ในข้อมูลที่ได้ศึกษามา อะไรควรเชื่อถือได้และอะไรเชื่อถือไม่ได้ ก็ให้ฝึกวิจัยวิเคราะห์ตามหลักความเป็นจริง สิ่งใดควรทิ้ง สิ่งใดควรเอา ก็ให้เราเป็นผู้ตัดสินใจในตัวเองได้ นี่คืออุบายเริ่มต้นของผู้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าอุบายธรรมนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นว่าเป็นแนวทางที่ตรงต่อมรรคผลนิพพาน การวางรากฐานในแนวทางปฏิบัติอย่างนี้ จะมีความก้าวหน้าไปด้วยดี ถึงจะมีกิเลสตัณหามาขัดขวางอยู่บ้าง ถ้าเรามีความเชื่อมั่นในข้อปฏิบัติของเรา และมีความเชื่อมั่นในสติปัญญาความสามารถของเรา ก็จะผ่านพ้นจากด่านแรกคือ มิจฉาทิฏฐิ ที่มีความเห็นผิดนี้ไปได้อย่างขาดลอย ฉะนั้น การฝึกสติปัญญาจึงเป็นใบเบิกทางในการปฏิบัติที่สำคัญ



    วางทิศทางให้ตรงต่อจุดหมาย



    ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีหลักการที่ดีมีอุบายที่ชัดเจน เมื่อปฏิบัติไปผลยังไม่เกิดขึ้น ก็อย่าให้ความเพียรลดน้อยถอยลง ให้ใช้ความพยายามบากบั่นเพื่อตัดกระแสของกิเลสต่อไป ดังคำว่า ความเพียรพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มใส่ไห ถ้ามีความขยันตักใส่บ่อยๆ น้ำย่อมเต็มตุ่มเต็มไหได้ หรือเส้นทางที่เดินไปตรงต่อจุดหมายอยู่แล้ว ถึงเส้นทางนั้นจะยาวไกลสักปานใดก็ตาม ถ้ามีความพยายามเดินติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ อีกวันหนึ่งข้างหน้า ก็จะถึงจุดหมายปลายทางอย่างแน่นอน นี้ฉันใด อุบายแนวทางปฏิบัติของเราถูกต้องตามสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบแล้ว โอกาสที่เราจะรู้เห็นในสัจธรรมตามความเป็นจริงนั้นมีความแน่นอน จะรู้เห็นเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง มิใช่ว่าจะบีบบังคับให้รู้เห็นตามความอยากของตัวเองได้ เหมือนต้นไม้ที่ไม่โตพอจะออกดอกออกผล จะบังคับให้เกิดดอกเกิดผลเอาตามความต้องการไม่ได้ หรือผลไม้ยังไม่แก่จะบีบบังคับให้สุกเดี๋ยวนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน ต้องให้เจริญไปตามเหตุปัจจัยในตัวมันเอง นี้ฉันใด การปฏิบัติเมื่อบารมียังไม่พร้อม อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า สติปัญญาศรัทธาความเพียรยังไม่สมบูรณ์ จะไปบีบบังคับให้บรรลุมรรคผลย่อมไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยมิใช่จะเอาความอยากเป็นตัวกำหนดได้

    ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน มิใช่ว่าจะสุกเอาเผากินได้ตามชอบใจเพราะงานที่ละถอนอาสวกิเลส ถอนอัสมิมานะ ละมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดไปจากใจ มิใช่เป็นของง่าย เพราะเป็นงานใหญ่ในระดับเหนือโลก ใจที่จะพ้นจากกระแสโลกออกไปได้ ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบดังที่กล่าวมาแล้ว



    มัคคามัคคญาณเกิดจากปัญญา



    การภาวนาปฏิบัติต้องมีสติปัญญาเป็นสื่อที่สำคัญ เป็นอุบายป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจาการภาวนาปฏิบัติผิดแนวทางได้ เพราะปัญญาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการภาวนาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ปัญญาเป็นอุบายในการสร้างมรรค เป็นอุบายในการสร้างญาณให้เกิดขึ้น เรียกว่ามัคคามัคคญาณ

    เมื่อมัคคามัคคญาณ เกิดขึ้นกับนักปฏิบัติท่านใด ท่านผู้นั้นจะรู้จักแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยตนเอง หรือแนวทางที่ผิดจากมรรคผลนิพพานก็รู้ได้เช่นกัน มัคคามัคคญาณนี้เกิดขึ้นจากปัญญาที่มีความฉลาด รอบรู้ด้วยเหตุและผล ปัญญาเป็นตัวสร้าง ญาณะคือความรู้จริงตามความเป็นจริง จึงได้เรียกรวมกันว่า ญาณะ ทัศนะ ทั้งรู้ ทั้งเห็น และทั้งเห็น ทั้งรู้ จึงเนื่องด้วยสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั่นเอง เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ย่อมเกิดความรู้ชอบต่อเนื่องกัน

    ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบจึงเป็นต้นทางที่จะเกิดญาณะ ทัศนะ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบอย่างหยาบ ก็จะเริ่มเกิดญาณะ ทัศนะอย่างหยาบ ถ้าสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบระดับกลาง ก็จะเกิดญาณะทัศนะระดับกลาง ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบอย่างละเอียด ก็จะเกิดญาณะ ทัศนะขั้นละเอียด ความเห็นชอบขั้นหยาบ ก็จะละความเห็นผิดขั้นหยาบ ความเห็นชอบขั้นกลาง ก็จะละความเห็นผิดขั้นกลาง ความเห็นชอบขั้นละเอียด ก็จะละความเห็นผิดขั้นละเอียด ขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงฝึกปัญญามาสร้างญาณะ ทัศนะให้เกิดขึ้นภายในใจ เพื่อจะได้รู้เห็นในสัจธรรมตามความเป็นจริงที่ชัดเจน



    เหตุผลเป็นตัวตัดสินที่ถูกต้อง



    มีเรื่องหนึ่งที่พอจะเป็นคติเตือนใจได้บ้าง คือ เรื่องของพระสารีบุตร เรื่องมีอยู่ว่า ในครั้งหนึ่งภิกษุทั้งหลายได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ในช่วงนั้นพระสารีบุตรไม่ได้ร่วมฟังด้วย เพราะไปวิเวกในที่อื่น เมื่อภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้ออกธุดงค์ไปที่ต่างๆ เช่นกัน เมื่อได้ไปพบพระสารีบุตร จึงได้เล่าเรื่องการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าให้แก่พระสารีบุตรฟัง แล้วถามพระสารีบุตรว่า จะเชื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระสารีบุตรตอบว่ายังไม่เชื่อ พระเหล่านั้นไม่พอใจกับคำตอบของพระสารีบุตรเป็นอย่างมาก จึงได้ไปกราบทูลแก่พระพุทธเจ้าว่า พระสารีบุตรไม่เชื่อธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ๆ

    พระพุทธเจ้าก็ได้เรียกพระสารีบุตรไปถามว่า จริงตามที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหรือไม่ พระสารีบุตรตอบว่าจริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า ทำไมพระสารีบุตรจึงไม่เชื่อธรรมที่เราตถาคตได้อธิบายไปแล้ว พระสารีบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภันเต ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้แสดงไปนั้น ข้าพระองค์ยังไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นด้วยข้าพระองค์เอง ข้าพระองค์ยังไม่เชื่อพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าได้กล่าวคำสรรเสริญพระสารีบุตรว่า เป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดในธรรม นี่พวกเราทั้งหลายควรถือเอาเป็นแบบอย่าง อย่าเชื่ออะไรโดยไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ถ้าเชื่ออะไรแบบง่ายๆ จะกลายเป็นนิสัยงมงายโดยไม่รู้ตัว จะเป็นเหมือนกับกาลามชนที่เชื่ออะไรขาดเหตุและผล พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อย่าเชื่อตามตำรา อย่าเชื่อต่อๆ กันมา อย่าเชื่อว่าผู้นี้เคยเป็นครูอาจารย์เรามา อย่าเชื่อโดยคิดว่าพอเชื่อถือได้ ถ้าผู้ใดได้อ่านกาลามสูตรแล้ว จะหายความงมงายไปได้มากทีเดียว จงฝึกตัวฝึกนิสัยให้เหมือนพระสารีบุตรกันเถิด



    เหตุไม่เกิดปัญญา



    ปัญญาไม่เกิดมีเหตุหลาอย่าง ประการที่หนึ่ง มีความรู้มากจนลืมตัว ธรรมหมวดนั้นก็รู้ ธรรมหมวดนี้ก็รู้ จะไปนั่งฟังธรรมเป็นชั่วโมงๆ ก็สมกับคำว่าไปนั่งฟังธรรมจริงๆ ไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาในหมวดธรรมนั้นเลย เพราะธรรมที่ท่านอธิบายมานั้นรู้หมดแล้ว จะพิจารณาให้เสียเวลาไปทำไม เพราะรู้อยู่แล้ว ไม่เท่านั้น เมื่อได้ฟังธรรมที่พระอธิบายมาผิดๆ ถูก ๆ ไม่เป็นไปตามที่ได้ศึกษามา ใจก็จะมีกิริยาต่อต้านขึ้นมาทันที จะเกิดทิฏฐิมานะว่า เรารู้ธรรมดีกว่าพระผู้แสดงอยู่นั้นไปเสียอีก น่าสงสารผู้ที่เรียนธรรมมา เพื่อลบล้างกิเลสให้หมดไปจากใจ แต่กิเลสฉวยโอกาสเอาธรรมมาเป็นเครื่องมือทำลายใจเสียเอง ใจจึงได้เกิดการลืมตัวเกิดทิฏฐิมานะ ถือว่าเรารู้ธรรมะเหนือใครๆ จะให้ว่าคนโง่หรือคนฉลาดกันเล่า

    ประการที่สอง ไม่ขยันในการใช้ความคิด ไม่ชอบสังเกตในสิ่งใดๆ อะไรจะเป็นอย่างไรก็เฉยๆ ไม่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งใดๆ ได้รู้ได้เห็นของสิ่งใดก็ให้ผ่านไป หรือได้ฟังเทศน์ฟังธรรมก็สักแต่ว่าฟังเท่านั้น ไม่จดจำนำเอาธรรมที่ฟังมาพิจารณาแต่อย่างใด ไม่มีนิสัยชอบวิจัยวิเคราะห์ใคร่ครวญในสิ่งใดๆ จึงเป็นอสังกัปปะ ไม่ชอบดำริพิจารณาในสิ่งใด ใครจะว่าอย่างไร ผิดถูกชั่วดีไม่มีความสนใจทั้งนั้น แต่ถ้าคิดไปในทางโลกอาจจะคิดได้ดี มีความชำนาญพอใจในความคิดไปตามกระแส แต่มาคิดพินิจพิจารณาในทางธรรมแล้วมืดแปดด้าน จึงเป็นตะโมตะมะปรายะโน มืดมาแล้วมืดไป จะฟังธรรมที่ไหน อ่านหนังสือธรรมะเล่มใดก็เพียงเข้าใจไม่ชอบพิจารณาในธรรมะหมวดใดๆ เลย

    ประการต่อมา การทำสมาธิมีความสงบลึกละเอียดมากไป ใจจะลงสู่อุเบกขา จะพิจารณาในธรรมะอะไรให้เป็นตามความเป็นจริงไม่ได้ และใจก็ไม่ชอบคิดในสิ่งใดเลย อยากจะอยู่ในอุเบกขานั้นต่อไป ใจมีความสุขความสบายในสมาธินั้นๆ ไม่อยากถอนออกจากสมาธินั้นเลย ในเมื่อจิตได้ถอนออกจากสมาธิมาแล้ว ก็มีความห่วงอาลัยในความสุขใจ อยากจะให้มีความสุขอย่างนี้ตลอดไป จึงได้พยายามทำสมาธิให้ใจมีความสงบอยู่เสมอ ในบางครั้งใจชอบคิดชอบใช้ปัญญา ก็ไม่ยอมพิจารณาเข้าใจไปว่าจิตจะฟุ้งซ่าน ไมมีความสงบเป็นสมาธิตามที่ต้องการ เมื่อฝึกอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ถ้ามีความชำนาญก็จะกลายเป็นฌานไปได้ ก็จะเป็นอุเบกขาในฌานไป เป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จึงเป็นรูปฌาน ๔ มากไปกว่านี้คือ อรูปฌาน ๔ ได้แก่ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานา สัญญายตนะ นี่เป็นสายหนึ่งที่เป็นผลเกิดขึ้นจากสมาธิ ในเมื่อเป็นลักษณะอย่างนี้ ปัญญาไม่ต้องถามหา เพราะถึงอย่างไรก็จะตายอยู่กับฌานเหล่านี้ เมื่อตายไปก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง ในเมื่ออำนาจฌานเสื่อมก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ตามเดิม

    อีกรูปแบบหนึ่ง ในเมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วก็จะเกิดอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จักขุญาณ มีตาทิพย์ สามารถมองเห็นนรก สวรรค์ และวิญญาณต่างๆ ได้ตามชอบใจ โสตญาณ มีหูทิพย์สามารถจะรับฟังเสียงสัตว์นรก เสียงสวรรค์ได้ เจโตปริยญาณ สามารถรู้วาระจิตของคนอื่นได้ว่าเขาคิดในเรื่องอะไร เพียง ๓ ญาณเท่านี้ ปัญญาก็หมดสิทธิ์คิดพิจารณาอะไรไม่ได้แล้ว มีแต่ความเพลิดเพลินเล่นอยู่กับอภิญญาเหล่านี้ไป ไฉนจะมาคิดถึงในเรื่องของปัญญาเล่า ถ้ามากไปกว่านี้ก็มีอิทธิวิธีญาณ มโนมยิทธิญาณ จุตูปปาตญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากสมาธิด้วยกันทั้งนั้น ถ้าผู้ไม่มีปัญญามาก่อน ก็จะหลงในความสงบของสมาธิ หลงในอภิญญาที่เกิดขึ้นอย่างถอนตัวไม่ขึ้น จึงกลายเป็นโมหะสมาธิ หลงความสุขหลงในความสงบโดยไม่รู้ตัว

    https://sites.google.com/site/watpalan54/1/93
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    3ธรรมะของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ‎ > ‎
    11สัมมาทิฏฐิ๓
    สัมมาทิฏฐิ ๓

    ความคิดฟุ้ง

    สมถะหรือสมาธิ

    กรรมฐานห้า

    อุบายฝึกปัญญา

    สมาธิเป็นกำลังเสริม

    นิมิต

    การตีความในนิมิต

    การสำรวมใจ

    พระอริยเจ้ามี ๒ ประเภท

    ปัญญา ๓

    ปัญญาในวิปัสสนาญาณ

    อาสวักขยญาณเกิดขึ้น

    ตัณหาพาให้เกิดทุกข์

    วิจยะ การเลือกเฟ้น

    สมาธิ

    คำสอนมี ๒ หมวด



    สัมมาทิฏฐิ๓



    ความคิดฟุ้ง

    การเกิดความคิดฟุ้งนั้นมีสองลักษณะ ๑. ฟุ้งซ่าน ๒. ฟุ้งไปตามสังขารการปรุงแต่งในสมมติ ฟุ้ง ๒ ลักษณะนี้ต่างกัน ดังจะอธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้

    ๑. ลักษณะจิตฟุ้งซ่าน เป็นความคิดที่เลื่อนลอย เป็นความคิดกระจายไปในหลายๆ เรื่อง แต่ละเรื่องเมื่อคิดไป จะเกิดความสับสนจับต้นชนปลาย ไม่หนักแน่น ไม่มีความมั่นใจว่าความคิดนั้นผิดหรือถูก ไม่สามารถตัดสินใจได้ เป็นความคิดที่โลเลสะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อย เป็นความคิดที่ทำให้เกิดความลังเลไม่แน่ใจ จึงเกิดความสงสัยในความคิดของตัวเองแบบหาข้อยุติสรุปลงไม่ได้ เพราะมีหลายเรื่องที่นำมาคิดช่วงเดียวกัน จึงเป็นความคิดในเรื่องนั้นบ้าง คิดในเรื่องนี้บ้าง จะนำมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจไม่ลงตัว จึงเกิดความรำคาญ และเกิดความหงุดหงิดขึ้นที่ใจ เกิดความฉุนเฉียวโกรธง่าย ไม่มีความเพียรที่จะทำอะไร จะทำงานอะไรก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ถึงจะทำไปผลของงานก็จะออกมาไม่ดี

    ลักษณะความฟุ้งซ่านนี้จะมีอารมณ์ที่ไม่ชอบใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งตกค้างอยู่ ที่ยังแก้ไขไม่ได้เป็นต้นเหตุ ในเมื่อนึกคำบริกรรมทำสมาธิไป ก็จะมีอารมณ์ประเภทนี้เกิดขึ้น สติคุมอารมณ์ไม่อยู่ ก็จะเกิดความฟุ้งไปในอารมณ์นั้นๆ ในลักษณะอย่างนี้มิใช่ว่าจะเกิดในช่วงทำสมาธิเท่านั้น อยู่ตามปกติธรรมดาอารมณ์ความฟุ้งซ่านก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน หรือพิจารณาในหมวดธรรมะอะไรอยู่ ถ้ามีอารมณ์ประเภทนี้แทรกเข้ามา ถ้าสติปัญญาไม่ดี ไม่มีความฉลาดในอุบายที่จะนำมาแก้ไข ก็จะกลายเป็นความฟุ้งซ่านไปได้

    ๒. จิตฟุ้งไปตามสังขาร คำว่าสังขารก็คือ สังขารจิตที่คิดไปตามอารมณ์ที่เรารัก เรียกว่า อิฏฐารมณ์ อารมณ์นี้จะมีอยู่กับทุกๆ คน มีทั้งอารมณ์เก่าและอารมณ์ใหม่ อารมณ์เก่าหมายถึง อารมณ์ที่สะสมมาในอดีตติดอยู่กับใจจนกลายเป็นนิสัยเจ้าอารมณ์ อารมณ์ใหม่หมายถึง การสัมผัสจากอายตนะ คือ ตาสัมผัสรูป หูสัมผัสเสียง จมูกสัมผัสกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสในสิ่งที่อ่อนแข็ง

    การสัมผัสในอายตนะนี้เอง จึงเป็นมูลเหตุให้เกิดอารมณ์ขึ้นที่ใจ เมื่ออารมณ์มีในใจ จึงเกิดความชอบใจและไม่ชอบใจเกิดขึ้น อารมณ์ที่ไม่ชอบใจจึงเกิดความเกลียดชัง ไม่ชอบใจในอารมณ์นั้นๆ จึงเกิดความทุกข์ใจไม่สบายใจขึ้น จึงเกิดการปรุงแต่ง คิดหาวิธีที่จะเอาชนะในการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง กับคนที่เราเกลียดชังนี้ให้ได้ แม้เสียงที่ไม่ชอบใจจากคำพูดของใคร ก็เกิดอารมณ์แห่งความทุกข์ใจไม่สบายใจ จึงคิดหาวิธีที่จะแก้ไขเอาชนะให้ได้เช่นกัน

    ฉะนั้นอารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ใครๆ ย่อมเกิดมีด้วยกันทั้งนั้น ใครจะเกิดมีอารมณ์ประเภทไหนนั้นขึ้นอยู่กับการสัมผัสอารมณ์นี้มีสามลักษณะ

    ๑. อารมณ์ที่มีความชอบใจ

    ๒. อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ

    ๓. อารมณ์เฉยๆ

    อารมณ์เฉยนี้จะไม่ก่อให้เกิดการฟุ้งไปเป็นสังขาร จะเป็นอารมณ์เงียบอยู่ตามปกติ ไม่มี

    กิริยาในการแสดงออกในทางความคิดปรุงแต่งอะไร ไม่สนใจในสิ่งที่มาสัมผัสนั้นๆ

    ส่วนอารมณ์ที่ชอบใจ และอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ทั้งสองนี้จะก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นที่ใจ จึงได้เกิดความฟุ้งไปตามอารมณ์นั้นจนลืมตัว อารมณ์ที่ไม่ชอบใจจึงคิดไปในทางอิจฉาตาร้อน คิดฟุ้งปรุงแต่งไปในทางอิจฉา ริษยา เบียดเบียนเพื่อเอาชนะคนอื่นด้วยความโกรธแค้น คิดฟุ้งไปในวิธีการทำ การพูดให้แก่คนอื่นได้รับความเสียหาย เพื่อทำลายชื่อเสียงเกียรติยศให้แก่คนอื่น เพื่อทำลายลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขแก่คนอื่นให้ลดน้อยลงหรือให้หมดไป

    ความคิดฟุ้งไปในลักษณะนี้เป็นความคิดของบุคคลที่ไม่มีคุณธรรมประจำใจ เป็นความคิดของอันธพาลสันดานชั่ว เป็นความคิดของผู้เห็นแก่ตัวที่มีอัตตาสูง เป็นความคิดที่จะทำให้เกิดความแตกแยกสามัคคี ไม่มีเมตตาธรรม ไม่มีกรุณาธรรม ไม่มีมุทิตาธรรม และไม่มีอุเบกขาธรรมประจำใจ จะทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วยการทำการพูดนี้มากมาย ไม่มีหิริความละอายใจ ไม่มีสติปัญญาความสำนึกตัวได้เลย ว่าการทำการพูดอย่างนี้จะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เดือดร้อนอย่างไร หาได้คิดไม่ มีแต่คิดไปฟุ้งไปเพื่อทำลายคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือผู้ชอบคิดฟุ้งไปในลักษณะการกล่าวขวัญนินทาว่าร้ายแก่คนอื่นก็เช่นกัน จึงเรียกว่าคนนิสัยเสียสันดานชั่วลืมตัวเอง ถ้าไม่ชอบใจกับคนใดคนหนึ่งด้วยวิธีใด ใจก็จะผูกโกรธเอาไว้แล้วคิดหาวิธีที่จะทำลายคนนั้นให้ได้ นี้การฟุ้งไปในอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ มูลเหตุที่จะให้เกิดอารมณ์ในลักษณะนี้มีอยู่มาก และจะทำให้เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดฝังใจได้อย่างสนิททีเดียว

    อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ชอบใจ อารมณ์นี้เป็นอารมณ์พิเศษที่ทุกคนมีความต้องการเป็นอย่างมาก ทุกคนพากันแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามใจชอบ เป็นอารมณ์ที่ทำให้ใจเกิดความร่าเริงสนุกสนานเบิกบานใจ ไม่มีความเครียดอึดอัดใจ มีแต่ความโล่งโปร่งสุขใจสบายใจ เป็นอารมณ์ที่ทำให้เกิดรอยยิ้มภายในใจอยู่ตลอดเวลา หารู้ไม่ว่าเป็นอารมณ์ที่อาบด้วยยาพิษ ดังคำว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความโศกเศร้าเสียใจ ความทุกข์ใจ ความตรอมใจ ความอาลัยอาวรณ์นอนไม่หลับ กินไม่ได้ย่อมเกิดจากอารมณ์ประเภทนี้ ถึงจะมีความสุขอย่างมหันต์ แต่ก็จะเกิดความทุกข์อย่างอนันต์เป็นผลตอบแทนได้เช่นกัน

    ฉะนั้นความใฝ่ฝัน ความต้องการของคนเราในโลกนี้ มีจุดหมายในอารมณ์ที่สุขกายสุขใจ เหมือนกัน หารู้ไม่ว่านี้คืออารมณ์เรียกน้ำตา ถ้ามีความรักมาก ก็มีความสุขมาก แต่อย่าลืมว่านี้คืออารมณ์แห่งความสุข ที่จะให้เกิดความทุกข์มากเช่นกัน ความสุขเกิดจากอะไร ความทุกข์ก็เกิดจากความสุขนั้นๆ ตามปกติของใจจะคิดฟุ้งไปหาอารมณ์ที่จะให้เกิดความสุข นั้นคืออารมณ์ของสมมติและสังขาร

    คำว่าสังขารคือ การปรุงแต่ง ก็เพื่อให้ถูกใจตัวเอง เหมือนการปรุงอาหารจะทำให้เกิดรสชาติออกมาอย่างไร ก็ปรุงเอาเอง จะแต่งลักษณะสีสันลวดลายให้เกิดความสวยงามอย่างไรก็แต่งเอง จะให้เกิดความสุขใจสบายใจอย่างไรก็ทำเองทั้งหมด นี้ฉันใด อารมณ์ใดที่จะปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความสุขใจสบายใจ ก็ส่งใจฟุ้งไปในอารมณ์นั้นๆ เพื่อให้เกิดความรัก ให้เกิดความยินดีพอใจในสิ่งนั้นๆ เรียกว่ายั่วยุใจให้เกิดอารมณ์นั้นเอง

    สังขารการปรุงแต่ง ถ้าไม่มีมูลเหตุก็ปรุงแต่งไม่ได้ เหมือนปากกามีในมือ ถ้าไม่มีกระดาษมารองรับให้เขียน ก็จะไม่เป็นตัวหนังสือให้อ่านได้ นี้ฉันใด การปรุงแต่ง ถ้าไม่มีสมมติมาเป็นตัวรองรับ ก็ปรุงแต่งอะไรไม่ได้เช่นกัน ฉะนั้นจึงสร้างสมมติขึ้นมาเป็นตัวรองรับเพื่อจะใช้ความคิดปรุงแต่งได้ เหมือนกับอาหารหวานอาหารคาว พ่อครัวแม่ครัวจะปรุงอาหารประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปรุงที่มี จะปรุงรสจัด รสจืดหวานมากหวานน้อยอย่างไร ต้องปรุงให้ถูกใจตัวเอง นี้ฉันใด สมมติในเรื่องใดขึ้นมาก็ปรุงแต่งไปตามสมมตินั้นๆ ไปให้ถูกกับวัยของตัวเอง ถ้าวัยเด็กก็คิดฟุ้งไปตามวัยเด็ก ถ้าวัยหนุ่มสาวก็คิดฟุ้งไปตามวัยหนุ่มสาว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะคิดปรุงไปตามใจชอบให้กลมกลืนไปตามความอยากของตน ชอบในสิ่งใด จะคิดฟุ้งไปได้ทั้งวันทั้งคืน ถ้าวัยที่มีครอบครัวก็จะคิดปรุงฟุ้งไปในการสร้างฐานะเพื่อให้มีความร่ำรวย ถ้าวัยแก่ ก็จะคิดปรุงไปในการรักษาดูแลไม่ฟุ่มเฟือยในการจับจ่ายใช้สอย เห็นลูกหลานใช้จ่ายมากไปหรือไม่เก็บรักษา ก็จะคิดฟุ้งไปบ่นไปจุกจิกจู้จี้ คิดห่วงคนนั้นห่วงคนนี้ว่า เขาจะอยู่กันอย่างไร ใจก็จะคิดฟุ้งไปในเรื่องความเป็นห่วงในสิ่งนั้นๆ อีกมากมาย

    ฉะนั้น ความรุนแรงที่ฟุ้งไป จะอยู่ในวัยที่มีราคะตัณหา ราคะตัณหานี้เองจะเป็นพลังส่งพลังหนุนให้เกิดความฟุ้งไปจนลืมตัว จึงเรียกว่าตัณหาหน้ามืด ก็หมายถึงใจมืดบอดนั้นเอง จึงไม่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร เมื่อใจถูกราคะตัณหาครอบคลุมอยู่ก็จะเกิดความรัก ความกระสันดิ้นรนให้เป็นไปตามใจชอบ ไม่มีหิริความละอายใจ ไม่กลัวบาปอกุศลใดๆ ไม่มีสติปัญญาแก้ปัญหาให้แก่ใจจึงฟุ้งไปอยู่ตลอดเวลา

    ฉะนั้นการฟุ้งไปในสมมติสังขารนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่ในผู้ปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ถ้าผู้ไม่มีสติปัญญาที่ดี ก็จะปล่อยใจให้คิดไปตามราคะตัณหานี้อย่างไม่มีขอบเขต ยังหลงต่อไปว่าตัวเองมีความสุขอยู่กับราคะตัณหานี้ดีอยู่แล้ว มีแต่ความเพลิดเพลินร่าเริงอยู่กับความฟุ้งปรุงแต่งในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างหน้าตาเฉย ไม่คิดว่าจะเกิดทุกข์ โทษภัยให้แก่ตัวเองแต่อย่างใด มีแต่ความชอบใจใฝ่ฝันอยู่ในการฟุ้งปรุงแต่งกับสมมติอยู่ตลอดเวลา ไม่มีคำว่าเบื่อหน่ายรำคาญใจแต่อย่างใด

    ฉะนั้นผู้ภาวนาปฏิบัติต้องมีสติปัญญาระวังใจอย่าให้อารมณ์ประเภทนี้เกิดขึ้นที่ใจได้ ถ้าเกิดขึ้นมาก็ต้องใช้สติปัญญาสอนใจอยู่เสมอ ให้ได้รู้เห็นทุกข์โทษภัยในความหลงใหลในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ใจมีความเศร้าหมองขุ่นมัว ต้องแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ ถ้าปล่อยไว้นานจะเกิดเป็นอารมณ์สะสมทับถมใจมากขึ้น เหมือนกระจกที่ใสสะอาด ถ้าปล่อยให้ฝุ่นละอองเกาะติดอยู่บ่อยๆ ย่อมทำให้กระจกมืดมัวไปได้ จะมองไม่เห็นหน้าตัวเอง หรือเหมือนกับผ้าที่ถูกคราบสกปรก ก็ให้รีบซักฟอกเช็ดถูให้หมดไป นี้ฉันใด ใจเมื่อมีอารมณ์ที่สกปรกก็เริ่มใช้สติปัญญามาชำระสะสาง อย่าให้อารมณ์ที่สกปรกนี้ติดค้างอยู่ภายในใจได้ ให้มีความระวังสำรวมรักษา อย่าให้อารมณ์ประเภทนี้เกิดขึ้นที่ใจอีก จึงนับได้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติที่ดีมีความฉลาดรอบรู้ในการรักษาใจและฉลาดรอบรู้ในอุบายวิธีแก้ปัญหาให้หมดจากใจไปได้

    ฉะนั้นการภาวนาปฏิบัติ ต้องศึกษาหลักการและวิธีการให้เข้าใจ ตีความในปริยัติให้ถูกกับความหมายให้เข้าใจในคำว่า สมถะ ให้เข้าใจในคำว่า วิปัสสนา เพราะแต่ละอุบายนั้นมีความแตกต่างกัน

    คำว่าสมถะ ก็คือการทำสมาธิเพื่อให้ใจมีความตั้งมั่นและมีความสงบ คำว่าวิปัสสนา ก็หมายถึงปัญญาที่พิจารณาให้เป็นไปตามความเป็นจริงในหมวดธรรมนั้นๆ แต่ละอุบายมีความหมายที่แตกต่างกันอยู่ก็ตาม เมื่อนำมาปฏิบัติจะเป็นอุบายเชื่อมโยงต่อกันได้เป็นอย่างดี จึงเป็นแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ มิใช่ว่าจะทำสมาธิเพื่อให้ใจมีความสงบตามแบบฉบับของหมู่ดาบสฤๅษีดังที่เห็นกันในปัจจุบัน ที่สำคัญคือ การเจริญวิปัสสนาแต่ไม่ให้ความสนใจ ไม่ยอมฝึกความคิด ไม่ยอมฝึกปัญญาให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง อย่างมากก็เพียงไปศึกษาในหลักปริยัติ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักปริยัติไปเท่านั้น จะเข้าใจว่าได้เจริญในวิปัสสนาแล้วในลักษณะอย่างนี้หาใช่ไม่ นี้เป็นเพียงใช้ปัญญาพิจารณาไปตามสัญญาในหมวดปริยัติเท่านั้น ยังไม่เป็นการเจริญวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์

    การเจริญวิปัสสนาหมายถึง ใช้ความสามารถสติปัญญาของตัวเองเป็นหลัก ไม่จำเป็นจะให้ถูกตามประโยคข้อความในปริยัติไปเสียทั้งหมด มิใช่ว่าจะยกเอาปริยัติมาพิจารณาให้ถูกต้องทุกประโยคทุกข้อความไป ประโยคข้อความนั้นเป็นปัญญาของนักปราชญ์ท่านเขียนไว้เพียงเป็นแนวทางเท่านั้น ส่วนประโยคข้อความของปัญญาเรา ถึงจะใช้สำนวนข้อคิดที่แตกต่างกันกับปริยัติไปบ้างก็ไม่เป็นไร ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หลักที่สำคัญนั้นคือ ความหมายให้ถูกต้องตรงกันกับหลักปริยัตินั้นๆ เพราะปฏิภาณโวหารในการใช้อุบายในการพิจารณาไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการฝึกวิปัสสนาหรือฝึกปัญญา อย่าเอาตามตำราและอย่าทิ้งตำราแล้วกัน





    สมถะหรือสมาธิ

    สมถะ สมาธิ มีความหมายอย่างเดียวกัน นั้นคือความตั้งใจมั่นและใจมีความสงบ จะมีความแตกต่างกันในลักษณะหยาบ ละเอียดเท่านั้น ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาสมาธิทั้งสองอย่างนี้ให้เข้าใจ เพื่อจะนำไปภาวนาปฏิบัติให้ถูกกับความหมาย สมาธิความตั้งใจมั่นมีอุบายทำได้หลายวิธี ในยุคนี้ที่ทำกันอยู่ก็มีคำบริกรรม สัมมาอรหัง คำบริกรรมยุบหนอ พองหนอ และคำบริกรรมว่า พุทโธ หรือใช้อานาปานสติ กำหนดดูลมหายใจ หรือจะมีคำบริกรรมอะไรที่แตกต่างจากนี้ไปก็ได้ ในความหมายก็เพื่อให้ใจมีความตั้งมั่นและใจมีความสงบให้ได้ ใครมีความถนัดนึกคำบริกรรมอะไรก็ทำไป อย่าเอาคำบริกรรมมาเป็นเหตุแยกพรรคแยกพวกให้เกิดความแตกแยกสามัคคีในกลุ่มชาวพุทธด้วยกัน เหมือนการรับประทานอาหาร ธาตุขันธ์ของใครถูกกับอาหารประเภทใด อาหารประเภทนั้นจะเป็นสัปปายะ มีความสุขสบายมีคุณภาพเหมือนกับอาหารประเภทอื่น นี้ฉันใด ใครมีความถนัดนึกคำบริกรรมอะไรก็ได้ ความมุ่งหมายก็เพื่อให้ใจมีความตั้งมั่นและความสงบเท่านั้น





    กรรมฐานห้า

    อุบายการฝึกสมาธิสมัยครั้งพุทธกาล มีถึง ๔๐ อย่าง ก็ไม่มีปัญหาความขัดแย้งกันแต่อย่างใด ในคำบริกรรมในสมัยครั้งพุทธกาลมีอะไรบ้าง และกำหนดนึกคำบริกรรมอย่างไร ข้าพเจ้าจะอธิบายไว้พอเป็นตัวอย่างสักห้าวิธี มิใช่ว่าข้าพเจ้าจะคิดขึ้นเอง จะมีอยู่ในตำราทั้งหมด

    คำบริกรรมห้าวิธีนี้ก็มีอยู่ในตัวของเรา คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ที่เรียกว่ากรรมฐานห้านั้นเอง กรรมฐานห้านี้เป็นได้ทั้งอุบายของสมถะ และเป็นอุบายในการเจริญวิปัสสนา ในช่วงนี้จะอธิบายในวิธีทำสมถะ ขั้นตอนอย่างอื่นก็เหมือนกับการทำสมาธิทั่วไป การฝึกคำบริกรรมในกรรมฐานห้านี้ จะมีความแตกต่างกันโดยกำหนดจิตเพ่งในความหมายของคำบริกรรมนั้นๆ เป็นหลัก เช่น สูดลมเข้านึกว่า เก หายใจออกนึกว่า สา เหมือนกันกับคำว่า พุทโธ ที่ต่างกันนั้นในขณะที่นึกคำบริกรรมว่า เกสา อยู่นั้น ให้ตั้งใจโดยมีสติ ระลึกรู้อยู่กับผม เพ่งไปในผม สมมติให้รู้เห็นในสี ลักษณะว่าขาวหรือดำ สั้นหรือยาว ให้หายใจโดยปกติ อย่าให้มีความกดดันภายในใจ ใจเพ่งดูรู้เห็นผมให้ชัดเจนในขณะนั้น กำหนดทำวิธีนี้บ่อยๆ ก็จะค่อยรู้เห็นผมนั้นขึ้นมาในใจเอง ต่อไปก็จะน้อมผมที่เกิดขึ้นจากการเพ่งดูผมนี้ ประกอบในการเจริญวิปัสสนาต่อไป เจริญอย่างไรนั้นจะอธิบายในช่วงต่อไป เพื่อไม่ให้สับสนกันกับวิธีทำสมาธิ

    อุบายวิธีทำในคำบริกรรมว่า โลมา นขา ทันตา ก็เป็นอุบายวิธีทำเหมือนกัน แต่ต่างกันในสีสัน ลักษณะของแต่ละอย่างเท่านั้น ส่วนคำบริกรรมว่า ตะโจ ก็มีอุบายทำเหมือนกัน ผู้ฝึกทำใหม่ สติสัมปชัญญะและความระลึกรู้เห็นไม่พอ จะให้รู้เห็นหนังทั้งหมดของร่างกายไม่ได้ ฉะนั้นจงกำหนดหาจุดของหนังจุดใดจุดหนึ่งมาเป็นอุบายเพ่ง จะเอาแผลเก่าหรือไฝก็ได้ ให้กำหนดจิตเพ่งอยู่กับจุดนั้นๆ ให้รู้เห็นในสีและลักษณะในหนังส่วนนั้นๆ ให้ชัดเจน เมื่อมีความรู้เห็นชำนาญแล้วให้ขยายหนังออกด้วยวิธีเพ่งต่อไป เมื่อฝึกสติขยายหนังอยู่บ่อยๆ ก็จะรู้เห็นหนังชัดเจนมากขึ้น ฐานของสติสมาธิก็จะมีความตั้งใจมั่นมากขึ้น ต่อไปจะเอาหนังมาเป็นอุบายในการเจริญวิปัสสนาได้อย่างชัดเจน ร่างกายส่วนอื่นๆ ก็ทำในลักษณะเดียวกัน การพิจารณาด้วยปัญญาก็ให้รู้เห็นตามอาการลักษณะของกายส่วนนั้นๆ ให้เป็นไปตามหลักความเป็นจริง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาเป็นอสุภะก็ได้

    การทำสมาธิต้องศึกษาในวิธีทำสมาธิให้เข้าใจโดยเฉพาะเรื่องของจิตฟุ้งซ่าน จะปล่อยให้ใจฟุ้งอยู่เรื่อยไป จะแก้ไขไม่ได้เลย นั้นคือผู้ภาวนายังไม่ได้ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่สมบูรณ์ เพียงไปศึกษาในวิธีการทำสมาธิอย่างเดียว สติปัญญาความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิไม่ได้ศึกษาไว้เลย เมื่อมีปัญหาในขณะทำสมาธิ มีจิตฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ก็ไม่มีวิธีแก้ไข ในเมื่อกำหนดนึกคำบริกรรมทำสมาธิไป จิตชอบคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ สติหักห้ามไม่ได้ ก็หยุดจากการทำสมาธินั้นไปเสีย จิตฟุ้งซ่านหรือจิตฟุ้งไปตามสังขารหรือ จิตชอบคิดไปตามกระแสธรรมก็หารู้ไม่ จึงเหมาไปว่าจิตฟุ้งซ่านไปเสียทั้งหมด เมื่อจิตชอบคิดไปในทางธรรมก็จะเข้าใจว่า จิตฟุ้งซ่านอยู่นั้นเอง นี้คือผู้ไม่มีความรอบรู้ในการปฏิบัติไม่เตรียมพร้อมทางสติปัญญาเอาไว้ จึงไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นฟุ้งซ่าน อะไรฟุ้งไปตามสังขาร อะไรจิตชอบคิดในทางธรรม ถ้าผู้มีความฉลาดทางสติปัญญาก็จะเปลี่ยนอุบายในการภาวนาทันที เพื่อให้เข้ากันได้กับใจที่ชอบคิดนั้นคือ เปลี่ยนจากวิธีทำสมาธิ มาเป็นอุบายในการเจริญวิปัสสนาคือ ใช้สติปัญญาพิจารณาทดแทนสมาธิไป

    การพิจารณาด้วยปัญญาก็คือ การใช้ความคิดนั้นเอง ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกคามคิดทางปัญญามาก่อน ก็จะคิดพิจารณาในหมวดธรรมใดไม่เป็นชิ้นเป็นอัน นึกอะไรไม่ได้คิดไม่เป็นอยู่นั้นเอง เหมือนกับผู้ที่ยังไม่เคยเต้นรำขับร้องมาก่อน ไม่ทราบว่าจะยกขา ยกแขนเต้นออกมาท่าไหน จับไมค์ก็ไม่รู้จักหัว ไม่รู้จักท้าย ไม่รู้ว่าจะร้องเพลงอย่างไร ทำนองใด นี้ฉันใด ผู้ที่ไม่เคยฝึกปัญญามาก่อนก็ฉันนั้น เมื่อเปลี่ยนอุบายจากการทำสมาธิมาเป็นปัญญาก็พิจารณาอะไรไม่ได้เลย นี้คือผู้ไม่สมบูรณ์ในการภาวนาปฏิบัติ ก็จะเป็นทางตันหยุดกันเพียงเท่านี้



    อุบายฝึกปัญญา



    การฝึกหัดคิดพิจารณาด้วยปัญญาครั้งแรก อย่าไปจริงจังกับการละกิเลสตัณหาแต่อย่างใด อย่าจริงจังว่าจะต้องรู้จริงเห็นจริงในหมวดธรรมนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน อย่าจริงจังว่าจะต้องรู้แจ้งเห็นจริงในมรรคผลนิพพานอะไรเลย ให้คิดพิจารณาภายในคือร่างกายตัวเอง คิดพิจารณาภายนอกแล้วให้น้อมเข้ามาเทียบกับร่างกายเราว่า มีความไม่เที่ยงเหมือนกันอย่างนี้ๆ มีความทุกข์เหมือนกันอย่างนี้ๆ มีการแตกสลายไปไม่มีสิ่งใดคงทนอยู่ในโลกนี้ตลอดไป ทุกอย่างก็ต้องสลายกลายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ไม่มีธาตุส่วนใดจะกลับกลายมาเป็นสัตว์เป็นบุคคลอีกต่อไป อุบายการฝึกปัญญาพิจารณาอย่างนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเคยชิน ให้เกิดความชำนาญในการคิดเอาไว้ อยู่ที่ไหนก็คิดได้พิจารณาได้ จะทำงาน ทำอาหาร ล้างถ้วยชาม ซักผ้า เข้าห้องน้ำ ก็เอามาเป็นอุบายในการฝึกปัญญาได้ทั้งนั้น จะอยู่ที่ไหนในอิริยาบถใด ก็ใช้ความคิดพิจารณาได้เช่นกัน

    เมื่อเรามีการฝึกปัญญามาดีแล้ว เราจะใช้ปัญญากำจัดความฟุ้งนั้นได้ทันที ถ้าทำสมาธิจิตชอบคิดชอบฟุ้งในเรื่องอะไรไม่สำคัญ เราจะใช้ความคิดทางสติปัญญาพิจารณาในสัจธรรมนั้น ๆ กลบความฟุ้งให้ได้ ความคิดความฟุ้งไปในลักษณะใดก็จะหมดไปทันที นี้เป็นวิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง หรือเรียกว่าเอาความคิดลบล้างความคิดกันเอง จริงอยู่ความคิดที่ฟุ้งนั้นไม่ดี เป็นภัยต่อการทำสมาธิ แต่เราก็ต้องฉลาดเอาความฟุ้งนั้นมาประกอบกับปัญญาให้เป็น เหมือนกับงูที่มีพิษอันตราย ผู้ที่มีความฉลาดต้องคิดหาวิธีเอาพิษงูนั้นมาทำให้เป็นยาเพื่อแก้พิษงูได้นี้ฉันใด ความคิดของสติปัญญาที่ฉลาดรอบรู้จะมีอุบายนำมาหักล้างในความคิดฟุ้งซ่านนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

    ในยุคนี้สมัยนี้ จะมีผู้ภาวนาทำสมาธิกันมา ไม่ว่าที่ไหนๆ จะสอนกันทำสมาธิเพื่อให้ใจมีความสงบทั้งนั้น พรรณนาคุณภาพของสมาธิว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ไป เพื่อให้ผู้ทำสมาธิมีกำลังใจอยากรู้อยากเห็นในสมาธินั้นๆ จึงรวมกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ทำกันไปตามคำแนะนำของผู้สอน บางกลุ่มก็สอนให้ทำอย่างนั้น บางกลุ่มก็สอนให้ทำอย่างนี้ แล้วแต่ครผู้สอนมีความถนัดในวิธีไหนก็สอนกันไปภาวนากันไปอย่างนั้น เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็ถามว่า เป็นอย่างไร เห็นอะไรบ้างไหม บางกลุ่มก็ถามกันในขณะที่ทำสมาธิอยู่ว่า เห็นอะไรบ้างไหม ถ้ายังไม่เห็นก็แนะวิธีจินตนาการสร้างภาพขึ้นมาเพื่อให้เห็นเป็นวิธีจูงใจให้น้อมไปในสิ่งที่อยากจะเห็น เป็นอันว่าทำสมาธิเพื่ออยากเห็นเท่านั้น ผู้สอนก็มีความรู้เพียงเท่านี้ก็สอนได้เพียงเท่านี้ ผู้ปฏิบัติตามก็เข้าใจได้เพียงเท่านี้เช่นกัน บางกลุ่มก็สอนให้จิตว่าง บางกลุ่มก็สอนด้วยวิธีขยับมือทำอย่างนั้นอย่างนี้ไป หรือมีวิธีอย่างอื่นอีกมากมายในความหมาย ก็เพื่อให้จิตมีความตั้งมั่นให้จิตมีความสงบเช่นเดียวกัน ฉะนั้นในยุคนี้สมัยนี้จะมีผู้สอนและผู้ภาวนาจะรู้เพียงสมาธิความสงบเท่านั้น แทบทุกกลุ่มถ้าผู้นำประกาศว่าให้พากันภาวนา ทุกคนก็เข้าใจว่าต้องนึกคำบริกรรมทำสมาธิเพื่อให้ใจมีความสงบกันทั้งนั้น นี้ก็น่าเห็นใจเพราะครูผู้สอนท่านมีความรู้ความสามารถเพียงเท่านี้ จะสอนให้ภาวนาปฏิบัติสูงขึ้นไปกว่านี้ยังไม่ได้ เหมือนครูผู้มีวุฒิความรู้ในระดับต่ำ ก็ต้องสอนใน ก.ไก่ ข.ไข่ กันไป นี้ฉันใด ผู้สอนสมาธิที่มีความรู้น้อย ไม่เข้าใจในการสอนในวิธีภาวนาปฏิบัติในระดับสูงก็อย่าไปสอนเลย เมื่อสอนผิด ให้ข้อมูลให้อุบายในการสอนผิด ผู้ภาวนาปฏิบัติก็จะผิดไป จึงยากในการแก้ไขให้ถูกต้องได้

    ตามปกติ พวกเราก็ทำสมาธิกันอยู่แล้ว แต่เป็นการทำสมาธิขั้นพื้นฐาน ยังไม่ถึงสมาธิขั้นละเอียดในระดับสูง คือ อัปปนาสมาธิ ยังไม่ถึงรูปฌาน อรูปฌานแต่อย่างใด เป็นเพียงขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ ความตั้งใจมั่นเท่านั้น สมาธิในระดับนี้ถ้าฝึกสติปัญญามาประกอบในการปฏิบัติได้ ก็จะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปด้วยดี มีกำลังพอจะเชื่อมโยงต่อการเจริญวิปัสสนาได้ คิดพิจารณาในสัจธรรมได้แล้ว ถ้าพื้นฐานทางปัญญาไม่มี กำลังของสมาธิที่มีอยู่ก็ตาม จะหยุดกันเพียงเท่านี้ จะต่อไปอีกไม่ได้เลย

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องฝึกปัญญาไว้ให้ดี เพื่อจะนำมาประกอบกับสมาธิให้มีกำลังหนุนซึ่งกันและกัน ให้มีสติสมาธิ สติปัญญาอยู่ในตัวเราอย่างสมบูรณ์ จึงจะเป็นสติพลัง สมาธิพลัง ปัญญาพลัง เมื่อพลังทั้งสามนี้รวมกกลุ่มกันได้เมื่อไร การปฏิบัติภาวนาก็จะก้าวหน้าไป ไม่มีการถอยหลังและหยุดอยู่กับที่แต่อย่างใด ถ้าภาวนาเอาเพียงสติสมาธิเท่านี้ก็จะอยู่กันเพียงเท่านี้ ถ้าหากสมาธิเสื่อมก็จะหมดสภาพไปหรือถดถอยไป เหมือนกับแม่สีที่เข้มข้น จะเอาไปทาไปพ่นเฟอร์นิเจอร์ให้เกิดความสวยงามไม่ได้เลย จึงใช้น้ำมันสนหรือทินเนอร์เข้าไปผสมให้แม่สีนั้นละลายตัวก่อน จึงจะนำไปพ่นทาอะไรให้เกิดความสวยงามได้ นี้ฉันใด การทำสมาธิ เป็นอุบายวิธีที่สร้างความเป็นกลุ่มของใจไม่ให้กระจายออกไปสู่อารมณ์ภายนอกเรียกว่าอุบายพักใจ ถ้าพักบ่อยๆ ก็จะเกิดความเคยชินและจะกลายเป็นนิสัย ไม่อยากจะคิดในสิ่งใดๆ ก็จะกลายเป็นใจที่ขี้เกียจในการคิดการดำริพิจารณาด้วยปัญญาไป

    ฉะนั้นจึงสร้างปัญญาขึ้นมาประกอบกับสมาธิ เพื่อจะดึงเอากำลังจากสมาธิมาเสริมปัญญา เพื่อจะได้พิจารณาอะไรได้อย่างคล่องตัว สมาธินั้นก็จะเกิดประโยชน์มีคุณค่าให้แก่ผู้ภาวนาได้เป็นอย่างดี

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติภาวนาต้องฝึกความฉลาดรอบรู้ทางสติปัญญาให้เกิดมีแก่ตัวเอง ในเมื่อการภาวนาปฏิบัติเกิดความขัดข้องสงสัยในสิ่งใด ก็จะเอาสติปัญญาเราเข้ามาแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ คำว่าปัญญาความรอบรู้ ในที่นี้ก็คือ รอบรู้ในอุบายการทำสมาธิและรอบรู้ในสังขารทั้งปวงนั้นเอง ทำสมาธิอย่างไร จะเป็นไปในทางที่ถูกต้อง ทำอย่างไรจะให้มีความก้าวหน้าไปไม่ถอยหลัง ทำอย่างไรจะให้มีความก้าวหน้าไปไม่ถอยหลัง ทำอย่างไรที่จะให้เกิดเป็นสัมมาสมาธิ ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดเป็นโมหะสมาธิและจะมีวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเป็นมิจฉาสมาธิได้อย่างไร ต้องศึกษาให้เข้าใจ ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบรู้เอาไว้ เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้แก่ตัวเองได้อย่างถูกต้อง การทำสมาธิด้วยความโง่เขลา ก็เหมือนเอาน้ำธรรมดามาทำเป็นก้อนน้ำแข็ง เมื่อเป็นก้อนแล้วก็เอามาวางไว้ไม่กี่นาที ก้อนน้ำแข็งก็ละลายกลายเป็นน้ำธรรมดาไป แล้วนำเอามาทำให้เป็นก้อนน้ำแข็งใหม่ เอามาวางไว้ก็ละลายอีก ถ้าทำอยู่อย่างนี้ก็ได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง เพียงเท่านี้ เพียงระงับความร้อนได้บางครั้งบางคราวเท่านั้น นี้ฉันใด การทำสมาธิเพื่อให้ใจมีความสงบก็ฉันนั้น ถึงจะทำสมาธิให้ใจมีความสงบลงได้แล้วก็ตาม เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็ต่อไปทางสติปัญญาไม่เป็น ก็นั่งจับเจ่าซึมเซ่ออยู่ที่นั้น ปล่อยให้กำลังของสมาธิเสื่อมไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วทำสมาธิใหม่ เมื่อจิตมีความสงบแล้วก็ออกมานั่งซึมเซ่อต่อไปจะมีประโยชน์อะไร จะทำไปจนถึงวันตายก็ตายฟรีๆ ไม่มีทางที่จะได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย นี้เรียกว่าทำสมาธิแบบโง่เขลา เป็นสมาธิหัวหลักหัวตอ เป็นโมหะสมาธิ หลงงมงายในความสุขของสมาธิจนลืมตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ที่จะนำเอาสมาธิความสงบนี้ไปประกอบกับสติปัญญาอะไรเลย



    สมาธิเป็นกำลังเสริม



    การทำสมาธิมีความสำคัญเป็นอย่างมากทีเดียว เมื่อทำแล้วให้เอามาเสริมกับปัญญาให้เป็น ไม่เช่นนั้นจะเสียประโยชน์และเสียเวลาไปเปล่า เหมือนกับลิงที่ได้มะพร้าวมาแล้ว อุ้มไปอุ้มมาก็โยนทิ้งเท่านั้นเอง ของดีที่มีอยู่ในมะพร้าวนั้นจะไม่ได้กินแต่อย่างใด หรือเหมือนไก่เห็นเพชรพลอยก็จะปล่อยทิ้งไปไม่เกิดประโยชน์อะไร นี้ฉันใด ใจที่ทำให้เกิดสมาธิได้แล้วก็ปล่อยทิ้งไปก็เพราะความไม่เข้าใจที่จะนำมาประกอบกับปัญญานั้นเอง ทำก็สักว่าทำไปเท่านั้น เรียกว่าทำสมาธิไม่มีหลักสูตร จึงเป็นทางตันอยู่เพียงเท่านั้น

    การทำสมาธิให้จิตมีความตั้งมั่นหรือความสงบ โดยแท้จริงแล้วเป็นอุบายเสริมให้กับปัญญาได้เป็นอย่างดี มิใช่ทำเพื่อให้เกิดปัญญาแต่อย่างใด หน้าที่ของสมาธิเป็นเพียงกำลังเสริมเท่านั้น จะนำไปเสริมทางผิดทางถูกนั้นขึ้นอยู่กับผู้น้อมไปใช้งาน ถ้าผู้มีความฉลาดก็นำไปประกอบกับสติปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม ถ้าผู้โง่เขลาปัญญาทรามก็จะนำไปเสริมในทางที่ผิด ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิไปจะแก้ไขไม่ได้เลย เพียงมีความสุขใจไปชั่วระยะหนึ่งแล้วก็เสื่อมไปเท่านั้นเอง จะทำสมาธิให้ใจมีความสงบอยู่ร้อยครั้งพันครั้ง ก็จะเป็นไปในลักษณะเวียนวนกันอยู่อย่างนั้น ที่เข้าใจว่าปัญญาจะเกิดจากสมาธิก็จะกลายเป็นความฝันไป คำนี้พูดกันมานานแต่ไม่มีใครทำให้ปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธินี้เลย นอกจากผู้ที่ท่านเคยได้ฝึกปัญญามาดี แล้วเอาปัญญาที่มีอยู่ไปประกอบกันกับสมาธิเท่านั้น เพราะสมาธิเป็นสื่อกลางเพียงเป็นกำลังเสริม จะเสริมไปในทางดีก็ดีไป เอาไปเสริมทางที่ผิดก็ผิดไป เช่น เอาไปเสริมทางดิรัจฉานวิชาในทางไสยศาสตร์เครื่องรางของขลังก็ได้ กำลังของสมาธิเป็นเพียงองค์ประกอบจะนำไปประกอบทางที่ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละบุคคลนั้นเอง

    ฉะนั้นการทำสมาธิให้จิตมีความสงบนั้นย่อมทำได้ คนเป็นมิจฉาทิฏฐิ คนเป็นสัมมาทิฏฐิก็ทำให้จิตมีความสงบเป็นสมาธิได้ ถ้าผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทำสมาธิก็จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดไป ถ้าผู้เป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกเห็นชอบ เมื่อทำสมาธิก็จะเป็นสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบธรรมต่อไป เพราะทิฏฐิความเห็น เป็นตัวแปรให้สมาธิผิดได้ถูกได้

    ฉะนั้นการทำสมาธิจึงเป็นตัวเสริมในความเห็นเท่านั้น เหมือนกับยาพิษที่ติดอยู่ในขวด ถ้าขวดนั้นยังไม่ได้ล้างยาพิษให้หมดเชื้อไป ยาที่ดีมีคุณภาพ ถ้านำไปบรรจุในขวดที่มียาพิษ ยาพิษก็จะดูดซึมเข้าไปในยานั้นๆ ยาที่มีคุณภาพที่ดีก็จะกลายเป็นยาพิษไป เมื่อนำไปใช้ก็จะเป็นอันตรายทันทีนี้ฉันใด ความเห็นผิด ความเข้าใจนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ในการภาวนาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะความเห็นผิดนี้จะเป็นสายเชื่อมโยงไปสู่สมาธิ ใจที่เป็นสมาธิกับใจที่เป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเป็นใจดวงเดียวกัน จึงกลมกลืนกลายเป็นความเห็นผิดไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อทำสมาธิมากขึ้นกำลังของสมาธิก็ไปเสริมมิจฉาทิฏฐิเพิ่มขึ้น จึงเกิดนิมิตเป็นสังขารออกหลอกตัวเอง ก็เกิดความเข้าใจผิดความหลงผิดไปว่า การรู้เห็นในนิมิตนั้นว่าเป็นของดีไป ตีความเอาเองว่าเป็นธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ไป และเข้าใจว่าตัวเองภาวนาถูกต้องแล้ว ถ้าไปกับเพื่อนฝูงหรือได้พบครูอาจารย์ที่ปฏิบัติภาวนาที่รู้เห็นเป็นเหมือนกัน ก็จะพูดคุยกันรู้เรื่องเป็นอย่างดี จะมีคำชมเชยซึ่งกันและกันไปในตัว เมื่อมีท่านผู้รู้จริงเห็นจริงท้วงติงว่า ไม่ถูกเมื่อไร ก็จะแสดงอาการทางใจต่อต้านทันทีหรือแสดงออกมาทางกาย ออกมาทางวาจาต่อต้านเลยก็ได้ ผู้ปฏิบัติภาวนาเป็นในลักษณะนี้จะมีทิฏฐิมานะ อัตตาสูงมาก จึงยากที่จะแก้ไข หรือแก้ไขไม่ได้เลยตลอดชีวิต

    จะเรียกว่าวันเวย์ของชีวิตก็ไม่ผิด เหมือนการขับรถที่ขาดความระวัง ไม่รู้กฎจราจร ไม่รู้จักป้ายที่ห้ามตามเส้นทาง เมื่อขับรถเข้าไปในวันเวย์แล้วจะกลับรถไม่ได้เลย จะวิ่งเตลิดเปิดเปิงไปจนถึงที่สุดของเส้นทางนั้น นี้ฉันใด ถ้าภาวนาปฏิบัติผิดแนวทางของสัมมาทิฏฐิ ก็จะกลายเป็นมิจฉาปฏิบัติตลอดไป ในชาตินี้จะปิดฉากแห่งมรรคผลนิพพานลงทันที ชาติหน้าจึงว่ากันใหม่

    ในยุคนี้ถึงจะมีอุบายการภาวนาปฏิบัติหลายรูปแบบก็ตาม แต่ก็มีอุบายหนึ่งนั่นแหละถูกต้องที่สุด และตรงต่อมรรคผลนิพพานที่สุด ข้าพเจ้ามีความมั่นใจว่า ในยุคนี้สมัยนี้ยังมีผู้ปฏิบัติภาวนาได้บรรลุมรรคผลนิพพานมีอยู่ ถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณธรรมจะเกิดขึ้นที่ใจทันที หรือผู้ที่กำลังอ่านหนังสือนี้อยู่ก็เป็นได้ ให้ปฏิบัติภาวนาอยู่บ่อยๆ อย่าทิ้งช่วงให้ห่างกันนัก อีกวันหนึ่งท่านก็จะได้เป็นผู้รู้เห็นเป็นปัจจัตตังตามความเป็นจริงในธรรมได้ด้วยตัวท่านเอง

    ฉะนั้นการปฏิบัติเพื่อให้พ้นไปจากกระแสของโลกนี้ ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาอุบายวิธีแนวทางให้เข้าใจ มีอุบายธรรมมาสอนตัวเอง เพื่อให้เกิดความกลัวในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย กลัวต่อการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้งสาม ถ้ามีความกลัวในภพชาติที่เกิดเมื่อไร อุบายที่จะหาช่องทางเพื่อให้พ้นไปจากภพทั้งสามนี้ไม่มีปัญหาอะไร ถึงวันนั้นก็จะรู้ช่องทางด้วยตัวเอง



    นิมิต



    ส่วนมากผู้ภาวนาจะมีความเข้าใจว่า นิมิตต้องเกิดขึ้นจากจิตมีความสงบเป็นสมาธิ มีตำราได้อธิบายไว้มากมาย นิมิตมีศัพท์พูดกันได้หลายอย่าง เช่น สุบินนิมิต อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตฯ แต่จะอธิบายให้ข้อคิดไว้ในที่นี้สักเล็กน้อย พอรู้ในความหมายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจในนิมิต และวิธีปฏิบัติต่อนิมิตนั้นๆ เอาไว้ เพื่อจะได้นำไปเป็นอุบายในการแก้ไขในเมื่อท่านมีนิมิตเกิดขึ้น ผู้ภาวนาทำสมาธิชอบมีนิมิตเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เกิดขึ้นเหมือนกันทุกคนเพราะนิสัยไม่เหมือนกัน แต่นิมิตบางอย่างจะเกิดขึ้นเหมือนกันได้ เช่น สุบินนิมิต และผัสสะนิมิต ส่วนอุคหนิมิตนั้นจะเกิดขึ้นจากจิตมีความสงบเป็นสมาธิเท่านั้น

    สุบินนิมิตนั้นเกิดขึ้นจากการนอนหลับ ที่เรียกว่าความฝัน ผัสสะนิมิตเกิดจากการสัมผัสจากอายตนะ ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น หมายถึง การจำแนกแยกแยะในความหมายในนิมิตนั้น ๆ เมื่อรู้จักความหมายแต่ละนิมิตนั้นแล้ว การแก้ไขในนิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะไม่มีปัญหาอะไร จะมีอุบายแก้ได้ทันที เฉพาะปฏิภาคนิมิตเป็นสำคัญ เป็นตัววิจารณ์จำแนกในนิมิตนั้นๆ ให้ถูกกับความหมาย หรือเรียกว่า ตีความหมายในนิมิตนั้นเอง หรือเรียกว่า ความฉลาดทางปัญญาก็ไม่ผิด เพราะเป็นการเรียบเรียงในเหตุการณ์ของนิมิตที่เกิดขึ้น ว่านิมิตนั้นเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใด และจะมีผลเป็นอย่างไร เป็นลักษณะทบทวนดูทั้งเหตุและผลของนิมิตนั้นๆ ถ้าผู้ไม่มีปฏิภาคนิมิตก็ยากที่จะแก้ไขในนิมิตทั้งหลายได้

    สุบินนิมิต คือนิมิตที่เกิดจากการนอนหลับแล้วฝันไป จะฝันอย่างไรนั้นมีมากมาย ฝันบางอย่างพอเชื่อถือได้เพราะเป็นจริงตามนั้น ฝันบางอย่างเชื่อถือไม่ได้เลย ฝังบางอย่างเกิดจากธาตุขันธ์ไม่ปกติ ฝันบางอย่างเนื่องจากอารมณ์ของใจที่ตกค้าง ฝันบางอย่างเนื่องจากสัญญาความจำ บางครั้งเป็นสัญญาความจำจึงเกิดนิมิตขึ้นมา บางครั้งเป็นสัญญาความจำในอดีต นิมิตบางอย่างเป็นเรื่องของตัวเอง นิมิตบางอย่างเกี่ยวข้องกับคนอื่นสัตว์อื่น นิมิตบางอย่างเป็นเรื่องอนาคตที่จะได้พบเห็นและเป็นไปตามนั้น เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิต ๑๖ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายเอาไว้ แล้วก็เป็นจริงตามนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่มีปฏิภาคนิมิตพอที่จะนำมาเป็นวิตกวิจารณ์ได้ จึงได้เล่าถวายแด่พระพุทธเจ้าเพื่อทรงทำนายที่เรียกว่า พุทธทำนาย ๑๖ ข้อนั้นเอง

    สุบินนิมิตอะไรที่เราเคยฝันไป ถ้ามีปัญญาดีก็เอามาตีความหมายให้เป็นธรรมก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องตีความไปในเรื่องเคราะห์เข็ญเวรร้ายที่จะทำให้เกิดความกังวลใจ ถ้าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นกับเราจริง ก็ให้มันเกิด ไม่จำเป็นจะต้องหาหมอมาแต่งแก้เสียเคราะห์สะเดาะนาม ปฏิบัติธรรมต้องเชื่อกรรมเป็นหลัก ว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เราพร้อมแล้วที่จะรับผลของกรรมนั้นๆ อย่างเต็มตัว เมื่อเราทำกรรมไม่ดีเอาไว้อย่างไร กรรมให้ผลเมื่อไรก็ต้องยอมรับ

    เราเชื่อกรรมและเชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไรไว้ กรรมดีและกรรมชั่ว เราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป กรรมให้ความเป็นธรรมแก่เราทุกคนอยู่แล้ว แต่คนเรามีนิสัยเสีย ตัวเองทำกรรมที่ไม่ดีอะไรไว้ ไม่อยากจะยอมรับ สมมติว่า เราทำกรรมที่ไม่ดีและทำกรรมดีเอาไว้ แต่อยากได้รับผลดีทั้งหมด ผลที่ไม่ดีไม่ต้องการทั้งที่ตัวเองได้ทำเหตุไม่ดีเอาไว้แล้ว

    อุคหนิมิต คือนิมิตที่เกิดขึ้นจากจิตสงบของสมาธิ นิมิตนี้เกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น นิมิตเป็นลักษณะน่ากลัว นิมิตเป็นลักษณะทำให้เกิดความชอบใจ นิมิตเป็นลักษณะเกลียดชัง นิมิตเป็นลักษณะก่อให้เกิดราคะ นิมิตเป็นลักษณะโทสะ นิมิตเป็นลักษณะมืดปิดบัง นิมิตเป็นลักษณะความลุ่มหลง นิมิตที่เกิดขึ้นกับผู้ทำสมาธิมีอีกมากมาย ถ้าเกิดขึ้นจากจิตสงบเรียกว่าอุคหนิมิตด้วยกันทั้งหมด เมื่อเกิดขึ้นแล้วในลักษณะใด ก็ใช้ปฏิภาคนิมิตมาวิพากษ์วิจารณ์ตีความหมาย ว่าลักษณะอุคหนิมิตนั้นควรจะเป็นอย่างไร อะไรเป็นเหตุให้เกิดนิมิตนี้ขึ้น อุคหนิมิตที่เกิดจากสมาธินี้ ถ้าไม่ทำความสนใจอะไร ก็ปล่อยทิ้งไปได้ เหมือนกับสุบินนิมิตที่นอนหลับแล้วฝันไป ถ้าไม่นำมาตีความก็ทิ้งไปเสีย อย่าคิดว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อุคหนิมิตนี้ก็เช่นกันเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะปล่อยทิ้งไปก็ได้ จะเป็นนิมิตในลักษณะใดก็ไม่ให้ความสนใจ ไม่ต้องใช้ปฏิภาคนิมิตเข้าไปประกอบวิพากษ์วิจารณ์ ปล่อยให้เป็นเรื่องของสังขารไปเสีย



    การตีความในนิมิต



    อีกรูปแบบหนึ่ง เมื่ออุคหนิมิตเกิดขึ้นในลักษณะใด จะใช้ปฏิภาคนิมิตเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์เอาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ เอาสิ่งที่ไม่มีคุณค่ามาดัดแปลงให้เกิดมีคุณค่าได้ เหมือนกับเราเดินป่าไปเห็นขวากหนามต่างๆ ตามปกติแล้วก็ไม่ควรกระโดดเข้าไปในกอหนามนั้นๆ เพราะทำให้เจ็บตัวเปล่า ถ้าจะเอาผลประโยชน์จากหนามนั้น ก็ใช้ความระวังอย่าให้หนามทิ่มแทงให้เจ็บตัว ก็ต้องหาช่องทางหาวิธีตัดเอาหนามนั้นมาล้อมบ้าน หาวิธีเอามาช่วยป้องกันสิ่งของเราได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปทำลายสิ่งของของเรา นี้ฉันใด อุคหนิมิตนี้ ถ้าเราจะนำมาเป็นอุบายประกอบกับปัญญาพิจารณาก็ได้ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นอุบายสอนตัวเองได้เช่นกัน จึงขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความฉลาดของแต่ละคนเท่านั้น

    สมมติว่านิมิตเห็นปราสาทที่ใหญ่โตและสวยงาม มีนางฟ้าห้อมล้อมเป็นบริวารคอยเราอยู่มากมายหลายพันคน มีความสวยสุดสะดุดตา นิมิตในลักษณะอย่างนี้จะเป็นดาบสองคมได้ ถ้าคนโง่ตีความก็ตีไปอีกอย่างหนึ่ง ถ้าคนฉลาดตีความก็ตีไปอีกรูปแบบหนึ่งไม่เหมือนกัน ถ้าคนโง่ตีความก็จะตีไปว่า ปราสาทหลังนี้คงจะเป็นปราสาทของเรา ถ้าเราตายไปก็จะได้ไปเกิดอยู่ในปราสาทหลังนี้แน่นอน จะมีความสุขใจสบายใจ เบิกบานใจและมั่นใจว่า อบายภูมิเราไม่ได้ไปแล้วเพราะมีปราสาทเป็นของเรา คนโง่จะตีความไปในลักษณะนี้

    ถ้าผู้มีความฉลาดทางสติปัญญาที่ดี ก็จะตีความว่า ปราสาทนี้สำหรับรองรับผู้ยังตกเป็นทาสของกามคุณ สำหรับผู้ยังท่องเที่ยวเกิดตายอยู่ในโลกนี้ได้อยู่อาศัย ทำให้เกิดความหลงในความสวยงาม สำหรับที่พักของคนสติอ่อนปัญญาทรามที่ยังหลงใหลใฝ่ฝันกันอยู่ ดังคำว่า โลกนี้สดสวยน่าอยู่น่าอาศัย ดูมุมใดจุดใดมีแต่ความสง่างามงอนเหมือนราชรถ แล้วตีความต่อไปว่า คนเขลาเท่านั้นที่ติดอยู่ข้องอยู่ คนที่มีความฉลาดรอบรู้หาข้องอยู่ไม่ และอาจตีความต่อไปอีกว่า ปราสาทนี้เกิดขึ้นจากกิเลสมารนิมิตขึ้นมาเพื่อหลอกเราให้หลงในภพชาติต่างๆ เราเกิดตายอยู่ในโลกนี้มายาวนานก็เพราะหลงกลลวงของกิเลสตัณหาเหล่านี้ ปราสาทหลังนี้เป็นที่พักของคนหลงอยู่ในภพทั้งสาม สำหรับให้คนโง่เข้าอยู่อาศัยเท่านั้น

    เราจะทำตัวเป็นคนโง่หรือคนฉลาด ถ้าจะฝึกตัวเป็นคนฉลาด เราก็อย่าไปหลงติด อย่าไปยินดีอย่าไปให้ความสำคัญกับปราสาทนี้เลย เมื่อมีนิมิตอย่างนี้เกิดขึ้นกับเรา เราจะตีความอย่างที่ได้อธิบายมานี้จะเป็นการตีความถูกต้องที่สุด

    อุคหนิมิตอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นลักษณะขยะแขยงไม่ชอบใจ เช่น เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิแล้ว จะเกิดนิมิตขึ้น เหมือนกับตัวเราได้นั่งนอนอยู่หลุมส้วม มีมูตรคูถที่เน่าเหม็นเต็มตัวไปหมด มีหมู่หนอนตัวน้อยตัวใหญ่ไต่ไปมาหาช่องว่างไม่มีเลย เมื่อจิตได้ถอนออกจากสมาธิแล้ว การตีความในนิมิตนี้ก็มีอยู่สองนัยเช่นกัน ถ้าผู้ไม่มีความฉลาดทางสติปัญญาก็จะตีความหมายไปว่า จะมีเหตุชั่วร้ายอันสกปรกเกิดขึ้นแก่ตัวเราเป็นแน่ จะเป็นเคราะห์เข็ญเวรร้าย สิ่งที่ไม่ดีไม่งามจะเกิดขึ้นก็จะเกิดความไม่สบายใจ มีความระแวงว่าสิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆ จะเกิดขึ้นกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา การหาทางออกก็จะไปหาหมอแต่งแก้เสียเคราะห์สะเดาะนาม เพื่อให้หายจากเคราะห์หามยามร้าย ให้ท่านช่วยปัดเป่าให้หมดไป

    ถ้าผู้มีความฉลาดทางสติปัญญา ก็จะตีความไปว่า นิมิตที่เกิดขึ้นนี้เป็นความจริงเพราะใจเราก็อยู่ในสภาพอย่างนี้จริง ใจเรายังมีความลุ่มหลงสิ่งสกปรกโสโครก มีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีความยินดีอยู่ในราคะตัณหา มีความหลงใหลเข้าใจว่าเป็นของหอม ไม่แตกต่างกับหมู่หนอนอยู่ในหลุมส้วมนี้เลย หนอนก็หมายถึงลูกหลานที่แสดงออกมาด้วยความเอื้อเฟื้อห้อมล้อมอยู่เป็นครอบครัว หลุมส้วมหมายถึงสิ่งบูดเน่าที่ใจเกิดราคะตัณหาที่กิเลสเตรียมรอรับไว้แล้ว ให้สอนใจต่อไปว่า เราหลงตัวมั่วสุมจมอยู่กับสิ่งสกปรกนี้มายาวนาน มีความพอใจใฝ่ฝันแสวงหายินดีนั่งนอนอยู่ในหลุมส้วมนี้มาจนเคยชิน บัดนี้เรามีสติปัญญารู้แล้วว่า ราคะตัณหาทำให้ใจเกิดความเห็นผิด คิดว่าเป็นของดี บัดนี้เรามีความเห็นถูกแล้ว จะไม่เข้าใกล้นั่งนอนอยู่กับหลุมส้วมนี้อีกต่อไป การตีความในนิมิตนี้ถ้าเราใช้สติปัญญาพิจารณาให้ถูกกับความหมาย จะได้อุบายในการฝึกปัญญาฝึกใจได้เป็นอย่างดี

    นิมิตอีกรูปแบบหนึ่งไม่ได้เกิดจากการทำสมาธิ แต่เป็นนิมิตเกิดขึ้นจากการสัมผัส จะเรียกว่าผัสสะนิมิตก็ไม่ผิด นิมิตมีอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่ได้สัมผัสกับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงเกิดนิมิตหมายเป็นธัมมารมณ์ เมื่อตาสัมผัสกับรูป ก็จะเกิดความหมายขึ้นที่ใจ ไปหมายเอารูปนั้นว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไป จึงเกิดความหมายขึ้นที่ใจเรียกว่า นิมิต แปลว่า ความหมาย ปฏิภาคนิมิตเป็นตัวขยายผล ว่ารูปนั้นเป็นที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

    ถ้ารูปที่ไม่ชอบใจก็จะปล่อยให้ผ่านไป ถ้ารูปนั้นมีความชอบใจก็จะยึดเอานิมิตฝังใจไว้ทันที จะมีความคิดปรุงแต่งในนิมิตนั้นๆ ไป มีความอาลัยอาวรณ์ในนิมิตนั้นอยู่ตลอดเวลา ถึงกาลเวลาจะผ่านไปนานหลายวันหลายเดือน ก็จะนึกภาพในรูปนั้นขึ้นมาโดยสมมติ จินตนาการขยายรูปนั้นออกมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามใจชอบ จึงเป็นการเสพสุขในนิมิตนั้นโดยสมมติ จึงเกิดอารมณ์เศร้าหมองขุ่นมัวหุ้มห่อใจ ในเมื่อใจถูกอารมณ์แห่งความรักเข้าครอบงำ จึงเกิดเป็นอารมณ์แห่งความใคร่ จึงกลายเป็นอารมณ์แห่งความกำหนัดย้อมใจ จึงเกิดความหวั่นไหวกระสับกระส่ายไปมาจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะหลักของใจได้พังสลายไปตามรูปนิมิตนั้นแล้ว ถ้าเป็นคนป่วยก็จะนอนหยอดน้ำข้าว หรือเข้าห้องไอซียู อยู่ในขั้นโคม่า จะว่าผีหรือคนก็ยังไม่แน่ใจ

    ฉะนั้นผัสสะนิมิตนี้ ถ้าเกิดขึ้นกับคนโง่ไร้สติปัญญาเมื่อไรจะเอาตัวไม่รอด จะจอดจมอยู่กับนิมิตนี้ตลอดไป ถ้าเป็นนักบวชพบในลักษณะนี้ สบงจีวรอาจจะหลุดลุ่ยออกจากตัวไปก็เป็นได้ ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาก็ยากที่จะอดใจได้ ต้องปล่อยใจไปตามกระแส

    ฉะนั้นการเกิดผัสสะนิมิตทางรูปนี้จะมีความรุนแรงกว่านิมิตทางเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า สำรวม คำว่าสำรวม ผู้มีสติปัญญาที่ดีมีความฉลาด ก็สามารถยับยั้งตัวเองได้ สำรวมคำเดียวนี้ จึงเป็นฐานในการระวังให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย สำรวมตาระวังใจอย่าได้ประมาท ฉะนั้นคำว่าสำรวม จึงเป็นเกราะป้องกันผัสสะนิมิตนี้ได้เป็นอย่างดี นั้นคือคือการสำรวมใจ ถ้าใจมีสติปัญญารอบรู้อยู่ จะเป็นตัวควบคุมปกป้องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้เป็นอย่างดี ตาจะสัมผัสกับรูป หูสัมผัสกับเสียง จมูกสัมผัสกับกลิ่น ลิ้นสัมผัสกับรส และกายสัมผัสในสิ่งใดก็ตาม เมื่อใจมีสติปัญญาพิจารณารอบรู้สำรวมอยู่ สิ่งที่มาสัมผัสนั้นก็จะดูดซึมเข้ามาหาใจได้ยากมาก ถึงจะผ่านเข้ามาก็จะถูกสติปัญญากลั่นกรองเอาไว้ จึงไม่เกิดพิษภัยให้แก่ใจแต่อย่างใด นี้ก็เพราะใจมีเกราะป้องกันคือสติปัญญามีความรอบรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาให้แก่ใจ ถึงจะสัมผัสได้ ก็ไม่ทำให้เกิดโทษภัยในการสัมผัสนั้นๆ จึงเป็นเพียงสัมผัสตามปกติทั่วไปในฐานะสัตว์โลกที่อยู่ร่วมกันเท่านั้น



    การสำรวมใจ



    การสำรวมใจเป็นศูนย์รวมให้แก่อายตนะทั้งหลาย ที่พูดว่า สำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมใจ ในภาคปฏิบัตินั้นต้องเอาการสำรวมใจเป็นหลัก เพียงสำรวมกาย วาจาเท่านี้จะไม่พ้นขีดอันตราย ฉะนั้นจึงเอาใจเป็นหลักยืนตัวเอาไว้ จึงว่าสำรวมใจเนื่องด้วยกายและสำรวมใจเนื่องด้วยวาจา จึงว่า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย การสัมผัสทางกายและการทำอะไรในทางกาย ต้องใช้สติปัญญารอบรู้เอาไว้ ใช้สติปัญญากลั่นกรองในคำพูดเสียก่อน จึงพูดออกไป มิใช่ว่าจะพูดอะไรตามใจที่อยากจะพูด มิใช่ว่าจะทำอะไรตามใจที่อยากจะทำ ถ้าทำอะไรหรือพูดอะไรขาดการกลั่นกรอง การทำการพูดนั้นมีโอกาสผิดพลาดสูง ถ้าผู้ที่มีมานะอัตตาสูงอยู่แล้ว ผู้นั้นจะไม่รู้สึกตัวเพราะไม่มีใครกล้าเข้าไปต่อกรได้ จึงปล่อยให้คนประเภทอัตตาสูงลืมตัวหลงตัวต่อไป จะทำจะพูดอะไรจึงไม่มีความสำรวมกายวาจาของตัวเอง และขาดความสำนึกในหัวอกคนอื่นว่าเขาจะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าหากมีใครพูดในเชิงติติงเพื่อให้มีสติมีความสำนึกตัว ก็จะมีกิริยาแสดงความไม่พอใจตอบโต้ทันที นี้คือผู้ที่ขาดการสำรวมใจเป็นต้นเหตุ ใจจึงได้เกิดมานะอัตตาสูงอย่างไม่รู้ตัว เป็นผู้มีนิสัยก้าวร้าวหวังเอาชนะผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา การเอาชนะคนอื่นนั้นเอาชนะได้ แต่จะเป็นผู้แพ้แก่กิเลสตัวเองคือ โทสะ โมหะอยู่ตลอดไป นั้นคือผู้ลืมตัว หลงตัว จึงกลายเป็นอัตตา ไม่มีสติปัญญามากลั่นกรองความคิดเห็นในใจของตัวเอง จึงเป็นของยากที่จะสำรวมกาย วาจา ใจของตัวเองได้ การทำ การพูด การนึกคิด และความเห็นจะเข้าข้างตัวเองอยู่ตลอดเวลา

    การสำรวมใจ มีอุบายที่จะนำมาปฏิบัติได้ง่าย ๓ วิธี ดังจะอธิบายต่อไปนี้

    ๑. เมื่อได้สัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะก่อให้เกิดความรักความชอบใจ อันจะทำให้เกิดความใคร่ความกำหนัด ทำให้ใจมีความหวั่นไหวไปตามสิ่งที่ยั่วยุที่จะทำให้เกิดอารมณ์แห่งความพอใจยินดี เมื่อสติปัญญายังอ่อน ไม่มีกำลังพอจะต่อต้านทวนกระแสของกิเลสตัณหาได้ ให้ใช้วิธีหลบหนีตีตัวห่างจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนี้ไปเสีย วิธีนี้เป็นอุบายผ่อนหนักให้เป็นเบาไปได้ เป็นวิธีพอที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ถึงจะเป็นระยะสั้นก็ยังดีกว่าที่จะมานั่งทนทุกข์ทรมานจนใจเกิดความระบมเป็นพิษจากอารมณ์แห่งความรัก จึงยากแก่การรักษาเยียวยาหรือรักษาไม่ได้เลย นี้คือใช้สติปัญญาความฉลาดในอุบายวิธีปกป้องตัวเองให้พ้นภัย แมลง มด ปลวก เมื่อมันถูกไอไฟมีความร้อน ยังมีวิธีหลีกหนีเอาชีวิตรอดไปได้ คนเมื่อถูกไฟแห่งราคะเข้ามาครอบครองใจ ก็ต้องมีอุบายหลบตัวไปให้พ้นภัยได้เช่นกัน จะมายืนเดินนั่งนอนเป็นเป้าให้แก่กิเลสตัณหาทำไม แม้แต่สัตว์ยังมีความฉลาดหนีร้อนไปหาที่เย็นได้ คนเราย่อมมีสติปัญญาที่ฉลาดสามารถหาวิธีปกป้องตัวเองได้เป็นอย่างดี หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็เช่นเดียวกัน ถ้าสติปัญญาเราไม่พอที่จะควบคุมโทสะได้ก็ให้หลบตัวไปเสีย ดีกว่าจะมาถกเถียงกันตีกันฆ่ากัน เกิดมีความพยาบาทอาฆาตจองเวรกัน แตกแยกความสามัคคีเสียเปล่า

    ๒. อย่าให้ความสำคัญในสิ่งที่จะให้เกิดอารมณ์ อย่าให้ใจฟูไปกับคำสรรเสริญจนลืมตัว ถึงจะมีลาภสักการะทรัพย์สินมากมายก็ทำใจไม่ให้เกิดความเห่อเหิม ถึงจะมียศถาบรรดาศักดิ์ในฐานะอะไรก็ทำใจให้เป็นปกติเอาไว้ อย่าให้เกิดมานะอัตตาว่าเรามีลาภ ยศ สรรเสริญ มากเกินไป จะทำให้เกิดความลืมตัวไปได้ หรือจะมีความสุขในกามคุณใด ก็อย่าไปโอ้อวดทับถมแก่ผู้ด้อยโอกาสฐานะต่ำกว่าเรา อย่าให้ความสำคัญในสิ่งที่ได้มามากนัก หรือได้กระทบในอารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ตาม ก็ให้รู้จักทำใจให้เป็นปกติอยู่เสมอ เผื่อหากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิดความดีใจเสียใจจนเกินไป ให้รู้ว่าสิ่งนี้ยังตกอยู่ในอนิจจัง อย่าหวังอะไรว่าสิ่งนั้นจะได้มาตามใจทั้งหมด อะไรในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะสมปรารถนาตามความตั้งใจเอาไว้ ให้รู้จักในคำว่าสมมตินี้ให้ดี จะมีอะไรก็ให้เข้าใจว่า สมมติว่ามีเท่านั้น ถึงจะอาศัยสมมติอยู่ ก็ใช้สมมติให้เป็น

    ถ้าหลงในสมมติเมื่อไร ก็จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาทันที ต้องปฏิบัติตามสมมติให้ถูกกาลสมัย สมมติใดเป็นไปในอารมณ์ให้เกิดความทุกข์ ก็อย่าไปให้ความสำคัญในสมมตินั้นๆ สมมติใดเป็นไปในอารมณ์ให้เกิดความสุข ก็อย่าลืมตัวในสิ่งนั้น อย่าปล่อยใจให้ไปหลงในสมมติจนเกินไป มีความรักในสิ่งใดมาก สิ่งนั้นก็จะทำให้ใจเกิดความทุกข์มากเช่นกัน ดังบาลีว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความโศกเศร้าเสียใจ พิไรรำพัน ย่อมเกิดขึ้นจากความรัก ต้องรู้จักการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าอีก สักวันหนึ่งความรักนี้ก็จะทำให้เกิดความเสียใจได้ ให้ทำใจเอาไว้ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักนี้ไป หรือสิ่งที่เรารักก็จะได้พลัดพรากจากตัวเราไปเช่นกัน

    ๓. ใช้สติปัญญาพิจารณาต่อสู้อยู่กับสิ่งนั้นๆ อยู่ ไม่ต้องหนี พิจารณาให้รู้เห็นเหตุและปัจจัยในสิ่งนั้นตามความเป็นจริงอยู่เสมอ ข้อนี้มีความสำคัญมาก ใครจะอยู่ใครจะไป ใครจะแพ้ใครจะชนะก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาเป็นตัวตัดสินชี้ขาด เพราะเป็นอุบายเพื่อทำลายนิมิตหมายให้หมดไปจากใจ ตามปกติแล้วเราจะสร้างนิมิตหมายให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองอยู่เรื่อยมา ไม่มีสติปัญญาหาวิธีที่จะแก้ไขนิมิตหมายให้หมดไปจากใจได้ จึงกลายเป็นนิมิตติดใจมายาวนานจนถึงปัจจุบัน

    เราเป็นผู้สร้างนิมิตเอง แต่ก็มาหลงนิมิตเสียเอง จึงเกิดเป็นนิมิตหมายที่ฝังใจ ครั้งแรกก็เริ่มจากการสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัสกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงได้เกิดเป็นนิมิตหมายขึ้นมา ถึงนิมิตอย่างหยาบหายไป ส่วนนิมิตขั้นละเอียดก็ยังฝังอยู่ที่ใจ เมื่อกิเลสตัณหามีความต้องการในขณะใด ก็จินตนาการโดยสมมติให้เกิดขึ้นที่ใจได้ทุกเวลา แล้วก็ปรุงแต่งไปตามที่ใจมีความต้องการ อยากให้นิมิตเป็นไปในลักษณะใดก็เอามาฉายภาพดูเอง สุดท้ายก็เกิดความหลงไปตามสมมติสังขารนั้นๆ จนลืมตัว ใจที่ไม่มีสติปัญญาอยู่แล้วก็จะสร้างนิมิตใหม่เข้ามาเพิ่มเติม ใจก็จะหลงในนิมิตใหม่และนิมิตเก่าต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ใจก็จะหลงในความเข้าใจผิดยึดติดอยู่กับอารมณ์ของนิมิตนั้นๆ จึงยากที่จะถอนตัว มีแต่จะจมลึกฝังใจลงไปจนถึงขั้นถอนตัวไม่ได้เลย

    นิมิตหมายนี้จึงเป็นอันตรายในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ผู้ไม่มีสติปัญญาที่ฉลาดจึงยากที่จะแก้ไขให้หมดไปจากใจได้ ปัญหาต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาก็หมักหมมทับถมใจเต็มไปหมด จึงเกิดเป็นพิษภัยให้แก่ใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนกันกับเด็กยังไม่รู้เดียงสา ไม่รู้จักทุกข์โทษภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง เห็นหลุมมูตรหลุมคูถ เห็นหลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วง มีแต่อยากกระโดดเข้าไปเล่นหรือเหมือนกับแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ นี้ฉันใด ผู้ไม่มีสติปัญญาที่ฉลาด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้จักภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่รู้จักเครื่องผูกมัดรัดตัวเอง จึงได้สร้างนิมิตหมายหลอกตัวเองอยู่เรื่อยไป ดูชีวิตเราที่เกิดตายมาในอดีตจนถึงชาติปัจจุบัน จนนับชาติไม่ถ้วนประมวลไม่ได้ ก็เพราะเราสร้างนิมิตหมายหลอกตัวเอง ในชาตินี้ก็มาสร้างนิมิตหลอกตัวเองอีก ไม่รู้ว่าจะสร้างนิมิตหลอกตัวเองต่อไปอีกนานเท่าไร

    ถ้าไม่ฝึกสติไม่ฝึกปัญญาให้มีความฉลาดรอบรู้ขึ้นมาที่ใจได้ ใจก็มีแต่ความมืดมนหลงไปตามกระแสของโลกต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนบอดเดินทางค่ำที่ไหน นอนที่นั้น หรือเดินวกวนไปมาในที่แห่งเดียวหลายครั้งหลายหน เข้าใจว่าเป็นของใหม่อยู่เรื่อยไป นี้ฉันใด ใจที่มืดบอดด้วยโมหะอวิชชา จึงล่องลอยไปตามกิเลสตัณหา ล่องลอยไปตามความรักความใคร่ไปตามกระแสโลกอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ทั้งที่โลกนี้เราเคยมาเกิดมาตาย ทับถมไปด้วยซากศพเก่าของตัวเอง ในชาตินี้ก็จะตายอยู่ในโลกนี้อีก การเสพกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในโลกนี้ก็ไม่จุใจ ยังไม่อิ่มพอตามความต้องการของกิเลสตัณหาภายในใจก็มาตายไปเสียก่อน ใจก็ได้ตั้งนิมิตหมายเอาไว้ว่า ขอเกิดอีกชาติหน้าเพื่อเป็นการแก้มือในกามคุณที่ยังไม่อิ่มพอ แมลงวันไม่อิ่มพอในรสชาติของมูตรคูถอย่างไร ใจก็ไม่อิ่มพอในกามคุณก็ฉันนั้น

    ฉะนั้นการปฏิบัติ ถ้าขาดสติปัญญา ขาดความรู้ความเข้าใจในแนวทางของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายแล้ว จึงยากที่จะข้ามกระแสแห่งความมืดของโลกนี้ไปได้ จึงจับต้นชนปลายมีความสงสัยลังเลในข้อวัตรปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับผู้หลงทางอยู่ในที่มืด ไม่รู้ว่าทางไหนผิดทางไหนถูกจึงไม่กล้าตัดสินใจ จึงทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ชีวิตหนึ่งมีแต่ความมืดมนสับสนจนใจ ปฏิบัติไม่ไปถึงไหนเลย นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติต้องเตรียมสติปัญญาไว้ให้พร้อม ถ้าจนสติปัญญาเมื่อไร จะทำให้การปฏิบัติหยุดชะงักลงทันที ความจนใจ จนความคิดก็จะติดตามมา จะคิดพิจารณาหาอุบายธรรมมาปฏิบัติต่อไปไม่ได้เลย

    สติปัญญาในสัมมาทิฏฐินี้เองจะเป็นกุญแจเปิดประตูเข้าสู่กระแสแห่งมรรคผลนิพพาน ถ้าขาดความเห็นชอบตามหลักความเป็นจริงด้วยสติปัญญาเพียงเท่านี้ ชีวิตทั้งชีวิตก็จะปิดฉากแห่งมรรคผลลงทันที ธรรมะที่มีอยู่จะรู้ดีสักปานใดก็ตาม ก็เพียงเอามาคุยโม้โอ้อวดกันเล่นเท่านั้นเอง ฉะนั้นความรู้จริงเห็นจริงในสัจธรรมด้วยสติปัญญาเฉพาะตัว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การรู้จริงเห็นจริงไปตามตำราหรือรู้จริงเห็นจริงจากครูอาจารย์อธิบายให้ฟัง ก็เป็นเพียงรู้จริงเห็นจริงไปตามสัญญาที่จดจำมาเท่านั้น ถึงจะรู้ถูกต้องตามธรรมทุกขั้นตอนอยู่ก็ตาม ก็ยังเป็นสัญญาเพียงจดจำมาอยู่นั้นเอง จะเอาไปละความเห็นผิดความเข้าใจผิด จะเอาไปละกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจไม่ได้เลย เป็นเพียงข่มกิเลสตัณหา หรือปรามกิเลสตัณหาไม่ให้ก่อความรุนแรงเท่านั้น แต่ก็ยังไม่แน่นอน บางคนมีความรู้ในทางธรรมมาดี ก็ยังตกเป็นทาสให้แก่กิเลสตัณหาไปได้

    ฉะนั้น ความรู้จริงเห็นจริงที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของตัวเอง จะนำไปแก้ปัญหาให้แก่ใจได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติอยู่กับดาบสทั้งสอง พระองค์ก็ปฏิบัติในวิธีสติสมาธิ มีความสงบเป็นสมาธิต่อเนื่องกันมาตลอด พระองค์มีความชำนาญในการทำสมาธิจนเป็นวสี เข้าออกในสมาธิได้เป็นอย่างดี จะเป็นสมาธิในขั้นละเอียดสุดเป็นรูปฌาน อรูปฌาน ก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดนั้น พระองค์ก็ยังไม่ทำให้กิเลสตัณหาอาสวะให้หมดไปสิ้นไปจากใจได้ ในขณะที่ทำสมาธิมีจิตสงบขั้นละเอียดในรูปฌานอรูปฌานอยู่ก็ตาม ก็เหมือนกิเลสอาสวะน้อยใหญ่ได้หมดไปจากใจ ในเมื่อจิตได้ถอนออกจากสมาธิมาแล้ว กิเลสตัณหาก็เกิดมารุมล้อมอยู่ในใจตามเดิม พระองค์จึงได้สังเกตรู้ว่า การทำสมาธิให้จิตมีความสงบนี้เหมือนกับศิลาทับหญ้าเอาไว้ เมื่อเอาหินออกจากหญ้าเมื่อไร หญ้าก็เกิดขึ้นมาอีกตามเดิมนี้ฉันใด จิตที่มีความสงบในสมาธิก็ฉันนั้น

    พระองค์จึงเกิดความเข้าใจชัดลงไปว่า วิธีภาวนาทำสติสมาธิเพียงอย่างเดียวนี้ จะไม่เป็นไปในทางตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เลย และไม่เป็นไปในการละกิเลสตัณหาอาสวะให้หมดไปจากใจแต่อย่างใด พระองค์จึงได้ลาดาบสทั้งสองนั้นหนีไปเสีย เพื่อไปแสวงหาวิธีอื่นให้ดีกว่าวิธีนี้ ผู้อ่านพอจะเข้าใจหรือยังว่า การทำสติสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียวนี้ พระองค์ได้ปฏิเสธไปแล้วว่าไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่เป็นไปในทางตรัสรู้ธรรมแต่อย่างใด ทำไมเราจึงไม่เชื่อพระพุทธเจ้าที่ได้ประกาศไปแล้ว วิธีทำสมาธิเพียงอย่างเดียวนี้พระองค์ได้ทำมาก่อน เสียเวลาไปห้าปีกว่า ทำไมจึงไม่คิดดูบ้างเล่า

    ผู้ที่ฝึกภาวนาปฏิบัติในยุคนี้ ยังมีความเห็นเลยเถิดต่อไปอีกว่า เมื่อทำให้จิตมีความสงบดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น สมาธิที่สงบดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นนั้น เป็นสมาธิประเภทไหนและทำอย่างไร ใครเป็นผู้ทำสมาธิความสงบดีแล้วเกิดปัญญาขึ้น สมาธิที่ทำนั้นจะดีกว่าสมาธิของพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรอ สมาธิที่พระพุทธเจ้าได้ทำอยู่กับดาบสทั้งสองนั้นเป็นสมาธิขั้นละเอียดสุดยอดแล้ว ถึงขนาดนั้นปัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากสมาธินี้เลย พระองค์เป็นผู้เต็มเปี่ยมด้วยปัญญาบารมี ถึงขนาดนั้นปัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากจิตสงบเป็นสมาธิแต่อย่างใด ทำไมจึงพูดกันอย่างลอยๆ ขาดเหตุผล ทำให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้ ตัวอย่างของพระพุทธเจ้าที่ได้ปฏิบัติทำสมาธิมาก่อนแล้ว และได้ปฏิเสธไปแล้วว่าไม่เป็นแนวทางที่จะบรรลุธรรมได้ เมื่อพระองค์ได้ค้นพบในอุบายวิธีที่จะตรัสรู้ใหม่ได้แล้ว พระองค์ก็ไม่ได้ทิ้งสมาธินี้ไป ยังทำสมาธิให้จิตมีความสงบอยู่ตามปกติ หลักใหม่ที่พระองค์ได้ค้นพบนั้นคือ สติปัญญา พระองค์ก็นำมาปฏิบัติต่อเนื่องกัน ในขณะนั้นพระองค์ก็ทำสมาธิเสริมปัญญาไปด้วย ในที่สุดพระองค์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เรียบเรียงการภาวนาปฏิบัติเพื่ออบรมให้แก่พุทธบริษัทไว้แล้วเป็นอย่างดี พระองค์รู้วิธีที่จะสอนพุทธบริษัทให้ปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่ายที่สุด เป็นวิธีถูกต้องที่สุดและตรงที่สุดนั้นคือ มรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง หรือเรียกว่า อริยมรรคที่เป็นแนวทางปฏิบัติให้พ้นไปจากข้าศึก พระพุทธเจ้าได้วางศาสนาไว้ในโลกนี้ก็คือ เริ่มต้นจากมรรค ๘ นี้อย่างถูกต้องที่สุดแล้ว



    มรรค ๘

    มรรค ๘ นี้จึงเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนาหรือเรียกว่ารากฐานของพุทธศาสนาก็ไม่ผิด ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงท้าทายในการพิสูจน์ในเหตุและผล ทุกคนในโลกนี้นำไปปฏิบัติได้ ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ถ้าปฏิบัติให้เป็นไปตามมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงไว้แล้ว ผู้นั้นจะไม่ผิดหวัง ในครั้งพุทธกาล มีพุทธบริษัทนำไปปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นจำนวนมาก ในยุคนั้นมรรค ๘ ยังไม่ได้แปรสภาพ ผู้ปฏิบัติก็ไม่ได้เกิดความสับสนลังเล พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างไรก็ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ก็พากันได้บรรลุมรรคผลกันไปตามบารมีของแต่ละบุคคล

    ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้วางปัญญาเป็นหลักยืนตัวเอาไว้ เพื่อให้ศึกษาในปริยัติ ศึกษาในภาคปฏิบัติ ให้เกิดผลเป็นปฏิเวธ ในภาคปริยัติก็แยกออกมาเป็นหมวดธรรมต่างๆ ที่เรียกว่าปิฎก เช่น พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และปรมัตถปิฎก

    พระสุตตันตปิฎกก็แยกออกมาเป็นหมวดหมู่ตามหนังสือที่อ่านกันอยู่ในขณะนี้ พระวินัยปิฎกก็แยกออกมาเป็นหมวดต่างๆ เช่น หมวดศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ให้นำมาปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม หมวดปรมัตถ์ ก็แยกออกเป็นหมวดจิต เจตสิก ที่รู้กันในหมวดอภิธรรม การศึกษาในระดับนี้จึงเรียกว่าปริยัติธรรม

    เมื่อจะนำมาปฏิบัติ ก็ใช้จินตามยปัญญา เอาหมวดธรรมนั้น ๆ มาตีความ ว่าธรรมหมวดไหนมีความหมายอย่างไร การตีความในหมวดธรรมนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าตีความในหมวดธรรมผิดไป ความเข้าใจผิด ความเห็นผิดก็จะติดตามมา เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเกิดเป็นมิจฉาปฏิบัติ เมื่อนำมาภาวนาก็จะเป็นมิจฉาภาวนา จะไม่เป็นไปในทางมรรคผลนิพพานแต่อย่างใด

    ถ้าตีความในหมวดธรรมได้อย่างถูกต้อง ก็จะเกิดความเข้าใจถูก เกิดความเห็นถูกต้องชอบธรรม เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเป็นสัมมาปฏิบัติ จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นปฏิเวธไป ฉะนั้นการตีความในหมวดธรรมที่จะนำมาปฏิบัตินั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากทีเดียว

    มรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้เรียบเรียงเอาไว้ ก็มี ๓ หมวดหมู่ด้วยกันดังนี้

    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป การดำริพิจารณาชอบนี้คือหมวดของปัญญา

    ๒. สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันโต การงานชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ นี้เป็นหมวดของศีล

    ๓. สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เป็นหมวดของสมาธิ

    ถ้าเรียบเรียงให้ถูกตามหลักเดิม จะออกมาเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ถ้านำมาปฏิบัติก็จะปฏิบัติ

    ได้ง่ายขึ้น ให้เราพิจารณาด้วยเหตุผลว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้วางแนวทางไว้อย่างนี้ ก็เพราะคนเรามีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดตามหลักความเป็นจริงอยู่แล้ว แม้การดำริคิดไปในสิ่งใดก็เป็นไปในทางมิจฉาสังกัปโป คิดไปไม่ถูกต่อหลักความเป็นจริง นี้เองพระพุทธเจ้าจึงได้วางปัญญาเป็นหลักเริ่มต้น เพื่อจะได้แก้ความเห็นผิด แก้ความคิดผิดของใจที่มีอยู่เดิมให้หมดไป จะได้เกิดความเห็นถูก เกิดความคิดถูกตามหลักความเป็นจริงได้อย่างถูกต้องชอบธรรม ความเห็นชอบ ความคิดชอบนี้เอง จะได้ไปควบคุมในการพูด ให้เกิดเป็นวาจาที่ชอบธรรมได้ เข้าไปควบคุมในการงานต่างๆ ให้เกิดเป็นการงานที่ชอบได้ เข้าไปควบคุมในการเลี้ยงชีวิต ให้เกิดเป็นการเลี้ยงชีวิตชอบได้ เข้าไปควบคุมความเพียรต่างๆ ให้เกิดเป็นความเพียรที่ชอบได้ เข้าไปควบคุมสติให้เกิดมีการระลึกชอบได้ เข้าไปควบคุมใจให้เกิดมีความตั้งมั่นชอบได้

    ฉะนั้น หลักปัญญาจึงเข้าไปควบคุมหมวดศีล เข้าไปควบคุมหมวดสมาธิ ถ้าไม่มีปัญญาควบคุมให้ดี ก็จะเป็นมิจฉาวาจา พูดผิดศีลผิดธรรมไป การทำงานก็จะทำผิดศีลผิดธรรม การหาเลี้ยงชีวิตก็จะหาในทางที่ผิดศีลผิดธรรม การทำความเพียร ก็จะเพียรพยายามไปในทางที่ผิดศีลผิดธรรม การระลึกได้ของสติ ก็จะระลึกไปในทางที่ผิดศีลผิดธรรม การตั้งใจมั่นก็จะตั้งไปในทางที่ผิดเป็นมิจฉาสมาธิไป นี้เองพระพุทธเจ้าจึงเอาปัญญามาเป็นหลักเริ่มต้นก็เพื่อจะเอามาแก้ปัญหาตัวมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดให้หมดไปจากใจโดยตรง แล้วเสริมสร้างความเห็นชอบ ความคิดชอบให้เกิดขึ้นกับวาจา ให้เกิดความเห็นชอบจากการงานที่ทำ ให้เกิดความเห็นชอบในการเลี้ยงชีวิต ให้เกิดความเห็นชอบในความเพียรพยายาม ให้เกิดความเห็นชอบในการระลึกได้ของสติ ให้เกิดความเห็นชอบในการตั้งใจมั่น ที่เรียกว่าปฏิบัติธรรมให้ถูกกับความเป็นธรรม ก็คือปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบ และสัมมาสังกัปโป ปัญญาพิจารณาถูกต้องชอบธรรมนั้นเอง

    ฉะนั้นการปฏิบัติถ้าเอาตามหลักเดิมของพระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ จึงง่ายต่อการปฏิบัติจะไม่เกิดความสับสนลังเล ส่วนหลักสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเป็นหลักปริยัติเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำมาปฏิบัติก็ให้เป็นไปตามหลักเดิมตามแนวทางของพระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ เพราะปัญญาของทุกคนมีอยู่แล้ว เพียงเอามาฝึกให้เกิดความเห็นชอบเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงเท่านั้น ความเป็นจริงก็มีอยู่ทั่วไป มีทั้งภายในภายนอก ให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้นเอง

    มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ถ้าเกิดความเห็นผิดแล้วก็จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิด ก็จะเกิดความคิดผิดดำริผิด และเกิดความหลงผิดติดตามมา เมื่อใจหลงผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเหตุแล้ว ก็จะเกิดเป็นมโนทุจริตคิดชั่วไปในทางอกุศล การทำก็จะทำไปในทางอกุศล การพูดก็ชอบพูดไปในทางที่เป็นอกุศล จึงเรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต อันเป็นผลเนื่องมาจากมโนทุจริตที่เป็นมิจฉาทิฏฐิจากความเห็นผิดนั้นเอง ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีสติปัญญามาแก้ไขให้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม เมื่อใจมีความเห็นชอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ก็จะเกิดเป็นมโนสุจริต คิดพิจารณาในสิ่งใดก็จะเป็นธรรมไปทั้งหมด จะไม่มีพิษมีภัยให้แก่ตัวเองและคนอื่นแต่อย่างใด ก็เพราะใจมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั้นเอง

    ฉะนั้น ผู้ประพฤติธรรมปฏิบัติธรรม ต้องวางรากฐานของสติปัญญา ความเห็นชอบนี้ให้ดี เพราะความเห็นชอบเห็นจริงตามความเป็นจริงเป็นจุดเริ่มต้น ให้แก่การประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมทั้งหมด ถ้าปัญญาความเห็นชอบมีความมั่นคงดีแล้ว การปฏิบัติธรรมจะมีความราบรื่นก้าวหน้าไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคขัดข้องสับสนลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด ถ้าใจไม่มีปัญญาเป็นสิ่งรอบรู้ ย่อมเกิดความเห็นผิดเข้าใจผิดได้ง่าย ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยไม่รู้ตัว การปฏิบัติก็มีแต่ความสับสน ไม่แน่ใจว่าอะไรผิดอะไรถูก จึงไม่กล้าตัดสินในเหตุผลด้วยสติปัญญาของตัวเอง จึงเป็นธรรมะปรามาสลูบคลำในการปฏิบัติธรรมอยู่เรื่อยไป

    ฉะนั้นอุบายธรรมที่จะนำมาปฏิบัติ ต้องให้เกิดความชัดเจน ให้มีหลักยืนที่มั่นคงแน่วแน่เพื่อเป็นฐานรองรับให้แก่หมวดธรรมอื่นๆ ได้ ไม่เช่นนั้น จะเกิดความล้มเหลวไปไม่เข้าท่า การภาวนาปฏิบัติต้องจับต้นทางให้ถูก เหมือนการเดินทาง ถ้าดูแผนที่ให้เข้าใจ จะไปในสถานที่ที่ไม่เคยไปก็ไม่มีปัญหาอะไร จะไปต่างจังหวัดไปต่างประเทศก็ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง จะถึงจุดหมายปลายทางตามที่ต้องการแน่นอน นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติเพื่อจะข้ามกระแสของโลกนี้ไป ถึงจะไม่เคยสัมผัสในมรรคผลนิพพานมาก่อนก็ตาม ในเมื่อปฏิบัติให้เป็นไปในสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบที่ถูกต้องแล้ว มรรคผลนิพพานเปิดประตูรอคอยท่านอยู่แล้ว ครูอาจารย์ผู้ที่ท่านได้บรรลุมรรคผลในยุคปัจจุบัน หรือในครั้งพุทธกาลก็เช่นกัน ไม่มีใครเคยได้ไปสำรวจรู้เห็นในมรรคผลนิพพานมาก่อนแต่อย่างใด ทุกท่านต้องเชื่อในเหตุผลที่พระพุทธเจ้าได้วางเส้นทางเอาไว้ดีแล้ว มีเครื่องหมายกรุยเอาไว้เป็นระยะๆ เมื่อถึงกรุยนี้แล้วก็มองเห็นกรุยข้างหน้า เดินตามเส้นทางที่พระพุทธเจ้าได้กรุยเป็นเครื่องหมายเอาไว้ไม่ย่อท้อถดถอย ความหลงทางจะมีมาจากที่ไหน มีแต่จะย่างเข้าสู่กระแสแห่งมรรคผลนิพพานโดยถ่ายเดียว

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องตีความให้เข้าใจ เพราะในยุคนี้สมัยนี้ ผู้ที่ตีความในหมวดธรรม ที่จะนำมาอบรมสั่งสอนให้แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายนับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ถ้าตีความในหมวดธรรมผิดก็จะเกิดความเห็นผิด เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะผิดไปตามๆ กัน เมื่อตีความในธรรมถูกก็จะเกิดความเห็นถูก เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะถูกไปตามๆ กันดังนี้

    ฉะนั้นการศึกษาในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จึงยากที่จะจบได้ หรือจบมาแล้วก็ยากที่จะนำมาปฏิบัติได้ เพราะในตำราทั้งหมดนั้นเป็นศูนย์รวมของหมวดธรรมทั้งหลายไว้ในปิฎกอันเดียวกัน จึงยากในการแยกเอาหมวดธรรมนั้นๆ มาปฏิบัติให้ถูกกับนิสัยของตัวเราได้ เหมือนกับร้านขายยาที่มียาอยู่ทุกชนิด จึงยากที่จะทราบว่าจะเอาชนิดใดมากินให้หายจากโรคภัยในตัวเองได้ เว้นเสียแต่ผู้ได้รับการตรวจร่างกายจากหมอมาดีแล้ว จึงจะกำหนดยาแต่ละชนิดมากินให้หายจากโรคได้ นี้ฉันใด อุบายธรรมในตำรานั้นมีมาก จึงยากที่จะเอาหมวดธรรมนั้นๆ มาปฏิบัติด้วยตัวเองได้ พระพุทธเจ้าที่จะหยิบยื่นอุบายธรรมให้ตรงกับนิสัยบารมีเราก็ไม่มี ขณะนี้มีเพียงพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ท่านก็ไม่มีญาณหยั่งรู้นิสัยบารมีให้แก่ใครๆ ได้ว่าท่านนั้นสร้างบารมีมาอย่างไร เพราะญาณนี้จะมีเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

    ฉะนั้นในยุคนี้ถึงจะมีครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้นำเอาหมวดธรรมมาอบรมสั่งสอนแก่เราอยู่ก็ตาม ก็ยากที่จะตรงกับนิสัยบารมีของเรา จึงมีทางเลือกเดียวคือ ผู้ปฏิบัติต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ต้องศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาลให้เข้าใจ ท่านเหล่านั้นก็เป็นปุถุชนมาก่อน ท่านปฏิบัติอย่างไร จึงได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้า ตามประวัติเดิมพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาล ทุกท่านจะต้องเริ่มต้นจากสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าพระอริยเจ้าในระดับไหนจะเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน ฉะนั้นพวกเราก็ควรเอามาเป็นเยี่ยงอย่างในการปฏิบัติธรรม ถ้าขาดสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบรอบรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติในวิธีอย่างอื่นก็จะเป็นทางตัน จะก้าวต่อไปอีกไม่ได้เลย ในชาตินี้จะต้องปิดฉากแห่งมรรคผลลงทันที

    ถึงจะมีบารมีพอที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานอยู่ก็ตาม ถ้ามีความเห็นผิดก็จะปฏิบัติผิด บุญกุศลบารมีก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย เหมือนกับดอกบัวพร้อมที่จะพ้นจากน้ำเบ่งบานอยู่ก็ตาม ถ้าหากดอกบัวนั้นถูกกอผักตบชวาประกบเอาไว้ หรือถูกสิ่งอื่นใดมาขัดขวางปิดบังทับถม โอกาสที่ดอกบัวจะโผล่ขึ้นเหนือน้ำเพื่อรับแสงแดดได้เบ่งบานก็หมดสิทธิ์ทันที นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติถึงจะมีการสร้างบารมีมาดีแล้วก็ตาม ถ้ามีความเห็นผิดก็จะเกิดเป็นมิจฉาปฏิบัติตามมา ถึงจะมีความพยายามอย่างเต็มที่ ฝึกสติให้เกิดความระลึกได้อย่างมั่นคงอยู่ก็ตาม ก็ไม่สามารถทำลายตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดนี้ไปได้เลย หรือจะทำสมาธิ จิตจะมีความสงบละเอียดถึงขั้นรูปฌาน อรูปฌาน มีความตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ มีความสงบมากติดต่อกันเป็นเวลายาวนานก็ตาม ก็ไม่สามารถเอามาทำลายตัวมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดให้หมดไปจากใจได้ เท่านี้ยังไม่พอ การมีความเพียรมาก สติระลึกได้ดี สมาธิที่มีความสงบแนบแน่นทั้งหมดนั้น ก็จะมารวมพลังให้แก่มิจฉาทิฏฐิ เกิดความเห็นผิดมากขึ้นก็เป็นได้ เหมือนกับดาบสทั้งสองเคยเป็นครูสอนให้แก่พระพุทธเจ้าของเราในสมัยนั้น ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไม่กี่วัน ดาบสทั้งสองก็ได้มรณะไปเสีย พระพุทธเจ้ายังดำริว่า ถ้าดาบสทั้งสองได้ฟังการแสดงธรรมจากเรา ดาบสทั้งสองก็จะได้บรรลุธรรมแน่นอน นี้ฉันใด บารมีถึงจะมีมากน้อยอยู่ก็ตาม ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแนวแห่งมรรคผลนิพพาน ในชาตินี้ก็พลาดโอกาสไป แต่บารมีนั้นยังไม่หายไปไหน ยังมีอยู่ที่ใจตามเดิม ในโอกาสชาติหน้า ถ้าได้ครูผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องก็มีโอกาสได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าได้ ถ้าได้ครูสอนผิดและปฏิบัติผิด ก็จะพลาดโอกาสจากพระอริยเจ้าต่อไปอีกยาวนานทีเดียว

    ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อรื้อถอนอาสวะกิเลสให้หมดไปจากใจ มิใช่ว่าจะเอาความโง่เขลาปัญญาทรามเข้าไปแก้ไข จะเป็นไปได้เฉพาะผู้ที่มีความฉลาดรอบรู้ทางสติปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเห็นจริงเท่านั้น เมื่อความเห็นชอบเริ่มต้นที่ถูกต้องแล้ว มรรคข้ออื่นๆ ก็จะเกิดความชอบธรรมไปทั้งหมด พระอริยเจ้าทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มาและพระอริยเจ้าทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ก็ดี หรือพระอริยเจ้าทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในศาสนาของพระพุทธองค์ต่อๆ ไปก็ดี การปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุเป็นพระอริยเจ้านั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การละอาสวะกิเลสให้หมดไปจากใจก็จะเป็นหลักในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเห็นจริงตามหลักความเป็นจริงเหมือนกัน ผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันก็เหมือนกัน ผู้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามีก็เหมือนกัน ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีก็เหมือนกัน ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็เหมือนกัน เฉพาะพระอรหันต์ในขั้นสุกขวิปัสสโก ในขั้นเตวิชโช ในขั้นฉฬภิญโญ ในขั้นปฏิสัมภิทัปปัตโต ก็มีความบริสุทธิ์สิ้นอาสวะเหมือนกัน ผู้สิ้นอาสวะได้หมดจดไม่มีเหลือ จึงนับว่าผู้มีความบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ นั้นเรียกว่านิพพาน ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ความบริสุทธิ์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ก็ให้ชื่อว่าความบริสุทธิ์เหมือนกัน นิพพานคือการดับอันสนิทแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เป็นผู้หมดเชื้อที่จะก่อภพก่อชาติเกิดตายอีกต่อไป

    มีต่อ...
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระอรหันต์ไม่ขาดจากโลก

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติอย่าเกิดความสงสัย ว่าในยุคนี้จะมีผู้ปฏิบัติบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้หรือไม่ ในบาลีบทหนึ่งว่า อรหนฺต อสูญฺโยโค ในเมื่อใดยังมีผู้ปฏิบัติให้เป็นไปในพระธรรมวินัยอยู่และปฏิบัติให้เป็นไปในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบตามหลักความเป็นจริงอยู่ ในเมื่อนั้นพระอรหันต์จะไม่ขาดจากโลกดังนี้

    ในยุคนี้สมัยนี้ยังมีศาสนาที่สมบูรณ์ และมีครูอาจารย์หลายท่านปฏิบัติที่เป็นไปในมรรคผลยังมีอยู่ พร้อมที่จะให้ความกระจ่างในการปฏิบัติแก่เราอยู่แล้ว แต่พวกเราพร้อมหรือยัง ถึงจะไม่ได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ ขอให้ได้บรรลุธรรมในระดับขั้นพระโสดาบันก็จะดี จะมีความหวังได้ว่าการเกิดมาในโลกนี้จะใช้เวลาไม่นานนัก ก็จะผ่านเข้าสู่นิพพานไปได้อย่างแน่นอน พระโสดาบันเป็นนิยตะบุคคล เป็นผู้ย่างเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้แล้ว ไม่มีการเสื่อมกลับมาเป็นปุถุชนอีกต่อไป

    พระอริยโสดามีสามประเภท ๑. สัตตักขัตตุงปรมโสดา จะได้เกิดในโลกมนุษย์นี้อีกไม่เกิน ๗ ชาติ ๒. โกลังโกละโสดา จะได้มาเกิดในโลกมนุษย์นี้อีกไม่เกิน ๓ ชาติ ๓. เอกพีชีโสดา จะได้มาเกิดในโลกมนุษย์นี้อีก ๑ ชาติ ในชาติสุดท้ายนี้จะต้องมาเกิดในยุคสมัยที่มีพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าแล้วก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในชาติที่มาเกิดเป็นมนุษย์นั้น คุณธรรมของพระอริยเข้าก็จะไม่เสื่อม เพราะพระโสดาบันเลือกที่เกิดเฉพาะตระกูลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ชอบธรรม ในชาติที่เกิดนั้นจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน แต่จะมีความละอายในการทำชั่วพูดชั่วและคิดชั่ว จะไม่เกิดความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิแต่อย่างใด นางวิสาขาเป็นพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ขณะนี้อยู่บนสวรรค์ จะลงมาเกิดในโลกมนุษย์นี้อีกชาติเดียว ในยุคศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรย จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น

    ตามประวัติผู้ได้บรรลุธรรมในครั้งพุทธกาล จะไม่ได้บรรลุไปตามลำดับขั้นไปเสียทั้งหมด บางท่านเป็นปุถุชนอยู่เมื่อปฏิบัติไปก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็มีจำนวนมาก เช่น พระจุฬปันถกเป็นต้น ฆราวาส เช่น พระพาหิยะ สันตติมหาอำมาตย์ ชีวิตที่ผ่านมาเป็นปุถุชน เมื่อได้บรรลุธรรมก็เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะกิเลสได้เลย บางท่านเป็นปุถุชน ปฏิบัติไปก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี บางท่านเป็นปุถุชนเมื่อปฏิบัติไปก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามีไป บางท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ไป บางท่านก็บรรลุเรียงไปตามระดับขั้นไป

    พระอริยเจ้ามี ๒ ประเภท

    การได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้านั้นมี ๒ ประเภท ๑. ปัญญาวิมุติ ๒. เจโตวิมุติ ผู้ได้บรรลุธรรมประเภทปัญญาวิมุติ นั้นจะต้องเป็นไปตามนิสัยบารมีที่สร้างมาในชาติอดีต สมมติว่าผู้นั้นในอดีตเคยฝึกสติปัญญาพิจารณาในหมวดธรรม ให้เป็นไปตามหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาในเรื่องความตาย พิจารณาในเรื่องการพลัดพรากจากกัน พิจารณาว่าไม่มีอะไรเป็นของของเรา หรือพิจารณาในหลักความเป็นจริงอย่างไรเป็นนิสัยไว้แล้ว จึงเรียกว่าผู้สร้างปัญญาบารมีนั้นๆ มาในชาติอดีต เมื่อท่านเหล่านั้นจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นปัญญาวิมุติไป ท่านเหล่านี้จะไม่มีความสงบในสมาธิขั้นละเอียด เป็นรูปฌาน อรูปฌาน จะอยู่ในระดับขณิกอุปจาระเท่านั้น

    ขณิกอุปจาระนี้เองเรียกว่า สมาธิ ความตั้งใจมั่น บางท่านได้บรรลุธรรมในขณะฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีความตั้งใจมั่นในการฟังธรรม พิจารณาไปตามกระแสธรรมที่พระพุทธเจ้ากำลังอธิบายอยู่ ก็เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงไปตามหมวดธรรมนั้นๆ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้านั้นเอง ผู้ได้บรรลุธรรมในลักษณะนี้เรียก สุกขปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา เป็นผู้ได้บรรลุธรรมได้เร็ว ท่านเหล่านี้มีนิสัยทางปัญญาวิมุติ สร้างบารมีมาทางปัญญาอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ให้อุบายปัญญาให้ตรงกับบารมีที่สร้างมาแล้ว บางท่านบารมียังไม่พอก็ปฏิบัติต่อไปไม่นานนักก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าไป ท่านเหล่านี้จะไม่มีในสมาธิระดับฌานใดๆ ไม่รู้ว่าการได้รับความสุขที่เกิดขึ้นจากรูปฌาน อรูปฌานเป็นอย่างไร จึงเรียกว่า อรหันต์สุกขวิปัสสโก เป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันแห้งแล้ง คำว่าแห้งแล้ง ก็หมายถึงผู้ไม่เคยได้เสวยสุขในฌานใดๆ จึงเรียกว่าพระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุติ พระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุตินี้ ในครั้งพุทธกาลมีมากกว่าพระอริยเจ้าประเภทเจโตวิมุติหลายเท่า ท่านผู้รู้ได้คำนวณเอาไว้ มีถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ หลายท่านวิจารณ์ว่าพระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุตินี้ แสดงธรรมไม่เป็น ไม่มีอภิญญา ไม่มีอภินิหาร ตอบว่าไม่จริง ตัวอย่าง พระจุฬปันถก พระอานนท์ และองค์อื่นๆ อีกมีมากมายล้วนแล้วแต่ผู้ทรงอภิญญาทั้งนั้น

    การแสดงธรรมของผู้ได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าแบบปัญญาวิมุตินี้ มีนิสัยปัญญาดีอยู่แล้ว เช่น พระจุฬปันถก เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็เกิดอภิญญามีฤทธิ์ เรียกว่า มโนมยิทธิ แสดงฤทธิ์ได้แสดงธรรมก็แพรวพราว พระพุทธเจ้าจึงมอบหน้าที่นี้ให้เป็นผู้แสดงธรรมแทนพระองค์ หรือพระอานนท์ก็เช่นกัน ในช่วงอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่นั้น จะมีเวลาไหนไปฝึกฌาน เมื่อได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ฤทธิ์ก็เกิดขึ้นเรียกว่า อิทธิวิธี มีฤทธิ์แทรกแผ่นดินมาปรากฏตัวขึ้นที่อาสนะที่คณะสงฆ์ได้จัดรอคอยเอาไว้ในเมื่อทำสังคายนาครั้งที่หนึ่ง เป็นพหูสูต แสดงธรรมได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นพระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุติ เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี มีอภิญญา มีอภินิหารมากมาย ถ้าได้ไปศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุตินี้จะรู้ได้ดี มิใช่จะมาตีความว่า ผู้บรรลุธรรมที่แห้งแหล้งก็จะไม่มีอะไรเลย มีได้ในอภิญญา ๖ – ๘ และ มีความเพียบพร้อมด้วยปฏิสัมพิทาญาณทั้ง ๔ ธัมมปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้ก็มีผู้ตีความถกเถียงกันอยู่มาก ธัมมปฏิสัมภิทา มีญาณหยั่งรู้ในเหตุก่อนจึงรู้เป็นผล ว่าเหตุอย่างนี้จะเกิดเป็นผลออกมาอย่างนี้ๆ เป็นต้น อัตถปฏิสัมภิทา มีญาณหยั่งรู้ในผลที่เกิดขึ้นจากเหตุ ว่าผลนี้เกิดจากเหตุอย่างนี้ๆ

    นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้จักภาษา คำว่าภาษา หมายถึงภาษาในการพูด คือพูดรู้เรื่องกัน หรือฟังคนอื่นพูดออกมาก็รู้เรื่องในความหมาย ในการพูดได้ในความหมาย หรือคนใบ้แสดงออกมาในความต้องการอะไรก็จะรู้ได้ ถึงจะพูดภาษาเดียวกัน ถ้าไม่รู้ในความหมายซึ่งกันและกัน ก็มักจะพูดว่า พูดกันไม่รู้ภาษาอะไรเลย ดังนี้

    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีปฏิภาณในการแสดงออกในความคิดความเห็น มีไหวพริบอันฉลาด สามารถจะวิจัยวิเคราะห์ในปัญหาต่างๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์ และแก้ปัญหาไปได้อย่างรวดเร็ว ปฏิภาณในการโต้ตอบก็โต้ตอบได้อย่างทันใจไม่อ้ำอึ้ง เป็นผู้ตีปัญหาต่างๆ ได้อย่างแตกฉาน ปฏิภาณในการแสดงออกมีเหตุผลมารองรับให้เกิดความเชื่อถือได้ ฉะนั้น พระอริยเจ้าประเภทปัญญาวิมุติ จึงมีความโดดเด่นในทางสติปัญญาเป็นเยี่ยม เพราะเป็นผู้สร้างปัญญาบารมีมาโดยตรง การปฏิบัติก็ต้องใช้สติปัญญาเป็นหลักยืนตัว การฝึกสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป การดำริพิจารณาในทางปัญญาจึงมีความคล่องตัว การทำสมาธิก็ได้เพียงความตั้งใจมั่น ไม่มีความชำนาญในการเข้าฌานสมาบัติแต่อย่างใด เรียกว่าผู้ภาวนาในสมาธิน้อย พิจารณาในทางปัญญามาก เมื่อได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าแล้ว จึงเรียกว่าผู้บรรลุธรรมในทางปัญญาวิมุตินั้นเอง

    ส่วนพระอรหันต์ในทางเจโตวิมุติ พระอรหันต์ประเภทนี้ ในอดีตชาติที่ผ่านมา ท่านเหล่านี้เคยสร้างบารมีมาในทางความเพียร เรียกว่าวิริยบารมี มีความเพียรทำให้จิตมีความสงบเป็นฌานสมาบัติอยู่เสมอ เป็นดาบสบ้าง เป็นฤๅษีบ้าง มีความชำนาญในการทำสมาธิ มีความชำนาญในการเข้าฌานสมาบัติมาแล้วเป็นอย่างดี มีการฝึกทางปัญญาไว้น้อย แต่ละวันก็ทำสมาธิให้จิตมีความสงบเป็นฌานมาตลอด เมื่อท่านเหล่านี้ได้มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ก็ตาม จะไม่สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ในขณะนั้น อุบายในการปฏิบัติของท่านเหล่านี้ก็ต้องฝึกจิตให้มีความสงบเป็นสมาธิก่อน เพราะท่านเหล่านี้มีนิสัยในการทำสมาธิขั้นละเอียด มีความหลงในความสุข หลงในรูปฌาน หลงในอรูปฌานมาแล้ว จะไปฝึกปัญญาในทีเดียวไม่ได้ ต้องภาวนาให้เป็นไปตามนิสัยเดิมก่อน

    จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงยกเอาเรื่องของสมาธิความสงบ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน มาอธิบายให้ฟังว่า การหลงติดอยู่ในความสุขของสมาธิ การหลงติดอยู่ในรูปฌาน อรูปฌาน มีความล่าช้าในการที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานอย่างไร เพื่อให้ท่านเหล่านั้นไม่หลงในสมาธิ หลงในรูปฌาน อรูปฌานต่อไป ถึงจะทำสมาธิเข้าฌานก็ให้ทำไป แต่ไม่ให้ติดใจหลงในความสุขในสมาธิ หลงความสุขในฌานที่ทำอยู่ พระองค์ก็จะสอนในอุบายวิธีในการฝึกปัญญาให้พิจารณาตามหลักความเป็นจริง ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และอสุภะในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ให้รู้เห็นทั้งภายในและภายนอก ใกล้ ไกล หยาบ ละเอียด ให้เป็นไปในไตรลักษณ์อยู่เสมอ และให้พิจารณาในความหลงติดสุขในสมาธิ ให้พิจารณาในความหลงติดสุขเพลิดเพลินอยู่ในรูปฌาน อรูปฌาน ให้พิจารณาดูความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปของฌานอยู่เสมอ ให้พิจารณาดูภพของผู้หลงติดอยู่ในฌาน ว่าเมื่อตายไปแล้วจะต้องได้ไปเกิดในพรหมโลกเป็นเวลายาวนาน พระพุทธเจ้าได้อุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้ผ่านไปหลายองค์ พวกหลงในฌานก็ยังตกค้างในพรหมโลกนั้นอยู่ จึงทำให้เสียเวลาที่จะเข้ากระแสแห่งมรรคผลนิพพานไปนานทีเดียว พิจารณาให้รู้โทษของฌานว่าไม่มีสาระอะไร ถึงจะไปเกิดในพรหมโลกก็ไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่ความหลงงมงายอยู่ในความสุขในฌานเท่านั้น เมื่ออำนาจของฌานเสื่อมไป ก็ได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์นี้อีกตามเดิม

    นิสัยของใจที่มีความหลงติดอยู่ ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะหลงในชาติเป็นมนุษย์นี้อีก ถ้าได้สัมผัสในความสุขของกามคุณก็จะหลงติดอยู่ในกามคุณอีก ใจมีนิสัยขี้หลงไปเกิดที่ไหนก็จะหลงในที่นั้นต่อไป ไม่มีที่สิ้นสุด การพิจารณาด้วยปัญญาอย่างนี้ๆ เอง จึงเรียกว่าปัญญาในฌาน พิจารณาให้รู้เห็นโทษของฌาน พิจารณาให้เห็นภัยของฌานที่จะเป็นผลติดตามมา เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดความกลัวในภพของฌานที่จะได้ไปเกิดเป็นพรหม ทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์โดยไม่มีสาระอะไร ใจก็จะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในฌานนั้นๆ ถึงจะทำฌานไปก็ไม่มีความหลงและไม่ติดใจใดๆ ถือว่าเป็นของเล่นไป ในเมื่อได้บรรลุธรรม ก็ให้นามว่า เจโตวิมุติ คือ ผู้มีสมาธิมากปัญญาน้อยนั้นเอง

    พระอรหันต์ เจโตวิมุตินี้ จะมีอภิญญา มีอภินิหารได้เหมือนกับพระอรหันต์ปัญญาวิมุติเช่นกัน พระอรหันต์ในเจโตวิมุติและพระอรหันต์ในปัญญาวิมุตินี้ มิใช่ว่าจะมีอภิญญา มีอภินิหารหมดทุกองค์ เพราะอภิญญา อภินิหารนี้จะมีเฉพาะบางองค์เท่านั้น องค์ที่ท่านสร้างบารมีมาในทางนี้ก็จะเกิดมีอภิญญา อภินิหารได้ ถึงท่านจะมีก็ไม่ได้เอาไปอวดใครๆ นอกจากบางกรณีที่จะเอามาใช้เท่านั้น เช่น พระโมคคัลลาน์หรือองค์อื่นๆ นำมาใช้เพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิในบางครั้งบางคราว อภิญญาและอภินิหาร มิใช่ว่าจะมีความโดดเด่นเหมือนกันทั้งหมด องค์นั้นมีความโดดเด่นในอภิญญาข้อนั้น อภินิหารข้อนี้ไม่เหมือนกัน เช่น พระอนุรุทธมีความโดดเด่นในเจโตปริยญาณ กำหนดดูรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ พระโมคคัลลาน์มีความโดดเนในทางอิทธิวิธี มีฤทธิ์มาก และองค์อื่นๆ ก็มีความโดดเด่นไปในอภิญญา อภินิหารแตกต่างกันไป จึงได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกัน มิใช่ว่าผู้มีความชำนาญในการเข้าฌานจะมีอภิญญา มีอภินิหารได้ทั้งหมด ผู้มีความชำนาญในการทำสมาธิ มีความชำนาญในฌาน ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้หลงในสมาธิ หลงในฌานจนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ไปก็ยังมี จึงอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้าเข้าช่วยเหลือ จึงกลับตัวมาปฏิบัติให้ถูกทางเป็นพระอริยเจ้าอย่างสมบูรณ์ได้ เพราะความเข้าใจผิดจะเกิดขึ้นกับผู้หลงในมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเหตุ จึงได้เกิดความหลงในฌานและหลงในอภิญญาต่อไป

    ผู้มีนิสัยในทางเจโตวิมุตินี้จะมีความพอใจยินดีในการทำสมาธิเข้าฌานเป็นอย่างมาก จึงยากที่จะถอนตัว เพราะพวกที่หลงติดในสมาธิ หลงติดในฌานนี้เป็นผู้มีทิฏฐิมานะสูง ถ้ามีอภิญญาเสริมเข้าไป ก็ยิ่งทำให้ทิฏฐิมานะอัตตาสูงมากทีเดียว ในยุคนี้สมัยนี้ ถ้าหากผู้มีผู้หลงติดอยู่ในสมาธิ หลงติดอยู่ในฌานจะไม่มีผู้แก้ไขให้กลับตัวได้เลย จะไปแตะต้องว่าผิดไม่ได้ จะอธิบายในสัจธรรมอะไรให้ฟังก็ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจอยู่ก็ถอนตัวไม่ได้ จะเกิดเป็นทิฏฐิมานะอัตตา เข้าใจว่าเรามีความสามารถโดดเด่นเหนือคนอื่นอยู่เสมอ ใครจะว่าผิดทางแห่งมรรคผลนิพพานไม่ได้เลย จะมีความเข้าใจว่าวิธีนี้ตรงต่อมรรคผลนิพพานที่สุดแล้ว จะไม่ยอมถอนตัวออกจากสมาธิและถอนตัวออกจากฌานนี้แต่อย่างใด เพราะมีความยินดีพอใจในความสุขของสมาธิ มีความยินดีพอใจติดอยู่ในฌานสมาบัติ เกิดความเข้าใจผิดหลงผิด เข้าใจว่าเมื่อจิตมีความสงบดีแล้ว จะเกิดปัญญาขึ้น ตั้งความหวังว่าปัญญาย่อมเกิดขึ้นจากสมาธิความสงบนี้แน่นอน วิธีเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้แล้วไม่มีใครให้ความสนใจนำมาปฏิบัติ ทุกคนมีความตั้งใจปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ด้วยกัน จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ได้อย่างไร ก็ให้เป็นตัวใครตัวมัน เพราะทุกคนมีเจตนาไปในจุดเดียวกัน ใครจะถึงจุดนั้นก่อนหรือหลังก็ขึ้นอยู่กับการเดินทางของแต่ละบุคคลก็แล้วกัน

    ทางเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้นั้นตรงที่สุดแล้ว จึงเรียกว่า เอกายโน อยํ มคฺโค มีทางเดียวเท่านี้ที่ตรองต่อมรรคผลนิพพาน พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ดีรู้ชอบ มีความเมตตาต่อหมู่สัตว์โลกทั้งหลาย อยากให้ทุกคนได้พ้นไปจากวัฏจักรที่เวียนวนนี้ไป พระพุทธเจ้าสร้างบารมีมายาวนานถึง ๒๐ อสงไขยแสนกัป ก็เพื่อจะรื้อถอนสัตว์ให้พ้นจากวัฏสงสาร ถ้าผู้มีนิสัยพอจะได้มรรคผลนิพพานในชาตินี้ พระองค์จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโค เพื่อจะนำฝูงโคทั้งหลายได้ข้ามมหาสมุทรสุดสาคร ให้พ้นไปจากพื้นที่อันเป็นทุกข์นี้ไป พระพุทธเจ้าได้ข้ามพ้นกระแสของโลกนี้ไปแล้ว พระองค์ยังมีความเมตตาสงสารแก่พวกเรา จึงได้วางเส้นทางให้แก่พวกเราเอาไว้เพื่อไม่ให้หลงในยุคต่อมา อรรถกถาจารย์ ฎีกาจารย์ อนุฎีกาจารย์ ได้ตีความในมรรค ๘ เสียใหม่ จึงออกมาเป็นบทสิกขาสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรค ๘ เดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ ถ้าจะจัดให้เป็นไปตามบทสิกขาสามก็จัดได้ แต่จะออกมาในรูปแบบปัญญา ศีล สมาธิ ที่เรียงตามหมวดหมู่ของมรรค ๘ ที่ทุกคนได้รู้กันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญในปัญญาความเห็นชอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นตัวควบคุมในหมวดศีล เป็นตัวควบคุมในหมวดสมาธิ ศีล สมาธิ ถ้าไม่มีปัญญาความรอบรู้เอาไว้ การรักษาศีล การทำสมาธิ ก็จะกลายเป็นมิจฉาปฏิบัติไปโดยไม่รู้ตัว

    ปัญญา ๓

    พระพุทธเจ้าได้วางหลักปัญญา สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเอาไว้เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าปัญญาความเห็นชอบเริ่มต้นถูกแล้ว การรักษาศีล การทำสมาธิก็จะเกิดความเห็นชอบต่อเนื่องกันไปทั้งหมด จะตัดขาดจากมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดไปจากใจทันที ส่วนการศึกษาจะเขียนสลับกันไปมาอย่างไรก็ได้ ในภาคปฏิบัติแล้วจะต้องเริ่มจากปัญญาความเห็นชอบตามแนวทางเดิมที่พระพุทธเจ้าได้วางเอาไว้ เช่น ปัญญา ๓ ก็ต้องเริ่มจากสุตตมยปัญญา คือปัญญาภาคการศึกษาในหลักปริยัติ จินตามยปัญญา คือปัญญาในหมวดวิจัยวิจารณ์ วิเคราะห์ในหมวดธรรมนั้นๆ ว่าปริยัติหมวดไหนมีความหมายเป็นอย่างไร และจะนำมาปฏิบัติได้อย่างไร

    จินตามยปัญญาคือปัญญาในระดับขั้นตีความในปริยัติ ถ้าตีความในหมวดปริยัติถูกก็จะเกิดความเข้าใจถูกและเกิดความเห็นถูก ดำริถูก เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะปฏิบัติถูก ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติก็จะถูกไปตามกันทั้งหมด ถ้าตีความในหมวดปริยัติผิด ก็จะเกิดความเข้าใจผิด และจะเกิดความเห็นผิดความดำริผิด เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเป็นการปฏิบัติผิด ผลที่เกิดขึ้นก็จะออกมาในทางที่ผิด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลที่ผิดๆ ต่อไป ฉะนั้นจินตามยปัญญา จึงเป็นเข็มทิศชี้ทาง หรือเป็นตัวกำหนดทิศทางในการปฏิบัติ จะปฏิบัติผิดเป็นมิจฉาปฏิบัติ หรือปฏิบัติถูก ก็ขึ้นอยู่กับจินตามยปัญญาตัวนี้ จินตามยปัญญาเป็นปัญญาที่วิจัยวิเคราะห์วิจารณ์ในหมวดธรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในหมวดธรรมนั้นได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นจินตามยปัญญาจึงเป็นหลักตีความในปริยัติ หรือเป็นตัวช่วยในปริยัติให้เกิดความแจ่มแจ้งชัดเจน

    ถ้าจินตามยปัญญาตีความในหลักปริยัติไม่เกิดความกระจ่างชัดเจน จะเป็นปัญหาในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก เพราะว่าต้นทางของการปฏิบัติก็คือจุดนี้ จะออกไปเป็นสัมมาปฏิบัติก็เริ่มต้นจากจุดนี้ทั้งหมด ฉะนั้นผู้ปฏิบัติภาวนาต้องตั้งหลักไว้ให้ดี ที่เราสวดกันอยู่เสมอว่า สุปฏิปันโน คือการปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโนคือการปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโนคือผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในเญยธรรมทั้งหลาย สามีจิปฏิปันโนคือผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมอันชอบยิ่ง ถ้าไม่มั่นใจในอุบายการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าอุบายนี้ผิดหรือถูก ถ้ามีความสงสัยลังเล ไม่มีความมั่นใจในอุบายการปฏิบัตินั้น อย่าพึ่งตัดสินใจในการปฏิบัตินั้นเลย เหมือนออกรถ ถ้าไม่มั่นใจในเส้นทางที่จะไปก็ต้องจอดรถดูแผนที่นั้นให้ดี จนเกิดความมั่นใจในเส้นทางดีแล้วจึงออกรถลงสู่ถนน จึงจะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น ถ้าปฏิบัติแบบโมเมเรื่อยเปื่อย ไม่มีหลักมีเกณฑ์ก็จะเกิดเป็นปัญหาขึ้นได้ เมื่อแก้ปัญหาให้แก่ตัวเองไม่ได้ก็จะเข้าหาหลวงพ่อหลวงตา นี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติผิดได้ถูกได้ ถ้าหลวงพ่อหลวงตายังมีความเข้าใจผิด มีความเห็นผิดอยู่ เราก็จะได้รับอุบายในการปฏิบัติที่ผิดๆ นั้นต่อไป ถ้าหลวงพ่อหลวงตามีอุบายในการปฏิบัติที่ถูก ก็ถือว่าเรามีความโชคดีไป จะได้รับข้อมูลในอุบายที่ถูกต้อง และปฏิบัติให้ตรงต่อมรรคผลนิพพานได้อย่างแน่นอน

    ฉะนั้น สุตตมยปัญญา จึงเป็นคู่กันกับปริยัติ จินตามยปัญญา จึงเป็นคู่กันกับปฏิบัติ ภาวนามยปัญญา จึงเป็นคู่กันกับปฏิเวธ การปฏิบัติต้องจับคู่ให้ถูก ถ้าจับคู่ไม่ถูก การปฏิบัติก็จะเกิดความสับสนลังเล จับต้นชนปลาย เรียกว่าปฏิบัติภาวนาผิดสูตรนั้นเอง เหมือนทำอาหารหวานคาว ถ้าทำผิดสูตรแล้วจะรับประทานไม่ได้เลย เดี๋ยวจับเอาอาหารคาวไปผสมกับอาหารหวาน เดี๋ยวจับเอาอาหารหวานไปผสมกับอาหารคาว รสชาติที่ออกมา ผู้ผสมอาหารเองก็รับประทานไม่ได้ ว่าอาหารสูตรไหนกันแน่ นี้ฉันใด ผู้ภาวนาปฏิบัติ ถ้าตั้งหลักผิดสูตรเมื่อไร การปฏิบัติก็จะไขว้เขวเป๋ไปเป๋มาเดี๋ยวก็หลุดออกจากสัมมาปฏิบัติไปเสีย หรือหลุดเข้าไปสู่ทางตัน ช่องแคบ ถอยหลังก็ไม่ได้ เดินหน้าก็ไม่ได้ นั้นคือมีความติดใจหลงใหลอยู่ในความสงบ เพลิดเพลินอยู่ในฌานนั้นเอง สุตตมยปัญญา เป็นปัญญาภาคการศึกษาในปริยัติ คือหมวดธรรม หมวดวินัย หมวดอภิธรรมให้เข้าใจ หรือจะมีความเข้าใจเฉพาะข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่ง พอที่จะนำมาปฏิบัติได้และปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    จินตามยปัญญา คือการตีความในปริยัติ การวิจัยวิเคราะห์วิจารณ์ และการเลือกเฟ้นธรรมในหมวดปริยัตินั้น เพื่อเอามาเป็นอุบายในการปฏิบัติ การปฏิบัติดี การปฏิบัติตรง การปฏิบัติเพื่อรู้จริงเห็นจริงในเญยธรรม การปฏิบัติชอบยิ่งก็เริ่มจากจุดนี้ จินตามยปัญญาเป็นคู่กันกับปฏิบัติ ถ้าเลือกเฟ้นหมวดธรรมมาปฏิบัติให้ถูกกับจริตนิสัยของตัวเองแล้ว ความก้าวหน้าความราบรื่นก็จะไหลเข้าไปสู่กระแสแห่งมรรคผลนิพพาน จากนั้นก็จะรวมตัวเข้าเป็นภาวนามยปัญญาอันเป็นคู่กันกับปฏิเวธ ดังนี้

    ภาวนามยปัญญา ที่เป็นคู่กับปฏิเวธนี้ เป็นหลักนิยตธรรม เป็นปัญญาที่จะตัดสินชี้ขาดจากปุถุชนจะก้าวขึ้นสู่อริยชนก็อยู่ในจุดนี้ ผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระสกิทาคามี ผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี และผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็อยู่ในจุดนี้ทั้งหมด ใครจะได้บรรลุธรรมในระดับใด นั้นจะขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละท่าน ผู้สร้างบารมีมาไม่มากนัก ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันไป หรือผู้สร้างบารมีมากขึ้นไปกว่านี้ ก็จะได้บรรลุเป็นพระสกิทาคามีเป็นพระอนาคามีไป ถ้าผู้สร้างบารมีมามากบริบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสอาสวะยุติการเวียนว่ายเกิดตายในภพทั้งสามนี้ทันที ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็อยู่ด้วยความบริสุทธิ์ในวิมุตินิพพานตลอดไป ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เพียงสมมติพูดกัน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็สักว่าไปตามสมมติด้วยกิริยา ตัวอกิริยานั้นได้ปฏิเสธในอัตตาตัวตนและปฏิเสธในสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไปแล้ว ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติเมื่อได้บรรลธรรมในขั้นใดระดับใด ผู้นั้นจะเป็นปัจจัตตังรู้ได้เฉพาะตัว ไม่จำเป็นจะไปถามใครๆ และไม่จำเป็นที่จะไปรับคำพยากรณ์จากใครๆ ทั้งสิ้น ใครจะรู้หรือไม่รู้จึงไม่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอะไร ใครจะนินทาสรรเสริญอย่างไรก็ให้เป็นไปตามภาษาของโลก จะหลีกหนีจากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลย แม้พระพุทธเจ้าก็ยังถูกนินทาว่าร้าย และได้รับความยกย่องสรรเสริญอยู่นั้นเอง

    ภาวนามยปัญญานี้ เป็นผลต่อเนื่องมาจากสุตตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เป็นฐานรองรับไว้ดีแล้ว จึงเกิดเป็นภาวนามยปัญญา หรือเรียกว่าวิปัสสนาญาณ ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นเพื่อประหารลบล้างกิเลสตัณหาโดยเฉพาะ เมื่อวิปัสสนาญาณที่มีความแก่กล้าเต็มที่ พร้อมทั้งบารมีที่สมบูรณ์ ก็จะประหารกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ทั้งหยาบละเอียดให้หมดไปในอาสวักขยญาณได้ในชั่วระยะพริบตาเดียวเท่านั้น ฉะนั้นวิปัสสนาญาณที่เป็นของจริง เมื่อเกิดขึ้นกับใคร จะเป็นนักบวชหรือฆราวาส จะเกิดกับผู้หญิงผู้ชาย ในฐานะอะไร ไม่สำคัญ เมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้วกับใครจะไม่มีการเสื่อมสลายไป จะทำหน้าที่ประหารกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจโดยถ่ายเดียว

    ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้เองที่ผู้ปฏิบัติมีความต้องการอยากให้เกิดขึ้น ผู้สอนในวิธีทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความสงบ มีความต้องการให้ปัญญาเกิดเพื่อจะได้ละอาสวะกิเลสให้หมดไปสิ้นไปจากใจ ก็คือ ปัญญาตัวนี้นี่เอง ดังบาลีว่า สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหพฺพลาโหติมหานิสงฺสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิวิมุจฺจติ เสยฺย ทิทํ กามาสวา อวิชฺชาสวา ภวาสวา เมื่อจิตมีความสงบตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมเกิดปัญญาขึ้น เมื่อปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละกิเลสทั้งหลายไปได้คือ กามกิเลสทั้งหลาย อวิชชาความไม่รู้จริง ละภพน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจได้ ปัญญาอย่างนี้นี่เองที่ผู้ทำสมาธิต้องการให้เกิดขึ้น ปัญญาวิปัสสนาญาณนี้เกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ละอาสวะกิเลสตัณหาได้จริง แต่ปัญญาวิปัสสนาญาณนี้ไม่ได้เกิดจากสมาธิโดยตรง ปัญญานี้จะเกิดต่อเนื่องมาจากปัญญาในสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ปัญญาในการดำริ พิจารณาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงต่อเนื่องมาจากสุตตมยปัญญา เกิดขึ้นต่อเนื่องในจินตามยปัญญาที่เรียกว่าปัญญาในวิปัสสนา เมื่อปัญญาในวิปัสสนามีความแก่กล้าแล้ว ก็จะเกิดปัญญาวิปัสสนาญาณขึ้น แล้วละอาสวะกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจดังที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น ส่วนการทำสมาธิให้จิตมีความสงบดีแล้ว จะเกิดปัญญาขึ้นนั้นไม่จริง เพราะสมาธิเป็นเพียงองค์ประกอบ เสริมปัญญาให้มีกำลังใจได้พิจารณาด้วยปัญญาต่อไปเท่านั้น

    การทำสมาธิเป็นเพียงอุบายพักใจให้มีพลัง เมื่อจิตมีพลังจากการทำสมาธิแล้ว เอาพลังที่เกิดจากสมาธินี้ไปเสริมปัญญาที่ฝึกไว้ดีแล้ว ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสัจธรรม เหมือนถ่านไฟฉายถึงจะมีกำลังไฟอัดแน่นเต็มก้อนอยู่ก็ตาม ถ้าไม่มีสายไฟเชื่อมโยงต่อกับหลอดไฟ หรือหลอดไฟขาดไปเสีย หรือหลอดไฟก็ไม่มีและสายไฟก็ไม่มีเชื่อมโยงต่อกัน จะให้เกิดความสว่างขึ้นเฉพาะถ่านไฟนั้นไม่ได้เลย ผู้ที่ไม่เคยฝึกปัญญามาก่อน หรือไม่มีปัญญาพิจารณาในธรรมมาก่อน กำลังใจที่เกิดขึ้นจากสมาธิจะเอาไปเสริมอะไร ก็เป็นเพียงความสุขใจหดตัวอยู่ในความสงบ หดตัวอยู่ในรูปฌานอรูปฌานเท่านั้นเอง ต้องอ่านประวัติของพระพุทธเจ้าดูบ้าง เมื่อครั้งพระองค์ได้ไปทำสมาธิอยู่กับดาบสทั้งสอง พระองค์ยิ่งมีความสงบในสมาธิเป็นอย่างมาก และมีความชำนาญในการเข้าฌานสมาบัติทุกรูปแบบ

    ทำไมปัญญาจึงไม่เกิดจากสมาธิแก่พระองค์บ้าง หรือดาบสทั้งสองก็มีความชำนาญในการทำสมาธิ มีความชำนาญในฌานเป็นอย่างมาก ถึงขนาดนั้นปัญญาก็ไม่ได้เกิดขึ้นแก่ดาบสนั้นเลย ฉะนั้นสมาธิจึงไม่ทำให้เกิดปัญญาแต่อย่างใด เป็นเพียงทำสมาธิเพื่อเอาไปเสริมปัญญาที่มีอยู่เท่านั้น ฐานของปัญญาก็มีอีกฐานหนึ่งที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน ฐานของสมาธิก็มีอีกฐานหนึ่ง เรียกว่าสมถกรรมฐาน แต่ละฐานก็ต้องมีอุบายสร้างมาคนละอย่าง แล้วนำมาร่วมกันในการปฏิบัติธรรม เรียกว่าปัญญาเป็นกำลังหนุนสมาธิ สมาธิมีกำลังหนุนปัญญาหรือเรียกว่า ปัญญาอยู่ที่ไหน สมาธิอยู่ในที่นั้น สมาธิอยู่ที่ไหน ปัญญาก็อยู่ในที่นั้น แต่เป็นสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น จึงเป็นคู่ทำงานร่วมกันกับปัญญาได้ ส่วนสมาธิความสงบจะหมดสิทธิ์ในการใช้ปัญญาทันที

    ปัญญาในวิปัสสนาญาณ

    ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอัตโนมัติกำจัดกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจจริงเหมือนความสว่างกำจัดความมืดได้ฉันนั้น ปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่เหมือนกับปัญญาอย่างอื่น ปัญญาในสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบก็เป็นรูปแบบหนึ่ง ปัญญาในวิปัสสนาก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนปัญญาในวิปัสสนาญาณนี้เป็นปัญญาที่มีความโดดเด่น มีความฉลาดเฉียบแหลมว่องไว มีความกล้าหาญอยู่ในตัวอย่างเบ็ดเสร็จ เหมือนกับการตั้งเวลาให้แก่ทุ่นระเบิด เมื่อครบวงจรเมื่อไรก็จะเกิดระเบิดขึ้นทันที นี้ฉันใด ปัญญาในวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติเมื่อไร ผู้นั้นจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน อยู่ในอิริยาบถไหนไม่สำคัญ เมื่อวงจรครบรอบเมื่อไรก็บรรลุธรรมได้ในเมื่อนั้น

    การบรรลุธรรมของพระอริยเจ้าในระดับพระโสดาบัน ในระดับพระสกิทาคามี ในระดับพระอนาคามี จะเป็นในลักษณะเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในความหยาบและละเอียดเท่านั้น และรู้ตัวทันทีว่า ได้บรรลุธรรมในขณะใดก็จะรู้ตัวเองว่าได้บรรลุธรรมในขณะนั้น และก็รู้ตัวว่าได้บรรลุธรรมในระดับนั้นๆ ไม่ต้องไปถามใครๆ วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในการได้บรรลุธรรมของตัวเองแต่อย่างใด จะเป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตัวทันทีว่าตัวเองอยู่ฐานะอะไร การได้บรรลุธรรมในสามระดับนี้จะมีในลักษณะใด เป็นอย่างไร แต่ก่อนเป็นปุถุชน บัดนี้เป็นอริยชน ในความรู้สึกภายในใจจะเป็นอย่างไร ก็ขอให้ท่านผู้อ่านหนังสืออยู่นี้แหละได้บรรลุธรรมเสียเอง ก็จะรู้ตัวในขณะนั้นทันที

    ผู้จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์นั้น จะมีความแตกต่างกันกับพระอริยเจ้าในระดับอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว ถึงท่านผู้นั้นจะเป็นนิสัยปัญญาวิมุติหรือเจโตวิมุติก็ตาม เมื่อมีปัญญาในวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้วจะเป็นเหมือนกันทุกท่าน นั้นคือความสงบเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่าดับ

    คำว่าดับในที่นี้หมายถึงความดับในวิญญาณ วิญญาณที่รับรู้ในรูป วิญญาณที่รับรู้ในเวทนา วิญญาณที่รับรู้ในสัญญา วิญญาณที่รับรู้ในสังขาร วิญญาณที่รับรู้ในจิต ที่เป็นนามธรรมทั้งหมดนี้ ในช่วงนั้นจะไม่ทำงานรับรู้ในสิ่งใดๆ แม้แต่ความคิดและความสำนึกในสิ่งใดก็อยู่ในสภาพหยุดนิ่งทั้งหมด ไม่รับรู้ต่อสิ่งภายนอกใดๆ ได้เลย ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต เป็นในลักษณะอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่มีในปัจจุบันอยู่นั้นเอง แต่ก็มีความรู้อยู่กับรู้

    ไม่มีในความหมายอะไร ไม่รู้ว่าสัตว์ไม่รู้ว่าบุคคล รู้ก็สักแต่ว่ารู้เท่านั้นไม่รู้ในการสัมผัสในทางรูป จะเป็นรูปภายในหรือรูปภายนอก จะไม่มีความสัมผัสเชื่อมโยงต่อกัน จะมีตาก็สักว่ามีตา จะมีหูก็สักว่ามีหู จะมีจมูกก็สักว่ามีจมูก จะมีลิ้นก็สักว่ามีลิ้น จะมีกายก็สักว่ามีกาย จะมีใจก็สักว่ามีใจ ความรับรู้ในอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่มีความสัมผัสรับรู้ในอายตนะภายนอกได้คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ เพราะวิญญาณได้สงบหยุดนิ่ง ไม่มีสื่อที่จะรับรู้ในรูปธรรมนามธรรม จึงเรียกว่า รูปไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่รูป รูปไม่มีในตน ตนไม่มีในรูป เวทนาไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่เวทนา เวทนาไม่มีในตน ตนไม่มีในเวทนา สัญญาไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่สัญญา สัญญาไม่มีในตน ตนไม่มีในสัญญา สังขารไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่สังขาร สังขารไม่มีในตน ตนไม่มีในสังขาร วิญญาณไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณไม่มีในตน ตนไม่มีในวิญญาณ

    ในเมื่อวิญญาณความรับรู้มีความสงบนิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความรับรู้ในขันธ์ห้า ความรับรู้ในอายตนะภายในก็หมดสภาพไป ไม่มีอายตนะอะไรสัมผัสในสิ่งใดได้เลย ถึงจะมีรู้อยู่แต่ก็รู้โดยไม่มีสมมติอะไรมาให้รู้ ก็เพราะสมมติทั้งภายในและสมมติทั้งภายนอก ไม่มีวิญญาณที่จะไปรับรู้ในสิ่งใดๆ ต่อกันได้เลย จึงเป็นรู้โดยไม่มีนิมิตหมายในสมมติใดๆ ทั้งสิ้น การเป็นในลักษณะนี้ไม่นานนัก ก็จะเกิดในลักษณะขยับนิดเดียว อาสวักขยญาณ ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทันที ก็รู้ได้ว่า อาสวะจะสิ้นไปในขณะนี้

    อาสวักขยญาณเกิดขึ้น

    การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นั้น เป็นการบรรลุธรรมขั้นพิเศษ นั้นคือผู้จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ทุกท่านจะต้องมีอาสวักขยญาณเกิดรองรับเหมือนกันทั้งหมด อาสวักขยญาณนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เท่านั้น พระอริยเจ้าในระดับต่ำลงมา เช่น พระอนาคามี พระสกิทาคามี พระโสดาบัน จะไม่มีอาสวักขยญาณนี้เกิดขึ้น เพราะยังมีกิเลสตกค้างภายในใจอยู่ ฉะนั้น อาสวักขยญาณจึงเป็นญาณที่ถอนรากถอนโคน ทำลายเชื้อพันธุ์ของกิเลสตัณหาให้หมดไปสิ้นไปจากใจนี้โดยสิ้นเชิง จึงเป็น สมูฬํ ตณฺหํ อพฺภุยฺห เป็นญาณที่รื้อถอนกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในให้หมดไปสิ้นไป ไม่มีเชื้อของกิเลสตัณหาน้อยใหญ่แอบแฝงอยู่ในใจนี้บ้างเลย ญาณนี้มีความกล้าเป็นพิเศษ เหมือนจะกระทืบภูเขาทั้งลูกให้พังพินาศเรียบราบไปในชั่วพริบตา หรือเหมือนจะทำอะไรได้ทุกอย่างในโลกอันนี้ ในความกล้าลักษณะนี้ จะมีเฉพาะผู้จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เท่านั้น

    อาสวักขยญาณ ในตำราแปลไว้ มีหลายความหมายด้วยกัน เช่น แปลว่า รู้จักทำให้อาสวะสิ้นไปเป็นต้น ข้าพเจ้าก็จะขอแปลไว้ในที่นี้ด้วยเช่นกัน จะผิดถูกอย่างไรก็ให้พิจารณาด้วยเหตุผล คำว่าอาสวักขยญาณ เป็นญาณที่รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปในขณะนี้ ตัดคำว่าทำทิ้งไปเสีย เพราะในช่วงนี้ขณะนี้ไม่มีคำว่าทำอะไรอีกแล้ว ได้ผ่านขั้นตอนในการทำมาแล้ว อีกชั่วขณะจริมกจิตเดียว ก็จะตั๊บขึ้นที่ใจ นั้นคือการพ้นจากกระแสโลกนี้แล้ว เรียกว่าบรรลุธรรม ภาระหน้าที่อันหนักแบกหามกันอยู่ในโลกนี้มา จึงหมดภาระหน้าที่ไม่มีอะไรจะเป็นไปอีกแล้ว กตํ กรณียํ หมดกิจส่วนตัว ไม่มีกิจอื่นใดที่จะทำต่อไป

    ในลักษณะดังที่ได้อธิบายมานี้ ก็จะมีผู้อยากจะรู้ อยากจะเห็น อยากสัมผัส ว่าผู้ที่เป็นในลักษณะนี้จะมีความรู้สึกเป็นอย่างไร ใจที่หมดจากอาสวะกิเลสตัณหาเป็นในลักษณะใด จะมีความแตกต่างกันกับปุถุชนอย่างไร ก็ขอให้ท่านได้สัมผัสในลักษณะนี้ด้วยตนเองก็แล้วกัน จะฟังผู้อื่นอธิบายให้ฟัง ก็ยังมีความลังเลสงสัยอยู่นั้นเอง ผู้ที่ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์นั้นเหมือนกันกับไฟที่ไหม้เชื้อของไฟอันแห้งกรอบ หรือเหมือนกันกับไฟไหม้น้ำมันหรือไฟไหม้ดินปืน ตราบใดยังมีเชื้อของไฟให้ไหม้อยู่ ไฟก็จะไหม้เชื้อของไฟนั้นให้หมดไป เมื่อหมดเชื้อของไฟเมื่อไร ไฟก็จะหมดไปพร้อมกัน นี้ฉันใด วิปัสสนาญาณ อาสวักขยญาณได้ทำลายอาสวะกิเลสตัณหาให้หมดไปแล้ว วิปัสสนาญาณ อาสวักขยญาณก็หมดหน้าที่ไปเช่นกัน เป็นอันว่าเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วอย่างสมบูรณ์ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีสติปัญญา มีความเพียร มีความอดทน เป็นตบะแผดเผากิเลสตัณหาที่มีความเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ดังบาลีว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ความอดกลั้น อดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง ความอดทนอดกลั้น นี้แล จึงเป็นหัวใจของนักพรต มีความอดทนเป็นตบะแผดเผากิเลสตัณหาให้หมดไป เมื่ออาสวักขยญาณได้ทำการแผดเผากิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไปแล้วก็หมดภาระกัน

    มรรค อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความรู้จริงเห็นจริงแห่งทุกข์ทั้งหลาย จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้ปฏิบัติไม่รู้จักมรรค หรือไม่รู้วิธีในการปฏิบัติในองค์มรรคหรือปฏิบัติอยู่แต่ก็ไม่เป็นไปตามองค์มรรค ชาตินี้ทั้งชาติก็จะปิดฉากแห่งมรรคผลนิพพานลงทันที ถึงจะมีบารมีพอที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานอยู่ก็ตาม แต่ถูกมิจฉาปฏิบัติปิดบังเอาไว้อย่างมืดมิดแล้ว บุญบารมีที่มีอยู่ก็ไม่สามารถจะผ่านความเห็นผิดการปฏิบัติผิดนี้เข้าสู่กระแสธรรมได้เลย เหมือนการบวกลบคูณหารผิดหลักผิดสูตร ผลลัพธ์ที่ออกมาอย่างถูกต้องนั้นก็เป็นไปไม่ได้ หรือเหมือนให้ข้อมูลที่ผิดเข้าไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว จะพิมพ์ออกมาให้ได้รับข้อมูลที่ถูกนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ จะไปโทษว่าไม่มีบุญวาสนาบารมีก็ไม่ถูก เมื่อเราปฏิบัติผิดแล้ว จะไปโทษธรรมว่าไม่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ ให้รู้ตัวเองว่าปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางของพระพุทธเจ้าหรือพระอริยเจ้าหรือไม่ เหมือนกับการเชื่อมสายไป ถ้าเชื่อมผิดสายก็จะไม่เกิดความสว่างได้ เหมือนเจาะน้ำบาดาล ถ้าเจาะไม่ถูกกับสายน้ำก็เสียเวลาไม่ได้ประโยชน์อะไร เหมือนกินยาไม่ถูกกับโรค ความเจ็บป่วยก็ไม่หายไปได้เช่นกัน นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมถ้าผิดพลาดไปแล้ว จะให้ผลออกมาเป็นถูกนั้นจะเป็นไปไม่ได้ จะต้องได้รับทุกข์ในการเกิดตายต่อไป

    เหตุให้เกิดทุกข์มีเท่าไร ผลของทุกข์ก็มีเท่านั้น เราตั้งข้อสังเกตให้ดีว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงเอาทุกข์มาเป็นข้อเริ่มต้นในการใช้ปัญญาพิจารณาก็เพราะคนไม่รู้ทุกข์ ไม่เห็นทุกข์ จึงได้เกิดความเข้าใจผิดไปว่า นี้คือความสุขที่ทุกคนแสวงหาและปรารถนา หลงผลแห่งความทุกข์ จึงเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสุขอยู่เรื่อยไป เหมือนยาพิษเคลือบด้วยน้ำตาล เพื่อเอามาหลอกสัตว์ที่โง่เขลาให้หลงกิน ในขณะกินก็มีความติดใจในรสชาติที่หวานฉ่ำ เมื่อคราบน้ำตาลภายนอกได้ละลายไปแล้ว ยาพิษก็จะให้ผลทันที นี้ฉันใด ความทุกข์ที่ทุกคนได้รับกันอยู่ในขณะนี้ เป็นผลออกมาจากเหตุโลกียสุขทั้งนั้น แต่จะมารู้เห็นทุกข์ในช่วงนี้ยังไม่ได้ เพราะสติปัญญาของเรายังไม่พร้อม ยังไม่มีความสว่างทางสติปัญญา จึงไม่เกิดความฉลาดรอบรู้ในเหตุแห่งความทุกข์ได้ว่าอะไรเป็นเหตุที่เกิดทุกข์ มีมูลฐานในการทำ มีมูลฐานในการพูด มีมูลฐานในความเห็นผิดเป็นอย่างไร

    ถ้าไม่เข้าใจในจุดนี้ก็ยากที่จะเข้าใจในทุกข์ และเหตุให้เกิดทุกข์ได้ เพราะเหตุให้เกิดทุกข์มาจากความอยาก ความอยากที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นมีมาก ถ้าสติปัญญาไม่มีความฉลาดเฉียบแหลมพอตัวก็ยากที่จะรู้ได้ จึงเป็นผู้ลุอำนาจแห่งความอยากต่อไป จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สร้างเหตุแห่งทุกข์มากขึ้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเอาผลที่เป็นทุกข์มาเป็นหลักพิจารณา ให้เห็นโทษภัยเพื่อให้ใจได้เกิดความกลัว ถ้าใจได้รู้เห็นทุกข์ด้วยสติปัญญาได้อย่างชัดเจนแล้ว ไม่มีใครในโลกนี้ต้องการความทุกข์ มีแต่จะสลัดให้หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ทั้งนั้น การสลัดออกจากทุกข์นี้มิใช่จะทำสมาธิแก้ปัญหาได้ เพราะความสงบของสมาธิเป็นเพียงอุบายกลบปัญหากลบทุกข์ไว้เท่านั้น

    การรู้ทุกข์เห็นทุกข์ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงนั้น ต้องรู้เห็นจากสติปัญญาของตัวเอง การรู้เห็นจากตำราหรือผู้อื่นเล่าให้ฟังก็เป็นเพียงสัญญาเท่านั้น จะให้ใจเกิดความสลดสังเวชเกิดความกลัวในทุกข์นั้นๆ ไม่ได้เลย ความทุกข์ตัวจริงนั้นอยู่ที่ใจโดยตรง ร่างกายเป็นเพียงองค์ประกอบให้เกิดทุกข์ทางใจ เมื่อไรกายใจมีความสัมพันธ์กันอยู่ ความทุกข์ก็ยังเป็นผลให้ได้รับตลอดไป นั้นเรียกว่าสภาวทุกข์ คือทุกข์ที่มีอยู่ประจำขันธ์ เรียกว่าทุกข์เป็นเจ้าเรือนที่มีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม อีกทุกข์หนึ่งเป็นปกิณกทุกข์คือทุกข์จรหรือทุกข์เสริม ทุกข์ประจำที่มีอยู่ก็เหลืออดเหลือทนแทบจะรับไม่ไหวอยู่แล้ว ยังมีทุกข์จรเพิ่มเสริมซ้ำเติมเข้ามาอีก ความหนักหน่วงทรมานทางกายและใจก็จะได้รับผลแห่งความทุกข์อย่างเต็มที่ เรื่องความทุกข์นี้มีมาก จะพรรณนาให้จบสิ้นในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้ จะเป็นหนังสือเล่มใหญ่เกินไป เพียงอธิบายให้เป็นแนวทางในการใช้ปัญญาพิจารณาเท่านั้น ผลแห่งความทุกข์มีเท่าไร เหตุปัจจัยที่จะให้เกิดทุกข์ก็มีมากเท่านั้น ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องฝึกสติปัญญาไว้ให้ดี ให้มีความรอบรู้ในทุกข์ และมีความรอบรู้ในเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดทุกข์ เหตุปัจจัยภายในเป็นอย่างไร เหตุปัจจัยภายนอกเป็นอย่างไร ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบรู้อยู่เสมอ สิ่งใดเห็นว่าเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราจะหลีกเลี่ยงในเหตุนั้นเสีย ถึงจะมีความอยากได้อยากทำ ก็ต้องมีขันติความอดทนเพราะกลัวผลที่เป็นทุกข์ติดตามมาให้ผลแก่เรา

    สมุทัยคือ ตัณหาสาม เช่น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาสามนี้เป็นเรื่องของใจเป็นต้นเหตุ ใจที่มีกิเลสสังขารสั่งการอยู่นั้นจึงเหมือนกันกับนายพรานพาสุนัขไปล่าเนื้อ เมื่อได้เนื้อมา นายพรานก็กินของดีเสียหมด โยนให้สุนัขกินเพียงเนื้อติดกระดูก นี้ฉันใด ใจที่ถูกกิเลสตัณหาสั่งการก็ต้องดิ้นรนแสวงหาให้ได้มาตามความอยาก เมื่อแสวงหามาได้แล้ว กิเลสตัณหาก็ได้เสวยสุขแต่ฝ่ายเดียว เศษที่เหลือก็คือความทุกข์ของใจ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ความทุกข์เกิดขึ้นจากความรักความใคร่ ผลของทุกข์ในสิ่งใดที่กิเลสตัณหาได้สั่งการให้ใจได้ทำไปแล้ว กิเลสตัณหาจะสลัดโยนทิ้งไปให้ใจเป็นผู้รับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว ใจที่โง่เขลาเบาปัญญาไม่มีวิชาความรู้ความฉลาด ก็จะอยู่เป็นทาสรับใช้ให้แก่กิเลสตัณหาตลอดไป ใจได้ตกเป็นทาสให้แก่กิเลสตัณหามายาวนานจนถึงปัจจุบัน และจะตกเป็นทาสให้แก่กิเลสตัณหาต่อไปในชาติอนาคตไม่มีกำหนดได้ ใจเดิมมีความฉลาดฝังอยู่ลึกๆ แต่ขาดการศึกษา ไม่มีวิชาทางสติปัญญาในทางธรรม จึงเป็นใจที่มืดบอดลุ่มหลง เรียกว่า โมหะอวิชชา ดังคำว่า คนโง่ย่อมตกอยู่ในความครอบงำของคนที่มีความฉลาดกว่า ใจโง่ก็ย่อมตกอยู่ในความครอบงำของกิเลสตัณหาก็ฉันนั้น ขณะนี้ถึงเวลาหรือยังพร้อมหรือยังที่จะฝึกใจให้มีความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริง สติปัญญาวิชาความรู้ใดที่เป็นไปในธรรมก็นำมาอบรมสอนใจเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    ตัณหาพาให้เกิดทุกข์

    ตัณหา หมายถึงความอยาก เช่น กามตัณหา ความอยากในกามคุณ ๕ คืออยากได้รูปที่ชอบใจ อยากในเสียงที่ชอบใจ อยากในกลิ่นที่ชอบใจ อยากในรสที่ชอบใจ อยากในสัมผัสที่อ่อนนุ่มชอบใจ ความอยากในลักษณะนี้จะมีอยู่ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานก็มีความอยากในลักษณะนี้เช่นกัน มนุษย์ทุกชาติชั้นวรรณะอยู่ในฐานะอย่างไร จะมีความอยากในกามคุณนี้เหมือนกันทุกคน พวกเทพพรหม ก็ยังมีความอยากแต่อยากต่างกัน เทพอยากในกามคุณ พรหมอยากในความสุขในฌาน เว้นพรหมในชั้นสุทธาวาสของพระอนาคามี ความอยากในกามคุณนี้เหมือนยาเสพติดในระดับสามภพทีเดียว เฉพาะกามภพจะมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ สัตว์โลกตัวใดได้สัมผัสกับกามคุณห้าแล้วจะเกิดความติดใจไม่อยากหนีไปไหน เหมือนกับมดที่ติดใจในรสชาติของน้ำผึ้ง ถึงอย่างไรก็จะป้วนเปี้ยนเวียนวนมาชิมน้ำผึ้งเป็นประจำ อีกสักวันหนึ่งขาจะไปติดอยู่กับน้ำผึ้ง ในที่สุดก็ตายเพราะความอยากในน้ำผึ้งหยดเดียว นี้ฉันใด สัตว์โลกทั้งหลายที่อยู่ในกามภพนี้ทุกตัว ก็จะมีความชอบใจในกามคุณห้านี้เหมือนกันทั้งหมด ฝั่งของมหาสมุทรสุดสาคร ยังไม่อิ่มพอในกระแสของน้ำฉันใด ใจของมวลสัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่อิ่มพอต่อกามคุณก็ฉันนั้น กามคุณทั้งห้าเหมือนกับเป็นแกนกลางของโลก หรือจะเรียกว่า เสาเอกของโลกก็ว่าได้ ใครได้มาเยี่ยมชมงานนิทรรศการของโลกนี้เมื่อไรจะอดใจไม่ได้เลย อย่างไรก็ขอให้ได้สัมผัสกับกามคุณห้านี้ให้สมใจ

    ภวตัณหา หมายถึง อยากในภพที่ชอบใจ วิภวตัณหา หมายถึงไม่อยากในภพที่ไม่ชอบใจ นี้ก็เป็นธรรมชาติของใจต้องมีความอยาก และความไม่อยากเป็นนิสัย เช่น อยากได้ในสิ่งที่ดี และไม่อยากในสิ่งที่ไม่ดี เราคนเดียวก็ตกอยู่ในภพทั้งสามนี้ ในปัจจุบันนี้ก็อยากให้มีฐานะร่ำรวย ทุกอย่างให้มีความเพียบพร้อมอยู่ท่ามกลางกองสมบัตินานาประการ ในขณะที่ทำบุญแล้วชอบยกมือใส่หัวอธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ไปอยู่สวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ นี้ก็คือต้องการภพที่ดีเรียกว่า ภวตัณหานั้นเอง วิภวตัณหาก็หมายถึงตัวเรานี้เอง เมื่อเราได้เกิดเป็นภพชาติของมนุษย์ที่ดีแล้ว ทุกอย่างมีความพร้อม มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอำนวยความสุขนานาประการ เมื่อเราได้พบเห็นภพชาติคนอื่น สัตว์อื่นที่ต่ำต้อยน้อยวาสนาของคนบางกลุ่ม หรือภพชาติที่ต่ำกว่าเราลงไปอีก เช่น ภพของสัตว์ดิรัจฉาน เราก็ไม่ต้องการในภพนี้เช่นกัน

    ฉะนั้น การสำรวจตรวจสอบในตัว สมุทัยคือ ตัณหาสาม กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาตรวจสอบที่ตัวเราเอง ตัณหาสามมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเราทั้งหมด ให้ค้นหากันอยู่ที่นี่ และละกันอยู่ในที่นี่ ถ้าสติปัญญาเราดี มีความรอบรู้ และมีความฉลาดเฉียบแหลม จะเกิดความรู้เห็นตัวสมุทัยได้ในตัณหาสามนี้ได้อย่างชัดเจนทีเดียว

    วิจยะ การเลือกเฟ้น

    ธัมมวิจยะ ผู้มีสติมีความรอบรู้ การเลือกเฟ้นหาหมวดธรรมมาปฏิบัติให้ถูกกับนิสัยตัวเองนั้น เลือกได้ง่าย วิจยะ แปลว่าเลือกหรือเฟ้น หรือว่าเลือกเฟ้นก็ได้ในความหมายอย่างเดียวกัน ฉะนั้นการเลือกเฟ้น จึงเป็นนิสัยของคนที่มีสติปัญญา เป็นนิสัยของผู้มีความคิด จะเชื่อในตัวบุคคล หรือจะเชื่อในธรรมอย่างไร ก็ต้องมีวิจยะมาโยนิโสใคร่ครวญพิจารณาก่อนการตัดสินใจเชื่อ จึงนับว่าเป็น สทฺธา ญาณ สมฺปยุตฺ เป็นผู้เชื่ออะไรอย่างมีเหตุผล และพิจารณาด้วยปัญญาก่อนจึงเชื่อทีหลัง การเชื่อบุคคลก่อนธรรมหรือการเชื่อธรรมก่อนบุคคล อย่างไหนจะมีผลดีกว่ากัน เอาแน่ไม่ได้

    ในบางครั้งเราได้อ่านหนังสือธรรมะจากท่านองค์นั้นแล้ว เกิดความเคารพเชื่อถือในธรรม จึงตามหาตัวบุคคลและเชื่อในตัวบุคคลทีหลัง หรือเชื่อในตัวบุคคลก่อน เช่น เห็นเข้าแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จะเห็นเพียงกิริยาหรือลักษณะพอเชื่อถือได้ หรืออาจเป็นเพราะนิสัยตรงกัน จึงได้เกิดความเชื่อในตัวบุคคลก่อน เมื่อได้ฟังธรรมจากท่านแล้วก็เกิดความเคารพเชื่อถือในธรรมทีหลัง ถ้าผู้มีนิสัยในทางปัญญาจะเอาวิจยะมาประกอบในการเลือกเฟ้นนั้นได้ง่าย จะเลือกเฟ้นในตัวบุคคล จะเลือกเฟ้นเอาหมวดธรรมมาปฏิบัติ ก็เป็นของง่ายสำหรับผู้มีสติปัญญาที่ดี ถ้าผู้ไม่มีสติปัญญา ไม่มีวิจยะธรรมภายในใจ จะเชื่ออะไรก็เป็นความเชื่ออย่างงมงาย จะเชื่อธรรมหรือเชื่อบุคคลก็ไม่เป็นไปตามใจที่เราเชื่อ ก็เพราะเชื่อขาดจากปัญญาความรอบรู้นั้นเอง

    วิจยะ หมายความว่าการเลือกเฟ้น

    ทิฏฐิวิจยะ การเลือกเฟ้นในความเห็น ความเห็นใดที่เป็นไปในความถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ถูกต้องเป็นธรรมก็ดี ต้องนำความเห็นนั้นๆ เข้ามาทำการเลือกเฟ้นด้วยสติปัญญาอย่างมีเหตุมีผล เอาไตรลักษณ์มาเป็นตัวตัดสินอ้างอิง ถ้าความเห็นใดไม่เป็นไปในไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความเห็นนั้นไม่ถูกต้องใช้ไม่ได้ ละความเห็นประเภทนั้นทิ้งไปเสีย ถ้าความเห็นใดเป็นไปตามไตรลักษณ์ ความเห็นนั้นถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย นั้นเป็นความเห็นที่ถูกต้องเป็นธรรมที่สุดแล้ว

    สังกัปปวิจยะ เลือกเฟ้นในความคิด ตามปกติ ใจจะคิดได้ในทุกอารมณ์ อารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ หรืออารมณ์อย่างอื่นใดก็ตาม ใจจะคิดได้ทั้งหมด ผิดถูกชั่วดีทางโลกทางธรรมคิดได้ทั้งนั้น ถ้าฝึกใจให้คิดไปในทางไหนอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยโน้มเอียงไปในสิ่งนั้นๆ จนกลายเป็นนิสัย ถ้าฝึกใจไปคิดในทางโลกอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ เอนเอียงไปในทางโลก ถ้าฝึกใจไปติดอยู่ในเรื่องของกามคุณคือ คิดในรูป คิดในเสียง คิดในกลิ่น คิดในรสของอาหาร คิดในการสัมผัสที่อ่อนนุ่มอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ เกิดความยินดีพอใจมีความกำหนัดในกามคุณมากขึ้น ถ้าฝึกใจไปคิดอยู่กับความร่ำรวยในลาภสักการะอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ เกิดเป็นความโลภขึ้น

    ถ้าฝึกใจไปคิดพิจารณาในเรื่องอนิจจัง เรื่องทุกขัง เรื่องอนัตตาอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง ฉะนั้นจงฝึกใจให้คิดให้ดำริในไตรลักษณ์อยู่เนืองๆ อย่าเอาความโง่มาปิดกั้นปัญญาตัวเอง ขณะนี้ต้องการฝึกใจให้มีความรอบรู้ในเหตุและผลด้วยตนเอง เราต้องมีความขยันหมั่นคิดพิจารณาให้รู้เห็นทุกข์โทษภัยที่เกิดขึ้นจากกามคุณอยู่เสมอ

    การฝึกคิดพิจารณาในสิ่งใดก็ตาม ถ้าให้เป็นไปในไตรลักษณ์แล้ว ความคิดนั้นจะไม่ผิดจากธรรมแต่อย่างใด การฝึกใจให้มีการดำริพิจารณา หรือฝึกใจให้คิดในทางธรรมนี้ จึงเป็นวิธีใหม่ของใจ ในอดีตที่ผ่านมายาวนาน ความคิดของใจจะเป็นไปในทางโลกอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ใจไปยึดติดในสิ่งที่คิดนั้นๆ อย่างฝังตัวจนกลายเป็นนิสัยความเคยชิน ฉะนั้นจึงมาฝึกใจให้มีความคิดเสียใหม่ เพื่อจะได้ลืมแนวความคิดเก่าๆ นั้นไปเสีย ผู้ที่ยังไม่เคยคิดพิจารณาในทางปัญญา การเริ่มใหม่ก็จะมีความสับสนพอสมควร เมื่อคิดพิจารณาในหลักความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ พัฒนาในแนวความคิดไปเองได้

    การฝึกคิดพิจารณานี้ อย่าไปใฝ่ใจในการทำสมาธิให้สงบมากนัก เพราะความสงบในสมาธิเป็นตัวปิดกั้นปัญญาอย่างสนิททีเดียว ถ้าจะทำสมาธิก็เพียงนึกคำบริกรรม หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก ให้ใจมีความตั้งมั่นพอประมาณสัก ๑๐ – ๑๕ – ๓๐ นาที แล้วหยุดการนึกคำบริกรรมนั้นเสีย แล้วน้อมใจมาคิดพินิจพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความเป็นจริง เป็นเรื่องของตัวเองบ้าง เรื่องของคนอื่นสัตว์อื่นบ้าง หรือคิดพิจารณาในเรื่องภายนอกแล้ว ก็น้อมเข้ามาหาตัวเองให้พิจารณาลงจุดเดียวกันคือ ไตรลักษณ์ จะอยู่ในที่ไหนไปเที่ยวในที่ใด จะนั่งรถนั่งเรือนั่งเครื่องบิน ก็พิจารณาด้วยปัญญาได้ ไม่ต้องมานึกคำบริกรรมทำสมาธิให้เสียเวลา ให้พิจารณาด้วยปัญญาได้เลย จะรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำล้างหน้าแปรงฟัน ใช้ปัญญาพิจารณาได้ทั้งนั้น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ใช้ปัญญาพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องนึกคำบริกรรม เว้นเสียแต่หลับไปเท่านั้น

    วจีวิจยะ การเลือกเฟ้นในคำพูด ว่าจะพูดอย่างไรที่จะทำให้เกิดประโยชน์ตนและประโยชน์แก่คนอื่น จะพูดอย่างไรที่จะทำให้เกิดความรักต่อกัน และให้เกิดความสามัคคีต่อกัน ต้องเลือกคัดจัดสรรหาคำพูดให้แก่ตัวเองให้เป็น การพูดเท็จพูดส่อเสียดยุยงให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิด จะเป็นคำพูดที่เสียดแทงหัวใจกัน ถ้าคนอื่นพูดให้เราอย่างนี้ เรามีความพอใจในคำพูดนี้หรือไม่ ถ้าเราไม่ชอบใจในคำพูดอย่างนี้ เราก็อย่าใช้คำพูดอย่างนี้ไปพูดกับคนอื่นเขา วิจยะวาจาเป็นวาจาที่เลือกแล้วจึงพูดออกไป มิใช่ว่าจะพูดตามใจอยากจะพูด ประโยคข้อความในการพูดนั้นต้องให้ชัดเจน ผู้ฟังจะเกิดความสบายใจ อย่าพูดให้คนอื่นไปตีความหมาย ถ้าตีความหมายในคำพูดผิดไป จะทำให้เกิดปัญหา ในสังคมมนุษย์นี้ จะใช้คำพูดเป็นสื่อต่อกันมากมาย คนจะเกิดความรักกันชอบพอกันก็เพราะคำพูด คนจะเกลียดชังกันไม่ไว้ใจกันก็เพราะคำพูด

    คำพูดนี้เป็นใบเบิกทาง คำพูดเป็นหน้าต่างของสังคม คำพูดเป็นตัวแทนให้แก่ใจ คำพูดเป็นตัววัดของคนดีและคนไม่ดี คำพูดเป็นตัววัดใจของคนมีธรรมหรือไม่มีธรรม ดังคำว่า ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี วิชาปัญญาเป็นเลิศ ให้เอาวิชาปัญญาเลิศ มาร่วมงานกันกับปากเป็นเอกดูบ้าง เสียงที่ออกมาจากปากของคนผู้ที่มีความรู้ดี มีความฉลาดรอบรู้ในหลักการที่พูดดีย่อมเป็นเสน่ห์กับสังคม ไปที่ไหนมีแต่สังคมยอมรับให้ความเชื่อถืออย่างสนิทใจทีเดียว ฉะนั้นเราต้องเลือกเฟ้นคำพูดตัวเองเสียแต่บัดนี้ ถึงจะไม่ดีเลิศให้พอใช้ได้ก็ยังดี เมื่อใช้คำพูดที่เป็นธรรมย่อมนำตัวเองไปสู่ความเจริญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การพูดดีจะมีกระแสธรรมฟุ้งขจรไป จะเป็นที่เคารพแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    กัมมันตวิจยะ เลือกเฟ้นการทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่มีโทษแก่ตัวเองและคนอื่น ไม่ทำในสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรมที่นักปราชญ์เจ้าไม่สรรเสริญ เช่น ไปฆ่าสัตว์ ไปลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และกินเหล้าเมายา หรือการกระทำในสิ่งใดที่จะให้ตนและคนอื่นมีความเดือดร้อนไม่สบายใจ การทำอย่างนั้นให้เลิกละไปเสีย เมื่อเราไม่ชอบ คนอื่นเขาก็ไม่ชอบเหมือนกันกับเรา ต้องเลือกทำในสิ่งที่นักปราชญ์เจ้าชมเชย อย่าทำในสิ่งใดเพื่อการได้เปรียบคนอื่น อย่าทำในทางอคติให้คนอื่นได้รับความทุกข์เดือดร้อน การได้ความสุขบนพื้นฐานแห่งความทุกข์ของคนอื่น ผู้มีคุณธรรมประจำใจจะไม่ทำในลักษณะนี้ ผู้มีสติปัญญาที่ดีจะต้องเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน มีความละอายในการทำชั่วทั้งปวง จะเลือกเฟ้นทำในงานที่ไม่เป็นโทษ เพราะผู้มีธรรมประจำใจจะเชื่อกรรมเป็นหลักใหญ่ ว่าสัตว์โลกจะได้รับผลดีและผลชั่วนั้นจะเกิดขึ้นจากเหตุคือ การกระทำของตัวเอง และเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งใดที่กระทำลงไปแล้ว สิ่งนั้นจะไม่เป็นกรรมไม่มีในโลก นั้นหมายถึงกรรมดีและกรรมไม่ดี ทำกรรมดี ก็เป็นเหตุที่จะให้ได้รับผลดีคือบุญกุศล ทำกรรมชั่วก็จะเป็นเหตุให้ได้รับผลชั่วคือ บาปอกุศล คนผู้มีความหวังดีแก่ตัวเองจะต้องเลือกเฟ้นทำแต่กรรมดี มีเมตตาธรรม ใจมีความรักในคนอื่นสัตว์อื่นเป็นนิสัย กรุณาธรรม ใจมีความสงสารแก่คนอื่นสัตว์อื่นอยู่เป็นนิจ หิริธรรม ใจมีความละอายในการทำชั่วโดยประการทั้งปวง ธรรมสามหมวดนี้ถ้านำมาปฏิบัติได้ ผู้นั้นจะมีความเจริญ ไม่มีเวรมีภัยใดๆ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าตลอดไปชั่วกาลนาน

    อาชีววิจยะ การเลือกเฟ้นในการเลี้ยงชีพ เช่น ในเรื่องอาหาร เพราะธาตุขันธ์ของคนมีโรคต่างกัน ถ้าอาหารใดแสลงกับโรคตัวเอง ก็อย่ารับประทานอาหารประเภทนั้น เพราะอาหารนั้นไม่เป็นสัปปายะแก่ธาตุขันธ์ของตนเอง รับประทานแล้วจะก่อให้เกิดทุกข์ จึงหลีกเลี่ยงในอาหารนั้นเสีย ตลอดเครื่องดื่มต่างๆ ก็เช่นกัน เห็นญาติโยมนำมาถวายก็ฉันเอาๆ ไม่เข้าใจไม่สนใจว่าสิ่งนั้นควรฉัน หรือไม่ควรฉัน จะผิดศีล ผิดธรรมอะไรไม่สนใจ ขอให้ข้าพเจ้าได้อิ่มท้องก็เป็นพอ ในกาลิก ๔ เช่น ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก กาลิกสี่นี้สำหรับพระเณร จะเป็นผู้ปฏิบัติตาม เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อให้พระเณรได้เลือกเฟ้นฉันให้ถูกกับพระธรรมวินัย ไม่ให้ฉันตามความอยากของตัวเอง

    เมื่อมีญาติโยมนำสิ่งของมาถวาย ก็ให้พิจารณาก่อนว่า ของนี้ควรรับได้ หรือรับไม่ได้ เมื่อรับแล้วก็ต้องรู้จักว่าอะไรควรฉันในกาลไหนอย่างไร ต้องเลือกเฟ้นให้เป็น ต้องศึกษาธรรมวินัยให้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ญาติโยมผู้นำปัจจัยสี่มาถวายพระก็ควรจะรู้เอาไว้ว่าสิ่งใดควรถวายในเวลาไหน อย่าเอาความมักง่ายเข้าว่า จึงทำให้พระผิดศีลผิดธรรมไป พระก็มีความด่างพร้อยในศีลในธรรม ไม่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องตามที่เราต้องการ นี้ก็เพราะญาติโยมทำให้พระผิดศีลผิดธรรม มีความเศร้าหมองเองมิใช่หรือ ฆราวาสก็หาเลี้ยงชีวิตในความบริสุทธิ์ ให้ได้มาโดยความชอบธรรม ไม่ไปบังคับขู่เข็ญแย่งชิงฆ่าตีเอาเนื้อเขามาเลี้ยงชีวิตของตัวเอง ไม่ขโมยลักสิ่งของของคนอื่นมาเลี้ยงชีวิตของตัวเอง ผู้มีปัญญาผู้มีหิริธรรมย่อมเลือกเฟ้นทำในสิ่งที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงในสิ่งที่เป็นโทษผิดศีลผิดธรรมเสีย

    วายามวิจยะ การเลือกเฟ้นในความเพียรพยายาม ความเพียรนั้นเป็นได้ทั้งดีและไม่ดี เป็นได้ทั้งถูกและผิด ถ้าเป็นความเพียรของคนพาลก็จะเพียรทำในสิ่งที่ชั่วอยู่เรื่อยไป ถ้าความเพียรของหมู่ดาบสฤๅษีชีไพร ก็จะเพียรทำในทางสมาธิ จะให้จิตมีความสงบเยือกเย็น ให้จิตมีความสุขความสบาย ความเพียรแบบฤๅษีนี้ ชาวพุทธก็เลียนแบบวิธีทำความเพียรของพวกดาบสฤๅษีเป็นจำนวนมากทีเดียว เพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและได้รับผลเกิดขึ้นได้ทันอกทันใจ ทำให้เกิดความตื่นเต้นในอาการของจิตที่เกิดขึ้น เห็นอย่างนั้นเห็นอย่างนี้ คนที่ไม่เห็นก็อยากจะเห็น วิธีทำความเพียรอย่างนี้กำลังจะกลบกลืนในวิธีความเพียรของพระพุทธเจ้าให้หมดไป จะไม่มีใครเข้าใจในหลักความเพียรเดิมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ คิดว่าคงไม่นานนัก หลักความเพียรเดิมของพระพุทธเจ้าก็สูญสลายไป นี้ก็เพราะความเพียรของพวกดาบสฤๅษีมีบทบาทสูงมากในขณะนี้ ในมุมไหนของประเทศไทย จะให้ความสนใจในความเพียรของพวกดาบสฤๅษีกันทั้งนั้น แม้แต่ในต่างประเทศก็มีความนิยมฝึกความเพียรแบบฤๅษีนี้เช่นกัน ความเพียรเดิมที่เป็นอุบายวิธีที่จะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องได้เข้าสู่กระแสแห่งมรรคผลนิพพานนั้นแทบจะไม่มีผู้สอนกันเลย เมื่อไม่มีผู้สอนก็ไม่มีผู้ปฏิบัติ ความเพียรพยายามที่จะข้ามกระแสโลกนี้ให้พ้นไปก็จะหมดความหมาย ในไม่ช้าก็จะไม่มีใครให้ความสนใจในการปฏิบัตินี้เลย

    วายามวิจยะ การเลือกเฟ้นความเพียรมาปฏิบัติให้ถูกตามแนวทางของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าได้นั้น ต้องศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ ความเพียรพยายามทำลายอาสวะกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ เพียรพยายามฝึกใจให้เกิดเป็นสัมมาวายาโม ให้เกิดเป็นความเพียรชอบนั้น ผู้นั้นต้องฝึกสติปัญญาให้มีความฉลาดรอบรู้ในความเพียรนั้น ๆ ให้ชัดเจน ความเพียรใดเป็นไปในลัทธิของพวกดาบสฤๅษี ความเพียรใดเป็นไปในคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีวิจยะ มีสติปัญญาในการเลือกเฟ้น มีเหตุผลในการตัดสินใจได้ ว่าอุบายวิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าได้สอนพระสาวกได้บรรลุมรรคผลนิพพานมาแล้ว เราต้องเลือกเอาอุบายวิธีนั้นมาเป็นหลักประกอบความเพียรให้แก่ตัวเอง หลักความเพียรที่พระพุทธเจ้าได้เอามาสอนพุทธบริษัทนั้น เป็นหลักของสติปัญญา

    ถ้าความเพียรใดไม่มีสติปัญญาเป็นองค์ประกอบแล้ว ความเพียรนั้นไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย ไม่เป็นไปในความเพียรชอบแต่อย่างใด ฉะนั้นความเพียรชอบต้องมาจากปัญญาความเห็นชอบ ปัญญาความเห็นชอบกับความเพียรชอบจึงเป็นของคู่กันจะแยกกันไม่ได้ ต้องเพียรพยายามละความเห็นผิด ให้เกิดความเห็นที่ถูก ความคิดผิดให้เกิดความคิดถูก เพียรพยายามละในคำพูดที่ผิดให้เกิดเป็นคำพูดที่ถูก เพียรพยายามละในการทำอะไรที่ผิดๆ ให้เกิดความเข้าใจในการทำถูก เพียรพยายามละในวิธีเลี้ยงชีวิตผิดให้รู้ในวิธีเลี้ยงชีวิตถูก พยายามละในความเพียรที่ผิดๆ ให้ใฝ่ใจในความเพียรที่ถูกให้มากขึ้น เพียรพยายามละในความระลึกในทางที่ผิดๆ ให้ฝึกใจได้ระลึกในทางที่ถูก เพียรพยายามละในวิธีความตั้งใจมั่นที่ผิดๆ ให้มาฝึกในวิธีตั้งใจมั่นให้ถูก ความเพียรนี้จึงเป็นวิธีที่ถูกต้องอย่างแท้จริงของพระพุทธเจ้า

    สติวิจยะ การเลือกเฟ้นในความระลึกของใจนั้น ต้องฝึกให้มีความระลึกไปในทางที่ไม่ให้เกิดโทษ ถ้าระลึกไปในกามคุณอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยเอนเอียงไปในความรัก ถ้าฝึกระลึกในสิ่งที่ไม่เที่ยงอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยรู้เห็นตามในสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นๆ ไป ถ้าฝึกใจให้มีความระลึกในเรื่องความทุกข์อยู่บ่อยๆ ใจก็จะเกิดความรู้เห็นความทุกข์ใจ ความทุกข์กายนี้ไป ความระลึกรู้อยู่ว่าไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเราอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยปล่อยวางในความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนไปได้ ถ้าระลึกว่าไม่มีอะไรเป็นของของเรา ความโลภในสิ่งนั้นก็จะลดน้อยลงเช่นกัน

    ความเห็นว่าไม่มีสิ่งใดเป็นตนและของของตนอยู่อย่างนี้ ใจก็จะไม่มีความผูกพันในสิ่งใดๆ ไม่มีความกังวลว่า สิ่งนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แม้แต่ความทุกข์กายทุกข์ใจเกิดขึ้น ก็ระลึกได้ว่าสภาพความเป็นจริงมันต้องเป็นอยู่อย่างนี้ มีความระลึกรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สติวิจยะ ต้องมีสติปัญญาเลือกระลึกอยู่ตามหลักความเป็นจริงให้มาก ระลึกถึงความแก่ ระลึกถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย และระลึกถึงความตายอันจะเกิดขึ้นแก่ตัวเอง ระลึกถึงบุญกุศลที่สร้างไว้แล้ว ระลึกในการรักษาศีล ระลึกในการภาวนาปฏิบัติปรารภความเพียรอยู่เสมอ

    สติ หมายถึง ความระลึกได้ วิจยะ หมายถึง การเลือกเฟ้น ถ้าพูดรวมกันก็เลือกเฟ้นในสิ่งนั้นๆ มาระลึกรู้นั้นเอง ระลึกรู้ในความเห็นของตัวเองว่า เรามีความเห็นผิดหรือความเห็นถูก เรามีความคิดผิดหรือความคิดถูก ระลึกรู้ในคำพูดของตัวเอง ก่อนจะพูดก็ระลึกได้ในคำที่จะพูด ในขณะพูดอยู่ก็ระลึกได้ว่าเราพูดในเรื่องอะไร หรือพูดไปแล้วก็ระลึกทบทวนดูคำพูดของตัวเอง และรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง ระลึกในการงานที่ทำว่างานนั้นเป็นประโยชน์ และเป็นโทษให้แก่ตัวเองและคนอื่นอย่างไร ระลึกรู้ในปัจจัยสี่ที่นำมาเลี้ยงชีวิตว่า ผิดศีลผิดธรรมหรือไม่ ระลึกรู้ในความเพียรของตัวเองอยู่เสมอ วันคืนผ่านไปๆ ชีวิตเราก็ผ่านๆ ขณะนี้เรามีความเพียรอะไรที่จะต้องปฏิบัติ ระลึกรู้ใจของตัวเองอยู่เสมอ ว่าใจมีอารมณ์อะไรที่จะต้องละ ใจมีโลภะ ใจมีโทสะ ใจมีโมหะ ใจมีราคะอย่างไร จะแก้ไขด้วยหมวดธรรมอะไร ต้องระลึกรู้ใจตัวเองอยู่เสมอ

    สมาธิวิจยะ ผู้ภาวนาปฏิบัติต้องรู้จักการเลือกในความตั้งมั่นของใจให้เป็น ว่าใจตั้งมั่นอย่างไรผิด ใจตั้งมั่นอย่างไรถูก ความสงบของใจอย่างไรผิด ความสงบของใจอย่างไรถูก ต้องเลือกเฟ้นดูให้รู้เห็น ใจตั้งมั่นเป็นสัมมาก็รู้ ใจตั้งมั่นเป็นมิจฉาก็รู้ ใจสงบเป็นสัมมาก็รู้ ใจสงบเป็นมิจฉาก็รู้ วิจยะการเลือกเฟ้นนี้เอง จึงเป็นคู่กับปัญญาความรอบรู้ได้เป็นอย่างดี จึงเรียกว่า ปัญญาวิจยะ เลือกเฟ้นในสิ่งใด ต้องใช้ปัญญารอบรู้ในสิ่งนั้นๆ ให้ชัดเจน

    การทำสมาธิอย่างไร ก็ต้องมีปัญญาความรอบรู้เลือกเฟ้นดูในสมาธินั้นๆ เรียกว่าปัญญาความเห็นชอบในวิธีทำสมาธิ พิจารณาให้เข้าใจว่า การทำสมาธิอย่างนี้ถูกต้องแล้วจึงทำ ถ้าเลือกเฟ้นในการทำสมาธิให้ถูกต้องแล้ว ก็จะเกิดเป็นสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้องชอบธรรม ถ้าทำสมาธิที่ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิไป ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสนั้นเอง

    วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิ เกิดขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ ฉะนั้นผู้ภาวนาปฏิบัติต้องศึกษาในวิธีทำสมาธิให้ดี ปัญญาวิจยะ มีความรอบรู้ในการเลือกเฟ้นในอุบายให้ถูกต้องตามแนวทางของหลักสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบให้ถูกต้อง ถ้าตั้งหลักความเห็นชอบได้แล้ว ทำสมาธิก็จะเป็นสัมมาสมาธิ เป็นทางตรงเข้าสู่วิปัสสนา และตรงเข้าสู่วิปัสสนาญาณ มรรคผลนิพพานก็จะเปิดรับทันที การภาวนาปฏิบัติถ้าตั้งหลักสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบถูกต้องแล้ว อันดับต่อไปจะไม่มีปัญหาในการปฏิบัติแต่อย่างใด จะเป็นไปในความเห็นชอบนี้ทั้งหมด

    สมาธิ ความสงบวิธีหนึ่งที่ข้าพเจ้าจะอธิบายต่อไปนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านจงอ่านให้สุดวิธี แล้วนำมาพิจารณาดูด้วยเหตุผลว่าจะเป็นจริงตามนี้หรือไม่ ในหลักฐานที่มาก็มีอยู่แต่ไม่ได้นำเอามาตีแผ่ให้กว้างขวาง ผู้ปฏิบัติก็เลยไม่เข้าใจในหลักการและวิธีการของความสงบนี้ ในความหมายคำว่าสงบนั้น คือ จิตไม่กระเพื่อมตามอารมณ์ เพราะมีความรอบรู้ในเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดเป็นอารมณ์อยู่แล้ว นั้นคือ ใช้สติปัญญาอบรมใจสอนใจให้มีความรอบรู้เท่าทันในเหตุการณ์นี้ไว้ล่วงหน้า และรอบรู้ในเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหา และรอบรู้ในวิธีแก้ปัญหาได้ ไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเรื้อรังฝังใจจนลืมตัว ไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งไปตามกิเลสตัณหา เกิดการปรุงแต่งเป็นสังขารไปตามสมมตินั้นๆ เรียกว่า มีสติระลึกรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เหมือนรู้ว่าไฟกำลังก่อตัวขึ้นในที่นี้ ก็รีบดับเสีย หรือไฟได้ลุกขึ้นแล้วสาดน้ำเข้าใส่ ไฟก็จะดับในทันที นี้ฉันใด เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้จิตเกิดความลุ่มหลง ก็มีสติระลึกรู้ให้เท่าทัน หรือใช้ปัญญาพิจารณาในเหตุปัจจัยที่ทำให้จิตกระเพื่อมตามอารมณ์อยู่ให้สงบลงได้

    ฉะนั้น ใจเมื่อถูกสติปัญญาตัดสายสัมพันธ์ต่อกิเลสตัณหาอยู่บ่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ สงบลงไปได้ สติปัญญาเป็นฉากป้องกันห้ามใจไม่ให้ไปมั่วอยู่กับเหตุที่จะให้เกิดกิเลสตัณหา และไม่สร้างเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดเป็นอารมณ์แห่งความรักความใคร่เกิดขึ้น เหมือนกับไฟและเชื้อของไฟ ถ้าแยกออกจากกันคนละที่ไปแล้ว ไฟและเชื้อของไฟก็ไม่มีสื่อโยงหากัน ไฟก็จะดับไปเอง นี้ฉันใด ใจกับเหตุที่จะทำให้เกิดอารมณ์แห่งความรัก ความหลง เมื่อมีสติปัญญารอบรู้อยู่ พิจารณาอยู่ ใจกับเหตุที่จะให้เกิดความรักความใคร่ ก็จะค่อยหมดสภาพไป นี้คืออุบายฝึกใจให้สงบด้วยสติปัญญา วิธีนี้เป็นหลักประกันในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี เป็นวิธีปกป้องใจไม่ให้กระเพื่อมไปตามอารมณ์ของกิเลสตัณหา เรียกว่าใจมีความสงบอยู่ด้วยสติปัญญานั้นเอง

    ใจ เมื่อสติปัญญาอบรมดีแล้ว นำความสงบสุขมาให้ ไม่ไปมั่วสุมวุ่นวายอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่พอใจ ถึงตาจะสัมผัสในรูป หูสัมผัสในเสียง ก็รู้อยู่ว่าสัมผัสเท่านั้น หรือสัมผัสเพียงรู้เรื่องกันในความหมาย การสื่อต่อกันในระหว่างตากับรูป หูกับเสียงนั้นเป็นธรรมชาติที่โลกนี้มีต่อกันมา จะห้ามตากับรูป หูกับเสียง ไม่ให้สัมผัสกันนั้นไม่ได้เลย จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะจะห้ามไม่ให้สัมผัสกับสิ่งภายนอกนั้นไม่ได้เช่นกัน เพราะเป็นของคู่กัน อยู่กับโลกนี้โดยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สัมผัสเป็นสื่อในความหมายซึ่งกันและกันไปตามสมมติโลกที่มีต่อกัน

    ถ้าอายตนะภายใน อายตนะภายนอกไม่สัมผัสกัน มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้จะไม่รู้ภาษาและความหมายอะไรต่อกันแต่อย่างใด แม้แต่สัตว์ต่อสัตว์ หรือมนุษย์ต่อมนุษย์ ก็ต้องมีสื่อความสัมผัสในอายตนะต่อกัน จึงรู้เรื่องกันและอยู่ร่วมกันได้ การสัมผัสอย่างนี้ ยังไม่เกิดเป็นพิษภัยต่อกันแต่อย่างใด คำว่าสำรวม ผู้ปฏิบัติต้องมีสติปัญญาในการตีความให้ถูกกับความหมาย มิใช่ว่าสำรวม แปลว่าทุกคนจะต้องปิดตา ปิดหู ปิดจมูก ปิดลิ้น ปิดกาย และปิดใจ ไม่ให้ออกไปสัมผัสต่อสิ่งภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์แต่อย่างใด ถ้าเป็นในลักษณะนี้ การตีความหมายในคำว่าสำรวมย่อมผิดไป

    ในคำว่าสำรวม ความหมายคือ ไม่ให้ใจไปเกิดความรัก ความชอบ ไม่ให้ใจไปเกิดความเกลียด ความชังในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สัตว์โลกมีความสื่อสารต่อกันเท่านั้น ถ้าสำรวมใจได้อย่างนี้เป็นปกติแล้ว นั้นแลชื่อว่า จิตมีความสงบ ไม่กระเพื่อมไปตามกระแสของโลก ไม่เกิดความหลงรัก หลงชัง หลงโกรธ หลงเกลียดต่อสิ่งใดๆ นั้นเรียกว่าเป็นผู้รู้เท่าทันตามความเป็นอยู่ของโลก ความเป็นจริงของโลกมีความเป็นอยู่อย่างไร ย่อมมีความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ของโลกนี้ได้ดี ในโลกนี้มีความเป็นมาอย่างไร มีความเป็นอยู่อย่างไร และมีความเป็นไปอย่างไร สติปัญญามีความรอบรู้โลกนี้ทั้งหมด ดังคำว่า นตฺถิ โลเก รโหนาม ความลับไม่มีในโลก คำว่าความลับ ก็ต้องตีความให้ตรงกับความหมาย มิใช่ว่าจะตีความหมายเพียงนินทาว่าร้ายต่อกันแล้วความลับนั้นปิดอยู่ไม่ได้ วันหนึ่งข้างหน้า ความลับก็ย่อมเปิดเผยขึ้นมาให้สาธารณชนได้รู้กัน การตีความเพียงเท่านี้ไม่พอ คำว่าความลับหมายถึงความลี้ลับซ่อนเร้น ที่เป็นมายาหลอกใจให้เกิดความลุ่มหลง ปิดบังอำพรางความจริงอยู่ในตัวมันเอง ดูภายนอกสดใสงดงามน่าสัมผัส ดูภายในสกปรกโสโครกเป็นซากผีเน่า ดูภายนอกเหมือนรสหวาน ดูภายในเจือด้วยยาพิษ โบราณว่า เสือซ่อนเล็บ ดูผิวเผินจะไม่เห็นเล็บเสือ เมื่อโกรธขึ้นมาเมื่อไร เล็บจะออกมาให้เห็นเมื่อนั้น ความลับในโลกนี้ก็เช่นกัน ตามปกติโลกนี้ก็น่าอยู่น่าอาศัย ดูอะไรก็มีแต่ความสดใสสวยงามน่าสัมผัส มีความงามงอนเหมือนราชรถนี้เป็นเพียงแสงเสียงสี เป็นความลับให้คนเขลาแวะข้องอยู่ ผู้มีสติปัญญาที่ฉลาดรอบรู้หาข้องอยู่ไม่ นั้นคือใจมีความสงบดีแล้วจะไม่หลงติดอยู่ในสิ่งใดๆ ในโลกนี้เลย

    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็พอจะเข้าใจแล้วว่า ความสงบนั้นมีสองอย่าง ๑. ความสงบเกิดขึ้นจากการนึกคำบริกรรมทำสมาธิ ๒. ความสงบเกิดขึ้นจากสติปัญญาดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว

    ส่วนความสงบจากการนึกคำบริกรรมทำสมาธิ เป็นเพียงความสงบฉาบฉวยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือเรียกว่าหาวิธีหลบปัญหาได้ชั่วคราว เป็นหลักภาวนาของผู้มีปัญญาอ่อน ไม่กล้าเผชิญต่อปัญหา ไม่กล้าสู้ต่อปัญหาที่ตัวเองสร้างขึ้นมา ตัวเองสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ยอมแก้ปัญหาของตัวเอง หาที่หลบซ่อนตัวอยู่ในความสงบของสมาธิอยู่เรื่อยไป ออกจากสมาธิแล้วก็มาสร้างปัญหาใหม่เพิ่มเติมต่อไป จะเข้าใจว่าเมื่อทำสมาธิให้จิตมีความสงบได้แล้วจะแก้ปัญหาได้ นี้คือความเข้าใจผิดเป็นอย่างมากทีเดียว เพราะการทำสมาธิให้จิตมีความสงบ มิใช่เป็นวิธีแก้ปัญหาแต่อย่างใด แต่เป็นวิธีที่จะสะสมปัญหาให้เกิดมากขึ้น มีทั้งปัญหาอย่างหยาบ และปัญหาอย่างละเอียดสุดในสมาธินั้นๆ ตลอดไป ถ้าจิตลุล่วงถึงขั้นรูปฌาน อรูปฌานไปแล้ว ในยุคนี้จะไม่มีใครๆ แก้ให้ได้อีกแล้ว มีแต่จะจมดิ่งปักใจหลงอยู่ในความสุขนั้นๆ จนลืมตัว นี้แลจึงเรียกว่าสร้างปัญหาขั้นละเอียดให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง ที่ว่าจิตมีความสงบเป็นสมาธิดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นนั้น ข้าพเจ้าก็ขอพูดเลยว่า เป็นเรื่องเพ้อฝัน ที่จริงนั้นจะตรงกันข้าม นั้นคือจิตมีความสงบลึกมากเท่าไร ปัญญาก็จะหมดหดหายไปทันที มีแต่อุเบกขา ใจวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นเอง

    ที่ว่าจิตมีความสงบเป็นสมาธิดีแล้วปัญญาย่อมเกิดขึ้นนั้น ให้ท่านได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลดูบ้าง เช่น ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ภัททวัคคีย์ ๓๐ ท่าน ชฎิลสามพี่น้อง พร้อมทั้งบริวารหนึ่งพันท่าน และพระสาวกองค์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แม้องค์สุดท้ายชื่อว่า สุภัททปริพาชกก็ดี ไม่มีองค์ไหนเลยที่ทำสมาธิให้จิตสงบแล้วปัญญาเกิดขึ้นเอง ผู้จะบรรลุธรรมทุกท่านต้องมีปัญญาความเห็นชอบทั้งนั้น แม้จะทำสมาธิก็ต้องศึกษาในวิธีทำสมาธิให้เข้าใจ ถ้าไม่ศึกษาจะทำสมาธิได้อย่างไร ข้าพเจ้าเคยได้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในระดับปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติมาแล้ว ไม่เห็นองค์ไหนเลยมีปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิแต่อย่างใด หรือจะอ้างถึงพระจุฬปันถกนั้นไม่ได้ เพราะพระจุฬปันถกเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลมมาก่อน มีความฉลาดเข้าใจในวิธีจับผ้าขาวจากพระพุทธเจ้าอธิบายให้ฟังแล้วเป็นอย่างดี ฆราวาสผู้ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าก็มีจำนวนมาก เช่น บริวารของพระเจ้าพิมพิสารหนึ่งแสนสองหมื่นคน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ให้นึกคำบริกรรมทำสมาธิก่อนแต่อย่างใด พระองค์อธิบายธรรมให้ฟัง ท่านเหล่านั้นก็ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง และมีความรู้จริงมีความเห็นจริงตามหลักความเป็นจริง ก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลไปเท่านั้นเอง ฉะนั้นผู้ที่ยังเข้าใจว่าปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิอยู่ ให้ไปศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาลดูบ้าง แม้ผู้จะมาสอนคนอื่น ก็ควรไปศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลเช่นกัน เพื่อจะได้นำมาสอนคนอื่นให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

    สมาธิ

    คำสอนของพระพุทธเจ้ามีจำนวนมาก จึงยากที่จะศึกษาให้เกิดความเข้าใจได้ทั้งหมด หรือได้ศึกษามาแล้วก็ยากที่จะตีความให้ถูกในความหมายได้ คำว่า สมาธิ ก็ต้องตีความแยกเป็นสองสมาธิด้วยกัน มิใช่จะเหมาเอาว่าสมาธิจะต้องมีคำบริกรรมทุกครั้งไป ในยุคนี้สมัยนี้ผู้สอนและผู้ภาวนาจะเข้าใจว่าสมาธิคือความสงบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่จริงแล้ว สมาธิมี ๒ วิธี ๑.สมาธิความตั้งใจมั่น ๒. สมาธิความสงบ สมาธิความสงบนี้ก็แยกออกเป็นสองวิธีดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว สมาธิความตั้งใจมั่นก็มีอุบายในการปฏิบัติ ๒ วิธีด้วยกัน

    ๑. ตั้งใจมั่นด้วยการนึกคำบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสติระลึกรู้อยู่ในคำบริกรรมนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า เอกัคตารมณ์คือ มีสติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์ของคำบริกรรมเพียงอย่างเดียว ไม่มีความคิดในเรื่องอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่มีความคิดในเรื่องอนาคตที่ยังไม่มาถึง มีจิตคำนึงระลึกรู้อยู่ในปัจจุบัน จะว่าเอกัคตาจิต คือ จิตรวมเป็นหนึ่งก็ลักษณะอย่างนี้ จึงเรียกว่า สมาธิความตั้งใจมั่น ความตั้งใจมั่นนี้ผู้ภาวนามีความชำนาญแล้ว จะเป็นอุบายเชื่อมโยงสมาธิอย่างอื่น

    ๒. จะเป็นอุบายเชื่อมโยงให้เกิดสมาธิความสงบได้ง่าย นั้นคือ อัปปนาสมาธิ คือ ความสงบที่แน่วแน่ ไมมีความหวั่นไหว ไม่มีความรู้สึกต่ออายตนะภายนอกมาสัมผัสแต่อย่างใด บางคนก็สงบอยู่นาน บางคนก็สงบอยู่ไม่นาน ถ้าจิตมีความสงบอยู่ในลักษณะนี้ อย่าบังคับให้จิตถอนออกจากความสงบอย่างเด็ดขาด ให้สงบต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกำหนดกาลเวลา ให้เป็นไปตามนิสัยของแต่ละคนเท่านั้น เมื่อเกิดความอิ่มตัวในสมาธิความสงบแล้ว จะถอนออกมาเอง ในช่วงขณะจิตได้ถอนออกจากสมาธิความสงบนี้เอง จึงเป็นช่วงที่สำคัญมากทีเดียว ว่าผู้นั้นเคยฝึกสมาธิความตั้งใจมั่นไว้รองรับเอาจากสมาธิความสงบหรือไม่ ถ้าไม่มีก็น่าเสียดาย เหมือนกับน้ำฝนที่ตกจากชายคาหรือรางน้ำแล้ว ไม่มีโอ่งรองรับเอาน้ำเก็บไว้เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ จะปล่อยให้น้ำนั้นไหลบ่าหายไปหรือซึมหายไปตามพื้นดินนั้นเสีย นี้ฉันใด จิตเมื่อถอนออกจากสมาธิความสงบแล้ว ถ้าไม่มีสมาธิความตั้งใจมั่นมาเป็นตัวรองรับเอาไว้ สมาธิความสงบนั้นก็ตั้งอยู่ได้ไม่นาน เพียงได้รับความสุขใจไม่กี่นาทีกี่ชั่วโมง ความสงบในสมาธินั้นก็จะเสื่อมลงๆ เป็นจิตปกติธรรมดาไป เหมือนกับกินน้ำแข็งเพื่อระงับความร้อน จะได้รับความเย็นเพียงขณะ แล้วก็จะร้อนขึ้นมาตามเดิมฉันนั้น

    ถ้าหากผู้นั้นมีความชำนาญในการทำสมาธิ ความตั้งใจมั่นดีแล้ว จะเป็นตัวรองรับของสมาธิความสงบได้เป็นอย่างดี จะทำให้สมาธิความสงบเสื่อมช้าลง ฉะนั้นจึงฝึกในสมาธิทั้งสองให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน เมื่อสมาธิความสงบถอนออกมาอยู่ในขั้นสมาธิความตั้งใจมั่นได้แล้ว กำลังของสมาธิความตั้งใจมั่น ก็จะสื่อต่อกันกับปัญญาได้เป็นอย่างดี นี้ก็เป็นจุดสำคัญเป็นอย่างมากทีเดียว ถ้าหากผู้นั้นไม่เคยฝึกปัญญามาก่อน สมาธิความตั้งใจมั่นก็ทำอะไรไม่ได้ ก็หยุดกันเพียงเท่านั้น จึงเป็นทางตันก้าวต่อไปไม่ได้เลย จะทำสมาธิในลักษณะนี้ ก็จะมาหยุดกันเพียงเท่านี้ จึงเรียกว่าสมาธิวังวนเวียนไปมาอยู่ที่เดิมหาทางออกไม่ได้ เหมือนพายเรืออยู่ในสระวนไปมาอยู่ในที่แห่งเดียวนั้นเอง ผู้ภาวนาไม่ก้าวหน้าไปถึงไหนก็เป็นในลักษณะอย่างนี้นี่เอง

    ฉะนั้นจงฝึกปัญญาไว้ให้ดี เพื่อจะเป็นตัวนำร่องพาสมาธิออกจากทางตัน หรือออกจากการเวียนวนของสมาธินี้ไปได้ มิใช่ว่าจะมาติดอยู่ในสมาธิเพียงอย่างเดียว นั้นคือผู้มีความฉลาดรอบรู้ในวิธีทำสมาธิด้วยสติปัญญา

    คำสอนมี ๒ หมวด

    ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์สอนให้เป็นไปตามบุญวาสนาบารมีของคน ถ้าบารมียังน้อย ไม่พอที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ พระองค์ก็สอนวิธีการเสริมสร้างบารมีให้มากขึ้น ถ้าผู้มีบารมีพอจะบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ในชาตินี้ พระองค์ก็สอนอุบายในการปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุธรรมในขั้นนั้นๆ ไป ดังจะได้อธิบายในขั้นตอนดังต่อไปนี้

    คำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น ๒ หมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน

    ๑. เป็นคำสอนที่ตามกระแสโลก เรียกว่ากามาวจรกุศล

    ๒. เป็นคำสอนที่ทวนกระแสโลก

    คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสองวิธีนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา

    ๑. ที่ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามกระแสโลกนั้น พระพุทธเจ้ามีพระญาณล่วงลึกสามารถรู้นิสัยบุญวาสนาและบารมีของมนุษย์ได้ทั้งหมด ว่าผู้นั้นมีบารมีพอจะได้เป็นพระอริยเจ้าได้หรือไม่ ถ้ารู้ว่าบุญยังน้อย บารมียังอ่อนอินทรีย์ยังไม่แก่ พระองค์ก็สอนในวิธีเสริมสร้างบารมีให้ท่านเหล่านั้นเอาไว้ การบำเพ็ญบุญบารมีอย่างไรเป็นไปเพื่อความเจริญในธรรม เพื่อประโยชน์ตน เพื่อประโยชน์ท่าน พระองค์ก็สอนให้ท่านเหล่านั้นได้ประพฤติปฏิบัติต่อไป และพระองค์ก็สอนในวิธีที่จะนำไปสู่ความหายนะ นำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนในอบายภูมิต่างๆ ในภพชาติต่อไป พระองค์ก็สอนเอาไว้ ความประพฤติทางกาย วาจา ใจอย่างไรเป็นไปในทางบาปอกุศล พระองค์ก็สอนไว้ทั้งหมด พระองค์สอนด้วยความรัก สอนด้วยความสงสาร ไม่อยากให้กุลบุตรลูกหลานได้ไปตกอยู่ในความทุกข์ยากลำบาก ไม่อยากให้ไปตกนรกน้อยใหญ่ ไม่อยากให้ไปเกิดในภพของเปรต ไม่อยากให้ไปเกิดในภพของสัตว์ดิรัจฉาน หรือจะมาเกิดเป็นภพชาติของมนุษย์ พระองค์ก็ไม่อยากให้เกิดเป็นมนุษย์วิบัติที่ขาดความสมบูรณ์ เช่น รูปร่างกลางตัวไม่สมประกอบดังที่ได้เห็นกันในที่ทั่วไป หรือรูปร่างสมประกอบอยู่ก็ตาม แต่ผลของกรรมที่ตามสนองอยู่ก็ได้รับผลกรรมต่อไป ดังเห็นได้ในทั่วทุกประเทศเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก นั้นคือกรรมได้ซัดทอดให้ได้ไปเกิดในที่เช่นนั้น เรียกว่ากรรมปิดบัง ในลักษณะนี้จะมีอยู่ทั่วทุกประเทศในโลกนี้ แต่จะมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ในภพชาติอย่างนี้พระองค์ก็มีความเมตตาสงสาร แต่ก็เหลือวิสัยเพราะเขาเหล่านั้นชอบทำตามใจตัวเองในทางชั่ว เขาก็จะได้รับผลชั่วต่อไป

    พระพุทธเจ้าพยายามทุกอย่างเพื่อปกป้องไม่ให้คนทำความชั่ว แต่ก็ปกป้องได้เฉพาะผู้มีสติปัญญาที่ดี มีความละอายในการทำบาปอกุศล เป็นผู้ที่เชื่อผลของกรรมดีกรรมชั่วว่า ให้ผลกับผู้กระทำเท่านั้น และผู้นั้นก็จะเลือกทำแต่กรรมดีตลอดไป เช่น ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น กรรมดีนี้เองจะเป็นเกราะกำบังไม่ให้กรรมชั่วอย่างอื่นเกิดขึ้นได้ กรรมดีทั้งหมดที่เราได้บำเพ็ญไว้ดีแล้ว จะไปเกิดในภพไหนชาติใด จะไม่ตกต่ำในภพชาตินั้นๆ ในการเวียนว่ายเกิดตายในโลกนี้อยู่ บุญบารมีนี้จะดลบันดาลให้เราได้ไปเกิดในยุคพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในชาติหน้า เราก็จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ แล้วก็จะเกิดดวงตาเห็นธรรมรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม เราก็จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จึงเป็นการสิ้นสุดในภพชาติทั้งหลาย ไม่ได้เวียนว่ายเกิดตายในภพน้อยภพใหญ่อีกต่อไป นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าในขั้นกามาวจรกุศล พระองค์สอนให้คนละในการทำชั่ว พูดชั่ว และสอนให้ละมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม และสอนให้บำเพ็ญบุญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ชาติชีวิตที่เรามีอยู่จะทำให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่าอ้างกาลเวลาในการสร้างบุญกุศล และอย่าอ้างกาลเวลาว่าเรายังมีวัยยังน้อยอยู่ เพราะความตายไม่เลือกวัยหนุ่มวัยแก่และวัยชรา ฉะนั้นต้องตั้งใจบำเพ็ญกุศลเสียนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    ๒. อีกคำสอนหนึ่ง เมื่อพระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์มีพระญาณหยั่งรู้ในบุญบารมีของมวลมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง ว่าท่านผู้นี้มีบารมีพอที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในขั้นใดขั้นหนึ่ง พระองค์ก็จะแสดงธรรมโปรดให้ท่านเหล่านี้ได้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม อย่างน้อยจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นโสดาบัน เป็นพระอริยเจ้าขั้นสกิทาคามี เป็นพระอริยเจ้าขั้นอนาคามี หรือผู้ที่ได้สร้างบารมีมาอย่างสมบูรณ์แล้วก็จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เข้าสู่พระนิพพานตามพระพุทธเจ้าไป เมื่อมาถึงในสมัยนี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว แต่พระองค์ก็ได้วางแนวทางที่จะเข้ากระแสพระนิพพานไว้ให้แก่พวกเรา และเป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนทีเดียว เป็นแนวทางตรงที่สุด

    ถ้าผู้ปฏิบัติมีความตั้งใจจริงและมีความเชื่อมั่นว่า แนวทางนี้เป็นแนวทางของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายได้ปฏิบัติผ่านพ้นเข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว ไม่มีความกังขาลังเล ไม่มีความสงสัยลูบคลำ มีความมั่นใจอย่างเต็มที่ มีความเชื่อมั่นว่าตรงที่สุดและถูกต้องที่สุดแล้ว นั้นแลจึงจะทุ่มเทความพากเพียรลงไปได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งบารมีก็ให้การสนับสนุน มรรคผลนิพพานก็จะเปิดรับทันที นี้คือผู้มีความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการตัดสินใจ เป็นผู้ไม่มีภาระห่วงใยกับสิ่งใดๆ ในโลกนี้ เพราะท่านมีสติปัญญาเป็นอาวุธอยู่ในตัวจะไปกลัวอะไร ไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางปิดบังสติปัญญาได้เลย สติปัญญาจะฟันฝ่าอุปสรรคให้แตกกระจายไป กิเลสตัณหาน้อยใหญ่จะมาใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกใจอย่างไรได้ ก็จะไม่หลงอีกต่อไป

    ในยุคนี้สมัยนี้ผู้ที่ตีความให้เป็นไปตามแนวทางเดิมของพระพุทธเจ้านั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไป ใครจะตีความถูกตามแนวทางเดิมของพระพุทธเจ้า หรือผู้ตีความที่แตกต่างกันไม่เป็นไปตามแนวทางเดิมของพระพุทธเจ้า ก็ถือว่าตัวใครตัวมัน และการปฏิบัติก็เป็นตัวใครตัวมันเช่นกัน ใครตีความถูกก็ปฏิบัติถูกไป ใครตีความผิดก็ปฏิบัติผิดไป ใครๆ ก็มีความมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกันนั้นคือ ความพ้นทุกข์เหมือนกัน ใครจะทำได้หรือไม่ได้อย่างไรก็ให้อยู่ในความพยายามของแต่ละบุคคลไป

    แนวทางที่จะให้พ้นไปจากวัฏสงสารนี้มีเส้นเดียวเท่านั้น กระแสธรรมที่จะเกิดขึ้นกับพระอริยเจ้านั้นก็มีสายทางเดียวเช่นกัน ใครจับเส้นทางเดิมของพระพุทธเจ้าได้ ก็จะเป็นผู้เข้ากระแสธรรมแห่งมรรคผลนิพพานไป ฉะนั้นการตีความให้ถูกกับความหมายเดิมของพระพุทธเจ้านั้น ในยุคนี้สมัยนี้พูดกันไปคนละวิธีกัน เช่น คำว่าวิปัสสนา เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็ตีความหมายกันไปคนละอย่างและปฏิบัติไปคนละวิธีกัน แม้แต่มรรค ๘ ที่เป็นหัวใจสำคัญในภาคปฏิบัติ ก็ตีความหมายไปต่างกัน ทั้งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว และวางแนวทางไว้ตรงมรรคผลนิพพานที่สุดแล้ว เช่น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นี้เป็นหลักของปัญญาที่ตายตัว สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว นี้ก็เป็นหลักของหมวดศีลที่ชัดเจนทีเดียว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ก็เป็นหลักของหมวดสมาธิ การปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักเดิมของพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นไปในรูปแบบปัญญา ศีล สมาธินั้นเอง

    ส่วนการศึกษาจะออกมาในรูปแบบศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่มีปัญหาอะไร เหมือนกับจับตัวอักษรหรือจับตัวอักขระที่ปรุไว้แล้ว จะจับชิ้นไหนมาก่อนมาหลังไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ การเรียงตัวอักษรและวางอักขระให้ถูกกับตำแหน่ง เพื่อจะอ่านในความหมายให้เข้าใจ ถ้าวางไม่ถูกตำแหน่งแล้วจะอ่านไม่ถูกกับความหมายได้เลย นี้ฉันใด การปฏิบัติในมรรค ๘ ถ้าไม่เริ่มต้นจากปัญญาความเห็นชอบเป็นพื้นฐานเอาไว้ จะมีปัญหาในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก เมื่อมีปัญญาความเห็นชอบถูกต้องดีแล้ว ก็จะเกิดความเห็นชอบในหมวดศีล และจะเกิดความเห็นชอบในหมวดสมาธิต่อไป ฉะนั้นปัญญาความเห็นชอบที่พระพุทธเจ้าได้วางเป็นหลักเกณฑ์เอาไว้อย่างตายตัวแล้ว ก็ควรปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเดิม เพราะเป็นหลักประกันในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง พระพุทธเจ้าได้สอนในวิธีนี้แก่พุทธบริษัททั้งหลายมาแล้ว และได้บรรลุมรรคผลนิพพานไปมีจำนวนมาก ก็เพราะปฏิบัติเริ่มต้นจากปัญญาความเห็นชอบนั้นเอง

    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่เป็นปัญญาชน ควรใช้ความคิดที่มีเหตุผลพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความเป็นจริง การปฏิบัติของเราก็เริ่มจะเข้าสู่กระแสธรรมใกล้ความจริงมากขึ้น ความจริงนี้มีสติปัญญาเท่านั้นจะพาให้จิตรู้เห็นได้ ส่วนอุบายธรรมหมวดอื่นๆ ก็เพียงเป็นอุบายเสริมให้สติปัญญามีกำลัง ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกใจให้มีความฉลาดรอบรู้ในหลักความเป็นจริงอยู่เสมอ อีกสักวันหนึ่งจะเป็นผู้รู้จริงเห็นจริงด้วยสติปัญญาจากตัวเราเองอย่างแน่นอน

    https://sites.google.com/site/watpalan54/1/11
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...