1. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน สับสน

    สำหรับนักสะสมพระกรุ การแสวงหาพระเครื่องโบราณที่ตนเองก้อเกิดไม่ทัน มิหนำซ้ำยังมีการสร้างพระเครื่องชื่อเดียวกัน แต่แตกต่างเพียงทรงพิมพ์ มักเกิดปัญหาว่า จะพิจารณากันอย่างไร แทบจะเจอกันแทบทุกคน หากจะไปหวังพึ่งบรรดาเซียน คงยากที่จะได้ของเก่าที่ถูกต้อง เพราะต่างคนก้อต่างมั่วมาเหมือนกัน ลองคิดดู เอาแค่พระสมเด็จ อายุแค่ร้อยกว่าปี ยังมั่วนิ่มเอาดื้อ ๆ แล้วจะเอาอะไรกับพระกรุที่มีอายุหลายร้อยปี อีกทั้งโอกาสของแต่ละคนในสนาม มีไม่เท่ากัน บางคนมีโอกาสจะเจอพระโบราณจริง ๆ แค่ครั้งเดียว หากไม่ไขว้คว้าไว้ นั่นย่อมไม่มีโอกาส เพราะว่า พระโบราณนั้นกว่าจะหลุดออกจากมือนักสะสมรุ่นก่อนต้องใช้เวลานานมาก ๆ และโดยมากมักจะไม่ค่อยเป็นที่คุ้นตา หากไม่พิจารณาโดยละเอียด ก้อจะมองดูประหนึ่งว่าเป็นพระประหลาดไปเสีย ส่วนราคามันก้อไม่ได้มากมายอะไร ด้วยเหตุผลไม่มีคนรู้จัก สำหรับท่านที่เข้ามาเรียนรู้ ดูพระเครื่องที่ผมนำมาแสดงไว้ในกระทู้นี้ ต้องขอบอกกล่าวไว้ก่อนว่า พระที่นำมาแสดงนั้น เป็นพระเครื่องประเภทที่หายากสักหน่อย บางท่านอาจจะไม่ค่อยจะได้พบเจอ สำหรับพระสกุลลำพูนนั้น หากจะจัดเป็นเบญจภาคีลำพูนแล้วละก้อ ผมขออนุญาตแนะนำว่า คงต้องประกอบด้วย พระคง พระลือ พระเลี่ยง พระรอด และพระอยู่คง ชื่อพระนั้น ได้คล้องจองและเป็นมงคลแก่ผู้สวมใส่ ซึ่งผมได้นำพระมาแสดง ให้ท่านชมไปแล้ว ๔ องค์ คงเหลือ แต่พระลือ สำหรับพระลือองค์ที่ผมเลือกมาเข้าเบญจ เป็นพระลือหน้ามงคล สำหรับองค์นี้ ก้อประหลาดเหมือนเดิม เป็นพระเนื้อดำผสมผงแผ่นทองคำเปลว ศิลปะเหมือนพระคง อกใหญ่ยก ซึ่งเวลามองดูเนื้อพระแล้ว เกิดความประทับใจในการสรรสร้างเนื้อพระยิ่งนัก สมกับคำว่า เลื่องลือระบือนาม อาจจะไม่ถูกต้องตามตำราเซียนนัก แต่เห็นว่า เนื้อหาดี จึงได้นำมาแสดง และผมก้อไม่คิดจะยึดตำราเซียนรุ่นใหม่เป็นหลักในการพิจารณาพระเครื่อง เพราะพระเนื้อดำนั้น สำหรับผมแล้ว เป็นพระเครื่องที่ดูยาก ยิ่งถ้าคิดจะประเมินอายุแล้วละก้อ อาจจะได้อายุพระที่หลายคนคาดไม่ถึงเลยละครับ ชมกันเล่น ๆ นะครับ สำหรับท่านที่ค้นหาของโบราณต้องเข้าใจเรื่องศิลปะก่อน แล้วค่อยดูเนื้อ จึงจะได้อรรถรส
    ภาพนิ่ง1.JPG ภาพนิ่ง2.JPG
     
  2. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ศิลปะ

    หลายครั้งหลายคราวผมมักจะกล่าวถึง คำว่า ศิลปะ ซึ่งผมจะให้ความสำคัญมากในการพิจารณาความเก่าของพระกรุ และผมก้อไม่ได้หมายถึง การแกะพิมพ์พระอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงความประณีตในการสรรสร้างพระเครื่อง ตั้งแต่ การคัดกรองมวลสาร การผสมมวลสาร การปั๊มพิมพ์การปาดหลังองค์ การกดพิมพ์พระ วิธีการเผาเพื่อคงรูป และหลังจากเผาเสร็จบางก้อนำไปแช่น้ำว่าน บ้างก้อนำไปลงรัก ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ จะดำเนินการโดยช่างหลวงทั้งสิ้น แสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในยุคสมัยนั้น ซึ่งผู้ที่ให้การสนับสนุนคงหนีไม่พ้นเจ้าผู้ครองนครเหล่านั้นเองที่เสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ประกอบกับชาวบ้านสามัญชน คงไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดสร้างพระเครื่องเหล่านี้ได้ เพราะการสร้างพระเครื่องนั้น นอกจากศรัทธาแล้ว ยังต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินการ ช่างที่ความชำนาญ ตลอดจนองค์ความรู้เรื่องการสร้าง เรียกว่าต้องละเอียดลออกันทุกขั้นตอนเลย ผลงานที่ปรากฏ จึงเกิดความปราณีตบรรจง ส่งผลให้องค์พระเกิดความสมดุล สวยงาม เนื้อพระบางสูตร ก้อเกิดความหนึกนุ่มนวลตาอันได้แก่น้ำว่านบ้าง หรือความสดใสของยางรักที่แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามาแล้วหลายร้อยปี ยังดูสดใสอยู่ ส่วนการพิจารณานั้น คงต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบที่นำมาสร้าง แล้วมาวิเคราะห์ถึงวัสดุนั้น ๆ เมื่อผ่านการเวลา การใช้งาน ตลอดจนประวัติการค้นพบ ต้องมีความสอดคล้องต้องกันเสมอ จึงจะได้ของที่เก่าและชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะพระกรุ สำหรับอายุพระนั้น ผมคิดว่า พระสกุลลำพูน อายุการสร้างคงไม่ถึงพันปีอย่างที่เซียนขายพระเขาโฆษณาขายกันหรอกครับ เอาเป็นว่าก่อนเมืองเชียงใหม่สักเล็กน้อย คงจะพอสมเหตุสมผล และพระชุดนี้ ผมก้อมีเพียงอย่างละองค์เอาไว้ศึกษา เห็นว่าดี ก้อนำมาบอกเล่าเก้าสิบกัน ดีกว่าปล่อยให้เด็กรุ่นหลัง มาหลงคารมเซียน แล้วต้องมาเสียใจ เมื่อเขาตรวจอายุพระกัน เพราะอย่าลืมว่า พระเครื่องหลายองค์ที่ลงในหนังสือในอดีตนั้น ที่ว่าแท้แล้ว สุดท้าย เมื่อมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ก้อไม่ได้รับการยอมรับเช่นในอดีต เท่ากับสูญเงินไปเปล่า ๆ อันที่จริง พระเครื่องเป็นเรื่องของวาสนาครับ เพียงแต่เรามาเรียนรู้กันเพื่อป้องกันการถูกหลอกหลวงมากกว่านะครับ เพราะผมคิดว่า หากคนเรามีความรู้มากขึ้น เห็นมามาก ก้อย่อมจะแยกแยะได้เอง ซึ่งโดยปกติ ทุกคนที่การตัดสินใจเช่าพระเครื่อง โดยมากก้อเช่าตามความเข้าใจของแต่ละคนอยู่แล้ว

    ปล. ช่วงนี้คนเข้าดูเว็บรู้สีกน้อยลงไปเยอะ คงเหลือ แต่นักสะสมตัวจริงมากกว่า ที่เข้ามาหาองค์ความรู้ อย่างนี้เรียกว่า ศรัทธาแรง ครับ ดีกว่าโหนไปตามกระแส อาจจะเสียมากกว่าได้นะครับ
     
  3. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน พระเนื้อดินร้อยปี หลวงพ่อปานบางนมโค

    หลวงพ่อปานบางนมโค เกจิผู้โด่งดังเรื่องพระทำยา ซึ่งท่านได้สร้างพิมพ์พระเป็นร้อยกว่าพิมพ์ ซึ่งมีหลายท่านหลายคนสนใจเข้ามาถามกันอยู่เรื่อย ๆ สำหรับดินที่สร้างพระก้อเป็นดินขุย เนื้อหยาบนิด ๆ มักมีก้อนทรายเล็ก ๆ ปน เป็นการสร้างพระพิมพ์ เจาะรู แล้วเผา จึงนำมาอุดผง หากดูด้านหลังองค์พระจะโก่งเล็กน้อย เนื่องจากใช้ไม้แทงให้เป็นรูเพื่ออุดผงแล้วงัดออกเล็กน้อย ด้านหน้าองค์พระมักออกมัน ด้านหลังจะมันน้อย หรือไม่มัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ จุกอุดผงจะต้องมี จึงจะถือว่า เป็นองค์พระที่สมบูรณ์ การอุดผงองค์พระใช้ปูนโบราณ คล้ายกาวผสมขี้ไก่ ออกเขียว ในการกรอกปูนอุดรูผง มักจะทำให้ตรงกลางจุกยุบตัวนิด ๆ หากใครประสงค์จะหาไว้ใช้สอย ต้องพิจารณาจุกอุดรูผงก่อนไว้เป็นสำคัญ หากไม่มี ก้อเหมือนแขวนก้อนดินไว้บนคอ เพราะพระท่านนั้น สร้างไว้เป็นยา ใช้เสร็จแล้วก้อทิ้งไปหรือเอาไปไว้วัด จึงสำคัญที่ผง ส่วนการพิจารณา ตำหนิองค์พระ ใครมันจะไปจำได้หมดเพราะพระเป็นร้อยกว่าพิมพ์ เขาก้อดูจากจุกอุดผง เนื้อพระ และหลังองค์พระเป็นสำคัญ ไว้ชี้แท้เก๊ พระแบบนี้ก้อพอจะมีกับเขาบ้าง ดูกันเล่น ๆ ครับ เผื่อจะเข้าใจ
    ภาพนิ่ง1.JPG รูปนี้เบลอไปหน่อยครับ ถ่ายติดแผ่นเงินด้านหน้าครับ
    ภาพนิ่ง3.JPG ภาพนิ่ง2.JPG ไม่สวย แต่มีครบครับ ใส่แล้วมั่นใจครับ ดีกว่า จุกและผงหายครับ
     
  4. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน เหรียญเก่า

    หากจะกล่าวถึงวิธีการพิจารณาเหรียญเก่าก่อนปี 2500 ส่วนใหญ่จะบอกวิธีให้ดูเหรียญว่า ขอบและความหนาของเหรียญมักจะเป็นเหรียญบาง ไม่หนาเท่ากับพระเหรียญที่สร้างในปัจจุบัน วิธีการสร้างก้อเป็นเหรียญหล่อมั่ง อันนี้จะหนาหน่อย เหรียญปั๊มก้อมักตัดแต่งข้างกระบอกปั๊มมั่ง ตามแต่เทคนิคการสร้าง เขาก้อว่ากันไป เราก้อค่อยศึกษากันไปตามที่เขาสอนกัน แต่ที่แปลก ผมกับพบเหรียญเก่า ความหนาประมาณเหรียญเสี้ยว เนื้อผิวเหรียญสดสวยเป็นเหรียญลงยา ทดลองสะกิดเนื้อด้านหลังกลับต้องตกใจ เหรียญนี้ไฉนจึงเนื้อเก่าได้ใจ ยิ่งศึกษาตำราเหรียญ ยิ่งพบความน่าสนใจ จึงนำมาให้ท่านชม จะแท้หรือเก๊ ดูแล้วคงพอจะเข้าใจ ว่าลับลวงพราง ยังมีอีกเยอะกับพระเครื่องครับท่าน ข้อแนะนำ ควรหาเหรียญเสี้ยวไว้เทียบเนื้อเหรียญเก่าจะไม่ถูกหลอกกันง่ายๆครับ ผิวพิมพ์นะแต่งได้ แต่เนื้อใน แต่งยังงัย มันก้อไม่เก่า โชคดีมีชัยครับ ภาพนิ่ง2.JPG ภาพนิ่ง3.JPG ภาพนิ่ง4.JPG ตำราเก่า เขาเขียนไว้ว่าตัวนี้ขาด เอ ซักสงสัยครับ กะเหรียญเซียน ภาพนิ่ง5.JPG เหรียญหูเชื่อม แต่เหรียญหนาครับท่าน จะแท้จะเก๊ อยู่ที่ใจครับ
     
  5. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน สมเด็จช่างหลวง

    ตามที่ผมเคยกล่าวไว้ว่า ผมเก็บพระสมเด็จของหลวงปู่โตไว้เพียงสามองค์ ได้แสดงให้ท่านดูไปแล้ว 2 องค์ คงค้างอยู่อีกหนึ่งองค์ สำหรับพระองค์นี้เป็นพระเนื้อกังไสลูกผสม ผมสันนิฐานว่าสร้างประมาณปี 2411 ซึ่งใช้ปูนกังไสเป็นส่วนผสมหลัก วัตถุประสงค์การสร้างก้อเพื่อฉลองการครองสิริราชสมบัติของรัชกาลที่ 5 และกล่าวกันว่า มีการสร้างเป็นจำนวนมาก สำหรับพระเนื้อกังไสนั้น จะเป็นพระที่มีส่วนผสมของปูนจีน เนื้อปูนจะละเอียดขาวมัน ซึ่งปูนจีนนี้โดยทั่วไปนี้ใช้สำหรับทำถ้วยชามสังคโลก แต่การใช้ปูนสร้างพระนั้น คงต้องใช้เวลารอการแข็งตัวของปูน ดังนั้นเมื่อสร้างพระเป็นจำนวนมากและเร่งรีบการสร้าง ย่อมต้องมีแม่พิมพ์พระเป็นจำนวนมากเช่นกัน ตำราการดูพิมพ์พระเนื้อกังไสนั้น ไม่สามารถกล่าวถึงได้อย่างชัดเจน คงมีแต่หลักการพิจารณา อันประกอบด้วย ศิลปะการแกะแม่พิมพ์พระของช่างหลวง เนื้อพระ ส่วนผสม ตลอดจนสภาพองค์พระที่ผ่านกาลเวลาเป็นหลักในการพิจารณา ส่วนที่ว่า ทันไม่ทัน ใช่ไม่ใช่ จึงอยู่กับดุลยพิจารณาของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ สำหรับพระที่สร้างโดยช่างหลวงนั้น เราท่านอาจได้พบการพิมพ์พระเนื้อหาพิดารก้อได้ เพราะว่า การที่สร้างพระจำนวนมาก ตลอดจนการรอการแข็งตัวของปูน อาจทำให้ช่างหลวงและมหาดเล็กที่มาร่วมงาน เกิดไอเดียตกแต่งองค์พระบ้าง จากความพิเรนนั้น อาจจะก่อให้เกิดปัญหาว่าพระองค์นั้น ควรจะใช่หรือไม่ใช่ เมื่อมีการพิจารณามวลสารในเนื้อพระสมเด็จ อย่างไรก้อตามเรื่องนี้คงจะแล้วแต่มุมมองของแต่ละบุคคลนะครับ ซึ่งองค์ที่ผมเก็บไว้ องค์นี้ก้อมีมวลสารบ้างเล็กน้อย ประกอบด้วย หินขาวหรือบางท่านอาจเรียกว่า เม็ดพระธาตุ เศษก้อนอิฐ พบดินพระซุ้มกอบ้าง ผงตะไบเงินพบด้านข้างต้องเอนเข้าหาแสงไฟนะครับ แท้หรือไม่แท้ ก้อคงแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนครับ แต่ที่แน่ ๆ เจอแมงกินพระด้วยครับ ชมกันไปครับท่าน ที่เขาว่า หน้าแตกแต่หลังไม่แตกนะครับ

    ปล. เป็นพระที่ถ่ายรูปค่อนข้างยากมากครับ
    ภาพนิ่ง1.JPG ภาพนิ่ง2.JPG ภาพนิ่ง3.JPG ภาพนิ่ง4.JPG
     
  6. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน รูปหล่อเกจิเก่า

    หากจะกล่าวรูปหล่อเกจิเก่าแก่ที่สุด ตามความเห็นของผม คงจะเป็น รูปหล่อของหลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง นครสวรรค์ ซึ่งตามประวัติ เล่ากันว่า มีการหล่อรูปท่าน แบบโบราณ คือการขึ้นรูปแล้วเททองหล่อ ด้วยกัน 2 ครั้ง ช่วงปี พ.ศ.2470 – 2480 หลังจากนั้นก้อมีรูปหล่อแบบปั๊มในปี พ.ศ.2482 เป็นต้นมา บางท่านอาจจะคิดว่า รูปหล่อของหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน พิจิตร นั้นเก่าแก่กว่า เพราะท่านสร้างรูปหล่อมาก่อน แต่เมื่อพิจารณารูปหล่อของท่านแล้ว มองทีไรก้อไม่เคยเหมือนท่านเลย เพราะท่านสร้างเป็นพระสังกจาย หรืออาจเรียกได้ว่า พระสังกจายก้อคือหลวงพ่อเงิน และส่วนตัวผมคิดว่ามันคงจะไม่ถูกต้องนัก ที่จะให้พระสังกจายเป็นรูปหล่อเกจิ เพราะรูปหล่อเกจิอื่นยังมีอีกเยอะครับ สำหรับการที่สร้างรูปหล่อตนเองเป็นองค์แรกและสร้างในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องนับว่ากล้าหาญมิใช่น้อย เพราะปกติ การสร้างรูปหล่อในช่วงก่อนหน้านั้น นิยมสร้างรูปหล่อจำลองหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วเสียมาก และยังไม่มีใครสร้างมาก่อน จึงนับว่าเป็นการปฏิวัติการสร้างพระเครื่องขึ้นอีกขั้นหนึ่งเลยเชียว โดยเฉพาะการสร้างรูปหล่อนั้น ส่วนมากมักเป็นรูปหล่อพระพุทธเจ้าและสาวกเสียมาก แต่การที่จะหล่อรูปเกจิขึ้นมาแทนพระพุทธรูปนั้น เหมือนกับยกตนไปเสมอเหมือนพระพุทธรูป ดังนั้นการสร้างรูปหล่อเกจินั้น จำเป็นต้องมีพุทธคุณเข้มขลัง จะช่วยให้เกิดศรัทธานิยมชมชอบ เพราะถ้าไม่ได้รับความนิยม ก้อจะถูกกล่าวหาว่าไปทำตนเสมอเหมือนพระพุทธเจ้า เปรียบประหนึ่งเหรียญที่มีสองด้านเสมอ ดังนั้น รูปหล่อหลวงพ่อเดิมจึงได้ถูกนำมาใช้ประจำสำหรับผมเสมอตามความเห็นข้างต้น สำหรับองค์พระก้อไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมายหรอกครับ ขนาดก้อพระรอดนี่แหละครับ เล็ก ๆ ศรีษะเท่าหัวไม้ขีดไฟ รูปหล่อแบบนี้ เขาเรียกว่า พิมพ์คอตึง จะเห็นลูกกระเดือกนะครับ ชมกันเล่น ๆ ว่าการหล่อแบบโบราณเนื้อพระเป็นแบบไหนครับ ฝีมือช่างไทยครับ หลวงพ่อ.jpg
     
  7. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน จบ...

    เดิมผมกะว่าจะเขียนเล่น ๆ สักตอนสองตอน ไม่รู้งัยเขียนมาตั้งหลายเดือน ปาเข้าไปหกสิบกว่าตอน เดี๋ยวเขาจะขายพระไม่ออกกัน คงจะขอยุติแต่เพียงเท่านี้ สรุปให้คร่าวๆก้อแล้วกันนะครับ

    พระสมเด็จ วัดระฆังและวัดเกศไชโย สร้างพระจากการกวนยา เนื้อหนึกนุ่ม ผสมน้ำอ้อย ปัจจุบันเนื้อน่าจะขาวแบบงาช้าง ส่วนวัดบางขุนพรหม เนื้อปูนขาวฉาบโบสถ์ และวัดช่างหลวงนี้มันสารพัดเนื้อ ต้องไปว่ากันถึงเนื้อหามวลสาร

    พระคงดำ เป็นพระต้นพิมพ์ สร้างจากยางรักดำ เป็นพระพิมพ์ใบโพธิ์เพี้ยน (แกะใบโพธิ์ผิดด้าน)

    พระรอด ที่เขาซื้อที่แล้วขุดหากันนั้น เป็นพระรอดจามเทวี เหตุที่ได้ชื่อนี้ เพราะเนื้อพระนั้นงดงามเหมือนความงามของพระนางจามเทวี

    พระอยู่คง พระเครื่องเก่าแก่แห่งตำนานพระพิมพ์ เป็นพระที่มีเม็ดเงินเม็ดทองผสมอยู่ (ดูแล้วก้อเหมือน กากะวานรมากกว่าครับ)

    พระหลวงพ่อปาน ให้ดูจุกอุดผงเอานะครับ คล้ายกาวผสมขี้ไก่

    หลวงพ่อฉุย สร้างโดยช่างหลวง ใช้แผ่นทองแดงนอก ที่เอามาทดลองผลิตเหรียญเสี้ยว

    รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เขาเททองหล่อที่วัดหนองหลวงมาก่อนนะครับ ไม่ใช่แบบปั๊มหล่อก่อนเททองหล่อ

    สำหรับท่านที่สนใจจะตามหาพระในตำนาน ซึ่งผมเชื่อว่า ยังคงมีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังตกค้างอยู่ เพราะพระเครื่องนั้น มีมานานมากแล้ว และมีความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๕และพึ่งจะเริ่มรวบรวมเป็นตำราขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า การศึกษาพระเครื่องเหล่านั้นยังคงไม่สมบูรณ์ครบถ้วนเสียทีเดียว ประกอบกับในยุคโลกาวิวัฒน์ อินเตอร์เนตไร้สาย จะช่วยให้เราท่านมีโอกาสศึกษาและเรียนรู้พระแท้ในตำนานได้ไม่ยากต่อไป และโอกาส ย่อมเป็นของทุกท่านเสมอ เพราะ คนโบราณนั้น ท่านสร้างให้เราหาครับ เพียงแต่เราต้องมีความละเอียดรอบคอบ และเรียนรู้ธรรมชาติของมวลสารที่นำมาสร้าง ตลอดจนเอกลักษณ์ของเกจิที่ท่านตามหา และที่สำคัญ ตำนานเล่าขานพระเครื่อง ครับ เพราะ คนโบราณไม่ได้บันทึกไว้ จะมีเพียง การเล่าขานกันเท่านั้น ซึ่งผู้ค้นหาจะต้องใส่ใจให้มาก และท้ายที่สุด พุทธคุณของพระเครื่องนั้น ย่อมปกปักรักษาผู้ที่ศรัทธาเสมอ ตามเฉกเช่นที่คนยุคก่อนได้เล่าขานไว้ จึงไม่จำเป็นต้องมาสาธยายหรอกครับ หวังว่าท่านที่เข้ามาอ่าน จะเข้าใจเรียนรู้นะครับ อันพระดีไม่ดีอยู่ที่ตัวเรา ส่วนพระจะแท้จะเก๊อยู่ที่ความเข้าใจครับ อนึ่ง พระเครื่องที่ผมนำมาแสดงในกระทู้นี้ เป็นพระที่ผมเก็บไว้ วิจารณ์ได้เสมอนะครับ

    สุดท้ายนี้ ผมอาจจะเขียนกระทู้ได้ห่วยแตก แต่ก้อคิดว่า กระทู้ของผม คงจะเป็นประโยชน์บ้าง สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ พึงระลึกเสมอว่า จริงอยู่ที่มนุษย์เราพยายามเลียนแบบธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก้อคือธรรมชาติ สุดท้ายไม่มีใครเลียนแบบมันได้จริงหรอกครับ ดังคำกล่าวที่ว่า ถ้าเนื้อใช่ เดี๋ยวพิมพ์ก้อจะตามมาเองครับ และก้อไม่อะไรที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้หรอกครับ ยกเว้นพุทธคุณ กับความเชื่อ และหวังว่า ท่านจะได้พบพระแท้ ตามเจตจำนงค์ของท่านต่อไป

    ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ผู้อ่านครับ

    ขอบคุณที่ตามอ่านนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2017
  8. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    สวัสดีครับ เวลาผ่านไป ไว้เหมือนโกหก ครบรอบหนึ่งปีที่กระทู้ สัพเพเหระจบไป

    อันดับแรก ต้องกราบขอบพระคุณ ทางเวปพลังจิต ที่ไม่ได้ลบกระทู้ผม ย่อมแสดงเจตจำนง ที่จะเปิดเผยความรู้ในพระเครื่อง เพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง ก่อเกิดความรู้ใหม่ สังคมวุ่นวาย ตามหาพระแท้

    อันพระเครื่องนั้น รู้มาแค่ไหน ก้อแท้แค่นั้น อย่าไปยึดหมั่น ศาสตร์การเรียนรู้ ด้วยผู้เฒ่ามักหวงของ อันไหนแท้ท่านเก็บซ่อนไว้...

    อันการเรียนรู้นั้น ย่อมมีผลดี และผลเสียเสมอ ต้องกราบขออภัย ทุกท่านที่ได้รับผลกระทบ จากการศึกษาพระเครื่อง

    บางสิ่งบางอย่าง ครูบาอาจารย์ ท่านสอนมาอย่างนั้น พึ่งอย่ากล่าวโทษ บรรดาเซียนเลย ผู้ใดนำผิด แล้วกล้ายอมรับ จึงนับเป็นครู ถึงแม้ผิดพลาด จงให้อภัย เริ่มต้นกันใหม่ สร้างสรรค์สังคม

    อันกระทู้สัพเพเหระ ผมเขียนไว้นั้น ผู้อ่านสับสน จนไม่เข้าใจ จำเป็นแก้ไข จะเรียงให้ใหม่ กับข้อเท็จจริง

    อนึ่ง โปรดอย่านำพระมาถามนะครับ ที่เขียนไว้นี้ เป็นวิทยาทาน เพื่อความเข้าใจ

    พระสมเด็จ ตอนที่ 1

    อันดับแรก จำเป็นจะต้องกล่าวถึง “พระสมเด็จ” อันเป็นต้นเหตุแห่งการสะสมพระเครื่อง ผิดพลาดประการใด โปรดให้อภัย บางเหตุการณ์ผมก้อเกิดมิทัน พึงได้แต่ใช้สติปัญญา ถอดความนัย ให้ได้ศึกษากัน โดยอ้างอิงบางเหตุการณ์ ตาม ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ต้องกราบขอบพระคุณท่าน ที่ได้เขียนบันทึกไว้ ให้ความรู้เป็นแนวทางการศึกษาพระสมเด็จครับ

    อนึ่ง เรื่องพระสมเด็จที่เขียนไว้แต่เดิมนั้น ต้องเขียนล้อไปตามเซียน ด้วยกลัวผู้คนจะไม่เข้าใจครับ ขอเรียงลำดับใหม่ ตามเหตุการณ์ดังนี้

    สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หรือที่ตัวท่านให้ใช้สรรพนามเรียกขานว่า ขรัวโต ในวัยหนุ่ม ท่านได้ธุดงค์ ไปเยี่ยมญาติ ที่อยู่เมืองกำแพงเพชร ได้พบกับ คัมภีร์ใบลาน ระบุ อานิสงการสร้างพระบรรจุกรุ

    ในสมัยรัชกาลที่ 3 โยมมารดาท่านถึงแก่กรรม จึงทำตัวสงบเสงี่ยมตลอดรัชกาล พบว่าท่านสร้างพระนอน ที่วัดขุนอินทร์ประมูล เป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ซึ่งผิดวิสัยการสร้างโดยทั่วไป

    รัชกาลที่ 4 ทุกวันพระท่านจะถูกนิมนต์เข้าไปเทศน์ในวังเสมอ เทศน์เรื่องอะไร ร.4 ท่านก้อรู้ทัน ด้วย ร.4 ทรงผนวชมานาน ชักจะหมดเรื่องเทศน์ ก้อเลยเทศน์เรื่องอานิสงการสร้างพระบรรจุกรุ ปรากฏว่า ร.4 ทรงศรัทธา (อันนี้ไม่แน่ใจว่า ร.4 หรือวังหน้า) จึงโปรดให้ให้ช่างหลวงสร้างพระบรรจุกรุ (พระสมเด็จเนื้อหินเทา กรุที่ 1) บรรจุ ณ วัดพระธาตุพนมจำลอง หลังจากนั้นเกิดเรื่องทางเขมร เมื่อกลับจากเขมร ได้ทูลขอพระราชทานที่ดิน เพื่อก่อสร้างพระโตใหญ่ที่วัดเกศไชโย ระหว่างการก่อสร้าง ขรัวตาแสงได้เห็นสมเด็จท่านฝังตุ่มใบใหญ่ไว้ทางทิศเหนือ การสร้างพระโตใหญ่แล้วเสร็จได้ประมาณปีกว่า เกิดฐานรากทรุด พระโตใหญ่ล้มไปทางทิศเหนือ ตุ่มใบใหญ่แตก พบพระสมเด็จเกตุไชโย (อันนี้เป็นความภูมิใจของคนอ่างทอง จึงนำมาเขียนเป็นคำขวัญประจำหวัด ขึ้นต้นเป็นประโยคแรก) ปรากฏว่า พระแตกหักเป็นจำนวนมาก สมเด็จท่านก้อได้ทำการบูรณะพระโตใหญ่ แล้วสร้างพระสมเด็จบรรจุกรุเพิ่ม(กรุที่ 2) สิ้นสุดรัชกาลที่ 4 อาทิตย์หน้ามาต่อที่ เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 5 ครับ
     
  9. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระสมเด็จ ตอนที่ 2 (คนที่ทำใจไม่ได้ ห้ามอ่านนะจ๊ะ)

    ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ร.5 ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นธรรมเนียมที่บรรดาหัวเมืองจะต้องส่งธิดามาถวายตัว (ธรรมเนียมนี้ทำให้บางคนเข้าใจว่า ร.5 เจ้าชู้)แต่คราวนี้มาแปลก ให้ถวายพระกรุพิมพ์พื้นเมืองมาพร้อมด้วย (เกิดธรรมเนียมนิยม ถวายพระพิมพ์พื้นเมือง) เหตุการณ์นี้ แสดงนัยสำคัญ ให้เห็นว่ามีค่านิยมที่จะสร้างพระบรรจุกรุไว้ตามเมืองต่าง ๆ

    ในช่วงปี 2411 มีงาน 2 งาน ที่ต้องดำเนินการ

    1)เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมที่ต้องแจ้งให้ทางจีนทราบ ด้วยบ้านเมืองเขานั้นเจริญกว่าเรามาก มีพร้อมทุกสิ่ง ทรงคิดว่าสร้างพระสมเด็จไปถวายน่าจะดีกว่า

    2) งานสร้างพระที่ระลึกเพื่อแจกจ่าย ขุนนาง/ประชาชน ในการขึ้นครองราชย์

    จึงทรงโปรดให้ช่างหลวงแกะพิมพ์พระขึ้นมาใหม่ แต่แกะพิมพ์ได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เร่งรีบ(การสร้างพระจากปูน ต้องรอเวลาแข็งตัว จึงจำเป็นต้องมีแม่พิมพ์จำนวนมาก) หลวงวิจารท่านเป็นช่างทอง ได้อาสาเข้ามาแก้ปัญหาให้ โดยการนำทองคำมาเทถอดแม่พิมพ์พระ แล้วนำไปกดกับดินเหนียวได้แม่พิมพ์เป็นจำนวนมาก (พระรุ่นนี้สร้างเป็นเนื้อปูนกังไส ปูนกังไสเป็นปูนประเทศจีน เป็นที่นิยมใช้ในราชวังจีน) (ความเห็นส่วนตัว เมื่อส่งไปถึงจีนแล้ว จีนน่าจะไม่ถูกใจรักสีดำ เลยส่งรักแดงมาให้ใช้แทน ส่วนพระชุดนี้จะได้ถวายหรือไม่ ท่านต้องไปศีกษากันต่อละครับ)หลังจากเสร็จงานสร้างพระไปเมืองจีน ช่างหลวงก้อยังคงได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรรจุกรุที่ 4 ต่อไป(กรุนี้สมเด็จท่านไม่ได้ไปยุ่ง เพราะเป็นงานช่างหลวงดำเนินการ คนโบราณไม่นับ สำหรับกรุที่ 4 สร้างเพื่ออะไรนั้น ต้องติดตามอ่านต่อไปนะครับ)

    ครั้นปี 2413 ท่านเสมียนตราด้วง มีความศรัทธา อยากสร้างพระบรรจุกรุ เห็นแม่พิมพ์ช่างหลวงไม่ได้ใช้งาน (แม่พิมพ์ที่ใช้สร้างสมเด็จเนื้อหินเทา) ก้อไปทูลขอแม่พิมพ์มาสร้างพระบรรจุกรุไว้วัดบางขุนพรมใน สร้างตามภูมิความรู้ท่าน(สมเด็จเนื้อปูนขาวฉาบโบสถ์ คือปูนซีเมนต์โบราณ เป็นกรุที่ 3 ปิดกรุหลังสมเด็จท่านมรณะภาพ ปี 2416 เมื่อเปิดกรุปี 2500 พระกรุนี้แพงมาก)

    ส่วนหลวงวิจาร เห็นการแกะพิมพ์พระ เกิดความนิยมชมชอบ ได้เริ่มแกะแม่พิมพ์ ครั้นถึงปี 2414 สมเด็จท่านเริ่มป่วย ลูกศิษย์ลูกหาที่เคยช่วยตำผงสร้างพระวัดเกตุไชไย มีความประสงค์จะสร้างพระสมเด็จให้มากที่สุด แต่ท่านไม่ยอมให้สร้าง กลับให้สร้างเพียง 85 องค์ แต่พระนั้นพิมพ์ไว้แล้ว เมื่อท่านไม่ยอมให้สร้าง จึงพากันเอาไปฝากกรุ(อันเล่ากันว่า สมเด็จท่านสร้างพระฝากกรุ) ต่อมาหลวงวิจารได้เข้ามาอาสาเอาแม่พิมพ์ที่แกะไว้นำมาใช้สร้าง มีจุดเด่นเป็นพระผสมตังอิ๋วด้วยความงดงามของเนื้อพระ เกิดการแย่งกัน เรื่องร้อนถึงวัง ร.5 ทรงตรัสถาม เรื่องสร้างพระหูเดียว (ตำนานหลวงวิจาร)มีการจดบันทึกเป็นตำราดูพระสมเด็จวัดระฆังไว้ที่ช่างสิบหมู่ (กำเนิดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูม)ต่อมาสมเด็จพุฒาจารย์โต นำพระไปแจก ครั้นไปแจกชาวบ้าน ต่างก้อไม่ค่อยอยากจะรับเพราะเห็นเป็นของแปลก ดำๆ ปิดทอง จึงต้องโฆษณาว่า ค้าขายดีจ้า ไม่มีแล้วนะจ๊ะ (นี่คงเป็นที่มาของคำว่า สร้างไปแจกไป) จบตำนานพระสมเด็จ ของสมเด็จพุฒาจารย์โต เนื่องจากท่านได้มรณภาพ

    ไว้วันอาทิตย์ จะเล่าเหตุการณ์หลังจากสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านมรณภาพครับ ถ้าท่านทำใจไม่ได้อย่าอ่านเด็ดขาด นี่เป็นคำเตือน
     
  10. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระสมเด็จ ตอนที่ 3

    หลังจาก สมเด็จพระพุฒจารย์โต พรหมรังสี มรณภาพ ได้มีการสร้างพระมาแจกเป็นที่ระลึก ปรากฏว่าแจกกันอยู่ถึง 7 ปี หลายกระถางสร้างโดยช่างหลวง

    ในปี 2415 หลังจาก ร.5 ทรงเสด็จเยือนประเทศอินเดีย มีการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย จึงการจัดประกวดเครื่องใช้เบญจรงค์ ประกวดกี่ครั้งกี่ครั้ง คนได้ก้อเจ้าเดิม ต่อมาเกิดไอเดียบรรเจิด เลยจัดประกวดการแกะพิมพ์พระบ้าง สร้างสรรค์เนื้อพระบ้าง ออกแบบลวดลายบ้าง

    ในปี 2416 เกิดอหิวาระบาด แต่ระบาดเพียง 7 วัน ก้อหาย เกิดจากปฏิหารย์พระสมเด็จ

    ต่อมาเริ่มมีข่าวลือต่างๆนานๆเรื่องปฏิหารย์พระสมเด็จจนกระทั่งเกิดสงครามปราบฮ่อ ทหารอาสาอยากได้พระสมเด็จ กรุที่ 1 ถูกเปิด (ความรู้อันนี้ผมได้จากการสอบถามผู้มีพระสมเด็จเนื้อหินเทา ได้ความว่า บรรพบุรุษท่านไปเป็นทหาร จึงได้พระมา สันนิฐานว่าวังหน้าท่านสร้างไว้)

    ต่อมาชาวบ้านรู้ข่าวว่า พระกรุสามารถนำมาใช้ได้ จึงพากันไปตกเบ็ดวัดบางขุนพรหมใน(คนโบราณเขาไม่ได้โลภครับ จะเอาไว้ใช้แค่คนละองค์สององค์เท่านั้น ถ้าพระชำรุดเขาก้อจะมาขอใหม่)แต่พระบรรจุกรุ ผีมันดุ จึงต้องใช้เหรียญบาทในสมัยนั้นนะครับ และปัจจุบันก้อยังคงใช้อยู่ (เรื่องนี้พวกลักขุดกรุจะรู้ดี)ซึ่งความรู้อันนี้เริ่มแพร่หลาย นิยมใช้ขุดกรุในต่างจังหวัด เมื่อได้พระมา พวกเสนา อำมาตย์ ข้าราชบริพาร ก้อพากันเอาไปเล่นกันในวัง แต่เล่นนานเข้าก้อมีพระเก๊เข้าไปในวัง ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ได้ยินข่าว ประเทศสยามมีการเล่นพระกันในวัง ก้อสนใจจะศึกษา จึงได้เดินทางมาประเทศไทย หลังจากนั้น พระเก๊ความแตก (น่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวกับท่านเศรษฐีในปัจจุบัน คือเรื่องนี้ต้องเหยียบไว้)กาลเวลาผ่านไปอีกยาวนาน มีพวกมาเริ่มเล่นใหม่ แต่เล่นกันอยู่แต่นอกวัง

    ต่อเรื่อง พระกรุท่านเสมียนตราด้วง เมื่อความศรัทธาในพระสมเด็จมีมากขึ้น ชาวบ้านต่างถิ่นเริ่มอยากได้พระสมเด็จ รู้ข่าวว่าวัดบางขุนพรมมีพระสมเด็จ ก้อเข้าทยอยกันเข้ามาตกพระ ลูกหลานเขาเลย สร้างพระบรรจุกรุไว้หลอกคนต่างถิ่นไว้ด้านหน้า เป็นสมเด็จบางขุนพรหมนอก พระชุดนี้จะสร้างไม่ครบ 84,000 องค์ ผิดธรรมเนียมการสร้างพระบรรจุกรุ แต่ใช้แม่พิมพ์ส่วนใหญ่เหมือนพระกรุเนื้อหินเทา(กรุนี้ผู้รู้เตือนว่าอย่าเล่นนานแล้ว) ต่อมาความต้องการพระเครื่องยิ่งมีมากขึ้น ถึงขนาดเจาะกรุ ลูกหลานท่านเสมียนตราด้วงรู้เข้า ก้อพากันเอาดินไปเทปิดไว้ แล้วก้อขนน้ำมาเทใส่ เพื่อไม่ให้คนขโมย

    ปี 2440 พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์โด่งดัง มีราคาแพงกว่าเพชรกว่าพลอยเสียอีก (อันนี้ถ้าใครอยากได้ ต้องขนแบงค์พันใส่กระสอบ แล้วไปถามเอาแถวในวัง) หลังจากนี้จะเริ่ม ยุคเกจิ เอาไว้เล่าวันหลัง

    ก่อนปี 2500 อาจารย์ตรียัมปวาย เริ่มศึกษาพระสมเด็จ พระรอด และพระนางพญาและทำหนังสือ พระสมเด็จออกมา หลังปี 2500 มีคำอยู่คำหนึ่งความว่า “คราบฝ้านวลตอง” แต่เซียนดันไปตีว่า “คราบแป้งนวลตอง” ต่อมาตั้งพระชุดไตรภาคี แล้วก้อเป็นเบญจภาคี พระสมเด็จเริ่มรู้จักกันมาขึ้น ซึ่งเดิมนิยมอยู่ในกรุงเทพ เป็นอันว่า นิยมสากล จึงเริ่มจัดประกวด แต่พระบางขุนพรหมของท่านเสมียนตราด้วง มันไม่ค่อยสวย เลยหายไปจากวงการ จนผู้คนลืมเลือน

    ต่อมาได้เกิดอภิหาร ตำหนิพระสมเด็จเซียน เช่น หน้าบิด ๆ พระดูเอียง ๆ ปูนหอย ฯลฯ

    หลังจากนั้น เกิดกระแส เก๊ร้อยองค์ แท้องค์เดียวก้อคุ้ม เป็นอันว่า พระสมเด็จเกลี้ยงทุกแผง

    อนิจจา พระใครใครก้อแท้

    อาทิตย์หน้า มาปิดตำนาน เล่นสมเด็จเสร็จทุกรายครับ
     
  11. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ปิดตำนานเล่นสมเด็จเสร็จทุกราย

    อันนิทานเรื่องเล่าของพระสมเด็จหากนำถอดข้อเท็จจริงคงลำดับได้เพียง 3 ตอนที่เล่าไป ซึ่งผู้ใดก้อตาม ที่ได้อ่านและเรียนรู้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ผู้นั้นย่อมมีโอกาสที่จะค้นพบกับพระแท้เสมอ จากลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราทราบว่า

    ๑. ผู้ใดกันเล่า พาท่านสะสมพระ พาเปิดกรุพระ

    ๒. พระสมเด็จที่เป็นองค์ครูเหล่านั้น ทำไมเราท่านจึงหากันไม่พบ

    ๓. พระเครื่องบางอย่างที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ทำไมมันไม่เก่าจริง ส่วนที่เก่าจริง ทำไมมันถึงหายากนักหนา

    สำหรับพระสมเด็จนั้น จะขอกล่าวถึงความผิดพลาดในการแสวง ดังนี้

    ความผิดพลาดครั้งที่ 1 พวกไปหาตามคนข้างวัดระฆัง เขาก้อบอกว่า เป็นสมเด็จวัดระฆัง จริงๆ แล้ว ผู้เฒ่าท่านรู้เอาของจริงเก็บไว้ แต่ให้พระแจกในกระถางมา

    ความผิดพลาดครั้งที่ 2 พวกไปหาตามคนข้างวัดเกศไชโย เขาก้อบอกว่า เป็นสมเด็จวัดเกศไชโย จริงๆ แล้ว ผู้เฒ่าท่านรู้เอาของจริงเก็บไว้ แต่ให้พระช่างหลวงมา

    ความผิดพลาดครั้งที่ 3 พวกนี้จะไปหาแถววัง จะได้พระประหลาดไม่เหมือนชาวบ้าน เลยคิดว่าเป็นสมเด็จวัดระฆัง ที่แท้เป็นพระประกวด พระแกะพิมพ์ สร้างเนื้อเล่นกันอยู่ในวัง แล้วพวกทะลึ่งเอาเป็นองค์ครู (ถ้าท่านย้อนคิดสักนิดว่า เคยหาคู่เหมือนองค์ครูเจอกันบ้างหรือเปล่า เพราะพระพิมพ์หนึ่งเขาคงไม่ได้ปั๊มแค่องค์เดียวแน่)

    พระสมเด็จเสร็จครั้งที่ 4 เรื่อง คราบฝ้านวลตอง ของอาจารย์ตรียัมปวาย เขาใช้น้ำมันทาแม่พิมพ์พระ ส่วนแป้งสร้างพระตอนนั้นมันยังผลิตไม่ได้

    พระสมเด็จเสร็จครั้งที่ 5เล่นพระด้วยหู จึงเสร็จไปหนังสือพระมีเป็นแข่งก้อไม่เคยเข้าใจ (เป็นที่เวียนหัวมาก พิมพ์ใช่เนื้อไม่ใช่ เนื้อใช่พิมพ์ไม่ใช่ ตกลงมันดูอย่างไร)

    พระสมเด็จเสร็จครั้งสุดท้าย เพราะความโลภ พระใครใครก้อแท้ เลยแยกไม่ออก เกิดเป็นแท้เป็นกลุ่ม ๆ

    ข้อเท็จจริงที่ผมพบระหว่างการแสวงหา

    ๑) มีการศึกษาพระกรุโดยช่างหลวง ผลที่ได้รับ จะถูกนำมาสร้างพระ เช่น

    - การใส่เม็ดเงินเม็ดทอง และการใช้รักดำ ได้จากพระคงดำลำพูน

    - การที่พระซุ้มกอเป็นรูเข้าไปข้างใน การศึกษาพระเพื่อสร้างแม่พิมพ์ ทำให้พระแตกหัก จึงนำมวลสารมาผสมพระ สมเด็จท่านไม่ได้ไปเปิดกรุ มันเป็นนิทานและยังมีมวลสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนผสมของพระตามกรุต่าง ๆ ที่แตกหักเอามาใส่ด้วย ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของพระช่างหลวงในยุคต้นรัชกาลที่ 5

    ๒) เมื่อเกิดโรคระบาด สมเด็จท่านมาเข้าฝัน ร.5 ให้เอาพระสมเด็จไปทำยารักษา กรุที่ 2 ถูกเปิดออกและนำไปใช้รักษาโรค แล้วนำพระกรุที่ 4 ไปบรรจุแทน+ของเดิมที่ใช้ไม่หมดการสร้างพระกรุที่ 4 วัตถุประสงค์การสร้างคือ สร้างถวาย ร.4 วิธีการบรรจุน่าจะบรรจุไว้ในหีบ เพราะสะดวกในการขนย้าย เหมือนกรุท่านหลวงวิจาร ใช้เวลาไม่นานในการขนย้าย ทำให้ผู้คนสับสนเรื่องกรุที่ 4 นี้มาก จึงเอามาแต่งนิทานเป็นฉาก ๆ

    ๓) การสร้างพระเครื่องที่เราเรียนรู้กันในยุคก่อน โดยมากมักมีสูตรการสร้างเฉพาะตัว พระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ก้อเช่นกัน นั่นคือ มวลยาแก้โรคท้องร่วงนั่นเอง ซึ่งดูได้จาก เนื้อพระวัดเกศ วัดระฆัง วัดระฆังฝากกรุ สมเด็จรุ่นสุดท้าย จะมีเนื้อพระไปในทิศทางเดียวกันโดยมีมวลสารปรากฏเป็นก้อนขาวเท่านั้น และไม่ได้มีปูนหอยดิบอย่างที่หลายคนเข้า แต่เป็นข้าว ซึ่งถ้าให้อธิบายละเอียดไป กลัวว่าจะมีคนปลอมพระถ้าท่านดูไม่เป็น ต้องย้อนกลับไปอ่าน ตอนปาฏิหาริย์พระแท้ ส่วนพระช่างหลวง เสนาอำมาตย์จะสร้างพระจากปูนหินเผา และปรากฏมวลสารที่หลากหลาย ยกเว้น พระสมเด็จรุ่นสุดท้าย เป็นการรวมมวลสารของวัดระฆังกับช่างหลวงเข้าด้วยกันและเพิ่มตังอิ๋วเป็นการสร้างพระแบบพิสดาร โดยหลวงวิจาร อนิจจา..พระสมเด็จขรัวโตบางท่านก้อบอกว่าเนื้อเน่า ก้อท่านสร้างมาอย่างนั้น จะทำอย่างไร ก้อดันทะลึ่งสร้างพระผงบรรจุกรุ แล้วถ้าเป็นตัวท่านจะสร้างกันอย่างไร และในท้ายที่สุดท่านคงเข้าใจแล้วนะครับว่า คนโบราณเขาหาพระสมเด็จ ด้วยการดูเนื้อพระ เขาไม่ได้ดูพิมพ์ เพราะเหตุอันใด

    ๔) สำหรับท่านหลวงวิจาร มีอาชีพเป็นช่างทอง มีฝีมือได้ถูกเจ้านายชั้นสูงเรียกไปรับใช้ซึ่งเขาให้เกียรติ จึงเรียกว่า คุณหลวง มิได้รับราชการดอก แต่สามารถเข้าออกในวังได้ เมื่อมีการประกวดการแกะพิมพ์พระ ประกวดการสร้างเนื้อพระ จึงเข้ามาร่วมการแข่งขัน ซึ่งท่านจะพบว่า หลวงวิจาร ได้เก็บรักษาแม่พิมพ์พระที่ตนเองแกะไว้ หากท่านรับราชการ แม่พิมพ์เหล่านั้นจะตกเป็นของหลวง

    ๕) การสร้างพระบรรจุกรุ เป็นที่นิยมมากในสมัย ร.5 ซึ่งท่านอาจพบได้หลายกรุ และมีการสร้างพระแจกก้อมีเช่นกัน นอกจากนั้น คงมีพระพิมพ์อื่น ๆ ในต่างจังหวัดด้วย คงจะต้องค่อยๆ ศึกษากันไป สำหรับพระบางท่านที่ไม่แน่ใจ ก้อเอาพระท่านไปให้หลวงพ่อท่านเสกก้อแล้วกัน แค่นี้ท่านก้อได้พระแท้แล้ว เพียงแต่อย่าไปขายใคร

    ๖) เมื่อมีการนำพระกรุที่พบไปเล่นกันในวัง นั่นหมายถึงโอกาสที่จะพบของแท้ที่เก็บรักษาโดยประชาชนทั่วไปจะมีน้อยมาก ส่วนมากที่นำมาเล่นคงเป็นพระที่สร้างในสมัย ร.5 หากไปตีของเขาปลอมก้อคงดูกระไร ส่วนพระกรุปลอมมันก้อปลอมมันก้อร้อยกว่าปีเหมือนกัน พึงพิจารณาด้วยเหตุและผล พอให้เล่นสนุกกันไป

    ท้ายสุด เรื่องปิดตำนาน เล่นพระสมเด็จเสร็จทุกรายนี้ แท้จริงแล้วควรจะเป็นหน้าที่ของอาจารย์วิโรจน์ ใบประเสริฐ หรือเซียนเธ้า ท่าพระจันทร์ ผู้พาเล่นพระสมเด็จ งัยกลับเป็นผมไปได้ ซึ่งเป็นแค่คนผ่านทางไว้อาทิตย์หน้าจะเขียนเรื่องพระกรุ เนื้อดิน เนื้อดำ

    พระเครื่องเรื่องเล่านั้นแสนสนุก แต่เช่าแล้วเป็นทุกข์ก้อให้ปล่อยวาง
     
  12. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน พระกรุ เนื้อดิน เนื้อดำ

    ก่อนจะเข้าเรื่อง ขออนุญาตกล่าวถึงคหบดีท่านหนึ่ง ที่ท่านเช่า พระลือโข่ง เป็นเงินหลายสิบล้านจนเป็นที่ฮือฮา จนบางคนคิดว่าแพงเกินเหตุ หารู้ไม่ว่า นั่นคือ โมนาลิซ่าเมืองไทย

    กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า พระกรุ เนื้อดินและเนื้อดำ มีการสร้างหลายครั้งหลายคราว เนื่องจากมีการสร้างที่ยาวนาน โดยผมจะขอกล่าวโดยสังเขป พอให้เข้าใจ เพราะผู้สะสมพระเครื่องส่วนใหญ่มักไม่ได้ศึกษา เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา หลักการพิจารณา ตามแบบนักโบราณคดี

    หากจะกล่าวถึง พระกรุนั้น ผู้สร้างได้สร้างตามความเชื่อ โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในนิกายมหายาน ซึ่งหากท่านศึกษาให้ลึกลงไป ผู้สร้างจะเป็นพระสงฆ์ในนิกายมหายาน แต่การเล่าขานมักปรุงแต่งเรื่องเป็นนิทานหรือตำนาน เพื่อให้คนรุ่นต่อไป ได้จดจำง่ายและเล่าสืบต่อๆกันไป

    พระกรุนั้น ประกอบด้วย

    ๑) พระพิมพ์ ซึ่งสร้างในราว พุทธศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันมีผู้คนไม่เข้าใจ นำมาตัดแบ่งกัน อันเป็นการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ช่างน่าเสียดายนัก สำหรับการศึกษาพระพิมพ์นั้นบางส่วน ได้ถูกศึกษาโดย ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ไปบ้างแล้ว

    ๒) ส่วนพระเครื่องนั้นสร้างอยู่ในราวปลาย พุทธศตวรรษที่ 17 อันที่จริงพระกรุนั้นดูไม่ยาก เพียงแต่ผู้คนส่วนมากจะขาดความเข้าใจ โดยผมจะแบ่งออกเป็น ๓ ยุค คราว ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

    ๒.๑) พระเครื่องยุคแรก เรียกว่าเป็นพระต้นพิมพ์ คนโบราณท่านสร้างแม่พิมพ์จากดินละเอียดกรองโดยนำเผามาทำแม่พิมพ์ ส่วนวิธีการแกะพิมพ์นั้น มีการใช้เข็มแกะพิมพ์คล้ายงานจิตรกรฝาผนัง ซึ่งจะปรากฏความละเอียดสูง เกิดพุทธศิลป์ละเอียดอ่อน มีความพลิ้วไหว บางแม่พิมพ์อาจจะปรากฏให้ท่านเห็น กระทั่ง เส้นใบ ด้วยความละเอียดอ่อนของศิลปะการแกะแม่พิมพ์ ทำให้การสร้างพระเครื่องนั้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้ดินกรองเช่นกัน เพื่อให้เกิดความคมชัดของศิลปะผลงานปรากฏ จึงเป็นศิลปะที่น่าพิศวง โดยพระเครื่องในยุคนี้จะเป็นพระเครื่องที่กล่าวถึง ตำนานเมือง การสร้างเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะให้ผู้พบเห็น ได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของเมืองนั้น ซึ่งมักจะปรากฏอยู่แทบทุกเมืองที่เก่าแก่ ที่มีอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ 17 -18 โดยสร้างเป็นพระดินเผาและพระยุคนี้เราท่านจะดูเป็นรูปประหลาด ๆ ซึ่งไม่เหมือนพระเครื่องที่นิยมอยู่ในปัจจุบันทั่วไป ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีการบรรจุกรุพระเครื่องนิยมใส่ไว้ในส่วนของยอดเจดีย์ เมื่อยอดเจดีย์หักชำรุดพระเครื่องเหล่านั้นจะตกกระจายสู่พื้นดิน องค์พระก้อจะปนอยู่กับดินเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการบูรณะเจดีย์ พระเครื่องยุคนี้จะพบคราบกรุที่ฝังแน่นมาก

    ๒.๒) พระเครื่องยุคที่สองเรียกว่าดัดแปลงแก้ไข จะเป็นพระที่สร้างตามโครงพิมพ์เดิม โดยช่างจะนำพระเนื้อดำยุคที่แรกที่มีคราบกรุน้อยมาถอดพิมพ์ แล้วนำมาแก้ไขในส่วนของตัวพระโดยคงโครงสร้างพิมพ์เดิมไว้บางส่วน เพื่อเป็นการเคารพแก่ผู้สร้างพิมพ์เดิม ซึ่งพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ จะบอกให้เราทราบจากโครงพิมพ์ที่ไม่สมบูรณ์ว่าไม่ใช่พระต้นพิมพ์ พระรุ่นนี้จะนิยมใส่ไว้ในฐานเจดีย์ พบคราบกรุที่ฝังแน่นพอประมาณส่วนพระเนื้อดำยุคแรก เมื่อนำมาถอดพิมพ์แล้ว ก้อจะถูกทำให้เสียหาย เพื่อไม่ให้นำไปใช้สร้างพิมพ์ซ้ำในโอกาสต่อไป และพระยุคนี้ยังมีการสร้างพระเนื้อดำไปด้วย ไว้ให้ผู้สร้างในยุคต่อไปไว้ใช้ในการถอดพิมพ์

    ๒.๓) พระยุคที่สาม เรียกว่ายุคลอกเลียนแบบ จะเป็นพระที่คัดลอก พระเนื้อดำในยุคที่สอง โครงพิมพ์จะดูคล้ายๆกัน เพียงแต่ตำหนิในโครงพิมพ์บางส่วนหายไปและคราบกรุในปัจจุบันจะไม่ค่อยปรากฏและท่านจะพบว่าพระเนื้อดำในยุคนี้ท่ี่ค่อนข้างสมบูรณ์

    สำหรับ การสร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุกรุ จะประกอบด้วยพระดินเผาที่มีจำนวนมากกว่าพระเนื้อดำที่สร้างจากรักดำที่ไม่ได้ผ่านการเผาซึ่งจะสร้างเพียงน้อยองค์ โดยผู้สร้างมีความประสงค์ให้พระเนื้อดำนั้น เป็นพระต้นพิมพ์ในการสร้างครั้งต่อไป จากการศึกษาพบว่าพระเนื้อดำในยุคต้น ๆ มีการใส่เม็ดเงินเม็ดทองในองค์พระ เหตุผลที่มีการสร้างพระเนื้อดำนั้น เนื่องจากการบรรจุเป็นพระกรุเมื่อกาลเวลาผ่านไป ย่อมจะมีคราบกรุติดแน่นสำหรับพระเนื้อดิน หากนำเอาคราบกรุออก พระเครื่ององค์นั้นก้อจะเกิดความเสียหายทางด้านความสมบูรณ์ของศิลปะ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างพระเนื้อดำไปควบคู่ด้วย โดยความมันซึ่งเกิดจากรักดำนั้นจะทำให้คราบกรุยึดติดได้น้อยกว่า และสามารถนำมาถอดพิมพ์ได้ง่าย

    กรณีศึกษาพระรอดลำพูน ซึ่งผมใช้เวลาตามหาอยู่นานเหมือนกัน จึงได้พบเจอ

    พระรอดลำพูน ยุคที่ 1 นั้น เราสามารถจะเข้าใจได้ว่าเขาแกะอะไร เช่น ใบโพธิ์คมขวานของบรรดาเซียนพูดถึงนั้น เขาแกะเป็นพัดโบก มีข้อต่อ และด้าม พอมาถึงยุคที่ 2 ผมพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนตัวพระ ส่วนพัดโบก ข้อต่อ และด้ามยังคงติดอยู่ แต่โครงพิมพ์บางส่วนเริ่มเลอะ ดูไม่ออกว่า เขาแกะอะไร พอมาถึงยุคที่ 3 พระของพวกเซียน ตัวพัดโบก กลายเป็นโพธิ์คมขวานไปเสียแล้ว หวังว่าท่านจะเข้าใจนะครับ และเหตุผลสำคัญที่นำมาแสดงในกระทู้นี้ ก้อด้วยมีคนอวดรู้ ไปกล่าวหาว่าเขาลอกเลียนศิลปะเมืองพุกาม ช่างน่าสังเวชใจ... จึงต้องนำมาแสดง

    ส่วนองค์เจ้าเงาะ ที่ราคาสูงลิ่วนั้น ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าเป็นศิลปะยุคที่ 2 ยังไม่ใช่พระตำนานเมือง ที่สร้างความพิศวงแห่งศิลปะแก่เจ้าของ ท่านลองไปค้นหาดูนะครับ

    สำหรับท่านที่นิยมสร้างพระเก๊เลียนแบบ ผมว่าทุกวันนี้มันก้อมีมากมายอยู่แล้ว น่าจะพอเสียที ควรหันไปศึกษาศิลปะการแกะพิมพ์ แล้วสร้างศิลปะขึ้นมาใหม่ คงจะได้เงินโขอยู่ เพราะ ศิลปะที่มันพลิ้วไหว มันค่อนหายาก หากแกะได้ถูกใจ บ้างทีก้อคุยกันไม่รู้เรื่องไปเลยแถมยังไม่บาปด้วยนะครับ

    สุดท้าย ผมก้อหวังว่า คนยุคใหม่จะเข้าถึงศิลปะของพระยุคแรกอันเป็นพระตำนานเมือง ซึ่งบางทีอาจจะไม่นิยมไม่มีราคาเพราะคนไม่รู้จัก ก้ออย่าไปทิ้งขวาง ควรเก็บไปบูชาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง อีกทั้งยังช่วยการอนุรักษ์พระเครื่องเพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป เพราะว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ส่วนตัวผมเองคงตามเก็บพระเครื่องเหล่านั้นไม่ไหว เนื่องจากต้องใช้เวลาตามหา ก้อเลยต้องหาคนช่วย จึงได้นำมาสอนท่าน ทั้งนี้พึงระลึกไว้เสมอว่า การสะสมพระเครื่องมีด้วยกัน 2 อย่าง อย่างแรกเป็นการสะสมพุทธคุณ และอีกแบบหนึ่งเรียกว่าสะสมวัตถุโบราณ ซึ่งผู้สะสมจะต้องพิจารณาเอาเองว่าจะสะสมแบบไหน

    ในท้ายที่สุด ก้อคงจบลงด้วยความภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของพระแท้ ซึ่งไม่ใช่นิทาน
     
  13. Sarapai

    Sarapai Pui

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +2
    AE6FF467-C8A3-44FD-9152-ACF36476BF1F.jpeg B3E08A6B-1070-41E7-8A0F-908A6F15868F.jpeg
    พี่ครับ อย่างนี้พี่พอจะรู้ไหมครับ
     
  14. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    การสร้างพระสมเด็จนั้น เป็นค่านิยมมาตั้งแต่ ร.5 มีผู้สร้างมากมาย ยิ่งผู้สร้างไม่เป็นที่รู้จัก ค่อนข้างแยกยากมาก สำหรับองค์นี้ น่าจะเป็นพระเกจิสร้าง โดยการถอดพิมพ์พระสมเด็จที่มี หรือแกะโดยชาวบ้าน ส่วนการจะตามหาผู้สร้างนั้น ค่อนข้างยากสักหน่อยนะครับ อนึ่งพระผงมักมีกลิ่นเสมอ หากสร้างมานานอาจไม่ได้กลิ่น ให้ลองแช่น้ำดูสักครู่ แล้วดมดู อากาศร้อนแบบนี้มักจะได้กลิ่น หากเป็นพระสายวัดสร้าง คงจะเข้าใจนะ
     
  15. Sarapai

    Sarapai Pui

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +2
    พี่ครับ ผมตอบจากใจจริงผมไม่กล้าแช่น้ำครับ แต่แกะมาดมกลิ่นได้ครับ ถ้าผมสนใจตอนที่คุณพ่ออยู่ คงจะถามแกได้แล้ว แต่พอท่านเสียผมเลยมืดแปดด้านเลยครับ
     
  16. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน มายานิทาน

    หากจะกล่าวถึงวิชาการสร้างเครื่องรางของขลังนั้น มีมาช้านานเคียงคู่กับสังคมไทย เพียงแต่เกจิท่านไม่ได้นิยมสร้างพระเครื่อง เพราะการพระเครื่องนั้น มักจะสร้างไว้เพื่อบรรจุกรุ ส่วนวิชาการสร้างที่ท่านเรียนรู้ก้อเป็นประเภทการสร้างเครื่องรางของขลังซะมากกว่า เป็นต้นว่า ตะกรุด ผ้าประเจียดผ้ายันต์ เคียงคู่กับการสักเลขยันต์พระคาถาดังนั้นพระเครื่องจึงเป็นของแปลกใหม่สำหรับเกจิผู้สร้าง เมื่อเกิดกระแสค่านิยมพระเครื่องเกิดขึ้น หลวงพ่อท่านใดอยากได้ตังค์ ต้องสร้างพระเครื่องไปทดลองกันในวัง(ชุมนุมพระเครื่อง)

    เริ่มแรกเดิมที มีหลวงพ่อเงิน ท่านอยากได้เงินมาสร้างวัด การสร้างพระเครื่องในช่วงแรก ต้องไปใช้บริการที่หมู่บ้านช่างหล่อ ที่นั่นเป็นชุมชนเชื้อสายจีน และเป็นแหล่งรวมช่างในสมัยนั้นวัสดุที่ใช้สร้างพระเครื่องที่จะพอหาได้ คงเป็นทองแดง เงิน ทองคำ ล้วนแต่เป็นเงินหลวง ส่วนที่จะพอให้งดงามและราคาถูก หาได้เพียงทองเหลืองประแจจีนที่เอามาสร้างระฆังกับบาตรพระ อาศัยท่านรู้จักกับคนในวังจึงลองสร้างให้ไปทดลอง ก้อด้วยบ้านเรามันไม่ใช่เมืองที่เจริญทางเทคโนโลยี การถลุงเหมืองแร่มันก้อยังไม่ค่อยจะมี และกิจการส่วนใหญ่ก้อยังเป็นของหลวงผูกขาด โลหะหลายอย่างจะต้องนำเข้า ดังนั้นการสร้างพระเครื่องจึงมีต้นทุนสูง และเทคนิคการสร้างก้อยังคงล้าหลัง ผลรับที่ได้จึงสร้างไว้แต่น้อยไม่เกินร้อยเท่านั้น ทำให้พระเครื่องต้องมีราคาสูง ตลอดจนเกจิผู้สร้างจะต้องการันตีพุทธคุณเอง ท่านถึงจะได้เงินจำนวนมาก หลังจากพุทธคุณพระเกจิเริ่มดังลือสนั่น ถึงกับมีคนสนใจเช่า โดยไม่สนใจกับราคาพระเครื่องซึ่งแพงสูงลิ่ว และกล่าวกันว่ามีผู้คนไปนั่งเฝ้านอนเฝ้ากลัวไม่ได้พระ ก้อด้วยบ้านเมืองยังไม่เจริญ ทุกชีวิตย่อมมีอันตราย หากมีของดีเอาไว้คู่กาย ถึงมันจะแพงบรรลัย หากมีชีวิตไว้ ก้อพอจะหาเงินได้ พระเครื่องเกจิในยุคแรกๆ นั้นกลับกลายเป็นของที่นิยมขึ้นในคนเชื้อสายจีน แต่สำหรับคนไทยทั่วไปก้อยังคงนิยมในเครื่องรางของขลังเช่นเดิม ต่อมาพระเครื่องเริ่มฟูเฟื่องเลื่องลือ ด้วยมีคอลัมนิสหนังสือพิมพ์ พวกเหลือบไรเห็นช่องทางหากินกับบวรพระศาสนา หลวงพ่อไหนดัง จึงพากันสร้างยัดสร้างย้อนสร้างเกิน ด้วยเทคนิคการสร้างใหม่ แล้วแต่งนิทานลวงล่อผู้นิยม ในยามที่บ้านเมืองยังไม่เจริญ ด้วยมีคอลัมนิสและหนังสือพระเป็นแขนขา ให้พึงระวังนิทานมายาในตำรา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในทะเลอันกว้างใหญ่ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้เป็นครู จึงพอจะพ้นภัยมายานิทาน...
     
  17. Sarapai

    Sarapai Pui

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +2
    มีประโยชน์มากครับ ผมชอบพี่ครับ ขอให้บุญกุศลที่พี่ให้ความรู้ ส่งผลให้พี่เจริญรุ่งเรืองครับ
     
  18. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอบคุณครับ ผมก้อหวังว่าท่านจะได้เป็นเจ้าของพระในฝันเช่นกันครับ ว่างก้อเข้ามาอ่านนะครับ ยินดีต้อนรับ สำหรับกระทู้นี้เสมอ
     
  19. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน การพิจารณาพระหล่อ

    สำหรับการหล่อโลหะนั้น มนุษย์เราได้เรียนรู้การหล่อโลหะมาตั้งหลายพันปีแล้ว ในส่วนของการนำมาสร้างพระพุทธรูปนั้น กำเนิดเกิดขึ้นอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ 5 โดยมีชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้น กลับมาที่เมืองไทยดีกว่า การหล่อพระตั้งแต่ครั้งโบราณ มีวิธีการสร้าง อยู่ ๒ แบบ คือ

    ๑) การหล่อแบบทุบเบ้า คือ การสร้างหรือหล่อหุ่นเทียนไขขึ้นทีละองค์ แล้วนำไปพอกด้วยดิน ระหว่างการพอกแต่งหุ่นเทียน มีการกดหนักบ้างเบาบ้าง ทำให้หุ่นเทียนเป็นรอยเส้น ส่วนวิธีการหล่อมักมีการเทโลหะทีละองค์หรือสร้างเป็นร่องราง เพื่อใช้ในการเทวัสดุที่เทลงไปจะไปแทนที่เทียนไข ผลงานที่ปรากฏ มักจะได้พระที่ไม่ค่อยสวย เกิดริ้วรอยมากมาย ส่วนใหญ่จะเกิดเป็นเส้นมุ้งและองค์พระมักไม่ค่อยสมบูรณ์มีรูขุมอากาศปะปน อีกทั้งอาจมีเนื้อเกินมาก หากต้องการให้ผลงานออกมาดี ช่างจะต้องทำการแต่งตะไบทั้งองค์ จึงจะพบเห็นเค้าความงาม แต่ก้อเป็นเรื่องยุ่งยากกับพระขนาดเล็ก โดยมากช่างจะปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น เพียงแต่ช่างจะใช้ตะไบลบในส่วนที่คม พระเครื่องแบบนี้ส่วนใหญ่ที่พบ จึงเป็นพระที่ไม่ค่อยสวยอาจเรียกได้ว่าเป็นพระที่ค่อนข้างจะเบลอ และเกิดคลื่นขึ้นตามผิวพระ หากมีการใช้ทองคำผสม ทองคำจะมีมากในส่วนของเศียรพระ เนื่องจากทองคำมีน้ำหนักมากกว่าทองเหลือง อนึ่งการสร้างโดยวิธีนี้จะทำให้สิ้นเปลืองวัสดุมาก จึงไม่นิยมใช้ในสร้างพระจำนวนมาก

    ๒) การหล่อประกบ คือ การหล่อวัสดุในแบบพิมพ์ทีละส่วน หลังจากนั้นช่างจะคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ นำมาแต่งตะไบให้เรียบเสมอในส่วนประกบ แล้วจึงนำมาประกบกัน เชื่อมต่อด้วยความร้อนให้หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน พระที่สร้างด้วยวิธีการนี้โดยมากจะพบรอยประกบ องค์พระจะค่อนข้างดูดีกว่าวิธีการสร้างแบบหล่อทุบเบ้า เรียกว่าพอให้ว่ามีเส้นมีสายรายละเอียด เส้นสายที่ได้โดยมากจะมีลักษณะโค้งมน ซึ่งวิธีการนี้ยังช่วยลดความสิ้นเปลืองวัสดุได้ดีกว่า โดยช่างจะแต่งตะไบไม่มาก พบมากในพระปิดตา รองลงมาจะเป็นพระกริ่ง


    การขึ้นรูปโลหะหล่อยุคใหม่ เกิดขึ้นอยู่ในราวปี พ.ศ.2480 กว่า มีวิธีสร้างอยู่ 2 วิธี

    ๑) การปั๊มโลหะ มีวิวัฒนาการมาจากการสร้างเหรียญ ผลงานที่ปรากฏ พระเครื่องจะเกิดเหลี่ยมมุมแลความคมชัดสูง เท่าที่เห็น พบหลวงพ่อเดิม (เหมือนท่านจะรู้ทันนะครับ) ท่านได้จารยันไว้แล้ว ท่านคงไม่ให้ใครสร้างเทียม เดี๋ยวจะเสียชื่อเสียงท่าน

    ๒) การหล่อแบบฉีด เป็นการสร้างโดยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนและวัสดุ ทำให้ฟองอากาศใหญ่ ๆ มักจะไม่มี ผลงานที่ปรากฏ ผิวพระจะตึงสม่ำเสมอ พระเครื่องที่สร้างแบบนี้มักพบเห็นได้ทั่วไป โดยมากจะไม่มีเหลี่ยมคม และสามารถสร้างได้ในปริมาณมาก ๆ เป็นที่นิยมในการสร้างพระเก๊พระปลอม(ย้อนและยัด) ที่มากสุดคงเป็น หลวงพ่อเงิน รองลงมาเป็นหลวงพ่อเดิม
     
  20. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ศึกษาโลหะทองเหลือง

    อันมายานิทาน.... แท้จริงแล้วย่อมฝืนธรรมชาติที่บ่งชี้อายุวัสดุไม่ได้ ลองพิจารณาศึกษาแล้วจะเข้าใจ คราบเบ้าจากการเทหล่อเป็นอย่างไร วัสดุที่ใช้เป็นอย่างไร สนิมเกิดอย่างไร ก้อมิอาจหลอกลวงผู้ศึกษาพระไม่ได้ ฉันใดก้อฉันนั้น อันนิทานก้อคงเอวัง

    องค์นี้พระปิดตาของอาจารย์ท่านใด ผมก้อไม่ทราบ แต่ดูเก่าดี เป็นพระหล่อประกบ ใช้ทองเหลืองยุคใหม่
    ภาพนิ่ง1.JPG ภาพนิ่ง2.JPG ภาพนิ่ง3.JPG ภาพนิ่ง4.JPG ท่านจะเห็นรอยประกบด้านข้าง
    ภาพนิ่ง5.JPG
    อันนี้เป็นทองเหลืองยุคเก่า เรียกว่า ทองประแจจีน สำหรับองค์นี้เรียกว่า กริ่งสังกัจจาย์หลวงพ่อเงิน ถูกบันทึกว่าเป็นรุ่นแรกที่ท่านสร้างไว้(บันทึกวัด)
    ภาพนิ่ง6.JPG ภาพนิ่ง7.JPG
    ตรงนี้พบรอยประกบ พร้อมคราบเบ้าจากการหล่อ
    ภาพนิ่ง8.JPG ภาพนิ่ง9.JPG
    3 ภาพหลังนี้ใช้แสงอาทิตย์ช่วย ท่านจะได้เห็น เกร็ดกระดี่ เป็นอย่างไร มีการตอกโค๊คเป็นเลข ๑ ศึกษากันไปจะได้ไม่หลงทาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...