สังโยชน์ ๑๐ ไฟล์ที่ ๕

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย jj123, 27 มิถุนายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. jj123

    jj123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +110
    ตรงที่เป็นตัวเข้ม ฟังไม่ถนัดคะ ไม่แน่ใจว่าพูดว่าอะไร

    ที่นี้ก็ขอให้ทุกคนนะ นั่งตัวตรงนะ การนั่งตัวตรงของเรา ไม่ได้หมายความว่าไปเกร็งร่างกาย เพียงแต่ว่ายืดตัวขึ้นให้ตรงพอดี ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เสีย หลับตาเบา ๆ นึกย้อนเข้าไปในศรีษะของเรา เหมือนกับเราเลือบตาขึ้นมองกะโหลกศรีษะข้างใน แล้วมองย้อนลงไปถึงจุดศูนย์กลางร่ายกายเรา กำหนดใจให้นิ่ง ๆ ไว้ตรงนั้น พร้อมกับลมหายใจเข้า
    ลมหายใจออก แม้ว่าจะหายใจเข้าอยู่ จะหายใจออกอยู่ ให้กำหนดความรู้สึกไว้นิดเดียวที่ลมหายใจเท่านั้น ความรู้สึกส่วนใหญ่ทั้งหมดให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายของเรา ศูนย์กลางกายของเราเป็นจุดที่ร่างกายจะสามารถเข้าถึงความสงบได้ดีที่สุด มีพลังที่จะต่อสู้กับกิเลสได้มากที่สุด วันนี้เรามาดูว่าเราทำจิตให้นิ่งอย่างนี้อยู่ได้นานเท่าไหร่ ศูนย์กลางกายคือที่สุดของลมหายใจเข้าออกของเรา กำหนดความรู้สึกไม่ต้องปักแน่นมาก เอาแค่ให้แน่วแน่อยู่ภายใน ไม่ต้องใส่ใจกับภายนอก กำหนดความรู้ซักส่วนหนึ่ง รู้สึกอยู่กับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนาไปสุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย หายใจออกพร้อมกับคำภาวนาออกมาสุดที่ปลายจมูก แต่ว่ากำลังใจส่วนใหญ่ให้ปักนิ่งอยู่กับร่ายกายตัวเอง การที่เราส่งใจออกข้างนอก
    มันเป็นสาเหตุของความทุกข์ทั้งหมด เพราะว่าเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เรามักจะกั้นมันไว้ไม่ทั้น สติ สมาธิของเรา ปัญญาของเราไม่ทันกับมัน มันก็จะวิ่งเข้ามาอยู่ในใจของเรา ทำให้เกิดความทุกข์แก่เราได้
    วันนี้เรามากำหนดใจให้อยู่ภายในจริง ๆ อย่าส่งออกนอก นอกจากความรู้ส่วนหนึ่งที่แบ่งให้กับลมหายใจเข้าออกแล้ว
    ความรู้สึกส่วนใหญ่ให้อยู่ข้างในทั้งหมด การปฏิบัติของเราทุกครั้งให้หวังผลสูงสุดคือพระนิพพาน เมื่อเริ่มปฏิบัติให้ทุกคนตั้งใจว่า ขณะนี้ ศีลของเราทุกสิขาบทบริสุทธิ์ ครบถ้วน นะ การปฏิบัติของเรานี้ก็เพื่อถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา
    สังคบูชา ถ้ามันตายลงไปตอนนี้เราปราถนาที่เดียวคือพระนิพพาน ให้ตัดสิ้นใจไว้เช่นนี้เสมอ ให้คิดอยู่เสมอเช่นนี้ว่าเราจะต้องตาย ความตายมาถึงเราได้ทุกเวลา ความตายอยู่แค่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอีกก็ตาย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอีกก็ตาย ลมหายใจของเราเป็นที่ร่วมของชีวิต เป็นที่รวมของความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เปลี่ยนแปลงดังนี้อยู่ทุกวัน ทุกวัน ทุกเวลาทุกนาที ทุกลมหายใจเข้าออกมีแต่ความไม่เที่ยงเป็นปกติ การที่ต้องหายใจเข้า ต้องหายใจออก คือการทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่ากำหนดความรู้สึกตามลงไปก็จะเห็นว่าลมหายใจของเราประกอบไป ด้วยความทุกข์เป็นปกติ ทุกข์ของการที่ต้องหายใจเข้า ทุกข์ของการที่ต้องหายใจออก ถ้าไม่ทำหน้าที่ดังนี้มันก็ตาย จึงต้องตะเกียจตะกายหายใจกันต่อไปอยู่ท่ามกลางความทุกข์อยู่อย่างนี้ มันไม่มีอะไรทรงตัว ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้
    ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นเพียงธาตุลม ที่เป็นสมบัติของโลกเท่านั้น ถึงวาระถึงเวลา
    ที่หมดลมหายใจเข้า หมดลมหายใจออก ร่างกายนี้ก็เสื่อมสลายกลายธรรมไป ลมก็กลับคืนไปสู่ธาตุลม ดังนั้นทุกลมหายใจของเรานี้ อยู่กับความไม่เที่ยง อยู่กับความเป็นทุกข์ อยู่กับความไม่มีตัวตน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา อยู่กับความตายตลอดเวลา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวว่า พระองค์ท่านระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกคือระลึกดังนี้ รู้อยู่ว่าหายใจเข้า ถ้าไม่หายใจออกมันก็ตาย รู้อยู่ว่าหายใจออก ถ้าไม่หายใจเข้ามันก็ตาย ความตายอยู่กับเราตลอดเวลา อยู่กับความตายแบบนี้อีก ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นตายพ้นเกิดได้มีแต่แดนพระนิพพานเท่านั้น การที่เราจะไปพระนิพพานได้ จะต้องสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง เพื่อจะสลัดตัวเองให้หลุดจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวง สิ่งร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฎสงสาร เรียกว่าสังโยค
    มันมีอยู่ 10 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ สักกายะทิฏฐิ
    คือความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา อันนี้แก้ด้วยการพิจารณา ในกายคตานุสสติกรรมฐาน ในจตุธาตุววัฏฐาน
    คือพยายามให้เห็นว่าร่ายกายนี้ไม่ใช่แท่งทึก ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอกภายในที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งเสื่อมสลายไปก็เจ็บป่วย พังก็ถึงแก่ความตาย หรือว่าแยกมันออกเป็น ดิน เป็นน้ำเป็นลม เป็นไฟ ให้เห็นจริง ๆ ว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของเรา กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก กระจายออกแล้วรวมเข้า สลับไปสลับมาดังนี้ จนกระทั้งเห็นจริง ๆ ว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นเครื่องอาศัยที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เท่านั้น

    ข้อที่ 2 คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ทุ่มเทจิตใจ ให้ความเคารพทั้งกายวาจาใจ
    ทั้งต่อหน้าและลับหลัง พวกเราทั้งหมดมีตัว วิจิกิจฉานี้น้อยแล้ว ถ้าเราไม่เคารพในพระพทุธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ไม่มาปฏิบัติใน ทาน ศีล ภาวนาดังนี้ การที่เราเป็นผู้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติใน ทาน ในศลี ในภาวนา แปลว่าตัว วิจิกิจฉาในตัวของเรามีน้อยเหลือเกิน แทบไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้

    ข้อที่ 3 คือ สีลัพพตปรามาส หมายถึงความไม่รักษาศีล อย่างจริงจัง จากภาษาบาลีแปลว่าลูบคล่ำในศีล คือแค่จับ ๆ คล่ำ ๆ เท่านั้น ยังไม่เอาจริง เราต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ อย่าทำให้ศีลขาด ศีลพร่องด้วยตัวเราเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ อย่ายินดีเมื่อเห็นคนอื่นเขาทำ

    ข้อที่ 4 คือ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อันนี้จะต้องแก้ด้วยกายคตานุสสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน มรณานุสติ ให้รู้อยู่เสมอว่าเราจะตาย ตัวเราก็ตาย ตัวเขาก็ตาย สภาพร่างกายที่แท้จริงเต็มไปด้วยความสกปรก มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในภายนอก มีแต่เหงื่อไคล น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็น มีชีวิตอยู่ก็ต้องชำระสะสางมันอยู่ทุกวัน สภาพของเราก็ดี ของเขาก็ดีเป็นอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาตายก็เน่า ก็เปื่อย ก็โทรมไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ได้ ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ น่าชอบใจ น่ายินดี พยายามมองให้เห็นดังนี้

    ข้อต่อไปคือ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นคนอี่นเขา ผูกเอาไว้ในใจ ไม่ยอมละไม่ยอมวาง ให้รู้อยู่เสมอว่าตัวเรานี้อยู่ในกองทุกข์ ตัวบุคคลอื่นก็อยู่ในกองทุกข์ เราเองจะโกรธเกลียดเขาหรือเปล่า เขาก็ทุกข์อยู่แล้ว เขาเองจะรู้ว่าเราโกรธเราเกลียดหรือเปล่า เขาก็ทุกข์อยู่แล้ว ต่างคนต่างเป็นเพื่อนรวมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าเขาทำให้เราไม่พอใจ
    เรื่องที่เขาทำนั้น เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูก็ดี ให้พิจารณาดูว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้ามันถูกต้อง เขาคือกระจกที่ส่องให้เราเห็นหน้าตัวเอง ว่าเรานั้นน่าเกลียดน่าชังเพียงไร เราก็ไม่ควรจะไปโกรธไปเกลียดเขา เพราะว่าเขาเป็นครู เป็นผู้ที่ทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา แต่ถ้าสิ่งที่เขาทำให้เราเห็น พูดให้เราได้ยินไม่ใช่ความเป็นจริง ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องไปโกรธเขา บุคคลคนที่โง่เขลาเบาปัญญาขนาดที่ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น เราจะโกรธจะเคืองเขาไปให้เสียเวลาทำไม โกรธเขาไปเราก็ลงนรก ไม่อาจจะหลุดพ้นได้ ก็ให้อภัยเขา พยายามใช้ตัว เมตตาพรหมวิหาร เห็นเข้าเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน รักสุข เกลียดทุกข์ เขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นทุกข์เป็นโทษ ทั้งกับตัวเองและคนอื่นขนาดไหน เขา ถึงได้ทำไป ในเมื่อเขาไม่รู้เราก็ควรจะให้อภัยเขา มองให้เห็นว่าธรรมดาว่าของคนที่ไม่รู้ เขามีการกระทำ ดังนั้น ดังนั้น

    ต่อไปข้อที่ 6 คือ รูปราคะ หมายความว่า ความยินดีในรูปทั้งปวง
    ข้อที่ 7 คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูปทั้งปวง ทั้งสองข้อนี้หมายเอาสิ่งที่เราเห็น และเราไม่เห็นเป็นส่วนของนามธรรม ที่ละเอียดที่สุดก็คือ การทรงฌานหรือ การทรงอรูปฌาน ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้จิตของเรา สงบ เยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหวใน โลภ โกรธ หลง ตลอดเวลาที่เราทรงได้ จะทำให้เราไปยินดี ไปพอใจ ไปยึดไปเกาะในมัน จึงกลายเป็นเครื่องร้อยรัดเรา ให้ติดอยู่กับโลกนี้ตลอดไป วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ใช้กำลังของฌานหรือว่าอรูปฌานที่เราทำได้นั้น ส่งไปเกาะพระนิพพานแทนจับภาพพระแทน ตั้งใจว่านี้คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทรเจ้า พระองค์ท่านไม่อยู่ที่ไหนนอกจากพระนิพพาน เอากำลังสมาธิ สมาบัตินั้นเกาะท่าน เราอยู่กับท่านอยู่คือบนพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้เป็นการใช้กำลังของฌาณและอรูปฌานในทางที่ถูก
    ไม่ถือว่าเป็นเครื่องร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฎฎะ

    ข้อที่ 8 คือ ตัว มานะ ถือตัว ถือตน มีทั้งการถือตัวถือตน ด้วยความยิ่งทะนง คือเห็นว่าเราดีกว่าเขา เราเหนือกว่าเขา มีทั้งการเห็นการถือตัวถือตนในลักษณะที่น้อยเนื้อต่ำใจ ถือว่าเราต่ำต้อยกว่าเขาเรา สู้เขาไม่ได้ อันนี้เป็นการยึดถือในมานะทั้งปวงเช่นกัน ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ไม่ว่าตัวตนคน สัตว์ เราหรือเขาก็ตาม ดังนั้นให้ทุกคนเอาใจจดจ่อกับภาพองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การงานอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นเช่นนี้
    ดังนั้นไม่ว่าจะคน จะสัตว์ ไม่ว่าจะผู้หญิง จะผู้ชาย จะข้าวของเครื่องใช้ ทุกอย่างมีความเสมอกัน คือสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุสี่ ให้เป็นรูปเป็นร่างก็ดี ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยก็ดี ให้เป็นที่อาศัยก็ดี ล้วนแล้วแต่ชั่วครั้ง ชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีใครดีกว่า ไม่มีใคร เสมอกัน ไม่มีใครเลวกว่า ทุกคนทุกอย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามกรรมที่ตนสร้างมา มองให้เห็นตรงจุดนี้จะได้ไม่ไปมานะถือตัวถือตน

    ข้อที่ 9 คือ อุทัตจะ ความฟุ่งซาน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง คิดพล่านไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ให้จับ ลมหายใจเข้าออก ให้เป็นฌานสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ่งซานนี้ได้

    ตัวสุดท้าย สังโยคข้อสุดท้าย คือ อวิชชา อวิชชา คือความรู้ไม่ครบรู้ไม่หมด หรือที่บางท่านแปลว่าไม่รู้นั้น ประกอบขึ้นมาจาก 2 สิ่ง คือฉันทะ รู้สึกพอใจในมันจึงเกิดราคะ คือยินดี อยากมี อยากได้ ตัวนี้ต้องระวังให้จงหนัก เผลอเมื่อไร มันเกาะใจเมื่อนั้น ต้องสร้างสติ สมาธิ ปัญญา ให้สมบรูณ์จริง ๆ ตาเห็นรูปสักให้ แต่ว่าเห็นอย่าไปยินดีกับมัน ยินดีเป็นราคะ ไม่ยินดีนั้นเป็นโทสะ
    พยายามวางกำลังใจให้นิ่ง วางกำลังใจให้ทรงตัวเป็นอุเบกขา สักว่าเห็นรูป ให้หยุดอยู่แค่ตรงนั้น อย่าไปพิจารณาว่าเป็นหญิงเป็นชาย อย่าไปพิจารณาว่าสวย หรือไม่สวย หล่อหรือไม่หล่อ อย่าไปฟุ่งซานคิดต่อว่าถ้าเป็น สามี ภรรยาเรา แล้วจะเป็นอย่างไร หูได้ยินเสียงให้สักแต่ว่าได้ยินอยู่ตรงนั้น อย่าไปยินดีกับมันอย่าไปพอใจกับมัน ถ้ายินดีเมื่อไร พอใจเมื่อไร มันก็จะเกิดความอยากมีอยากได้เมื่อนั้น จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด ล้วนแล้วแต่อยู่ลักษณะเดียวกัน ต้องรู้เท่าทัน ต้องหยุดมันให้ได้ ถ้าสามารถทำดังนี้ได้ ทันทีที่ตาเห็นรูป ปัญญาจะบอกว่า ถ้าเราคิดมันจะออกไปในแง่ไหน ในเมื่อเห็นทุกข์เห็น
    โทษของการคิด คือจะพาให้เราติดในวัฎฎะ เวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จบ ต้องเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นมาร เป็นพรหม วนเวียนไม่มีที่สุดดังนี้ เมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษดังนี้ก็จะหยุดมันเอาไว้แค่นั้น
    สามารถที่จะระงับมันไว้ได้ ไม่ปรุงแต่ต่อ ในเมื่อสามารถหยุดมันตรงนั้น ดับมันตรงนั้น มันคือ นิโรธ การเข้าถึงความดับ
    สังโยคต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ ถ้าเราดับมันได้อย่างสิ้นเชิง เราก็จะพ้นทุกข์ พ้นการเวียนตายเวียนเกิด ดังนั้นให้ ทุกคนพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ในสังโยคทั้ง 10 ข้อ สมัยอาตมา ปฏิบัติใหม่ ๆ หลวงพ่อให้เขียนติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมาลืมตาดู วันนี้มันมีข้อไหน ที่เรายังทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ วันนี้มันมีขอไหนที่มันร้อย มันรัด มัยยึดมันติดในใจเราอยู่ เราต้องแกะมันออก สลัดมันออก ปลดมันออก ให้ได้ อริยสัจคือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้นั้น ที่สำคัญที่สุดคือรู้ในทุกข์ ดังนั้นว่าสังโยคทุกข้อล้วนแล้วแต่พาให้เราเกิดทุกข์ ในเมื่อสาเหตุใหญ่ของการพาให้เกิดทุกข์คือการมีร่างกายนี้ ถ้าเราพิจารณาจนเห็นอย่างแท้จริงว่า ร่างกายนี้ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยินดีในมัน ไม่มีความปราถนาในมัน ทุกข์ทั้งหลายก็จะจบลง การเวียนตายเวียนเกิดก็จะสิ้นสุดลง ความทุกข์นั้นท่านบอกว่า ปรยายันติเม คือ ให้เรากำหนดรู้ รู้แล้ววางลง ไม่จำเป็นต้องไปแบกในมัน รู้ว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นทุกข์ แล้วก็ปล่อยมันอยู่ตรงนั้น ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสมบัติของร่างกาย การที่เราจะอยู่กับมันต่อไปอย่างไรก็ไม่เกิน 100 ปี การที่เราต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ 100 ปี มนุษย์ ถ้าเปรียบกับการเวียนตายเวียนเกิดนับกัปไม่ถ้วนแล้วไซร้ มันก็เป็นเวลาชั่วแวปเดียวเท่านั้น เหมือนกับเราหลับตาลงแล้วลืมตาเท่านั้น ระยะเวลาชั่วนิดเดียวแค่นี้ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ เราก็กำหนดใจให้รู้ ให้เห็นในทุกข์นั้น ให้รู้ว่าตอนนี้สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดอยู่เบื่องหน้า เราแล้ว สิ่งที่ไม่อาจจะทุ่มเททรัพย์สินเงินทองก็ตามซื้อหามาได้นั้นอยู่ตรงหน้าเราแล้ว องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องทนทุกข์ยากลำบาก เสริมสร้างบารมีเป็นเวลาอย่างน้อย 4 อสงไขย กับแสนมหากัป ถึงจะตรัจรู้ ถึงจะมีปัญญาญานเล็งทะลุเห็นทุกข์นี้ได้ แต่ขณะนี้
    สิ่งที่เห็นได้ยากต้องใช้ปัญญาอย่างมหาศาล ปรากฎให้เห็นเด่นชัดอยู่เบื่องหน้าแล้ว ดังนั้นเราจึงควรจะยินดี ควรจะดีใจ ว่าขณะนี้ร่างกายแสดงความทุกข์ให้เราเห็น เราไม่สามารถจะซื้อหาด้วยทรัพย์สินเงินทองใด ๆไม่สามารถจะเรียกร้องให้มันปรากฎขึ้นได้ แต่ขณะนี้มมันแสดงให้เห็น ปรากฎให้เห็นอยู่แล้วในเมื่อทุ่มเทเงินทองเท่าใดไม่ปรากฎจะหาได้ ดังนั้นความทุกข์จึงมีคุณค่ามหาศาล มีคุณค่ายิ่งกว่าทองเท่าภูเขา มีคุณค่ายิ่งกว่าโครตเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก เราก็จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะคอยกระตุ้นเตือนเรา ให้เรารู้ตัวอยู่เสมอ จะได้ไม่ไปหลงไม่ยึดติดในวัฏฏะสงสาร จะได้ไม่ไปหลงไปยึดติดในร่างกายของเรา จะได้ไม่ไปหลงไปยึดติดร่างกายของคนอื่นเขา ถ้าหากว่ากำหนดรู้ได้ดังนี้ กำหนดเห็นได้ดังนี้
    เราก็จะเป็นผู้มีความสุข ปลดปล่อยวางในทุกข์ทั้งปวง เราก็จะเข้าถึงพระนิพพาน เป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนตายเวียนเกิดพยายามพิจารณาสังโยคทั้งหมด ให้ รู้ว่าถ้ามันร้อยรัดเรา มันจะดึงเราตกอยู่ในห้วงทุกข์ แต่ขณะนี้แม้มันดึงเราอยู่ในห้วงทุกข์ แต่เราเห็นทุกข์ชัดเจนแล้ว ขึ้นชื่อว่าร่ายกายที่เป็นทุกข์นี้เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกเราที่เป็นทุกข์นี้ เราไม่ขอมาเกิดอีก
    จะเป็นเทวดาเป็นพรหม พ้นทุกข์ชั่วคราวเราก็ไม่เอา เราต้องการที่เดียวคือพระนิพพาน เมื่อมาถึงจุดนี้ให้ส่งใจไปเกาะพระนิพพานไว้ การส่งใจออกนอกจะมีคุณค่าที่สุดก็ต่อเมื่อส่งใจออกนอกไปเกาะพระนิพพานไว้ ส่งไปเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจเอาไว้ว่า ถ้าหากว่าเราตายวันนี้ เราขอมาอยู่ที่นี้แห่งเดียวเท่านั้น ทำใจจดจ่อ มั่นคงกับอารมณ์พระนิพพานตรงหน้า ให้รู้ถึงความว่าง ความโปร่งเบา ความใส่สะอาด ความเยือกเย็นของ พระนิพพาน ให้อารมณ์ พระนิพพานนี้เต็มอยู่ในจิตในใจของเรา เต็มอยู่ในกายของเรา ทุกวัน ทุกเวลา นาที ทุกวินาที ให้พยายามประคับประคองรักษาอารมณ์นี้ไว้อยู่กับเราให้ได้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ ยิ่งนานเท่าไรกิเลสมันก็ยิ่งตายลงไปมากเท่านั้น ยิ่งลดน้อยลงไปมากเท่านั้นโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานของเราก็ยิ่งมากเท่านั้น จิตของเราจดจ่ออยู่กับภาพพระนิพพานที่ใส่ สะอาด สว่าง สงบ อยู่กับองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นแก้วแพรวพรายผ่องใส่อยู่ตรงหน้า อยู่ในวิมานที่เกิดจากบุญจากบารมีที่สร้างสมมา ที่สว่างไสวแพรวพราวอยู่ตรงนี้ มีสติรู้อยู่เมื่อไร กำหนดใจมาตรงนี้ รู้ตัวเมื่อไรกำหนดใจมาตรงนี้ ทำให้ได้มากที่สุด ทำให้ได้นานที่สุดใจแต่ละวัน ในอริยาบถไหน ๆ ก็ตาม ให้พยายามกำหนดเอาไว้ดังนี้ ประคับประคองให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ เพื่อความสุขในปัจจุบัน และความสุขในอนาคตคือเมื่อตาย แล้วจะไปอยู่พระนิพพานเช่นนี้ ให้ค่อย ๆ กำหนดสติ ถอนกำลังใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ เพื่อที่เราจะได้ทำวัตรสวดมนต์ของเราต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...