สรุปบุญกิริยาวัตถุ 10

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย moooky, 5 พฤศจิกายน 2008.

  1. moooky

    moooky สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +16
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูอาจารย์ ด้วยบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างและด้วยอธิษฐานบารมี ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า
    "ความพยาบาททั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยผูกอาฆาตไว้กับผู้ใดก็ตาม ทั้งในชาติปัจจุบัน และในอดีตชาติ
    ที่ผ่านมาทั้งหมด บัดนี้ข้าพเจ้าขออธิษฐาน ถอนการพยาบาททั้งหมดที่เคยมีมาทั้งชาติปัจจุบัน และในอดีตชาติทั้งหมดให้สิ้นสุดลง ณ กาลบัดนี้ และขอให้ได้รับผลอย่างเกินความคาดหมายด้วยเทอญ"
    --~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~



    สรุปบุญกิริยาวัตถุ ๑0
    ๑. ทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการสร้างทานนั้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการทำทานนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะทำทานนั้น
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังทำทานนั้น
    ๓. เจตนาขณะที่ทำทานนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ทำทานนั้นเสร็จไปแล้วเป็นเวลานาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. องค์ทานที่จะทำนั้นต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์
    ๕. องค์ทานนั้นต้องมีประโยชน์กับปฏิคาหกหรือผู้รับ
    ๖. ปฏิคาหกหรือผู้รับต้องเป็นบุคคลที่สมควร ( มีคุณธรรมสูงสุด คืออริยบุคคล ต่ำสุด คือผู้มีนิจศีล)
    ผลของ ทาน
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีกินมีใช้ด้วยวคามอุดมสมบูรณ์ตามฐานะ
    ๒ ศีล ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะรักษาศีลอันถูกต้อง
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการรักษาศีลนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะรักษาศีล
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังอยู่ในศีล
    ๓. เจตนาที่พ้นจากศีลใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่พ้นจากศีลนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. ศีลแต่ละตัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง
    ๕. ประเภทของศีลอย่างหยาบๆมีดังนี้คือ
    ๑. นิจศีล หมายถึง ศีลที่ติดอยู่ตลอดไปโดยไม่ละทิ้ง และมีความถูกต้องครบถ้วน
    ๒. อุโบสถศีล หมายถึง ศีล ๒ อันได้แก่
    ๑. ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลทั้ง ๘ ตัว จะต้องมีครบถ้วนไม่บกพร่อง
    ๒. ภาวนา คือ ในขณะที่รักษาศีลอยู่นั้นจะต้องมีการภาวนาในอนุสสติ ๕ ให้เกิดขึ้น
    ตลอดเวลาที่รักษาศีล คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ
    ๓. วิสุทธิศีล หมายถึง ศีล ๔ อันได้แก่
    ๑. ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลที่รักษามีกี่ตัวจะต้องครบถ้วนสมบูรณ์
    ๒. อินทรีย์สังวร คือ การสำรวมทางทวาร ๖ อยู่ในความเป็นอุเบกขา
    ๓. อาชีวสังวร คือ การเลี้ยงชีวิตโดยชอบ ภิกษุได้แก่การบิณฑบาต ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะ
    ต้องเป็นสัมมาอาชีวะ
    ๔. ปัจจยสังวร คือ การกินอาหารต้องพิจารณาว่ากินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ การแต่งกายต้อง
    พิจารณาว่าแต่งกายเพื่อป้องกันอุณหภูมิร้อนเย็น และป้องกันความอุจาดลามก ที่อยู่อาศัยจะต้อง
    พิจารณาว่าเพื่อป้องกันแดดป้องกันฝน การกินยารักษาโรคต้องพิจารณาว่าเพื่อบำบัดทุกขเวทนา
    ให้ลดน้อยถอยลง จะได้ทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้นได้
    ผลของ ศีล
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีคนเคารพนับถือมีความสุขสบาย
    ๓ ภาวนา ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะสร้างภาวนาให้เกิดขึ้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการภาวนานั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนภาวนา
    ๒. เจตนาขณะกำลังภาวนา
    ๓. เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จไปนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. ภาวนาอันถูกต้องในพระธรรมของพุทธศาสนา
    ๕. มีความรู้ความหมายของบทบริกรรมภาวนานั้นว่ามีความหมายประการใดแล้วโน้มจิตตามไป
    ผลของ ภาวนา
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีจิตใจไม่วุ่นวาย
    ๒. การดำรงชีวิตมีสุข
    ๔. การเคารพบุคคลที่ควรเคารพ หรือการอ่อนน้อมถ่อมตนที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในบุคคลผู้นั้น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการเคารพหรือการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ
    ๑. เจตนาก่อนทำ
    ๒. เจตนาขณะกำลังทำ
    ๓. เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วเป็นเวลานาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. บุคคลผู้นั้นมีคุณสมบัติอันดีทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้อง
    ๕. เคารพโดยการอนุโมทนาในคุณงามความดีในทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้องของผู้นั้น
    ผลของ เคารพบุคคลที่ควรเคารพ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีคนเคารพนับถือยอมรับเป็นผู้นำของเขา
    ๕. ขวนขวายในกิจที่ชอบ ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการขวนขวายในกิจที่ชอบนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๒. เจตนาขณะทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ๓. เจตนาที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วนาน
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. การกระทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมโดยไม่เดือดร้อนแก่ผู้ใด เช่น การทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ผลของ ขวนขวายในกิจที่ชอบ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. ดำรงชีวิตด้วยความปลอดโปร่ง
    ๒. มีคนช่วยเหลือและสนับสนุนในกิจการที่กระทำในชีวิต
    ๖. การแผ่กุศลผลบุญ ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่จะให้ความเอื้อเฟื้อความสุขความสบายแก่ผู้อื่น
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังแผ่กุศลผลบุญนั้น
    ๓. เจตนาที่แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ได้แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. ตนได้สร้างกุศลอันถูกต้องให้เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล อันถูกต้องในพระพุทธศาสนา
    ๕. การแผ่กุศลเสร็จแล้ว ควรจะได้ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะผู้นั้นอาจเคยเป็น เจ้าเวรนายกรรมมาแต่ก่อนก็ได้
    ๖. ระบุผู้ที่ควรแก่การแผ่กุศลนั้นด้วยเจตนาอันมั่นคง และสมควรแก่ฐานะที่เราจะแผ่กุศลผลบุญให้แก่เขา หรือสมควรแก่ฐานะของผู้รับจะได้รับหรือไม่
    ผลของ แผ่กุศลผลบุญ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีผู้ยกย่องสรรเสริญ
    ๒. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
    ๓. มีผู้เสียสละให้แก่ตน
    ๗. การอนุโมทนาบุญ ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ผู้นั้นกระทำคุณงามความดีอันถูกต้องในทางโลกหรือทางธรรม
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการอนุโมทนาคุณงามความดีของผู้นั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะอนุโมทนา
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังอนุโมทนา
    ๓. เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จเป็นเวลานานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. รู้ว่าผู้นั้นกระทำโดยถูกต้องทั้งในทางโลกหรือทางธรรมเพื่อเป็นการสืบต่อ ๓ สถาบัน คือ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ โดยไม่หวังประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    ๕. อนุโมทนาคุณงามความดี หรือมีความยินดีต่อการกระทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยไม่
    เบียดเบียนหรือหวังผลแต่ประการใดๆ เลย
    ผลของ การอนุโมทนาบุญ
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีผู้สรรเสริญ
    ๒. ดำเนินชีวิตโดยความถูกต้อง
    ๘. การฟังธรรม ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ได้ฟังธรรมในพระพุทธศาสนา
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการฟังธรรมนั้น คือ
    ๑. เจตนาก่อนที่จะฟัง
    ๒. เจตนาขณะที่กำลังฟังธรรม
    ๓. เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. ตั้งใจฟังด้วยความเคารพในธรรมของพุทธศาสนาและพยายามจดจำไว้
    ๕. เมื่อฟังแล้วพิจารณากลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล และพิจารณาว่าธรรมนั้นสมควรแก่ฐานะ
    ของตัวเราที่จะประพฤติปฏิบัติได้หรือไม่
    ๖. เมื่อมีข้อสงสัยก็สนทนาไต่ถามเพื่อทำความเข้าใจอันถูกต้อง
    ๗. ประพฤติปฏิบัติธรรมที่ได้ฟังให้ถูกต้องตามควรแก่ฐานะ คือ การสืบต่อพระพุทธศาสนา
    นั่นเอง
    ผลของ การฟังธรรม
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่คนอื่นรู้ได้ยากแต่ตนรู้ได้โดยง่าย
    ๙. การให้ธรรมเป็นทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องเพื่อดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา
    ๒. มีเจตนา ๔ ในการที่ให้ธรรมอันสมควร คือ
    ๑. เจตนาก่อนให้ธรรม
    ๒. เจตนากำลังให้ธรรม
    ๓. เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
    ๔. เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จนานแล้ว
    ๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
    ๔. เป็นธรรมในพระพุทธศาสนาอันถูกต้อง
    ๕. ธรรมที่ให้นั้นเป็นธรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติ
    ๖. ชี้แจงให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้โดยถูกต้องตามฐานะ
    ผลของ การให้ธรรมเป็นทาน
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีปัญญาเฉลียวฉลาด
    ๒. เข้าถึงธรรมอันถูกต้องได้โดยง่าย
    ๓. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
    ๔. มีผู้เคารพนับถือ
    ๕. ดำเนินชีวิตไปด้วยความถูกต้อง
    ๑0. ทิฏฐุชุกรรม ( การทำความเห็นให้ถูก ) ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. มีศรัทธาอันถูกต้องโดยเชื่อพระธรรมในพุทธศาสนาแต่ละเรื่องและขั้นตอนในการที่กระทำ
    สิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้อง
    ๒. จะต้องมีการค้นคว้าในพระธรรมคำสอนอันถูกต้อง
    ๓. จะต้องมีการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมและผลเกิดขึ้นแล้วจึงจะสามารถรู้ได้ว่าอย่าง
    ใดผิดอย่างใดถูก
    ๔. ต้องใช้สติและปัญญาประกอบด้วยเหตุและผลแต่ละขั้นละตอน
    ๕. ในเรื่องแต่ละเรื่องจะต้องพิจารณาด้วยเหตุและผลด้วยจิตเป็นอุเบกขา ทั้งในเรื่องดีและ
    เรื่องชั่ว
    ๖. สิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมคำสอนนั่นก็คือ " ละความชั่ว ทำแต่ความดี "
    ๗. เมื่อการทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จะกระทำในสิ่งอันถูกต้องนั้นจะต้อง ประกอบด้วยเจตนา
    ๔ อันมีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๘ ดวง
    ผลของ ทิฏฐุชุกรรม
    ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
    ปวัตติกาล
    ๑. มีสติปัญญาอันว่องไว
    ๒. มีความคิดความเห็นอันถูกต้องทั้งในทางโลกและทางธรรม

    ;aa21
     

แชร์หน้านี้

Loading...