สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาสอนเรื่องวิตกจริต

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย tritinnapob, 7 พฤศจิกายน 2014.

  1. tritinnapob

    tritinnapob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    107
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,286
    ทรงตรัสว่า

    ก) “จักเป็นไปได้หรือไม่ อย่าเพิ่งคำนึงถึง เพราะนั่นคืออนาคตธรรมที่ยังมาไม่ถึง ธรรมปัจจุบันสำคัญกว่า จงหมั่นตรวจดูอารมณ์ของตน ในทุก ๆ ขณะจิตว่า เพลานี้เป็นไฉน สุขหรือทุกข์ หรือเฉย ๆ เป็นปกติธรรมดา” (ทรงโปรดบุคคลท่านหนึ่งซึ่งวิตกถึงเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง จะพยายามแก้เท่าใดก็ไม่ยอมหาย) ทรงตรัสว่า

    ข) “ตายตอนนี้ก็ลงนรกอีกนั่นแหละ เพราะสงสัยในธรรมแล้วการทำจิตอย่างนี้ เจ้าก็รู้ว่าไม่ดี เป็นความเศร้าหมองของจิต แล้วยังจักยึดเกาะอารมณ์วิตกจริตนี้ไว้กับจิต เพื่อประโยชน์อันใด”

    ค) “การตัดอารมณ์นี้ให้เด็ดขาดย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเจ้าไม่ใช่พระอรหันต์ เอาเป็นเพียงแต่ว่า ระงับชั่วคราว ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่าการยึดเกาะอารมณ์วิตกจริตในจิตนั้นหาประโยชน์อันใดมิได้ ก็จงหมั่นโจทย์จิตถามตนเองว่า สิ่งที่ยึดเกาะอยู่นี้เป็นความสุขหรือความทุกข์ เป็นคุณหรือเป็นโทษ ถ้าจิตไม่โง่จนเกินไป มันก็ต้องยอมรับว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ จิตมันมีนิสัยเคยชินกับกิเลสแห่งอารมณ์วิตกจริตมานาน แม้รู้ว่าทุกข์ว่าโทษก็ยังไม่คลายจิต สำรอกอารมณ์ทุกข์นั้นออกมา จิดมันติดเกาะทุกข์ราวกับพอใจในความทุกข์ที่เศร้าหมองนั้นอย่างเหลือประมาณ เราจะต้องเข้มแข็งอดทนต่อสู้กับอารมณ์นั้น ๆ ประการแรกต้องจับอานาปานุสติให้ตั้งมั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าทิ้ง จักหลับ จักตื่น ให้รู้ลมควบคำภาวนาเข้าไว้ จักต้องทำให้ได้ด้วย มิฉะนั้นจักระงับอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้ ต้องใช้ความเพียรเป็นใหญ”่

    ง) “เพราะฉะนั้น เมื่อจิตซ่านตกไปในอารมณ์วิตกจริต สงสัยอยู่ร่ำไปเมื่อใดนั้น ต้องหมั่นกำหนดจิตรู้ว่า จิตเลวแล้ว ชั่วแล้ว อย่าปล่อยไว้ให้นาน ต้องหมั่นชำระล้างจิตโดยไวเมื่อนั้น โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกสักสิบคู่ วาระแรก ๆ มันไม่ยอมรับรู้ลมหายใจ ก็ให้ระบายลมหายใจแรง ๆ เหมือนคนถอนลมหายใจแรง ๆ ยาว ๆ สักสิบครั้ง หรือทุกครั้งที่จิตฟุ้งซ่านไปในอารมณ์วิตกจริตนี้ เป็นการระบายลมหยาบ เป็นการผ่อนคลายความเครียด อันเกิดจากความคิดอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้

    การระบายลมเป็นการตัดความคิดฟุ้งซ่านให้ชะงักงัน ขอพวกเจ้าจงลองทำดู ระหว่างนั้นเมื่อระบายเอาลมเข้าออกให้ยาว ๆ แรง ๆ สมองก็จักได้ปลอดโปร่งขึ้น สภาวะที่จิตหมกมุ่นอยู่ในความคิดเครียด ๆ ก็จักคลายตัว ขอให้หมั่นกระทำดูตามนี้ และคอยสังเกตผลของการกระทำอย่างนี้ดูด้วย”

    ที่มา ธรรมะที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑ หน้า ๘๔-๘๕ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...