สมาธิทุกอิริยาบท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DR-NOTH, 25 กันยายน 2013.

  1. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    การที่เราฝึกสมาธิในท่านั่งได้นั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อเรานั่งกำหนดใจให้เป็นสมาธิทำใจแน่วแน่อยู่ในอารมใดอารมหนึ่งจนจิตสงบเบาบางจากกิเลส
    ซึ่งเมื่อเราออกจากสมาธิหรือเลิกนั่งแล้วอารมณ์ของปุถุชนกิเลสตัณหาต่างๆ
    ก็เข้ามาครอบงำใจเราดั่งเดิม เท่ากับว่าเราไม่ได้อะไรเลยหรือได้เพียงเล็กน้อยในการนั่งสมาธิ
    การทำสมาธินั้นจึงต้องฝึกให้ครอบคลุมทุกอิริยาบทหรือตลอดเวลาที่เราหายใจเลยจึงจะเกิดผลมีประสิทธิภาพในการเอาชนะกิเลสตัณหาต่างๆได้ เพราะว่ากิเลสตัณหาความใคร่ทะยานอยากนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อไม่เลือกเวลาและโอกาส
    โมทนาสาธุธรรม........
    (พรหมธรรมอริยะ)
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ขันธ์ทั้งหลาย ให้กำหนดรู้ แล้วค่อยละ
    ไม่ใช่ไปจับอยู่แต่สมาธิแต่ไม่สนใจขันธ์
    ไอ้แบบที่ว่ามานี่ มันไม่ใช่การเอาชนะกิเลสตัณหา แต่มันคือการกดทับเอาไว้เฉยๆ
     
  3. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    เฮอ เฮอ ๆ
     
  4. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    เมื่อใจเกิดสมาธิสงบแล้ว จึงใช้ปัญญาพิจารณารู้ตามกระแสจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น กำหนดรู้จนมีสติชำนาญในทุกลมหายใจ เมื่อกระแสแห่งกิเลสตัณผ่านเข้ามาก็มีใจมั่นคงไม่สั่นสะท้าน อย่างนี้เป็นต้น โมทนา
     
  5. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    การทำใจให้เป็นสมาธิจนสงบนั้นจุดประสงค์หลักคือเพื่อให้องค์แห่งปัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง
    ซึ่งปัญญานั้นมีหลายระดับด้วยกัน คือ
    1.คือปัญญาระดับต้น คือระดับพื้นฐานที่ใช้ควบคู่ กับการตัดสินใจว่าสิ่งไหนถูกผิด
    การปฏิบัติงาน ภาระกิจประจำวัน ปัญญาในความสามารถต่างๆ เช่น การเล่าเรียน กีฬา กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    2.ปัญญาระดับกลาง คือปัญญาช่วยละความความฟุ่งซ่าน ความกังวลที่เกิดขึ้นในใจเรา
    ช่วยให้ใจสงบได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งที่หากกำหนดให้เป็นสมาธิได้ปัญญาระดับนี้จะเกิดมีได้

    3.ปัญญาระดับสูง คือปัญญา ที่ใช้ข่มเวทนา นิวรณ์ต่างๆ ใช้พิจารณาไต่ตรองสิ่งต่างๆให้เห็นตามจริง
    รู้สภาวะแห่งการเกิดดับของอารมณ์ภายในจิต ใช้ในการตัดกิเลสตัณหาอุปาทาน ตัดภพตัดชาติได้นั่นเอง

    ดังนั้นจึงถือว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการอบรมเพิ่มพูนปัญญาให้ถึงที่สุดนั่นเอง
    เมื่อมีปัญญาถึงที่สุดความบริสุทธิ์แห่งจิตย่อมปรากฏ อวิชชาความเคร้าหมองใดๆ
    ก็ไม่สามารถมาบดบังมาหลอกลวงเราได้อีก ชื่อได้ว่าก้าวพ้นแล้วซึ่งอวิชชาทั้งปวง
    (พรหมธรรมอริย)
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ผมอ่านข้อความของคุณกำลังคิดว่าจะอ้างอิงเรื่อง ไปเรื่องปัญญาระดับต่างๆอยู่พอดีครับ.
    พอดีคุณ นำมาลง..ซึ่งจากเนื้อเรื่องที่นำมาลง.เห็นด้วยครับ..

    ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมนะครับถึงเหตุผลที่เห็นด้วย..
    เมื่อถึงจุดหนึ่งของนักปฏิบัติ.ถ้าหากจะก้าวขึ้น ปัญญาระดับกลางได้อย่างที่คุณนำมาลงนั้น
    .จำเป็นต้องอาศัยสมาธิทุกอริยบทร่วมด้วย.
    เพื่อเป็นการสะสมกำลังสมาธิเล็กๆน้อยประกอบกับ
    ป้องกันตัวสติทางธรรมที่สร้างจากการเจริญสติขาดช่วงอย่างคาดไม่ถึงได้
    เป็นเหตุให้กำลังสมาธิเราตกอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย.สังเกตุว่าช่วงไหนที่นั่ง
    สมาธิแล้วรู้สึกว่าสงบยากขึ้นไม่เหมือนเมื่อก่อนนั้นหละครับ

    เพราะหากไม่มีตัวสมาธิทุกอริยบทนอกจากการนั่งแล้ว.และต่อเนื่องด้วยมาเป็นอริยบทอื่นๆร่วมด้วยนั้น.
    ไม่ว่าจะเป็นการเดิน หรือการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นๆ
    ไม่ว่าจะเน้นที่กายหรือลมหายใจแต่ประเด็นสำคัญคือให้อยู่ฐานกาย.
    ส่วนมากเรามักจะลืมช่วงเอี้ยวอย่างคาดไม่ถึง

    (คือช่วงที่เราทำกิจกรรมอะไรก็ตามบ่อยๆด้วยความเคยชิน
    เช่น ลุกไปทำธุระส่วนตัว หรือ ยกมือหยิบจับของใช้)
    .จริงอยู่ว่า กำลังสติสะสมเราจากการฝึกที่ผ่านมาเราอาจจะเร็วในการจับเรื่องที่ผุดขึ้นมาได้
    แม้ว่ากำลังสมาธิสะสมตอนนั้นเราจะเพียงพอที่จะเห็นได้ยาวนานก็ตาม.
    .แต่เรื่องนั้นจะไม่ยอมวางง่ายๆ.เป็นเหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน
    และอาจส่งผลกับอารมย์ด้านอื่นๆ.เช่น รู้สึกหงุดหงิด รำคาญ

    เหตุเพราะปัญญาทางธรรมยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เรื่องที่ผุดขึ้น
    มานั้นวางได้นั่นเอง.แต่จุดนี้นักปฏิบัติต้องยอมรับความจริงตรงจุดนี้ด้วย.
    โดยที่ต้องไม่หลอกตัวเองไม่ต้องไปกลัวว่าเสียฟอร์มอะไรครับ.
    เพราะเราจะได้พัฒนาในระดับต่อไปได้
    .แล้วให้มานึกย้อนทบทวนว่าระหว่างวันเราขาดการสะสมกำลังสมาธิเล็กๆน้อย
    หรือขาดการสร้างสติของเราให้ต่อเนื่องหรือเปล่าหรือว่าช่วงไหนที่
    เราไม่สร้างสติให้ต่อเนื่อง...

    .ด้วยเหตุนี้ส่วนตัวมีความคิดว่าสมาธิทุกอริยบทมีความจำเป็นมาก
    .เหมือนขาดกันไม่ได้แม้ว่าจะเป็นสมาธิเล็กๆน้อย.แต่ก็เสริมการสร้าง
    สติของเราให้ต่อเนื่องได้ตลอดในเวลาลืมตาด้วย.เป็นเรื่องที่สำคัญ
    ที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่สนับสนุนบทความที่คุณนำมาลงครับ
     
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    ..ดำเนินชีวิตด้วย มรรคมีองค์8..สมาธิจะเกิดเป็นกำลัง ให้เราพิจราณาธรรม ได้ทุกเวลา สาธุ แสดงธรรมตามสามารถเถิด สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...