สติปัฏฐาน ภาคปฏิบัติ โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย doopup5454, 7 กรกฎาคม 2010.

  1. doopup5454

    doopup5454 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +58
    สติปัฏฐานสี่ มีอยู่ 4 ข้อ

    1. พิจารณากายในกาย : โดยวิธีปฏิบัติแล้ว ให้เอาสติเอาจิต เพ่งดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย และขวา จะคู้แขนเหยียดขาต้องติดตามดู คือใช้สตินี่เอง ดูร่างกาย สังขารของเราอันนี้

    2. พิจารณาเวทนา : เวทนามีอยู่ 3 ประการคือ สุขเวทนา ทุกเวทนา และอุเบกขาเวทนา : สุขเวทนา คือ มีทั้งสุขกาย สุขใจ ส่วน ทุขเวทนา คือ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ส่วน อุเบกขา คือไม่สุขไม่ทุกข์ จิตใจมักจะเลื่อนลอยหาที่เกาะไม่ได้ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

    วิธีปฏิบัติต้องใช้สติกำหนด กำหนดอย่างไร กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ จากจมูกถึงสะดือให้ได้ หายใจขึ้นลงยาวๆ กำหนดว่า ดีใจหนอ ดีใจหนอ
    ทำไมต้องปฏิบัติเช่นนี้ เพราะความดีใจและสุขกายสุขใจนั้น เดี๋ยวก็ทุกข์อีก สุขเจือปนด้วยทุกข์อย่างนี้ ด้วยความไม่ประมาท จะต้องรู้ล่วงหน้า รู้ปัจจุบัน จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ ถ้าเสียใจ มีความทุกข์ใจ จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ เสียใจหนอๆ หายใจลึกๆ ยาวๆ หากปวดเมื่อยเป็นเวทนาทางกาย เช่น ปวดหัวเข่าปวดที่ไหนก็ตามต้องตามกำหนด กำหนดเป็นตัวปฏิบัติ เป็นตัวระลึกเอาจิตไปสู่จุดนั้นเป็นอุปาทาน ยึดมั่นก่อน เพราะเราจะก้าวขึ้นบันไดก็ต้องเกาะยึด เราจะก้าวต่อไปก็ต้องปล่อย

    ส่วนอุเบกขาเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข ใจก็ลอยหาที่เกาะไม่ได้ ใจเลยเหม่อมองไปแล้วเห็นคนเป็นสองคนไป จึงต้องกำหนดอุเบกขาเวทนา กำหนดที่ไหน กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ ลึกๆ สบายๆ แล้วก็ตั้งสติระลึกก่อน กำหนด รู้หนอๆๆ

    3. พิจารณาจิต : จิตเกิดที่ไหน ผู้พัฒนาจิตต้องรู้ที่เกิดของจิตด้วย เช่น ตาเห็นรูปจิตเกิดที่ตา หูได้ยินเสียงเกิดจิตที่หู จมูกได้กลิ่นเกิดจิตที่จมูก ลิ้นรับรสเกิดจิตที่ลิ้น กายสัมผัสร้อนหรือหนาวอ่อนหรือแข็งที่นั่งลงไปเกิดจิตทางกาย

    วิธีปฏิบัติ : ให้ทำอย่างนี้ ที่มาของจิตรู้แล้ว เกิดทางตา ตาเห็น เห็นอะไรก็ตั้งสติไว้ จับจุดไว้ที่หน้าผาก กดปุ่มให้ถูก เหมือนเรากดเครื่องคิดเลข บวกลบคูณหารมีครบ กดปุ่มให้ถูกแล้วผลลัพธ์จะตีออกมาอย่างนี้

    เห็นหนอๆ เห็นอะไร เห็นรูป รูปอยู่ที่ไหน สภาะรูปนั้นเป็นอย่างไร สภาพผันแปรกลับกลอกหลอกลวงได้ เยื้องย้ายได้ทุกประการเรียกว่า รูป เป็นเรื่องสมมติ และเป็นเรื่องทำลายได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน ดับไป คือรูป ต้องกำหนด

    ในการพิจารณาจิต เป็นธรรมชาติของจิตเกิดที่ตา เกิดแล้วกำหนด ไม่ใช่ว่าเราแส่ไปหากำหนดข้างนอก ตาเห็นอะไรก็กำหนดว่า เห็นหนอ ต้องกำหนดทุกอิริยาบถ หูได้ยินเสียง หูกับเสียงอย่างไร ไกลแค่ไหนอย่างไรไม่ต้องไปประเมินผล ไม่ต้องวิจัย ห้าม! ห้ามเพราะเหตุใด เพราะมันเป็นวิปัสสนึกไป นึกขึ้นมาก็วิจัยตามวิชาการ มันจะไม่ได้ผล เราก็ตั้งสติไว้ที่หู ฟังเสียงหนอ เราฟังเฉยๆ ไม่ได้หรือ ทำไมต้องกำหนดด้วย ?

    ถ้าไม่กำหนดเราจะขาดสติ ถ้ากำหนดก็เป็นตัวฝึกสติให้มีสติอยู่ที่หู แต่ถ้าจะกำหนด เสียง เฉยๆได้ไหม ได้! แต่ไม่ดี เพราะเหตุใด

    "หนอ" ตัวนี้เป็นการรั้งจิตให้มีสติดี มีความหมายอย่างนั้น

    การกำหนดที่เลยเป็นอดีตไปแล้ว หรือกำหนดไม่ทัน ต้องกำหนดอยู่อย่างเดียวคือ "รู้หนอ" ไว้ก่อน

    4. พิจารณาธรรม หมายความว่า เรามีสติปัญญาจะรู้แยกจิตของเราว่า คิดเป็นกุศลหรืออกุศล ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

    ข้าพเจ้าทำงานนี้ไปเป็นกุศลหรืออกุศล เดี๋ยวจะรู้ตัวตนขึ้นมาทันที มีปัญญา เรียกว่า พิจารณาธรรม

    จากหนังสือ : พัฒนาจิตด้วยทางสายเอก "สติปัฏฐานสี่"
    พระธรรมสิงหบุราจารย์
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)
     
  2. ปุณณา

    ปุณณา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +555
    เคยได้ไปวัดอัมพวันแล้วค่ะ ได้ปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อจรัญ ศรัทธาท่านมากๆค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...