###ศึกษา สะสม พระพ่อให้ จัดส่งฟรีครับ###

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Champion168, 30 กันยายน 2019.

  1. ~หัตถ์oBuddha~

    ~หัตถ์oBuddha~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2017
    โพสต์:
    573
    ค่าพลัง:
    +401
    จองครับ รายการที่ 77
     
  2. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 79 ปิดครับ พระหางหมาก-พระคำข้าว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง


    (จากหนังสือปฐมธรรมยาน)
    หลวงพี่ประทีป หลวงพี่บัญชา อาตมา ปรึกษากันสร้างพระหางหมาก เพราะคนมารอพระคำข้าวต้องรอออกพรรษา (รอหลวงพ่อเสกข้าวในพรรษา ๓ เดือน) จึงปรึกษากับหลวงพี่อนันต์ ท่านเห็นดีด้วย จึงให้ท่านกราบเรียนถามหลวงพ่อเลย หลวงพ่อเห็นดีด้วยเรื่องสร้างพระหางหมาก ก็ถามอาตมาว่า จะเอาแบบไหนดี ตอบว่าเอาพิมพ์สมเด็จโต (สมเด็จ ๓ ชั้น) หลวงพ่อว่า “ดี ให้เอาสีชมพู จะได้เข้ากับสีจีวร” ขณะหลวงพ่อนั่งรับแขก หลวงพ่อเรียกอาตมาเข้าพบ พูดว่า

    “พระหางหมากเปลี่ยนเป็นพระยืน ๓๐ศอก ดีไหม?” ก็ตอบว่า “ดีครับ”
    “แต่ให้ท่านนั่งลงนะ” ตอบว่า “ครับ”

    อาตมาก็มานั่งคิดว่า แล้วท่านอุ้มบาตรอยู่จะทำอย่างไร? พอหลวงพ่อเลิกรับแขก ลุกขึ้นยืนจะไปเข้าห้องน้ำ อาตมาก็เข้าไปถามหลวงพ่อว่า

    “หลวงพ่อครับ หลวงพ่อจะให้ทำพระหางหมากพิมพ์พระยืน ๓๐ศอก แต่ให้ท่านนั่งลง แต่ท่านอุ้มบาตรอยู่ จะทำไงครับ ต้องให้ท่านอุ้มบาตรด้วยหรือเปล่าขอรับ? ”

    ไม้เท้าลอยมา โป๊ก! มึนเลย ท่านยืนหัวเราะ บอกว่า

    “แกจะโง่ให้ท่านอุ้มบาตรอยู่ทำไม ก็เอาบาตรออกซิ”

    ก็นึกขึ้นได้ว่า ที่หลวงพ่ออนุญาตให้สร้างแบบสมเด็จโต เพื่อรักษากำลังใจลูกศิษย์ (พวกเรา) จึงคล้อยตามไปก่อน จึงนึกย้อนไปได้ว่า เคยมีคนมาถามหลวงพ่อว่า

    “ทำไมหลวงพ่อไม่สร้างพระขี่ครุฑ ขี่ไก่ แบบหลวงพ่อปานบ้าง?”
    หลวงพ่อเลยตอบว่า “สร้างไม่ได้หรอก เป็นการตีเสมอครูบาอาจารย์ เป็นการไม่สมควร” นี่หลวงพ่อก็เคารพสมเด็จโตเป็นครูบาอาจารย์เช่นเดียวกัน เพราะว่าการสร้างพระคำข้าว หลวงพ่อก็ให้สร้างแบบจำลองพระประธานในวิหาร ๑๐๐เมตร ซึ่งเป็นพระคำข้าวองค์แรกของวัดท่าซุง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า หลวงพ่อให้เราเอาแบบพระพุทธรูปในวัดท่าซุงเป็นแบบ ไม่ต้องเลียนแบบที่อื่นเขาด้วย

    หลังพิธีพุทธาภิเษกที่วิหารแก้ว ๑๐๐เมตร หลวงพ่อเมตตาเล่าให้ฟังว่า “สมเด็จองค์ปัจจุบันเสด็จมาเป็นประธานเอง ระหว่างปลุกเสกมองไปเห็นสมเด็จหางหมาก แต่ละองค์เปล่งแสงสว่างจ้ายิ่งกว่าดวงไฟ ๑๐๐ แรงเทียนซะอีก…”

    “สมเด็จท่านตรัสว่า อานุภาพของสมเด็จหางหมากนั้น รอบรัศมี ๔เมตร กัมมัตภาพรังสีจะเข้าไม่ได้เลย ถ้าใช้ในการรบเพื่อประเทศชาติ คำว่าตายรับรองว่าไม่มี แต่ถ้าใครนำไปใช้ในทางที่ผิด จะถูกปืนยิงแสกหน้าตาย…!”

    สำหรับหางหมากหรือหางพลูนั้น เมื่อเสกหมากก่อนฉันแล้วนำหางพลูที่เหลือมาผสมกับผงทำเป็นพระ แล้วนำเข้าพุทธาภิเษกอีกครั้ง

    สำหรับผลของพระคำข้าวนั้น มีความต้องการในทางลาภมากที่สุด และอย่างอื่นก็ขอท่านไว้ทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลเป็นพิเศษแด่ท่านที่นำไปบูชาในระยะใกล้มาแล้ว ขอให้ถามผลจากท่านที่เคารพจริงก็แล้วกัน สำหรับพระหางพลูนี้มีผลเช่นเดียวกัน แต่หนักไปในทางที่พูดเป็นที่จับใจคนมีลาภสักการะเสมอกัน ”

    พระหางหมากสร้างจำนวน 1 ล้านองค์ โดย 600,00องค์แรก ปลุกเสกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2533 ( หลวงพ่อพูดในงานพิธีปลุกเสกว่าพระหางหมากเข้าพิธีในวันนี้มีจำนวน 6แสนองค์ จากวิดีโอเทปพิธีปลุกเสกพระหางหมากวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2533 ) ส่วนอีก 4แสนองค์ ปลุกเสกเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2533 (พร้อมกับพระคำข้าวรุ่น 2 ที่ปลุกเสกคร้ังแรก )

    ************************************************

    ประวัติพระคำข้าว มหาลาภ

    หลวงพ่อได้เล่าความอัศจรรย์ของพระคำข้าว สมัยที่ท่าน ยังอยู่ กับหลวงพ่อปานไว้ดังนี้…
    เมื่อสมัยหลวงพ่อ(ปาน)ยังทรงชีวิตอยู่ ท่านทำพระไว้องค์หนึ่ง เสกข้าว ๓ เดือนนี่ปรากฏว่า คำไหนอร่อยมากคำนั้นไม่กินเอาออกเก็บ สำหรับที่ฉันนี่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คำแรกยังไม่ต้องกินกับข้าวที่ดีที่สุดผสมก่อน เสกเก็บนะ ก็ทำจริง ๆ ๔ เดือน ไปไหนก็ทำ หมายความว่าบังเอิญจะมาที่นี่ ก่อนจะกินก็ต้องทำเก็บไว้เหมือนกัน เพราะคำว่า ๓ เดือน ๓ เดือน นี่จะขาด สักวันหนึ่งไม่ได้เลย แล้วก็ผลจริง ๆ ที่เคยปรากฎนะ ที่หลวงพ่อปาน ท่านทำ ใช่ไหมทำแล้วก็ทำเป็นผงผสมไว้แล้วก็สร้างเป็นพระพุทธรูปไว้บูชาที่พระสวดมนต์ เวลาหลวงพ่อท่านไม่อยู่คนไม่ค่อยเอากับข้าวไปให้กิน ฉันก็ไป บูชาพระองค์นั้น ขอหม้อใหญ่ ๆ มาเรื่อยนี่เป็นเรื่องจริง ๆ นะ มาอีกวันหนึ่ง เป็นเรื่องที่อัศจรรย์มาก คือว่าหลวงพ่อ ไป เขาวงพระจันทร์ อีตาโปร่งแก เป็นเจ้าของโรงงานต่อเรือยนต์นะ แกก็นำแกงมา ๓ หม้อใหญ่ ใหญ่มาก ปรากฏพอมาถึงหน้าวัด ฉันบูชาตอนกลางคืนนี่นะ ฉันอดนะ กับข้าวไม่ค่อย มีกิน หลวงพ่อไม่อยู่เราก็อาศัยพระพุทธรูป ตาโปร่งมาถึงพอมาถึงจอด เรือ ปั๊บ ถามว่าหลวงพ่อ อยู่ไหม เขาบอกไม่อยู่ไปเขาวงพระจันทร์ แกถอยหลัง เรือออกเลยแหมหม้อต้มใหญ่ ๆ จะให้หลวงพ่อปานฉันองค์เดียว ใบจักรหัก มันไม่มีตอนะ ใบจักรหัก ฉันเลยหม่ำซะ ๓ หม้อเลย ใบจักรหักเรา ก็ไม่ช่วยต่อ เรื่องของแก พอหลวงพ่อปานกลับมา ตาโปร่งก็มา เล่าให้ฟัง บอกว่า ผมเอาอาหารมาถวาย นึกว่าหลวงพ่อยังอยู่ พอหลวงพ่อไม่อยู่ พระบอกว่า หลวงพ่อไม่อยู่ ผมเลยถอนหลังกลับเอาอาหารกลับบ้าน แต่ใบจักร ไม่รู้ฟันอะไรหัก หลวงพ่อปานบอกที่นั่นมันไม่มีตอ หน้าวัดไม่มีตอ แกก็ถามทำไมจึงหัก ท่านก็เลยบอกว่า แกคลายศัทธาใบจักรก็หัก ในเมื่อ มาถึงวัดแล้ว แกไปทำไมไอ้คนจะเป็นมหาเศรษฐี ถอยหลัง ไม่ต้องการ มหาเศรษฐีมีที่ไหน อ้อเทวดาช่วยนะ ช่วยใครรู้ไหม ช่วยฉัน โอ้โฮหม่ำซะ ไม่มี ดีใจกินแกงใบจักรหัก

    เกร็ดความรู้ที่หลวงพ่อพูดถึงเกี่ยวกับพระคำข้าว
    คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๙
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    อันดับแรกที่เราจะทำอะไรทั้งหมด ตื่นขึ้นมาใหม่ๆ นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน นึกถึงด้วยความเคารพ เพื่อหวังพระนิพพานก็ตาม นึกถึงเพื่อขอลาภสักการะก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้าเหมือนกัน อันดับแรกนะ อย่างมี พระคำข้าว- พระคำข้าวน่ะ หนักไปในทางลาภสักการะ อย่างอื่นก็มีหมด แต่ลาภน่ะหนักมาก และก็หยิบขึ้นมาพนมมือ สาธุ ว่า นะโม ตัสสะ ใช่ไหม ว่านะโมตัสสะ ด้วยความเคารพ และอธิฐานว่า วันนี้ต้องการ…(ลาภอย่างไร)

    เป็นอันว่าเราอยากจะให้ค้าขายดี ทำราชการดี เมตตาปราณี อะไรก็ตามเถอะ ก็อย่าลืมว่าเวลานั้นเรานึกถึงพระพุทธเจ้า เราขอบารมีจากท่าน อย่างนี้ถือว่าเป็น ฌาน ในพุทธานุสติกรรมฐาน ถ้านึกถึงทุกวันน่ะ ถ้าถึงเวลาแล้วต้องทำอย่างนั้นทุกวัน ถ้าไม่ทำแล้วไม่สบายใจ นั่นเป็นฌานในพุทธานุสติ เป็นของง่าย ๆ เพราะวันนี้ท่านบอกให้พูดง่าย ๆ ใช้วิธีง่าย ๆ นะ ก็ว่าตามท่าน

    …ทีนี้เมื่อเมื่อบรรดาท่านพุทธ บริษัท นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้ว อย่าลืมพระที่คอ นี่คือพระพุทธเจ้า อย่างพระคำข้าว เป็นพระพุทธชินราช อย่าลืมน่ะ คือก็เหมือนกับพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งนั่นแหละ เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าท่าน และเวลาทำจริง ๆ พระพุทธเจ้าท่านก็มาทำ อันนี้ไม่ได้โฆษณานะ พูดให้ฟัง คือเวลาทำจริง ๆ พระพุทธเจ้าทุกองค์เสด็จมาหมด องค์ปฐมเป็นประธาน อยู่ข้างบนใช่ไหม และ องค์ปัจจุบันคุมฉัน ท่านปล่อยกระแสจิตพุ่งสว่างเป็นลำพุ่งมาที่ใจฉัน แล้วบอกเธอนั่งนิ่งๆ อย่าคิดถึงเรื่องอะไรทั้งหมด ห้ามดูอะไรทั้งหมด ให้ทรงอารมณ์เฉยๆ ๑๐ นาที ก็ทำตามท่าน แล้วท่านก็สั่งว่า ให้ว่าอิติปิโสฯ หลัง ๑๐ นาทีแล้ว ท่านบอกดูได้พุ่งใจไปที่ของได้ พอพุ่งใจไปที่ของ ที่เห็นเป็นลำ ไม่เห็นของที่ปลุกเลย แสงพระพุทธเจ้ากลบหมด หนามาก พระคำข้าว เด่นทางมหาลาภ มีรูปพระพุทธชินราช (พระพุทธกัสสป) ด้านหน้าและด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อ

    72978593_2605882726156654_5921754676973273088_n.png 72997370_1196580013884283_5980333108858191872_n.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2019
  3. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบคุณครับ รับทราบการโอนครับ
     
  4. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,335
    ค่าพลัง:
    +6,401
    ขอจอง79ครับ
     
  5. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 80 พระผงหลวงปู่ขาอนาลโย


    พระเดชพระคุณหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระอริยเจ้าที่ได้ชื่อว่า "เป็นเพชรน้ำหนึ่งแห่งวงศ์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต" ท่านมีหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นสหธรรมิกที่เกื้อกูลกันในทางธรรม

    ท่านเป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นในเป้าหมาย มีเมตตาธรรมเป็นเลิศ สง่างามประดุจช้างสาร ท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้างเป็นต้น ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยวที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์เหล่านั้นก็รู้ภาษาของท่านเป็นอย่างดี

    มูลเหตุที่ท่านออกบวชนั้น เกิดจากภรรยาของท่านมีชู้ เมื่อท่านได้พบภาพที่เป็นจริงคาหนังคาเขาตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน ท่านจึงเงื้อดาบสุดแรงเกิดหมายจะฆ่าฟันทั้งชายชู้และภรรยาชั่วให้ตาย แต่เผอิญชายชู้เห็นก่อนและได้ร้องขอชีวิต ด้วยสาวกบารมีญาณมากระตุ้นเตือน ทำให้ท่านเกิดจิตเมตตา จึงได้เรียกชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ พร้อมทั้งประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้าน ชายชู้ยอมรับผิด จึงได้ปรับสินไหมด้วยเงินพร้อมกับประกาศยกภรรยาให้ชายชู้อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นท่านสลดสังเวชใจเป็นกำลัง ใจหมุนไปในทางบวชเพื่อหนีโลกอันแสนโสมม

    ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ ครั้งพุทธกาลท่านเคยเกิดเป็นพระภิกษุ ๑ ใน ๕๐๐ รูปติดตามพระเทวทัตผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตร จึงหันกลับเข้ามาสู่สัมมาทิฏฐิ สถานที่ต่างๆ ที่ท่านอยู่จำพรรษามักจะเป็นสถานที่เคยเกิดเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ ในอดีตชาติ

    ท่านได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอดในราวพรรษาที่ ๑๖ - ๑๗ ที่เสนาสนะป่ากลางทุ่งนา บ้านโหล่งขอด อำเภอพร้อว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเล่าว่า "เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิด-ตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณา ระหว่างอวิชชา กับ ใจ

    พอจวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญาอวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ การพิจารณาข้าวก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิตก็มาหยุดกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธ์แห่งจิตล้วนๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าอุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิืเลสวัฏฏ์ไปได้แล้ว เกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียว ตอนอรุณรุ่งพระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง"

    บูชา 350 บาท 73513587_2412301369013506_1248426274301411328_n.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบคุณครับ รับทราบการจองครับ
     
  7. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 81 หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์พระคง เนื้อสำริด

    ประวัติหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทองนพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้งบ้าง หลวงปู่พริ้งบ้าง การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษามาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย ในสมัยก่อนนั้นการเดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จใน กรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับ หลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสาม เณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอกจากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทางเกือบกิโลทีเดียว พระเครื่องหลวงพ่อพริ้ง ท่านได้สร้าง พระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว หลวงพ่อพริ้ง ท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านนิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทอง แดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอม ละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านกำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายไปอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง หลวงพ่อพริ้ง ท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี

    บูชา 350 บาท 73504774_504579457060333_21941729489846272_n.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 82 ปิดครับ นางกวัก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี

    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิยุคเก่าของเมืองสุพรรณบุรีในยุคเดียวกันกับ หลวงพ่อกาพย์ หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจรรย์ หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่ออ้น วัดดอนปุปผาราม เป็นต้น นักสะสมพระเครื่องบางท่านเชื่อว่า หลวงพ่ออิ่ม เป็นลูกศิษย์ยุคต้นๆของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งลูกศิษย์รุ่นนี้ได้แก่ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นต้น หลวงพ่ออิ่ม ในอดีตมีชื่อเสียงมากในสุพรรณบุรี ว่าเป็นพระเกจิที่เก่งด้านคงกระพันชาตรี เป็นที่เลื่องลือไปทั่วในยุคนั้น
    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ประมาณว่าท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2406 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.2426 สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่ออิ่ม ในช่วงชีวิตสมัยที่ยังอยู่วัยหนุ่มนั้น เคยเป็นเสือปล้น ก่อนที่จะมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาจวบจนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2480 สำหรับลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    หากพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยกย่องกันแล้วหล่ะก็ “หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี” ก็นับเป็นอีกรูปหนึ่ง ที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่องด้วยความเคารพ
    โดยหลวงพ่อปาน เรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์” ซึ่งหมายถึงว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูป หรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา
    และก็ต้องบอกว่า คำที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่อง ไม่เกินเลยความจริงแต่ประการใด เพราะพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุพรรณรูปนี้ เก่งอย่าง “ของจริง ของแท้” แบบเล่าขานปากต่อปาก ไม่ต้องโหมโฆษณาตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ กันแต่ประการใด มิหนำซ้ำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยังมีข้อวัตรปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัยสมเป็นพุทธบุตรอีกต่างหาก
    ถึงขนาดที่ว่า สามารถกำหนดอิริยาบถการมรณภาพได้อีกด้วย คือ ท่านกำหนดนั่งสมาธิมรณภาพ จนถือว่า เป็นพระเกจิฯ ในยุคแรกๆ ของเมืองสุพรรณฯ ที่นั่งสมาธิมรณภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูงตามหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีว่า หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระอริยบุคคลรูปหนึ่ง
    ในอดีตถ้าพูดถึงพระเกจิที่สร้างนางกวัก ได้ขลังและมีชื่อเสียงมากที่สุด จะต้องนึกหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ นางกวัก ของหลวงพ่ออิ่ม สร้างหลายครั้งก่อน ปี 2480
    ลักษณะนางกวักหล่อโบราณ ด้วยสำริดทองเหลือง บางองค์แก่ทองคำ แต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน สำหรับนางกวักยุคต้นๆน่าจะสร้างราวปี 2460-70 นางกวักจะเป็นการปั้นหุ่นด้วยมือ ศิลปะของแต่ละองค์จะสวย เป็นนางกวัก ทรงสไบ ผมหวี โดยมากมือที่กวักจะอยู่สูงเลยระดับปาก ซึ่งเป็นการสร้างได้ถูกต้องตามตำราโบราณ ปั้นหุ่นที่ละองค์ สำหรับยุคต้น แล้วหล่อออกมา คล้ายกับพระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง (จากความเห็นของนักสะสมรุ่นเก่าหลายท่าน บอกว่ายังไม่เคยเห็นนางกวักยุคต้นๆที่เหมือนกันสององค์ครับ แต่จะมีลักษณะศิลปะใกล้เคียงกันเท่านั้น) นางกวัก หลวงพ่ออิ่ม ที่แท้ๆ ตัวจริง ศิลปะสวย หายากนะครับ ส่วนใหญ่ที่เจอเป็นนางกวักยุคหลัง หรือ ไม่ก็เป็นของเกจิท่านอื่นเอามาเล่นกัน
    เรื่องพระพุทธคุณนั้น พระเครื่องฯ ตลอดจนวัตถุมงคลอื่นๆ ของหลวงพ่ออิ่มนั้น มีประสบการณ์อย่างโชกโชน ตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แล้ว ทั้งคงกระพันชาตรี กันเขี้ยวงา แคล้วคลาด มหาอุตม์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีเงินทองไม่ขาดมือ ถึงขนาดยกย่องกันว่า ใครพระเครื่องฯ หรือวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มแล้ว “อิ่ม” สมชื่อจริงๆ ไม่มีคำว่า “อด” นอกจากนี้ ประสบการณ์เรื่องคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ ก็ดีเยี่ยม เล่าขานไม่รู้จบ ถึงขนาดที่ว่า เหล่าบรรดาเสือปล้นเมืองสุพรรณฯ รุ่นเก่าทั้งหลาย ที่เลื่องชื่อว่า หนังเหนียว อยู่มีดอยู่ปืน ส่วนใหญ่ใช้พระเครื่องฯ วัตถุมงคลของท่าน หรือไม่ก็ไปสักยันต์กับท่าน ไม่เว้นแม้กระทั่งวัตถุมงคลรูปแม่นางกวักของท่าน ก็มีอานุภาพเรื่องคงกระพันมหาอุตม์ หยุดปืนได้ด้วยเหมือนกัน ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องรางของขลังที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เรื่องเมตตาค้าขาย โดยล่าสุด ที่ จ.สุพรรณบุรี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ผู้คล้องแม่นางกวักหลวงพ่ออิ่มรายหนึ่ง ถูกอาวุธปืนพกสั้นจ่อยิง แต่ไม่สามารถทำอันตรายให้ระคายผิวได้ เรียกว่า อานุภาพในวัตถุมงคลนั้นเชื่อถือได้สนิทใจทีเดียวเชียวครับ สำหรับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ยอดเกจิฯ แห่งเมืองสุพรรณบุรี

    บูชา 350 บาท 74157668_480259289368200_1373094013669736448_n.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2020
  9. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 83 สร้อยประคำไม้ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี

    ประคำ หมายถึงลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนาหรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง เรียกโดยทั่วไปว่า ลูกประคำ
    ประคำของท่าน จะทำมาจากแก่นไม้มงคลหลากหลายชนิด บางเส้นที่พบเจอจะมีเม็ดประคำทำจากไม้หลายชนิด บางเส้นก็จะชนิดเดียวล้วนๆ โดยแต่ละชนิดก็ล้วนแล้วแต่เป็นไม้มงคลและชื่อที่เป็นมงคล อาทิเช่น ไม้ประดู่ คูณ ขนุน ยม มะขาม รัก วาสนา สัก พะยุง กันเกรา ทองหลาง ชัยพฤกษ ราชพฤกษและอีกหลากหลายชนิดฯลฯ โดยใช้แก่นไม้ส่วนที่แข็ง นำมาแกะเป็นเม็ดๆ ขัดตกแต่งเคลือบผิว ตามพิธีตำหรับตำรา แล้วค่อยเข้าพิธีปลุกเสก

    เป็นวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่ออุตตมะมาเป็นเวลาเนิ่นนานหลายสิบปีมาแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งที่หลวงพ่ออุตตมะเข้ามาอยู่ในเมืองไทยใหม่ ๆ หลวงพ่อท่านก็ได้นำประคำมาแจกให้กับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่าน นอกจากจะให้ช่วยปกป้องคุ้มครองตัว และเป็นเมตตามหานิยมแล้ว ยังมีนัยเพื่อให้เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ หรือคุณพระศรีรัตนตรัยอีกด้วย เพื่อให้ผู้ที่ได้รับประคำไปนั้นมุ่งมั่นกระทำแต่ความดีตามรอยบาทพระศาสดา นอกจากประคำไม้ยุคแรกๆแล้ว ท่านยังได้ทำไว้หลายแบบ หลายชนิดเช่น ประคำผง ประคำกรามช้าง เป็นต้น

    ท่านก็สร้างตามตำรามอญโบราณ สำหรับผู้ที่เคยไปนมัสการหลวงพ่ออุตตมะ แห่งวัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ภาพที่พบเห็นหลวงพ่อท่านจะนั่งทักทายลูกศิษย์ลูกหาพร้อมร้อยพวงเม็ดประคำของท่านไปด้วย และคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าร้อยทั้งร้อยจะต้องได้ประคำสายหลากหลายชนิดติดคอกลับมาแทบทุกคน "เห็นประคำก็เหมือนได้เห็นหลวงพ่อ ถ้าได้พบเจอหลวงพ่อก็ต้องได้เห็นประคำ" ดังนั้น ประคำ จึงเปรียบเสมือนเครื่องรางที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่ออุตตมะมาเนิ่นนานแล้ว
    ซึ่งแต่ละชนิดก็สร้างจำนวนไม่มากครับ บางท่านอาจสงสัย พร้อมคำถามว่า เส้นประคำเม็ดกลมโต ถ้าหากคล้องคอไปไหนมาไหนอาจจะดูไม่เหมาะกับการทำงานในสภาพปัจจุบันนัก ซึ่งก็โดยมากที่หลวงพ่อท่านให้นั้น ก็ไว้เพื่อพกพาติดตัว ติดรถติดบ้าน เพื่อความปลอดภัย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม บันดาลโชคลาภ อีกทั้งไว้ฝึกจิตนับลูกประคำสำหรับทำสมาธิในแต่ละครั้ง ระลึกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนคุณครูบาอาจารย์

    บูชา 350 บาท 73495244_421753952074040_8605588910275297280_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 84 คุณอาณัติจองครับ ตะกรุดโทน หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ยุคต้น (ขนาดตะกรุดยาว 5 นิ้ว )

    หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิชื่อดังและเป็นพระนักพัฒนาที่มีคุณูปการต่อกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างสมคุณงามความดีเอาไว้ทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นอเนกอนันต์ให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีไปอีกนานแสนนาน

    ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อทบ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย อาทิ พระผง รูปหล่อ มากกว่า 200 พิมพ์ รูปหล่อหน้าฝรั่ง รูปหล่ออกซื่อ และรูปหล่อหัวไม้ขีด เป็นต้น ในส่วนของเครื่องราง คือ ตะกรุดโทน ถักด้าย ถือว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดของบรรดาเซียนพระ มีพุทธคุณ แคล้ว คลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน

    บูชา 450 บาท 72666547_2545108152480478_3468704833375043584_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2019
  11. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 85 สมเด็จเปลวเพลิง ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้องคืน จ.ลำพูน ยุคต้น

    พระ อธิการจันต๊ะ อนาวิโล ( ครูบาจันต๊ะ )เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28ก.พ.2468 ที่ตำบลหนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อเยาว์วัยได้มาเป็นลูกศิษย์วัดหนองช้างคืนเพื่อศึกษาเล่าเรียนจากครูบา อาจารย์หลายท่าน เมื่อมีอายุได้ 12ปีได้บรรพชา จนเมื่อท่านอายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 5มิ.ย.2487 ท่านได้เล่าเรียนธรรมจนสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม ชั้นโท พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืนเมื่อ พ.ศ.2520 ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสและได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ บูรณะอุโบสถ ท่านมีความเมตตาธรรมสูง มีความสามารถพิเศษในด้านการเทศน์ธรรมมหาชาติ กัณฑ์มัทรี และได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงว่าเป็นเกจิอาจารย์ในด้านเครื่องลางของขลัง วัตถุมงคล คาถาอาคมและยันต์ต่างๆเป็นต้น จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

    บูชา 350 บาท 73546650_569054760532436_2329775550534516736_n.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. อาณัติ

    อาณัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6,122
    ค่าพลัง:
    +22,228
    รายการที่ 84 ตะกรุดโทน

    ขอจอง.....
     
  13. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบคุณครับ รับทราบการจองครับ
     
  14. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    โชว์ พระชุดหลวงพ่อลี วัดอโศการาม 74159226_2929523767273812_1829396750855569408_n.jpg 73319495_2844868512287289_8511747113263038464_n.jpg
     
  15. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 86 ปิดครับ พระชุดวัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506 พิมพ์หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    วัตถุมงคลของวัดประสาทบุญญาวาสซึ่งจัดสร้างในช่วงปี พ.ศ. 2505 - 2506 นับเป็นวัตถุคลอีกสายหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากนักสะสมพระโดยถ้วนหน้า เนื่องด้วยสุดยอดในเรื่องมวลสาร มีเจตนาการสร้างอันบริสุทธิ์ และพิธีกรรมการปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่มากๆเลยครับ
    ประวัติความเป็นมาของวัดประสาทบุญญาวาสนั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๖ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ มีชื่อวัดว่า วัดคลองสามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียกคลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขวิด เพราะมีต้นมะขวิดอยู่ด้านข้างอุโบสถขนาดใหญ่ ๒ ต้น เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๘ ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เสนาสนะหลายหลังพร้อมทั้งอุโบสถหลังเดิมก็ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน จึงมีความคิดที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่หลังเดิมซึ่งความคิดนี้ได้สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดกล่าวคือในคืนหนึ่งพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวด โดยท่านบอกให้พระอาจารย์ทิมไปช่วยบูรณะวัดที่ กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกไฟไหม้ พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ โดยเข้าพักที่วัดเอี่ยมวรนุช และได้รับการยืนยันว่ามีวัดหนึ่งชื่อวัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริง ต่อมาวันรุ่งขึ้นท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพลในการบูรณะพระอุโบสถวัดประสาทบุญญาวาสขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยต่อมาพระอาจารย์ทิมเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำพระหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัวหนังสือปี พ.ศ.๒๕๐๕มามอบให้เพื่อถอดเป็นแม่พิมพ์และมอบมวลสารพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกปี ๒๔๙๗ พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาให้วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดอีกด้วย การสร้างพระผงของสำนักนี้ท่านเจ้าอาวาสได้พยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตกหักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดคือ ชิ้นส่วนแตกหักของ"สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.2500 โดยพระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสในขณะนั้น ได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักชำรุดซึ่งมีจำนวนมากหลายลังทีเดียวเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดด้วย โดยว่ากันว่า พระผงวัดประสาทบุญญาวาสนี้ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมผสมอยู่มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2509 มากมายทีเดียว
    จุดประสงค์ในการสร้างพระหลวงปู่ทวดในปลายปี 2505นั้น ทางวัดได้จัดสร้างพระขึ้นเพื่อนำมาบรรจุในพระเจดีย์จำนวน 84,000 องค์และเพื่อเป็นของสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาในการบริจาคทรัพย์ด้วย และก็ยังได้สร้างพระเพิ่มขึ้นอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. 2506 เพื่อจุดประสงค์เดิมและเพื่อแจกเป็นของสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ไปปิดทองพระที่หล่อขึ้นใหม่และรวมฝ่าพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย
    ในด้านพิธีกรรมและการปลุกเสกพระของวัดประสาทบุญญาวาสนั้นมีการจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มากๆโดยพระคณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกตามใบฝอยที่แจ้งไว้ในซองบรรจุวัตถุมงคลเพื่อเป็นของสมนาคุณของวัดประสาทบุญญาวาส กล่าวว่าพิธีพุทธาภิเษก 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ.2506 มีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง 234 รูปจนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมาซึ่งพระอาจารย์ท่านใดเก่งๆในสมัยนั้นก็จะนิมนต์มาหมด พิธีในครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเป็นต้นมาครับ
    รายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกและรวบรวมมาได้ส่วนหนึ่งมีดังนี้
    อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
    ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
    ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
    ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
    ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
    ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
    ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
    ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
    ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
    ลพ.พรหม วัดช่องแค
    ลพ.ทบ วัดชนแดน
    ลป.ทิม วัดละหารไร่
    ลป.เขียว วัดหรงมล
    ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
    ลป.ดู่ วัดสะแก
    ลป.สี วัดสะแก
    ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
    ลป.นาค วัดระฆังฯ
    ลป.หิน วัดระฆังฯ
    ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
    พระอ.นำ วัดดอนศาลา
    ลพ.เส่ง วัดกัลยา
    ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
    ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
    ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
    ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
    ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
    ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
    ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
    ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
    ลพ.ผล วัดเทียนดัด
    ลพ.โด่ วัดนามะตูม
    ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
    ลพ.สุด วัดกาหลง
    ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
    ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
    ลพ.แก้ว วัดช่องลม
    ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
    ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
    เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
    เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
    ลพ.ดี วัดเหนือ
    ลพ.แขก วัดหัวเขา
    ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
    ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
    ลพ.มิ่ง วัดกก
    ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
    ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
    ลพ.อั้น วัดพระญาติ
    ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
    ลพ.สอน วัดเสิงสาง
    ลพ.แทน วัดธรรมเสน
    ลพ.เทียน วัดโบสถ์
    ลพ.นิล วัดครบุรี
    ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี

    74155827_1427814740717365_2917229409071005696_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019
  16. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 87 หลวงปู่ทวด รุ่น โพธิวงศ์ (พิธีเสาร์5 ขึ้น5ค่ำ เดือน5 ร้อยปีจะมีํสักครั้ง) พิมพ์ย้อนยุค หลวงพ่อรักษ์(พระอนาลโย อนิยโต โพธิสัตว์) วัดสุทธาวาส วิปัสสนา (พุทธมณฑลอยุธยา)

    หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมภิรักษ์ วิ. เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ดังผู้สร้างพุทธมณฑล จังหวัดอยุธยา สืบสายตำราวิชาอาคม อดีตเกจิดังมากมาย อาทิ ตำรา วิชาสายวัดประดู่โรงธรรม จ.อยุธยา หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงพ่อเต๋ คงทอง เป็นต้น

    โดยศึกษาเรียนวิชาอาคมจากครูบาอาจารย์กว่า 20 รูป มีหลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อรวย วัดตะโก หลวงพ่อสาคร วัดหนองกลับ ท่านพ่อเขียน วัดกะทิง และหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับหลวงพ่อรักษ์มาโดยตรง

    สำหรับด้านการพัฒนาวัด มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างวัด สร้างพุทธมณฑลจังหวัดอยุธยา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสาธุชน โดยจัดให้มีการถือศีลปฏิบัติธรรม สอนกรรมฐานเป้นประจำตลอดทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ ทุกเดือนตลอดทั้งปี มีผลงานมากมายตลอดถึงช่วยเหลือ สาธารณะสงเคราะห์ และมอบทุนการศึกษาของพระภิกษุขสามเณร และเด็กเยาวชน ตามถิ่นทุรกันดารมากมายทุกภูมิภาค

    บูชา2องค์ 250 บาท 73194942_491232248402071_3178084733124870144_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    73190482_1413794872105868_2669418544940187648_n.jpg รายการที่ 88 ปิดครับ พระสมเด็จพุทธโคดม หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี ปี 2505

    สมเด็จพระพุทธโคดม หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี ตามประวัตินั้น หลวงพ่อขอม ท่านถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์เรืองนามอีกรูปหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ยุคสมัยนั้นมีงานปลุกเสกที่ไหน ต้องมีชื่อ หลวงพ่อขอมที่นั่น วัตถุมงคลของท่านที่จัดสร้างมีหลายหลายเนื้อหา แต่ยุคต้น ๆ และเป็นที่นิยมก็คือเนื้อดินครับ ถ้าหากได้ศึกษาประวัติและปฏิปทาลึก ๆ ของท่านจะทราบดีว่าหลวงพ่อท่านปรารถนาพุทธภูมิเช่นกัน พิมพ์นี้ถือว่าเป็นพิมพ์เอก องค์พระมีขนาด 4 x 2.5 ซม. จัดสร้างปี 2505 สภาพสวยแชมป์ เนื้อดินผสมผงว่านและมวลสารอื่นๆ เนื้อจัดมาก แบบนี้มีน้อยและหายากครับ พระเนื้อดิน (พิมพ์สมเด็จพระพุทธโคดม) จ.สุพรรณบุรี วัดไผ่โรงวัว จัดสร้างปี 2505 พระเนื้อดิน พิมพ์สมเด็จพระพุทธโคดม ด้านหลังยันต์ จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อขอม วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จัดสร้างพิธีใหญ่เสาร์ ๕ ปี ๒๕๐๕ สภาพสวยเดิมเดิม เนื้อจัดแห้งผาก สวยงาม ดูง่ายสบายตา พุทธคุณดีพิธีใหญ่ น่าใช้อย่างแรง สำหรับองค์นี้จัดได้ว่าฟอร์มดีทีเดียวครับ.. สมเด็จพระพุทธโคดม หลวงพ่อขอม วัดโพธาราม (ไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี พุทธาภิเษก เสาร์ 5 พ.ศ. 2505 เนื้อดินสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ผงพุทธคุณ ฯลฯ แร่หมัดไฟเพียบ สภาพสวยเดิมๆ ครับ พระสมเด็จพุทธโคดม หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อขอมท่านมักได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกในงานพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆ จนนับครั้งไม่ถ้วน ยิ่งงานใหญ่ๆ ต้องมีท่านด้วยเสมอ ขณะไปปลุกเสกในการสร้างพระให้วัดอื่นๆ ท่านมีปณิธานว่า จะสร้างพระจำนวนโกฏิ (สิบล้านองค์) ท่านมีเจตนาสร้างเพื่อสืบทอดพระศาสนา โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี ๒๔๗๓ จนถึงปี ๒๕๐๐ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า ท่านก็ยังสร้างอีกเรื่อยมา มีจำนวนหลายร้อยตุ่ม สร้างแล้วก็แจกกันอย่างเดียว หลวงพ่อขอมท่านบอกว่าที่ท่านสร้างพระเครื่องจำนวนมากๆอย่างนี้ ก็เพื่อไม่ให้พระเครื่องมีราคาแพง เมื่อพระไม่แพงพวกที่ทำพระเก๊ก็ไม่อยากทำเลียนแบบขึ้นมาเพราะไม่คุ้มค่าครับ แม้จะสร้างมาก แต่พระของท่านก็มีประสบการณ์ดีเช่นกัน คือ คนนำไปลองยิงแล้วมีผลเป็นมหาอุดด้วย วัตถุมงคลที่ท่านอฐิษฐานจิตปลุกเสกนั้น พุทธคุณสูงและโดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดกันภัย โชคลาภค้าขาย เมตตามหานิยมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019
  18. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 89 ปิดครับสมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อฤษีลิงดำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019
  19. Champion168

    Champion168 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2019
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +6
    รายการที่ 90 ปิดครับ พระปางไสยาสน์ วัดพระพุทธบาท สระบุรี ปี 2526 เนื้อผงน้ำมัน+พระปิดตาจิ๋ว แจกแม่ครัว หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง

    พระปางไสยาสน์ ปี 2526 พิธีใหญ่ มีพระเกจิชื่อดังยุคนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย ขนาดประมาณ 1.5 คูณ 2.7ซ.ม.***เคาะเดียว*** วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้ง อยู่ที่ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาทห่างจากตัวเมืองจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ 2167 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปูชนียสถานที่สำคัญคือ รอยพระพุทธบาทที่ ประทับไว้บนแผ่นดินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรีรอยพระพุทธบาทมีความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระพุทธบาทตามลักษณะ 108 ประการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปชั่วคราว ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาได้มีการสร้างต่อเติมกันอีกหลาย สมัย และยังพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ที่ก้อนหินขนาดใหญ่ สูงจากพื้น 160 เซนติเมตร เมื่อครั้นเสด็จ นมัสการรอยพระพุทธบาท ลักษณะของพระมณฑป เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท 7 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ สีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาย่อมุมไม้สิบสอง ปิดทองประดับกระจกโดยรอบฝาผนัง ด้านนอกปิดทอง ประดับกระจกเป็นรูปเทพพนม พุ่มข้าวบิณฑ์บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรม ประดับมุกชั้นเยี่ยม ของ เมืองไทย พื้นภายในปูด้วยเสื่อเงินสาน ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสายซึ่งหมายถึง บันไดเงิน บันได ทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงจากสวรรค์หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด เป็นนาค 5 เศียร บริเวณรอบ พระมณฑปมีระฆังแขวนเรียงราย เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตีแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนทั้งหลาย ส่วนพระอุโบสถ และพระวิหารต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ ในบริเวณวัดยังมี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท ( วิหารหลวง ) ซึ่งเป็นเก็บรวบรวม ศิลปวัตถุ อันมีค่า อาทิ เครื่องทรงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เครื่องลายครามสังคโลก เครื่องทองสำริดโบราณ ศาสตราวุธ โบราณ รอยพระพุทธบาทจำลอง ยอดมณฑปพระพุทธบาทเก่าพัดยศของพระสมัยต่างๆ และท่อ ประปาสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช วิหารหลวงจะเปิดให้ชมเฉพาะช่วงที่มีงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ซึ่งปกติ จัดให้มีปีละ 2 ครั้ง คือ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ และงาน ประเพณีตักบาตรดอกไม้ซึ่งเป็นประจำทุกปี ในวันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 (ประมาณเดือน กรกฎาคม) โดยจะมีการทำบุญตักบาตรด้วยข้าวสุกที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร และจะไปเก็บดอกไม้ที่ ชาวบ้านเรียกว่าดอกเข้าพรรษา เพราะมีเฉพาะในเดือน 8 เท่านั้น เพื่อนำไปตักบาตรในตอนบ่ายของวันเดียวกัน ความเชื่อและวิธีการบูชา ตามคติของคนโบราณกล่าวไว้ว่าหากได้มานมัสการรอยพระพุทธบาทนี้ครบถึง 7 ครั้ง จะได้ไปจุติในสรวงสวรรค์ แม้แต่ในชาติภพนี้ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตมีความสำเร็จสมหวังในทุกประการ ประวัติพระพุทธบาท ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่า มีพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยคณะหนึ่ง เดินทางไป ยังลังกาทวีป ด้วยหวังจะสักการบูชาพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ การไปคราวนั้น เป็นเวลาที่พระสงฆ์ชาวลังกา ทวีปกำลังสอบประวัติ และที่ตั้งแห่งรอยพระพุทธบาททั้งปวงตามที่ปรากฏอยู่ในตำนานว่ามีเพียง 5 แห่ง ภาย หลังสืบ ได้ความว่าภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณบรรพตมีอยู่ในสยามประเทศ ครั้นเมื่อได้พบกับพระภิกษุสงฆ์ชาวไทย ในคราวนั้น ต่างพากันสอบถามว่ารอยพระพุทธบาท ที่มีอยู่ 5 แห่ง ในสถานที่ต่างๆ กันนั้น ปรากฏว่ามีที่ เขาสุวรรณบรรพตแห่ง 1 ก็ภูเขาลูกนี้อยู่ในประเทศไทย แต่ไม่พยายามสืบไปนมัสการ กลับพากันไปลังกาทวีป เมื่อพระภิกษุสงฆ์ไทยคณะนั้นได้รับคำบอกเล่า เมื่อกลับมาสู่ประเทศไทย จึงนำความขึ้นถวายสมเด็จ พระเจ้า ทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งบรรดาหัวเมืองทั้งปวง ให้เที่ยวตรวจตราค้นดูตามภูเขาต่างๆ ว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด ครั้งนั้น เจ้าเมืองสระบุรี สืบได้ความจากนายพรานบุญว่า ครั้งหนึ่งออก ไปล่าเนื้อในป่าใกล้เชิงเขา ยิงถูกเนื้อตัวหนึ่งเจ็บลำบากหนีขึ้นไปบนไหล่เขา ซุกเข้าเชิงไม้หายไป พอบัดเดี๋ยวก็ เห็นเนื้อตัวนั้น วิ่งออกจากเชิงไม้เป็นปกติอย่างเก่า นายพรานบุญนึกประหลาดใจ จึงตามขึ้นไปดูสถานที่บน ไหล่เขา ที่เนื้อหนีขึ้นไป ก็พบรอยปรากฏอยู่ในศิลา มีลักษณะเหมือนรูป รอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณ สักศอก เศษและในรอยนั้นมีน้ำขังอยู่ด้วย นายพรานบุญเข้าใจ ว่าบาดแผลของเนื้อตัวที่ถูกตนยิง คงหายเพราะดื่มน้ำ ในรอยนั้น จึงวักน้ำลองเอามาทาตัวดู บรรดาโรคผิวหนังคือ กลากเกลื้อน ซึ่งเป็นเรื้อรังมาช้านานแล้ว ก็หาย หมด สิ้นไป เจ้าเมืองสระบุรี จึงสอบสวนความจริงดู ก็ตรวจค้นพบรอยนั้น สมดังคำบอกเล่าของนายพรานบุญ จึงมีใบ บอกแจ้งเรื่องเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ ที่เขานั้น ทอด พระเนตรเห็นรอยนั้นแล้ว จึงทรงพระราชวิจารณ์ตระหนักแน่นพระราชหฤทัยว่าคงเป็นรอยพระพุทธบาทเพราะ มีลายลักษณ์กงจักร ประกอบด้วยอัฏฐุตตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ ตรงกับเรื่องทีชาวลังกา ทวีปแจ้งเข้ามา ด้วย เกิดพระราชศรัทธาปราโมทย์โสมนัสเป็นกำลัง โดยทรงพระราชดำริเห็นว่ารอยพระพุทธบาท ย่อมจัดเป็น บริโภคเจดีย์แท้ เพราะเป็นพุทธบทวลัญช์อันเนื่องมาแต่พระพุทธองค์ ย่อมประเสริฐยิ่งกว่าอุเทสิกเจดีย์ เช่น พระสถูปเจดีย์ สมควรจะยกย่องบูชาเป็นพระมหาเจดียสถาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างก่อเป็น คฤหหลัง น้อย สวมรอยพระพุทธบาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อนแล้ว ครั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังราชธานี จึงทรง สถาปนายก ที่พระพุทธบาทขึ้นเป็นเจดียสถานเป็นการสำคัญ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมณฑป ยอดเดี่ยวสวม รอยพระพุทธบาทกำหนดเป็นพุทธเจดีย์ และสร้างอารามวัตถุอื่นๆ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ให้เป็นที่สำหรับ พระภิกษุอยู่แรม เพื่อทำการบริบาลพระพุทธบาท ทรงพระราชศรัทธาอุทิศเนื้อที่โยชน์หนึ่ง โดยรอบรอยพระพุทธ บาทถวายเป็นพุทธเกษตรต่างพุทธบูชา บรรดากัลปนาผล ซึ่งได้เป็นส่วนของหลวงจากเนื้อที่นั้นให้ ใช้จ่ายเป็น ค่าบำรุงรักษาพระมหาเจดียสถานที่พระพุทธบาท ทรงยกที่พุทธเกษตรส่วนนี้ให้เป็นเมืองชั้นจัตวา ชื่อเมือง ปรันตปะ แต่นามสามัญเรียกกันว่า เมืองพระพุทธบาท ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้ชายฉกรรจ์ ทุกคนที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่พระพุทธบาทพ้นจากหน้าที่ราชการอย่างอื่น สิ้น ตั้งให้เป็นพวกขุนโขลนเป็น ข้าปฏิบัติบูชารักษาพระพุทธบาทแต่หน้าที่เดียว พระราชทานราชทินนามบรรดาศักดิ์ประจำตำแหน่ง ผู้รักษาการ พระพุทธบาท หัวหน้าเป็นที่ขุนสัจจพันธ์คีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน รองลงมาเป็นที่ หมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีสัปบุรุษ ทั้ง 4 คนนี้ เป็นผู้รักษาเฉพาะองค์พระมณฑป ตั้งนายทวารบาล ๔ นาย เป็นที่หมื่นราชบำนาญทมุนิน หมื่นอินทรรักษา หมื่นบูชาเจดีย์ หมื่นศรีพุทธบาล โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคลังสำหรับเก็บวัตถุสิ่งของที่มีผู้นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ให้ผู้รักษาคลังเป็นที่ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา ให้มีผู้ประโคมยามประจำทั้งกลางวันกลางคืนเป็นพุทธบูชา ตั้งเป็นที่หมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ทรงกำหนดเทศกาลสำหรับให้มหาชนขึ้นไป บูชารอยพระพุทธบาทเดือน 3 ครั้ง 1 และเดือน 4 ครั้ง 1เป็นประเพณีตั้งแต่นั้นมา

    73268924_385401405671479_255933587885391872_n.jpg 73167000_2347301298728588_7984546822641156096_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019
  20. อาณัติ

    อาณัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6,122
    ค่าพลัง:
    +22,228
    โอนเงินแล้วครับ เมื่อวาน 450 บาทเช็คยอดด้วย...
     

แชร์หน้านี้

Loading...