ว่าด้วยศูนย์พักพิงผู้อพยพ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูติอาคเนย์, 22 ตุลาคม 2011.

  1. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ตอนนี้คาดว่าสถานการณ์กำลังจะเข้าเฟส 2 แล้วคือท่วมหมดแต่ท่วมนาน ปัญหาอย่างที่หลายๆท่านวิตกคือ อาหารจะขาดแคลน โรคระบาดแพร่กระจาย ความไร้ระเบียบ อาชญากรรมจะทวีความรุนแรงจนควบคุมไม่ได้

    ซึ่งเป็นปัญหาที่จัดการยากยิ่งกว่าน้ำท่วมเสียอีก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเลยแต่สงสัยจะหลีกเลี่ยงไม่พ้น ท่านทั้งหลายมีความคิดประการใดบ้างเกี่ยวกับศูนย์อพยพควรจะต้องมีอะไรบ้าง ระบบจัดการระบบบริหารงานควรต้องทำอย่างไร

    ผมไม่อยากให้ทุกคนหวังแต่พึ่งภาครัฐเพราะผมกล้าฟันธงเลยว่าจัดการไม่ได้ครับ!!! ดังนั้นภาคประชาชนต้องระดมสมองและกำลังกันแล้วยังพอมีเวลาอยู่แต่ไม่มาก ผมได้ยินมาว่า thaipbs ก็มีแนวความคิดนี้แล้วเช่นกันได้จัดทำแพทเทิร์นศูนย์อพยพขึ้นมาโดยเปิดเป็นโอเพ่นซอสซ์ให้ทุกท่านช่วยกันระดมสมองคิดเพื่อร่วมบริหารจัดการศูนย์อพยพได้คิดว่าจะเปิดตัวในวันนี้

    ปล.ตอนนี้อาสาทุกหน่วยเห็นพ้องว่าจะยกเลิกการแจกอาหารตามบ้านเรือนนะครับท่านที่คิดว่าตั้งรับอยู่บ้านแล้วรอของแจกขอให้เลิกคิดได้เลย เพราะงานเฟสต่อไปของหน่วยอาสาจะเป็นการเน้นไปที่ศูนย์อพยพเป็นหลัก

    รวมข้อมูล ศูนย์อพยพ และ ศูนย์พักพิง สำหรับผู้ประสบอุทกภัย

    http://shelter.thaiflood.com/

    รายชื่อโรงแรมที่ลดราคาให้กับผู้ประสบภัย และที่ศูนย์พักพิงในจังหวัดใกล้เคียง กทม


    http://www.tourismthailand.org/flood-relief/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2011
  2. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,982
    เห็นด้วยกับคุณภูติอาคเนย์ครับ
    ท่วมนาน ขังนาน เน่านาน ไม่มีใครช่วยเราได้ เราต้องดูแลตนเอง
    อาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ ความปลอดภัย สภาพร่างกาย สภาพจิตใจ ต้องดูแลเองครับ
     
  3. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    เห็นด้วยกับคุณ มัทธนพาธา ครับตอนนี้ที่ มธ.ธรรมศาสตร์ก็เริ่มมีปัญหาด้านการดูและการจัดส่งกำลังบุำรุงน้อยลงเพราะเกิดน้ำท่วมทั่วทุกที่การส่งกำลังบำรุงจะลำบากยิ่งๆขึ้น ศูนย์อพยพก็ควรเป็นที่พักพิงเพื่อกระจายคนเดินทางไปยังบ้านญาติ ส่วนคนที่อยู่ต่อหรือช่วยงานต้องมีระบบจัดการให้มีการช่วยกันทำงาน เท่าที่นึกออกแนวคิดน่าจะเป็นแบบ ชุมชนสันติอโศก หรือแนวๆวัดสวนแก้วประมาณนั้นน่าจะพอรับมือปัญหาได้ในระยะหนึ่ง แต่ปัญหาคือศูนย์อพยพทั่วไปมักจะเป็นสถานที่เป็นตึกทางราชการ โรงเรียน อะไรแบบนี้เลยทำการเพาะปลูกไม่ได้ก็ทำให้หาของกินลำบากในระยะยาว ถ้าต้องซื้อเรื่อยๆเพื่อมาเลี้ยงคนคิดว่าอยู่ไม่ได้แน่นอน *-*
     
  4. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    ทุกศูนย์อพยพในเขตกทม.และปริมณฑลทุกศูนย์

    จะถูกน้ำตีแตกพ่ายกระเจิงภายใน 7 วัน ครับ

    ถึงน้ำไม่ท่วมแต่ขาดแคลนอาหารและสิ่งจำเป็น เพราะน้ำล้อมรอบจนส่งของไม่ได้

    สิ่งที่ผู้บริหารควรทำนั่นก็คือ.....

    1. ไปตั้งศูนย์ที่อยู่ห่างรัศมีการท่วมของน้ำ
    2. จัดให้องค์กรหรือจังหวัดเข้ามาช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จ เช่นเดียวกับ
    โครงการจังหวัดพี่เมืองน้อง ครับ ให้รับผิดชอบแต่ละศูนย์ไปเลยจะไม่สับสน
    3. หากต้องการความช่วยเหลือจากส่วนกลาง ก็จัดให้มียานพาหนะตรงไปถึงจุดได้
    ตลอดเวลา ไม่ต้องพะวงว่าจะโดนท่วมซ้ำสองอีก

    วิธีการคิด.....ผิดตั้งแต่แรก ประเมินศักยภาพของน้ำผิดไปมากมาย
     
  5. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    เห็นด้วยกับคุร Nirvana ครับ ตอนนี้เริ่มมีแนวคิดว่าจะให้ฝั่งตะวันตกแถวนครปฐมเป็นพื้นที่อพยพของ กทม. ทั้งหมด และให้จังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบ เป็นจังหวัดส่งกำลังบำรุงครับ กำลังรอดูการดำเนินการอยู่แต่ ณ ปัจจุบันยังเป็นเพียงแนวคิด อยากฝากให้ทีมที่ปรีกษานายกและผู้ว่าน่าจะคิดถึงเรื่องเสบียงและศูนย์พักพิงจริงๆจังๆได้แล้วครับ
     
  6. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860


    ขณะนี้ทางทีมที่ปรึกษานายกฯไม่ว่างและกำลังพยายามแก้แหอยู่ ครับ

    อีกไม่นานก็จะโดนแหที่กำลังแก้พันตัว จมน้ำตามผู้ประสพภัยไปด้วย

    ระดับน้ำกำลังทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง
    การรุกคืบกระทำทุกนาที ทั้งกลางวันกลางคืน
    และไม่หวั่นว่า ใครหรืออะไรจะขวางทางการเดินน้ำ
    พร้อมที่จะกระแทกสิ่งกีดขวางให้พังพินาศไป
     
  7. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,687
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** หนีภัย ไม่สร้างภาระต่อไป ****

    ๑. ไม่ขวางทางน้ำ
    ๒. พยายามนำคนออกไป ต่างจังหวัดที่มีพื้นที่สูง....ให้มากที่สุด
    ๓. ห่อของสำคัญ เก็บไว้ที่สูง ...แล้วตัดใจทิ้งไปก่อน
    ๔. ควบคุมอารมณ์.... ไม่โกรธ ไม่โมโห (ภาวนาไว้ในใจ)
    ๕. รีบไป อย่าช้า !!!

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  8. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
    ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ของ อ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร

    [​IMG]

    รับผู้อพยพได้ 1,000 คน

    ระหว่างที่พักอยู่ในศูนย์ จะได้เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และช่วยกันทำลูกบอลจุลินทรีย์ กับน้ำหมักชีวภาพ ไว้บำบัดน้ำเน่าหลังน้ำลดจ้ะ

    ใครสนใจติดต่อคุณจ๊อย 081 - 8639703

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    น้ำเต็มแผ่นดิน คนดีเต็มแผ่นน้ำ

    [​IMG]


    มหาโมทนาสาธุการ หน่อเมล็ดพันธุ์ดีแท้ ในพระองค์ฯ เจ้าค่ะ

    นอกจากเครือข่่ายกสิกรรมแล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่ว ปท. ค่ะ ที่มีศักยภาพและทรัพยากรรูปแบบต่างๆ สนับสนุนความช่วยเหลือ รอรับการประสานอยู่ค่ะ




    [​IMG]



    ทำความรู้จัก ท่านอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ/ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง


    ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยรับราชการ ใกล้ชิดกับพระองค์ท่านในหน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี กว่า ๑๖ ปี
    <o></o>

    ท่านอาจารย์ยักษ์ รับราชการติดตามในหลวงอยู่ดีๆ ทำไมถึงลาออกมาเป็นชาวนา ติดตามได้จากคำพูดของท่านอาจารย์ยักษ์
    <o></o>

    "ผมรับราชการเติบโตจนไปเป็นผู้อำนวยการกองประเมินผลและข้อมูล ในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากประราชดำริ แรกๆก็ พระองค์ท่านก็ให้ทำหน้าที่จดบันทึกพระราชดำริแล้วก็เอาพระราชดำริที่บันทึกไว้แล้วประมวลเป็นเล่ม ถวายพระองค์ท่านพอท่านตรวจสอบแล้วว่าใช่ เราก็เอาเรื่องนี้มาทำแผน มาเขียนแผนร่วมกับหน่วยงานที่ท่านรับสั่งด้วย
    <o></o>
    เอาไปบรรยายเอาหลักเศรษฐกิจของพระเจ้าอยู่หัวนี่แหละท่านเรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง เล่าให้เกษตรกรฟังว่า พระองค์ท่านคิดอย่างนี้ พระองค์ท่านทำให้ดูแล้วอย่างนี้ คนก็ไม่ทำตามกัน เป็นเพราะว่าวิธีคิดอย่างง่ายๆ พึ่งตนเองได้อย่างนี้มันไปยากคนเขาไม่ค่อยเชื่อกัน<o></o>
    <o></o>

    คือผมเห็นพระองค์ท่านต้องลงไปเหน็ดเหนื่อยต้องลงไปทำด้วยพระองค์เอง ปลูกป่า ปลูกข้าว ไปเกี่ยวข้าว ด้วยตัวพระองค์ท่านเอง ผมก็เลยคิดว่าเอ๊ะ ถ้าเราเป็นเกษตรกรล่ะ พ่อแม่เราทำไร่ไถนา ถ้าเราเป็นเกษตรกรอย่างนี้ชาวบ้านจะเชื่อมากขึ้น ความรู้ที่พระองค์ท่านทำไว้ให้ดูมีพอแล้วขาดคนเอาจริงในสนาม ก็เลยต้องมาทำคิดว่าจะทำทุกอย่างที่ได้ฟัง ที่ได้บันทึกมา ค่อยๆทำทีละนิดๆ ไปเหมือนเต่านี่แหละครับแต่ไม่หยุด"



    ผมคิดว่า นี่คือการรับใช้แผ่นดิน รับใช้ภูมิแผ่นดิน รับใช้พระองค์ท่าน ฟื้นฟูแผ่นดินให้มาอุดมสมบูรณ์ นี่คือการทำหน้าที่ ทำให้มันให้ฟื้นกันทั้งประเทศนี่แหล่ะ ผมเชื่อมั่นว่า เชื่อว่าพระองค์ท่านอยากเห็นอย่างนี้ล่ะ ไม่อยากเห็นไปยืนเอาใจพระองค์ท่านใกล้ๆ ท่านไม่ต้องการ ท่านต้องการให้เอาใจแผ่นดิน ทำอย่างนี้ล่ะ ประชาชนอยู่รอด นี่คือความสุขของพระองค์ท่าน
    <o></o>

    ที่มาข้อมูล : บ้านสวนพอเพียง
    <o>



    มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

    เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐

    สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
    ศูนย์ฯ มาบเอื้อง ๐๓๘-๒๖๓๐๗๘




    <o>

    เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ<o></o>​
















    ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1734083/[/MUSIC]<o></o>​
    </o></o>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ถึงน้ำจะท่วมอย่างไร ขอให้ "ใจ" ไม่จมน้ำ

    สำนักสงฆ์ไตรรงค์วิสุทธิธรรม (วัดป่าสระกระโจม)
    ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย


    [​IMG]



    เมื่อสักครู่ หลวงพ่อพระอาจารย์ใหญ่ขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์แก่ญาติโยมทั้งหลายว่า

    ญาติธรรมท่านใดที่ประสบปัญหาภัยน้ำท่วม ไม่สามารถอยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย เด็กหรือญาติผู้ใหญ่ไม่มีคนดูแล ให้พากันมาที่วัดค่ะ

    พระอาจารย์ใหญ่ชวนมาหลบภัยอยู่ที่วัดนะคะ เพราะที่วัดน้ำยังไม่ท่วมและคงจะไม่ท่วมแล้วนะคะ ฝนหยุดตกแล้ว อากาศเริ่มเย็นสบาย

    พระอาจารย์ฝากให้บอกญาติโยมว่า ที่จอดรถที่วัดก็ยังพอมี จอดได้หลายร้อยคัน แม้จะต้องจอดกลางแดด แต่ว่าน้ำไม่ท่วมแน่ๆ และรถไม่หายค่ะ

    ที่หลับที่นอน พออยู่ได้อย่างปลอดภัย สุขสบายตามสมควร ที่พักมีศาลาหลังใหญ่กันแดดฝน หากมีเตนท์หรือเต้นท์มุ้งก็อยู่ได้ ซึ่งรับคนได้เป็นพันคน


    ส่วนเด็กๆ คนชรา ไปนอนศาลาหลังเล็กซึ่งมีมุ้งลวด ก็อยู่ได้ประมาณ 100 กว่าคนห้องน้ำเราพอเพียงแล้ว มีประมาณ 50 ห้อง ไม่ลำบาก
    อาหารการกินก็ยังมีแบ่งปันได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ท่านบอกว่าไม่มีที่ไป ให้หลบภัยมาอยู่วัดได้ ท่านจะสั่งให้ทำอาหารเลี้ยง 3 มื้อได้เลย


    “ถ้าลำบากทุกข์ยากอย่างไร วัดยังเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้เสมอ
    ขอให้มาวัดกันค่ะ”

    หลังงานกฐินปีนี้ ทางวัดได้รับบิณฑบาตรข้าวสารบ้างอาหารบ้าง ก็ได้แบ่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย 3 คันรถ ก็ยังพอมีเหลือรับรองญาติธรรมที่เดือดร้อน มาอยู่วัดมีข้าวกิน มีน้ำให้อาบ แล้วก็มีธรรมะเย็นใจ

    ใครเจ็บป่วยก็มีแม่ชีดูแล ทั้งการนวดแผนไทย การประคบร้อน สมุนไพร ฤาษีดัดตน ซึ่งเป็นการฟื้นฟูสุขภาพด้วยธรรมโอสถแนวองค์รวม
    ทุกข์ใจอย่างไร พระอาจารย์ท่านพร้อมให้คำปรึกษา มีพระและแม่ชีที่สอนปฏิบัติธรรม ชวนท่านสวดมนต์ภาวนาเพิ่มกำลังใจให้มั่นคง ใครจะอาศัยโอกาสนี้แก้กรรม บรรเทาทุกข์เรื่องโรคภัยไข้เจ็บส่วนตน พระอาจารย์ใหญ่พร้อมเมตตาค่ะ ท่านบอกว่าได้เตรียมพร้อมไว้เสมอ ทุกสิ่งอย่าง..

    ท่านบอกว่าข้าวของเสียหายไม่เป็นไร เราเอาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยให้จิตใจมั่นคงไว้ก่อน พอน้ำลดเราก็มีแรงกลับไปฟื้นฟู เยียวยาได้ ทรัพย์สินเราค่อยหาเอาใหม่ภายหลัง.. เอาชีวิตของเราและครอบครัวให้ปลอดภัยไว้ก่อนนะคะ
    พวกเราอย่าจมอยู่กับความทุกข์กังวล นอนไม่หลับต้องคอยผวาอยู่ตลอด หากเจ็บป่วยขึ้นมา จิตใจเศร้าหมองจะผีซ้ำด้ามพลอย มันจะยิ่งลำบากกว่าเดิม ดังนั้นจิตใจก็ต้องรักษาให้เข้มแข็ง ให้ใจลอยอยู่เหนือน้ำให้ได้นะคะ

    ฝากภาพพระอาจารย์เมตตาอำนวยพรให้เพื่อนๆ ทุกคนปลอดภัย เสียหายน้อยที่สุด หรือไม่เสียหายเลย.. และมีจิตใจเข้มแข็งผ่านวิกฤติครั้งนี้ให้ได้ทุกรูปทุกนาม


    กราบมหาอนุโมทามิ เจ้าค่ะ
    ที่มาข้อมูล : ถึงน้ำจะท่วมอย่างไร ขอให้ใจไม่จมน้ำ.. ใครน้ำท่วมอยู่บ้านไม่ได้ให้มาอยู่วัดได้ค่ะ.. | visudhidham.c



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  11. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446



    อนุโมทนาด้วยจ้า


    เสริมรายละเอียดนะจ๊ะ


    เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554 ประมาณ 16.45-17.20 ได้เข้ากราบหลวงพ่อไก่ หรือ พระพิทักษ์ศาสนวงศ์
    ท่านได้เมตตาปรารภว่า ท่านต้องการสงเคราะห์ช่วยชาว กทม. และ ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน ที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยครั้งนี้ แต่ไม่สามารถที่จะสื่อสารไปถึงได้ ท่านจึงมีเมตตา ปรารภกับคณะศิษย์ ว่า


    “ให้ผู้ที่ต้องการอพยพหรือหนีจากภัยพิบัตินี้ มาพักที่วัดได้ โดยที่วัดสามารถ รับคนได้ 1000 คนมีที่จอดรถ จำนวนมากประมาณ 1000 คัน มีคนคอยเฝ้าให้ตลอด”


    “มีอาหารเลี้ยง 3 มื้อ และ 2 มื้อ (สำหรับคนถือศีล) ไม่มีคิดค่าใช้จ่ายใดๆ ท่านต้องการจะช่วย ที่พักมีห้องน้ำ แยก หญิงชาย ฝั่งละ 18 ห้อง รวมกว่า 40 ห้อง (แต่เป็นห้องน้ำพระแยกด้วยนะครับ) เป็นส่วนรวม”
    ทางวัดเป็น สถานปฏิบัติธรรม และสงเคราะคนเจ็บป่วยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นค่อนข้างมีความพร้อม ในแทบทุกด้าน ทั้งน้ำและไฟฟ้า
    เวลาเปิด-ปิด ประตู 6.00 -22.00


    เบอร์โทรติดต่อสอบถาม แม่ชีจ้ะ 08-7669-0093


    ภาพสถานที่ กดดูได้ที่ Link หรือ goo.gl/xb5aX
    วิธีมาที่วัด



    การเดินทางมาวัดโดยรถประจำทางจากกรุงเทพ
    ให้โดยสารโดยรถตู้

    1. สายสุพรรณ-ด่านช้าง ให้ขึ้นสาย 69 ขึ้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ใต้ทางด่วน)
    2.รถตู้สุพรรณ-ด่านช้าง ขึ้นที่กองสลาก ไปเส้นทางเดียวกัน..
    บอกพี่คนขับว่าลงทะเลบก ถ้าเดินไปวัดประมาณ 2 กิโล (แม้ว) เมื่อมาถึงแยกทะเลบก ตรงนั้นจะมีปั้มหลอด
    มีคุณลุงอยู่ บอกคุณลุงว่าจะว่ารถมาวัดไตรรงค์ วิสุทธิธรรม (วัดป่าสระกระโจม) 40 บาทครับ..
    (ขากลับขอเบอร์เขาไว้ให้ไปรับ..)
    อีกวิธีที่จะเข้ามาที่วัดคือเมื่อนั่งรถตู้สาย 69 มาถึงดอนเจดีย์ ให้โทรหาคุณหนา เบอร์
    0822902788และบอกว่าจะมาที่วัดไตรรงค์วิสุทธิธรรม เพื่อจะนัดให้คุณหนาขับรถออกไปรับที่แยกทะเลบก
    (ค่ารถประมาณ 40 บาทเช่นกัน)
    ขากลับให้รอรถตรงทะเลบกจะมีรถตู้เข้ากรุงเทพจะมีป้ายบอกว่าสุดสายกองสลากหรืออนุสาวรีย์ชัยสลับกัน
    มา..
    ลิงค์แผนที่
    http://g.co/maps/9nw6z
    http://www.visudhidham.com/?page_id=355 เปิดแล้ว Copy มาได้เลย




    อ่านเพิ่มเติมที่นี่ได้เน้อ

    https://docs.google.com/document/pub?id=1nqF1lZo3Qa7hhHZYyZ7ZUShcKbuJimXt2MkRzf9J0Mk&pli=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  12. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านครับ ตอนนี้ที่หลายๆท่านให้ข้อมูลมาเริ่มเห็นแนวทางแล้วครับ
    1.ศูนย์อพยพควรเน้นที่ระบายคนไม่ใช่เซอวิสอพาทเมนต์แบบอยู่หลายๆเดือน
    2.ควรจะมีการจัดระเบียบและความเรียบร้อยและต้องมีผู้ดูแลหลายคนประสานงานสอดรับกันทุกฝ่าย ผู้ประสบภัยก็ต้องช่วยศูนย์ด้วยจะอยู่เฉยๆคงไม่เหมาะ
    3.มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมให้กับผู้ประสบภัยไปในตัว นอกจากเป็นการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพทางจิตยังทำให้มีสติสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ด้วย
    4.พึ่งพามหาวิทยาลัย/วิทยาลัยในเรื่องกำลังพล ความรู้เทคโนโลยี นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์
    5.วางแผนแบบบุูรณาการณ์ให้ศูนย์พึ่งพาตนเองได้และสามารถแผ่ความช่วยเหลือไปยังชุมชนใกล้เคียงที่เดือดร้อนได้ด้วย
    6.ต้องมีหน่วยงานพาผู้คนเข้าและออกจัดส่งไปยังภูมิลำเนาผู้ประสบภัยต้องประสานกับทีมกู้ภัยด้วย
    7.สำคัญมากต้องเป็นศูนย์ที่มีความมั่นคง คือต้องไม่ใช่ทางน้ำท่วมในอนาคต จะหวังแต่เน้นใกล้คงไม่ได้ แต่ถ้าไกลไปต้องมีศูนย์ที่คอยส่งคนต่อเป็นทอดๆ

    พุดไปพูดมาชักเข้าเค้าทำให้ผมนึกถึงโครงการบวรที่คุณคณานันท์ทำอยู่บวกกับอีกโครงการคือปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ทางรอด คือเบ้าหลอมแห่งสิกขา ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย


    โมทนาสาธุการค่ะ ใช่แล้ว มาถูกทางแล้วค่ะ ท่านพี่ภูติอาคเนยฺ์ คือปวงชนดำเนินหลักการตามแนวทางพระอัจฉริยภาพในพระราชดำริฯ คือเบ้าหลอมแห่งสิกขา ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ มากล้นรำพันฯ


    พวกเราจะเป็น "เมล็ดมะม่วง"
    และกระจายพันธุ์ดี ต่อๆ กันไป
    สู่วิถี "ชีวกสิกรรม"
    กินอยู่อย่างพอเพียง
    และ "ชีวานุสังเคราะห์"



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    เปิดวิทยาลัย – รร เอกชน ช่วยน้ำท่วม
    <o></o>
    นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า ตามที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายให้ทุก องค์กรหลักไปจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในแต่ละจังหวัดนั้น


    ขณะนี้สำนักงาน คณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในแต่จังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ประสบอุทกภัยที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถไปพักพิง รับอาหารและรับเครื่องดื่มยังชีพ รวมถึงสามารถเอา รถยนต์ไปจอดได้ในทุกศูนย์ที่ สช.จัดไว้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ประสบอุทกภัยยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถโทร.มาที่สายด่วน สช.ได้ 0-2280-0810


    เลขาธิการ กช.กล่าวอีกว่า สำหรับรายละเอียดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของ สช.ทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีดังนี้

    ศูนย์ฯกรุงเทพฯ ได้แก่ <o></o>
    วิทยาลัย เทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ โทร.0-2522-7777
    ร.ร. ปราโมชวิทยา รามอินทรา โทร.0-2521-0386
    วิทยาลัย เทคโนโลยีบางกะปิ โทร.0-2376-2141-2
    วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค โทร.0-2906-2949-50
    วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน โทร.0-2421-1077
    วิทยาลัย เทคโนโลยีกรุงเทพ โทร.0-2311-2491
    ศูนย์ฯ จ.นนทบุรี ได้แก่
    พัฒนวิทย์บริหารธุรกิจ โทร.0-2311-2491
    ร.ร.กุมุทมาศ โทร.0-2503-3358-9
    ร.ร.เล็กโกเมศอนุสรณ์ โทร.0-2589-3248

    ศูนย์ฯ จ.ปทุมธานี ได้แก่
    วิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี โทร.0-2516-0092-94 และ
    ศูนย์ฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้แก่
    ไทยอโยธยา- บริหารธุรกิจ โทร.0-3521-3942-4.<o></o>
    ที่มาข้อมูล : http://www.thairath.co.th/content/edu/209450
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    “น้ำใจ“ มหาวิทยาลัยหลายแห่งช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมปี 2554

    น้ำท่วมในประเทศไทยกว่า 30 จังหวัดที่เดือนร้อนกันอยู่ในขณะนี้ ประชาชนทั้งประเทศให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันเป็นอย่างดีดังที่ปรากฎเป็นข่าวประจำวัน ข้าวสาร อาหาร สิ่งของช่วยเหลือถูกระดม

    เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยกว่า 30 จังหวัดที่เดือนร้อนกันอยู่ในขณะนี้ ประชาชนทั้งประเทศให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันเป็นอย่างดี ดังที่ปรากฎเป็นข่าวประจำวัน ข้าวสาร อาหาร สิ่งของช่วยเหลือถูกระดมไปช่วยผู้ที่เดือนร้อน

    ภาครัฐในกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ระดมกันออกมาช่วยเหลือเต็มที่
    มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดช่องทางการรับบริจาคเพื่อช่วยผู้ประสบอุททกภัยที่ศาลาพระเกี้ยว รวมถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เปิดรับผู้ได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วมแถบอำเภอองครักษ์ และจังหวัดปทุมธานี


    ส่วนโรงเรียนในสังกัดกทม.ก็เปิดรับหากมีน้ำท่วมสูงในเขตกรุงเทพฯ สามารถรองรับผู้อพยพได้ นับเป็นน้ำใจที่คนไทยไม่เคยแร้นแค้นตลอดมา

    ที่มาข้อมูล : “น้ำใจ“ มหาวิทยาลัยหลายแห่งช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมปี 2554<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จัดมหาวิทยาลัยไว้รองรับเป็นสถานที่พักพิงและช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม

    [​IMG]



    จัดมหาวิทยาลัยไว้รองรับเป็นสถานที่พักพิง
    และช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม

    <atomicelement id="ms__id63"></atomicelement>
    เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ห้องราชเทวีแกรนด์ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)จัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเชิญตัวแทนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม
    <atomicelement id="ms__id71"></atomicelement><o></o>
    รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่านายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ ได้สั่งการนโยบายอุดมศึกษารวมน้ำใจอุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วมโดยให้สกอ.แจ้งขอความร่วมมือจากสถานศึกษาให้ความช่วยเหลือสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ตามศักยภาพโดยเรื่องด่วนให้ทำทันที ได้แก่การเปิดพื้นที่ว่างในมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์พักพิงและให้ความช่วยเหลือด้านอาหารความเป็นอยู่และยารักษาโรคพร้อมกันขอให้เปิดพื้นที่สำหรับประชาชนนำรถเข้าไปจอดเพราะปัญหาเรื่องที่จอดรถเป็นปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน เช่นการจอดรถทิ้งไว้บนสะพานจนอาจทำให้เกิดอันตราย
    <atomicelement id="ms__id84"></atomicelement>
    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเก็บค่าที่จอดรถหรือไม่ก็ได้และในวันที่ 12 ต.ค. สกอ.จะจัดตั้งศูนย์อุดมศึกษาช่วยภัยน้ำท่วมทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยที่ประสบภัยน้ำท่วมและเป็นศูนย์ประสานงานการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนของแต่ละมหาวิทยาลัย (ทั้งรัฐและเอกชน) ทั้งด้านการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การให้บริการดูแลด้านสัตวแพทย์การช่วยเหลือภาคการเกษตร และการออกค่ายของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
    <atomicelement id="ms__id95"></atomicelement><o></o>
    ขณะนี้หลายมหาวิทยาลัยจัดทีมงานลงพื้นที่บ้างแล้วบางมหาวิทยาลัยก็มีการเตรียมการ โดยทุกแห่งสามารถดำเนินการได้เป็นอิสระแต่อยากให้มีการประสานข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือไม่เกิดความซ้ำซ้อน
    ในเวลาราชการโทรศัพท์ 0-2610-5416-7, 0-2610-5467ต่อสายทีมงานแก้ปัญหาน้ำท่วม


    นอกเวลาราชการโทร.08-1938-4237


    หรือแจ้งข้อมูลทางเว็บไซต์ข้อมูลกลางที่ www.mua.go.th/flood.html



    ที่มาข้อมูล : สกอ.เปิดมหาวิทยาลัยช่วยเหยื่อน้ำท่วม<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  17. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลครับ
    ถ้าจัดเป็นโครงการกรรมฐานในช่วงภัยพิบัติแล้วนำกัลญาณชน ผู้ปฏิบัติธรรมไปพักพิงวัดที่พระท่านเมตตาอนุเคราะห์ให้ มีท่านใดเห็นชอบบ้างครับ และมีท่านใดอาสามาช่วยกันบ้าง ท่านที่ต้องการที่พักสำหรับปฏิบัติธรรมระยะยาว เรียนเชิญทิ้งชื่อไว้เลยครับ เวลาเหลือน้อยแล้ว
     
  18. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เห็นด้วยเลยนะว่าการนำของไปแจกถึงบ้านหรือที่พักในแต่ละพื้นที่เป็นความยากลำบากของเหล่าอาสาทั้งหลาย พอดูแลไม่ทั่วถึงก็โดนต่อว่าอีก คนไปช่วยก็อยากช่วยแต่ด้วยอุปสรรคในการเดินทาง รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆมันไม่เอื้ออำนวย

    วิธีที่จะดูแลและจัดการได้ดีที่สุดคือ พร้อมใจกันย้ายออกมา

    แบบคร่่าวๆ คือ
    - ศูนย์พักพิงชั่วคราวหรือศูนย์อพยพควรอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ
    - ช่วงแรกมีอาสาสมัครทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง สอนงาน แบ่งงานให้คนในศูนย์มีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลช่วยเหลือกัน เช่น การทำอาหาร การทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง (เช่นห้องอาบน้ำ ห้องส้วม)
    - มีหน่วยงานย่อยๆ ที่จำเป็นประจำอยู่ภายในศูนย์ เช่น ห้องพยาบาล หน่วยสุขภาพจิตเคลื่อนที่ หน่วยฝึกอาชีพ หน่วยรักษาความปลอดภัยในชุมชน ฯลฯ (ให้คิดภาพว่าศูนย์พักพิงเปรียบเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่ต้องการหัวหน้าหมู่บ้าน และมีลูกบ้านร่วมกันดูแลรับผิดชอบเรื่องต่างๆ โดยมีหน่วยงานรัฐคอยเสริมในเรื่องสำคัญๆ)

    แบบจัดเต็ม เดี๋ยวจะหามาให้นะคะ
    ร่วมด้วยช่วยคิดค่ะ :)
     
  19. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ลองคีย์คำค้นหาใน google ว่า
    บทเรียนการจัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม (จัดทำโดย โรงพยาบาลสวนสราญรมย์) เป็นไฟล์ .pdf ลองเปิดอ่านดูเผื่อจะเป็นประโยชน์ค่ะ
     
  20. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    คนไม่ค่อยยอมย้ายออกมาง่ายๆ การจัดทำศูนย์พักพิงให้น่าอยู่อาศัยและปลอดภัย รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายให้เขา ก็อาจช่วยจูงใจพวกเขาได้

    ถ้ารัฐไม่คิดจะใช้ พ.ร.ก ฉุกเฉิน
    ก็ควรมีมาตรการที่ดีในการจัดการเรื่องสำคัญต่างๆ อย่างเช่น การอพยพและระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน ต้องจูงใจให้ประชาชนอยากให้ความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์ให้มากและทั่วถึง

    ที่สำคัญ ต้องพูดความจริง + แผนรองรับต่างๆ ให้ประชาชนทราบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...