วิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิมุตติ, 20 พฤษภาคม 2008.

  1. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ในวงการนักปฏิบัติ เรามักจะมองว่า การปฏิบัติคือการเข้าวัด ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถะภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ซึ่งก็ถูกต้องในระดับหนึ่ง ผลจากการปฏิบัติดังกล่าว มีอานิสงค์ให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของการกระทำเหล่านั้น
    การให้ทาน รักษาศีล ส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ขัดสน อุปสรรคน้อย และได้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดาในชาติต่อไป

    การเจริญสมถะภาวนา คือ การทำสมาธิ มีจิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กสิน10 อสุภะ10 หรือ อนุสสติ10 เป็นต้น เมื่อปฏิบัติไปถึงขั้นสูง ก็จะสำเร็จฌาณสมาบัติในลำดับต่างๆ ซึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แจงเอาไว้ถึง 8 ขั้น แบ่งได้เป็นสอง เรียกว่า รูปฌาณ และ อรูปฌาณ เรียกรวมว่า สมาบัติ8 การเจริญสมถะภาวนา ส่งผลให้จิตใจสงบ สุข และมีพลัง ในขณะที่กำลังของสมถะนั้นยังคงอยู่ และได้ไปเกิดในพรหมโลกในชาติต่อไป
    เมื่อกำลังของสมถะลดน้อยถอยลง จิตจะเริ่มกลับมาสู่กระแสโลกตามปกติ ซึ่งยังไม่สามารถหลีกหนีความวุ่นวายต่างๆ โดยเฉพาะความทุกข์ที่เกิดจากแรงผลักดันในจิตใจที่มีแต่อวิชชา ตัณหา อุปทาน ได้

    จะเห็นว่า การสอนในเรื่องของ ทาน ศีล สมาธิ ได้มีมานานแล้วก่อนจะมีพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ได้เลย จนกระทั่งมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น แล้วค้นพบสัจธรรมสูงสุดคือ อริยสัจสี่ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงได้ เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา หรือ วิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้นคำสอนที่แตกต่างจากศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ก็คือ วิปัสสนากรรมฐาน นี่เอง

    พวกเรานักปฏิบัติก็ทราบกันดีแล้วในเรื่องนี้ แต่น้อยคนนักที่เข้าใจวิถีในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างถูกต้อง โดยมากจะปฏิบัติกันผิด ทำให้ไม่เห็นผล นานไปๆ ก็เบื่อหน่าย ท้อแท้ ล้มเลิก ไปในที่สุด เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ดังนั้นจึงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่เข้าถึงปรมัตถ์ธรรมได้ และสัมผัสความสุขที่แท้จริงได้

    การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง ต้องเดินตามหลักของสติปัฏฐานสี่ เพราะสติเท่านั้น ที่เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่โลกุตรธรรม ในการดำเนินชีวิต จิตเราถูกกระทบด้วยอารมณ์ต่างๆมากมายผ่านทางอายตนะในแต่ละวัน และส่วนมากก็มักจะไหลไปตามอารมณ์เหล่านั้น สภาวะจิตในขณะนี้ได้ถูกอวิชชาครอบงำเอาไว้ ส่งผลให้เกิดเป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท และเป็นทุกข์ในที่สุด ไม่ว่าเจ้าของจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
    บางคนอาจบอกว่า "ถ้าอย่างนั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ทั้งหลาย ก็จะไม่ทุกข์"
    คำกล่าวนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก เราไม่อาจห้ามอายตนะไม่ให้รับรู้อารมณ์ได้เนื่องจากจิตนี้เป็นธรรมชาติรู้อย่างหนึ่ง เช่น เมื่อลืมตาก็ต้องเห็น เมื่อมีเสียงก็ต้องได้ยิน เมื่อลิ้มรสก็ต้องรู้รส เป็นต้น จิตจะไปรับรู้ทันที ตรงนี้ขอบอกว่า ไม่ใช่กายที่เป็นตัวรับรู้ เพราะหากกายเป็นตัวรับรู้แล้ว คนตายเวลาถูกเผา ทำไมจึงไม่ดิ้นทุรนทุรายล่ะ
    การห้ามไม่ให้วิญญาณธาตุไปรับรู้ต้องข่มด้วยสมถะ ซึ่งทำได้ยากและเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่อาจพ้นทุกข์ได้จริง
    ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ เอาสติไปตามรู้อารมณ์เหล่านั้นว่ามีลักษณะอาการอย่างไร โดยห้ามวิพากษ์วิจารณ์ใดๆเด็ดขาด เพราะอารมณ์ปรมัตถ์จะตกมาเป็นอารมณ์บัญญัติในทันทีถ้ามีการคิดปรุงแต่งเกิดขึ้น การรับรู้จะไม่บริสุทธิ์ โดยสรุปคือ ให้ใช้จิตเป็นผู้ดู แต่อย่าเป็นผู้เป็น เราเพียงแต่ดูอารมณ์ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเท่านั้น ห้ามไปหยิบจับอารมณ์นั้นๆ มาเป็นตัวเราเป็นอันขาด เช่น เมื่อหิวก็ดูอารมณ์ว่าเป็นอย่างไร ขณะกินเป็นอย่างไร อิ่มแล้วรู้สึกอย่างไร กิจวัตรอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น อาบน้ำ ปวดเมื่อย เบื่อหน่าย เจ็บป่วย ปวดห้องน้ำ เป็นต้น
    (ให้ดูความรู้สึกตัวให้ชัด พอความรู้สึกชัด ตัวที่มันกำลังปรุงแต่ง มันจะหลุดไปทันที เพราะจิตจะรู้เพียงขณะเดียวเท่านั้น มี รู้กับเผลอ อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    ในการดูอารมณ์เหล่านั้น มีจิตเป็นชัยภูมิ ทั้งเวทนา จิตหรือเจตสิก และธรรม ก็ดูที่จิตที่เป็นผู้ถูกรู้ถูกดูนี่เอง ส่วนตัวผู้รู้หรือผู้ดู ก็ไม่ต้องไปหมายมั่นว่ามันคืออะไร เป็นอย่างไร เพราะการเพ่งไปที่จิตผู้ดู ก็นับว่าผิดทางเสียแล้ว เพราะมันจะทำให้เกิดผู้ดูตัวใหม่ขึ้นมาอีกตัว วุ่นวายกันไปใหญ่
    ในการดูธรรมมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เป็นธรรมมะผ่านเข้ามา นี้
    สำหรับนักปฏิบัติที่เพิ่งเริ่มต้น คงยังไม่เห็น ต้องอาศัยกำลังของมหาสติในการมองจึงจะเห็น ผู้ใดมองเห็นแล้ว ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณได้วิปัสสนาปัญญาแล้ว หากยังมองไม่เห็น ก็ควรนำสติไปดูในสิ่งที่หยาบซึ่งเห็นได้ง่ายก่อน นั่นก็คือ กายของเรานี้เอง หมั่นทำให้มากทำให้สม่ำเสมอ ไม่นานนักวิปัสสนาปัญญาจะปรากฏ จนเป็นความแจ้งในวิปัสสนาญาณในลำดับต่อๆไป
    หากปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จิตใจจะเริ่มเบา สบาย เนื่องจากทุกข์เบาบางลง ซึ่งเป็นผลมาจากอุปาทานที่เบาบางลง
    อุปาทานที่เบาบางลงเพราะวิปัสสนาญาณแจ้งมากยิ่งขึ้น (เปรียบเทียบได้กับ เอาน้ำดีไปไล่น้ำเสีย) นั่นคือ ปัญญาที่เห็นแล้วว่า สรรพสิ่งมีเพียงรูปและนาม ซึ่งทั้งรูปและนามเป็นไปตามกฏของสามัญลักษณะสามประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ความแจ้งในรูปนามเกิดขึ้นจากการดูรูป(กาย)และนาม(เวทนา จิต ธรรม)บ่อยๆ
    รูปนามยังหมายรวมถึง ขันธ์ทั้งห้าด้วย ซึ่งเราทราบกันดีว่า ขันธ์ห้าคือกองทุกข์ นี่คือ ทุกข์สัจ (อริยสัจองค์แรกมาแล้วนะครับ)
    เมื่อวิปัสสนาจนเห็นแจ่มแจ้งแดงแจ๋ว่าสาเหตุของทุกข์สัจก็คือ การที่จิตเราไปยึดมั่นเอาไว้ว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเราขึ้นมา นี่เองก็คือ ทุกขสมุทัยสัจ (อริยสัจองค์ที่สอง)
    เมื่อจิตเห็นแจ้งแบบนี้แล้วว่า นี่เรามันโง่มาเสียตั้งนาน เพราะมัวหลงไปยึดขันธ์ห้ามาเป็นตัวเรา คือ ยึดทุกข์เอาไว้ก็เลยต้องทุกข์ แล้วเราจะโง่ต่อไปอีกทำไม
    วิปัสสนาญาณตัวสำคัญจึงเกิดขึ้น (โคตรภูญาณ) จิตจะสลัดคืนความยึดมั่นทั้งหมดที่เคยมีมานานแสนนาน ความแจ้งใน ทุกขนิโรธ จึงเกิดขึ้น (อริยสัจองค์ที่สาม)
    สภาวะจิตตอนนี้เห็นแล้วว่า นิพพานมีอยู่จริง ทัศนะที่มีต่อโลกก็เปลี่ยนไป
    หากมีอินทรีย์ถึงพร้อม อริยมรรค หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็จะเกิดตามมา (อริยสัจองค์สุดท้าย) ต่อจากนี้ไป ก็จะได้ชื่อว่า เข้ากระแสนิพพานแล้ว ไม่มีทางไหลไปสู่ที่ต่ำอีกต่อไป
    น้าจรเห็นแล้วใช่ไหมว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เรียงไว้ถูกต้องดีแล้ว
    หากอินทรีย์ยังไม่พร้อม อริยมรรค อาจยังไม่เกิด เราก็ต้องปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานต่อไป ซึ่งถ้ามาได้ถึงขั้นนี้แล้ว สติจะมีความสามารถในการเห็นนามธรรมทั้งหลายได้อย่างชัดเจนมากทีเดียว ถ้าไม่ท้อถอย ปฏิบัติตามนี้ไปเรื่อยๆ รับรองว่า มรรคเกิดแน่นอน

    จะเห็นได้ว่า ระหว่างทางของการปฏิบัติ จะมีวิปัสสนาญาณในลำดับต่างๆ เกิดขึ้น ตัวแรกๆ ก็เช่น
    ญาณเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูป เรียกว่า อุทยัพพยนุปัสสนาญาณ
    ญาณเห็นความดับแห่งนามรูป เรียกว่า ภังคานุปัสสนาญาณ
    ญาณเห็นสังขารเป็นสิ่งน่าเบื่อหน่าย เรียกว่า นิพพิทาญาณ
    ญาณวางเฉยในสังขาร เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ เป็นต้น
    ท่านผู้อ่านคงเห็นว่า วิปัสสนาญาณเป็นไปเพื่อการดับกิเลสหรือความพ้นทุกข์เท่านั้น
    ส่วนญาณที่เกี่ยวกับ การระลึกชาติได้ เห็นนรกสวรรค์วิมาน อ่านใจผู้อื่นได้ เหาะเหิรเดินอากาศได้ เห็นอนาคตได้ ล้วนไม่จำเป็นทั้งสิ้น และถ้าไม่มีวิปัสสนาปัญญาหรือภูมิจิตภูมิธรรมเข้มแข็งเพียงพอ ก็อาจหลงไปตามโลกีย์ญาณเหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลเสียได้มากทีเดียว


    สิ่งที่ต้องพึงระลึกไว้เสมอคือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง ควรดำเนินตามหลักของทางสายกลาง (มัชชิมาปฏิปทา) การปล่อยปละละเลย ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส เหมือนชาวโลกส่วนใหญ่ทำๆกัน เรียกว่าออกไปทางสุดโต่งด้านที่หนึ่ง ที่เรียกว่า กามสุขวิกานุโยค นั่นคือ อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำอะไรก็ไม่ทำ วิ่งตามหาความสุขและหลีกหนีความทุกข์ ด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา
    ส่วนนักปฏิบัติมักจะไปยึดในทางสุดโต่งด้านที่สอง คือ จดจ่อ เคร่ง กดข่ม บังคับ ให้ปฏิบัติในรูปแบบต่างๆนานา เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค นั่นคือ การฝืนให้กระทำ ซึ่งไม่เป็นธรรมชาติเลย ไม่พ้นตัณหาอีกนั่นแหล่ะ
    ดังนั้น การปฏิบัติจึงควรทำไปเรื่อยๆ ไม่คาดหวังผล ทำแบบสบายๆ ไม่พักไม่เพียร และมีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ เพื่อให้ได้ปัญญาญาณ การพิจารณารูปนาม จำเป็นต้องมีองค์ธรรมรองรับ นั่นคือ พิจารณาลงไตรลักษณ์ในทุกกรณี เพื่อให้จิตเห็นสัจธรรมของธรรมชาติ ที่มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน แล้วจิตจึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามนั้นลงไปได้


    หมายเหตุ: โปรดจำหลักไว้ว่า ในการปฏิบัติ เราต้องไม่มองว่า เราทุ่มเทการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญญา เพราะการมองแบบนี้ก็เท่ากับว่า ยังมีตัวเราที่ปฏิบัติ เพื่อให้ได้ปัญญา นับว่ายังไม่ถูกหลักของวิปัสสนาอย่างแท้จริง หลวงปู่ดูลย์เคยกล่าวว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต" หมายความว่า ในการปฏิบัติต้องไม่เอาอะไรเลย (แต่ก็ไม่ใช่คอยบอกตัวเองว่า ไม่เอาๆ อันนี้จะกลายเป็นวิภวตัณหา ยังไม่ใช่ทางสายกลาง) ไม่มีผู้ปฏิบัติ ไม่มีผู้ได้ปัญญา เพราะถ้ามีตัวผู้รู้เมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่า ยังมีตัวกูรู้กูเก่ง กลายเป็นโดนอวิชชามันหลอกเอา ทำให้ก้าวหน้าต่อไปไม่ได้
    การปฏิบัติควรเป็นไปเพื่อ ลด ละ วาง จนหมดความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งหมด ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ดับไป ก็เท่านั้น ไม่ยึด ก็ไม่ทุกข์ สติรู้ ดับทันที สรรพสิ่งล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้น


    บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา
    หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติสายวิปัสสนาบ้างสักเล็กน้อย
    เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป...สาธุ
     
  2. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ใช่ครับ เห็นด้วย การละกิเลส หรือความชั่ว หรือสิ่งที่ไม่ดีนั้น บางคนละยากนะคะ เพราะนั่นเป็นวิบากของเขา แต่สำหรับคนที่เคยชั่วมาก่อน เคยกินเหล้า เมายา เที่ยวกิน สารพัด จนทำให้ บุพการี ต้องเดือดร้อน อันนี้เป็นบาปอย่างมาก แต่ถ้าพวกเค้าละ และเลิกได้ นั่นเป็นกุศลจิตของเค้าจริง ๆ ขออนุโมทนาด้วย ถ้าใครเคยเป็นแบบนั้น การสร้างบาป ทางกาย และวาจานั้น เราละได้แล้ว เพราะเป็นอุปนิสัยของเรา ที่มีมาแต่กำเนิด แต่ใจนี่สิ สำคัญ ถ้าเราละได้ ก็เป็นการดี แต่จะมีซักกี่คนที่จะละกิเลสทางใจได้อย่างสิ้นเชิง ใครที่ละได้ก็ขอโมทนาด้วยนะคะ
    (good)
     
  3. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ขอความคิดเห็นคุณวิมุตติ และทุกคน มีเพื่อนคนนึงของผึ้ง เค้าแนะนำให้ผึ้งไปรับธรรมะ ที่สถานธรรม ของคนจีน อนุตรธรรม เค้าบอกว่า นั่นจะทำให้เรารู้จักไตรลักษณ์ และจะทำให้เห็น และพิจารณาไตรลักษณ์ได้อย่างถ่องแท้ในอนาคต คิดเห็นกันว่าอย่างไรคะ
     
  4. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230

    โมทนา วันนี้คุณไร้กรรม ไปไกลมาก ขอให้คุณไร้กรรม สอนผู้ที่จะเพิ่งเข้ามาปฏิบัติต่อไป นี่เป็นพื้นฐานของการทำสมาธิและวิปัสสะนาด้วย ขอให้คุณไร้กรรมอธิบายเรื่องการเห็นไตรลักษณ์ให้ฟังได้หรือเปล่าคะ หรือเรื่องจิตเห็นจิต เพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน ผู้ที่ปฏิบัติยังไม่ถึง มีบางท่าน ได้แต่ศึกษาปริยัติ แต่ปฏิบัติยังไม่ได้ ปฏิเวธก็มีนะคะ
     
  5. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ผมก็แนะนำได้
    ไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เข้าใจไหม?...

    เห็นไหมว่า เอาความคิด ความเข้าใจ มาจับเรื่องไตรลักษณ์ ไม่มีทางเข้าใจไตรลักษณ์ได้เลย ธรรมะเกิดขึ้นที่ใจ ซึ่งมีอยู่แล้วในใจของทุกผู้ทุกนาม ดังที่หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า "จิตคือ พุทธะ" มีใครบ้างไหมที่รับธรรมะอย่างที่เพื่อนคุณผึ้งแนะนำ แล้วบรรลุธรรมได้
    หากเราต้องการรู้แจ้งเรื่องไตรลักษณ์ เราต้องเดินตามผู้ที่แจ้งไตรลักษณ์แล้ว นั่นคือ พระพุทธเจ้า และ พระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย

    อย่าไปตามกระแสครับ...
     
  6. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    เออ! ไม่ได้ให้แสดงละคร คุณรู้อะไรมา คุณก็มาสอนเค้าสิ
    .............

    ไม่ใช่อวดรู้ และไม่ได้ว่าด้วย แต่คุณมาเพื่ออะไรหล่ะคะ หน้าจะรู้หน้าที่ของตัวเองดี

    ..................................

    จะเอาอย่างนั้นก็ได้ แสดงความคิดเห็นก็ไม่เป็นไรดอก ผึ้งยังไม่ได้พูดว่าคุณเก่งเลยนะ และก็ไม่ได้ชมใครว่าเก่งด้วย แม้แต่ตัวเอง

    คิดใหม่นะ อย่าเข้าใจผิด เฮ้อ! ตัวเองรู้ถึงขั้นไหนก็บอกเค้าไป ได้คำสอนจากหลวงตามหาบัว ก็บอกเค้าไป เค้าจะได้เอาปฏิบัติกัน โอ้! หนอ
     
  7. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    อ๋อ! ไม่ได้ตามกระแส แต่ให้แสดงความคิดเห็น ว่าคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ แต่ตัวผึ้งเอง ถ้าคิดจะไปตามกระแส คงไปนานแล้ว คงไม่มานั่งปฏิบัติอยู่หรอกค่ะ คุณวิมุตติ เอาเป็นว่า พี่มาเพื่อแสดงความคิดเห็น และถามความคิดเห็นนะคะ
     
  8. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    เอารูปมาฝาก เพื่อนไปประเทศจีนมา แล้วก็เห็นปฏิมากรรมนี้สวยมาก ก็เลยส่งให้เราดู แทงใจเราอย่างแรง 5..5...5. ไม่รู้ว่าจะหัวเราะหรือร้องไห้ดี เฮ้อ!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2008
  9. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ผมขอแสดงความเห็นว่า
    ปฏิบัติให้เห็นจริง ให้ได้สัมผัสปฏิเวธจริงๆ
    ความสงสัยทั้งหลายจะหมดไปเอง
    เพราะการจะเข้าใจในปรมัตถ์ธรรมด้วยสมมติสัจจะ
    ไม่มีทางเป็นไปได้เลย...
     
  10. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    นี่แหล่ะจ้า(good)
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ยังไม่ได้อ่าน comment อื่นๆ

    เห็นปุ๊ป ขอยิงตอบก่อนเลย

    ไม่ต้องไป

    ถ้ายังเวียนเฝ้าเข้าสำนักนู้ ออกสำนักนี้
    ก็จะย่ำเท้าอยู่ที่เดิม อย่างที่เป็นทุกวันนี้
     
  12. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    **********
    อ๋อ! ไม่ไปหรอกค่ะ ถ้าคิดจะไปคงไปนานแล้ว เพียงแต่เพื่อนเค้าย้ำนัก ย้ำหนา ว่า ควรไป แต่ใจเราไม่ได้อยากไปเลย ก็เลยมาขอให้แสดงความคิดเห็นกันเฉย ๆ ไม่คิดจะไปด้วย สำนักนู้น สำนักนี้ ไม่เอาค่ะ ตัดออกหมดแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2008
  13. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขอชมว่าท่านจรวันนี้อธิบายได้ดี
    มีนิดเดียวที่จะขออนุญาติคอมเม้นท์หน่อย คือ
    ที่ว่า อะไรที่ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง ไม่อยู่นิ่ง ย่อมเป็นเหตุแห่งทุกข์
    ตรงนี้ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เล็กน้อย
    แท้จริงแล้ว สิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา ความหลงผิดที่เข้าใจว่ากายใจเป็นตัวเรา แล้วยึดเอาไว้ นี่แหล่ะ เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
    ส่วนความไม่เที่ยงนั้น ไม่ใช่เหตุ หากเป็นเพียงสัจธรรมของธรรมชาติ
    ที่มีอยู่แล้ว ถ้าเราไม่ยึดมันเอาไว้ ทุกข์จะไปอยู่ที่ใดกันเล่า...
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไตรลักษณ์ นั้น ห้ามดูด้วยการพิจารณา

    ถ้ามีการ ขบคิด ยังต้องคิด จิตยังมีเสียงภากษ์ ก็ให้ถือว่า
    ยังเห็นไตรลักษณ์ไม่จริง โดนตัณหาแอบปรุงคำตอบให้
    เราต้องรู้ทันตัวนี้

    ดังนั้น เมื่อไหร่จะน้อมดูไตรลักษณ์ ให้ดู ตัณหา ที่เกิดก่อน
    ด้วยว่ามีไหม เช่น เห็นคนตาย แล้วพิจารณาว่าไม่เที่ยง แบบ
    นี้ยังคิดเอา โดยมีตัณหาเป็นผู้ปรุงความกลัว หรือ เกลียดขึ้น
    ก่อน ที่จะสรุปมาเป็นไตรลักษณ์

    การเห็นที่พ้นคิดได้ จะต้องใช้ ความรู้สึกเอาเท่านั้น โดยอุปมาไป
    เหมือนเปิดน้ำให้ไหลผ่านมือ แล้วรู้สึกเอา อย่าเห็นว่า หรือ ภากษ์ว่า
    น้ำไหลผ่านมือไป ไม่เที่ยง ไม่อาจก่อตัวบนมือได้ เป็นทุกข์ เพราะ
    ต้องไหลลงไป เป็นอนัตตา ควบคุมทิศทางไหลก็ไม่ได้ ถ้าคิดเอา ไม่
    ได้รู้สึกเอา ก็เห็นไม่จริง

    ถ้าเอามือลองน้ำ แล้วไม่คาดหวังจะเห็นอะไรเลย ไม่มีตัณหา อยากดู
    ไตรลักษณ์ปรุง แล้วสักพักก็น้อมความรู้สึกได้ ในความไม่มี โดยปราศจาก
    เสียงภากษ์ สักแต่ว่ารู้สุกเหมือนอะไรผ่านมือไป น้ำก็ไม่ใช่ ผิวหนังเรา
    เป็นผู้รับความรู้สึก ก็ไม่ใช่ เริ่มน้อมความรู้สึกเข้ามาที่ใจ มือเราไม่มี
    คนรู้สึกคือเราไม่มี แต่รู้สึกอยู่ นั่นจะเริ่มเห็น ไตรลักษณ์ตรงตามความ
    เป็นจริง และถูกทางมากขึ้น
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เข้าใจครับ ผมก็กระทำลงไปเพื่อลงสลักเท่านั้น

    ถึงแม้คุณผึ้งจะกล่าวว่าไม่ไป แต่ รู้สึกลึกๆดูนะครับ ว่า อย่างน้อย
    มันมีน้ำหนัก มันดึงๆอยู่ มันกวนๆอยู่ ในใจ จนกระทั่งต้องตั้งคำถาม

    ไม่ได้ต่อว่านะ กำลังชี้ สภาวะธรรม ให้รู้สึก ให้ระลึกดู ถ้ามี ก็ต้องบอกว่ามี

    ถ้าไม่มี นั้นเป็นไปไม่ได้

    ถ้ามีแล้วโกรธ ไม่อยากยอมรับว่ามี ก็ให้รู้สึกตามไปตามนั้น
    โกรธ ก็โกรธ ให้รู้สึก ให้รู้สึกลงปัจจุบันไป

    ถ้าไม่โกรธ ก็ไม่โกรธ ให้รู้สึกลงปัจจุบันไป

    แล้วให้ดูความรู้สึกแถวหทัยวัตถุด้วย ว่ามีแรงดันไหม
    อันนั้นก็ให้รู้สึกไป คนเคยทำสมาธิมา จะต้องรับรู้ความ
    รู้สึกที่หทัยวัตถุได้บ้าง แกว่งให้รู้ว่าแกว่ง ควานไปดู
    จะไปรู้สึกก็ให้รู้ว่าควาน แล้วจะเห็นอาการดันๆ ซึ่งเป็น
    รูปของตัณหาที่กำกับเราอยู่ ครอบงำเราอยู่
     
  16. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ขอแทรกนิดนะคะ การที่เห็นไตรลักษณ์นั้น ใช่ที่เรามีความรู้สึกว่า ตัวเราหายไปเลย ทั้ง ๆ ที่ตัวเรานั้นนั่งสมาธิอยู่ ตัวนั้นหายไป เหลือแต่จิต และความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย นั่นคืออะไรคะ
     
  17. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    คงไม่อาจเชื่อคุณได้
    ถ้าจะอธิบายด้วยสภาวะปรมัตถ์ ก็ไม่อาจทำได้
    เพราะผู้อธิบายไม่อาจแสดงด้วยสมมติได้
    และผู้ฟัง ยังไม่แจ้งในสภาวะนั้น ก็ไม่อาจเข้าใจได้
    งั้นคงต้องยึดตามบาลี

    จากที่ทราบกันดีว่า สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
    สมุทัยคือ ตัณหา
    ก็เห็นชัดว่า เหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย ไม่ใช่ความไม่เที่ยง
    หรือท่านจรจะบัญญัติอริยสัจสี่เสียใหม่เล่า...
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ถ้าไตรลักษณ์ เห็นง่ายๆอย่างนั้น ตื้นๆ อย่างนั้น

    ทุกคนบนโลก ก็หลุดพ้นหมด เป็น พุทธะ กันหมดโลกไปนานแล้ว
     
  19. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230

    อ้อ! เข้าใจและ ว่ากำลังอธิบายอะไรอยู่ ว่าผึ้งนั้นหลอกตัวเอง แต่ถามว่าโกรธมั้ย ไม่มีความรู้สึกโกรธ มีแต่เพียงความรู้สึกอยากถาม อยากถามเพราะอะไร เพราะอยากได้เหตุและผล ว่าถ้าไปแล้วจะเป็นอย่างไร แต่บอกตรง ๆ ว่าไม่ได้คิดจะไปจริง ๆ ค่ะ แต่สงสัยเฉย ๆ นั่นคือความสงสัยว่า ทำไมคนถึงชอบไปกันนัก ไปแล้ว เค้าเห็นไตรลักษณ์กันได้จริงหรือเปล่าค่ะ ไม่โกรธค่ะ ไม่โกรธ
     
  20. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ยังไม่ใช่ไตรลักษณ์
    เป็นเพียงอาการของสมถะที่ดับความรู้สึกว่ามีกาย
    เหลือเพียงจิตผู้รู้ว่างๆ อาจเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...