วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน การให้ทานที่ได้บุญมาก

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 ธันวาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน การให้ทานที่ได้บุญมาก
    [​IMG]
    ความดีที่ควรทำมีอยู่เป็นอันมาก รวมเป็นข้อใหญ่ได้ 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา ทานคือการให้ ไม่ใช่มีความหมายแคบๆ เพียงให้เงินทองข้าวของแก่ภิกษุสามเณรหรือคนยากไร้ขาดแคลนเท่านั้น ทานที่สำคัญที่สุดคืออภัยทาน ทาน คือการให้อภัย การให้ทานไม่ว่าจะเป็นข้าวของเงินทองจุดมุ่งหมายที่แลเห็นชัดๆ คือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แต่จุดสำคัญที่ควรเข้าใจก็คือเพื่อชำระกิเลสจากใจ กิเลสตัวนั้นคือโลภะ ผู้ที่ให้ทานโดยมุ่งชำระกิเลสนั่นแหละถูก ให้ทานโดยมุ่งผลตอบแทนเป็นลาภยศสรรเสริญไม่ถูก ขอให้อย่าลืมความสำคัญประการนี้ มีสติระลึกรู้ไว้ให้เสมอว่า การให้ทานแต่ละครั้ง ไม่ใช่ว่าเพื่อช่วยทุกข์ผู้อื่นอย่างเดียว แต่ต้องมุ่งเพื่อละกิเลสกองโลภะด้วย อย่าคิดจะช่วยทุกข์ผู้อื่นไปพร้อมกับที่คิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นความมีลาภยศสรรเสริญสุขจากการให้นั้นด้วย แล้วดีใจว่าการให้ทานของตนเป็นการยิงนกทีเดียวได้สองตัว ได้ทั้งผู้อื่นและจะได้ลาภยศสรรเสริญสุขของตนด้วย ถ้าจะดีใจว่ายิงนกทีเดียวได้สองตัว ก็ให้เป็นสองตัวคนละอย่าง คือตัวหนึ่งเป็นการช่วยบำบัดทุกข์ของผู้อื่น อีกตัวหนึ่งเป็นการละกิเลสในใจตนไปพร้อมกัน ให้ดีใจเช่นนี้นับว่าใช้ได้เป็นการไม่ผิด
    การให้อภัยทานสำคัญกว่าให้ทานด้วยทรัพย์สิ่งของ อภัยทานนี้เป็นเครืองละกิเลสกองโทสะโดยตรง เมื่อมีผู้ให้ไม่ถูกใจแทนที่จะโกรธเกลียดก็ให้อภัยเสีย นี้คืออภัยทาน เมื่อมีเหตุมาทำให้โกรธแล้วกลับไม่โกรธ อภัยให้ เช่นนี้ไม่ใช่ผู้ใดจะได้รับผลดีของอภัยทานก่อนเจ้าตัวผู้ให้เอง โกรธเกลียด อะไรเหล่านี้ทำให้จิตใจเร่าร้อนไม่แจ่มใสเป็นสุขเลิกโกรธเกลียดเสียได้เป็นอภัยทาน เป็นเหตุให้ไม่เร่าร้อน ให้แจ่มใสเป็นสุข หรือพิจารณาให้เห็นจริง ก็จะเห็นว่าใจขุ่นมัวมากหรือน้อยเท่านั้น น้อยก็เพียงขุ่นๆ มากก็จะถึงร้อน เมื่อพิจารณาเห็นสภาพเช่นนั้นของใจที่มีความไม่ชอบใจ หรือความโกรธความเกลียดแล้วเพื่อลองรับรสของความสุขจากอภัยทาน ก็ให้คิดให้อภัยผู้ที่กำลังถูกโกรธถูกเกลียดอยู่ในขณะนั้น ต้องคิดให้อภัยจริงๆ เลิกโกรธละ อภัยให้จริงๆ ละ ถ้าอภัยได้จริง เลิกโกรธเกลียดได้จริง แล้วให้ย้อนพิจารณาดูใจตนเอง จะรู้สึกถึงความเบาสบายแจ่มใส ผิดกับเมื่อครู่ก่อนอย่างแน่นอน อภัยทานนี้จึงมีคุณยิ่งนักแก่จิตใจ
    อย่าคิดว่าคนนั้นคนนี้ทำผิดมาก ต้องโกรธ ต้องไม่ให้อภัย เรื่องอะไรจะไปให้อภัยในเมื่อร้ายกับเราถึงเพียงนั้นเพียงนี้ คิดเช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมอภัยให้ มิหนำซ้ำกลับหาเหตุมาทำให้โกรธมากขึ้นกว่าเดิม การคิดเช่นนี้อย่าเข้าใจว่าเป็นการลงโทษผู้ที่ว่ามาร้ายกับตนมากจนไม่ต้องการให้อภัย ความจริงเป็นการทำโทษตัวเองต่างหาก เมื่อใจตัวเองต้องร้อนเร่าเพราะควาไม่อภัย จะเรียกว่าเป็นการโทษผู้อื่นจะถูกได้อย่างไร ต้องเรียกว่าเป็นการทำโทษตัวเองนั่นแหละถูก ผู้มีปัญญาพึงใช้ปัญญาเพียงให้เห็นประจักษ์แก่ใจถึงคุณของอภัยทาน และโทษของการไม่ยอมอภัย
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     

แชร์หน้านี้

Loading...