ลังเลใจในการเลือกใช้ชีวิตในชาตินี้ มีครอบครัวมีลูก หรือจะอยู่คนเดียวมุ่งปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 22 สิงหาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=quote>ลังเลใจในการที่จะเลือกใช้ชีวิตในชาตินี้ มีครอบครัวมีลูก หรือจะอยู่คนเดียวมุ่งหน้าปฏิบัติธรรม เหมือนถึงเวลาที่ต้องเลือก ถ้าเลือกอย่างแรก ก็กลัวทุกข์กับการยึดติด กลัวมีโอกาสก้าวหน้าทางธรรมน้อยลง ถ้าเลือกทางหลังก็กลัวจะฝืนตัวเองมากไป ไม่มั่นใจว่าจะไปได้ถึงไหน อาจจะกระวนกระวายกับความเหงา คิดไม่ตกค่ะ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตัวความลังเลนั้น แสดงความไม่พร้อมอยู่ในตัวเองแล้วครับ
    บารมีสำหรับผู้พร้อมจะทิ้งทางโลกจริงๆประกอบด้วย

    ๑) ศรัทธา คือรู้สึกจริงจังมากๆว่าชีวิตและการเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้อีโหน่อีเหน่นั้นเป็นทุกข์
    หากไม่เคยผ่านทุกข์มาก่อน
    หากยังไม่ได้ยินได้ฟังจนเข้าใจแนวทางเพื่อพ้นทุกข์อย่างเด็ดขาด
    จนได้เหตุผลที่หนักแน่นพอ ก็จะไม่เกิดศรัทธาชนิดเต็มร้อย
    ศรัทธาในหัวใจคุณขณะนี้อาจถึงระดับที่พอจะเกิดความอยากบวชบ้าง
    แต่ไม่ใช่ระดับต้องบวชให้ได้แน่ๆ
    คำแนะนำเกี่ยวกับบารมีข้อนี้คือขอให้ใช้ชีวิต ดูความทุกข์และความไม่แน่นอนในชีวิต
    ประกอบกับศึกษาพระธรรมคำสอน เป็นการบ่มเพาะศรัทธาให้แก่กล้าขึ้นเรื่อยๆไปก่อน
    ถึงจุดหนึ่งจะรู้สึกว่าศรัทธาล้ำหน้าความลังเลไปเอง

    ๒) จาคะ หมายถึงความมีใจสละออก
    นับเริ่มตั้งแต่ทรัพย์สินส่วนเกิน
    ให้อภัยทุกคนที่ทำให้เราเจ็บใจอย่างไม่มีเงื่อนไข
    ให้ธรรมะที่เราเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้วด้วยจิตคิดอนุเคราะห์
    ต่อยอดมาถึงการถือศีล ๘ เพื่อสละเหยื่อล่อทางโลก
    เตรียมพร้อมสำหรับการสลัดคืนตัณหาในขั้นสุดท้าย
    เมื่อบำเพ็ญบารมีข้อนี้ให้มากแล้ว
    ถึงจุดหนึ่งจะรู้สึกว่าจาคะล้ำหน้าความห่วงตัวเองในอนาคตเสียได้


    ๓) ศีล หมายถึงความมีใจมั่นคงในกุศล
    ไม่หลงเหยื่อล่อยั่วยุให้กระทำการอันสกปรกใดๆ
    ทั้งที่เข้าข่ายฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดประเวณี โกหก เสพสิ่งมึนเมา
    เมื่อบำเพ็ญบารมีข้อนี้ให้มากแล้ว
    ถึงจุดหนึ่งจะรู้สึกปรารถนาความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น
    ซึ่งก็ได้แก่ความมีใจหนักแน่นเป็นสมาธิผ่องแผ้ว
    และความปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงในที่สุด

    ๔) ภาวนา หมายถึงการบำเพ็ญเพียร
    เพื่อให้เกิดความสงบชั่วคราวจากกิเลส (สมถะ)
    พร้อมจะต่อยอดเป็นความรู้แจ้งเห็นจริงเพื่อปล่อยวางความยึดมั่น (วิปัสสนา)
    เมื่อบำเพ็ญบารมีข้อนี้ให้มากแล้ว
    ถึงจุดหนึ่งจะรู้สึกว่าโลกสังวาสเป็นของต่ำ ไม่น่ายินดี
    แรงดันของความปรารถนาจะหลุดพ้นให้เด็ดขาด
    มีมากกว่าความอยากอยู่ อยากมี อยากเป็น

    นั่นแหละครับ ทั้งหมดที่จะประกันความปลอดภัยได้
    อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของการบวชก็เพื่อบ่มบำเพ็ญบารมีทั้ง ๔ ให้แก่กล้า
    ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจว่าเราจะเลือกทางแบบหักดิบหรือค่อยเป็นค่อยไป

    หากเอาตามความรู้สึกของผม
    ผมคิดว่าคนสมัยนี้เหมาะกับการบำเพ็ญบารมีแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่านะครับ
    โดยเฉพาะสำหรับคนมีการศึกษาที่ยังกำจัดความสงสัยไม่สิ้น
    และมีความเจริญก้าวหน้าในทางโลกรออยู่ให้เอื้อมคว้า


    http://dungtrin.net/newsletter/viewtopic.php?t=77
     
  2. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ประจวบเหมาะ กระผมกำลังคิดจะลาโลกเข้าหาธรรมะอย่างเต็มตัวพอดีเลย (^ ^ :)
     
  3. akep

    akep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2005
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +464
    ค่อยๆปฏิบัติไปครับ ขอเพียงมีอิทบาท4 และขันติ เมื่อถึงเวลาคุณก็จะรู้เองว่าจะเลือกแบบไหน ถึงเป็นฆราวาส ก็สำเร็จมรรคผลได้ครับ
     
  4. ค่อยค่อยทำ

    ค่อยค่อยทำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +13
    ผมก็ค่อยปฏิบัติอยู่เหมือนกันครับ ขอบคุณที่นำมาให้อ่านครับ
     
  5. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    บวชตั้งแต่ตอนเป็นเด็กจนไม่ลาสิกขาหนึ่งกับบวชตอนที่ไปชั่วไปดีไปเลวมามากแล้วมีอายุมากแล้วหนึ่งต่างกันอย่างไรครับ...อย่างไรก็อยากให้ทุกอย่างถึงพร้อมเหมือนท่านเจ้าของกระทู้ท่านกล่าวคือ..ศรัทธา..จาคะ..ศิล..ภาวนาและกาลหมายถึงเวลาด้วยไหมครับเพราะหากเรายังใช้ชีวิตไม่เต็มที่...ไปเบื่อๆอยากๆกับการเป็นคนสามัญแล้วไปบวชคือทำเครื่องหมายให้ตัวเองแล้วจะกลับมาเป็นคนอีกครั้งเพราะลืมใช้ชีวิตอะไรบางอย่างเพื่อให้รู้..ให้แจ้งแล้วจะกลับไปบวชอีกคงไม่ดีหรือเปล่าครับ...ตัดน้ำตัดไม่ขาดตอนนี้ไม่จริงแล้วครับ...ตัองตัดให้ขาดก่อนโดยอาศัยเวลา...เอามาแช่ให้เป็นน้ำแข็งแล้วค่อยตัด...กระแทกมันทีเดียวไม่มีเยื่อไม่เหลือใยเลยครับแล้วค่อยไปบวชจะเป็นวิธีที่ดีกว่าไหมครับ
     
  6. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    เรื่องบางเรื่อง มีเหตุปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนกัน
    เช่น...กฏแห่งกรรม ทั้งภพชาตินี้ อดีตชาติ ซึ่งถ้า...
    อดีตชาติ.....ได้สะสมบุญทาง เนกขัมมบารมี การถือบวช มามาก...น้อย เพียงไร
    ถ้ามาก...ชาตินี้ก็ง่ายหน่อย ถ้ายังน้อยอยู่ ก็ต้องใช้กำลังใจเข้มข้น สูงขึ้น
    ก็อยู่ที่เรา ว่า...จะตัดสินใจเลือกหรือออกแบบชีวิตของตนเอง...แบบไหน
    ซึ่งก็จะส่งผลถึงบุญ บารมี การสะสมบุญนั้น ติดตามตัวไปยังภายภพเบื้องหน้า
    และผลแห่งการกระทำนั้น ก็เป็นปัจจัยเอื้อถึง การบรรลุธรรม เข้าสู่
    หนทางพระนิพพาน จะช้าหรือเร็วต่างกันด้วย....เราหรือคุณเป็นผู้ออกแบบ
    หรือกำหนดลิขิต ผัง ชีวิตของตัวเราเอง..อันบางชาตินั้นเกิดมาสร้างบุญบารมีได้เต็มที่
    บางชาติอาจประมาทพลาดพลั้ง(หลงมัวเมากับกิเลส ตัณหาฯ) ขาดทุน พลัดไปสู่
    อบายภูมิก็มีมาก
    ปัญญาบารมี....การพิจารณาเห็นถึงคุณและโทษ บุญและบาป ฯ
    ก็จะช่วยตัวเรา ได้มาก และเข้าใจถึงชีวิต ในวังวนของสังสารวัฎ ได้ดียิ่งขึ้น
    และเป็นแรงผลักดัน ให้เรา บำเพ็ญเพียรหรือถือบวช ออกบวชได้สมความตั้งใจ
    (การบวชนั้นก็มีอานิสงส์....ในหลายๆอย่างซึ่งก็มากกว่าการบวชใจฯ..และปิดประตู
    อบายในหลายๆรูหลายๆช่องทางได้เป็นอย่างดี และติดแน่นเป็นผังบวช ให้เราได้บวชใน
    ภพชาติต่อไป ได้โดยง่าย โดยเร็วพลันฯตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน)

    ส่วนที่ว่าจะบวชตอนไหนนั้น ตอนเด็ก...ตอนแก่ ก็อยู่ที่กำลังใจหรือบุญบารมีของแต่ละคน
    แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ใจอย่างเดียว อุปสรรคมากหรือน้อย หาใช่เป็นเครื่องกีดขวางให้เราได้มากเท่ากับ
    ตัวเราเอง ปิดหนทางตัวของเราเอง....บวชวันนี้ พรุ่งนี้ ปีนี้ ปีหน้า ถ้ากำหนดลงไปแล้วก็หาใช่
    เรื่องสำคัญไม่ สำคัญที่เราตั้ง สัจจะบารมี ให้กับตัวเราเองแล้วต้องกระทำให้ได้ แน่วแน่ลงไป
    หรือจะใช้ อธิษฐานบารมี นึกถึงบุญบารมีของเรา สำทับกำกับ อธิษฐานลงไปด้วยก็จะเป็น
    การดียิ่งขึ้น ก็ขออนุโมทนาล่วงหน้าสำหรับผู้ที่จะไปบวช เพราะคิดว่าจะบวช ก็แสดงว่ามี
    บุญบารมีมาทางนี้อยู่แล้ว เพราะผู้ที่ไม่มี......ก็ย่อม ไม่เคยที่จะคิดฯ

    โลกนี้ คือละคร ล้วนยอกย้อน
    ทุกบทซ้อน เงื่อนปม ยากแก้ไข
    คิดบรรลุฯ ทุกอย่าง อยู่ที่ใจ
    สำเร็จไหม อยู่ที่ ได้กระทำ


    อนุโมทนา สาธุ
     
  7. SundayJing

    SundayJing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +70
    เมื่อก่อนก็เคยลังเลค่ะ เห็นค่ะว่าชีวิตนี้เป็นทุกข์ แต่ยังไม่รู้จักทุกข์ ตัดสินใจแต่งงานเพราะหนีวาระตัวเองไม่พ้น จนรู้ซึ้งถึงทุกข์จริง ๆ ว่าเป็นยังไง ชีวิตคู่ก็ดีค่ะ แต่รู้ว่านี่ไม่ใช่ที่สุดของชีวิต ทุกวันนี้รู้ว่าทำหน้าที่ของความเป็นแม่และภรรยาให้ดีที่สุดเพราะรู้ว่านี่คือ "หน้าที่" ปฏิบัติไปตามสิ่งที่ควรจะทำ และควรจะเป็น แต่ไม่ทิ้งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วยค่ะ เพราะชีวิตในโลกนี้การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระทบมันค่อนข้างยาก แต่เลือกที่จะทุกข์ให้น้อยที่สุดค่ะ
     
  8. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    มีคนเคยทูลถามว่าอยากอยู่ครองเรือน มีลูกหลานเยอะแยะ
    ร่ำรวย ตายแล้วไปสวรรค์ ด้วยธรรมะประการใด
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบด้วยพระสูตรนี้ครับ
    .......................................................................





    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER></CENTER><CENTER>เวฬุทวารสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน</CENTER>[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ [๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุลเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมพระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี. [๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า [๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน ... เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด ขอท่านพระโคดมโปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด. [๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า [๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิตข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร? อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้วตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเราอนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร? อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยกายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร? อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร? อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้วตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร? อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้. [๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ. [๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธธรรม๗ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ<CENTER>จบ สูตรที่ ๗</CENTER>








    </PRE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...