ลักษณนาม คำภาษาไทยที่หลายคนใช้ผิด

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 6 มกราคม 2013.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลักษณนาม คำภาษาไทยที่หลายคนใช้ผิด
    -http://education.kapook.com/view53402.html-


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เราเรียนภาษาไทยกันมาตั้งแต่จำความได้ แต่จนบัดนี้ก็ยังมีอยู่หลายจุดที่เรายังคงใช้ผิดกันอยู่เสมอ อย่างในเรื่องของ “ลักษณนาม” ที่ผิดกันตั้งแต่การเขียนเลย เพราะหลายคนมักจะเขียนเป็น “ลักษณะนาม” นอกจากนี้ การใช้ลักษณนามในโอกาสต่าง ๆ ก็ใช้ผิดกันอยู่บ่อยครั้งจนเกิดความสับสน อย่างนั้นลองมาดูหลักการใช้ที่ถูกกันดีกว่า

    ลักษณนาม คืออะไร

    ลักษณนาม คือ คำนามบอกลักษณะของคำนามข้างหน้า หรือใช้เพื่อแสดงรูปลักษณะและชนิดของสิ่งต่าง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มักเขียนอยู่หลังจำนวนนับ อย่างเช่น จดหมาย 1 ฉบับ, แจกัน 1 ใบ, ช้อน 1 คัน หรือนำไปใช้อีกรูปแบบดังนี้ “จดหมายฉบับนี้เป็นของใคร”, “แจกันใบนี้สีสวยมาก” โดยเราสามารถจำแนกตามหมวดการใช้ได้ตามนี้

    ลักษณนามบอกชนิด

    พระพุทธเจ้า พระราชา เทวดาที่เป็นใหญ่ เจ้านายชั้นสูง ผู้ที่นับถืออย่างสูง ใช้ลักษณนามว่า พระองค์

    ภิกษุ สามเณร นักพรต ชีปะขาว ชี ใช้ลักษณนามว่า รูป

    พระพุทธรูป ใช้ลักษณนามว่า องค์

    ยักษ์ ภูต ผี ปีศาจ ฤาษี ใช้ลักษณนามว่า ตน

    คนหรือมนุษย์ทั่วไป ใช้ลักษณนามว่า คน

    สัตว์เดียรัจฉาน หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตะปู ว่าว ตุ๊กตา ใช้ลักษณนามว่า ตัว

    ภาชนะส่วนมาก ผลไม้บางชนิด ใบไม้ ใช้ลักษณนามว่า ใบ

    ปี่ ขลุ่ย ใช้ลักษณนามว่า เลา

    ลักษณนามบอกหมวดหมู่

    ทัพ ทหาร คนทำงานรวมกัน ของที่รวมกันไว้ อิฐ ทราย ใช้ลักษนามว่า กอง


    คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกันและมีลักษณะเดียวกัน ใช้ลักษณนามว่า พวก, เหล่า


    สัตว์ชนิดเดียวกันที่อยู่ด้วยกันจำนวนมาก ใช้ลักษณนามว่า ฝูง


    นักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวก ๆ ใช้ลักษณนามว่า นิกาย


    คนกลุ่มหนึ่งที่ล้อมกัน เช่น เตะตะกร้อ เล่นดนตรี เล่นเพลง ใช้ลักษณนามว่า วง

    ลักษณะนามที่บอกสัณฐาน

    สิ่งของที่มีทรงกลม เช่น แหวน กำไล ใช้ลักษณนามว่า วง


    สิ่งของลักษณะแบน ๆ เช่น กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ ใช้ลักษณนามว่า แผ่น


    สิ่งของที่มีรูปแบนกว้างใหญ่ เช่น ผ้า เสื่อ พรม ใช้ลักษณนามว่า ผืน


    สิ่งของทึบหนามีรูปร่างยาว เช่น เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ ใช้ลักษณนามว่า แท่ง


    สิ่งของลักษณะกลมยาวมีปล้องคั่น เช่น ไม้ไผ่ อ้อย และเรือ ใช้ลักษณนามว่า ลำ


    สิ่งของลักษณะเป็นเส้นเล็กยาว เช่น เชือก ด้าย ลวด ใช้ลักษณนามว่า เส้น

    ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา

    สิ่งของที่มีชุดละ 2 สิ่ง เช่น รองเท้า ถุงเท้า ช้อนกับส้อม เชิงเทียน ใช้ลักษณนามว่า คู่

    จำนวนนับสิ่งของที่เท่ากับ 12 ใช้ลักษณนามว่า โหล

    ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน 20 ผืน ใช้ลักษณนามว่า กุลี

    ชื่อมาตราต่าง ๆ เช่น กิโลเมตร, กิโลกรัม, สกุลเงินต่าง ๆ เป็นต้น

    ลักษณนามบอกอาการ

    ลักษณะการกรีดมาประกบซ้อนกัน เช่น การจีบพลู ใช้ลักษณนามว่า จีบ


    สิ่งที่ม้วนมีและมีขนาดยาว เช่น บุหรี่ ใช้ลักษณนามว่า มวน


    สิ่งที่ถูกรัดรวมเป็นกลุ่ม เช่น ฟืน ใช้ลักษณนามว่า มัด



    ตัวอย่างคำลักษณนามที่มักใช้ผิด

    ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างลักษณนามที่ควรทราบ หรือลักษณนามที่มีการใช้ไม่ถูกต้องเป็นประจำ มีคำไหนที่เราเคยใช้ผิดกันบ้างหรือเปล่า ลองมาดูกัน



    กลอง - ใบ, ลูก

    กีตาร์ - ตัว

    กรีซ - เล่ม

    กระถาง - ใบ, ลูก

    กระบอกน้ำ - ใบ



    กระดิ่ง - ใบ, ลูก

    กันชน - อัน

    ขวาน - เล่ม

    เข็ม - เล่ม

    เข็มขัด - เส้น สาย



    เขื่อน - เขื่อน

    ค้อน - เต้า, อัน

    เคียว - เล่ม

    คลินิก - แห่ง

    คอมพิวเตอร์ – เครื่อง



    แคน - เต้า

    คลอง - คลอง, สาย

    คราด - อัน

    ครอบครัว - ครอบครัว

    ฆ้อง - ใบ, ลูก



    เจดีย์ - องค์

    จักรเย็บผ้า – คัน, หลัง

    ใจ - ดวง

    แจกับ - ใบ

    จดหมาย - ฉบับ



    จอบ - เล่ม

    ฉัตร - คัน

    ฉิ่ง - คู่

    โฉนด - ฉบับ

    เช็ค - ใบ, ฉบับ



    ชฎา - ศีรษะ, หัว

    ช้อน - คัน

    ช้อนส้อม - คู่

    ชิงช้า - อัน

    ซอ - คัน



    ซึง - คัน

    ไซ - ลูก

    โซ่ - เส้น, สาย

    ซิป - อัน, เส้น, สาย

    ดาบ - เล่ม



    ดาว - ดวง

    ดาบส - องค์

    ดอกไม้จันทน์ - ช่อ

    ตรายาง - อัน

    ตำหนัก - หลัง



    ตะเกียง - ดวง

    เต็นท์ - หลัง

    ตาลปัตร - เล่ม

    ตะกร้า - ใบ, ลูก

    ถนน - เส้น, สาย



    โถส้วม - โถ

    เทียน - เล่ม

    ทะเลทราย - แห่ง

    เทียนพรรษา - ต้น

    ทางม้าลาย - แห่ง



    ทางด่วน - สาย

    ทะเลสาบ - แห่ง

    ทองหยิบ - ดอก, หยิบ

    ธง - ผืน

    ธง(กระดาษ) - ธง


    ธรรมจักร - วง

    ธนาคาร - ธนาคาร

    นรก - ขุม

    นกหวีด - ตัว

    นามบัตร - แผ่น



    เนกไท - เส้น

    บัตรประจำตัว - ฉบับ

    บังกะโล - หลัง

    ปฏิทิน - แผ่น, ฉบับ

    เปลญวน - ปาก



    ปริญญาบัตร - ฉบับ

    ปั๊มน้ำมัน - ปั๊ม

    ปั๊มน้ำ - ตัว

    ปรอท - อัน

    ผ้าป่า - ต้น



    แผ่นภาพ - แผ่น

    ผ้าไตร - ไตร

    ไพ่ - ใบ

    พิณ - ต้น

    พู่กัน - ด้าม, เล่ม



    พัด - เล่ม

    ฟัน - ซี่

    ฟาร์ม - ฟาร์ม

    ฟองอากาศ - ฟอง

    ฟาง - เส้น, กอง



    ไฟฉาย - กระบอก

    ไฟแช็ก - อัน

    ภิกษุ - รูป, องค์

    ภูเขา - ลูก

    ภัตตาคาร - แห่ง



    ภาพ - ภาพ

    ไม้เท้า - อัน

    มรสุม - ลูก

    แม่แรง - ตัว

    มุ้ง - หลัง



    ไม้พาย - เล่ม

    แม่น้ำ - สาย

    มณฑป - หลัง

    เมรุ - เมรุ

    ไม้ยมก - ตัว



    ยมบาล - ตน

    ยุ้ง - หลัง

    ยางลบ - ก้อน

    ย่าม - ใบ, ลูก

    ยางรถ - เส้น



    ยอ - คัน, ปาก

    รถ - คัน

    รถไฟ - ตู้, ขบวน

    ร่ม - คัน

    เรือ - ลำ



    ระฆัง - ใบ, ลูก

    เรือน - หลัง

    รายงาน - เรื่อง, ฉบับ

    ลำโพง - ตัว

    เลื่อย – ปื้น



    เลื่อยฉลุ - คัน

    โลง(มีศพ) - โลง

    โลง(ไม่มีศพ) - ใบ ลูก

    เลื่อยไฟฟ้า - ตัว, เครื่อง

    วิหาร - หลัง



    วุฒิบัตร - ฉบับ

    วัด - วัด

    วิทยุ - เครื่อง

    วรรณยุกต์ - ตัว

    วิมาน - องค์



    ว่าว - ตัว

    วงดนตรี - วง

    ศาลา - หลัง

    ศาสดา - ท่าน, องค์

    ศิลาฤกษ์ - แผ่น



    ศาลพระภูมิ - ศาล, หลัง

    สมอเรือ - ตัว

    เสาอากาศ - ต้น

    เสียม - เล่ม

    สมอเรือ - ตัว



    สูตรคุณ - แม่

    สัปทน - คัน

    สวนสัตว์ - แห่ง

    สวิง - ปาก

    ไห - ใบ, ลูก



    โหล - ใบ

    หมอน - ใบ, ลูก

    หวี - เล่ม

    หอก - เล่ม

    หอสมุด - แห่ง



    เหยือก - ใบ

    หอประชุม - หลัง

    หางเสือเรือ - อัน

    ห้อง - ห้อง

    อาคารชุด - หน่วย



    อนุสาวรีย์ - แห่ง

    โอ่ง - ใบ, ลูก

    อ่าง - อ่าง

    อุโมงค์ - อุโมงค์

    เป็นเอกลักษณ์และความยากด้านภาษาของไทยอีกแล้ว ดังนั้นในฐานะเจ้าของภาษา เราต้องระวังเรื่องวิธีการใช้และความแตกต่างของ ลักษณนาม กันให้ดี ๆ นะ อย่าตกหลุมพรางภาษาไทยที่ใช้อยู่ทุกวันเชียวล่ะ



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    sahavicha.com , learners.in.th
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    คุณครูภาษาไทยมาเอง.....^^
     
  3. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    คุณครูกลอนก็มา.....^^
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    คุณครูอลเวงก็มา..^^
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    มาอ่านด้วยคนค่ะ
    ยอมรับว่าภาษาไทยนั้นยากมาก
    นี่เป็นสาเหตุว่า ทำไมไม่กล้าเรียนเอกภาษาไทยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...