ร่วมทำบุญบูชา มงคลตัดผ่านสวรรยามหากุมารต้นไฟอมฤต(สลายจุดชะลอชะตาสี่มหาฤทธิ์พญา) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,106
    ค่าพลัง:
    +16,530
    มีหลายคนถามว่าจะเริ่มเล่นเกมส์เมื่อไหร่ ก็ขอเอาช่วงเวลาเดิมแล้วกันนะครับ เริ่มกันวันศุกร์เสาร์ อาทิตย์ประกาศผล วันจันทร์ได้ส่งของให้ครบ เหมือนเดิม ติดตามกันดีๆนะ
     
  2. ความงมงาย

    ความงมงาย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    รอเล่นเกมส์ เล่นเกมส์ เล่นเกมส์
     
  3. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,106
    ค่าพลัง:
    +16,530
    ร่วมเล่นเกมส์ แจกตะกรุดนารายณ์พลิกแผ่นดิน

    เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา เราก็จะมาเล่นเกมส์แจกตะกรุดนารายณ์พลิกแผ่นดินกัน แน่นอนว่าวิชานี้มีอานุภาพทางกลับร้ายกลายเป็นดี หนุนดวงพลิกชะตาในส่วนหนึ่ง รายละเอียดของตะกรุดนารายณ์พลิกแผ่นดินนั้นเราก็จะมาแจ้งในวันเสาร์พรุ่งนี้ต่อไป

    สำหรับเกมส์ที่จะให้ร่วมเล่นกันในวันนี้ เนื่องจากเป็นวันพระใหญ่จึงอยากเห็นทุกคนสวดมนต์ทำการกุศลกัน ก็ให้ทุกท่านบอกกันเข้ามาว่าวันนี้ได้สวดมนต์บทไหน เช่นพุทธคุณเท่าอายุ พาหุงมหากา ชินบัญชร บทพระจักรพรรดิ์ เช่นนี้เป็นต้น

    หลังจากนั้นให้ทุกท่านยกประวัติครูบาอาจารย์ที่ตนเองนับถือซึ่งเป็นพระเถระแต่อดีตหรือปัจจุบันก็ได้ยกตัวอย่าง สมเด็จโต หลวงปู่ทวด หลวงพ่อปาน หรือแม้แต่เทพเจ้าอย่างครูพระศิวะ พระนารายณ์ก็ได้ ยกประวัติท่านมาโพสต์ไว้เป็นอาจาริยบูชา เราทุกคนจะได้อ่านศึกษาและอนุโมทนาร่วมกัน เชื่อว่าหลายๆท่านที่ชอบการอ่าน วันนี้คงมีอะไรให้อ่านหลายเรื่องแน่นอน

    ก็เริ่มเล่นเกมส์กันได้เลย หมดเวลาวันเสาร์ตอนหกโมงเย็น ผมถือว่าจบเกมส์รอประกาศผลในวันอาทิตย์ต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    498
    ค่าพลัง:
    +1,017
    วันนี้ตั้งใจจะสวด
    1. บทถวายพรพระ
    2.พาหุง มหากา
    3.อิติปิโสเท่าอายุ
    4.ธัมมจักรกับปวัตนสูตร
    5. หลังจากนั้นเจริญภาวนาและแผ่เมตตาใหญ่ฉบับย่อครับ

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)
    ชาติกำเนิด
    พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือ หลวงตามหาบัว เดิมมีชื่อว่า "บัว โลหิตดี" เกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีพี่น้องทั้งหมด 16 คน ในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธ โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

    อุปสมบท
    เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญ แต่ท่านก็ไม่ตอบรับ ทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ท่านจึงกลับพิจารณาออกบวชอีกครั้ง ที่สุดจึงตัดสินใจออกบวชโดยท่านกล่าวกับมารดาว่า "เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ" ซึ่งมารดาก็ตกลงตามที่ท่านขอ
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่วัดโยธานิมิตร ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้ฉายานามว่า "ญาณสมฺปนฺโน" แปลว่า "ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ" ท่านมีความเคารพเลื่อมในเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านได้สอบถามวิธีการภาวนาจากพระอุปัชฌาย์ของท่านและได้รับการแนะนำให้ภาวนาว่า "พุทโธ" ท่านจึงปฏิบัติภาวนาและเดินจงกรมเป็นประจำ

    เรียนปริยัติ
    ระหว่างนั้นท่านเริ่มเรียนหนังสือทางธรรมและศึกษาเกี่ยวกับพุทธประวัติ รวมทั้งพุทธสาวก โดยหลังจากพุทธสาวกเหล่านั้นได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้วจะเดินทางไปบำเพ็ญในป่าอย่างจริงจังจนสำเร็จอรหันต์ ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสและตั้งใจปฏิบัติเพื่ออรหัตผลให้ได้ จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า เมื่อเรียนจบเปรียญธรรม 3 ประโยคแล้วจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว

    อย่างไรก็ตาม ท่านยังสงสัยว่า ถ้าท่านดำเนินตามแนวทางปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้น จะสามารถบรรลุถึงจุดที่ท่านเหล่านั้นบรรลุหรือไม่ และมรรคผลนิพพานจะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ความสงสัยเหล่านี้ทำให้ท่านมุ่งหวังได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งท่านเชื่อมั่นว่าท่านอาจารย์มั่นจะสามารถไขปัญหานี้ให้ท่านได้

    ท่านเดินทางศึกษาพระปริยัติในหลายแห่ง อาทิ วัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา, วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรม จากนั้น ท่านเดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เวลานั้นพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ขอให้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์มั่นรับนิมนต์นี้และได้เดินทางมาพักที่วัดเจดีย์หลวงชั่วคราวจึงทำให้ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ครั้งแรก ท่านศึกษาทางปริยัติที่วัดแห่งนี้ จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยคใน พ.ศ. 2484 นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ 7 พรรษา

    ปฏิบัติกรรมฐาน
    หลังสำเร็จการศึกษาทางปริยัติ ท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อปฏิบัติกรรมฐานได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางไปจังหวัดสกลนครโดยตั้งใจไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์มั่นรับท่านเป็นลูกศิษย์และได้พูดขึ้นว่า


    ...ท่านมาหามรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลจริง ๆ อยู่ที่ใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ...


    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    คำกล่าวนี้ทำให้ท่านเชื่อมั่นว่ามรรคผลนิพพานมีจริงและเชื่อมั่นพระอาจารย์มั่นที่ไขข้อข้องใจได้ตรงจุด ท่านรักษาระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด หลังจากศึกษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นในพรรษาที่ 2 ท่านเริ่มหักโหมความเพียรในการปฏิบัติกรรมฐาน จนผิวหนังบริเวณก้นช้ำระบมและแตกในที่สุด พระอาจารย์มั่นเตือนว่า "กิเลสมันไม่ได้อยู่กับร่างกายนะ มันอยู่กับจิต" ซึ่งท่านก็น้อมรับคำเตือนของพระอาจารย์มั่นทันที

    อย่างไรก็ตาม ด้วยจริตนิสัยของท่านเรื่องการภาวนานั้นถูกกับการอดอาหารเพราะทำให้ธาตุขันธ์เบาสบาย การตั้งสติทำสมาธิภาวนาก็ง่าย และช่วยให้การบำเพ็ญจิตภาวนาเจริญขึ้นได้เร็วกว่าขณะที่ออกฉันตามปกติ แม้มีผู้คัดค้านก็ไม่ทำให้ท่านเปลี่ยนใจได้ ด้วยท่านพิจารณาแล้วว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุอดอาหารเพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่ไม่ใช่เพื่อการโอ้อวดหรืออดเพียงอย่างเดียวโดยไม่ฝึกฝนด้านจิตภาวนาเลยซึ่งไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น ท่านจึงใช้อุบายนี้เพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาเรื่อยมา

    ในพรรษาที่ 10 ท่านฝึกสมาธิจนมั่นคงหนักแน่นและสามารถอยู่ในสมาธิได้เท่าไหร่ก็ได้ ท่านมีความสุขอย่างยิ่งจากที่จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ท่านติดอยู่ในขั้นสมาธิอยู่ถึง 5 ปี โดยไม่ก้าวหน้าสู่ขั้นปัญญา จนกระทั่ง พระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายเพื่อให้ท่านออกพิจารณาทางด้านปัญญาและเตือนท่านว่า "...สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธินอนตายอยู่นี่หรือเป็นสัมมาสมาธิ..." ท่านจึงออกจากสมาธิและพิจารณาทางด้านปัญญาต่อไป

    ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 แรม 14 ค่ำ เดือน 6 เวลา 5 ทุ่มตรง บนหลังเขาซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

    ก่อตั้งวัดป่าบ้านตาด
    ด้วยเหตุที่โยมมารดาของท่านล้มป่วยเป็นอัมพาต ท่านจึงพาโยมมารดากลับมารักษาตัวที่บ้านตาดอันเป็นบ้านเกิด หลังรักษาตัวหายขาดแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่าโยมมารดาของท่านก็อายุมากแล้ว จะพาไปอยู่ในถิ่นถุรกันดารเพื่อการปลีกวิเวกตามนิสัยของท่านจะทำให้โยมมารดาลำบาก ประจวบกับเวลานั้นชาวบ้านตาดมีความประสงค์ให้ท่านตั้งวัดขึ้นที่นั่นเช่นกัน โดยชาวบ้านร่วมกันถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัด ดังนั้น วัดป่าบ้านตาดจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2498[9] ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยให้ชื่อว่า "วัดเกษรศีลคุณ"[10]

    มรณภาพ[แก้]

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศแก่พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) บนศาลาการเปรียญวัดป่าบ้านตาด

    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารพระธรรมวิสุทธิมงคล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ขวา) ณ วัดเกษรศีลคุณ วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554
    พระธรรมวิสุทธิมงคล อาพาธลำไส้อุดตัน และมีปอดติดเชื้อมานานกว่า 6 เดือน คณะแพทย์ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างกุฏิปลอดเชื้อให้แก่พระเดชพระคุณ แต่อาการอาพาธไม่ดีขึ้น จนเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 02.49 น. ตรวจพบสมองของพระเดชพระคุณหยุดทำงานใน ต่อมา ตรวจพบม่านตาขยายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ออกซิเจนในเลือดเป็น 0 จากนั้นเวลา 03.53 น. ความดันโลหิตมีค่าเป็น 0 หัวใจหยุดเต้นและหยุดการหายใจ สิริอายุได้ 97 ปี 5 เดือน 18 วัน 77 พรรษา

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานพิธีถวายน้ำหลวงสรงศพพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) และทรงวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวงมาลาส่วนพระองค์ และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานโกศโถและทรงรับพระพิธีธรรมไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน[12] และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานบำเพ็ญพระราชกุศล 1 วันโดยโปรดให้พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์เดินทางมาร่วมประกอบพิธีธรรม จากนั้นจึงเปิดให้พ่อค้า ประชาชน ส่วนราชการต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพตลอดไป

    ส่วนพินัยกรรมที่ท่านเขียนตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 นั้น สรุปความได้ว่า ให้นำทองคำที่ได้รับบริจาคไปหลอม ส่วนเงินสดที่ได้รับบริจาคให้นำไปซื้อทองคำ แล้วนำมาหลอมรวมและมอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นทุนสำรองเงินตราของฝ่ายบำบัดธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่มีเจตนาให้ใช้ในงานอื่น โดยตั้งพระสุดใจ ทนฺตมโน รองเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด เป็นผู้จัดการมรดก รวมทั้งตั้งคณะกรรมการจัดงานศพและจัดการดูแลทรัพย์สินทั้งปวงอีก 9 คน

    ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  5. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    วันนี้ตั้งใจจะสวดมนต์
    พาหุงมหากา
    บทพระจักรพรรดิ์
    พระคาถาชินบัญชร
    บทสวดคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

    ประวัติครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ ก็ขอยกประวัติของหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ

    นามเดิม ท่าน มีชื่อว่า “ดู่” เกิด เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งเป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำเนิดในตระกูล “หนูศรี” โยมบิดา - มารดา ชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง มีพี่สาวร่วมบิดามารดา ๒ คน ท่านเป็นคนที่ ๓ เป็นบุตรคนสุดท้อง อาชีพของโยมบิดามารดาเป็นชาวนา มีฐานะไม่ร่ำรวย เมื่อหมดหน้านา โยมทั้งสองจะช่วยกันทำขนมไข่มงคลออกเร่ขาย หารายได้อีกทางหนึ่ง

    ขณะที่ท่านยังเป็นทารกน้อย ได้เกิดเหตุอัศจรรย์กับตัวท่านครั้งหนึ่ง กล่าวคือ เวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำเหนือได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มแถบอยุธยาแทบทั้งหมด ท้องนาและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมีแต่น้ำเจิ่งนองไปทั่ว บ้านของโยมหลวงปู่ดู่ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน วันนั้นโยมมารดาได้เอาเบาะซึ่งท่านนอนอยู่ไปวางตรงนอกชาน (ไม่มีระเบียงกั้น) ด้วยเห็นว่าเป็นที่โล่งโปร่ง ลมเย็นพัดโชยตลอดเวลา แล้วโยมมารดาก็ไปช่วยโยมบิดาทอดขนมไข่มงคลในครัว ขณะที่โยมทั้งสองกำลังง่วนอยู่กับการทอดขนม ก็ได้ยินเสียงสุนัขเลี้ยง เห่าขรมตรงนอกชาน แล้ววิ่งเข้ามาเห่าในครัวด้วยท่าทางลุกลน ก่อนจะวิ่งพล่านออกไปเห่าตรงนอกชานอีก โยมเห็นสุนัขแสดงกิริยาแปลก ๆ รีบออกจากห้องครัวมาดู มองไปที่เบาะลูกชาย ปรากฏว่า หายไปก็ตกใจสุดขีด วิ่งถลันไปที่สุดนอกชาน กวาดสายตามองหาไปรอบทิศ จึงได้เห็นเบาะหล่นจากชานเรือนลงไปในน้ำที่ท่วมเจิ่งด้านล่าง และลอยไปติดริมรั้ว กลางเบาะนั้นมีลูกชายตัวน้อย ๆ นอนร้องอ้อแอ้อยู่ โยมบิดารีบโดดโครมลงไปในน้ำ ลุยไปที่เบาะลูกชาย เมื่ออุ้มลูกขึ้นมา ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายอย่างใด จึงประคับประคองกลับขึ้นบ้าน ด้วยความรู้สึกอัศจรรย์ใจเหลือจะกล่าว โยมทั้งสองคิดหาสาเหตุที่ลูกตกไปในน้ำพร้อม ๆ กับเบาะก็นึกไม่ออกว่าลูกจะดิ้นจนเบาะเลื่อนไหลไปจนสุดนอกชาน แล้วตกลงไป ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะลูกยังไม่คว่ำเสียด้วยซ้ำ จะดิ้นรนตะกายอย่างไร ก็ไม่ทำให้เบาะขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ไปไกลถึงเพียงนั้น หรือจะว่ามีลมพัดอย่างแรงถึงกับหอบเอาเบาะลูกหล่นน้ำ ตนอยู่ในครัวใกล้ ๆ ทำไมจึงไม่รู้ว่ามีลมพัด และถ้ากระแสลมรุนแรงถึงขั้นหอบเอาเบาะกับลูกปลิวตกเรือนไปได้ หลังคาบ้านก็คงเปิดเปิงด้วยกระแสลมไปแล้ว และที่น่าแปลกน่าอัศจรรย์ก็คือ เมื่อเบาะมีเด็กทารกนอนอยู่ตกลงไปในน้ำ เหตุใดเบาะไม่พลิกคว่ำ หรือตัวเด็กเลื่อนไหลตกน้ำไป ซ้ำเบาะยังลอยน้ำได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว เบาะไม่ควรจะรับน้ำหนักเด็กไว้ได้ถึงเพียงนั้น โยมบิดามารดาจึงเชื่อมั่นว่า ลูกของตนมีบุญวาสนามากำเนิดแน่นอน ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะทารกน้อยผู้นี้เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ก็ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์จนชั่วชีวิต ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติสมณธรรม ชีวิตเยาว์วัยของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านต้องเผชิญกับการพลัดพรากที่รุนแรงร้ายกาจอย่างยิ่ง นั่นคือโยมมารดาเสียชีวิตไปก่อนขณะท่านยังเป็นทารก ครั้นอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาก็เสียชีวิตตามไปอีกคน ต้องอาศัยอยู่กับยาย โดยมีพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้เลี้ยงดูเอาใจใส่ เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยเรียน ก็เข้าศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    อุปสมบท
    อายุครบ ๒๑ ปี ท่านจึงได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงปู่กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ ภิกขุ” ในพรรษาแรก ๆ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม (สมัยนั้นเรียกวัดประดู่โรงธรรม) พระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม และหลวงปู่รอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ท่านได้รับการสอนจากหลวงปู่กลั่น ผู้เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และหลวงปู่เภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่กลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่านเอง นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานอีกหลายรูป ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสระบุรี ประมาณพรรษาที่สาม หลวงปู่ดู่จึงออกเดินธุดงค์เดี่ยว

    หลวงปู่ดู่ท่านได้ถือศีลข้อวัตร คือฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 แต่ภายหลังคือประมาณปี พ.ศ.2525 เหล่าสานุศิษย์ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อเนื่องจากความชราภาพ ประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้นท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะสมแห่งอัตภาพ แต่เมื่อถามความเห็นจากท่านจึงทราบว่า ท่านต้องการโปรดญาติโยมจากที่ไกลๆ จะได้มีโอกาสทำบุญ

    นิมิตธรรม

    ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง “ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา

    เมตตาธรรม

    หลวงปู่ดู่ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้วยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงปู่มีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย


    นอกจากความอดทนอดกลั้นอย่างยิ่งแล้วหลวงพ่อดู่ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลายไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวรารามหรือที่เรียกกันว่า “ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ 1 พรรษา มานมัสการหลวงพ่อ โดยยกย่องหลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์ แต่เมื่อเจ้าคุณเสงี่ยมกราบหลวงปู่เสร็จ หลวงปู่ก็กราบตอบเรียกว่าต่างองค์ก็กราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกินในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบใหญ่ ทางด้านทิฐิมานะ ความถือตัว อวดดี ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสหลงออกเรียราด เที่ยวป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนดีตนเก่ง โดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป


    หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจาร์ณการปฎิบัติธรรมสำนักไหนๆ ในเฃิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีนะเขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง หลวงปู่ดู่ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฎิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเราหมั่น(ปฎิบัติ)เข้าไว้ “ให้หมั่นดูจิตรักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

    หลวงปู่ทวด

    ท่านสอนให้ศิษย์ท่านเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ

    สร้างพระ


    หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า

    “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

    ปัจฉิมวาร


    นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมาสุขภาพหลวงปู่เริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงปู่ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงปู่ท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงปู่ยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท


    “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ
    ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ”

    หลังจากคืนนั้นหลวงปู่ก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของ วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน ๖๕ พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔

    อีกเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวเตือนศิษยานุศิษย์ ทั้งที่ใกล้ชิดและห่างไกล ตลอดจนสาธุชนญาติโยมทั้งหลาย ให้พึงสังวรอยู่เสมอก็คือ เรื่องควรงดเว้นกระทำกรรมชั่วโดยเด็ดขาด โดยท่านจะนำเอาพุทธพจน์ที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า” มาเป็นข้อเตือนสติแก่ทุกคน เพราะการกระทำกรรมใด ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมเลวก็ตาม จิตของผู้นั้นจะบันทึกเก็บงำข้อมูลเอาไว้โดยละเอียด เมื่อใดที่ถึงกาลมรณะ จิตตัวนี้จะเป็นตัวชี้นำไปสู่สุคติ หรือทุคติอย่างชัดเจน จิตตัวนี้สำคัญนัก แม้เพียงไปยึดติดหรือข้องอยู่กับกรรมเพียงน้อยนิด ขณะใกล้จะสิ้นใจตาย ก็ยังสามารถเบี่ยงเบนจุดหมายปลายทางที่จะไปเกิดได้
     
  6. ratchaplee

    ratchaplee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +712
    วันนี้ตั้งใจจะสวดมนต์บท
    บทพุทธคุณ
    พาหุงมหากา
    ชินบัญชร
    บทสวดบทพระจักรพรรดิ์

    ประวัติครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ

    ประวัติหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง พระป่าสายกรรมฐานที่น่ากราบไหว้ พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เดิมชื่อ ศรี เกิดในสกุล ปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ อ่อนสี โยมมารดาชื่อ ทุม ช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม จบชั้นประถมปีที่ ๖ จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเป็นครูอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา เป็นภาษามคธว่า "มหาวีโร"

    พรรษาแรก ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง จ.มหาสารคาม ปีต่อมา ท่านได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดป่าแสนสำราญ จ.อุบลราชธานี และมีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจาริกแสวงธรรม ไปตามป่าตามเขาต่างๆ ซึ่งเป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เคยธุดงค์จาริกมาก่อนหน้านี้ เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรมได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสนในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ที่เหมาะแก่การพัฒนาภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    ต่อมา หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านนาแก จ.นครพนม ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นดินแดนที่คุกรุ่นไปด้วยสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย จนกระทั่งออกพรรษา หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง ท่านได้จาริกไปยัง จ.สกลนคร จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน

    จนถึงช่วงที่พระอาจารย์มั่น ล่วงสู่ปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านได้ขออนุญาตพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่น ด้วยนับเป็นโอกาสอันเป็นมหามงคลในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปัฏฐากพระบุพพาจารย์ใหญ่ รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน

    หลวงปู่ศรีมีโอกาสได้ถวายการปฏิบัติจนถึงวาระสุดท้าย เมื่อพระอาจารย์มั่นถึงแก่มรณภาพ ก็ได้ถวายสักการะสรีระพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งสุดท้าย ในงานฌาปนกิจที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร หลังจากนั้นพระราชสังวรอุดม ท่านได้จาริกไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ หลายแห่ง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้มายัง วัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ ๑๗๐ ปี ท่านได้เป็นผู้นำคณะศรัทธาญาติโยมในการพัฒนา วัดป่ากุง จากสภาพวัดเก่าอันโรยร้าง ให้เจริญเรืองรุ่งขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเป็น วัดประชาคมวนาราม ที่งามสง่า เป็นศาสนสถานอันไพศาล สำหรับชาวพุทธผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา

    หลวงปู่ศรี ได้จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้นมา จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความเอาใจใส่เป็นธุระในทุกกิจการงานของพระศาสนาอย่างตั้งใจ จริงจัง และมั่นคง สิ่งที่เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่อลังการของ หลวงปู่ศรี มหาวีโร คือ การก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ณ วัดผาน้ำทิพย์ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งนับเป็นผลานิสงส์แห่งแรงศรัทธาของชาวพุทธ ต่อพระบวรพุทธศาสนา ต่อพระสุปฏิปันโน ต่อบารมีธรรมในหลวงปู่อย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม งานพุทธศิลป์ ให้สถิตสถาพรสืบไป

    พระมหาเจดีย์ชัยมงคล มีรูปแบบอันวิจิตรงดงามยิ่ง เป็นศิลปะผสมความยิ่งใหญ่ของ พระปฐมเจดีย์ กับความโอฬารของ พระธาตุพนม กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประดิษฐานตระหง่านตระการตา ด้วยศิลปกรรม อันล้ำเลิศ ด้วยฝีมือลูกหลานไทย เป็นนฤมิตกรรมแห่งยุคสมัย ที่จะเป็นปูชนียสถานสำคัญของคนไทยทั่วประเทศ และของโลกวัฒนา สืบต่อไปภายภาคหน้า

    ทุกวัน...ในยามเช้า จะมีคณะศรัทธาชาวบ้านทั้งใกล้และไกล จากหลายถิ่น มารวมกันที่หน้า วัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตพระคุณเจ้า และจะเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้ขอพร หลวงปู่ศรี มหาวีโร อย่างใกล้ชิด ซึ่งท่านได้เมตตาโดยเสมอหน้า ถ้วนทั่วทุกๆ คน

    การบิณฑบาต เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำสำหรับ หลวงปู่ศรี ท่านจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาต พระราชสังวรอุดม ท่านจึงเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง แม้จะมีอายุถึง ๙๒ ปีแล้วก็ตาม

    หลวงปู่ศรี จึงนับเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม พระราชสังวรอุดม เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่มีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาอย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่น่ากราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง

    หลวงปู่ศรีละสังขารแล้ว
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร (พระเทพวิสุทธิมงคล) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุงท่านละสังขารด้วยอาการสงบ วันนี้ 16 สิงหาคม 2554 เมื่อเวลา 05.33 น. สิริอายุ 94ปี 3เดือน 13วัน พรรษา65
     
  7. timon4

    timon4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +282
    วันนี้ได้สวดมนต์อิติปิโส พาหุงมหากาฯ ชินบัญชร และคาถาหลวงปูทวด

    ครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพคือ หลวงปู่ขาว ท่านมีนิสัยใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นในเป้าหมาย ความเพียรกล้าทั้งสามอิริยาบถ คือเดินจงกรมก็เก่ง เดินแต่ฉันเสร็จ เข้าสู่ทางจงกรม ทำความเพียร ละหรือถอดถอนกิเลสประเภทต่างๆ ที่เคยฝังจมอยู่ภายในใจสัตว์โลกไม่เคยบกบางเหมือนสิ่งอื่นๆ มีเมตตาธรรมเป็นเลิศ สง่างามประดุจช้างสาร ท่านมีอดีตชาติเกี่ยวพันกับสัตว์ป่า มีช้างเป็นต้น ไม่ว่าท่านจะไปเที่ยวที่ป่าเขาลึกเพียงไหน ช้างหัวหน้าฝูงมักจะเข้ามาหาคารวะท่าน ท่านรู้ภาษาสัตว์ และสัตว์ก็รู้ภาษาของท่านอย่างดี ท่านมีสหธรรมิกที่ร่วมภาวนาที่เกื้อกูลกันในทางธรรมด้วยกัน คือ หลวงปู่หลุย จันทสาโร ,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ , หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น

    หลวงปู่ขาวท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสาวกรูปหนึ่งในบวรพระพุทธศาสนา ในช่วงพรรษาที่ ๑๖-๑๗ ที่กลางทุ่งนา บ้านโหล่งขอด อ.พร้าว เชียงใหม่ ท่านเล่าว่า "..เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จออกที่พักไปสรงน้ำ เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม เกิดปัญหาขึ้นมาว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไปจะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน.. ท่านก็คิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมาย พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาอวิชชากับใจ ..พอจวนสว่าง จึงตัดสินกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ ยุติที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิต มาหยุดกันที่อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุก เช่นเดียวกับข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิด เกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจคือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วนๆในกระท่อมกลางเขา.." หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ สิริอายุ ๙๔ ปี ๔ เดือน ๑๙ วัน ๕๗ พรรษา จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาองค์หลวงปู่ขาว มาเผยแพร่เพื่อน้อมมาเป็นสังฆานุสติครับ

    ◎ ชีวประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านเกิดตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) บิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ ทำอาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย ต่อมาท่านได้สมรสกับนางมี โคระถา เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ขณะอายุได้ ๒๐ ปี มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ใช้ชีวิตคู่ได้ ๑๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านสามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ ในสมัยพุทธกาลท่านเคยเกิดป็นพระภิกษุ ๑ ใน ๕๐๐ รูปที่ติดตามพระเทวทัต เดิมที ท่านเป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตร จึงหันกลับเข้ามาสู่ทางแห่งสัมมาทิฐิ สถานที่ต่างๆ ที่ท่านอยู่จำพรรษา มักเป็นสถานที่เคยเกิดเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ ในอดีตชาติ

    การเริ่มออกบวชของหลวงปู่ขาว เป็นข้อคิดและมีสิ่งเตือนใจให้พิจารณาดังนี้คือ ท่านได้พบเห็นสิ่งที่รัก คือเมียคบชู้สู่ชายอื่น ความทุกข์และความเกลียดแค้น ปักลึกสุดขั้วหัวใจ กลับกลายเป็นมหาภัยสังหารทำลายหัวใจอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย ท่านเองเกิดความทุเรศและความเคียดแค้นแสนจะอดกลั้นทนทานได้ แต่ก็คงมีบารมีธรรมที่เคยบำเพ็ญมา มาช่วยสะกิดใจไว้ได้ทันท่วงทีในขณะนั้นว่า แม้แต่มดตัวเล็กๆ กัดเรายังรู้สึกเจ็บและปัดออกในทันทีทันใด ก็การฆ่าคนให้ล้มตายนั้น ความทุกข์ของผู้จะถูกฆ่า แม้เป็นฝ่ายผิดและรู้ตัวว่าผิด จะมีทุกข์มากขนาดไหน จงยับยั้งใจไว้พิจารณาให้ดี และละเอียดถี่ถ้วนก่อนจะสายเกินแก้ ว่าทำไมเราจึงเป็นผู้ยินดีและพอใจทำในสิ่งเลวร้าย ที่โลกทั้งหลายไม่พึงปรารถนา และปราชญ์ติเตียนอย่างยิ่งเช่นนี้ เราฆ่าเขาให้ตายสมใจแล้ว เราจะได้อะไรที่พึงใจเป็นเครื่องตอบแทนบ้าง นอกจากมหันตโทษ มหันตทุกข์ล้วนๆ ไม่มีประมาณเท่านั้น จะสะท้อนย้อนกลับมาเผาผลาญเรา

    คำว่าเมียมีชู้ ตัวมีชู้ เมียมีหลายผัว ผัวมีหลายเมียนี้ เพิ่งมาเกิดแก่เราคนเดียวเท่านั้นหรือ ในโลกทั้งหลาย ตลอดวงนักปราชญ์ที่ท่านมาเป็นศาสดา มาเป็นพระสาวก มาเป็นครูอาจารย์สอนเรา ท่านไม่เคยมี เคยเจอสิ่งสกปรกอันเป็นสมบัติของสัตว์นรกเหล่านี้มาละหรือ ในโลกมีเฉพาะเราคนเดียว เจอเฉพาะเราคนเดียวเท่านั้นหรือ รีบคิดและตัดสินใจให้ถูก ถ้าจะไม่ตั้งหน้าทำลายตัวเองให้ฉิบหายจนไม่มีเชื้อแห่งความดีเป็นเครื่องสืบต่อภพต่อชาติในภพต่อไป

    คนเราจะรู้ว่าตนโง่หรือตนฉลาด จะล่มจม หรือจะเอาตัวรอดปลอดภัย ถึงแดนแห่งชัยชนะได้ ย่อมถือเหตุการณ์เป็นเครื่องวัดตวงในการปฏิบัติตัวต่อเหตุการณ์นั้นๆ ปราชญ์ทั้งหลายแต่ดึกดำบรรพ์มา ท่านไม่เคยเสียท่าเสียทีเพราะการทุ่มตัวให้กับสิ่งเลวทรามทั้งหลาย นอกจากท่านคิดอุบายพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงสิ่งเลวร้าย ให้กลายมาเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงธรรมให้เจริญภายในใจฝ่ายเดียว แต่ตัวเจ้าเอง ทำไมจะทำตัวเป็นมนุษย์เหลวแหลกแตกกระจายไม่เป็นท่า ด้วยการทำชั่วตามเหตุการณ์ของโลก ที่ไม่มีประมาณแห่งความพอดี ที่ผู้อื่นก่อขึ้นเช่นนี้เล่า..

    เพียงเท่านี้ไม่อาจยับยั้งได้ เจ้าจะพยุงตัวเพื่อความดีงามไปได้อย่างไร เมียของเจ้าเขาลุอำนาจแห่งราคะตัณหาไปตามประสาของหญิงที่ไม่มีเขตแดน แต่ตัวเจ้าเอง ที่เข้าใจว่าตัวเป็นฝ่ายถูกฝ่ายดีกว่าเขา แต่แล้วเจ้าก็จะลุอำนาจไปตามโทสะ ความอาฆาตมาดร้ายและทำลายเขาให้ตายสมใจนั้น ในคนทั้งสองคือเมียผู้นอกใจ กับตัวเจ้าเอง ผู้ฆ่าเมียและชายชู้ให้ตายพร้อมกันในขณะเดียวสองคนนั้น จะจัดว่าใครเลวร้ายกว่าใคร

    ตามสายธรรมของจอมปราชญ์ มีพระศาสดาเป็นพยานแล้ว ตัวเจ้าเองต้องจัดว่าเป็นผู้ทำกรรมชั่วอย่างหนักมาก จนไม่มีมหาเมตตาในธรรมบทใดบาทใดให้อภัยเจ้าได้ เจ้าต้องลงนรกหลุมมหันตทุกข์โดยฝ่ายเดียวไม่เป็นอย่างอื่นเลย เจ้าจะเชื่อโทสะกิเลสที่กำสังรุมล้อม พัดผันหัวใจของเจ้า เพื่อให้เป็นไปตามอำนาจของมัน หรือจะเชื่อธรรมของจอมปราชญ์ ที่เคยพยุงสัตว์โลกผู้ได้ทุกข์ ให้เบาบางสร่างซา มานานแสนนาน รีบคิดและตัดสินใจโดยถูกทางเดี๋ยวนี้ อย่าชักช้าล้าหลัง กิเลสตัวโหดร้าย จะแซงธรรมและขยำตัวเจ้า ให้แหลกทั้งเป็น ถ้าไม่รีบจัดการกับมันแต่ขณะนี้

    ท่านว่าเป็นที่แปลกประหลาดและอัศจรรย์อย่างไม่เคยคาดเคยฝันมาก่อน พอความอัศจรรย์ผุดขึ้นจากภายใน อันเป็นเชิงบอกเตือนด้วยอุบายต่างๆ ราวกับครูอาจารย์ที่เคารพนับถือมานั่งสั่งสอนเราอยู่เฉพาะหน้าให้สงบลงไป ใจที่เป็นเหมือนกองเพลิงใหญ่ซึ่งกำลังส่งเปลวเต็มที่พร้อมจะเผาไหม้สิ่งที่กีดขวางอยู่เวลานั้นให้เป็นผุยผงชั่วประเดี๋ยวใจนั้น ได้สงบตัวลงอย่างเงียบผิดธรรมดา และเกิดความสลดสังเวชในเหตุการณ์เกี่ยวกับเมียนอกใจ พร้อมด้วยความอ่อนโยนที่เต็มไปด้วยความสงสารและความให้อภัยเต็มดวงใจ พร้อมกับความเห็นโทษแห่งความโหดร้ายหมายชีวิตอย่างถึงใจในขณะเดียวกัน ยกมือขึ้นประนมสาธุๆๆ พระธรรมท่านโปรดปรานว่าที่สัตว์นรกไว้ได้ทันท่วงที

    หลังจากมรสุมในหัวใจสงบลงโดยสิ้นเชิงแล้ว ใจกลับว่างเปล่าโล่งสบายหายทุกข์เข็ญเวรภัยทั้งปวงในขณะนั้น ราวกับเกิดชาติใหม่ขึ้นมาในร่างกายและใจดวงเดียวกัน ทำให้คิดทบทวนหวนกลับไปกลับมา ย้อนหน้าย้อนหลังทั้งอดีตที่เคยตีบตันอั้นตู้จนจะหาทางออกไม่ได้ ถึงกับจะคิดเผาไหม้ตัวเองสดๆ ร้อนๆ โดยเห็นว่าเป็นทางออกที่ดี ทั้งอนาคตเกี่ยวกับความเป็นไปในวันข้างหน้าว่าจะควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะสมมักสมหมายไม่คลุกเคล้าด้วยมูตร ด้วยคูถ ด้วยฟืน ด้วยไฟ ดังที่เป็นมาแล้ว ที่น่าสลดสังเวชน่าขยะแขยงและไม่พึงปรารถนาตลอดอนันตกาล

    แต่ก่อนท่านไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการหวังความเจริญในทางโลก เมื่อมาประสบเหตุการณ์ธรรมทูตนี้ ความรู้สึกสำนึกทั้งหลายจึงหนักไปในอรรถในธรรม มากกว่าจะคิดไปในแง่อื่นๆ จนถึงขั้นปลงใจบวช ด้วยความเห็นโทษเห็นคุณจริงๆ เนื่องจากอะไรก็เคยคิดเคยผ่านมามากต่อมากแล้ว สิ่งที่จะให้สมหวังไม่ค่อยปรากฏ มักมีแต่สิ่งไม่พึงหวังมาปรากฏซ้ำๆ ซากๆ จนถึงขั้นชอกช้ำเต็มที่ แทบจะหาที่ปลงที่วางไม่ได้ คิดเห็นแต่ธรรมอย่างเดียว จะพึ่งเป็นพึ่งตายได้ ด้วยการออกบวช ปฏิบัติธรรม ให้เต็มกำลังความสามารถ อย่างอื่นๆ ไม่ค่อยมีในห้วงแห่งความคิดนึก จึงได้ตัดสินใจออกบวช โดยบอกความประสงค์ให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงทราบแล้วก็ออกถวายตัวเป็นนาคในวัดเพื่อบวชโดยไม่ชักช้า

    ◎ การอุปสมบท

    ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ที่วัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือวัดบ่อชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีท่านพระครูพุฒิศักดิ์ฯ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี ๖ พรรษา สังเกตดูครูอาจารย์เพื่อนพระสามเณร ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยลุ่มๆดอนๆ ไม่สมเจตนาที่ออกบวชเพื่อมรรคผลนิพพาน จึงกราบลา ตามหาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ขาว ท่านเกิดความศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จึงได้ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ขณะมีอายุได้ ๓๗ ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นประธานพิธี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระชิโนวาทธำรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฑโฒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ขาวเป็นนาคซ้าย หลวงปู่หลุยเป็นนาคขวา หลวงปู่หลุยบวชก่อน ๑๕ นาที

    ◎ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    หลังกระทำญัตติกรรมเข้าคณะธรรมยุติกานิกายแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นเวลา ๘ ปี การทำความพากเพียรในขั้นเริ่มแรกเป็นความเพียรผาดโผน ด้วยการเอาชีวิตเข้าประกันก็ตาม แต่การเพียรการต่อสู้ในระยะนี้ เป็นการต่อสู้ที่บอบช้ำมาก และต่อมาจนจิตสงบลงเป็นสมาธิได้ แต่ผลปรากฏมีน้อยไม่สมดุลย์กัน ทั้งนี้เพราะยังไม่รู้วิธีการต่อสู้และพากเพียรเท่าที่ควร แต่นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายจำต้องยอมรับยอมโดนความบอบช้ำไปก่อน เพื่อทราบเหตุผลจากประสบการณ์ที่เคยผ่านมา แล้วปรับตัวปรับความเพียรให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในอันดับต่อไป จากนั้นได้เดินธุดงค์ตามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ ได้จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ปีแรกที่เชียงใหม่ ท่านเร่งความเพียรแทบไม่ได้หลับนอน ท่านออกเดินทางทุกปี และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ท่านยังได้เคยเดินธุดงค์ร่วมกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย

    ท่านได้สร้างบารมีอยู่ในป่าเขาเป็นเวลายาวนาน มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหลาย เช่น สิง ค่าง ช้าง เสือ เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมาตามความรำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้าง ว่าหายหน้าไปไหนนานไม่ผ่านมาทางนี้เลย พอตกกลางคืนดึกๆ ช้างก็จะมาหาจริงๆ และ เดินตรงมายังกุฏิที่ท่านพักอยู่ พอให้ท่านทราบว่าเขามาหาแล้ว ช้างก็จะกลับเข้าป่าไป เวลาที่ท่านนึกถึงเสือ ก็เช่นกัน นึกถึงตอนกลางวันตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่านภายในวัดบริเวณที่ท่านพักอยู่

    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรม และตปธรรมของหลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือ ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญ กัดเหล็กกัดเพชรจริงๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชย อนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่”

    เรื่องราวของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม กับพระอริยเจ้าหลวงปู่ขาว อนาลโยนั้น ด้วยความที่ทั้ง สองพระองค์ทรงมีเคารพและเป็นห่วงใยในหลวงปู่ขาว ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ทรงพระกรุณาเสด็จไปเยี่ยมอาการอาพาธหลายครั้ง

    ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะ ประกอบพิธี “ยืดอายุ” ของหลวงปู่ โดยทรงถือขัน (อย่างขันน้ำ) บรรจุดอกไม้ห้าสี เข้าไปประเคน ..พอหลวงปู่รับแล้ว ก็ทรงไม่ให้หลวงปู่ “ทิ้งขันธ์” (เล่นคำ ขัน กับ ขันธ์) ขอให้หลวงปู่อยู่ไปอีกนานๆ หลวงปู่หัวเราะ แต่ไม่รับสนองพระราชดำรัส หลวงปู่ปรารภต่อมาว่า “มันหนักกระดูก ขันธ์มันเป็นทุกข์หนัก แบกขันธ์มันหนักกว่าแบกครก” หลังจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ได้ทรงขอเช่นกัน และครั้งที่สาม เมื่อทรงทราบว่าหลวงปู่อาพาธหนักในเวลาเดียวกันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ก็ได้ส่ง ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี เป็นผู้แทนไปขอซ้ำอีก หลวงปู่ก็ตอบสนองด้วยการหัวเราะเช่นครั้งก่อนๆ

    ◎ นิพพาน

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้เล่าเกี่ยวับปัจฉิมกาลของท่านไว้ในหนังสือ อนาลโยวาท ว่า ท่านทุพพลภาพอยู่ถึง ๙ ปี แต่สุขภาพจิตยังดีมีนิสัยรื่นเริงติดตลกในระยะสามปีสุดท้าย นัยน์ตาของท่านมืดสนิทเพราะต้อแก้วตา หรือ ต้อกระจก หูก็ตึงมาก เพราะหินปูนจับกระดูก แต่ท่านก็มิได้เดือดร้อนใจ หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ) ณ วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ เวลา ๐๕.๔๕ น. สิริอายุ ๙๔ ปี ๔ เดือน ๑๙ วัน ๕๗ พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้เป็นศพในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอดตั้งบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ทรงพระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และพระราชทานเพลิงศพวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ปรากฏว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่กลับคับแคบไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านนับเป็น จำนวนแสนคน นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศในยุคนั้นทีเดียว

    โอวาทธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่าน ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยม ณ บ้านย่อชะเนง (บ้านเกิดของท่าน)
    "..คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีลมีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดี ไม่มีลุ่มไม่มีดอน จงพากันทำไปใน อิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ
    พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่ดินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป
    การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อย มันก็ถอนขี้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่ ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไป อย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละเ ป็นนิวรณ์ตัวร้าย ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย
     
  8. Grey

    Grey Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +42
    สวดมนต์เป็นปกติทุกวันค่ะ ก่อนสวดจะบอกกล่าวอัญเชิญเทวดามาร่วมฟังการสวดมนต์ โดยเริ่มจาก บทนมัสการพระพุทธเจ้า “อิมินา” “อะระหังสัมมา” บทบูชาไตรสรณคมน์ “พุทธังสะระนังคัจฉามิ” ต่อด้วยศีล 5 “ปาณาติปาตา” บทชุมนุมเทวดา สัคเค กาเม จะรูเป ต่อด้วยอิติปิโส พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) และมหาการุณิโก พุทธมังคลคาถา หลวงพ่อโต นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ พระคาถาชินบัญชร ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม คาถามงคลจักรวาฬแปดทิศ คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า "อิติปิ โส วิเสเสอิ” คาถาพระอรหันต์ พุทธัง “สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา” บทสวดมหาจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่ คาถาเงินล้านสวด ๙ จบ คาถาบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิม คำอัญเชิญเทพยดากลับสู่วิมาน บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ บทแผ่ส่วนกุศล (อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร ) คำอุทิศส่วนกุศล “อิทัง ปุญญะผะลัง” “ถวายแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์กวนอิม พระแม่ลักษมี และพระบรมมหาจักรพรรดิทุก ๆ พระองค์ โดยตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต พระอริยสงฆ์ทั้งหมด เทวดาและพรหม และจงสำเร็จแก่ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า เทวดาประจำตัว และเจ้ากรรมนายเวร” ตามด้วยกรวดน้ำอิมินาใหญ่ “อิมินา ปุญญะกัมเมนะ” สุดท้าย จบเงินทำบุญ ใส่กระปุก วันละ 9 บาท น้อยๆ แต่ทำทุกวัน เมื่อเยอะแล้ว นำไปใส่ตามตู้วัด ชำระหนี้สงฆ์ ค่าน้ำค่าไฟวัด โดยใช้บทสวดนี้ค่ะอิทังทานัง สีละวันตานัง นิยาเทมะ สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ นะโมอายุวัณโน สุขัง พะลัง
    ขอนำเสนอประวัติองค์เทพที่ห้อยคอตลอดตั้งแต่ได้มาจากอาจารย์ท่านคือ องค์พระแม่ลักษมีค่ะ พระแม่ลักษมี คือเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดาพระกามเทพ ด้วยพระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชคมีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว
     
  9. weerachai_12@ho

    weerachai_12@ho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,022
    ร่วมเล่นเกมส์

    ก่อนออกจากบ้านก็จะสวดบท
    แผ่เมตตาขอบารมีสมเด็จองค์ปฐม
    นะโมพระพุทธสิขีพระพุทธเจ้า ขอได้โปรดดลบันดาลให้สรรพสัตว์ทั้งสาม
    โลกได้หลุดพ้นจากภัยพิบัติวัฎฎสงสารโดยสิ้นเชิงด้วยพระบารมีมิอาจประมาณ ลูกขอน้อมนมัสการด้วยจิตใจ ขอให้จิตลูกสว่างไสว หลุดพ้นไวร้สู่บ้านพระนิพพานเทอญ
    บทสวดก่อนใช้วัตถุมงคลของพ่อพล ธรรมราช สวดชินบัญชร
    บทสวดพระปัจเจกพุทธเจ้า บทสวดแผ่เมตตารวม สัพเพ สัตตตา ภูตา...
    อุทิศส่วนกุศล
    สวดกราบพระ 3 ครั้ง
    ธรรมหลวงปู่ทวด พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย นิ่งเสียโพธิสัตว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 พฤษภาคม 2016
  10. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    วันนี้เนื่องในวันวิสาขบูชา

    ได้สวดมนต์บูชาพระดังต่อไปนี้ครับ
    ๑.ขอขมาพระรัตนตรัย
    ๒.ไตรสรณาคมน์ - อาราธนาศีล ๕
    ๓.ถวายพรพระ
    ๔.พาหุงมหากา
    ๕.โพชฌังคปริตร
    ๖.พระคาถาเงินล้าน
    และแผ่เมตตา-อุทิศส่วนกุศล





    ประวัติ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    พระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด

    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่

    พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"

    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

    มรณภาพ

    ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

    ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

    ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ


    ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี

    ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร

    ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

    นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง

    ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ
     
  11. naiburit

    naiburit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    740
    ค่าพลัง:
    +578
    เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ใช้บทสวด รัตนสูตร
    ขัดระตะนะสุตตัง


    - ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ


    - ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ


    - ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ


    - เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี


    - โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
    โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ


    - เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.

    อ้างอิงจาก บทสวดมนต์ (เนื่องใน วันวิสาขบูชา) | .
    <TABLE id=Table_01 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=1000 align=center height=466><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=201 vAlign=top colSpan=8><TABLE border=0 width=984><TBODY><TR><TD width=71></TD><TD colSpan=2>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=242 vAlign=top align=middle>


    </TD><TD vAlign=top width=775 align=middle>
    <TABLE border=0 width=718 height=1085><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=75 colSpan=2 align=middle>

    ชีวประวัติ
    หลวงปู่ทองคำศรี รัตนโคตร
    (ทองทิพย์ พุทธปัญโญ)


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=37 vAlign=top colSpan=2 align=middle>อดีตประธานสงฆ์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร
    ตำบลสีกาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย</TD></TR><TR vAlign=center><TD bgColor=#ffffff height=85 colSpan=2 align=left>ชาติภูมิ
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ (ทองคำศรี รัตนโคตร) เดิมชื่อว่า ทองคำศรี จันทะคัต บิดาชื่อ นายประเสริฐ จันทะคัต มารดาชื่อ นางลุนณี จันทะคัต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับปีฉลู ณ จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมประกอบอาชีพทำนา จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี โดยมีพระสมุพิมพ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=110 colSpan=2 align=middle>
    การอุปสมบท
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อ อายุครบ ๒๐ ปี ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ณ วัดศรีจันทร์เขืองใหญ่ ตำบลหมูม้น อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระสมุพิมพ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “พุทธปัญโญ" แปลว่า ปัญญาแห่งอันประเสริฐแห่งพุทธะ” ตามลายมือชื่อของท่านว่า “พระทองคำศรี รัตนโคตร” อันปรากฏอยู่ในหนังสือสุทธิ และนามว่า “ทองทิพย์ พุทธปัญโญ” นั้น เป็นนามเรียกที่เป็นที่รู้จักมักคุ้นโดยทั่วกันในหมู่ศิษยานุศิษย์ นั้นคือ "หลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ”
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=131 colSpan=2 align=left>การออกธุดงค์จาริก
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ได้เข้าพำนักศึกษาฝึกฝนการปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ในสำนักของพระอาจารย์กรรมฐาน แล้วได้ผ่านการบำเพ็ญธุดงค์ ณ สถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน อาทิเช่น จังหวัดนครพนม รวมถึง ภูมิภูเขาควาย เป็นต้น จนได้พบสถานที่อันเหมาะสมแห่งการก่อร่างสร้างฐานการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนตามแนวทางขององค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร (เดิมชื่อ วัดดอนพิพวย) ตั้งอยู่ที่ บ้ายฝายแตก หมู่ ๘ ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ร่วมกับกับคณะศิษย์และโยมอุปปัฏฐาก แล้วได้พำนักประจำอยู่ ณ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รตนโคตร เรื่อยมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๐๐ จวบจนกาล ที่ได้ได้ล่วงละสังขารไป ในวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=172 colSpan=2 align=middle>
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ เป็นพระกรรมฐานาจารย์ พระมหาเถระ ผู้เป็นเนื้อนาบุญ องค์บรมครูหน่อพุทธางค์กูรนี้ ผู้มีคุณูปการณ์อย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ด้วยจริยาวัตรอันงดงาม และน่าเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นอย่างมาก ทั้งบรรพชิต พระภิกษุสงฆ์ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา จากทั่วทุกสารทิศได้หลั่งไหลเข้ากราบสักการะ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ อย่างต่อเนื่อง
    เสมอมา นับตั้งแต่ครั้งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ยังมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน ในกาลที่ท่านฯ ได้ละสังขารล่วงไปแล้วนั้น ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน ทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังมีความศรัทธาต่อ องค์คุณูปการณ์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ และด้วยการเก็บรักษา ร่างสังขารของท่านไว้ในโลงแก้วปรับอากาศ เพื่อน้อมสักการะบูชา และโดยการสรงร่างสังขารของพระเดชพระคุณท่านฯ ด้วยหัวน้ำหอมอย่างดี และเปลี่ยนชุดไตรจีวรถวายแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ อย่างต่อเนื่องเสมอมา ตามความน้อมเคารพสักการะ ในองค์คุณของท่านฯ ​
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=115 colSpan=2 align=left>ปฏิปทาของท่านนั้น กอปรด้วยพระวิสุทธิคุณอันสูงส่ง มีมโนปณิธานอันพร้อมด้วยพระเมตตาและมหากรุณาธิคุณ ในความมุ่งหมายที่จะยังสัตว์โลกให้ได้รู้ธรรม ด้วยทาน ศีล และภาวนา อีกทั้งท่านยังได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี วจีคำสอนอันไพเราะงดงามและครบถ้วนบริบูรณ์ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ และหลายครั้ง หลายคราวที่ท่านฯ นำเรื่องราวในพุทธประวัติ และพุทธชาดกของพระบรมโพธิสัตว์ที่จะมาเลี่ยงลัดตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลมาบอกกล่าว และเทศน์สอนลูกศิษย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE> อ้างอิงจากจาก ชีวประวัติ หลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ ม&#</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,956
    ค่าพลัง:
    +5,661
    วันนี้ตั้งใจจะสวด
    1. บทถวายพรพระ
    2.พาหุง มหากา
    3.ธัมมจักรกับปวัตนสูตร
    4.บทสวดมหาจักรพรรดิ

    ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    ชาติภูมิ
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
    โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พุ่ม ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้าย มีโยมพี่สาว ๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑ . พี่สาวชื่อ ทองคำ สุนิมิตร
    ๒ . พี่สาวชื่อ สุ่ม พึ่งกุศล
    ๓ . ตัวท่าน


    ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาด ความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่าน ได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดา ของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้ คือในคืนวันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอด“ขนมมงคล”อยู่นั้น ท่านซึ่งถูก วางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปในน้ำ ทั้งคนทั้งเบาะแต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้วกระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่าน มาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่านกับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมา จึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่าน จะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด
    มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านก็จากไปอีกขณะท่านมีอายุได้เพียง ๔ ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านได้อาศัยอยู่กับยายโดยมีโยมพี่สาวที่ชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์
    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อ กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อ แด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อ ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”
    ” ในพรรษาแรกๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรมซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรมโดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และ หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น
    ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยัง ได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้างและด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่จังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี
    ประสบการณ์ธุดงค์
    ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่ม ออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและ รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขาและถ้ำต่างๆ
    หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพานหากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่างๆ เป็นต้นว่าวิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้าน โยมพ่อโยมแม่ท่านถึง ๒ ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้าย จิตใจ ตนเองอยู่เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุดท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้ว มุ่งปฏิบัติฝึกฝน อบรมตน ตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง
    ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงควายป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงควายป่าที่มุ่งตรงมาทางท่าน พอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณารอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่งมีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ท่านขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจ แต่ “ของดี” เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ “ ของดี ”ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น
    การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผาก เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้นท่านก็ยังไม่ละความเพียรสมดังที่ท่านเคย สอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็
    ให้มันตายถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง” ดังนั้น อุปสรรคต่างๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

    นิมิตธรรม

    อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากหลวง ปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างมาก ๓ ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น
    เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตธรรมที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจขึ้น ว่าแก้ว ๓ ดวงนั้น ก็คือพระไตรสรณาคมน์นั่นเอง พอท่านว่า
    “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน พร้อมกับอาการปีติอย่างท่วมท้น ทั้งเกิดความรู้สึกลึก ซึ้งและมั่นใจว่า พระไตรสรณาคมน์นี้แหล่ะเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอามาเป็นคำบริกรรมภาวนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเน้นหนักที่การปฏิบัติ
    หลวงปู่ดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า“ถ้าไม่เอา(ปฏิบัติ)เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นเมตตาอย่างสูง
    สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อยๆ หรือมีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรม ก็คงจะได้เห็นกุศโลบายในการสอนของท่านที่จะโน้มน้าว ผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่นครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังใน เชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่อง
    ธรรม” ”
    คำสอนของหลวงปู่ดู่จึงสรุปลงที่การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาทนั่นหมายถึงว่าสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า “หมั่นทำเข้าไว้ๆ”

    อ่อนน้อมถ่อมตน
    นอกจากความอดทน อดกลั้นยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม หรือที่เราเรียกกันว่า“ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ ๑ พรรษา มานมัสการหลวงพ่อโดยยกย่องเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยม กราบหลวงพ่อเสร็จแล้วหลวงพ่อท่านก็กราบตอบ เรียกว่าต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกิน ในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบโตทางด้านทิฏฐิมานะ ความถือตัวอวดดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป
    หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหนๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีน่ะเขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง
    หลวงปู่ดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นต้น

    อุบายธรรม
    หลวงปู่ดู่เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อนซึ่งเป็น ลูก ศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่ง เพื่อนที่เป็นลูกศิษย์ ก็ชักชวนเพื่อนนักเลงเหล้าให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า “จะมาให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ ” หลวงปู่ดู่ท่านก็ตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาที ก็พอ” นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ๕ นาที ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงพ่อ
    ด้วยความที่เป็นคนนิสัยทำอะไรทำจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเองทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียวบางครั้งถึงขนาดงดไปกินเหล้ากับเพื่อนๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติจิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการท่านอีกครั้ง ที่นี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า “ที่แกปฏิบัติอยู่ ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง” คำพูด
    ของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ศรัทธาและความเพียร ต่อการปฏิบัติก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถัดจากนั้นไม่กี่ปี เขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้าก็ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตตั้งใจปฏิบัติธรรมเรื่อยมา
    อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลา จับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้เหรอว่า แกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไงๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะ
    มีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มี ศีล ”
    หลวงปู่ดู่ท่านไม่เพียงพร่ำสอนให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายเจริญบำเพ็ญ คุณงามความดีเท่านั้น หากแต่ยังเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญ และระมัดระวังในการรักษาไว้ ซึ่งคุณงามความดีนั้นๆ ให้คงอยู่ รวมทั้งเจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ท่าน มักจะพูดเตือนเสมอๆ ว่าเมื่อปลูกต้นธรรมด้วยดีแล้ว ก็ต้องคอยหมั่นระวังอย่าให้หนอนและแมลง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง มากัดกินทำลายต้นธรรมที่อุตส่าห์ปลูกขึ้น และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านแสดงถึงแบบอย่างของความเป็นครูอาจารย์ที่ปราศจากทิฏฐิมานะและเปี่ยมด้วยอุบายธรรม ก็คือครั้งที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน มากราบลาพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัด อุดรธานี
    หลวงปู่ดู่ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้างๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแกด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส...” ”ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปราม หรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจเพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบถึงครูอาจารย์นั้นองค์นี้ในลักษณะตื่นครูตื่นอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยพูดเตือนสติว่า “ครูอาจารย์ดีๆ แม้จะมีอยู่มาก แต่สำคัญที่ตัวแก ต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี” ”
    หลวงปู่ดู่ท่านมีแนวทางการสอนธรรมะที่เรียบง่าย ฟังง่ายชวนให้ติดตามฟัง ท่านนำเอาสิ่งที่เข้าใจยากมาแสดงให้เข้าใจง่าย เพราะท่านจะยกอุปมาอุปไมย ประกอบในการสอนธรรมะจึงทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในธรรมที่ท่านนำมาแสดง แม้ว่าท่านมักจะออกตัวว่าท่านเป็นพระบ้านนอกที่ไม่มีความรู้อะไร แต่สำหรับบรรดาศิษย์ทั้งหลาย คงไม่อาจปฏิเสธว่า หลายครั้งที่ท่านสามารถพูดแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟังทีเดียว
    อีกประการหนึ่ง ด้วยความที่ท่านมีรูปร่างลักษณะที่เป็นที่น่าเคารพ เลื่อมใส เมื่อใครได้มาพบเห็นท่านด้วยตนเอง และถ้ายิ่งได้สนทนาธรรมกับท่านโดยตรงก็จะยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสและศรัทธาในตัวท่านมากขึ้นเป็นทวีคูณ
    หลวงปู่ดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า “คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหมือนลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง” ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์โดยให้พยายามถือเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นครูสอนตนเองเสมอ เช่นในหมู่คณะ หากมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติดี เจริญใ ธรรมปฏิบัติ ท่านก็กล่าวชมและให้ถือเป็นแบบอย่าง แต่ถ้ามีผู้ประพฤติผิด ถูกท่านตำหนิติเตียน ก็ให้น้อมเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาสอนตนทุกครั้งไป ท่านไม่ได้ชมผู้ทำดีจนหลงลืมตน และท่านไม่ได้ติเตียนผู้ทำผิดจนหมดกำลังใจ แต่ถือเอาเหตุการณ์ เป็นเสมือนครูที่เป็นความจริง แสดงเหตุผลให้เห็นธรรมที่แท้จริง
    การสอนของท่านก็พิจารณาดูบุคคลด้วย เช่น คนบางคนพูดให้ฟัง เพียงอย่างเดียวไม่เข้าใจ บางทีท่านก็ต้องทำให้เกิดความกลัว เกิดความ ละอายบ้างถึงจะหยุด เลิกละการกระทำที่ไม่ดีนั้นๆ ได้ หรือบางคนเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบางอยู่แล้วท่านก็สอนธรรมดา การสอนธรรมะของท่าน บางทีก็สอนให้กล้าบางทีก็สอนให้กลัวที่ว่าสอนให้กล้านั้นคือ ให้กล้าในการทำความดี กล้าในการประพฤติปฏิบัติเพื่อถอดถอนกิเลสออกจากใจ ไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ส่วนที่สอนให้กลัวนั้น ท่านให้กลัวในการทำความชั่ว ผิดศีลธรรม เป็นโทษ ทำแล้วผู้อื่นเดือดร้อน บางทีท่านก็สอนให้เชื่อ คือให้เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในเรื่องกรรม อย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า “เชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อจริง ทำจริง มันก็เป็นของจริง ของจริงมีอยู่ แต่เรามันไม่เชื่อจริง จึงไม่เห็นของจริง ”
    หลวงปู่ดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอท่านว่า“ขยันก็ให้ทำขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำวันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละจึงค่อยเลิกทำ”
    การสอนของท่านนั้นมิได้เน้นแต่เพียงการนั่งหลับตาภาวนา หากแต่หมายรวมไปถึงการกำหนดดู กำหนดรู้ และพิจารณาสิ่งต่างๆ ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านชี้ให้เห็นถึงสังขารร่างกายที่มันเกิดมันตายอยู่ตลอดเวลา ท่านว่า เราวันนี้กับเราเมื่อตอนเป็นเด็กมันก็ไม่เหมือนเก่า เราขณะนี้กับเราเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า จึงว่าเราเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือเราเมื่อวานมันได้ตายไปแล้ว เรียกว่าร่างกายเรามันเกิด - ตาย อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก มันเกิด - ตาย อยู่ทุกขณะจิต ท่านสอนให้บรรดาศิษย์เห็นจริงถึงความสำคัญของความทุกข์ยาก ว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าในโลก
    ท่านจึงพูดบ่อยครั้งว่า การที่เราประสบทุกข์ นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เพราะอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นได้


    ใช้ชีวิตอย่างผู้รักสันโดษและเรียบง่าย
    หลวงปู่ดู่ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย แม้แต่การสรงน้ำ ท่านก็ยังไม่เคยใช้สบู่เลย แต่ก็น่าอัศจรรย์ เมื่อได้ทราบจากพระอุปัฏฐากว่าไม่พบว่า ท่านมีกลิ่นตัว แม้ในห้องที่ท่านจำวัด
    มีผู้ปวารณาตัวจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณะสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายได้เกิดความปลื้มปีติที่ได้ถวายแก่ท่าน ซึ่งในภายหลังท่านก็มักยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวมเช่นเดียวกับข้าวของต่างๆ ที่มีผู้มาถวายเป็นสังฆทาน โดยผ่านท่าน และเมื่อถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะจัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบท และ ยังขาดแคลนอยู่
    สิ่งที่ท่านถือปฏิบัติสม่ำเสมอในเรื่องลาภสักการะ ก็คือการยกให้เป็นของ สงฆ์ส่วนรวม แม้ปัจจัยที่มีผู้ถวายให้กับท่านเป็นส่วนตัวสำหรับค่ารักษาพยาบาลท่านก็สมทบเข้าในกองทุนสำหรับจัดสรรไปในกิจสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล
    หลวงปู่ดู่ ท่านไม่มีอาการแห่งความเป็นผู้อยากเด่นอยากดังแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ท่านจะเป็นเพียงพระบ้านนอกรูปหนึ่งซึ่งไม่เคยออกจากวัดไปไหน ทั้งไม่มีการศึกษาระดับสูงๆ ใน ทางโลก แต่ในความรู้สึกของลูกศิษย์ทั้งหลาย ท่านเป็นดั่งพระเถระผู้ถึงพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย เบิกบาน และถึงพร้อมด้วยธรรมวุฒิที่รู้ถ้วนทั่วในวิชชาอันจะนำพา ให้พ้นเกิดพ้นแก่พ้นเจ็บพ้นตายถึงฝั่งอันเกษม เป็นที่ฝากเป็นฝากตายและฝากหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน
    ในเรื่องทรัพย์สมบัติดั้งเดิมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นา ซึ่งมีอยู่ ประ มาณ ๓๐ ไร่ ท่านก็ได้แบ่งให้กับหลานๆ ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน ๑๘ ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท ได้คิดปรึกษานางถมยา ผู้ภรรยาเห็นควรยกให้เป็น สาธารณประโยชน์จึงยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแกซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็อนุโมทนาในกุศลเจตนา
    ของคนทั้งสอง


    กุศโลบายในการสร้างพระ
    หลวงปู่ดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นประโยชน์ เพราะบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านมิได้จำกัดศิษย์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจธรรมล้วนๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล” ทั้งนี้ ท่านย่อมใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะควรแก่ผู้ที่ไปหาท่าน
    แม้ว่าหลวงปู่ดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่าน อธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านว่า “เอาของจริงดีกว่า พุทธังฯ ธัมมังฯ สังฆังฯ สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้” ”
    จากคำพูดนี้จึงเสมือนเป็นการยืนยันว่าการปฏิบัติภาวนานี้แหละเป็นที่สุดแห่งเครื่องรางของขลัง เพราะคนบางคนแม้แขวนพระที่ผู้ทรงคุณวิเศษอธิษฐานจิตให้ก็ตาม ก็ใช่ว่าจะรอดปลอดภัยอยู่ดีมีสุขไปทุกกรณี อย่างไรเสียทุกคนไม่อาจ หลีกหนีวิบากกรรมที่ตนได้สร้างไว้ ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือ กรรม
    ดังนั้น จึงมีแต่ พระ “สติ” พระ “ปัญญา” ที่ฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว เท่านั้นที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและสิ่งกระทบต่างๆ ที่ เข้ามาในชีวิต อย่างไม่ทุกข์ใจ ดุจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเสมือนฤดูกาลที่ผ่านเข้ามาในชีวิต บางครั้งร้อนบางครั้งหนาว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามธรรมดาของโลก
    พระเครื่องหรือพระบูชาต่างๆ ที่ท่านอธิษฐานปลุกเสกให้แล้วนั้น ปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เช่น แคล้วคลาดฯลฯ นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ทางโลกๆ แต่ประโยชน์ที่ท่านสร้างมุ่งหวังอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติ กรรมฐาน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่องช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตรวมสงบได้เร็วขึ้น ตลอดถึงการใช้เป็นเครื่องเสริมกำลังใจและระงับ ความหวาดวิตกในขณะปฏิบัติ ถือเป็นประโยชน์ทางธรรมซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตของผู้ใช้ไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
    จากที่เบื้องต้นเราได้อาศัยพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ คือยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จนจิตของเราเกิดศรัทธาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราเรียกกันว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว เราก็ย่อมเกิดกำลังใจขึ้นว่าพระพุทธองค์เดิมก็เป็นคนธรรมดาเช่นเดียวกับเรา ความผิดพลาดพระองค์ก็เคยทรงทำมาก่อน แต่ด้วยความเพียรประกอบกับพระสติปัญญาที่ทรงอบรมมาดีแล้ว จึงสามารถก้าวข้ามวัฏฏะ
    สงสารสู่ความหลุดพ้น เป็นการบุกเบิกทางที่เคยรกชัฏให้พวกเราได้เดินกัน ดังนั้นเราซึ่งเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับพระองค์ ก็ย่อมที่จะมีศักยภาพที่จะฝึกฝนอบรมกาย วาจา ใจ ด้วยตัวเราเองได้เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงกระทำมา พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ กาย วาจา ใจ เป็นสิ่งที่ฝึกฝนอบรมกันได้ใช่ว่าจะต้องปล่อยให้ไหลไปตาม ยถากรรม
    เมื่อจิตเราเกิดศรัทธาดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็มีการน้อมนำเอาข้อธรรมคำสอนต่างๆ มาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสออกจากใจตนจิตใจของเราก็จะเลื่อนชั้น จากปุถุชนที่หนาแน่นด้วยกิเลส ขึ้น สู่กัลยาณชนและอริยชน เป็นลำดับ เมื่อเป็นดังนี้แล้วในที่สุดเราก็ย่อมเข้าถึงที่พึ่งคือตัวเราเอง อันเป็นที่พึ่งที่แท้จริงเพราะกาย วาจา ใจ ที่ได้ผ่านขั้นตอนการฝึกฝนอบรมโดยการเจริญศีล สมาธิ และปัญญาแล้วย่อมกลายเป็น กายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต กระทำสิ่งใด พูดสิ่งใด คิดสิ่งใด ก็ย่อมหาโทษมิได้ถึงเวลานั้นแม้พระเครื่องไม่มี ก็ไม่อาจทำให้เราเกิดความ หวั่นไหว หวาดกลัว ขึ้นได้เลย


    เปี่ยมด้วยเมตตา
    นึกถึงสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงประชวรหนักครั้งสุดท้ายแห่งการปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ผู้อุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดเวลาได้ห้ามมานพ ผู้หนึ่งซึ่งขอร้องจะขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะนั้น
    พระอานนท์คัดค้านอย่างเด็ดขาดไม่ให้เข้าเฝ้า แม้มานพขอร้องถึง ๓ ครั้ง ท่านก็ไม่ยอมจนกระทั่งเสียงขอกับเสียงขัดดังถึงพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า“อานนท์ อย่าห้ามมานพนั้นเลยจงให้เข้ามาเดี๋ยวนี้” เมื่อได้รับอนุญาตแล้วมานพ ก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรม จนบรรลุมรรคผลแล้วขอบวชเป็นพระสาวกองค์สุด ท้ายมีนามว่า “พระสุภัททะ”
    พระอานนท์ท่านทำหน้าที่ของท่านถูกต้องแล้ว ไม่มีความผิดอันใดเลยแม้แต่น้อย ส่วนที่พระพุทธเจ้าให้เข้าเฝ้านั้นเป็นส่วนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ ย่อมแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสามโลกพระสาวกรุ่นหลังกระทั่งถึงพระเถระหรือครูบาอาจารย์ผู้สูงอายุโดยทั่วไปที่มีเมตตา สูง รวมทั้งหลวงพ่อย่อมเป็นที่เคารพนับถือของชนหมู่มาก ท่านก็อุทิศชีวิตเพื่อกิจ พระศาสนา ก็ไม่ค่อยคำนึงถึงความชราอาพาธของท่าน เห็นว่าผู้ใดได้ประโยชน์จากการบูชาสักการะท่าน ท่านก็อำนวยประโยชน์นั้นแก่เขา
    เมื่อครั้งที่หลวงปู่อาพาธอยู่ ได้มีลูกศิษย์กราบเรียนท่านว่า “รู้สึกเป็นห่วง หลวงปู่” ท่านได้ตอบศิษย์ผู้นั้นด้วยความเมตตาว่า “ห่วงตัวแกเองเถอะ” อีกครั้งที่ผู้เขียนเคยเรียนหลวงปู่ว่า “ขอให้หลวงปู่พักผ่อนมากๆ”
    หลวงปู่ตอบทันทีว่า “พักไม่ได้ มีคนเขามากันมาก บางทีกลางคืนเขาก็มากัน เราเหมือนนกตัวนำ เราเป็นครูเขานี่ ครู..เขาตีระฆังได้เวลาสอนแล้วก็ต้องสอน ไม่สอนได้ยังไง” ชีวิตของท่านเกิดมาเพื่อเกื้อกูลธรรมแก่ผู้อื่น แม้จะอ่อนเพลียเมื่อยล้าสักเพียงใด ท่านก็ไม่แสดงออกให้ใครต้องรู้สึกวิตกกังวลหรือลำบากใจแต่อย่างใดเลย เพราะอาศัยความเมตตาเป็นที่ตั้ง จึงอาจกล่าวได้ว่า ปฏิปทาของท่านเป็นดั่งพระโพธิสัตว์หรือหน่อพุทธภูมิ ซึ่งเห็นประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าประโยชน์ส่วนตนดังเช่น พระโพธิสัตว์ หรือหน่อพุทธภูมิอีกท่านหนึ่ง คือ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระสุปฏิปันโน สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลวงปู่ดู่ได้สอนให้ลูกศิษย์ให้ความเคารพ เสมือนครูอาจารย์ผู้ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติอีกท่านหนึ่ง
    หลวงปู่ดู่ ท่านได้ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์ออกนอกวัดตั้งแต่ก่อน ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ดังนั้นทุกคนที่ตั้งใจไปกราบนมัสการและฟังธรรมจากท่านจะไม่ผิดหวังเลยว่าจะไม่ได้พบท่าน ท่านจะนั่งรับแขกบนพื้นไม้กระดานแข็งๆ หน้ากุฏิของท่านทุกวัน ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ บางวันที่ท่านอ่อนเพลีย ท่านจะเอนกายพักผ่อนหน้ากุฏิ แล้วหาอุบายสอนเด็กวัดโดยให้เอาหนังสือธรรมะ มาอ่านให้ท่านฟังไปด้วย
    ข้อวัตรของท่านอีกอย่างหนึ่งก็คือ การฉันอาหารมื้อเดียวซึ่งท่าน กระทำ มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่ภายหลังคือ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เหล่าสานุ ศิษย์ ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน ๒ มื้อ เนื่องจากความชราภาพของท่านประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้น ท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะควรแห่งอัตภาพ ทั้งจะได้เป็นการ โปรดญาติโยมจากที่ไกลๆ ที่ตั้งใจมาทำบุญถวายภัตตาหารแด่ท่าน
    หลวงปู่แม้จะชราภาพมากแล้ว ท่านก็ยังอุตส่าห์นั่งรับแขกที่มาจากทิศต่างๆ วันแล้ววันเล่า ศิษย์ทุกคนก็ตั้งใจมาเพื่อกราบนมัสการท่าน บางคนก็มาเพราะมีปัญหาหนักอกหนักใจแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้ จึงมุ่งหน้ามาเพื่อกราบเรียนถามปัญหาเพื่อให้คลายความทุกข์ใจ บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่อง ราง ของขลัง ซึ่งก็มักได้รับคำตอบจากท่านว่า “ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”
    บางคนมาหาท่านเพราะได้ยินข่าวเล่าลือถึงคุณความดีศีลาจาริยวัตรของท่านในด้านต่างๆ บางคนมาหาท่านเพื่อขอหวยหวังรวยทางลัดโดยไม่อยากทำงาน แต่อยากได้เงินมากๆ
    บางคนเจ็บไข้ไม่สบายก็มาเพื่อให้ท่านรดน้ำมนต์ เป่าหัวให้ มาขอดอกบัวบูชาพระของท่านเพื่อนำไปต้มดื่มให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานาสารพันปัญหา แล้วแต่ใครจะนำมาเพื่อหวังให้ท่านช่วยตน บางคนไม่เคยเห็นท่านก็อยากมาดูว่าท่านมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร บ้างแค่มาเห็นก็เกิดปีติ สบายอกสบายใจ จนลืมคำถามหรือหมดคำถามไปเลย
    หลายคนเสียสละเวลา เสียค่าใช้จ่ายเดินทางไกลมาเพื่อพบท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอุตส่าห์นั่งรับแขกอยู่ตลอดวัน โดยไม่ได้พักผ่อนเลย และไม่เว้นแม้ยามป่วยไข้ แม้นายแพทย์ผู้ให้การดูแลท่านอยู่ประจำจะขอร้องท่านอย่างไร ท่านก็ไม่ยอมตามด้วยเมตตาสงสาร และต้องการให้กำลังใจแก่ญาติโยมทุกคนที่มาพบท่าน



    ท่านเป็นดุจพ่อ
    หลวงปู่ดู่ท่านเป็นดุจพ่อของลูกศิษย์ทุกๆ คน เหมือนอย่างที่พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นเรียกหลวงปู่มั่นว่า “ พ่อแม่ครูอาจารย์ ” ซึ่งถือเป็นคำยก ย่องอย่างสูง เพื่อให้สมฐานะอันเป็นที่รวมแห่งความเป็นกัลยาณมิตร
    หลวงปู่ดู่ท่านให้การต้อรับแขกอย่างเสมอหน้ากันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปราม หากมีผู้มาเสนอตัวเป็นนายหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่เข้ามานมัสการท่าน ถึงแม้จะด้วยเจตนาดี อันเกิดจากความห่วงใยในสุขภาพของท่านก็ตามเพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตส่าห์เดินทางมาไกลเพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้วยังไม่สามารถเข้าพบท่านได้โดยสะดวกก็จะทำให้เสียกำลังใจ
    นี้เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงซึ่งนับเป็นโชคดีของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าใกล้หรือไกล ที่สามารถมีโอกาสเข้ากราบนมัสการท่านได้โดยสะดวก หากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐานมาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย บางครั้งหลวงพ่อก็มิได้กล่าวอะไรมาก เพียงการทักทายศิษย์ด้วยถ้อยคำสั้นๆ เช่น “ เอ้า . . . กินน้ำชาสิ ” หรือ “ ว่า ไง . . ” ฯลฯ เท่านี้ก็เพียงพอที่ยังปีติให้เกิดขึ้นกับศิษย์ผู้นั้นเหมือนดังหยาดน้ำทิพย์ชโลมให้เย็นฉ่ำ เกิดความสด
    ชื่นตลอดร่างกายจน . . . ถึงจิต . . . ถึงใจ
    หลวงปู่ดู่ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวดอย่างมาก ทั้งกล่าวยกย่องในความที่เป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยมตลอดถึงการที่จะได้มาตรัสรู้ธรรมใน อนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายยึดมั่นและหมั่นระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือแม้แต่ประสบปัญหาในทางโลกๆ ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยจะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าได้ท้อถอยหรือละทิ้งการปฏิบัติ


    หลวงปู่ดู่กับครูอาจารย์ท่านอื่น
    ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๒ ได้มีพระเถระและครูบาอาจารย์ หลาย ท่านเดินทางมาเยี่ยมเยียนหลวงปู่ดู่ เช่นหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จังหวัดสิงห์บุรี ท่านเป็นพระเถระซึ่งมีอายุย่างเข้า ๙๖ ปี ก็ยังเมตตามาเยี่ยมหลวงปู่ ดู่ที่วัดสะแกถึง ๒ ครั้งและบรรยากาศของการพบกันของท่านทั้งสองนี้ เป็นที่ประทับใจผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างยิ่ง เพราะต่างองค์ต่างอ่อนน้อมถ่อมตน ปราศจากการแสดงออกซึ่งทิฏฐิมานะใดๆ เลย แป้งเสกที่หลวงปู่บุดดาเมตตามอบให้ หลวงปู่ดู่
    ท่านก็เอามาทาที่ศีรษะเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างสูง
    พระเถระอีกท่านหนึ่งซึ่งได้เดินทางมาเยี่ยมหลวงปู่ดู่ค่อนข้างบ่อยครั้ง คือ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จังหวัดพิจิตร ท่านมีความห่วงใยในสุขภาพของหลวงปู่ดู่อย่างมากโดยได้สั่งให้ลูกศิษย์จัดทำป้ายกำหนดเวลารับแขกในแต่ละวันของหลวงปู่ดู่ เพื่อเป็นการถนอมธาตุขันธ์ของหลวงพ่อให้อยู่ได้นาน ๆ แต่อย่างไรก็ดีไม่ช้าไม่นานหลวงปู่ดู่ท่านก็ให้นำป้ายออกไปเพราะเหตุแห่งความเมตตา ที่ท่านมีต่อผู้คนทั้งหลาย
    ในระยะเวลาเดียวกันนั้น ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรืองท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่โง่น โสรโย ก็ได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่ดู่ ๒ ครั้งโดยท่านได้เล่าให้ฟังภายหลังว่า เมื่อได้มาพบหลวงปู่ดู่ จึงได้รู้ว่าหลวงปู่ดู่ก็คือ พระภิกษุชราภาพที่ไปสอนท่านในสมาธิในช่วงที่ท่านอธิษฐานเข้ากรรมปฏิบัติไม่พูด ๗ วัน ซึ่งท่านก็ได้แต่กราบระลึกถึงอยู่ตลอดทุกวัน โดยไม่รู้ว่าพระภิกษุชราภาพรูปนี้คือใคร กระทั่งได้มีโอกาสมาพบหลวงปู่ดู่ที่วัดสะแก เกิดรู้สึกเหมือนดังพ่อลูกที่จาก
    กันไปนานๆ แม้ครั้งที่ ๒ ที่พบกับหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ดู่ก็ได้พูดสอนให้ท่านเร่งความเพียร เพราะหลวงพ่อจะอยู่อีกไม่นาน
    ครูบาบุญชุ่มยังได้เล่าว่า ท่านตั้งใจจะกลับไปวัดสะแกอีกเพื่อหาโอกาสไป อุปัฏฐากหลวงปู่ดู่ แต่แล้วเพียงระยะเวลาไม่นานนักก็ได้ข่าวว่า หลวงปู่ดู่ มรณภาพ ยังความสลดสังเวชใจแก่ท่าน ท่านได้เขียนบันทึกความรู้สึกในใจของท่านไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดู่ ตอนหนึ่งว่า
    “…หลวงปู่ท่านมรณภาพสิ้นไป เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างส่องแจ้งใน โลกดับไป อุปมาเหมือนดังดวงประทีปที่ให้ความสว่างไสวแก่ลูกศิษย์ได้ดับไป ถึงแม้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้มรณะไปแล้ว แต่บุญญาบารมีที่ท่านแผ่เมตตาและรอยยิ้ม อันอิ่มเอิบยังปรากฏฝังอยู่ในดวงใจอาตมา มิอาจลืมได้ ….ถ้าหลวงปู่มีญาณรับทราบ และแผ่เมตตาลูกศิษย์ลูกหาทุกคน ขอให้พระเดชพระคุณหลวงปู่เข้าสู่ พระนิพพานเป็นอมตะแด่ท่านเทอญ กระผมขอกราบคารวะพระเดชพระคุณหลวงปู่ดู่
    พรหมปัญโญ ด้วยความเคารพสูงสุด ”
    นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกรูปหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เพราะหลวงปู่ดู่ให้ความ ยกย่องมากในความเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเคารพในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหลวงปู่ดู่ได้แนะนำสานุศิษย์ให้ถือท่านเป็นครูอาจารย์อีกท่านหนึ่งด้วย นั่นก็คือหลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง

    ปัจฉิมวาร
    นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา สุขภาพของหลวงปู่เริ่มแสดงไตรลักษณะ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน สังขารร่างกายของหลวงปู่ซึ่งก่อเกิดมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมีใจครองเหมือนเราๆ ท่านๆ เมื่อสังขารผ่านมานานวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการใช้งานมาก และพักผ่อนน้อย ความทรุดโทรมก็ย่อมเกิดเร็วขึ้นกว่าปรกติกล่าวคือ สังขารร่างกายของท่านได้เจ็บป่วยอ่อนเพลียลงไปเป็นลำดับ ในขณะที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งญาติโยมและบรรพชิตก็หลั่งไหลกันมานมัสการท่านเพิ่มขึ้น ทุกวัน ในท้ายที่สุดแห่งชีวิตของหลวงปู่ดู่ ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “สู้แค่ตาย” ท่านใช้ ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้ง ถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่นและมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใคร ต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้ายๆ ท่านถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้นายแพทย์จะขอร้องท่านเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ท่านก็ไม่ยอมไป ท่านเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราเคยอยากดี เมื่อดีแล้วก็เอาให้หายอยาก อย่างมากก็สู้แค่ตาย ใครจะเหมือนข้า ข้าบนตัวตาย”
    มีบางครั้งได้รับข่าวว่าท่านล้มขณะกำลังลุกเดินออกจากห้องเพื่อออกโปรดญาติโยมคือประมาณ ๖ นาฬิกา อย่างที่เคยปฏิบัติอยู่ทุกวันโดยปกติในยามที่สุขภาพของท่านแข็งแรงดี ท่านจะเข้าจำวัดประมาณสี่ห้าทุ่ม แต่กว่าจะจำวัดจริงๆ ประมาณเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง แล้วมาตื่นนอนตอนประมาณตีสาม มาช่วงหลังที่สุขภาพของท่านไม่แข็งแรง จึงตื่นตอนประมาณตีสี่ถึงตีห้า เสร็จกิจทำวัตรเช้าและกิจธุระส่วนตัว แล้วจึงออกโปรดญาติโยมที่หน้ากุฏิ
    ประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้งในความหมายว่า ใกล้ถึงเวลาที่ท่านจะละสังขารนี้แล้ว ในช่วงท้ายของชีวิตท่าน ธรรมที่ถ่ายทอดยิ่งเด่นชัด ขึ้น มิใช่ด้วยเทศนาธรรมของท่าน หากแต่เป็นการสอนด้วยการปฏิบัติให้ดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิปทาในเรื่องของความอดทน สมดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประ ทานไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า “ขันตี ปรมัง ตโป ตีติกขา ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง” แทบจะไม่มีใครเลยนอกจากโยมอุปัฏฐากใกล้ชิดที่ทราบว่า ที่ท่านนั่งรับแขกบนพื้นไม้กระดานแข็งๆ ทุกวันๆ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เป็นระยะเวลานับสิบๆ ปี ด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ใครทุกข์ใจมา ท่านก็แก้ไขให้ได้รับความสบายใจกลับไปแต่เบื้องหลัง ก็คือ ความลำบากทางธาตุขันธ์ของท่าน ที่ท่านไม่เคยปริปากบอกใคร กระทั่งวันหนึ่ง โยมอุปัฏฐากได้รับการไหว้วานจากท่านให้เดินไปซื้อยาทาแผลให้ท่าน จึงได้มีโอกาสขอดูและได้เห็นแผลที่ก้นท่าน ซึ่งมีลักษณะแตกซ้ำๆ ซากๆ ใน
    บริเวณเดิม เป็นที่สลดใจจนไม่อาจกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้
    ท่านจึงเป็นครูที่เลิศ สมดังพระพุทธโอวาทที่ว่า สอนเขาอย่างไรพึงปฏิบัติให้ได้อย่างนั้น ดังนั้น ธรรมในข้อ“อนัตตา” ซึ่งหลวงปู่ท่านยกไว้เป็นธรรมชั้นเอก ท่านก็ได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของศิษย์ทั้งหลายแล้วถึงข้อปฏิบัติ ต่อหลักอนัตตาไว้อย่างบริบูรณ์ จนแม้ความอาลัยอาวรณ์ในสังขารร่างกายที่จะมาหน่วงเหนี่ยว หรือสร้างความทุกข์ร้อนแก่จิตใจท่านก็มิได้ปรากฏให้เห็นเลย
    ในตอนบ่ายของวันก่อนหน้าที่ท่านจะมรณภาพ ขณะที่ท่านกำลังเอนกายพักผ่อนอยู่นั้น ก็มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบนมัสการท่าน ซึ่งเป็นการมาครั้งแรก หลวงปู่ดู่ได้ลุกขึ้นนั่งต้อนรับด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ กระ ทั่งบรรดาศิษย์ ณ ที่นั่นเห็นผิดสังเกต หลวงปู่แสดงอาการยินดีเหมือนรอคอย บุคคลผู้นี้มานาน ท่านว่า “ต่อไปนี้ข้าจะได้หายเจ็บหายไข้เสียที” ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าท่านกำลังโปรดลูกศิษย์คนสุดท้ายของท่าน หลวงปู่ดู่ท่านได้ย้ำในตอนท้ายว่า “ข้าขอฝากให้แกไปปฏิบัติต่อ”
    ในคืนนั้นก็ได้มีคณะศิษย์มากราบนมัสการท่านซึ่งการมาในครั้งนี้ไม่มีใคร คาดคิดมาก่อนเช่นกันว่าจะเป็นการมาพบกับสังขารธรรมของท่าน เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว หลวงปู่ดู่ได้เล่าให้ศิษย์คณะนี้ฟังด้วยสีหน้าปรกติว่า “ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกายข้าที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้องไอซียูไปนานแล้ว”พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” ท้ายที่สุดท่านก็เมตตากล่าวย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ใน ความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขออย่าได้ทิ้งการปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวยขึ้นเวทีแล้วต้องชกอย่ามัวแต่ตั้งท่าเงอะๆงะๆ” นี้ดุจเป็นปัจฉิมโอวาทแห่งผู้เป็นพระบรม ครูของผู้เป็นศิษย์ทุกคน อันจะไม่สามารถลืมเลือนได้เลย
    หลวงปู่ดู่ได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบด้วยโรคหัวใจในกุฏิท่าน เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกาของวันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อายุ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕ พรรษา สังขารธรรมของท่านได้ตั้งบำเพ็ญกุศลโดยมีเจ้าภาพ สวดอภิธรรมเรื่อยมาทุกวันมิได้ขาด ตลอดระยะเวลา ๔๕๙ วัน จนกระทั่งได้รับพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ในวันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้อุปสมบทและจำพรรษาอยู่ ณ วัดสะแก มาโดยตลอด จนกระทั่งมรณภาพ ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพรักท่านเป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่างไสวแก่ศิษยานุศิษย์ได้ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านจะยังปรากฏอยู่ใน ดวงใจของศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพรักท่านตลอดไป บัดนี้ สิ่งที่คงอยู่มิใช่สังขารธรรมของท่าน หากแต่เป็นหลวงปู่ดู่องค์แท้ที่ศิษย์ทุกคนจะเข้าถึงท่านได้ด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดให้มีขึ้นที่ตนเอง สมดังที่ท่านได้กล่าวไว้เป็นคติว่า
    “ “ตราบใดก็ตามที่แกยังไม่เห็นความดีในตัว ก็ยังไม่นับว่าแกรู้จักข้า แต่ ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว เมื่อนั้น...ข้าจึงว่าแกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้น แล้ว ” ”
    ธรรมทั้งหลายที่ท่านได้พร่ำสอน ทุกวรรคตอนแห่งธรรมที่บรรดาศิษย์ได้น้อมนำมาปฏิบัตินั้น ก็คือการที่ท่านได้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามบนดวงใจ ของศิษย์ทุกคน ซึ่งนับวันจะเติบใหญ่ผลิดอก ออกผลเป็นสติและปัญญาบนลำต้นที่แข็งแรงคือสมาธิ และบนพื้นดินที่มั่นคงแน่นหนาคือ ศีล สมดังเจตนารมณ์ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิต ด้วยเมตตาธรรมอันยิ่ง อันจักหาได้ยากทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต...
     
  13. TheEnd

    TheEnd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +820
    วันวิสาขบูชานี้ ผมก็สวดมนต์
    อิติปิโส ชินบัญชร ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก คาถาจักรพรรดิ์ คาถาเงินล้าน และคาถาประจำวัตถุมงคลที่พกอยู่ประจำตัว แล้วก็นั่งสมาธิ แผ่เมตตา

    ขอยก ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มาให้ได้อ่านกันครับ
    ชาติภูมิ
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
    โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พุ่ม ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้าย มีโยมพี่สาว ๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑ . พี่สาวชื่อ ทองคำ สุนิมิตร
    ๒ . พี่สาวชื่อ สุ่ม พึ่งกุศล
    ๓ . ตัวท่าน


    ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาด ความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่าน ได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดา ของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้ คือในคืนวันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอด“ขนมมงคล”อยู่นั้น ท่านซึ่งถูก วางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปในน้ำ ทั้งคนทั้งเบาะแต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้วกระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่าน มาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่านกับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมา จึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่าน จะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด
    มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านก็จากไปอีกขณะท่านมีอายุได้เพียง ๔ ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านได้อาศัยอยู่กับยายโดยมีโยมพี่สาวที่ชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์
    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อ กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อ แด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อ ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”
    ” ในพรรษาแรกๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรมซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรมโดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และ หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น
    ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยัง ได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้างและด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่จังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี
    ประสบการณ์ธุดงค์
    ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่ม ออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและ รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขาและถ้ำต่างๆ
    หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพานหากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่างๆ เป็นต้นว่าวิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้าน โยมพ่อโยมแม่ท่านถึง ๒ ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้าย จิตใจ ตนเองอยู่เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุดท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้ว มุ่งปฏิบัติฝึกฝน อบรมตน ตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง
    ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงควายป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงควายป่าที่มุ่งตรงมาทางท่าน พอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณารอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่งมีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ท่านขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจ แต่ “ของดี” เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ “ ของดี ”ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น
    การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผาก เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้นท่านก็ยังไม่ละความเพียรสมดังที่ท่านเคย สอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็
    ให้มันตายถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง” ดังนั้น อุปสรรคต่างๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

    นิมิตธรรม

    อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากหลวง ปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างมาก ๓ ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น
    เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตธรรมที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจขึ้น ว่าแก้ว ๓ ดวงนั้น ก็คือพระไตรสรณาคมน์นั่นเอง พอท่านว่า
    “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน พร้อมกับอาการปีติอย่างท่วมท้น ทั้งเกิดความรู้สึกลึก ซึ้งและมั่นใจว่า พระไตรสรณาคมน์นี้แหล่ะเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอามาเป็นคำบริกรรมภาวนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเน้นหนักที่การปฏิบัติ
    หลวงปู่ดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า“ถ้าไม่เอา(ปฏิบัติ)เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นเมตตาอย่างสูง
    สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อยๆ หรือมีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรม ก็คงจะได้เห็นกุศโลบายในการสอนของท่านที่จะโน้มน้าว ผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่นครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังใน เชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่อง
    ธรรม” ”
    คำสอนของหลวงปู่ดู่จึงสรุปลงที่การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาทนั่นหมายถึงว่าสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า “หมั่นทำเข้าไว้ๆ”

    อ่อนน้อมถ่อมตน
    นอกจากความอดทน อดกลั้นยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม หรือที่เราเรียกกันว่า“ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ ๑ พรรษา มานมัสการหลวงพ่อโดยยกย่องเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยม กราบหลวงพ่อเสร็จแล้วหลวงพ่อท่านก็กราบตอบ เรียกว่าต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกัน เป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกิน ในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบโตทางด้านทิฏฐิมานะ ความถือตัวอวดดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป
    หลวงปู่ดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหนๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีน่ะเขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง
    หลวงปู่ดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นต้น

    อุบายธรรม
    หลวงปู่ดู่เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อนซึ่งเป็น ลูก ศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่ง เพื่อนที่เป็นลูกศิษย์ ก็ชักชวนเพื่อนนักเลงเหล้าให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า “จะมาให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ ” หลวงปู่ดู่ท่านก็ตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาที ก็พอ” นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ๕ นาที ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงพ่อ
    ด้วยความที่เป็นคนนิสัยทำอะไรทำจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเองทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียวบางครั้งถึงขนาดงดไปกินเหล้ากับเพื่อนๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติจิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการท่านอีกครั้ง ที่นี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า “ที่แกปฏิบัติอยู่ ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง” คำพูด
    ของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ศรัทธาและความเพียร ต่อการปฏิบัติก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถัดจากนั้นไม่กี่ปี เขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้าก็ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตตั้งใจปฏิบัติธรรมเรื่อยมา
    อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลา จับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้เหรอว่า แกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไงๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะ
    มีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มี ศีล ”
    หลวงปู่ดู่ท่านไม่เพียงพร่ำสอนให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายเจริญบำเพ็ญ คุณงามความดีเท่านั้น หากแต่ยังเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญ และระมัดระวังในการรักษาไว้ ซึ่งคุณงามความดีนั้นๆ ให้คงอยู่ รวมทั้งเจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ท่าน มักจะพูดเตือนเสมอๆ ว่าเมื่อปลูกต้นธรรมด้วยดีแล้ว ก็ต้องคอยหมั่นระวังอย่าให้หนอนและแมลง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง มากัดกินทำลายต้นธรรมที่อุตส่าห์ปลูกขึ้น และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านแสดงถึงแบบอย่างของความเป็นครูอาจารย์ที่ปราศจากทิฏฐิมานะและเปี่ยมด้วยอุบายธรรม ก็คือครั้งที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน มากราบลาพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัด อุดรธานี
    หลวงปู่ดู่ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้างๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแกด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส...” ”ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปราม หรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจเพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบถึงครูอาจารย์นั้นองค์นี้ในลักษณะตื่นครูตื่นอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยพูดเตือนสติว่า “ครูอาจารย์ดีๆ แม้จะมีอยู่มาก แต่สำคัญที่ตัวแก ต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี” ”
    หลวงปู่ดู่ท่านมีแนวทางการสอนธรรมะที่เรียบง่าย ฟังง่ายชวนให้ติดตามฟัง ท่านนำเอาสิ่งที่เข้าใจยากมาแสดงให้เข้าใจง่าย เพราะท่านจะยกอุปมาอุปไมย ประกอบในการสอนธรรมะจึงทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในธรรมที่ท่านนำมาแสดง แม้ว่าท่านมักจะออกตัวว่าท่านเป็นพระบ้านนอกที่ไม่มีความรู้อะไร แต่สำหรับบรรดาศิษย์ทั้งหลาย คงไม่อาจปฏิเสธว่า หลายครั้งที่ท่านสามารถพูดแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟังทีเดียว
    อีกประการหนึ่ง ด้วยความที่ท่านมีรูปร่างลักษณะที่เป็นที่น่าเคารพ เลื่อมใส เมื่อใครได้มาพบเห็นท่านด้วยตนเอง และถ้ายิ่งได้สนทนาธรรมกับท่านโดยตรงก็จะยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสและศรัทธาในตัวท่านมากขึ้นเป็นทวีคูณ
    หลวงปู่ดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า “คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหมือนลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง” ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์โดยให้พยายามถือเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นครูสอนตนเองเสมอ เช่นในหมู่คณะ หากมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติดี เจริญใ ธรรมปฏิบัติ ท่านก็กล่าวชมและให้ถือเป็นแบบอย่าง แต่ถ้ามีผู้ประพฤติผิด ถูกท่านตำหนิติเตียน ก็ให้น้อมเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาสอนตนทุกครั้งไป ท่านไม่ได้ชมผู้ทำดีจนหลงลืมตน และท่านไม่ได้ติเตียนผู้ทำผิดจนหมดกำลังใจ แต่ถือเอาเหตุการณ์ เป็นเสมือนครูที่เป็นความจริง แสดงเหตุผลให้เห็นธรรมที่แท้จริง
    การสอนของท่านก็พิจารณาดูบุคคลด้วย เช่น คนบางคนพูดให้ฟัง เพียงอย่างเดียวไม่เข้าใจ บางทีท่านก็ต้องทำให้เกิดความกลัว เกิดความ ละอายบ้างถึงจะหยุด เลิกละการกระทำที่ไม่ดีนั้นๆ ได้ หรือบางคนเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบางอยู่แล้วท่านก็สอนธรรมดา การสอนธรรมะของท่าน บางทีก็สอนให้กล้าบางทีก็สอนให้กลัวที่ว่าสอนให้กล้านั้นคือ ให้กล้าในการทำความดี กล้าในการประพฤติปฏิบัติเพื่อถอดถอนกิเลสออกจากใจ ไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ส่วนที่สอนให้กลัวนั้น ท่านให้กลัวในการทำความชั่ว ผิดศีลธรรม เป็นโทษ ทำแล้วผู้อื่นเดือดร้อน บางทีท่านก็สอนให้เชื่อ คือให้เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในเรื่องกรรม อย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า “เชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อจริง ทำจริง มันก็เป็นของจริง ของจริงมีอยู่ แต่เรามันไม่เชื่อจริง จึงไม่เห็นของจริง ”
    หลวงปู่ดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอท่านว่า“ขยันก็ให้ทำขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำวันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละจึงค่อยเลิกทำ”
    การสอนของท่านนั้นมิได้เน้นแต่เพียงการนั่งหลับตาภาวนา หากแต่หมายรวมไปถึงการกำหนดดู กำหนดรู้ และพิจารณาสิ่งต่างๆ ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านชี้ให้เห็นถึงสังขารร่างกายที่มันเกิดมันตายอยู่ตลอดเวลา ท่านว่า เราวันนี้กับเราเมื่อตอนเป็นเด็กมันก็ไม่เหมือนเก่า เราขณะนี้กับเราเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า จึงว่าเราเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือเราเมื่อวานมันได้ตายไปแล้ว เรียกว่าร่างกายเรามันเกิด - ตาย อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก มันเกิด - ตาย อยู่ทุกขณะจิต ท่านสอนให้บรรดาศิษย์เห็นจริงถึงความสำคัญของความทุกข์ยาก ว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าในโลก
    ท่านจึงพูดบ่อยครั้งว่า การที่เราประสบทุกข์ นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เพราะอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นได้
    เครดิส จากเวป luangpudu.com / luangpordu.com
     
  14. วัตรธรรม

    วัตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +448
    วันวิสาขบูชานี้และเกลือบทุกๆวัน
    ผมสวดมนต์ดังนี้ครับ
    บูชาพระรัตนะตรัย
    บทอิติปิโส
    ภาวนาพุทโธ จนจิตสบาย แล้วต่อด้วยภาวนาพระคาถาเงินล้าน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ไปเรื่อยๆ :cool:

    ประวัติครูบาอาจารย์ที่นับถือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ

    ประวัติหลวงปู่ชมฐานะธัมโม

    นามเดิมหลวงปู่ชื่อ "ชมจันทร์หนองสวง" เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมพ.ศ. 2427 (วัน 4 ฯ 6) ปีระกาที่คุมวัดกลางอ. จสุวรรณภูมิ. ร้อยเอ็ดบิดาชื่อนายพรมราชมารดาชื่อนางบัวศรีชีวิตเยาว์วัยของหลาวงปู่เป็นคนตรงไปตรงมาความซื่อสัตว์สุจริตรักษาความยุติธรรมเป็นคนกล้าหาญจิตใจแกร่งกล้าชอบเล่นเครื่องลางของคลังจนเพื่อนๆรุ่นเดียวกันในสมัยนั้นเกิดความยำเกรงหลวงปู่จึงมีมิตรสหายมากมายในระแวกนั้นในวัยหนุ่มหลวงปู่ท่านใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าเมื่ออายุได้ 25 ปีจึงแต่งงานกับนางสีดาตลอดระยะเวลาที่ใช้ชีวิตครองเรือนครองรักอยู่กับครอบครัวท่านได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีประกอบอาชีพทำนาเลี้ยงครอบครัวหลังเสร็จจากการเก็บเกี่ยวแล้งท่านจะหารายได้พิเศษมาจุนเจือโดยการเป็นพ่อค้าวัวซื้อขาย - ควายสมัยนั้นเขาเรียกกันว่านาย "ฮ้อย" จะรวบรวมสมัครพรรคพวกต้อนวัว - ควายไปขายตามแนวเขตชายแดนเขตเขมรแถวบริเวณอำเภอช่างจอมจังหวัดสุรินทร์การต้อนวัวฝูง - ควายไปขายตามแนวชายแดนมีทั้งราบรื่นและมีทั้งอุปสรรคทั้งนานัปการในปัจจุบันใครได้ดูละครเรื่องฮ้อนายยทมิฬก็พอจะมองภาพออกหลวงปู่ชมคงจะทำหน้าที่เป็นนาย "ฮ้อยเคน" ในการทำนา - และการค้าขายทำให้หลวงปู่มีฐานะครอบครัวดีอาจพูดได้ว่ามั่งมีพออยู่พอกินแต่หลวงปู่ขาดได้อยู่อย่างหนึ่งคือไม่มีทายาทที่จะสืบสกุลได้อุ้มชูดูแลนี้คือบุญบารมีแต่ปางก่อนของหลวงปู่ทำให้หลวงปู่ไม่มีบ่วงผูกคอหลวงปู่ได้อยู่ร่วมครองเรือนกับครอบครัวเป็นเวลานาน 9 ปีการที่หลวงปู่ไม่มีทายาท ( บุตร) เงินทองทรัพย์ที่หามาได้นอกจากจะนำไปทำบุญให้ทานแล้วไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรหลวงปู่จึงขออนุญาติจากนางสีดา (ซึ่งเป็นภรรยา) ตัดสินใจออกบวชและภรรยาก็ไม่ได้ทัดทานหรือขัดข้องแต่อย่างใดนั้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ว่าหลวงปู่ท่านเป็นบุคคลที่มีบุญบารมีมาแต่ปางก่อนที่ท่านได้ออกบวชมุ่งสู่สายธรรมะเพื่อที่จะได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแท้จริงต่อไป

    หลวงปู่ชมฐานะธัมโมอุปสมบทเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2,461 เวลา 07,40 น. ขณะนั้นหลวงปู่ชมมีอายุได้ 34 ปี

    พระอุปัชฌาย์ - พระครูเหมถาพรมย์จารี

    พระกรรมวาจาจารย์ - พระครูสีลา

    พระอนุสาวนาจารย์ - พระปลัดสิงห์

    ที่วัดกลางตำบลสระคูอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อหลวงปู่ท่านได้บวชได้ 1 ธุดงค์พรรษาก็ได้ออก

    วิปัชนากรรมฐานเพื่อแสวงบำเพ็ญเพียรศึกษาหลักธรรมอยู่ตามแนวชายแดนอีสานได้เขตประเทศเขมรเขตจังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์จากหลายๆอาจารย์เป็นเวลาหลายพรรษาจนหลวงปู่มีวิชาอาคมแก่กล้าหลายด้านเช่นวิชาอาคมทางด้านเมตตามหานิยม, คงกระพันชารีแคล้วคลาด, มหาอุต, ป้องกันขับไล่คุณไสยคุณผีคุณคนหลวงปู่มีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถมากมีอิทธิปฎิหาริย์นานัปการจนคนเล่าขานกันว่า "หลวงปู่มีวิชาสามารถล่องหนหายตัวได้ "เรื่องราวตอนหลวงปู่เดินธุดงค์ไปตามแนวเขตทุรกันดารนั้นมีมากมายผจญทั้งสัตว์ร้ายภูตผีปีศาจแต่ท่านสามารถฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นได้โดยตลอดหลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้เดือนทางกลับบ้านอำเภอสุวรรณภูมิผ่านมาทางปรางค์กู่โกพระนาซึ่งในบริเวณปรางค์กู่นั้นไปปกคลุมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดมือมิดจนมองดูน่ากลัวชาวบ้านไม่กล้าผ่านเข้าไปในเขตปรางค์กู่เพราะเป็นเขตผีดุมีบรรดาสัมภเวสีเปรตอสุรกายตลอดจนสัตว์ดุร้ายแมลงมีพิษนานาชนิดในบริเวณเขตป่ามีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่เศษซึ่งผ่านไปทางประเทศเขมร (กัมพูชา) ศรีสะเกษจังหวัด - สุรินทร์ (ปัจจุบัน) หลวงปู่เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมหลวงปู่จึงเลือกที่ดังกล่าวพักพาอาศัยต่อมาได้พาชาวบ้านญาติโยมสร้างวัดขึ้นที่ปรางค์กู่รียกว่า "วัดกู่พระโกนา" จนถึงปัจจุบัน

    จากการที่หลวงปู่ชมท่านมีวิชาอาคมแกร่งกล้าดังที่เล่ามาแล้วทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศและมีลูกศิษย์ที่เป็นเกจิอาจารย์อยู่เช่นหลายองค์

    1. หลวงปู่วรพรตวิธานวัดจุมพลตำบลก้านเหลืองจังหวัดขอนแก่น (หลวงปู่วรพรตเหยียบรถเดี่ยง)

    2. หลวงพ่อกองยโสธโร (พระครูกิติคุณาภรณ์) วัดกู่พระโกนาอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบันทั้งสององค์ยังมีชีวิตอยู่

    ความผูกพันระหว่างชาวตำบลแสนหนอง - ตำบลเสือโก้กอำเภอวาปีปทุมและชาวอำเภอแกดำเป็นบางส่วนกับหลวงปู่ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถือบูชามาโดยตลอดตราบเท่าทุกวันนี้เนื่องจากเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2,480 เศษๆได้เกิดอาเพสและสิ่งประหลาดขึ้นภายในหมู่บ้านหนองแสนและหมู่บ้านใกล้เคียงหลายๆหมู่บ้านได้เจ็บไข้ได้ป่วยโดยไม่รู้สาเหตุเกิดโรดระบาดมีคนล้มตายเป็นประจำมิได้ขาดจนชาวบ้านหวาดผวากินไม่ได้นอนไม่หลับไม่มีวิธีที่จะแก้ไขได้ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่พระภิกษุสงฆ์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันตกลงเป็นเอกฉันท์ทราบว่าที่วัดกู่พระโกนาอำเภอสุวรรณภูมิมีพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาแก่กล้าชื่อ "หลวงพ่อชม" สามารถปราบภูตผี

    ปีศาจและรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดจนป้องกันขับไล่คุณไสยคุณผีคุณคนได้และตกลงกันว่าส่งตัวแทนไปนิมนต์หลวงปู่มาเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2,490 เมื่อหลวงปู่ถึงบริเวณบ้านหนองแสนแล้วหลวงปู่ก็ได้ทำพิธีกรรมของท่านทาง

    ไสยศาสตร์ปักหลักเขตเเดนให้เป็นที่เป็นทางและมีหลักซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางรวมใจอยู่ที่มุมหนองน้ำซึ่งเรียกว่า "หนองใหญ่ว่า" ด้านมุมทิศตะวันออกของหนองคือหลักบ้านอยู่ทุกวันนี้หลังจากที่หลวงปู่ได้มานั่งวิปัชนากรรมฐานแล้วเหตุการณ์ทุกอย่างก็คลี่คลายไปในทางที่ดีพี่น้องชาวบ้านหนองแสนได้อยู่ร่วมกันมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดหลังจากนั้นชาวบ้านในเขตระแวกใกล้เคียงทราบข่าวเล่าลือแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ซึ่งมีหลายหมู่บ้านได้ไปนิมนต์ท่านมาทำพิธีกรรมเหมือนกับบ้านหนองแสนและหลวงปู่ก็ได้ผ่านมาทางบ้านหนองแสนอีกเมื่อต้นปีพ.ศ. 2,496 และในปีเดียวกันนี้หลวงปู่ได้บอกลูกศิษย์คนสนิทของท่านคือหลวงพ่อกองว่าในวันที่ 16 เดือน 8 ปีนี้คือปีพ.ศ. 2,496 หลวงปู่จะตายแล้วหลวงปู่ชมก็ได้บอกกล่าวหลวงพ่อกองหลายอย่างหลังจากนั้นประมาณ 5-6 เดือนต่อมาตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคมพ.ศ. 2,496 หลวงปู่ก็ได้ละสังขารมรณภาพอย่างสงบตรงตามวันเวลาที่ได้บอกลูกศิษย์ไว้ล่วงหน้าแสดงว่าท่านหลวงปู่มีญาณหยั่งรู้ล่วงหน้าซึ่งเป็นสิ่งแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งรวมอายุของหลวงปู่ชมได้ 69 ปี (35 พรรษา) แม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้วหลังจากหลวงปู่ได้มรณภาพไปเป็นเวลาประมาณ 50 ปีบุญบารมีตลอดคุณงามความดีของหลวงปู่ยังสถิตย์อยู่ในใจของลูกหลานชาวตำบลหนองแสนและผู้ที่รู้จักให้ความเคารพนับถือมาโดยตลอดประดุจหนึ่งหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยความอัศจรรย์ในอตีตและความยั่งรู้ในอนาคตด้วยปฎิหารย์ทุกอย่างเป็นไปได้

    ขอบพระคุณและขอโมทนาสาธุกับทุกท่านครับ:cool:

    เครดิต จาก https://sites.google.com/site/bannongsan/prawati-hlwng-pu-chm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  15. Cajun

    Cajun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2015
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +270
    วันนี้ผมตั้งใจเจริญพระพุทธมนต์ 12 ตำนาน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถวายพรพระ ชินบัญชรคาถา เจริญเมตตาภาวนา

    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต มีนามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เป็นบุตรชายของหลวงพินิจจินเภท และคุณแส ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ปีเถาะ) ณ บ้านท่าอิฐ ตำบลท่าอิฐ อำเภอพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน
    "หลวงปู่บุญฤทธิ์" ท่านบวชเมื่อปี ๒๔๘๙ หลังจากที่ได้อยู่จำพรรษากับพระอาจารย์กู่ ที่วัดป่าอรุณรังษี อ.เมือง จ.หนองคาย ระยะหนึ่งแล้ว ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง แล้วจึงกลับไปอยู่ที่วัดสุปฏินาราม จ.นครราชสีมา จากนั้นได้ไปอยู่ที่วัดป่าลุมพุก จ.อุบลราชธานี ได้ฝึกปฏิบัติธรรมภาวนา และเรียนรู้เรื่องของปฏิจจสมุปบาทตอนต้น จนได้ปัญญา ทำให้ความคิดที่อยากจะลาสิกขาหายไป โดยตั้งใจใหม่ว่าจากนี้ไปจะขออยู่ในสมณเพศไปตลอดชีวิต

    ต่อมาท่านได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์ลี ธัมมธโร (ศิษย์รุ่นที่ ๒ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) ที่วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี พอออกพรรษาปี ๒๔๙๑ ท่านได้เดินทางไป จ.เชียงใหม่ พักที่วัดเจดีย์หลวง พอถึงวันวิสาขบูชา มีพระป่าสายกรรมฐาน ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ร่วม ๑๐๐ รูป มาชุมนุมกันที่นั่น นับเป็นโอกาสอันดีที่หลวงปู่จะได้พบกับพระผู้ใหญ่หลายรูป อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ฯลฯ

    สำหรับหลวงปู่ชอบ นับเป็นศิษย์รูปสำคัญของพระอาจารย์มั่นท่านหนึ่ง โดยมีผู้ยกย่องว่าท่านเป็นผู้มี อภิญญาสูงมาก

    คำว่า "อภิญญาสูงมาก" นี่เองที่ทำให้หลวงปู่บุญฤทธิ์เกิดความศรัทธานับถือ จึงได้เดินทางไปขอพบเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์

    ขณะนั้นหลวงปู่ชอบจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านยางผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อันเป็นสำนักสงฆ์ที่ท่านได้สร้างขึ้นในหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง อยู่บนภูเขาสูง กลางดงป่าใหญ่ ทุรกันดารมาก ไม่มีทางรถไปถึง การเดินทางต้องบุกป่าฝ่าหนามปีนเขาขึ้นไปเท่านั้น

    พระผู้ใหญ่หลายท่านที่ได้ทราบข่าว ต่างพากันห้ามหลวงปู่บุญฤทธิ์ว่าอย่าไปเลย เพราะหนทางลำบากมาก แต่ท่านก็ไม่เชื่อฟัง โดยได้ตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่แล้วว่าจะต้องเดินทางไปให้ถึงจนได้

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า... "ญาติโยมได้ว่าจ้างคนหามของบุกไป พื้นดินเป็นแต่ขี้โคลนครึ่งเข่า เดินขึ้นเขาสูงครึ่งวัน ทั้งวันจะหารอยเท้าคน รอยเท้าสัตว์ ไม่มีเลย ทางไปลำบากมาก วนเดินหลงป่าอยู่ ๒ หน ไปถึงสำนักสงฆ์หลวงปู่ชอบเอาเกือบค่ำ แอบบ่นในใจว่า...แหมท่านอาจารย์ ทำไมมาอยู่ที่ยากอย่างนี้หนอ..."

    พอไปถึงได้พบกับหลวงปู่ชอบแล้ว ท่านได้จุดเทียนอธิษฐาน ปวารณาขอจำพรรษาบนเขาสูง วัดป่าบ้านยางผาแด่น กับหลวงปู่ชอบ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในปีนั้น (พ.ศ.๒๔๙๓) โดยได้ทำหน้าที่ถวายอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบทุกอย่าง ขณะเดียวกันก็ได้รับคำแนะนำสั่งสอนในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานจากหลวงปู่ชอบด้วย

    ต่อมาเมื่อออกพรรษา หลวงปู่ชอบได้ลงไปจากเขา ส่วนหลวงปู่บุญฤทธิ์ยังอยู่ต่อไปเพียงรูปเดียว เพราะท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้แล้วว่าจะขออยู่บนนี้ ๓ ปี จึงต้องทำตามที่ได้ตั้งใจอธิษฐานไว้

    ในพรรษาที่ ๒ ท่านพ่อลี ธัมมธโร ได้ขึ้นมาอยู่บนเขานี้ด้วย และได้สอนให้หลวงปู่บุญฤทธิ์นั่งสมาธิแบบปฏิภาคนิมิต อานาปานสติกรรมฐาน คือ การทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ซึ่งท่านพ่อลีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้มาก

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ได้ปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่บนเขาบ้านยางผาแด่นจนครบ ๓ ปีตามที่ได้อธิษฐานไว้ หลังจากนั้นท่านได้ลงมาจากเขาสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ โดยได้เดินทางไปอยู่วัดโน่นบ้างวัดนี้บ้าง ที่เป็นวัดป่าสายพระอาจารย์มั่น ในหลายๆ จังหวัด เป็นเวลาหลายปี รวมทั้งได้ไปดูแลการก่อสร้างวัดป่าที่ จ.สตูล อีกด้วย

    พ.ศ.๒๕๑๗ หลวงปู่ได้รับหน้าที่ให้เป็นพระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่ประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งการสอนปฏิบัติธรรมภาวนา เผยแผ่ให้ทั้งคนไทยในออสเตรเลีย และชาวต่างชาติที่สนใจ รวมทั้งได้เขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้สนใจปฏิบัติธรรมภาวนา ที่เป็นชาวต่างชาติได้เรียนรู้เข้าใจง่ายขึ้น

    ระยะหลังพอหลวงปู่ท่านอายุมากแล้วท่านจึงไม่ค่อยได้ไปกลับต่างประเทศอีก ท่านจึงเป็น “แสงเทียน” ที่ส่องสว่างกลางใจชาวพุทธผู้ที่นิยมการปฏิบัติอยู่ที่ “ที่พักสงฆ์สวนทิพย์” นำหมู่ลูกศิษย์ปฏิบัติทุกวัน

    ถึงปีปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙) ท่านมีอาย ๑๐๒ ปีครับ
     
  16. spaiderman

    spaiderman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    597
    ค่าพลัง:
    +7,048
    ผมสวดมนต์ไหว้พระโดยสวดบทบูชาพระพุทธคุณ อิติปิโส พระคาถาชินบัญชร พระคาถาอาการวัตตาสูตร ครับ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือมีหลายท่าน แต่ที่สุดคือ หลวงพ่อพุทธ ฐานิโยครับ


    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    ชาตะ 8 กุมภาพันธ์ 2464
    มรณภาพ 15 พฤษภาคม 2542
    พระราชทานเพลิงศพ 31 พฤษภาคม 2543



    “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” หรือ “พระราชสังวรญาณ” เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก






    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ หมู่บ้านชนบท ต.หนองหญ้าเซ้ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร






    อุปสมบท
    ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479 เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ที่วัดอินทรสุวรรณ ซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร






    เรียนรู้ธรรม
    หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา และในช่วงสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2489 ระหว่างนั้น ท่านได้อาพาธอย่างหนักด้วยวัณโรค มีหมอมารักษาตั้งหลายคน แต่แล้วก็สู้ไม่ไหว ต่อมาท่านได้พบกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่ฝั้นก็ได้ช่วยรักษาโดยการให้ตั้งใจเพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น
    หลวงพ่อพุธทำตามอุบายของหลวงปู่ฝั้นทันที แรกๆ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่พอพิจารณาหนักเข้าๆ ปรากฏว่ามีผลมาก ท่านใช้เวลารักษาตัวอยู่ประมาณ 10 ปี โรคร้ายจึงหายขาด




    พอหายจากป่วยไข้ไม่นาน ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลการงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ตามลำดับดังนี้
    • ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2495
    • เจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2496
    • เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ เมื่อ พ.ศ. 2500
    • เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2511
    • เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2513
    และในปี พ.ศ. 2535 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระราชสังวรญาณ”




    หลวงพ่อพุธ เป็นผู้ที่ได้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงต่อพระพุทธศาสนา ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม อบรมสมาธิภาวนาให้กับพุทธบริษัทในสถานที่ต่าง ๆ มาตลอด




    ละสังขาร
    หลวงพ่อพุธ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยโรคมะเร็งในลำคอ รวมสิริอายุได้ 78 ปี
     
  17. paramajan_t

    paramajan_t Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +112
    เนื่องในวันวิสาขบูชานี้ ผมจะทำการสวดพระพุทธมนต์
    1.ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
    2.ธารณปริต
    3.พาหุง มหากา
    4.ชินบัญชร

    หลวงพ่อเดิม เกิดที่บ้านหนองโพ เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2403

    เมื่อเจริญวัยอายุได้ 20 ปี โยมบิดาได้พาท่านไปรับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2423 โดยมี หลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์) วัดพระปรางค์เหลือง กับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระคู่สวด ได้รับนามฉายาว่า พุทฺธสโร มีความหมายว่า ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นศรชัยแห่งชัยชนะ

    เมื่อหลวงพ่อเดิมอุปสมบทแล้ว ท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโพ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

    วัดหนองโพนี้ พระภิกษุรอดหรือ หลวงพ่อเฒ่า ร่วมกับญาติโยมปวารณาที่อพยพมาจากบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้ช่วยกันสร้างขึ้น มีชื่อแรกเริ่มว่า วัดสมโภชโพธิ์กระจาย ด้วยบริเวณที่ตั้งวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาเป็นบริเวณกว้าง ต่อมาหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์เหลือง เปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลนามว่า วัดสมโภชโพธิ์เย็น ครั้นต่อมาเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลนครสวรรค์ ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดให้ตรงกันกับชื่อของหมู่บ้านนั้นว่า วัดหนองโพ
    
    เมื่อ หลวงพ่อเฒ่า ถึงแก่มรณภาพนั้น ท่านมีอายุถึง 120 ปี จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 หลวงพ่อเฒ่า หรือ หนุ่มรอดในขณะนั้นถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลย เมื่อหนีกลับมาได้ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลวงพ่อเฒ่า ท่านคงจะมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงราวต้นรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นพระเถระที่มีพรรษากาลยืนยาวมาก แม้ท่านจะล่วงลับจากไปนานแล้ว ชาวบ้านก็ยังคงพูดถึงท่านด้วยความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่งมาจนถึงทุกวันนี้

    กล่าวกันว่า เมื่อหลวงพ่อเดิมถือกำเนิดขึ้นมานั้น ท่านพระภิกษุรอดหรือหลวงพ่อเฒ่าซึ่งเป็นสมภารองค์แรกได้ละสังขารไปแล้ว และได้มีสมภารครองวัดหนองโพสืบต่อกันมา คือต่อจาก หลวงพ่อเฒ่า ก็มา หลวงพ่อสิน ไม่มีใครจำได้ว่าหลวงพ่อสินท่านเป็นคนบ้านไหน ทราบแต่ว่าท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเฒ่า ต่อจากหลวงพ่อสิน ก็คือ หลวงพ่อจันทร์ ซึงก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเฒ่าเช่นกัน ต่อมาภายหลัง หลวงพ่อจันทร์ได้ย้ายไปอยู่วัดหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท แล้ว หลวงตาชม ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพ

    เมื่อหลวงพ่อเดิมมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโพ ท่านได้เล่าเรียนศึกษาหาความรู้ในพระธรรมวินัย ท่านได้ท่องคัมภีร์พระวินัย 10 ผูกกับ "หลวงตาชม" ซึ่งเป็นพระผู้ครองวัดหนองโพอยู่ในเวลานั้น คัมภีร์พระวินัย 10 ผูก ก็คือหนังสือที่ต่อมาได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่ม เรียกชื่อว่า บุพพสิกขาวรรณนา ของ "พระอมราภิรักขิต" (เกิด) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร นั่นเอง

    นอกจากการศึกษาพระปริยัติธรรมคำสอนแล้ว ในพรรษาแรก ๆ เมื่อเริ่มอุปสมบท หลวงพ่อเดิมได้เล่าเรียนวิชาคาถาอาคมกับ นายพัน ชูพันธ์ ศิษย์รุ่นเล็กของหลวงพ่อเฒ่า นายพัน ชูพันธ์นี้เป็นผู้คงแก่เรียนและทรงวิทยาคุณตั้งแต่ยังเป็นพระภิกษุ ภายหลังลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส

    เมื่อนายพัน ชูพันธ์ ถึงแก่มรณกรรม หลวงพ่อเดิมได้ไปอยู่จำพรรษาและศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี วัดบ้านบน ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะคีรี และไปเรียนหัดเทศน์กับพระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง และเรียนพระธรรมวินัยกับอาจารย์แย้ม ซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ที่วัดพระปรางค์เหลือง จนนับว่าเป็นผู้มีความรู้แตกฉานพอแก่สมัยนั้น

    ครูบาอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ถ่ายทอดวิชาอาคมให้กับหลวงพ่อเดิมคือ หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล หลวงพ่อเทศองค์นี้เป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเฒ่า ผู้ก่อตั้งวัดสมโภชโพธิ์กระจาย หรือวัดหนองโพในปัจจุบัน

    หลวงพ่อเดิมท่านเทศน์เก่ง สามารถแยกแยะข้อธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย จึงมีคนนิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์อยู่เนือง ๆ หลวงพ่อเป็นนักเทศน์อยู่หลายปีแล้วก็เลิก ท่านปรารภว่า มัวแต่ไปเที่ยวสอนคนอื่น และเอาสตางค์เขาด้วย ส่วนตัวเองไม่สอน ต่อไปนี้ต้องสอนตัวเองเสียที

    เมื่อเลิกเป็นพระนักเทศน์ ท่านได้ไปเรียนกรรมฐานกับ หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ศิษย์ผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณอีกรูปหนึ่งของหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว หลวงพ่อเดิมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจังมาโดยตลอด ตั้งกายตรง ตั้งสติกำหนดไว้เฉพาะหน้า หลวงพ่อนั่งตัวตรงเสมอมาจนอายุเก้าสิบเศษ ก็ยังนั่งตัวตรง
    
    หลวงพ่อเดิมจะไปศึกษาเล่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ใดบ้าง ไม่ทราบได้ตลอด เรื่องการเรียนและฝึกหัดเวทย์มนต์คาถาวิทยาคมนี้ แต่โบราณมาก็สืบเสาะแสวงหาที่ร่ำเรียนกับพระอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ ปรากฏว่า หลวงพ่อเดิม ทำวิชาขลังจนเป็นที่เลื่องลือ มีผู้รู้ผู้เห็นความขลังของหลวงพ่อจนประจักษ์แก่ตาตนเองเป็นจำนวนมาก

    ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา มีประชาชนหลั่งไหลกันไปกราบหลวงพ่อเดิม ขอให้ท่านรดน้ำมนต์บ้าง เป่าหัวบ้าง ขอของขลัง ขอวิชาอาคม ฯลฯ นอกจากนี้แล้ว ยังพากันนำผ้าขาว ผ้าแดง ผืนหนึ่งกว้างยาวราว 12 นิ้ว เอาน้ำหมึกไปทาฝ่าเท้าหลวงพ่อ แล้วยกขาของท่านเอาฝ่าเท้ากดลงไปให้รอยเท้าติดบนแผ่นผ้า บางคนก็กดเอาไปรอยเท้าเดียว บางคนก็กดเอาไปทั้งสองรอย แล้วก็เอาผ้าผืนนั้นไปเป็นผ้าประเจียดสำหรับคุ้มครองป้องกันตัว

    เวลามีงานนักขัตฤกษ์ที่วัดหนองโพหรือที่วัดอื่น ๆ ซึ่งเขาได้นิมนต์หลวงพ่อเดิมไปเป็นประธานของงาน จะมีประชาชนมาขอแป้ง น้ำมนต์ น้ำมันมนต์ และของขลังต่าง ๆ กันเนืองแน่นมากมาย ที่ก้มศีรษะมาให้หลวงพ่อเสกเป่าก็มี ขอให้ถ่มน้ำลายรดหัวก็มี บางครั้งท่านเหนื่อยมาก แต่ก็สงเคราะห์ให้ด้วยเมตตา ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เคยแสดงอาการเบื่อหน่ายระอิดระอา

    ท่านอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเดิมเคยกราบเรียนถามท่านว่า "คาถาแต่ละบท ดูครูบาอาจารย์ท่านก็บอกฝอยของท่านไว้ล้วนแต่ดี ๆ บางบทก็ใช้ได้หลายอย่างหลายด้าน จะเป็นจริงตามนั้นไหม" หลวงพ่อท่านตอบว่า "ของจริง รู้จริง เห็นจริง ย่อมทำได้"

    วัตถุปัจจัยหรือเงินทองที่มีผู้ถวายหลวงพ่อเนื่องในกิจนิมนต์ก็ดี หรือถวายด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อก็ดี หลวงพ่อมิได้เก็บสะสมไว้ หากแต่ใช้จ่ายไปในการทำสาธารณประโยชน์ ใช้เป็นทุนรอนในการก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาและสถานศึกษาเล่าเรียนจนหมดสิ้น หลวงพ่อจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในวัด หาครูมาสอนและเป็นคนจัดหาเงินเดือนค่าสอนให้แก่ครูเอง และยังได้จัดการศึกษาด้านศิลปะ สอนดนตรีปี่พาทย์ ฝึกหัดยี่เก ฝึกรำ ฯลฯ วัดหนองโพซึ่งเคยเสื่อมโทรมลงนับแต่หลวงพ่อเฒ่าได้ล่วงลับไป ก็กลับมาเป็นสำนักศึกษาศิลปวิทยาการที่สำคัญขึ้นใหม่อีกครั้ง

    หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์พาหนะ เช่นช้างและม้า และยังได้ศึกษาวิชาการจับช้างป่าด้วย สัตว์พาหนะที่หลวงพ่อเลี้ยงไว้ก็เพื่อใช้สำหรับบรรทุกลากเข็นสัมภาระในการก่อสร้างถาวรวัตถุ เท่าที่ทราบ หลวงพ่อเดิมมีช้างทั้งหมดเกือบสี่สิบเชือก

    หลวงพ่อเป็นเสมือนต้นโพธิ์ต้นไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชนไม่เลือกชั้นวรรณะ บรรดาท่านผู้เฒ่าผู้แก่ต่างออกปากชมกันว่า ท่านองค์นี้ไม่ใช่ใครอื่นแล้ว คือหลวงพ่อเฒ่าเจ้าของวัดท่านมาเกิด

    จากการตรากตรำทำงานสาธารณประโยชน์มานานหลายสิบปี สุดท้ายราวสิบกว่าปีก่อนมรณภาพ ร่างกายของหลวงพ่อก็ทรุดโทรมจนแข้งขาใช้เดินไม่ได้ จะลุกจะนั่งก็ต้องมีคนพยุง จะเดินทางไปไหนก็ต้องขึ้นคานหามหรือขึ้นเกวียนไป แม้กระนั้นก็ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธามานิมนต์หลวงพ่อไปในงานบุญงานกุศลอยู่เนือง ๆ

    ครั้งหลังสุด หลังจากที่กลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์วัดอินทาราม (วัดใน) อำเภอพยุหะคีรี หลวงพ่อก็เริ่มอาพาธ ตั้งแต่วันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 (ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) อาการทรุดลงเป็นลำดับ จนถึงวันอังคาร แรม 2 ค่ำ เดือนเดียวกัน (วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) อาการก็ทรุดหนักขึ้น

    ครั้นตกตอนบ่ายในวันนั้น หลวงพ่อก็คอยแต่สอบถามอยู่ว่า “เวลาเท่าใดแล้ว ๆ” ศิษย์ผู้พยาบาลก็กราบเรียนตอบไป ๆ จนถึงราว 17:00 น. หลวงพ่อจึงถามว่า น้ำในสระมีพอกินกันหรือ (เพราะบ้านหนองโพมักกันดารน้ำ) ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ก็เรียนตอบว่า ถ้าฝนไม่ตกภายใน 6-7 วันนี้ ก็น่ากลัวจะถึงกับอัตคัดน้ำ หลวงพ่อก็นิ่งสงบไม่ว่ากระไรต่อไปอีก ในทันใดนั้น กลุ่มเมฆก็ตั้งเค้ามาและฟ้าคะนอง มิช้าฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ พอฝนขาดเม็ด หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจ เมื่อเวลา 17:45 น. คำนวณอายุได้ 92 ปีโดยสิริรวมแต่อุปสมบทมาได้ 71 พรรษา

    เล่ากันว่า วันที่หลวงพ่อเดิมมรณภาพ ช้างของท่านซึ่งกำลังทำงานอยู่ในป่าดิ้นรนไม่ยอมทำงาน ถึงควาญช้างจะบังคับก็ดื้อดึงไม่ยอมทำงานทั้งสิ้น พยายามหันหลังเดินกลับวัดหนองโพ บรรดาควาญช้างต่างสังหรณ์ใจในอาการอาพาธของหลวงพ่อเดิม จึงปรึกษากันให้เลิกงาน ช้างทุกเชือกหันหน้าพากันกึ่งเดินกึ่งวิ่ง มุ่งหน้าสู่วัดหนองโพอย่างเร่งร้อน เมื่อมาถึงวัดแล้ว ขณะนั้นหลวงพ่อเดิมอาพาธหนัก หมดทางเยียวยารักษา ช้างทุกเชือกเหมือนจะรู้ ต่างไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ ต่างหงอยเหงาไม่ส่งเสียง ได้แต่เดินวนเวียนไปมาใกล้กุฏิหลวงพ่อที่นอนอาพาธอยู่เหมือนจะรู้ว่า วาระสุดท้ายของหลวงพ่อที่ชุบเลี้ยงพวกมันมากำลังจะถึงแล้ว

    เมื่อผู้ใกล้ชิดจับชีพจนจนแน่ใจว่า หลวงพ่อถึงแก่มรณภาพแน่แล้ว จึงแจ้งข่าวแก่ผู้อยู่ข้างนอก วงปี่พาทย์ประโคมขึ้นพร้อมกับกลองใหญ่ถูกรัวกระหน่ำสนั่นวัด ช้างของหลวงพ่อทุกเชือกส่งเสียงร้องโกญจนาท น้ำตาไหลพราก ทุกเชือกต่างชูงวงเดินวนเวียน บางเชือกเอางวงจับหน้าต่างกุฏิของหลวงพ่อเหนี่ยวไว้ ร้องอาลัยในมรณกรรมของผู้ที่ชุบเลี้ยงมาแต่น้อยคุ้มใหญ่

    credit by หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ 'เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว'
     
  18. visa2505

    visa2505 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +1,092
    สวดมนต์บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆ์คุณ สวดบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมฯ พาหุง ขินบัญชร พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบหกพระองค์ อิติปิโสแปดทิศ และกลับหลัง(ติวาคะภะฯ) มงกุฎพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าชนะมาร บารมีสามสิบทัศน์ย่อ

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (พระผู้คำ้จุนทั้งพุทธจักรและอาณาจักร)
    (บัว ญาณสมฺปนฺโน)
    หลวงตาบัว, หลวงตามหาบัว
    AjahnMahaBua.jpg
    เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456
    มรณภาพ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
    อายุ 97
    อุปสมบท 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
    พรรษา 76
    วัด วัดป่าบ้านตาด
    ท้องที่ อุดรธานี
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    วุฒิการศึกษา นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 3 ประโยค
    ตำแหน่ง
    ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)
    ......................
    พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงตามหาบัว หรือ หลวงตาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทคณะธรรมยุติกนิกาย ฝ่ายอรัญวาสีวิปัสสนาธุระ ชาวจังหวัดอุดรธานี และเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) องค์แรก ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) ซึ่งมีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา

    หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

    หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 หลวงตามหาบัวได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในและนอกประเทศ จากการที่ท่านได้ดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ชื่อ "โครงการผ้าป่าช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน" เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาโดยตลอดในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัจฉิมวัยนี้เองได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองจากนักวิชาการและนักสื่อสารมวลชนจำนวนหนึ่ง เช่น ประเด็นการคัดค้านการรวมบัญชีเงินทุนสำรองของประเทศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นการคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ และการเทศนาวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร ครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วง พ.ศ. 2548 เป็นต้น
     
  19. seaown

    seaown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +984
    วันนี้และทุกๆวันผมสวดมนต์ บท พระมหาจักรพรรดิ์ อิติปิโส ชินบัญชร คาถาคุณแม่บุญเรือน คาถาเงินล้านหลวงพ่อฤษีลิงดำ และขอบอกกล่าวประวัติของหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษที่ผมเคารพ และ ยังมีอีกหลายรูปหลายนามที่ผมเคารพและบูชาครับผม

    หลวงปู่สรวงแต่เดิมเป็นชาวกัมพูชาและได้เดินทางมาอยู่บริเวณอำเภอขุนหาญและอำเภอขุขันธ์ แถบชายแดนตามเชิงเขาพนมดังรัก (พนมดองเร็ก) ซึ่งเป็นเขตกั้นกลางระหว่างประเทศกัมพูชา ท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ และได้พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้านโคก และเวียนไปในที่ต่างๆ นานๆ ก็จะกลับมาให้เห็น ณ ที่เดิมอีก
    ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเรียกขานท่านว่า “ลูกเอ็อวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบสที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำตามป่าเขา)
    ในสมัยนั้น มีป่าเขาอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาพันธุ์ มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย ตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหว หลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆโดยลำพัง ทำให้ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง รู้เพียงแต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้าอาศัยในประเทศไทยนานแล้ว คนแก่คนเฒ่าผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านต่างพูดว่า พอจำความได้ก็เห็นท่านอยู่ในลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันนี้ ผิดไปจากเดิมบ้างเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครทราบประวัติและอายุที่แท้จริงของท่านได้ ชาวบ้านแถบนี้เห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม (อำเภอภูสิงห์) แถวบ้านลุมพุก ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ และตามหมู่บ้านอื่นๆ รอบชายแดน ท่านจะอยู่แถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่ใดที่หนึ่ง บางทีหายไป ๒-๓ ปีก็จะกลับมาใหม่อีกครั้งโดยที่ไม่รู้ว่าหลวงปู่ไปไหน มาระยะหลังๆ นี้พบหลวงปู่เป็นประจำอยู่ในกระท่อมนาข้างต้นโพธิ์ บ้านขะยอง วัดโคกแก้ว บ้านโคกเจริญ กระท่อมนาระหว่างบ้านละลม กับบ้านจะบก กระท่อมนาบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆใกล้เคียง ขออนุโมทนาในบุญที่ทุกท่านสวดมนต์กันในวันนี้และทุกๆวันนะครับผม(f)
     
  20. chaiwatwinij

    chaiwatwinij เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2013
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +233
    ทุกวันสวดมนต์ เริ่มจากบท ไตรสรณคม อิติปิโสยอดพระกันไตรฯ พาหุงมหากาฯ ชินบัญชร บทจักรพรรดิ์ แล้วก็แผ่เมตตา
    ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ
    1. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    2. นางคำมั่น แจ้งแสงใส
    3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
    มารดาของหลวงพ่อคูณ เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า

    “เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป”
    และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วอันใสสะอาดว่างให้แก่นางด้วย
    “ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง”

    ด้านการศึกษา
    เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง 3 คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ 6-7 ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หล ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้ง 3 ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณเรียนรู้วิชาทางไสยศาสตร์มาตั้งแต่เยาว์วัย
    “ค่ำคืนอันมืดมิดมิอาจบดบังแสงอันสกาวใส ของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาได้ไม่”

    กลับสู่มาตุภูมิ
    หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศกัมพูชาสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ. 2496 นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย


    หลักคำสอน
    “คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล”

    ปราชญ์แห่งที่ราบสูง
    บุคคลทั่วไปหากมิได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงของหลวงพ่อคูณ มักจะมีความเข้าใจว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระที่แกร่งกล้าอาคม แต่หากได้พบและได้สนทนาธรรม จะทราบทันทีว่า ท่านคือ “ปราชญ์แห่งที่ราบสูง” หลวงพ่อคูณได้สนทนาธรรมกับหลาย ๆ คน ต่างกรรมต่างวาระแสดงให้เห็นความเป็นปราชญ์ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ทีท่าตรงไปตรง มาพูดจามึงกู แต่ภายในจิตวิญญาณของหลวงพ่อคูณท่านเป็นพระที่เป็นพระจริง ๆ คือมีจิตเมตตาเป็นที่ตั้ง แม้ในยามที่ วัดบ้านไร่ มีปัญหาหรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างลูกศิษย์ หลวงพ่อคูณท่านได้ตัดสินใจเดินจากวัดบ้านไร่ไปอย่างเงียบ ๆ พร้อมทั้งปรัญชาที่ว่า
    “เป็นธรรมดา เปรียบเสมือนต้นไม้หากมีลูกไม้ ย่อมจะเป็นที่จิกกินของสัตว์หรือนกแม้กระทั่งคน หากแม้นเมื่อหมดลูกหมดผล ก็หมดการแก่งแย่ง แต่อีกไม่นานต้นไม้นั้นก็จะออกลูกออกผลมาให้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป”
    ไม่เคยมีใครพบเห็นหลวงพ่อคูณ กราดเกรี้ยวหรือทุกขเวทนากับเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นภายในวัดอันเนื่องจากรายได้ที่มากมายที่ประชาชนศรัทธาในบารมีของท่าน สิ่งที่หลวงพ่อคูณแสดงออกมาทุกครั้งในการให้สัมภาษณ์หรือสนทนาธรรม ได้แสดงให้เห็นว่า ท่านนั้นมีจิตที่แจ่มใส หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลสเป็น “ปราชญ์แห่งที่ราบสูง” ที่พึ่งทางธรรมอย่างแท้จริง



    อุปสมบท
    หลวงพ่อคูณอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ปีวอก หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า “ปริสุทโธ” หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า… “เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา”
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ
    1. สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
    2. วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด…
    พิจารณาว่า ความเกิดเป็นธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้ไม่

    หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ หลวงพ่อคงสอนเน้นเรื่องการมี “สติ” ระลึกรู้พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ “หลง” ท่านให้พิจารณาว่า…
    “อนิจจัง ไม่เที่ยง
    ทุกขัง เป็นความทุกข์
    อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา
    สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม
    จึงมิใช่ของเราและของเขา”
    ศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ โกรธ หลง ต้องแก้ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่ได้ไม่

    การสร้างวัตถุมงคล
    หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ. 2493
    “ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน” นับเป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ
    “กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม….”
    “ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง… ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก”

    การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ
    หัวใจพระคาถามีว่า
    มะอะอุ
    นะมะพะธะ
    นโมพุทธายะ
    พุทโธ และยานะ
    แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ) เรียกว่า คาบพระคาถา
    เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง(สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้
    นะ มะ พะ ธะ
    มะ พะ ธะ นะ
    พะ ธะ นะ มะ
    ธะ นะ มะ พะ
    ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่าเมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า

    ท่านั่งยอง
    หลวงพ่อให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน

    การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ
    หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท
    “หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่น ก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ”

    ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ
    หลวงพ่อคูณสั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา “พุทโธ” ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ค่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหลวงพ่อคูณยังย้ำว่า
    “ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง…ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใด ๆ ในโลก”
    หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ
    เวลาหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า ตาย
    เวลาหายใจออก ให้บริกรรมว่า แน่
    เป็นตายแน่… ตายแน่… ตายแน่ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...