รู้ไหมว่าระหว่างสวดมนต์กับนั่งสมาธิ ได้ผลดีต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เพชรฉลูกัน, 4 กันยายน 2016.

  1. เพชรฉลูกัน

    เพชรฉลูกัน ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    18,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +23,163
    *ผลการวิจัยออกมาแล้วโดย K. Kijsarun Chanpo

    ได้ทำการทดลองกับนิสิตจุฬา ฯ จำนวน 60 คนโดยให้สวดมนต์ 30 คน และทำสมาธิ 30 คน ชาย-หญิงอย่างละ 15 คน และทำการวัดคลื่นสมองทีละคนในขณะสวดมนต์ 30 นาที และผู้ทำสมาธิ 30 นาที

    บันทึกการทำงานของสมองตลอดระยะเวลา 30 นาที ผลปรากฎ ว่าทั้ง 30 คนในการสวดมนต์ทีละคน ได้ผลเหมือนกัน คือนาทีที่ 0-5 นาทีแรกจิตยังซัดส่าย พอนาทีที่ 5-10,10-15,15-20,20-25,25-30 คลื่นสมองจะบอกถึงการดิ่งของจิตที่สงบจนจบต่อเนื่องถึงหลังการทดลองอีกระยะหนึ่ง. สุดยอดไหม


    ส่วนการทำสมาธิจะได้ผลดีที่สุดอยู่ที่ นาทีที่ 0-5 พอเข้านาทีที่ 5-10,10-15,15-20... จบจนการทดลองจิตจะซัดส่าย คลื่นสมองจะไม่นิ่ง อันเนื่องจากมีนิวรณ์ 5 เข้ามาเป็นเครื่องกั้นการทำงานของจิตต่อการทำสมาธิ ดังนั้นจิตที่ยังมีนิวรณ์ 5 อยู่เช่นนี้ย่อมจะไม่สามารถเป็นสมาธิได้ ต้องฝึกเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะสามารถกำจัดนิวรณ์ได้.


    ซึ่งการทดลองนี้สอดคล้องกับมาตรฐานสัญญาณคลื่นสมองอัลฟ่าผ่อนคลายเมื่อหลับตาลงซึ่ง เป็นช่วงที่ดีที่สุดในระยะแรก


    ฉะนั้นทำให้เรารู้ว่าการสวดมนต์ก่อนทำสมาธิจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจิตเราจะจดจ่อกับ บทสวดมนต์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองอัลฟ่าเกิดขึ้นและคงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องจนหลังการ ทดลองอีก 5 นาที. ซึ่งจะเป็นช่วงที่เข้าสู่ การทำสมาธิ ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อฝึกบ่อย ๆ นิวรณ์5 ก็จะหมดไป*

    ร่วมกันอนุโมทนาบุญกับผลงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสามารถแนะนำคนที่ยังไม่เคยทำ ได้ทดลองปฏิบัติดู ขออนุโมทนา ครับ
    .....เครดิตจากใครสักคนที่ส่งมาทางไลน์.....
     
  2. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    สิ่งที่จะกำจัดนิวรณ์ 5 ให้หมดไปคือการวิปัสสนา ไม่ใช่สมาธิ สมาธินั้นเป็นเหมือนแค่องค์ประกอบหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องบีบบังคับให้มันเกิด(ดูตัวอย่างจากกระทู้ก็ได้ที่บอกว่าสวดมนต์ไปเรื่อยๆแล้วจิตนิ่งเอง เราไม่ต้องไปบังคับสมาธิให้มันเกิด เพราะมันจะเกิดขึ้นเองถ้าเราอยู่ในกระแสธรรม) ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆสมาธิก็เป็นเหมือนพลังงานในการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้ดำเนินไปสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น เวลาที่เราวิ่งแข่งหรือเล่นกีฬาต่างๆ เราต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากในการทำกิจกรรมเหล่านี้ , ภัยธรรมชาติต่างๆก็ล้วนต้องอาศัยพลังงานในการขับเคลื่อนสร้างการทำลายล้าง ฯลฯ

    สมาธิก็เป็นเหมือนเชื้อเพลิงหรือพลังงาน อยู่ที่ว่าเราจะเอาพลังงานนั้นไปใช้ทำอะไร เพราะพลังงานจะไม่เกิดศักยภาพใดๆขึ้นมาสักเท่าไหร่ หากเราไม่นำมันออกไปใช้ เช่นเดียวกันกับที่เราเข้าใจว่าสมาธิจะทำให้นิวรณ์ 5 หายไปได้ แต่มันจะหายไปได้ก็ต่อเมื่อต้องมีการวิปัสสนาโดยใช้สมาธิเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน

    คนที่เคยนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ แล้วพิจารณาธรรมตามไปด้วยพอออกจากการวิปัสสนาแล้วจะรู้สึกว่าอ่อนเพลีย นั่นก็เพราะคุณได้นำสมาธิซึ่งเป็นพลังงานภายในออกมาใช้ ถ้านั่งนานวิปัสสนานานก็ใช้พลังงานมาก ก็จะยิ่งเพลียมาก แต่ถ้าฝึกไปบ่อยๆ ก็จะเกิดความแข็งแกร่ง ทนทานได้ดีขึ้น พลังสมาธิมีมากขึ้น
     
  3. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ก็อย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าการสวดมนตร์เฉยๆมันจะเป็นผลดีกว่าการฝึกสมาธิ
    จนกว่าเราจะรู้แน่ชัดว่า วิธีฝึกสมาธิที่เขาใช้ให้นักศึกษานั่งในการทดสอบวิจัยนั้น
    คือสมาธิแบบไหน ได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีในการฝึกสมาธินั้นๆหรือไม่
    หรือแค่นั่งหลับตา นับลมหายใจเข้าออก หรือพุทโธเฉยๆ
    เพราะว่าการฝึกสมาธินี้มีหลากหลายวิธี
    อันที่จริงแล้ว การสวดมนตร์ ก็เป็นการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่ง
    ช่วยให้จิตสงบได้พอสมควร แต่ยังไม่ใช่สมาธิที่สงบที่สุด
    และบางที แม้จะสวดมนตร์ ก็ใช่ว่าจิตต้องสงบเป็นสมาธิเสมอไป
    สมาธิที่เกิดจากการเปล่งเสียงสวดมนตร์ จะได้แค่ ขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิเท่านั้น
    ส่วนการทำสมาธิที่อ้างว่า ช่วยให้ใจสงบได้เพียงระยะแรก ๐-๕ นาทีเท่านั้น
    เข้าใจว่า การฝึกผิดวิธี และเป็นแค่ขณิกสมาธิเท่านั้น
    ดังนั้น ผู้ฝึกจึงมีสมาธิจดจ่ออยู่เฉพาะภายใน ๕ นาทีแรก
    แต่พอเวลาผ่านไป ก็ปล่อยให้ใจลอยคิดไปในเรื่องอื่นๆ จนจิตใจฟุ้งซ่าน

    สำหรับผู้สวดมนตร์นั้น ถ้าเป็นการสวดโดยเปิดหนังสืออ่าน
    มีทางเป็นไปได้ว่า จิตใจจะจดจ่ออยู่กับหนังสือ ตลอดการทดสอบ
    แต่ถ้าเป็นรายที่ท่องจำบทสวดจนคล่องแล้ว มีทางเป็นไปได้ว่า
    ถ้าไปเรื่อยๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะใจลอยเผลอสติ หรือคิดฟุ้งซ่าน ได้เช่นเดียวกับคนที่นั่งสมาธิหลับตาเหมือนกัน
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทั้งสวดมนต์... ทั้ง ยืน เดิน นั่ง... = ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ หมายความว่า เราใช้การกระทำนั้นๆ อิริยาบถนั่นๆ เป็นเสมือนอุปกรณ์สำหรับฝึกจิตให้เป็นสมาธิ
     
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ...โพสต์แรก น่าเชื่อถือ

    ....โพสต์สองบอกว่า "สิ่งที่จะกำจัดนิวรณ์ 5 ให้หมดไปคือการวิปัสสนา ไม่ใช่สมาธิ.." ไม่ถูก นิวรณ์ 5 หมดไปเมื่อ จิตเป็นสมาธิ แล้วเข้าสู่ประฐมฌาน

    ....วิปัสสนา เกียวกับการเกิดญาณ

    .....การฝึกสมาธิ ต้องควบคู่กับการฝึกให้เกิดญาณ

    .....มีสติอย่างเดียวไม่มี สัมปชัญญะ ก็มีแต่พลังจิต ไม่มีพลังให้เกิดญาณต้องมีทั้ง สติและสัมปชัญญะ มีการเจริญ อนิจสัญญา มีการเจริญ อนัตสัญญา ควบคู่กันไปครับ
     
  6. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    เคยได้ยิน ประโยคที่ว่า "สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน" เพราะฉนั้นควรทั้งกิน ทั้งทา ส่วนใครจะชอบแบบใด ก็ไม่ผิด ถ้าจิตเป็นสมาธิได้ ก็ถือว่าดี
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ต้องเข้าไปศึกษาจากตัวงานวิจัย บางทีการนำเสนอดูจะเป็นผลดี แต่การนำไปใช้ก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง


    กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ : ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    (EFFECTS OF BUDDHISM PRAY AND ANAPANASATI MEDITATION ON STRESS IN CHULALONGKORN UNIVERSITY STUDENTS)
    อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: รศ.ดร.ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์, 97 หน้า.



    วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-21 ปี ทั้งหมดจำนวน 60 คนทำแบบวัดความเครียดสวนปรุงเพื่อคัดเลือกนิสิตที่มีคะแนนระดับความเครียดตั้งแต่ 24 ถึง 61 คะแนน ซึ่งมีความเครียดในระดับปานกลางถึงเครียดสูง เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ และทำการคัดเลือกแบบจับคู่ (Matched group) ในการจัดเข้ากลุ่มสวดมนต์และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ กลุ่มละ 30 คน ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง NeXus-10 โดยจะทำการวัดเป็นรายบุคคล ก่อนทำการสวดมนต์ และทำสมาธิแบบอานาปานสติ ให้ผู้ทำการทดลองนั่งพัก 5 นาทีแล้ววัดคลื่นสมองขณะพัก จากนั้นเริ่มทำการสวดมนต์ในกลุ่มสวดมนต์ และทำสมาธิในกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ วัดคลื่นสมองทุก 5 นาทีเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นทำการทดสอบความเครียดหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม ด้วยค่าทีรายคู่(Paired t-test) และ การทดสอบแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีของแอลเอสดี

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. หลังการทดลองของกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มทำสมาธิแบบอานาปานสติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    2. ค่าเฉลี่ยของคลื่นสมองอัลฟ่า และเบต้า ภายในทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองในนาทีที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 และหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคลื่นสมองอัลฟ่าในกลุ่มสวดมนต์เริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 5-10 เป็นต้นไป และคลื่นอัลฟ่าในกลุ่มทำสมาธิเริ่มแตกต่างสูงขึ้นในนาทีที่ 0-5 เป็นต้นไป

    สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสวดมนต์ และการทำสมาธิแบบอานาปานสติมีผลทำให้ลดระดับความเครียดลงได้ โดยการสวดมนต์สามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีที่ 5 เป็นต้นไป ส่วนการทำสมาธิแบบอานาปานสติสามารถผ่อนคลายความเครียด(คลื่นอัลฟ่า)ได้ตั้งแต่นาทีแรกจนถึงนาทีที่ 5

    คำสำคัญ : การสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา/การทำสมาธิแบบอานาปานสติ/ความเครียด

    และ
    ซึ่งต้องเข้าไปแปรผลจากงานวิจัยฉบับเต็มว่า study design เป็นอย่างไร?

    คงแปรตามบทคัดย่อได้เพียง
    ๑. ทั้งการสวดมนต์...(ไม่ทราบว่าสวดบทอะไร) และ สมาธิโดยอานาปานสติ ลดความเครียดระดับกลางและเครียดระดับสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังปฏิบัติ 30นาที โดยใช้แบบทดสอบวัดความเครียดสวนปรุง ในกลุ่มนักศึกษาชาย-หญิง

    ๒. ระหว่างสวดมนต์ และ ทำสมาธิโดยอานาปานสติ ทำให้คลื่นสมองอัลฟ่า เบต้า ลดลง(ซึ่งเป็นคลื่นสมองปกติในเวลาทำงาน ไม่ใช่คลื่นสมองเครียด และถ้าทำสมาธิดีคลื่นสมองจะเป็นคลื่นคอสมิคคล้ายคลื่นเดลต้า) เพียงการทำสมาธิทำให้คลื่นสมองราบเรียบได้เร็วกว่าการสวดมนต์

    ดังนั้นจากงานวิจัยนี้ ถ้านำมาใช้ประยุกต์ จะกลายเป็นว่าควรทำสมาธิแบบอานาปานสติ ควบคู่กับการสวดมนต์เพราะคลื่นสมองปรับได้เร็วใน 5นาทีแรกโดยสมาธิแล้วคงตัวจากการสวดมนต์ ไม่ใช่ไปแปรผลว่าการสวดมนต์ก่อนนั่งสมาธิจำเป็นอย่างยิ่ง และการไปวิจารณ์ว่าจิตซัดส่ายจากนิวรณ์ไม่ควรนำมาอธิบายในการศึกษานี้ เว้นแต่ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยอื่นมาอ้างอิงจึงจะนำมาอธิบายได้

    ถ้าจะทำ น่าจะ design วิจัยเป็น Cross over ใช้ประชากรเดียวกัน ไม่ต้องไปทำ Pair t-test ทำแบบสวดมนต์ก่อนทำสมาธิ กับทำสมาธิก่อนสวดมนต์ หรือ ทำควบคู่กันไปอะไรจะให้ผลดี ไม่ก็ศึกษาช่วงเช้ามืด กับ ก่อนนอน

    โดยรวมของงานวิจัยใช้ได้ สำหรับเรียนปริญญาโท ในการอธิบายผลจากการสวดมนต์กับสมาธิอานาปานสติ แต่การประยุกต์ใช้ไม่มีเพราะอยู่ในวงแคบ คือ กลุ่มนักศึกษาวัยเรียน ระยะการศึกษาสั้น วิธีการเฉพาะอานาปานสติ จะไปเหมารวมสมถกรรมฐานวิธีอื่นไม่ได้

    โดย คุณ WISH ตามลิงค์ข้างล่างครับ

    รู้ไหมว่าระหว่างสวดมนต์ กับนั่งสมาธิได้ผลดีต่างกันอย่างไร - วิทยาศาสตร์ทางใจ - ธรรมะสร้า <----- กดที่สีน้ำเงินครับ

    ปล.ฝากให้ดู Acknowledge social self ,Adopt Perspective,
    Study design,Collect data ,Analysis data ,Interpret data
    และ ก็ Inform others.(Neuman,W.R.,2006)
    นี่คือ ขั้นตอนการวิจัย ถ้าแปรไม่ออกก็
    ให้ดู ขอบเขตวัตถุประสงค์ วิธีการทดลอง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
    กระบวณการแปรผล การสรุปผลของนักวิจัย

    หรืออ่านบทความที่เขียนโดย คุ​ณ WISH 26/3/2014
    ตัวสีน้ำเงิน เชิญสมาธิ
    ทุกท่านพิจารณาเองได้ครับ ส่วนตัวยังไม่มีความเห็นใดๆ
    หวังว่าสมาชิกเมื่อได้อ่านแล้วจะเข้าใจอะไรได้มากขึ้นนะครับ (^_^)
     

แชร์หน้านี้

Loading...