มิลินทปัญหา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 26 ธันวาคม 2009.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    [​IMG]


    มิลินทปัญหา
    ฉบับ ธัมมวิโมกข์ รวบรวมโดย วัฒนไชย


    เนื้อหาที่อ่าน ดังนี้
    ๑. บุพพโยค คือเรื่องเบื้องต้นก่อนที่จะถามปัญหา
    ๒. มิลินทปัญหา เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถาม ปัญหาชุดนี้มี ๗ วรรค

    ชื่อไฟล์

    อนุโมทนากถา อ่านโดย Hanashi
    นมัสการพระรัตนตรัย ของ พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ อ่านโดย Kob
    เรื่องเบื้องต้น อ่านโดย บุญญสิกขา , Kob
    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑ อ่านโดย Kob
    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๒ อ่านโดย บุญญสิกขา
    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๓ อ่านโดย Kob

    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๔ อ่านโดย บุญญสิกขา
    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๕ อ่านโดย Kob
    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๖ อ่านโดย บุญญสิกขา

    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๗ อ่านโดย Hanashi
    <!-- google_ad_section_end -->

    ***************************************************​


    อนุโมทนากถา

    สาเหตุที่ "มิลินทปัญหา" จะมาปรากฏแก่สายตาบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายนั้น ประการแรกก็คือว่า
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ได้เคยสนทนาปรารภถึงเรื่องนี้ ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอ
    ทั้งที่วัดท่าซุงหรือที่บ้านสายลม กรุงเทพฯ

    อีกประการหนึ่ง ผู้เขียนเองก็ไม่เคยคิดจะทํามาก่อน พอดีเมื่อประมาณต้นปี ๒๕๓๔ พระครูใบฎีกาสมพงษ์ ปรารภว่าขอให้ช่วยนําเรื่อง "มิลินทปัญหา" ลงใน "ธัมมวิโมกข์" สักหน่อย ผู้เขียนก็รับปากและเริ่มจัดทํา โดยมี พระอาจินต์ และ พระมหาถวัลย์ เป็นผู้ร่วมจัดทําด้วย โดยมี พระครูปลัดอนันต์ พระครูสมุห์พิชิต (โอ) ตลอดถึงเพื่อนพระภิกษุภายในวัดท่าซุง ต่างก็ช่วยกันสนับสนุนเป็นอย่างดี

    สําหรับหนังสือรวมเล่มนี้มี พระสมปอง พร้อมทั้งคณะ และ คุณดรุณ พรหมคีรี เป็นผู้ช่วยจัดพิมพ์ต้นฉบับด้วย
    เครื่องคอมพิวเตอร์ และมี คุณละเมียด (ละไม) เขมาสวิน เป็นผู้ประสานงานทางโรงพิมพ์ ส่วน คุณอโนชา นาคสวัสดิ์ และ คุณสนิท อารยศิริกุล ได้ช่วยเหลือบริการ และจัดซื้อในทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์

    ขอย้อนกล่าวต่อไปอีกว่า บังเอิญผู้รวบรวมมีหนังสือมิลินทปัญหา ฉบับของ ส.ธรรมภักดี และ ฉบับพิสดาร อยู่แล้ว จึงได้เริ่มเรียบเรียงลงในธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๒๒ เดือนเมษายน ๒๕๓๔ เป็นตอนแรก โดยใช้หนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าวนี้ เป็นต้นฉบับในการเรียบเรียง และ อาศัย อธิบายมิลินทปัญหา ของ วศิน อินทสระ และหนังสือ "ศัพท์ศาสนา" ของ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ กับ ปทานุกรม ไทย บาลี อังกฤษ สันสฤต อีกทั้งตําหรับตําราของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อฯ มาประกอบคําอธิบายด้วย

    ผลปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของญาติโยมพุทธบริษัทเป็นอันมาก มีหลายท่านที่ปรารภว่าให้จัดพิมพ์รวมเล่มด้วย จึงทําให้ผู้เขียนมีกําลังใจยิ่งขึ้น เพราะการจัดทํานั้นก็ไม่ใช่ของง่าย ก่อนจะพิมพ์ต้องตรวจสํานวนระหว่างสองฉบับด้วยกันก่อน โดยเฉพาะบางคําที่อ่านแล้วเข้าใจยาก ก็จะใช้ถ้อยคําที่เข้าใจง่ายขึ้น บางสํานวนที่ยืดยาว ก็จะรวบรัดสํานวนให้อ่านง่ายขึ้น โดยรักษาเนื้อความเดิมไว้มิให้เสียหาย

    ส่วนคําที่เป็นภาษาบาลี ก็จะวงเล็บให้ทราบไว้ทันที และบางปัญหาจะเพิ่มเติมคําอธิบาย ไปบ้างหรือบางปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันหลายปัญหา ผู้รวบรวมก็จะนํามาสรุปความให้ทราบในตอนท้ายของปัญหานั้น สําหรับบางปัญหาที่เอ่ยชื่อของบุคคลตัวอย่างในพระสูตร แต่ในต้นฉบับดังกล่าวไม่มี ผู้รวบรวมก็ไปค้นมาจาก " พระไตรปิฎก" ที่ญาติโยมทั้งหลายซื้อมาถวายวัดนั่นแหละ แล้วนํามาย่อเนื้อความให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง เช่นเรื่อง พระเจ้าสีวิราช และ มาตังคฤาษี
    เป็นต้น

    อีกประการหนึ่ง ที่ทําให้หนังสืออ่านง่ายยิ่งขึ้น นั่นก็คือการจัดพิมพ์เป็น ๒ คอลัมน์ใช้อักษรตัวเอนเป็นคําถาม สลับกับตัวธรรมดาที่เป็นคําตอบ และตัวดําจะเน้นที่มีความสําคัญ ส่วนการที่มีย่อหน้าและเว้นวรรคบ่อย ก็เพื่อมิให้เนื้อความแน่นเกินไป ทําให้ดูโปร่งตา ช่วยให้อ่านง่ายยิ่งขึ้น

    แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บางปัญหาอาจจะมีข้อคิดลึกลับซับซ้อน ท่านผู้อ่านก็ควรจะย้อนอ่านหลายๆ ครั้ง เพื่อความ
    เข้าใจ พร้อมกับใช้ความคิดพิจารณาในเนื้อความนั้นไปด้วย ก็จะช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน และได้สาระความรู้จาก
    หนังสือเล่มนี้ยิ่งขึ้น

    เนื่องจาก พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก การตั้งปัญหาถามล้วนเป็นปัญหาที่ยากที่ผู้อื่นจะตอบได้ บางปัญหาท่านถามวกวนเพื่อหาเป้า แต่ พระนาคเสน ท่านก็เฉลยปัญหาได้ทุกข้อพร้อมทั้งยกอุปมาขึ้น โดยอาศัยธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว เปรียบเทียบได้อย่างแจ่มแจ้ง

    คณะผู้จัดทําเห็นว่าเรื่องนี้มีประโยชน์มาก จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเกิดปัญญา ความรอบรู้ในสภาวะธรรมที่ละเอียดสุขุม ทั้งเป็นการเสริมสร้างปฏิภาณ ในด้านการสนทนาธรรมกับผู้อื่นอีกด้วย โดยเฉพาะหลวงพ่อท่านเคยกล่าวไว้ว่า พระที่จะเป็นนักเทศน์ที่ดีนั้นจะต้องผ่านการอ่าน "มิลินทปัญหา" มาเสียก่อน

    ฉะนั้น "มิลินทปัญหา" เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แล้วแต่งอธิบายธรรมะโดยพระอรรถกถาจารย์มีนามว่า พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี ได้จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยจาก ฉบับพิสดาร ของ
    หอสมุดแห่งชาติ และฉบับของ ส.ธรรมภักดี คณะผู้จัดทําจึงขออนุญาตนํามาลงให้บรรดาสมาชิกของ "ธัมมวิโมกข์"
    ได้อ่านกัน

    แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้รวบรวมก็ยังเริ่มฝึกหัดอยู่ อาจจะไม่เชี่ยวชาญในเนื้อความบางคํา ถ้าหากมีข้อผิดพลาดสิ่งใด ต้องกราบขออภัยท่านผู้รู้ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ถ้าจะกรุณาทักท้วงในข้อผิดพลาดนั้น ก็ขอน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง จึงขอขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าด้วย

    ผู้รวบรวมจึงขอย้ำว่า หนังสือรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" นี้ เป็นการรวบรวมจาก ธัมมวิโมกข์ ที่ได้ลงไว้เป็นตอนๆ การจัดพิมพ์จึงอาจจะไม่เหมือนหนังสือทั่วไป จึงขอให้ถือว่า "มิลินทปัญหา" ฉบับรวมเล่มของ "ธัมมวิโมกข์" นี้ เป็น "ฉบับพิเศษ" คือว่าจัดทําขึ้นมาเพื่อให้อ่านเป็นการภายในเฉพาะสมาชิกเท่านั้น มิได้จําหน่ายเป็นสาธารณะทั่วไป ถ้าท่านผู้อ่านต้องการจะอ่านฉบับมาตรฐาน ก็โปรดหาอ่านตามที่ผู้รวบรวมระบุไว้แล้วนั้น

    รวมความว่า "มิลินทปัญหา" ได้ดําเนินเรื่องมาเพียงครึ่งเรื่องเท่านั้น ขณะที่จะรวมเล่มได้ลงไปถึงตอนที่ ๑๗ ปรากฏว่าเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ๒๕๓๕ (ก่อนมรณภาพเพียง ๒ เดือนเท่านั้น) พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ท่านปรารภไว้ก่อนมรณภาพ

    เมื่อคราวไปสอนพระกรรมฐานที่ "บ้านสายลม" มีผู้ถวายเงินแก่ท่านไว้ จํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าจัดพิมพ์หนังสือรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" จึงมีบัญชาให้ "คณะผู้จัดทําธัมมวิโมกข์" เป็นผู้รวบรวม "ธัมมวิโมกข์" ฉบับรวมเล่ม "มิลินทปัญหา" นี้ หลังจากรับทราบคำสั่งท่านแล้ว เมื่อจะกราบลาท่านออกมาฉันเพล ท่านก็ได้กล่าวขึ้นอีกว่า

    "...เขาให้ข้ามาแสนหนึ่ง จะพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าไม่พอข้าก็ต้องออกเองละวะ..."

    หลังจากนั้นพวกเราจึงได้ปรึกษากันว่า ควรจะรีบจัดทําเพื่อให้ทันตามความประสงค์ของท่านภายในสิ้นปีนี้ จึงได้รีบจัดทําต้นฉบับส่วนที่เหลือทันที ปรากฏว่ารวมเล่มทั้งหมดได้ ๓๖ ตอน ก็พอดีหลวงพ่อมรณภาพเสียก่อน เป็นอันว่า คณะผู้จัดทําขออนุโมทนาในเจตนาที่เป็นมหากุศลของ คุณนวรัตน์ ธนบัตรชัย ไว้ ณ โอกาสนี้ ที่เป็นผู้ริเริ่มเป็นปฐมฤกษ์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท

    หากผู้ใดต้องการจะร่วมสมทบทุนก็บริจาคได้โดยตรงกับ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสองค์ใหม่ เพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดแสงสว่าง คือความรุ่งเรืองแห่งปัญญา เป็นการช่วยกันเทิดทูนคําสนทนาของพระมหาเถระทั้งสองไว้ คือ พระนาคเสนเถระ และ พระมิลินทเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์

    ท่านทั้งสองได้ยุติการเวียนว่ายตายเกิดไปนานแล้ว พวกเราเหล่าพุทธบริษัทเมื่อได้อ่านคำสนทนาพาทีของท่าน ก็ยิ่งทําให้เกิดสติปัญญามากขึ้น ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้ก็จะได้รู้หรือท่านที่มีพื้นความรู้มาบ้างแล้ว ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจ ความแจ่มแจ้ง ความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อันเป็นคําสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดามากขึ้น

    หนังสือมิลินทปัญหานี้ จึงเหมือนกับประทีปส่องทางให้ทุกท่านที่อ่านแล้ว จะสามารถมองเห็นหนทางที่จะเดินยิ่งขึ้น ในเมื่อทุกคนปรารถนาเพื่อพระนิพพาน ในอวสานอันเป็นถ้อยคำนี้ ขอความปรารถนาของท่านทั้งหลาย ที่ได้ตั้งไว้ด้วยความอุตสาหะพยายาม จงสําฤทธิ์ผลโดยง่ายอย่างฉับพลัน เช่นเดียวกันกับพระมหาเถระทั้งสองผู้เป็นเจ้าของเรื่องเถิด

    ท่านผู้อ่านและผู้ร่วมสร้าง "ปัญญาบารมี" ในครั้งนี้ทุกท่าน การที่หนังสือเล่มนี้สําเร็จลงได้เพราะแรงบันดาลใจของท่านทั้งหลาย อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นองค์ประธาน ฉะนั้น พวกเราเหล่าพุทธบริษัทที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันในครั้งนี้ จะตั้งสัตยาธิษฐานไว้อย่างนี้ก็ได้ นั่นก็คือว่า...

    "ขอให้มีปัญญาหาที่สุดมิได้ เช่นเดียวกันกับท่านทั้งสอง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานนี้เทอญ..."
    "วัฒนไชย"

    ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖


    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=44153[/MUSIC]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2009
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระนาคเสน มีความสำคัญอย่างไรในพระพุทธศาสนา

    พระนาคเสนเถระ ตามคัมภีร์มิลินทปัญหากล่าวว่า

    ท่านเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่ง มีปัญญา มีคุณธรรม มีความสามารถในการโต้ตอบ และแก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์ได้ ทำให้พระยามิจลินท์ซึ่งเป็นเสี้ยนหนามของศาสนา เลื่อมใสในคำสอนพระพุทธศาสนา และทราบถึงความ "รู้ดี - รู้ชั่ว "


    เรียนเชิญญาติธรรมผู้สนใจใฝ่ธรรม
    ติดตามรับฟังเสียงอ่านมิลินทปํญหา

    คลิ้กที่นี่ เร็วๆ นี้






     

แชร์หน้านี้

Loading...