พุทธการกธรรม ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย plaspirit, 5 กันยายน 2016.

  1. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    [​IMG]

    พุทธการกธรรม ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

    พระโพธิสัตว์ ทุกพระองค์ หลังจากที่ ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรกว่า ท่านจะได้เป็น พระพุทธเจ้า แน่แท้ ในอนาคต แล้ว ก็จะพิจารณา พุทธการธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) ซึ่งพระโพธิ์สัตว์ องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญมาแล้ว ว่า มีอะไรบ้าง และจะต้อง บำเพ็ญ หรือ ปฏิบัติ ต่อข้อธรรม แต่ละข้อ อย่างไร

    พระโพธิ์สัตว์ จะพิจารณา พุทธการกธรรม ทีละข้อ ๆ เมื่อพิจารณาจบ แต่ละข้อ ก็จะหา ต่อไปว่า ยังมีธรรมข้ออื่น ที่ต้องบำเพ็ญ อีกหรือไม่ ถ้าพบว่า ยังมีอีก ก็จะพิจารณา ต่อไปอีก จนครบทั้งหมด ๑๐ ข้อ ซึ่งก็คือ บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี นั่นเอง

    พุทธการธรรม ที่พระโพธิสัตว์ พิจารณา และ เห็นว่า เป็นธรรมที่ ต้องบำเพ็ญ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้

    ๑. ทานบารมี ในข้อนี้ พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ ทานบารมี เหมือนอย่าง หม้อน้ำ ที่มีน้ำเต็ม แล้วคว่ำลง หม้อน้ำนี้ ย่อมคายน้ำออก จนหมดสิ้น ฉันใด เราก็พึงให้ทานแก่ยาจก โดยไม่มีส่วนเหลือฉันนั้น

    ๒. ศีลบารมี ในข้อนี้ พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ ศีลบารมี เหมือนอย่าง จามรี ชื่อว่า จามรี ย่อมไม่อาลัยแม้ชีวิต รักษาพวงหางของตน ฉันใด เราก็พึง รักษาศีล โดยไม่อาลัยแม้ชีวิตฉันนั้น

    ๓. เนกขัมมบารมี ในข้อนี้ พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ เนกขัมมบารมี เหมือนอย่าง นักโทษ ที่ถูกขัง และได้รับทุกข์ทรมาน ในเรือนจำ เป็นเวลานาน เขาผู้นั้น ย่อมไม่อยากอยู่ ในเรือนจำ ต้องการพ้นออกไปฉันใด เราก็พึงเห็น ภพทั้งปวง เป็นเสมือน เรือนจำ อยากพ้นไปจากภพทั้งปวง ด้วยการมุ่งสู่เนกขัมมะ ฉันนั้น

    ๔. ปัญญาบารมี ในข้อนี้ พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี เหมือนอย่าง พระภิกษุ พระภิกษุ เมื่อออกบิณฑบาต โดยไม่เลือก ตระกูล ว่าจะมีฐานะ สูง ต่ำ หรือ ปานกลาง ย่อมได้อาหาร เพียงพอแก่อัตภาพ ฉันใด เราก็พึง เข้าไปหา บัณฑิตทุกท่าน เพื่อถามปัญหา ฉันนั้น

    ๕. วิริยะบารมี ในข้อนี้ พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ วิริยะบารมี เหมือนอย่าง พญาราชสีห์ ชื่อว่าพญาราชสีห์ ย่อมมีความเพียร ไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถ ทุกเมื่อ ฉันใด เราก็พึงมี ความเพียรอันมั่นคง ในภพทั้งปวง ฉันนั้น

    ๖. ขันติบารมี ในข้อนี้ พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ ขันติบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนได้ ต่อสิ่งของ ที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะ สะอาด หรือ สกปรก ฉันใด เราก็พึงเป็น ผู้อดทน ต่อ การยกย่องและการดูหมิ่น ของคนทั้งปวงได้ ฉันนั้น

    ๗. สัจจบารมี ในข้อนี้ พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ สัจจบารมี เหมือนอย่าง ดาวประกายพรึก ชื่อว่าดาวประกายพรึก ย่อมไม่หลีกออกไปทางอื่น โคจรอยู่เฉพาะ ในทางของตน ฉันใด เราก็พึง ไม่ก้าวล่วงจากวิถีในสัจจะ พูดแต่ความจริง ฉันนั้น

    ๘. อธิษฐานบารมี ในข้อนี้ พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี เหมือนอย่าง ภูผาหิน ชื่อว่า ภูผาหิน ย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม ฉันใด เราก็จงเป็น ผู้ตั้งมั่นไม่คลอนแคลน ในอธิษฐานบารมี ฉันนั้น

    ๙. เมตตาบารมี ในข้อนี้ พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ เมตตาบารมี เหมือนอย่าง น้ำ ชื่อว่าน้ำ ย่อมทำให้ รู้สึก และ ชำระฝุ่นผง ทั้งแก่ คนดี และ คนไม่ดี เสมอกัน ฉันใด เราก็พึง แผ่เมตตา ทั้งแก่ คนที่ทำประโยชน์ และ คนที่ไม่ได้ทำประโยชน์ เสมอกัน ฉันนั้น

    ๑๐. อุเบกขาบารมี ในข้อนี้ พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมวางเฉย ไม่รู้สึก ยินดียินร้าย ต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะ สะอาด หรือ ไม่สะอาด ฉันใด เราก็พึงเป็น ผู้วางเฉย มีใจเสมอกัน ทั้งใน ความสุข และ ความทุกข์ ฉันนั้น

    เมื่อพิจารณา จนเห็น พุทธการกธรรม ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ แล้ว พระโพธิสัตว์ ก็รู้ว่า ธรรมทั้งหลาย ที่พระโพธิสัตว์ องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญ มาแล้ว เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า มีเพียงเท่านี้ ไม่มีข้ออื่นอีก และ ธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีอยู่ แม้ในอากาศ หรือในทิศใดๆ เลย

    "แต่ว่าตั้งอยู่ในใจของเราเท่านั้น เราพึงตั้งใจมั่นในบารมีเหล่านี้ทั้งหมด"

    พระโพธิ์สัตว์ จะพิจารณา พุทธการกธรรม ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ทั้ง อนุโลม และ ปฏิโลม คือ จากต้นไปยังปลาย และ จากปลายย้อนกลับมายังต้น

    เมื่อพระโพธิสัตว์ พิจารณา อยู่อย่างนี้ อยู่หลายรอบ

    แผ่นดินก็ไหว เกิดเสียงกัมปนาท

    มนุษย์และเทวดาที่อยู่ในที่นั้น ต่างพากันมา บูชา พระโพธิสัตว์

    ด้วยดอกไม้ และของหอม เป็นต้น กล่าวสดุดี พระโพธิ์สัตว์ว่า

    "วันนี้ ท่านปรารถนา ความปรารถนา อันยิ่งใหญ่

    ขอ ความปรารถนานั้น จงสำเร็จ แก่ท่าน"

    ด้วยความปราถนาที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า

    เราข้ามได้แล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามได้ด้วย

    เราพ้นแล้ว จะให้ผู้อื่นพ้นด้วย

    เราตรัสรู้แล้ว จะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย

    [​IMG]

    ที่มา: พุทธการกธรรม ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2016
  2. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    อุเบกขาบารมีไม่แน่ใจว่าเป็นเหมือนแผ่นดินหรือตราชั่งนะครับ

    อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง , ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม และดำรงอยู่ในธรรม ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ

    อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบความวางเฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2016
  3. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    บุพกรรมตถาคต 1

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้โคดมทรงสำราญพระอิริยาบถในละแวกป่าใกล้สระอโนดาตได้ตรัสบุพกรรมแด่ท่านพระอานนท์ว่า........

    "เราได้ถวายผ้าเก่าที่ใช้แล้ว แก่ ภิกษุผู้ทรงธุดงค์คุณ ถืออยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่ง

    ตังจิตอธิษฐานความเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก บุพพกรรมนั้น ยังเราให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ "


    ที่มา: คุณนักรบเงา
     

แชร์หน้านี้

Loading...