พิธีเปรตพลีโยคะกรรม ( ซิโกว หรือ เอี่ยมเข้า หรือ เทกระจาด หรือ ทิ้งกระจาด )

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 8 กรกฎาคม 2010.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พิธีเปรตพลีโยคะกรรม ( ซิโกว หรือ เอี่ยมเข้า หรือ เทกระจาด หรือ ทิ้งกระจาด ) เป็นพิธีเปิดประตูนรกทั้ง 18 ขุม เรียก สัตว์นรก เปรต อสูรกาย วิญญาณ ทั้งหลาย มารับส่วนบุญสิ่งของ รวมถึง เรียก สัพภเวสี ที่ยังวนเวียนในโลกมนุษย์มารับด้วย เป็นการโปรดสัตว์นรก กิมกังในพิธี จะใช้เสกและเปิด ประตูโลกของคน และ โลกวิญญาณในขณะเดียวกัน และจะใช้วัชระและมนตราไว้ปราบกำราบ พวกวิญญาณที่มาก่อกวนพิธีด้วย เจงงัง เอาไว้สั่นเป็นจังหวะ เรียก ผี จากนรกออกมารับ โดยจะจัดเป็นประเภท เป็นหมวดหมูในการเดินมารับ เช่น ผีที่เคยเป็นทหาร ผีที่เคยเป็นพ่อค้า เป็นต้น มารับ ในพิธีจะมี ไตซือเอี๊ยะ ( กวนอิมจำแลง ) เป็นยักษ์โพธิสัตว์ คอยจัดและควบคุมดูแลภูตผีที่มารับให้เป็นระเบียบและไม่วุ่นวาย ส่วนอีกพิธีคือ ม่งซัว เหมือนกับเอี่ยมเข้าแต่สั้นกว่า แต่จุดประสงค์คือเหมือนกัน ต่างกันที่มนตราและมีท่ามุทราเท่านั้น

    ส่วนรายละเอียดของมนตรา และท่ามุทรา บูรพจารย์ ที่ท่านจะถ่ายถอดให้กับศิษย์แค่บางคนเท่านั้น และจะต้องปฏิบัติตามข้อห้ามอย่างเคร่งครัด และสามารถถ่ายทอดเฉพาะหมู่ศิษย์ที่เป็นพระสงฆ์จีนและวัชระยาน (ตันตระ) เท่านั้น พิธีโยคะตันตระ (เปรตพลีโยคกรรม)
     
  2. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ถือกันว่าชีวิตทุกชีวิตมีค่าเสมอกัน ชีวิตของสรรพสัตว์ทุกชีวิตไม่ว่าจะเกิดในภูมิมนุษย์หรือสัตว์เดรฉาน ย่อมต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารทั้งสิ้น การเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ตามย่อมเป็นไปตามกรรมที่เราก่อไว้ แม้เราไม่อาจฝืน แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ได้ด้วยตัวเราเอง การดำรงชีวิตโดยไม่เบียดเบียนจึงเป็นทางที่ประเสริฐที่สุด พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเน้นหนักให้ ผู้บำเพ็ญงดจากการนำเนื้อผู้อื่นมาบริโภค เพราะการฆ่าเป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต สัตว์ต่างๆ ครั้งหนึ่งก็คือมนุษย์ที่รับกรรมไปเกิดเป็นสัตว์การบริโภคเนื้อผู้อื่นจึงเป็นการก่อเวรไม่สิ้นสุด พิธีปล่อยชีวิตสัตว์จึงเป็นการสั่งสมกรุณาจิตให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น

    จากพระสูตร ในพระไตรปิฏกจีน ชื่อเปรตมุข-อัคนีชวาลยศรการ-นาม-ธารณีสูตร ได้กล่าวว่า ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับแสดงพระธรรมเทศนา ณ นิโครธารามวิหาร เมืองกบิลพัสดุ์ พระอานนท์เถระเจ้า พุทธอนุชาได้หลีกออกไปเข้าญาณสมาบัติ อยู่ที่โคนต้นไม้ใหญ่ ขณะที่พระอานนท์บำเพ็ญญาณปริเวทธรรมอยู่นั้น ได้มีอสูรกายตนหนึ่งปรากฏขึ้นเบื้องหน้า บอกชื่อว่า อัคนีชวาลมุขเปรต หรือเอี่ยมเข้า รูปร่างสูงใหญ่หน้าเขียว แสยะเขี้ยว ตามตัวมีแต่หนังหุ้มกระดูก ลำคอเล็กเท่ารูเข็ม มีเปลวไฟโชติช่วงออกจากปากเป็นนิจ ได้กล่าวกับพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ เราได้รับความทุกข์เวทนาอย่างแสนสาหัสเพราะความหิวกระหาย จะกินก็ไม่ได้แต่ทุกขเวทนาเหลือหลาย ท่านผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อุดมด้วยความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ขอพระเถระท่านอุทิศสิ่งอุปโภคบริโภคเป็นไทยทานแก่ฝูงเปรตด้วยเถิด ถ้าท่านไม่กระทำในกาลอีก ๓ วัน ก็จะถึงซึ่งแก่มรณะ ว่าแล้วอสูรกายตนนั้นก็หายไป พระอานนท์เกิดความสะดุ้งกลัว เข้าเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลให้ทรงทราบแลขอพระพุทธองค์ เป็นที่พึ่งพระพุทธองค์

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ในอดีตเมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ในสำนักพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์ได้ตรัสเทศนาถึงพิธีโยคเปรตพลี เพื่อโปรดเหล่าเปรตและสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น อัคนีชวาลมุขเปรตตนนั้นคือ พระอวโลกิตเตศวรโพธิสัตว์ (พระกวนอิม) ผู้มีปณิธานที่จะโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ได้นิรมิตกายมาเพื่อเป็นอุบายให้พระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพิธีโยคเปรตพลีอุทิศแก่พระอานนท์ เพื่อโปรดสัตว์ไตรภูมิเป็นปฐม และพิธีนี้ได้เป็นแนวทางปฏิบัติของนิกายมนตรยาน เพื่อแสดงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ต่อเหล่าสัตว์โลกทั้งหลาย
    พิธีโยคะตันตระ (เปรตพลีโยคกรรม)

    พิธีเปรตพลีโยคกรรม (หยู่แคเอี่ยมเข้า) หรือปั้งเอี่ยมเข้า นี้ เป็นพิธีทางพระพุทธศาสนานิกายมนตรยาน ซึ่งเรียกพิธีกรรมในนิกายว่าโยคกรรม ในการประกอบพิธีจะต้องจัดมณฑลพิธีและที่บูชาเป็นสามส่วนคือ

    ที่บูชาแรกเป็นที่ประดิษฐานเครื่องบูชาพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานพร้อมด้วย เหล่าพระโพธิสัตว์และพระธรรมบาล



    ที่บูชาที่สองเป็นที่บูชามหาโพธิสัตว์ (ไต่สือเอี้ย) นิยมทำรูปพระมหาโพธิสัตว์ด้วยกระดาษมีขนาดใหญ่มากบางแห่งสูงเท่าตึกสามชั้น พระมหาโพธิสัตว์หรือไต่สือเอี้ย คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือพระกวนอิมโพธิสัตว์ที่แบ่งภาคลงมาปรากฏกายต่อพระอานนท์ ณ นิโครธารามวิหาร เมืองกบิลพัสดุ์ ตามเรื่องในพระสูตรจากพระไตรปิฎกจีน ที่บูชาวิญญาณผู้ล่วงลับ เป็นที่เซ่นไหว้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ ทั้งที่มีญาติและไร้ญาติซึ่งบุตรหลาน ญาติมิตรหรือประชาชนทั่วไปมาวางเครื่องเซ่นไหว้อุทิศให้

    พิธีเริ่มจากพระสงฆ์อัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นประธาน มีพระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอานนท์เถรเจ้า เป็นอาทิ จากนั้นพระสงฆ์จะเดินไปสวดพระพุทธมนต์ยังที่บูชาพระมหาโพธิสัตว์ และที่บูชาวิญญาณผู้ล่วงลับตามลำดับ จากนั้นพระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ เป็นผู้ประกอบพิธีเรียกว่า พระวัชรธราจารย์ หรือกิมกังเสี่ยงซือ จะขึ้นสู่อาสน์ประธานมณฑลพิธีเพื่อเริ่มประกอบพิธี โดยพระวัชรธราจารย์จะเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ พระวัชรธราจารย์จะสวมไวโรจนมาลาและมีพุทธชญานมงกุฏที่ด้านหน้า หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยพระพุทธบารมี แห่งองค์พระชินเจ้าทั้งห้า

    คือพระไวโรจนพุทธเจ้า, พระอักโษภยพุทธเจ้า, พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า, พระอมิตาภพุทธเจ้า, พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า, ทั้งห้าพระองค์

    การประกอบพิธีจะแบ่งเป็นสองภาคคือ ส่วนแรกประกอบพิธีถวายพุทธบูชา และส่วนที่สองเป็นพิธีโปรดสัตว์ เริ่มด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ชำระมณฑลพิธีให้บริสุทธิ์ด้วยพลังแห่งพระสัทธรรม ระหว่างประกอบพิธีพระวัชรธราจารย์จะใช้วัชรฆัณฏา คือ กระดิ่งวัชระ วัชรศาสตราและวัชรคธา คือเครื่องหมายรูปวัชระหรือสายฟ้าเป็นตัวแทนพระธรรม ซึ่งประดุจธรรมาวุธของพระโพธิสัตว์ ที่ใช้ในการปราบมาร คือกิเลสทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไปจากเหล่าสัตว์โลก และประกอบพิธีถวายเครื่องพุทธบูชาทั้ง ๖ อันได้แก่ ปุษปะคือดอกไม้ ธูปะคือเครื่องหอม อาโลกะคือประทีปโคมไฟ สุคนธะคือน้ำหอม ไนเวทยะคือเครื่องบูชาพลีกรรม และศัพทะคือเสียงดนตรีประโคม เป็นเครื่องบูชาแด่พระรัตนตรัย และอัญเชิญพระมหากรุณาบารมีแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มาเป็นธรรมพละเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์ ส่วนที่สองพิธีโปรดสัตว์นั้นจะเริ่มอัญเชิญพระกษิติครรภโพธิสัตว์ผู้ทรงมหาปณิธานในการโปรดสัตว์นรก พระยายมราชทั้ง ๑๐ ขุม และดวงวิญญาณ ทั้งหลายในภูมิทั้งหก คือเทพ, อสูร, มนุษย์, สัตว์เดรฉาน, เปรต, สัตว์นรก และรวมทั้งเหล่าพาหิรลัทธิ ให้มาชุมนุมเพื่อรับฟังพระสัทธรรม จากนั้นจึงอัญเชิญพระบารมีแห่งอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ คือ

    ๑. พระรัตนชัยตถาคต
    ๒. พระอภยังกรตถาคต
    ๓. พระวิปุลกายตถาคต
    ๔. พระสุรูปกายตถาคต
    ๕. พระประภูตรัตนตถาคต
    ๖. พระอมิตาภตถาคต
    ๗. พระโลกวีสตีรนเตชอีศวรประภาตถาคต

    ทั้งเจ็ดพระองค์ และประกอบมุทราคือการทำมือเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ และการเพ่งจิตยังสัตว์โลกทั้ง ๖ ในไตรภูมิ ที่ทนทุกข์ทรมานให้ยึดพระสัทธรรมเป็นดุจมหาธรรมนาวา ช่วยขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกขเวทนา ระหว่างพิธีพระสงฆ์จะโปรยข้าวสาร ทิพยวารี และขนม เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม และกุศลบุญ อันเป็นอาหารที่จะเหล่าวิญญาณหิวโหยต้องการ สุดท้ายพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ส่งวิญญาณของเหล่าสรรพสัตว์ไปยังสุขาวดี และอุทิศผลานิสงส์ในการประกอบพิธีให้แก่ผู้บำเพ็ญทาน



     

แชร์หน้านี้

Loading...