พระไตรปิฎกสอนเรื่องกสิณและกรรมฐาน40ไว้ตรงเล่มไหนหน้าไหนครับ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย romanov, 19 ตุลาคม 2010.

  1. romanov

    romanov Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมอยากอ่านเรื่องกสิณและกรรมฐาน40ครับ
    อย่างเช่นว่า กสิณสีขาว ให้ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง อะไรทำนองนี้
    และกรรมฐาน40แบบ มีอะไรอย่างไรบ้างอยากอ่านจากพระไตรปิฎกครับ
    ในพระไตรปิฎกสอนเรื่องกสิณและกรรมฐาน40ไว้ตรงเล่นไหนหน้าไหนครับ
    ขอบคุณครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    พระไตรปิฏกจะกระจัดกระจายอยู่มากครับ......ต้องดูในเชิงอรรถ...แล้วหาเอานะ...

    ส่วนที่ท่านทั้งหลายกล่าวถึงกัน.....จะนำมาจาก วิสุทธิมรรค ครับ......วิสุทธิมรรค เป็นคัมภีรย์ชั้นอรรถกถา โดย พระพุทธโฆสาจารย์มหาเถระ..ซึ่งมาแปลพระไตรจากภาษาสิงหล(ลังกา)เป็นภาษามคธ(อินเดียโบราณ)เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ ปีกว่าแก่ๆ ครับ......ซึ่งรวบรวมทั้งหมดที่กระจัดกระจายจากพระไตรปิฏกอีกที.....

    ซึ่งในตำราแบ่งตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา......ส่วนที่คุณถามจะอยู่ในส่วนของสมาธินิเทศทั้งหมดเลยครับ...

    ไปหาอ่านดูได้นะ.....เป็นตำราสำคัญของพระที่ท่านเรียนเปรียญธรรม.....และเป็นแบบแห่งกรรมฐานทุกสาย..ในเวลาต่อมา.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    [​IMG]


    มหาสกุลุทายิสูตร



    <CENTER>สูตรว่าด้วยสกุลุทายิปริพพาชก สูตรใหญ่ </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นปริพพาชกที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในปริพพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง หลายคนด้วยกัน เช่น อันนภารปริพพาชก วรตรปริพพาชก สกุลุทายิปริพพาชก และปริพพาชกที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ . ในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้เสด็จแวะ ณ อารามของปริพพาชกนั้น สกุลุทายิปริพพาชกทูลเชิญให้ประทับ ณ อาสนะที่ปูไว้ ตนเองนั่งบนอาสนะที่ต่ำกว่า แล้วเล่าถวายถึงข้อความสนทนากับสมณพราหมณ์ลัทธิต่าง ๆ ซึ่งประชุมกันในศาลาฟังความคิดเห็น ( ตามศัพท์ กุตูหลศาลา แปลว่า ศาลาตื่นข่าว แต่อรรถกถาแสดงไปในรูปว่า คนส่วนใหญ่ประชุมกันเพื่อจะฟังว่า ใครจะพูดอะไร ) ในวันก่อน ๆ ที่ว่า เป็นลาภของชาวอังคะ , มคธะ ที่มีสมณพราหมณ์เจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีคนรู้จัก มียศ เป็นเจ้าลัทธิ อันคนส่วนมากนับถือกันว่าเป็นผู้ดีงาม จำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์. แล้วระบุชื่อครูทั้งหกมีปูรณกัสสป เป็นต้น มีนิครนถนาฏบุตรเป็นที่สุดและพระสมณโคดม แล้วได้เกิดปัญหาว่า ในท่านเหล่านี้ ใครเป็นผู้ที่สาวกสักการะเคารพบูชาอาศัยอยู่.

    ๒. แล้วได้ทูลเล่าต่อไปว่า บางคนได้พูดถึงเจ้าลัทธิทั้งหกแต่ละคนว่า สาวกได้คัดค้านหาว่าปฏิบัติผิด ไม่แสดงความเคารพสักการะ แต่เมื่อกล่าวถึงพระสมณโคดมก็พากันสรรเสริญว่า ในขณะที่ทรงแสดงธรรมถ้าสาวกรูปใดไอ ก็จะมีเพื่อนพรหมจารีใช่เข่ากระตุ้นไม่ให้ทำเสียง จึงไม่มีเสียงจามเสียงไอจากสาวกของพระสมณโคดมในขณะที่ทรงแสดงธรรม. หมู่มหาชนประสงค์จะฟัง ก็จะได้ฟังตามพอใจ. แม้สาวกของพระสมณะโคดมที่บอกคืนสิกขาสึกออกไป ก็กล่าวสรรเสริญศาสดา สรรเสริญพระธรรม สรรเสริญพระสงฆ์ เป็นคนทำงานวัดบ้าง เป็นอุบาสกบ้าง สมาทานศึกษาในสิกขาบท ๕ ( ศีล ๕) พระสมณโคดมจึงเป็นผู้อันสาวกสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่อย่างนี้.

    ๓. ตรัสถามว่า ท่านเห็นสาวกของเราเห็นธรรมกี่อย่างในเราจึงสักการะเคารพ เป็นต้น. สกุลุทายิปริพากทูลว่า ๕ อย่าง คือพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ๑. มีอาหารน้อย พรรณนาคุณแห่งความเป็นผู้มีอาหารน้อย ๒. ถึง ๔ ( รวม ๓ ข้อ ) สันโดษด้วยจีวร ( เครื่องนุ่งห่ม), บิณฑบาต ( อาหาร ) และเสนาสนะ ( ที่นอนที่นั่งหรือที่อยู่อาศัย ) ตามมีตามได้ พรรณนาคุณแห่งความ+สันโดษนั้น ๆ ๕. เป็นผู้สงัด พรรณนาคุณแห่งความสงัด.

    ๔. ตรัสตอบชี้แจงพึงธรรม ๕ ประการที่สาวกเห็นแล้วสักการะเคารพ เป็นต้น ในพระองค์โดยละเอียดแล้วตรัสชี้ข้อธรรมอื่นอีก ๕ ข้อ คือ
    ๑. เห็นว่าทรงศีล
    ๒. เห็นว่าทรงแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่เพื่อไม่รู้ยิ่ง; มีเหตุ; มิใช่ไม่มีเหตุ; มีปาฏิหารย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหารย์
    ๓ . เห็นว่าทรงปัญญา
    ๔. เห็นว่าทรงตอบปัญหาเรื่องอริยสัจจ์ ๔ อย่างน่าพอใจ
    ๕. เราได้บอกปาฏิปทาแก่สาวกของเรา สาวกของเราปฏิบัติตามแล้ว ก็เจริญสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง, สัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ ) ๔ อย่าง , อิทธิบาท ( ธรรมะให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ อย่าง, อินทรีย์ ( ธรรมะอันเป็นใหญ่มีศรัทธา เป็นต้น ) ๕ อย่าง, พละ ( ธรรมะอันเป็นกำลัง ) ๕ อย่าง , โพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ) ๗ อย่าง, อริยมรรค ( ทางอันประเสริฐ ) มีองค์ ๘ , วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๘ อย่าง, <SUP></SUP> อภิภายตนะ ( อายตนะอันเป็นใหญ่ ) ๘ อย่าง ( มีความสำคัญในรูปภายในเห็นรูปภายนอกครอบงำรูปเหล่านั้น รู้เห็น เป็นต้น ), กสิณายตนะ ( อายตนะคือกสิณ<SUP> </SUP>) ๑๐ อย่าง ( มีปฐวีกสิณคือกสิณมีดินเป็นอารมณ์ เป็นต้น ) , ฌาน ๔ ( มีฌานที่ ๑ เป็นต้น ), รู้ว่ากายมีรูปไม่เที่ยง มีความแตกดับไปเป็นธรรมดา วิญญาณอาศัยเนื่องกับกายนั้น, นิรมิตกายอื่นได้ ( มโนยิทธิ – ฤทธิ์ทางใจ ), แสดงฤทธิ์ได้ , มีหูทิพย์, รู้ใจคนอื่น ( เจโตปริยญาณ), ระลึกชาติได้ , มีตาทิพย์ หรือเห็นความตายความเกิด, ได้บรรลุความหลุดพ้นเพราะสมาธิและเพราะปัญญา อันไม่มีอาสวะ ( ข้อที่ ๔ นี้ยาวมากเพราะปรารภธรรมะที่สาวกเจริญและได้บรรลุหลายอย่าง). สกุลุทายิปริพพาชกก็ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค.


    ที่มา... พระไตรปิฏก ฉบับ สำหรับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า ๔๓๙ ถึง ๔๔๐.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...