พระเครื่องวัตถุมงคลดีๆ ราคาบูชาตามตกลง

ในห้อง 'ลงประกาศ ซื้อ-ขาย หรือทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย Muang99, 29 พฤศจิกายน 2019.

  1. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,230
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,514
    0bb241cd2dc92870d67ea022d7526ac55c29_280x417_q75-jpe-3905727-jpg-4086895-jpg-4099677-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระครูนิภาวิหารกิจ (ดำ จนฺทสโร)

    หลวงพ่อดำ จนฺทสโร (15 เมษายน พ.ศ. 2484 — 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551) อดีตเจ้าอาวาส วัดใหม่นภาราม ผู้ที่สืบทอดวิชาการสร้างไม้ครูและพระควัมบดี (พระปิตตา) มาจากหลวงพ่อครน วัดบางแซะ (เจ้าของพระปิตตาค่านิยมหลักแสนหลักล้าน) วัตถุมงคลของหลวงพ่อดำโด่งดังไปทั่วเมืองไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ปิดกันให้แซ่ดว่า ขลังยิงไม่ออก แคล้วคลาดจากอันตรายนานัปการ เป็นมหาลาภ ปลดหนี้ปลดสิน พลิกฟื้นดวงชะตาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แม้แต่ พระมหากษัตริย์ บางรัฐของมาเลเซีย ยังแขวนพระปิตตาและถือไม้ครูของท่านด้วยความศรัทธา เนื่องจากในสมัย 10 ปีก่อน มีการทดสอบพระปิตตาของท่านในมาเลเซีย ต่อหน้ากษัตริย์แห่งรัฐนั้น ผลคือมหาอุตยิงไม่ออก เป็นที่กล่าวขานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์ เรื่องราวทั้งหมดได้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์ ครูบาอาจารย์ของท่าน นอกจากหลวงพ่อดำ ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อครนแล้ว ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (27 มีนาคม พ.ศ. 2430 — 5 มีนาคม พ.ศ. 2524) อีกด้วย แค่เอ่ยนามก็สามารถรับรู้ทันทีได้ว่า ท่านจะมีความเก่งกล้าเพียงใดในวิชาอาคม ส่วนสหธรรมิกของท่านได้แก่ หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย (5 เมษายน พ.ศ. 2461 — 26 เมษายน พ.ศ. 2554) และพ่อท่านเหมาะ วัดรังสิตาวาส จังหวัดยะลา

    ชาติภูมิของท่าน

    ท่านมีนามเดิมว่า ดำ ไกรน้อย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2484 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ณ บ้านเลขที่ 200 หมู่ 6 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นบุตรของนายจันทร์และนางจันทร์ ไกรน้อย มีพี่น้องร่วมกัน 2 คน ท่านเป็นบุตรคนโต ในวัยเด็กโยมบิดานำท่านมาฝากไว้ที่สำนักเรียนที่วัดใหม่นภาราม จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีพระอธิการจันทร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นภาราม เป็นผู้ดูแลและอบรมความประพฤติ ซึ่งในวัยเด็กท่านดำก็เป็นคนที่มีความประพฤติเรียบร้อยอยู่แล้ว ไม่เกกมะเหรกเกเรเหมือนเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน เนื่องจากครอบครัวของท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี ไทยมาตั้งแต่โบราณ เมื่อถึงเทศกาลทำบุญก็จะพากันเข้าวัดเข้าวา ทำบุญสุนทานอยู่เป็นประจำ ทำให้ท่านดำมีจิตใจที่อ่อนโยน มีเมตตาต่อสัตว์อื่น ๆ เหมือนลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น และท่านเป็นคนที่มีความขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่ในการงานเช่น การทำไร่ไถนา รวมทั้งช่างก่อสร้างที่มีฝีมือคนหนึ่ง เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2504 ณ พัทธสีมาวัดใหม่นภาราม โดยมีพระครูนิพัทธกาลัญญา วัดประชุมชลธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดม่วง ฐิตธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการนุ้ย วัดใหม่นภาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จันทสโร หลวงพ่อดำ ได้อยู่ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมชั้นโตได้ตามลำดับ ต่อมาจึงสนใจใฝ่รู้ และได้เรียนศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ได้ศึกษาวิชาเหล่านี้จาก คำภีร์ สมุดข่อยใบราณ อันเป็นของอันเก่าแก่ภายในวัด และศึกษาหลักโดยตรงกับเจ้าอาวาส จนมีความเชี่ยวชาญทางด้านภาคปฏิบัติ ปริยัติ และปฏิเวธ ในพรรษาที่ 4 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดประชาภิรมย์ อยู่ในตัวเมืองนราธิวาส ในช่วงนี้ท่านก็สามารถสอบผ่านนักธรรมชั้นเอก จำพรรษาอยู่ที่นั่นนานถึง 10 พรรษา

    การเดินธุดงค์

    เป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม พระธุดงค์บางรูปก็ชอบโปรดชาวบ้านด้วยการสอนให้รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา ให้เข้าถึงพระรัตนตรัย ให้เลิกละการนับถือภูตผีปีศาจ สิ่งเหลวไหลงมงายโดยสิ้นเชิง เพราะการนับถือผีเป็นความหลงผิด มีแต่ความทุกข์ แต่การนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และยึดถือศีล 5 ศีล 8 เป็นข้อปฏิบัติ เมื่อตายแล้วจะได้ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ หลวงพ่อดำท่องเที่ยวธุดงค์ไปทั่วภาคเหนือเป็นเวลาหลายปี สถานที่ปลีกวิเวกส่วนมากมักจะเป็นป่าช้า หรือป่าเขาลำเนาไพร ในระหว่างการธุดงค์นี้ เมื่อได้ยินข่าวว่าครูบาอาจารย์ท่านไหนดี ก็จะไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอเรียนวิปัสสนากรรมฐานบ้าง เรียนคาถาอาคมบ้าง และจนกระทั่งตำราแพทย์แผนโบราณ ท่านก็ได้เริ่มเรียน หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับนราธิวาสบ้านเกิดของท่าน มาจำพรรษาวักที่ท่านคุ้นเคย คือ วัดใหม่นภาราม สืบมาจนกระทั่งมรณภาพ ในปี พ.ศ. 2528 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ทำหน้าที่อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ใฝ่ธรรมในปี พ.ศ. 2543 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกที่ พระครูนิภาวิหารกิจ แต่น่าเสียดาย ท่านได้มาถึงแก่มรณภาพในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ด้วยวัย 67 ปี 47 พรรษาเสียก่อน ทั้งทั้งที่อายุยังไม่เยอะเลย

    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระครูนิภาวิหารกิจ_(ดำ_จนฺทสโร)
     

แชร์หน้านี้

Loading...