พระอริยะตั้งแต่พระอนาคามีเป็นต้นไป ท่านยังมีอารมณ์หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dooddd, 7 มิถุนายน 2012.

  1. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ขอถามนะครับว่า พระอริยะตั้งแต่พระอนาคามี และสุดที่พระอรหันต์ยังมีอารมณ์อีกหรือไม่

    อารมณ์ที่ว่าคือ โลภ โกรธ สุข ทุกข์

    ผมคิดไว้สองแบบที่เป็นไปได้คือ
    ๑ เกิด แต่ใจไม่ยึดติด แล้วอารมณ์นั้นก็ไม่มีอาหารหล่อเลี้ยง ก็ดับไป
    ๒ ไม่เกิดเลย

    ความคิดผมค่อนข้างเอียงไปในข้อที่ ๑ ครับ

    ถ้าเล่าสาวความหน่อย ตรงนี้ถ้าผมผิดก็บอกด้วยนะครับ
    รากเหง้าของกิเลสมีตัวเดียวคือโมหะ คือหลงว่ากายนี้เป็นของเรา ของต่างๆเป็นของเรา เวลามีสิ่งใดมากระทบให้เสียกาย ให้เสียทรัพย์ ตัวโมหะที่ก็จะหลอกให้เกิด เป็นปฏิฆะ โทสะ ทุกข์ โลภด้วยมั้ง
    ถ้าสิ่งใดที่มากระทบแล้วทำให้หลงกาย บำรุงกาย เกิดทรัพย์ บำรุงทรัพย์ ก็จะเกิดเป็นโลภ เป็นหลง เป็นสุข

    แล้วก็อีกคำถามครับ วางเฉยคือจุดใด คือถ้าสิ่งใดมากระทบแล้วก็วางไป อันนี้เข้าใจครับ (รู้อย่างเดียว ไม่ได้ปฏิบัติได้ครบเสร็จสรรพนะครับ)
    แต่ถ้ามีทางเลือกสองทาง ทางหนึ่งสุข ทางหนึ่งทุกข์ ยังไงคนเราก็เลือกทางสุขออยู่แล้ว แล้วจะดูใจของตัวเองได้อย่างไรว่าที่เราเลือกทางสุขนั้น เราไม่ได้เอาจิตไปจับ เอาจิตไปยึด

    ปล ผมไม่ค่อยแม่นปริยัตินะครับ บางคำผมอาจไม่รู้จักเลย อาจถามคำแปลนะครับ

    ขอบพระคุณครับ
     
  2. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,117
    ค่าพลัง:
    +2,136
    มี แต่ไม่เอา

    ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ไปพักผ่อน และเยี่ยมพระอาจารย์สมชายที่วัดเขาสุกิม จังหวีดจันทบุรี ขณะเดียวกันก็มีพระเถระอาวุโสรูปหนึ่งจากกรุงเทพฯ คือ พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม เจ้าคณะภาคทางภาคใต้ได้ไปอยู่ฝึกกัมมัฏฐานเมื่อวัยชราแล้ว เพราะมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่เพียงปีเดียว ฯ
    เมื่อท่านทราบว่าหลวงปู่เป็นพระฝ่ายกัมมัฏฐานอยู่แล้ว ท่านจึงสนใจและศึกษาถามถึงผลของการปฏิบัติ ทำนองสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน และกล่าวถึงภาระของท่านว่า มัวแต่ศึกษาและบริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวงปู่เป็นเวลานาน ลงท้ายถามหลวงปู่สั้นๆ ว่า ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม ฯ
    หลวงปู่ตอบเร็วว่า
    มี แต่ไม่เอา.



    ที่มา : หลวงปู่ฝากไว้

    บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา ของ
    พระราชวุฒาจาร์ย พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    โดย พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฑิโต)
     
  3. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,117
    ค่าพลัง:
    +2,136
    การจะดูให้เห็นว่าจิตจับสุขหรือเปล่า ต้องฝึกจิตจนเห็นสภาวะต่างๆ ของจิตชัดเจนก่อน เช่น จิตว่าง ก็รู้ว่าว่าง จิตไม่ว่าง ก็รู้ว่าไม่ว่าง จับตัวใดอยู่ หรือ คือการปฏิบัติให้เห็น "จิตในจิต" นั่นเอง

    หากยังไม่เห็นจิตในจิต ยังสำรวจไม่เจอหรอกครับ แม้ผู้ปฏิบัติที่เห็นจิตใจจิตแล้ว มันก็จะค่อยๆ เห็นไล่จากหยาบ โทสะตัวใหญ่ๆ ค่อยๆ ไล่ไปเรื่อยๆ กว่าจะเห็นอรูปราคะ ก็ต้องฝึกจิตกันยาวนานครับ

    แต่ผู้ที่เห็นจิตในจิตชัดเจนแล้ว จะสัมผัสได้ถึงสภาวะสงบสุขของการที่จิตสงัดจาก กิเลส ตัณหา ความอยากต่างๆ จะขอยกคำสอนของหลวงปู่ชา มาเสริมตรงนี้ว่า

    "คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น ก็จะเห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ มันคนละราคากัน .......... ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่าน จะเห็นว่า สุขเวทนา กับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆ กัน"

    หากจะต้องการปฏิบัติให้เห็นจิตในจิต ให้ปฏิบัติแนว สติปัฎฐาน 4 หรือ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน ครับ สองแนวนี้จะเป็นการสร้างสติโดยตรง
     
  4. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    สิ่งที่ดำรงค์ไว้มีเพียง สติ อารมณ์ทั้งหลายล้วนเป็นปรกติมีอยู่แต่ไม่ได้ยึดถือใดๆ
     
  5. dooddd

    dooddd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +4,855
    ขอบคุณครับ อย่างน้อยๆผมก็มาถูกทางล่ะ _/|\_
     
  6. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    1. ขอถามนะครับว่า พระอริยะตั้งแต่พระอนาคามี และสุดที่พระอรหันต์ยังมีอารมณ์อีกหรือไม่
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ตอบ ไม่ทราบครับเพราะยังไม่ถึง แต่มีหรือเปล่าอาจจะมีก็แค่คาดการณ์เหมือนกันนะครับ
    คงสลัดหรือวางอารมณ์เร็วจนเหมือนไม่มีแต่มี ยกตัวอย่าง โกรธ เเว้บเข้ามาแต่แค่ 1 วินาที
    ก็สลัดวางไปไม่แกะใจ เหมือนเกลือ 1 ช้อน ที่ละลายอยู่ในเขื่อน มีเหมือนไม่มี
    จิตก็ปราศจากอารมณ์ที่เป็นโลกียะ เมื่อไม่ทรงอารมณ์โลกียะอารมณ์ก็เป็นโลกุตระล้วนๆ
    แต่อย่างเราๆ ท่านๆ เวลาอารมณ์โกรธเข้ามาแล้วไปปรุงหรือทรงอารมรณ์ต่อบางที 1-2 วัน กว่าจะหาย
    แต่พระท่านที่พ้นแล้วสลัดหายหรือวางผ่านหรือไม่เอาซะเลยมันก็วูบวาบผ่านไปเร็ว
    เอาแค่ 1-10 วินาที แล้วโกรธหายไปเหลือแต่สุขๆ ล้วนๆ ก็ต้องใช้เวลาภาวนาอบรมจิตอย่างจริงจังกันอย่างยาวนาน...

    2. อีกคำถามครับ วางเฉยคือจุดใด คือถ้าสิ่งใดมากระทบแล้วก็วางไป อันนี้เข้าใจครับ

    (รู้อย่างเดียว ไม่ได้ปฏิบัติได้ครบเสร็จสรรพนะครับ)
    แต่ถ้ามีทางเลือกสองทาง ทางหนึ่งสุข ทางหนึ่งทุกข์ ยังไงคนเราก็เลือกทางสุขอยู่แล้ว
    แล้วจะดูใจของตัวเองได้อย่างไรว่าที่เราเลือกทางสุขนั้น เราไม่ได้เอาจิตไปจับ เอาจิตไปยึด

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ตอบ การที่จะดูใจตัวเองเเล้วรู้ว่ายึดหรือจับทุกข์หรือสุขนั้นต้องฝึกฝนบ่อยๆ ครับ ดังนี้นะครับ
    เฉยในทุกข์ เฉยในสุข ก็คือ อุเบกขาในเวทนา (สุขเวทนา ทุกขเวทนา) ต้องใช้กำลังของสมาธิ+สติ+ปัญญา
    ในเบื้องต้นให้เห็นว่าไม่เที่ยงก่อน เช่น เมื่อมีเรื่องอะไรทุกข์ใจหรือทุกข์กายก็พยามดึงสติออกมาดูว่าทุกข์ที่เกิด
    นี้ตั้งแต่เด็กจนโตมามีผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไปมาเองก็หายเองเราไม่ได้เรื่องร้องให้มาพอมาแล้วก็ไม่สามารถบังคับได้
    ถึงเวลาทุกข์ก็หายไปของเขาเอง เช่นกัน สุขใจสุขกายมีมาก็มีไปจะบังคับให้อยู่ที่สุดก็ไป สลับกันอยู่อย่างนี้ แท้จริง
    "สุข ก็คือ ทุกข์น้อย" มีมามีไปไม่เที่ยงแท้จีรังตามกฏของไตรลักษณ์ ใช้สติดูทุกข์สุขที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
    ใช้สติดูทุกข์สุขที่เกิดขึ้นกับใจดูอารมณ์ที่เกิดดับในอกของเรา จนเห็นการเกิดดับสืบเนื่องของอารมณ์
    เปลี่ยนจากทุกข์ไปสุข สุขไปทุกข์ หรือทุกข์ไปเฉยๆ ว่างไม่มีอารมรณ์ทุกข์หรือสุข สุขไปเฉยๆ ว่างไม่มีอารมรณ์ทุกข์หรือสุข
    เมื่อจิตแยกจากอารมณ์ทุกข์และสุขออกมา เป็นอุเบกขาว่างๆ บ่อยๆ และใช้สติดูและใช้ปัญญาสอนจิตบ่อยๆ ให้เห็นความไม่เที่ยง
    และเกิดดับของทุกข์และสุขทั้งทางกายและใจ ปัญญากล้าขึ้นเรื่อยๆ ที่สุดจะปล่อยไม่ยึดทุกข์ สุข และเฉย จิตหลุดเข้ากระเเส
    อารมรณ์ที่เป็นทุกข์และสุขที่เนื่องด้วยรูปและกามคุณมันวูบเข้ามาในอกแล้ววาบผ่านไปเหลือแต่อารมณ์สุขแบบไม่ยึดอะไร
    สุขล้วนๆ คล้ายดีใจตลอดเวลา ไม่เนื่องด้วยอาการ สถานที่ ไม่ต้องเข้าสมาธิ ไม่ต้องเพ่งอะไร ในอกเราจะเต็มไปด้วยความสุข
    ที่แผ่ขยายอณาเขตออกไปกว้างขวางไม่คับแคบ ไม่แน่นในอกเหมือนที่เคยเป็น ทะลุร่างกายออกไปไร้ขอบเขต ตัวโปร่งๆ ไม่ทึบ
    ในระยะแรกๆ น้ำหูน้ำตาไหล สักพักก็เริ่มปรับตัวและชิน และจะเริ่มเห็นว่าจิตวางอารมณ์ทุกข์เร็วขึ้น
    และก็เริ่มเห็นว่า 10-30 วินาที ในการวางมันก็ยังมากจนเกินไป แต่มองเห็นว่าควรจะเพิ่มหรือเติมอะไรเพื่อให้
    จิตมีพัฒนาการที่ดีขึ้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2012
  7. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    พระอริยะตั้งแต่พระอนาคามี และสุดที่พระอรหันต์ยังมีอารมณ์อีกหรือไม่ อารมณ์ที่ว่าคือ โลภ โกรธ สุข ทุกข์
    มีเป็นอารมณ์ละเอียด ปุถุชนไม่สามารถรู้ได้

    -พระอนาคามี ท่านยิ้มด้วยโสมนัสสันตีรณจิต เป็นการหัวเราะเบาๆ
    โทสะ(โกรธ) ดับได้หมดแล้ว
    โลภะ(โลภ) ยังเหลือมานะ
    โมหะ (หลง) เหลือโมหะกับอุทธัจจะ

    -พระอรหันตร์
    ท่านยิ้มด้วยหสิตุปปาทะจิต เป็นการยิ้มอยู่ในหน้า
    โสมนัสด้วยมหากิริยา เป็นเพียงการยิ้ม หรือแย้มเท่านั้น
    ดับโทสะ โมหะได้หมดแล้ว เหลือโลภะวิปยุตดวงที่๓ อันเป็นภพชาติไปดับเอาตอนใกล้ตาย

    แต่เนื่องจากเป็นจิตเสพกาม ดังนั้นวิบาก (กรรมเก่าที่เคยกระทำเอาไว้) ยังรอต่อคิวให้ผล
    จิตของพระอรหันตร์ท่านเป็นมหากิริยาตั้งแต่รับวิบากทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวารแล้ว
    ไม่ว่ากรรมนั้นจะรุนแรงหรือไม่ปานใด มหากิริยาจิตที่เสพตลอดวิถี แม้เก็บลงสู่ตทาลัมพานะ
    เพราะเป็นการเสพอย่างรุนแรง เวลาเทออกมาตอนพระอรหันตร์ใกล้ตายก็ยังเป็นมหากิริยาอยู่ดี คือเป็นอัพยากฤต

    ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือชั่ว ไม่นับเป็นบุญหรือบาป การกระทำของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่ากรรม แต่เรียกว่ากิริยา
    ผลจึงนำเกิดไม่ได้ เป็นการดับสังสารวัฏฏ์อันเป็นที่สุด

    ผมคิดไว้สองแบบที่เป็นไปได้คือ

    ๑ เกิด แต่ใจไม่ยึดติด แล้วอารมณ์นั้นก็ไม่มีอาหารหล่อเลี้ยง ก็ดับไป
    เกิดจากวิบากอันเป็นผลของกรรมที่กระทำเอาไว้เอง ทั้งกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก

    ๒ ไม่เกิดเลยกรรมที่เคยกระทำในอดีตชาติ
    พระโมคคัลลา ด้วยวิบากที่ทำท่านเจตนาทำร้ายพ่อแม่ ต้องโดนโจรทุบกระดูกแหลก แม้จะเหาะหนีด้วยฤทธิ์ แต่วิบากนั้นยังรอให้ผล
    ท้ายสุดท่านยอมให้โจรทุบไม่งั้นดับขันธปรินิพพานไม่ได้

    พระองคุลีมาล หลังบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตร์ ไม่ว่าชาวบ้านจะโยนขว้างอะไร สิ่งของเหล่านั้นจะมาหล่นใส่ท่านเสมอ
    เพราะกรรมที่ท่านฆ่าคนมา ๙๙๙ ศพเป็นวิบากที่ท่านต้องรับ พอดับขันธปรินิพพานกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดจึงกลายเป็นอโหสิกรรม

    ความคิดผมค่อนข้างเอียงไปในข้อที่ ๑ ครับ

    รากเหง้าของกิเลสมีตัวเดียวคือโมหะ คือหลงว่ากายนี้เป็นของเรา ของต่างๆเป็นของเรา เวลามีสิ่งใดมากระทบให้เสียกาย
    ให้เสียทรัพย์ ตัวโมหะที่ก็จะหลอกให้เกิด เป็นปฏิฆะ โทสะ ทุกข์ โลภด้วยมั้ง
    ถ้าสิ่งใดที่มากระทบแล้วทำให้หลงกาย
    บำรุงกาย เกิดทรัพย์ บำรุงทรัพย์ ก็จะเกิดเป็นโลภ เป็นหลง เป็นสุข
    ถ้าเทียบเป็นอารมณ์ โมหะอยู่กลาง (๐) ขนาบด้วยโลภะ (+) กับโทสะ
    (-)

    แล้วก็ อีกคำถามครับ วางเฉยคือจุดใด คือถ้าสิ่งใดมากระทบแล้วก็วางไป อันนี้เข้าใจครับ
    -สักแต่ว่า- จะกระทำได้ต่อเมื่ออย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามี

    แต่ถ้ามีทางเลือกสองทาง ทางหนึ่งสุข ทางหนึ่งทุกข์ ยังไงคนเราก็เลือกทางสุขออยู่แล้ว
    แล้วจะดูใจของตัวเองได้อย่างไรว่าที่เราเลือกทางสุขนั้น เราไม่ได้เอาจิตไปจับ เอาจิตไปยึด
    คนเราที่เกิดมาด้วยผลของกรรม เส้นทางเดินของแต่ละคนเป็นไปด้วยวิบากที่กระทำมาเช่นกัน
    -ทางสุข (+) ฟู ยินดีพอใจ ------>โลภะ
    -ทางทุกข์ (-) แฟบ หดหู่ห่อเหี่ยว ------->โทสะ

    อย่างที่คุณบอกเป็นรากเหง้าตัวเดียวกันที่เกิดจากโมหะ (อวิชชา/ ความไม่รู้)


     
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    เอาเข้าเต็มๆแล้ว
    มีสองเรื่องคือกายกับจิต
    ผมเข้ามาแก้เลยนะครับตรงนี้
    ท้ายที่สุดแล้วเหลือกายกับธรรม
    เพราะหากจิตเดิมเมื่อปภัสรอยู่แล้ว
    เราเข้าไปพิจารณาธรรมต่อ

    ถามว่าจิตหมดแล้ว
    กายยังมีเหลืออยู่ไหม

    ที่เหลืออยู่ถามว่าชรามามากไหม

    ทำกายานุยากครับ ทำแล้วเลิกโลกไปเลย
    ทำให้ไม่เรียนรู้โลก พระไม่แต่งงานจะสอนคนที่แต่งงานมาแล้วได้อย่างไร
    หากหลุดมาได้จากความเป็นพระอีกสมัยหนึ่งอยากลองหรือไม่อย่างไร
    หรือว่าไม่ลองแล้วรู้แล้ว

    แต่หากไม่ทำกายานุเดี่ยวเขาก็สู้ความชราของสังขารไม่ไหวตามหลักธรรมหรือไม่อย่างไร

    การวางในที่นี้หมายถึงว่าเราเอาไปชั่งหรือยังหรือไม่ครับ
    ในระหว่างความดีที่จะเกิดกับความชั่วที่จะมีขึ้น
    หากเขายังไม่เท่ากันแสดงว่าไม่สมหรือไม่สัมมา
    หากเขาเท่ากันแล้ว
    สัมมาทุกอย่างหรือไม่อย่างไร

    พอรู้ดีชั่วแล้ว
    ดีมากกว่าชั่ว ทำไหม

    เพราะคนหรือมนุษย์ลองตายแล้วไหลตามน้ำ
    ไม่ตายก็ไหลตามน้ำอยู่แล้วครับหรือไม่อย่างไร
    ทำไมท่านมีคำกล่าวที่ว่าทำดีละชั่ว

    ชั่วไหน
    วูป แว้ป ชั่วแป้บเดียว ชั่ววันชั่วคืน ชั่วตลอด

    ดีไหนครับ
    ดีวันดีคืน เริ่มก็ต่างหรือไม่

    สิ่งไหนดีทำไหมครับเพราะเรามันคิดชั่วตลอดเวลาหรือไม่อย่างไร
    เพื่อให้เกิดความดีชั่วเท่ากัน
    เพราะจะเกิดความเป็นกลางแล้วครับ
    หากเอียงอยู่เข้าฝ่ายไหนก็ไม่ได้

    คนนั้นก็รัก
    คนนี้ก็สงสาร
    คนนั้นมาก็เอ็นดูแต่อย่าไปดูกันสองคนนะครับ
    เดี๋ยวได้ลูกแอปเบิ้ล

    ทางสายกลางดีไหมครับ
    ขอท่านเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2012
  9. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ค่ะ และขออนุโมทนากับทุกๆคำตอบ ได้อะไรๆเยอะเลย ขออนุญาติก็อปเลยนะคะทั้งคำตอบเเละคำถาม สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2012
  10. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    อือหือ น่าเลื่อมใสแฮะ สุดยอดเลย ....ถ้าทำได้สมราคาคุยนะ
     
  11. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,117
    ค่าพลัง:
    +2,136
    มือไม่พาย อย่าเอาเท้าราน้ำครับ :)
     
  12. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    คุณต้องทำความเข้าใจไว้สองอย่าง

    อย่างแรก ถ้าเป็นในยุคสมัยพุทธกาล พระภิกษุส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในป่า เพราะบ้านเรือนประชาชนมีน้อย แสง สี เสียง และสิ่งยั่วยวน ในสมัยนั้น ก็มีน้อย ถ้าเป็น พระอริยบุคคล นับตั้งแต่ พระโสดาบันเป้นต้นไป อารมณ์ อันมีผลคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมมีน้อย หรือไม่มีเลย

    อย่างที่สอง ถ้าเป็นในยุคสมัยปัจจุบัน พระอริยบุคคลนับตั้งแต่ พระโสดาบันเป็นต้นไป ย่อมมีอารมณ์ทุกชนิด แต่ สามารถขจัดอารมณ์เหล่านั้นได้

    แลคุณต้องทำความเข้าใจไว้อีกเรื่องหนึ่ง อารมณ์แห่งความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีการ คิด และ การระลึกนึกถึง หรือการได้สัมผัสจับต้อง เท่านั้น ถ้าขจัดอาสวะได้ ไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึง แม้จะถูกสัมผัสจับต้อง ก็ไม่มีอารมณ์แห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ขอรับ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    รากเหง้าของกิเลส คือ ความคิดและการระลึกนึกถึงของคุณนั่นแหละ(ตามหลักธรรมศรีอารย์) ความหลงนั้นเป็น ผล แห่งการที่คุณคิดและการระลึกนึกถึงฯลฯ และที่คุณคิดว่า กายไม่ใช่ของคุณ ก็เป็นความคิดที่ผิด อันนี้คุณไปคิดให้ดีเถอะขอรับ

    คำว่า "วางเฉย" ก็คือ การมีสมาธิ การมีสมาธิ ก็คือการมี สติสัมปชัญญะ อย่างดีเยี่ยม คือ คิดในสิ่งที่ควรคิด ระลึกนึกถึงในสิ่งที่ควรระลึกนึกถึง ถ้าสิ่งใดมากระทบ แล้ว คุณไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึง นั่่นแหละคือ ความวางเฉย
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    อารมณ์ที่ว่าคือ โลภ โกรธ สุข ทุกข์

    โลภ โกรธ สุข ทุกข์ มันไม่ใช่อารมณ์ มันเป็น อกุศล รากเหง้าของกิเลส

    ตั้งคำถามผิดไป แต่เนื้อหาที่แสดงความเห็น ก็พอไปได้....หยวน ๆ .
     

แชร์หน้านี้

Loading...