พระสมเด็จวัดระฆัง

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย วะระปัญญ์, 15 ธันวาคม 2018.

  1. วะระปัญญ์

    วะระปัญญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2018
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +53
    ....การศึกษา พระสมเด็จฯ เป็นการศึกษาศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง อีก100 ปีก็ไม่จบ
    ทุกวันนี้ มีผู้คนจำนวนมาก ที่ใฝ่ฝันอยากมีพระสมเด็จสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ที่เจ้าพระคุณสมเด็จ
    พระพุฒาจารย์ (โต)เป็นผู้สร้างไว้บูชาสักองค์หนึ่ง ครั้นจะเช่าบูชาองค์ดังๆ จากเซียนใหญ่ ก็สู้ราคาไม่ไหว ครั้นจะเช่าบูชาตามตู้พระ ก็กลัวได้พระไมแท้ แต่อย่างที่เขาว่า คนมีวาสนา ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม เท่านั้น ที่จะได้บูชาครอบครอง เงินทองใช่ว่าจะซื้อพระสมเด็จได้ทุกองค์ บางคนได้พระแท้มา ด้วยราคาหลักพัน หลักหมื่นต้นๆ ก็มี พระก็อยากอยู่กับคนดี
    มีศีลธรรม ความเชื่อส่วนตัวว่า พระสมเด็จฯ แท้ๆ จะหักครึ่งองค์ หรือหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ตาม พุทธคุณยังมีอยู่ครบมีเทวดาสถิตย์อยู่ ที่พูดอย่างนี้ เพราะผ่านประสปการณ์มาแล้ว ท่านที่มีพระหัก พระชำรุด หรือคิดจะเช่าบูชาพระหักพระชำรุด อย่าได้สงสัยในพุทธคุณของพระสมเด็จฯ พระชำรุดยังได้ราคาถูกอีกด้วย

    ...พระสมเด็จฯ ที่ยอมรับกันหลักๆ มี 3 วัด เพราะมีประวัติการสร้างที่ชัดเจน แต่ละวัดก็มีพิมพ์แบบหลักๆอยู่เฉพาะของวัดนั้นๆ ในหนังสือพระสมเด็จ 3เมษายน 2512 หน้า26-27 เขียนโดยคุณประชุม กาญจนวัฒน์ พูดถึงเรื่องพิมพ์พระสมเด็จว่า

    ".... สำหรับแบบพิมพ์ต่างๆ ของพระสมเด็จฯ ลือกันว่าระยะแรกได้สร้างพระถึง 73 พิมพ์ จะจริงหรือเท็จก็ยังหา หลักฐานยืนยันไม่ได้ นอกจากนี้ยังกลาวกันอีกว่า พระสมเด็จฯ มีทั้งพิมพ์นางพญา เม็ดขนุน พิมพ์สังกัจจายน์ พิมพ์ขุนแผนไขผ่า เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว เนื้อดินเผา...ฯลฯ.... อิทธิพลพระสมเด็จฯ ซืมซาบอยู่ในสายโลหิตคนไทยพุทธเกือบทุกคน ผู้ที่ขาดความรอบคอบ หูเบา จึงตกเป็นเหยื่อของพวก "มือผี" ตลอดมา......"
    เมื่อรู้ดังนี้ จึงควรเล่นหาแต่พิมพ์หลักที่เป็นสากลนิยม พระแท้พิมพ์ถูก-เนื้อใช่ แม้หัก ชำรุด ยังสบายใจกว่าได้พระเต็มองค์แต่ไม่เป็นสากลนิยม(สุ่มเสี่ยงเป็นพระมือผีทำขึ้น)
    อายุของพระ ตั้งแต่ยุคนั้น ถึงวันนี้ กว่า100 ปี เนื้อหาต้องมีความเก่าโดยธรรมชาติ
    ถ้าดูความเก่าเป็น จะได้พระแท้มาบูชาไม่ยาก



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2020
  2. วะระปัญญ์

    วะระปัญญ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2018
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +53
    เพิ่มเติม ข้อมูลบางส่วนจากคอลัมน์ ; พระเครื่อง : 19 ก.ย. 2554
    " รักและการลงรักความสำคัญและคุณค่าในพุทธศิลปะ : ชั่วโมงเซียน อ.ราม วัชรประดิษฐ์ "

    โบราณาจารย์และพุทธศาสนิกชนในอดีตได้อาศัย "รัก" ในการจัดสร้างพระพุทธรูป
    พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง เพราะรักมีคุณสมบัติพิเศษ
    คือสามารถรักษาเนื้อและสภาพขององค์พระให้สมบูรณ์แม้จะผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน ซึ่งมีทั้งรักดิบ รักน้ำเกลี้ยง และรักสมุก
    ดังนั้นเราจึงมักพบว่ามีการนำพระเครื่องมาจุ่มรัก หรือ ชุบรัก ซึ่งหมายถึง การนำพระทั้งองค์จุ่มลงไปใน "รักดิบ" หรือ "ยางรัก" แล้วผึ่งให้แห้ง
    บางครั้งเมื่อผึ่งองค์พระพอแห้งหมาดๆ ก็จะนำทองคำเปลวมาติดเป็นพุทธบูชา จะสามารถติดได้แน่นสนิทสวยสดงดงามเป็นอันมาก

    เป็นที่น่าแปลกใจที่ "พระแท้" เท่าที่พบโดยเฉพาะพระเครื่อง พระปิดตา และเครื่องรางประเภทตะกรุด ลูกอมของเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังนั้น มักยึดหลักการดู "รัก" เป็นส่วนใหญ่
    จากความพยายามค้นและคว้ามานั้น พบว่าพระคณาจารย์ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ส่วนใหญ่ที่สร้างพระเครื่องและของขลังพากันใช้ "รักจีน" ซึ่งเป็นรักที่มีคุณภาพสูงเป็นหลัก

    เมื่อดูจากบริบททางประวัติศาสตร์ก็จะพบว่า การนิยมศิลปะจีนในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
    จุดที่น่าสังเกตคือ บรรดาคณาจารย์ที่ใช้ "รักจีน" นั้นล้วนแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องเป็นอาจารย์ของบรมวงศานุวงศ์หรือชนชั้นสูง
    ในระยะนั้นแทบทั้งสิ้น เช่น เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น

    ดังนั้นการจำแนก "รักจีน" จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา “พระแท้” เพราะคุณสมบัติของ "รักจีน" แตกต่างจาก "รักไทย" ดังนี้
    - รักจีนมีสีน้ำตาลอมแดง ส่วนรักไทยสีดำสนิท
    - รักจีนจะมีความบริสุทธิ์ของยางรักมากกว่ารักไทย จะไม่ปนเปื้อนด้วยเศษไม้หรือเป็นฟองพรุนของอากาศ
    -เนื้อรักไทยจะแห้งตัวสม่ำเสมอ ไม่หดตัวเป็นริ้วคลื่น อันส่งผลให้เมื่อล้างรักแล้วจะไม่เกิดการแตกลายงา
    -รักจีนมีคุณสมบัติพิเศษคือ แห้งเร็ว ดังนั้นจะพบพระเครื่องบางองค์ "จุ่มรัก" หลายครั้ง ซึ่งหากเป็นรักไทยจะไม่พบการจุ่มเป็นชั้นๆ
    - เนื้อของรักจีนจะมีความละเอียดเหนียวกว่า และละลายตัวในเมทิลแอลกอฮอล์เร็วกว่ารักไทย

    -รักจีนจะมีอายุคงทนยาวนานมาก จากหลักฐานทางโบราณคดี ที่ขุดค้นพบจะเห็นเครื่องโต๊ะและเครื่องราชกกุธภัณฑ์หลายประเภทของจีนมีอายุนับพันปี ใช้ยางรักชุบทาเคลือบไว้
    ส่วนรักอื่นๆ นั้นมีอายุไม่ยาวนานเท่ารักจีน มักจะเกิดการบวมและปริร่อนเป็นแผ่นใหญ่ โดยรักไทยจะปริจากภายนอกเข้าหาภายใน
    ส่วนรักจีนหากเกิดการปริไม่ว่าจะโดยอายุหรือการใช้สารเคมี จะปริจากภายในออกสู่ภายนอก ในกรณีตรวจสอบรักจีนเก่า จะพบว่าไม่ดูดซึมน้ำ
    หากเป็นรักอื่นน้ำจะค่อยๆ ซึมลงตามรอยปริเล็กๆ (ซึ่งอาจจะเกิดจากการจุ่มรักหลายชั้น)
    ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับพระเครื่องลงรักนั้น จะมีอายุในราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น
    และจะไม่นิยมลงรักในพระเนื้อดิน ส่วนคราบที่เรียกว่า "รารัก" นั้น ความจริงคือ "รา" อันเกิดจากวัชพืชที่อาศัยเนื้อพระ (โดยเฉพาะพระเนื้อดิน) ที่มีความชื้นพอเหมาะ
    ทำให้เชื้อรานั้นเจริญเติบโต ไม่ใช่เกิดจากรักแต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่แสดงว่ารักนั้นมีความสำคัญกับงานพุทธศิลปะอย่างยิ่ง


    ขอบคุณข้อมูล บางส่วนจาก... www.komchadluek.net/news/lifestyle/109491
     

แชร์หน้านี้

Loading...