พระสถูปเจดีย์ในอินเดียและแผ่นดินสยาม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 13 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    พระสถูปเจดีย์ในอินเดียและแผ่นดินสยาม
    โดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์

    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="6%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>พระพุทธรูปยืนที่เจดีย์วัดกู่กุฏ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="94%">
    •••••••••••••••••••••••••
    สถูปเจดีย์ในอินเดีย
    "สถูป" "สดูป" "สตูป" "เจดีย์" "เจดีย" มีความหมายคล้ายกัน เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นสำหรับบรรจุของควรเคารพนับถือบูชา กระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น ก่อสร้างเป็นรูปบาตรหรือโอคว่ำและเป็นรูปคล้ายลอมฟางยอดแหลม
    สถูป หรือ เจดีย์ มีมานานก่อนพุทธกาล โดยพูนดินขึ้นเป็นโคกตรงที่ฝังอัฏธาตุ เหมือนการก่อพระทราย แล้วสร้างขอบล้อมรอบป้องกันดินที่ก่อไว้นั้นพังลงมา บนโคกอาจปักร่มหรือกั้นฉัตร เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว สถูปที่ก่อสร้างขึ้นนั้นหากเป็นเป็นของบุคคลธรรมดาสามัญ จะไม่มีการปักร่มกั้นฉัตร รูปสถูปหรือเจดีย์ในยุคต้นในประเทศอินเดียจึงมีลักษณะรูปทรงกลมคล้ายโอ หรือบาตรคว่ำและวัสดุที่ก่อสร้างนั้นเป็นดิน "ดิน"


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">สถูปในอินเดีย ตอนต้นพุทธศตวรรษ </TD></TR></TBODY></TABLE>ต่อมาในยุคพุทธกาล เมื่อมีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    หลังจากเสด็จปรินิพาน ณ เมือง กุสินารา เรียกว่า
    1. พระธาตุเจดีย์ เหล่ามัลลกษัตริย์ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จเรียบร้อยแล้ว คิดจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐาน
    ไว้ในเมืองกุสินาราแต่เพียงแห่งเดียว แต่กษัตริย์เมืองต่างๆ ไม่ยอมเกือบจะรบกัน โทณพราหมณ์จึงไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่าย
    ปรองดองกัน เฉลี่ยแบ่งพระเสรีระไปยังเมืองต่างๆ

    1. พระเจ้าอชาติศัตรู อัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองราชคฤห์
    2. กษัตริย์ศากยราช อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองกบิลพัศดุ์
    3. กษัตริย์ลิจฉวี อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองเวสาลี
    4. กษัตริย์กุลิยะ อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองอัลกัปปะ
    5. มหาพราหณ์ อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองเวฏฐทีปปกะ
    6. กษัตริย์โกลิยะ อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองรามคาม
    7. มัลลกษัตริย์เมืองปาวา อัญเชิญไปประดิษฐ์ยังเมืองปาวา
    8. มัลลกษัตริย์เมืองสุสินารา ประดิษฐานไว้ ณ เมืองกุสินารา
    [​IMG]
    พระบรมสารีริกธาตุแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานยังเมือง
    ต่างๆ นั้นต่างก่อสร้างสถูปหรือเจดีย์ขึ้นเรียกว่า "พระธาตุเจดีย์" มีการดัดแปลงเสริม
    แต่งให้สวยงามขึ้น อาจจะสร้างด้วยวัตถุที่มีความคงทนกว่าการสร้างด้วยดินธรรมดา
    ซึ่งพูนขึ้นมาเฉยๆ เช่นสร้างด้วยอิฐเป็นต้นจวบจนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาถึงพระเจ้าอโศก
    มหาราช ทรงยกพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นศาสนาประธานของประเทศ จึงมีการประดิษฐาน
    สถูปเจดีย์ให้มีความสวยงามขึ้น มีฐานประทักษิณ มีบัลลังก์และต่อฉัตรขึ้น จวบจนย่าง
    เข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 7พระสถูปเจดีย์สร้างด้วยหิน เช่นที่เมืองอมรวดี เมืองสัญจิก่อด้วย
    อิฐและหินและ ในถ้ำเมืองการ์ลี สร้างด้วยวัสดุคงทนถาวรทั้งสิ้น บางครั้งเป็นงานประติ
    มากรรมแกะสลักด้วยหิน จะอย่างไรก็ดีสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปแบบ
    โอหรือบาตรคว่ำทั้งสิ้น ต่อมาคำว่าเจดีย์ยังมีความหมายเป็นอย่างอื่นอีก คือ
    2. บริโภคเจดีย์ คำว่าบริโภคเจดีย์มีความกมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือหมายถึง
    เวชนียสถาน 4 แห่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานพระบรมราชานุญาตไว้ เพื่อให้พุทธ
    สาวก ได้เฝ้าแทนพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนืองนิจเมื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพานแล้ว คือ

    1. สถานที่ประสูติ ณ ป่าลุมพินีแขวงเมืองกบิลพัศดุ์
    2. สถานตรัสรู้ ณ โพธิ์พฤหษ์มณฑลแขวงเมืองพุทธคยา
    3. สถานที่ปฐมเทศนา ณ ตำบลอิสิมฤคทายวัน
    4. ที่พระตถาคทรงทรมานพระยาวานร ณ เมือง เวสาลี

    [​IMG]
    3. พระธรรมเจดีย์ ไม่ได้กล่าวไว้เป็นตำนาน แต่มีโบราณวัตถุซึ่งเขียนพระธรรม
    ลงไปเป็นตัวอักษรประดิษฐานไว้บูชา โดยอ้างเอาพุทธบรรหารเช่นพระธรรมที่เป็นหัวใจ
    ของพระพุทธศาสนา คือ
    "เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาตโต(อาห)
    เตสญฺจ โยนิโรโธจ เอวฺวาที มหาสมโณ"

    ต่อมาเขียนพระธรรมวินัยลงเป็นตัวอักษร เช่น พระไตรปิฏก เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นพระธรรมเจดีย์เช่นเดียวกัน
    4. อุเทสิกะเจดีย์ เป็นสิ่งของสร้างขึ้นอุทิศแด่พระพุทธเจ้า มิได้กำหนดว่าเป็นอะไร
    ถ้ามิใช่พระธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และพระธรรมเจดีย์แล้ว ถือว่าเป็นอุเทสิกะเจดีย์ทั้งสิ้น
    เช่น พุทธบัลลังก์ พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท พระธรรมจักรฯ เป็นอุเทสิกุเจดีย์ทั้งสิ้น



    เจดีย์ต่างๆ ในประเทศไทย (แผ่นดินสยาม)
    •••••••••••••••••••••••••
    เจดีย์ในประเทศไทยที่มีอายุสูงสุดคือเจดีย์สมัยทวาราวดี อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 ในเบื้องต้นพบที่จังหวัด
    นครปฐมเมื่อในราว 60-70 ปีมาแล้ว ต่อมาพบที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี จึงถือกันว่าเจดีย์ที่นครปฐมมีอายุสูง

    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="6%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>เจดีย์แปดเหลี่ยมทรงสูง วัดกู่กุฏ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="94%">ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2506-2509 กรมศิลปากรอู่ทองร่วมมือกับศาสตราจารย์
    ช็อง บ๊วชเซลิยร์
    ขุดแต่งเจดีย์สมัยทวาราวดีที่อำเภออู่ทองจำนวน 10-15 องค์ พบ
    เจดีย์รูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนใหญ่และเจดีย์แปดเหลี่ยม 1 องค์ เจดีย์องค์หนึ่งสัณฐานกลม
    ศาสตราจารย์ช็อง บ๊วซเซลิเยร์ บอกว่าเป็นองค์ที่มีอายุสูงกว่าเจดีย์ทุกๆองค์เพราะ
    ได้รับอิทธิพลถ่ายทอดจากอินเดีย จึงถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทย
    เจดีย์องค์นี้คือหมายเลข 10 ทั้งยังพบหัวกวางหินสีน้ำเงินอีกด้วย
    เจดีย์ซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐมก็ดี ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และที่อำเภออู่ทองซึ่งเป็น
    เจดีย์สมัยทวาราวดี เหลือแต่เพียงเชิงฐานเท่านั้น สวนยอดปรักหักพังหมด ยังไม่เคย
    เห็นองค์ไหนมีความอุดมสมบูรณ์เลยแม้แต่องค์เดียว จึงทำให้เราไม่สามารถรู้ลักษณะ
    ของเจดีย์สมัยทวาราวดีได้อย่างแจ่มชัดจะอย่างไรก็ดี มร.เอ.บี.กริสโวลด์(NR.A.B.
    GRISWOLD)
    ผู้ซึ่งอยู่เมืองไทยมาเป้นเวลานาน สนใจเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณ
    คดีของเมืองไทยเป็นอันมากได้เรียบเรียงหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    "ศิลปะในประเทศไทย" (THE ART OF THAILAND) กล่าวถึงพระพุทธรูปสมัยต่างๆ
    และได้เขียนเจดีย์สมัยทวาราวดีเป็นลายเส้นไว้ จึงทำให้เรารู้ลักษณะของเจดีย์
    สมัยทวราวดีโดยรูปภาพลายเส้น พิจารณาแล้วมีความแตกต่างกับเจดีย์รุ่นหลังๆ
    เจดีย์ที่วัดกู่กุฎ จังหวัดลำพูน ว่ากันว่าเป็นเจดีย์สมัยทวาราวดี คาดว่าลงเป็นเจดีย์
    สมัยทวาราวดีตอนปลายจะซ้อนกัน 4-5 ชั้น มีพระพุทธรูปประทับขึ้นอยู่ชั้นละ 3 องค์
    ประจำอยู่ในซุ้มจรนัม เท่ากับด้านละ 15 องค์ 4 ด้าน รวมเป็นพระพุทธรูป 60 องค์
    เจดีย์องค์นี้ ร.ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม เรียกว่าเจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภูญชัย
    คำว่าเจดีย์ทรงปราสาท "หมายถึงรูปแบบของเรือนธาตุที่มีหลายชั้นซ้อนกัน
    หรือมีหลังคาลาดหลายชั้นลดหลั่นกัน.."

    "..ตอนกลางของเจดีย์ทรงปราสาทมีหรือไม่มีห้องคูหาจรนัมที่ผนัง เรือนธาตุ
    มักมีทรงสี่เหลี่ยมตั้งอยู่บนฐาน หรือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นชั้นซ้อน.."
    (เจดีย์ร.ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม หน้า 18)



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD><TD width="95%">[​IMG]</TD><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">สถูปแบบลังกา</TD><TD align=middle width="95%">เจดีย์สมัยศรีวิชัย</TD><TD align=middle width="95%">สถูปทวารวดีแบบต่างๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>ตามทางสันนิษฐานของข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าเจดีย์หริภูญชัยที่จังหวัดลำพูน ดูจะถ่ายทอดอิทธิพลไปสู่เจดีย์สมัยอู่ทอง
    ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ที่วัดปู่บัว และที่วัดไก่เดี้ยกับที่วัดพระอินท์ มีซุ้มจรนัมและมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มจรนัม
    เฉพาะที่วัดปู่บัวทางด้านตะวันตกขององค์เจดีย์มีคู่หาประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกหินทราย ศิลปะลพบุรี 3 องค์
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">เจดีย์สมัยสุโขทัย ทรงดอกบัว
    หรือทรงพุ่มบัวบิณฑ์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>เจดีย์ทรงปราสาทนอกจากจะมีที่วัดลำพูน แล้วยังมีที่จังหวัดลำพูนแล้วยังมีที่จังหวัดสุโขทัย และที่จังหวัด
    พระนครศรีอยุธยาก็มี
    เจดีย์อีกลักษณะหนึ่งเรียกเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เราเรียกกันว่า"พระปรางค์" นั้นเองลักษณะขององค์พระปรางค์
    หรือเรือนธาตุคล้ายฝักข้าวโพด ปลายยอดแหลม เช่นปรางค์ของปราสาทหินของพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และที่จังหวัด
    ลพบุรีอีกหลายๆแห่งทางภาคอีสาน พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปลายยอดแหลม
    คล้ายฝักข้าวโพด เป็นพระปรางค์ที่สร้างในสมัยอู่ทองตอนปลาย น่าจะเป็นไปได้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรางค์ของขอม
    ผิดกันแต่เพียงว่าเรือนธาตุขององค์พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสูงกว่าเท่านั้น แต่พระปรางค์ของอยุธยารูปทรงคล้าย
    ผลฝัก ปลายยอดกลมมนเป็นพระปรางค์ที่สร้างในสมัยอยุธยา พระปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน มีลักษณะคล้ายผลฝัก
    มีผอมกว่าพระปรางค์สมัยอยุธยา
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD><TD width="95%">[​IMG]</TD><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">พระปรางค์สมัย รัตนโกสินทร์</TD><TD align=middle width="95%">พระปรางค์สมัยอยุธยา</TD><TD align=middle width="95%">พระปรางค์แบบนครวัต</TD></TR></TBODY></TABLE>เจดีย์ทรงระฆังมีองค์ระฆังเป็นลักษณะเด่น ไม่มีแท่นฐานรองรับอยู่ส่วนล่างเหนือองค์ระฆังเป็นส่วนยอด มีบัลลังก์
    เป็นรูปสี่เหลี่ยมและทรงกรวยรูปปล้องไฉน เป็นเจดีย์แบบทรงลังกา องค์ระฆังคว่ำมีขนาดใหญ่มีที่จังหวัดสุโขทัยและ
    กำแพงเพชร
    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้น รับอิทธิพลการสร้างเจดีย์มาจากสุโขทัยดังนั้น เจดีย์ของอยุธยา จึงมีรูปทรงสันฐานเหมือน
    กับเจดีย์สุโขทัยและกำแพงเพชรองค์ระฆังใหญ่ มีบัลลังก์ปล้องไฉน เป็นรูปวงแหวนซ้อนกันถี่ยิบ มีหยาดน้ำค้างหรือ
    ลูกแห้วอยู่ปลายยอด
    เจดีย์ที่สุพรรณบุรีเป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยอู่ทอง องค์ระฆังเล็กผิดกับเจดีย์ทรงลังกาของสุโขทัย เชิงฐานมีสี่เหลี่ยม
    และแปดเหลี่ยม หากจะเรียกว่าเป็นเรือนธาตุก็ได้ เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังคว่ำเล็กไม่มีบัลลังก์เหมือนของสุโขทัยและอยุธยา
    มีปล้องไฉนเป็นรูปคล้ายจานเชิงซ้อนกัน มีเหลืออยู่เพียงองค์เดียวที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
    จังหวัดสุพรรณบุรี นอก นั้นหักหมด เจดีย์สมัยอู่ทองดังกล่าว นี้อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีขณะนี้เหลือเพียง 5-6 องค์เท่านั้น
    น่าเสียดายมากหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ชาวบ้านตำบลรั้วใหญ่และตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ทำลาย
    เจดีย์องค์ระฆังเล็ก เอาอิฐขายลงเรือเอี้ยมจุ๊นหมดไปไม้น้อยกว่า 20 องค์
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">เจดีย์สมัยสุโขทัย
    อิทธิพลลังกา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>เจดีย์ทรงระฆังใหญ่ศิลปะลังกาแบบเดียวกับเจดีย์สุโขทัยและอยุธยาอยู่ที่ สุพรรณบุรี 2-3 องค์ คือที่วัดชุมชนสงฆ์
    ประชุมสงฆ์และเถลไถล ในเขตตำบลรั้วใหญ่
    เจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ส่วนมากย่อไม้สิบสองและมีเชิงฐานเตี้ยในเขตกรุงเทพฯมักจะสร้างดอกดวงต่างๆ เต็มองค์
    เป็นจำนวนมากที่สุพรรณบุรีก็มีมากพอสมควร แต่ไม่มีดอกดวงประดับเหมือนวัดในกรุงเทพฯ นอกจากนั้นในสุพรรณบุรี
    ยังมีเจดีย์ลาวอีก เป็นรูปทรงปลายแหลมไม่มีลวดลายใดๆ พบในจังหวัดสุพรรณบุรีเพียง 2 แห่ง ที่วัดหนองพุทธางกูรและ
    วัดไทร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="24%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="95%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="95%">เจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอกล่าวพอเป็นสังเขปเพียงเท่านี้

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++



    ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล
    http://www.soonphra.com/content/viewtopic/viewtopic.php?topicid=90&topicdetailid=110
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • s01.jpg
      s01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.3 KB
      เปิดดู:
      5,838
    • s02.jpg
      s02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.3 KB
      เปิดดู:
      5,827
    • s03.jpg
      s03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.5 KB
      เปิดดู:
      5,761
    • s04.jpg
      s04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.6 KB
      เปิดดู:
      943
    • sa06.jpg
      sa06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      10,799
    • sa07.jpg
      sa07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.8 KB
      เปิดดู:
      11,298
    • sa08.jpg
      sa08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.4 KB
      เปิดดู:
      5,801
    • sa09.jpg
      sa09.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.3 KB
      เปิดดู:
      12,793
    • sa10.jpg
      sa10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.9 KB
      เปิดดู:
      5,825
    • sa01.jpg
      sa01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      1,676
    • sa02.jpg
      sa02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8 KB
      เปิดดู:
      9,486
    • sa03.jpg
      sa03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.7 KB
      เปิดดู:
      9,709
    • sa04.jpg
      sa04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8 KB
      เปิดดู:
      882
    • sa05.jpg
      sa05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.9 KB
      เปิดดู:
      34,552

แชร์หน้านี้

Loading...