พระวัดป่าบุกใช้ “ตู้กับข้าว” ออกบิณฑบาต จัดการขยะเหลือศูนย์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 21 สิงหาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    พระสงฆ์วัดป่าบุก จ.ลำพูน ออกบิณฑบาต โดยเข็นตู้กับข้าวที่มีภาชนะจาน-ชามไปด้วย เพื่อรับอาหารที่ชาวบ้านนำมาใส่บาตร หวังลดการใช้โฟมและพลาสติกที่จะก่อให้เกิดปัญหาขยะตามมา

    พระสมุห์ณัฐธีร์ สุขวฑฒโก รองเจ้าอาวาสวัดป่าบุก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตุ๊เล็ก” เปิดเผยกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ว่า พระใช้วิธีบิณฑบาตโดยเข็นตู้กับข้าวไปด้วย ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หลังจากช่วงแรกๆ ใช้ปิ่นโต แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นรถเข็นตู้กับข้าว เพราะสะดวกกว่า

    ประจวบเหมาะกับช่วงหลัง หมู่บ้านและเทศบาลตำบลแม่แรงมีโครงการลดใช้ถุงพลาสติก จึงเชิญชวนให้ชาวบ้านเลิกนำอาหารถุงมาใส่บาตร เพื่อลดพลาสติก ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านไม่ค่อยใช้อยู่แล้ว แต่อาจจะมีชาวบ้านบางส่วนที่ซื้ออาหารถุงมาจากตลาดและนำมาใส่บาตร

    0b894e0b89be0b988e0b8b2e0b89ae0b8b8e0b881e0b983e0b88ae0b989-e0b895e0b8b9e0b989e0b881e0b8b1e0b89a.jpg

    ช่วงแรกยังมีชาวบ้านนำอาหารถุงมาใส่บาตร วัดจะแนะนำให้ใช้ภาชนะอื่น เช่น จาน หรือห่อใบตอง แต่เคล็ดลับสำคัญคือช่วงเวลาในการออกบิณฑบาตร จากเดิมพระเลือกออกบิณฑบาตในเวลา 06.30 น. ปรากฏว่าชาวบ้านยังทำอาหารไม่เสร็จ ส่วนใหญ่จึงต้องซื้ออาหารจากตลาดมาใส่บาตร ทำให้มีถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเลื่อนเวลาออกบิณฑบาตร เป็นช่วงหลัง 07.30 น. ปรากฎว่าผลตอบรับดีมาก เพราะเมื่อชาวบ้านทำอาหารเสร็จก็จะตักใส่ภาชนะ แล้วนำมาใส่บาตรได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ถุงพลาสติก ญาติโยมให้ความร่วมมือดี ออกบิณฑบาต 7 โมงเช้า รอชาวบ้านทำอาหารให้สุก อาหารที่ชาวบ้านทำคืออาหารที่พระฉัน ไม่ต้องซื้ออาหารถุงจากตลาด
    894e0b89be0b988e0b8b2e0b89ae0b8b8e0b881e0b983e0b88ae0b989-e0b895e0b8b9e0b989e0b881e0b8b1e0b89a-1.jpg

    “ตุ๊เล็ก” เล่าอีกว่า กิจกรรมบิณฑบาตลดขยะ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ชุมชนกำลังช่วยกันลดถุงพลาสติก ซึ่งปัจจุบันมีหลายโครงการที่วัดและชุมชนพยายามลดการใช้พลาสติกและโฟม รวมถึงลดการเผาขยะและเศษซากวัชพืชในชุมชน เช่น โครงการก้านตาลแปลงร่าง คือการนำกิ่งตาลมาสานเป็นเก้าอี้, โครงการเศษผ้าสร้างรายได้ โดยนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บในชุมชนไปทำเป็นกระเป๋า เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง จึงมีเศษผ้าเหลือจำนวนมาก

    ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่วัดร่วมกิจกรรมด้วยคือ การนำเศษใบไม้และเศษอาหารมาทำปุ๋ย ซึ่งกิจกรรมนี้ผู้นำชุมชนจะนำบล็อกและหัวเชื้อมาให้ จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพระและคนในชุมชนที่จะนำเศษใบไม้และเศษอาหารมาบรรจุในบล็อกดังกล่าว เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยใช้ในการเกษตร ซึ่งนอกจากจะได้ปุ๋ยแล้ว ยังช่วยลดการเผาเศษใบไม้ในชุมชนด้วย

    ขอขอบคุณที่มา
    https://news.thaipbs.or.th/content/283176
     

แชร์หน้านี้

Loading...