เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ผ้ายันต์ลป.โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก ลป.ศรี หน้าพระลาน
    ลงให้ท่านที่สอบถามเขามาพิจรณาก่อนนะครับ ขนาดประมาณ10นิ้ว*10นิ้วครับ ผ้าเช็ดหน้า
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลป.โง่นยลป.ศรี.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    805-9d4b.jpg

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ
    วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อ.เมือง จ.เลย

    กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญ หรือประมาทไป
    ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่า




    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ชื่อเดิม ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มกราคม 2447 เกิด ณ บ้านฟากเลย ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย บิดาของท่านชื่อ อมาตย์ เพี้ยฤทธิ์ (ลี จันทิหล้า) มารดาของท่านชื่อ นางตุ๊ จันทิหล้า ท่านหลวงปู่ศรีจันทร์เป็นบุตรคนที่ 12 ตระกูลจันทิหล้า เป็นครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์มาก มีฐานะญาติมิตรมากมาย เพราะบิดาของท่านหลวงปู่เป็นเพี้ย ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของข้าราชการในภาคอีสานนับได้ว่าหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นบุตรของข้าราชการไทยในยุคหนึ่งนั่นเอง และท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ

    หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ ท่านได้รับความอบอุ่นจากบิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลายพออายุได้เกณฑ์เข้าโรงเรียน บิดาของท่านได้นำไปฝากเพื่อศึกษาเล่าเรียน ณ โรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย

    ในชีวิตปฐมวัย ท่านสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในเกณฑ์ดีพอใช้ กิริยามารยาทของท่านนั้นตามปกติแล้วเป็นเด็กที่เชื่อฟังบิดามารดาและญาติพี่น้องเสมอ เมื่อได้มาอยู่โรงเรียน จึงเป็นที่รักใคร่จากครูบาอาจารย์มากท่านเป็นคนเงียบ พูดน้อยมีสติปัญญามาแต่เด็ก จิตใจของท่านนั้นมีความเมตตา ปราณี อ่อนโยนมีความสงสารสัตว์ไม่ชอบการเบียดเบียน ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ท่านมีความเข้าใจว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาย่อมมีความรักตัวกลัวตาย กลัวเจ็บ กลัวไข้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ดังนั้นการเบียดเบียนกันจึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกเบียดเบียนเกิดทุกขเวทนา มีเวรกรรมต่อกันหาที่สิ้นสุดลงไม่ ส่วนผู้เบียดเบียนผู้อื่นก็ไม่มีความสุข เกิดทุกข์ มีบาปกรรมอีกทั้งยังส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนาเช่นกัน ฉะนั้นความคิดเช่นนี้ ท่านจึงพึงระวังไม่ให้เกิดบาปกรรมและระวังมาตั้งแต่สมัยเด็กจนได้บรรพชาอุปสมบท

    การศึกษาของท่านสามารถเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ (ชั้น ป.3) ในสมัยนั้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    ในกาลต่อมา หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ความคิดเห็นจากบิดามารดาของท่านให้เพิ่มวิชาความรู้ เพื่อจะได้นำความรู้นั้นๆ มาประกอบกิจชีวิตอันดีงาม

    การศึกษาในสมัยนั้นยังไม่กว้างขวางอย่างเช่นปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์ที่จะก้าวหน้าต่อไป ก็จำเป็นอยู่ที่จะต้องศึกษาในแหล่งนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นวัดวาอารามนั่นเอง ที่เป็นแหล่งศึกษาแก่กุลบุตรผู้หวังความเจริญ

    ในปี 2461ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2461 ได้รับความเมตตาจากพระครูหวดเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีจิตใจรักในการศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม

    การศึกษาพระวินัยนั้น ท่านมีความสนใจมากในการศึกษาด้านการปกครองหมู่คณะ ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์

    ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต

    เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2462 โดยได้รับพระเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหารัชมังคลาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    หลวงปู่ศรีจันทร์ (ในสมัยเป็นสามเณร) ท่านได้มานะพยายามเป็นยิ่งยวด ศึกษาธรรมวินัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะท่านได้รับความเอ็นดูจากพระอุปัชฌาย์จารย์ และครูบาอาจารย์ผู้ฝึกสอนจนมีความรู้ความเข้าใจขึ้นอีกมากมาย และยังเป็นที่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

    สมัยที่เป็นสามเณรศรีจันทร์ จันทิหล้า นั้น ท่านได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในหมู่ของนักบวชนั้นท่านเป็นบุคคลที่รักความสงบมีความเมตตาปราณี กิริยาวาจาเรียบร้อยรู้จักบาป-บุญ-คุณ-โทษ รู้จักนอบน้อมผู้ใหญ่กว่า และยังเป็นบุคคลที่เกิดมาในสกุล "เพี้ย" คนหนึ่งจริยาขันธนิสัยจึงได้รับการอบรม มาจากบิดามารดาและบรรดาญาติพี่น้องของท่านมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ท่านเรียบร้อยนอบน้อม กายวาจาที่แสดงออกมาเป็นที่พึงจิตพึงใจแก่ผู้พบเห็นและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

    เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในทางพระพุทธศาสนา และได้มาอยู่จำพรรษาใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ ที่เป็นมหาราชบัณฑิตและท่านนักปราชญ์ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ตลอดจนถึงความเจริญก้าวหน้า มีเหตุมีผลได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสอนสั่งไว้แล้ว ท่านยังได้มาอยู่ใกล้ชิดรับใช้พระอุปัชฌาย์จารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และยังมีพระเดชพระคุณเจ้าอีกหลายพระองค์ที่ประกอบด้วยสติปัญญาอันแหลมคมรอบตู้ในพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นอบน้อมจดจำมาเป็นเยี่ยงอย่างใส่จิตใส่เกล้าของท่านมาตลอด ความที่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ หรือ วณฺณาโภภิกขุ ขณะศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ สำนักวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นท่านได้พยายามศึกษาวิชาครูผู้ดำเนินตามครูบาอาจารย์ไว้ ดังบทความที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถร นิพนธ์ไว้ ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้

    "อันธรรมดาว่าผู้เป็นครู เมื่อจะทำการสอนควรบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมให้มีก่อนแล้วจึงจะสอนภายหลัง" พรหมวิหาร 4 อย่างก็คือ

    1. เมตตา ได้แก่ ตั้งใจส่งความรักใคร่ไปให้ผู้อื่น ถอนความเกลียดชังแก่ผู้อื่น

    2. กรุณา ได้แก่ ตั้งใจช่วยทุกข์ของผู้อื่น

    3. มุติตา ได้แก่ ตั้งใจยินดีต่อผู้อื่น ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดิบได้ดี ถอนความริษยาลาภผลจากผู้อื่น

    4. อุเบกขา ได้แก่ ตั้งใจวางเฉยในเหตุการณ์ทั้งมวล แต่มิใช่เฉยอย่างปราศจากสติ คือเฉยในเมื่อได้วิจารณ์เห็นว่าหมดอำนาจเมตตา กรุณา และมุติตา ที่ได้แผ่ไปแล้วจึงเฉย

    คุณทั้ง 4 ประการนี้ เมื่อผู้เป็นครูบำเพ็ญให้เกิดมีย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความรักเคารพนับถือของผู้ฟัง และเป็นผู้ฉลาดในเชิงปราชญ์ ท่านมีความสังเกตจากครูบาอาจารย์ หมั่นศึกษาหาความรู้ใส่จิตใจ ของท่านไว้เป็นอันมากและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย แผนศึกษาอบรม การปกครองหมู่คณะ ความรู้เหล่านี้หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้มาปรับปรุงหมู่คณะที่ท่านรับผิดชอบนำความสงบสุขเจริญรุ่งเรือง ในที่สุดขณะที่ท่านเป็นสมเณรท่านสามารถสอนนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมโทที่สนามหลวงได้ซึ่งเป็นปี 2466 ต่อมาท่านได้อุปสมบทต่อโดยได้รับความเมตตาธรรมเป็นครั้งที่ 2 จากสมเด็จพระอุปัชฌาย์จารย์ของท่าน โดยได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดสัมพันธวงศ์ ตำบลสัมพันธวงศ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระมหารัชชมังคลาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2467

    ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เจริญข้อวัตรพระธรรมวินัย ตามแบบฉบับท่านผู้รู้ทั้งหลาย อันเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านในกาลต่อมาแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์ ท่านได้มีความพยายามที่จะศึกษา หาความรู้แก่ตนเองได้มากขึ้น ในพรรษาปี 2467 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่ปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากทุ่มเทให้แก่การศึกษา ท่านพยายามสนองพระเดชพระคุณของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่พระเดชพระคุณเมตตา พึงหวังในตัวของท่านไว้ ความพยายามที่เกิดจากกำลังใจที่ครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมท่านนี้ เป็นผลสำเร็จอย่างง่ายดายในปีเดียวกันคือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวงได้เมื่อปี 2467 นั่นเอง หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ แม้ว่าท่านจะมีการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม แต่ส่วนลึกของจิตใจท่านในยามนั้น หลวงปู่มีความสนใจประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมมาก และท่านได้เริ่มต้นปฏิบัติทางด้านพระกรรมฐาน ที่วัดสัมพันธวงศ์อีกด้วย สามารถกระทำควบคู่กันไปอย่างได้ผล และมีความชำนาญในสมาธิภาวนามาก

    ท่านได้ถือข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันในบาตร ฉันหนเดียว รักษาความสันโดษ ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ถ้าแม้ยามใดว่างจากภารกิจอื่นแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์จะเข้าที่บำเพ็ญเพียร ภาวนาทันที ดังนั้นก่อนที่จะหันเข้าไปอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ พอมีความเข้าใจในการปฏิบัติมาบ้างแล้วในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม หลวงปู่ศรีจันทร์ได้ศึกษา มาเป็นตัวหนังสือในข้อธุดงควัตรขณะศึกษาปริยัติธรรม แต่ท่านถือหลักที่ว่ามีความเชื่อธรรม คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่ศรีจันทร์จึงพิสูจน์และมีความรู้จริงดังการที่ได้พิสูจน์มาแล้วนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยเป็นพระมหาได้เทียบด้วยสติปัญญาแล้วว่า "เป็นสถานที่ที่ควรตั้งมหาวิทยาลัย และเป็นวิชาที่ควรบรรจุเข้าในหลักสูตรมหาวิทยาลัยทางโลก

    ธุดงควัตร 13 กับขันธวัตร 14 ในทางพระศาสนาก็สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย และหลักวิชาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยแยกออกจากธุดงค์บางข้อที่ควรเป็นสถานที่มหาวิทยาลัย แห่งการบำเพ็ญภาวนาศึกษาตามควร

    คือข้อถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่รุกขมูลใต้ร่มไม้เป็นวัตร อยู่ป่าช้าเป็นวัตร การเยี่ยมป่าช้าเป็นวัตร สถานที่ควรอนุโลมเข้าในที่เหล่านี้ก็ควรอนุโลมได้ เช่นถ้ำเงื้อมผา เรือนว่างที่ปราศจากคนอยู่อาศัยเป็นต้น แต่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ ท่านจึงมั่นในการประพฤติ จึงจำเป็นอยู่ที่จะต้องสงเคราะห์เข้าในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น การถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร การถือเฉพาะผ้าสามผืนเป็นวัตร การบิณฑบาตเป็นวัตร การฉันในบาตรเป็นวัตร การฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ เป็นวัตร การห้ามภัตต์ที่ตามมาที่หลังเป็นวัตร การไม่พักนอนเป็นคืนๆ ไปเป็นวัตร กรรมฐาน 40 ห้อง ซึ่งเป็นหลักวิชาทางภาคปฏิบัติ ก็สงเคราะห์เข้าด้วยกับธุดงค์ภาควิชาการ

    สรุปแล้ว พระพุทธศาสนาเป็นความสมบูรณ์ด้วยวิชาในแขนงต่าง ๆ เป็นมหาวิทยาลัยศาสนา มาแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เริ่มประกาศธรรมสอนโลก หลวงปู่ศรีจันทร์ จึงเข้าใจในหลักนี้ และมีความสนใจเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษาทางโลกนั้นท่านก็สามารถเรียนรู้ได้ คือ

    1. ท่านเป็นนักปกครอง

    2. ท่านเป็นนักพัฒนา

    3. ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรม

    ความจริงทั้งหลายเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านพระเดชพระคุณ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือมาเป็นอย่างดียิ่ง

    หลวงปู่ศรีจันทร์ ในฐานะที่ท่านดำรงสมณเพศอย่างสันโดษ ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ฉันเอกาวันละมื้อเดียว ไม่เคยแปรเปลี่ยนความตั้งใจเดิมตลอดเวลาอันยาวนาน ความสนใจในเรื่องพระกรรมฐานนี้ทำให้ท่านได้บุกบั่นไปนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้ฝากตนเป็นศิษย์ในสายพระกรรมฐานรูปหนึ่ง หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้รับอุบายธรรม จากพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ในแนวทางปฏิบัติทางจิตโดยอาศัยการเจริญสมณธรรม ในป่าดงพงไพร เพราะเราชาวพุทธทุกคนมีความกล้าที่จะยืนยันได้ว่า ความรู้ความสามารถที่ได้รับมาอย่างเต็มภาคภูมินั้นเป็นหลักสูตรในป่าดง

    พระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงอำนวยการสร้าง และการสอนด้วยพระองค์เอง

    และพระองค์ทรงรับสั่งพระสาวกทั้งหลายให้สั่งสอนแทนในสมัยนั้น ย่อมหมายถึงหลักวิชาที่ล้ำเลิศ ในโลกไม่มีวิชาใดเสมอเหมือนในไตรภพนี้ มนุษย์ เทวดา อินทร์พรหม ยมยักษ์ ต่างก็มีความเคารพนับถือยกย่องพระพุทธเจ้าว่า เป็นครูเอกในสามภพ ดังในบทพระพุทธคุณว่า สตถา เทวมนุสฺสานํ เป็นครูผู้สอนเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อันวิชชา "วิมุตติ" ทั้งหลายดังกล่าวมา จึงเป็นที่ยกย่องเทิดทูนสถาบันป่าเหล่านี้มาประจำศาสนาของพระพุทธองค์

    เวลาใดที่กุลบุตรเข้ามาบวชเป็นพระ ก็ทรงสอนกรรมฐาน 5 และอนุศาสน์ มีการอยู่ร่มไม้ เป็นต้น ให้วางเข็มทิศทางเดินของปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องมือฟาดฟันบุกเบิกดงหนาป่าทึบ คือกิเลสชนิดต่างๆ ภายในจิตใจที่มาปิดกั้นกันจิตไม่ให้มองเห็นทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ทำให้เตียนโล่งไปด้วยธรรมาวุธที่ประทานให้ ดังนั้นเวลาบวชเป็นสามเณร พระอุปัชฌาย์จึงสอนกรรมฐาน 5 ให้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับมารร้ายต่างๆ ให้พินาศขาดสูญไปจากจิตใจ พระอุปัชฌาย์จารย์เป็นผู้รู้ผู้จำแนกเจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    เพียงแต่ไม่สอนอนุศาสน์เกี่ยวกับการอยู่ป่าเท่านั้นทั้งนี้อาจทรงเห็นว่าสามเณรยังเล็กอยู่ จึงยังไม่ส่งเข้าแนวรบอันเป็นชัยสมรภูมิสำคัญ พระสาวกอรหันต์จำนวนมากในสมัยพุทธกาล แทบพูดได้ว่าร้อยทั้งร้อยที่สำเร็จธรรมจากป่าดังกล่าวมาแล้ว

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ภายหลังจากได้รับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ หลวงปู่ศรีจันทร์ รีบออกขวนขวายหาทางปฏิบัติธรรมในป่าดงพงไพรต่อไป หลวงปู่ได้เคยออกเดินธุดงค์ โดยไปอาศัยตามป่าภูเขาเงื้อมผาบุกไปตามป่าดงดิบต่างๆ หลายหนหลายแห่งเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ถือกำลังใจดำเนินตนไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่ขลุกขลัก ขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้วไม่ว่าชนิดใดมากน้อยเพียงใด มันต้องแสดงตัวเป็นข้าศึกของเราตลอดเวลา มันจะสำแดงฤทธิ์เดชของมันให้เห็นอยู่เสมอ ดังนั้น การออกเดินธุดงค์เพื่อขัดเกลามันออกจากจิตใจนี้ หลวงปู่ศรีจันทร์ มีความมานะอดทนเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระนักต่อสู้เป็นนักปฏิบัติธรรม จึงถือว่ากิเลสเป็นข้าศึกแก่ตัวของท่านเอง และเป็นกองทุกข์ที่จะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทุกคน ท่านจึงย่อมไม่นิ่งนอนใจที่จะเลี้ยงกิเลสไว้ ท่านกลับเห็นเสียว่า "ถ้าได้ทำลายเสียให้สิ้นซากลงไปในขณะนี้ ก็จะเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าจะเลี้ยงไว้ทำพิษแก่ตนเองในภายหลัง หรือในวันอื่นต่อไป

    สำหรับหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีภารกิจอันต่อเนื่องมากมาย ทั้งในด้านการปกครอง และทางด้านอบรมชี้แนะแนวทางอันเป็นทางเอกในบวรพระพุทธศาสนา

    อีกด้านหนึ่งคือ ทางด้านพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยหลักสองประการ

    1. ทางด้านจิตใจ

    2. ทางด้านวัตถุ

    ทางด้านจิตใจนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เปิดอบรมภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เลิกละกิเลส ตัณหา อุปาทาน มุ่งตรงต่อคำสอนขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าคือแนวทางวิมุตติหลุดพ้น นั่นเอง

    ทางด้านวัตถุนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้เป็นผู้ริเริ่มนำคณะศรัทธาญาติโยมให้ร่วมจิตใจกันสร้างถาวรวัตถุ เป็นเครื่องต่อเนื่องแก่พระศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีสง่าแก่วงการพระพุทธศาสนานั่นเอง

    807-d2b0.jpg

    ธรรมโอวาท

    สมัยนี้เป็นสมัยที่โลกวุ่นวาย เนื่องมาจากเศรษฐกิจบ้างจากภัยต่างๆ มีโจรภัยบ้าง อุทกภัยบ้าง อัคคีภัยบ้าง และเกิดอุปัทวเหตุต่างๆ มีรถชนกันบ้าง และจี้-ปล้น-ข่มขืน-เรียกค่าไถ่กันบ้าง ทำให้เกิดความหวาดเสียว สะดุ้งกลัว หาความสงบสุขได้ยาก จึงมีบางท่าน บางหมู่ บางเหล่า อยากจะแสวงหาธรรมะสำหรับปฏิบัติ ทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น ไม่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายไปตามโลก

    ผู้มีสันติคือ ความสงบย่อมมีใจเยือกเย็น เป็นสุข มีความสุภาพ อ่อนโยน นิ่มนวล มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารัก ไม่อิจฉา ไม่พยาบาทใคร เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรมเมื่อมีอุปสรรคหรืออันตรายเกิดขึ้น ย่อมมีใจเข็มแข็ง ใช้สันติของตนโดยธรรม เอาชนะอุปสรรคหรืออันตรายเหล่านั้น ให้ผ่านพ้นไปโดยสวัสดี ถ้าเป็นผู้ปกครองเขาก็สามารถทำหมู่คณะของตนให้ปลอดภัยในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ

    เรื่องสมาธิ

    สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ความจริง

    เพราะเหตุไร พระศาสดาจึงทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ เพราะใจที่ได้อบรมดีแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อันใหญ่ คนเราจะทำจะพูดดีหรือเสียก็เพราะใจ ลำพังกายเหมือนรูปหุ่น ใจเหมือนคนชักรูปหุ่น จะกระดิกพลิกแพลงไปเท่าไร ก็ส่อใจของคนชัก ฉันใด อาการกายวาจาจะเป็นไปอย่างไร ก็ส่ออาการของใจ ฉันนั้น

    อีกอย่างหนึ่ง กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่ได้รับฝึกหัดให้ชำนิชำนาญหรือประมาทไป ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่า ฉันใด ใจก็ฉันนั้น ที่ชั่วและปล่อยให้ระเริงก็จะชักจูงให้ประพฤติชั่วทางกายทางวาจามีประการต่างๆ ล้วนแต่เป็นส่วนเสียหาย ถ้าได้รับการอบรมในทางดีจึงจะชักจูงในทางดี ท่านกล่าวว่าใจที่ไม่ได้อบรมอาจทำคนให้ฉิบหาย ยิ่งกว่าโจร หรือคนมีเวรจะทำให้เสียอีก ใจที่ได้รับการอบรมอาจทำได้ดียิ่งกว่าบิดามารดาและญาติผู้รักใคร่จะพึงทำให้ได้ เพราะเหตุนั้นพระศาสดาผู้ทรงพระกรุณาใหญ่แสวงหาประโยชน์แก่ประชาชน จึงได้ทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ

    สมาธินั้น พึงรู้อย่างนี้ ใจนี้อบรมดีแล้วย่อมเห็นอรรถเห็นธรรมแจ้งชัด ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ แต่ใจนี้โดยปกตินี้อารมณ์ไม่ดีเข้าขัดขวางไม่ให้แน่แน่วลงได้ ซึ่งเรียกว่านิวรณ์ คือธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี นิวรณ์ท่านแจกเป็น 5

    ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกกามฉันทะ 1 ความงุ่มง่านด้วยกำลังโทสะอย่างสูง ถึงให้จองล้างจองผลาญผู้อื่น เรียกชื่อตามอาการถึงที่สุดว่า พยาบาท

    ความท้อแท้หรือคร้านและความง่วงงุน รวมเรียกว่า ถีนมิทธะ เพราะเหตุหดหู่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก 1

    ความฟุ้งซ่านหรือคิดพล่านและจืดจางเร็ว รวมเรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจจะ เพราะเหตุกำเริบไม่อยู่ที่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก 1

    ความลังเลไม่แน่ลงได้เรียก วิจิกิจฉา 1

    สมัยใดนิวรณ์ 5 อย่างนี้ แต่อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำจิตบุคคลย่อมไม่คิดเห็นอรรถเห็นธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมไม่อาจประกอบกิจให้สำเร็จ ประโยชน์ตนประโยขน์ท่านการทำจิตให้ปลอดจาก นิวรณ์เหล่านี้ รักษาให้แน่วแน่ชื่อว่าสมาธิ

    สมาธินี้ เป็นกำลังสำคัญในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุผลอันสุขุมลุ่มลึก พระศาสดาจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า

    สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ผู้มีใจตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริง

    ใจดวงเดียวนึกพร่าไปในอารมณ์ต่างๆ ย่อมคิดติดแลไม่เห็นทาง ดุจน้ำบ่าไปหลายทาง ต่อนึกดิ่งลงไปในอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ จึงจะคิดเห็นปรุโปร่ง เหมือนน้ำจากกำลังใบพัดเครื่องจักร ที่ไหลบ่าลงทางเดียว ฉะนั้นสมาธิก็คือ รวมความคิดของใจให้ดิ่งลงไปในทางเดียว จึงเป็นกำลังอันใหญ่ให้แทงตลอดอรรถธรรม และเหตุผลอันสุขุม

    การเข้าสมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ

    1. ทำให้กระแสจิตแรงกล้า มีแสงสว่างจ้ากว่าธรรมดา แสงสว่างนี้ เรียกว่าปัญญา ประโยชน์ของสมาธิในลักษณะนี้เราจะพูดสั้นๆ ว่า สมาธิทำให้เกิดปัญญาก็ได้ พระบาลียืนยันก็มีว่า สมาธิ ปริภาวิโต ปญญามหปผโล โหติ มหานิสโส สมาธิทำให้ปัญญาใช้ได้ผลมาก

    2. ทำให้กิเลสหมดไป หมายความว่าจิตคนเราตามปกติย่อมเต็มไปด้วยกิเลส ความรัก ความชัง ความหลง พอกพูนด้วยอารมณ์ทั้งดีทั้งร้าย จนกระทั่งได้ชื่อว่า ปุถุชนคนหนา ที่นี้จิตที่ถูกควบคุมเข้าสู่วงจำกัดทีละชั้นๆ นั้น จะทำได้ต่อเมื่อสละอารมณ์อันรุงรังออกจากจิตให้มากที่สุดจึงจะเข้าสมาธิชั้นในๆ ได้ เปรียบเหมือนว่า มีประตูอยู่ 8 ชั้น ชั้นนอกกว้างแล้วก็แคบเข้าตามลำดับคนๆ หนึ่ง หาบของมารุงรังจะเข้าประตูนั้น ต้องทิ้งหาบอย่างน้อยก็ข้างหนึ่งจึงจะเข้าได้ พอไปถึงประตูที่ 2 ถ้ายังหิ้วของอยู่ก็เข้าไม่ได้ต้องทิ้งหิ้วพอจะเข้าประตูที่ 3 ต้องทิ้งห่อ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวจึงจะเข้าประตูสุดท้ายได้ ฉันใดก็ฉันนั้น จิตจะต้องปล่อยอารมณ์เลวร้ายเรื่อยไป จึงจะเข้าฌานโดยลำดับไปจนถึงฌานที่ 8 ได้ ท่านผู้ได้รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี ก็ยังเป็นส่วนโลกียะอยู่ จุติจากอัตตภาพนั้น แล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลก ตามกำลังญาณของตน ส่วนผู้ปฏิบัติด้วยการชำระกาย วาจา และใจ ของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมประสงค์ทุกประการ

    รวมความว่า สมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ

    1. ทำให้ดวงปัญญาแก่กล้า

    2. ทำให้บรรลุนิพพาน

    ปัจฉิมบท

    ปัจจุบันนี้ หลวงปู่ศรีจันทร์ ยังรอนักปฏิบัติธรรม เพื่อค้นคว้าหาทางพ้นทุกข์ตามสติกำลัง ที่ท่านพึงแนะนำได้อยู่เป็นนิจ

    หลวงปู่ยินดีเป็นอันมากที่บรรดาพุทธบริษัทให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน

    หลวงปู่มักกล่าวสอนอยู่เสมอว่า

    "การปฏิบัติพระกรรมฐานนี้ มีทางออกที่ดี เพราะสามารถยกระดับจิตความคิดทางใจ ให้พ้นออกจากกองทุกข์ ที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อย่างสิ้นเชิง

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านสมแล้วที่เป็นเนื้อนาบุญของพวกเรา ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า


    ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

    พระรูปเหมือนเนื้อผง หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อ.เมือง จ.เลย พระเกจิที่น่าเคารพนับถืออีกท่านของเมืองเลย

    พระเทพวราลังการ หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง อ.เมือง จ.เลย อธิษฐานจิตวันที่ 17 พฤษภาคม 2523 หลวงปู่เป็นศิษย์รุ่นใหญ่องค์หนึ่งในท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเป็นพระมหาเถระที่ทำให้ผมหายซื่อบื้อไปได้เยอะเมื่อสมัยที่ผมยังเข้าใจว่าท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เป็นพระภิกษุรูปเดียวในโลกที่สามารถนั่งฟังเทศน์และอธิษฐานจิตวัตถุมงคลได้ตลอดรุ่ง หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละคราวได้อย่างมหัศจรรย์สุดแสน ทั้งนี้โดยไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนอิริยาบถเลยแม้แต่น้อย แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ.2518 เมื่อวัดศรี-สุทธาวาส หรือ วัดเลยหลง ของท่านเอง กรรมการวัดได้ขอร้องท่านทำเหรียญรุ่นแรกอย่างเป็นทางการและจัดพุทธาภิเษกแบบยิ่งใหญ่ หลวงปู่ศรีจันทร์เป็นองค์ประธานแล้วท่านก็กระทำมหาอภินิหาร นั่นคือนั่งบนธรรมาสน์ จับสายสิญจน์สงบจิตสู่องค์ฌานตั้งแต่ 6 โมงเย็นวันนี้จนกระทั่ง 6 โมงเช้าวันรุ่งขึ้นรวมเวลา 12 ชั่วโมงเต็มโดยไม่ขยับสรีระใด ๆ เลย
    ( ขอบคุณข้อความประกอบคัดลอกจก บอร์ดศิษย์สายหลวงปู่มั่น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระรูปเหมือนเนื้อผง หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อ.เมือง จ.เลยให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลป.ศรีจันทร์.JPG ลป.ศรีจันทร์หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2019
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    1.png

    คัดลอกมาจาก

    www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-hist-index-page.htm


    หลวงปู่สิม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาของท่านชื่อ นายสาน นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม ๑๐ คน ในคืนที่หลวงปู่เกิดนั้น ประมาณเวลา ๑ ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้มหลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง มีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่ง แลดูเย็นตาเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต๊อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม นางคำสิงห์ก็ให้กำเนิดเด็กน้อย ผิวกายขาวสะอาด นายสานผู้เป็นบิดาได้ตั้งชื่อให้ว่า “สิม” หมายถึงโบสถ์ อันบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาท่านก็ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรมจนตลอดชั่วชีวิตของท่าน ..

    หลวงปู่สิม เป็นพระกรรมฐาน เป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของท่าน คือการนั่งขัดสมาธิเพชร ท่านเน้นย้ำเสมอว่า การนั่งสมาธิภาวนา ใจต้องเด็ด นั่งขัดสมาธิเพชรนี้แหละ จะช่วยให้จิตใจอาจหาญขึ้นมาได้ โดยน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งก่อนตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาธิเพชรใต้ต้นโพธิ์ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน แลกกับการตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาน ท่านว่าการปฏิบัติจะให้ได้ผลต้องปล่อยวางร่างกายลงไป ปล่อยวางความหมายมั่นในรูปร่างกาย ทั้งต้องระลึกถึงความตายให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ท่านพระอาจารย์มั่นได้พยากรณ์ไว้ว่า “.. ท่านสิมเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใด จะหอมกว่าหมู่” ..

    ในวัยเด็กนั้น หลวงปู่ฯ ท่านอยู่ในครอบครัวชาวนา ก็มีหน้าที่ช่วยเลี้ยงควาย ท่านเล่าว่า ”เฮามีควายเขาตู้อยู่ตัวหนึ่ง มันอยากจะชนเขาอยู่เรื่อย แต่ชนทีไรแพ้ทุกที เพราะมันไม่มีชั้นเชิงเอาเสียเลย ได้แต่ก้มหน้าก้มตาเอาหัวงัดลูกเดียว ไม่กี่ทีก็หันหลังวิ่งหนีแล้ว” มิน่าล่ะ คนไม่มีปัญญา หลวงปู่ฯ จึงเรียกว่า ควายเขาตู้ การภาวนาก็เหมือนกัน หลวงปู่เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    “ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา พิจารณาอุบายที่ถูกจริต อาศัยความเพียรอย่างเดียวบ่ได้ เหมือนคนกินอาหารต้องรู้จักเลือกกินปลากินไก่บ้าง ไม่ใช่กินเนื้ออยู่นั่นแล้ว กิเลสมันพลิกแพลงเก่งต้องตามให้ทัน คนรู้จักพิจารณาก็ได้บรรลุธรรมเร็ว อย่างสาวกในครั้งพุทธกาล ตั้งใจจะบวช พอปลงผม ผมตกลงมาเท่านั้นแหละ ท่านก็ปลงกรรมฐานได้เลยว่าผมไม่ใช่ของใคร ปล่อยวางทุกอย่างก็ได้บรรลุธรรมเลย แล้วแต่สติปัญญาของคนจะพิจารณา บางองค์นั่งฟังเทศน์ก็ได้บรรลุเลย อย่างนั้นปัญญาท่านมาก”

    (กระผม - หมายถึง คนรู้น้อย ผู้โพสท์ข้อความนี้ เห็นว่า คำสอนของท่านตรงนี้ถูกต้องเป็นอย่างมาก เหมือนที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเคยสอนว่ามโนมยิทธิ – ญาณ ๘ ที่ท่านสอนให้นั้น มิใช่เพื่อจะไปนั่งครึ้มอกครึ้มใจว่าเรามีคุณวิเศษยิ่งกว่าคนอื่นๆ ใช้ท่องเที่ยวไปตามภพภูมิต่างๆ ได้ แต่ให้ใช้เป็นเครื่องมือที่ดีในการพิจารณาสภาวธรรม เพื่อให้เกิดปัญญาในการตัดกิเลส อย่างเช่นสักกายทิฐิ การถือตัวถือตน มีความประมาทในความตาย ก็ลองใช้บุพเพนิวาสานุสติญาน ถอยหลังไปดูซิว่า เราเกิด-ตายมากี่ครั้งแล้ว แต่ละครั้งมีสภาพอย่างไรยากดีมีจนอย่างไร มีความทุกข์อย่างไร หมั่นพิจารณา และระลึกอยู่เรื่อยๆ กิเลสในข้อนี้ก็จะค่อยๆ ลดลงไป และให้พิจารณาตัดสังโยชน์ไปทีละข้อ โดยใช้วิชานี้ประกอบ เพื่อการขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง นั่นจึงจะตรงกับความต้องการของท่านมากที่สุด)

    สมัยที่หลวงปู่ฯ เริ่มเข้ารุ่นหนุ่มนั้น ท่านสนใจในการเป่าแคน และได้เคยไปเที่ยวล่ากระต่ายกระแตบ้าง แต่สิ่งบันดาลใจที่ทำให้ท่านอยากออกบวชก็คือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า

    “ตั้งแต่ยังเด็กแล้ว เมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจทุกครั้งกลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช”

    ในที่สุดเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ขอบิดามารดาบรรพชา เป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม (เป็นวัดมหานิกาย) ณ บ้านบัวนั่นเอง ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ได้เดินธุดงค์มาจากหนองคาย โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิมจึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ท่านบังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น และได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติ โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าสามผง จังหวัดนครพนม หลังจากนั้นท่านได้ร่วมขบวนธุดงค์ ติดตามท่านอาจารย์มั่นจากจังหวัดนครพนม ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี

    ต่อมาเมื่ออายุครบบวช สามเณรสิมจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ไปจำพรรษาที่วัดป่าเหล่างา จังหวัดขอนแก่น ที่นี่ท่านได้รับการอบรมกรรมฐานบทแรกอย่างถึงใจ คือมีอยู่วันหนึ่ง ฝนตกหนัก ชาวบ้านออกมารองน้ำฝนและเล่นน้ำฝน เกิดฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาที่ท่อรอง เป็นผลให้มีคนตาย ๒-๓ คน เขาเอาศพมาฝังในป่าช้า พอฝังไปได้ ๓-๔ วัน ท่านพระอาจารย์สิงห์ ก็พาพระเณรไปขุดศพขึ้นมา หลวงปู่สิมเล่าด้วยเสียงกลั้วหัวเราะ

    “ขุดขึ้นมาใส่กองไฟเขียวอื๋อเลยละ เขียวเหมือนเทา สภาพศพกำลังเน่า หนังตอนนั้นยังเหนียวอยู่ยังไม่แตก เหม็นไม่ต้องบอกละ เต็มจมูกทุกองค์ ได้อสุภะกันหมด ถ้าได้สักศพเอามาเผาที่ถ้ำผาปล่อง เณรน้อยน่ากลัวจะไม่ยอมอยู่ละ”

    “นี่แหละคือร่างกาย” หลวงปู่ฯ พูดเนือยๆ อย่างปลงตกแล้วโดยสิ้นเชิง

    “บางครั้งบางสมัยมันก็ต้องดม ครูบาอาจารย์เพิ่นทำ เราจะหลบไปทางอื่นก็ไม่ได้ ก็ต้องดมไปด้วยกัน”

    ท่านเล่าประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานอีกตอนหนึ่งว่า

    “ศพที่เก็บไว้ ๔-๕ วันก่อนจะเผานั้น ถ้าสมณะนักบวชเรายังไม่เคยเห็นก็อาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่ผู้ที่เคยดูศพอย่างนั้นมาแล้ว จะนึกได้ว่าพอเปิดฝาโลงเท่านั้นแหละ จะเป็นน้ำมันท่วมขึ้นมาตั้งครึ่งโลง(สมัยก่อนยังไม่มีฟอร์มาลีนฉีด ศพก็จะเน่าไปตามกาลเวลา) แมลงวันไม่รู้มาจากไหน ไม่ต้องมีใครไปเชื้อเชิญละ มาจับสบงจีวรเต็มไปหมด เวลาไปชักบังสุกุลเสร็จ ดมซากศพเสียไม่รู้ว่ากี่ลมหายใจ”

    “นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นเป็นรูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่ากัน”
    “สมมติโลกว่าสวยงาม สมมติธรรมมันไม่มีสวยงาม อสุภัง มรณัง ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตายตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ มันก็ทยอยตายไปทีละคนสองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ …”
    https://palungjit.org/threads/เกร็ดประวัติหลวงปู่สิม-พุทฺธาจาโร.333798/

    พระเดชพระคุณหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทุ่มเทชีวิตจิตใจในเพศพรหมจรรย์ บากบั่นดำเนินตามรอยพระบูรพาจารย์ อุปนิสัยละมุนละไม มีเมตตาเป็นสาธารณะ ใจเด็ด มุ่งหวังเพียงความพ้นทุกข์ ได้รับคำชมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ว่า "เป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใดจะหอมกวาหมู่"

    ท่านเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าเขาและยอดดอยทั่วทุกภาค ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเที่ยวเข้ามาวนเวียนฟังธรรมภาคปฏิบัติอยู่เสมอ เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นท่องเที่ยวธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ท่านก็จะติดตามไปอาศัยอยู่ในรัศมีธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นเสมอมา

    ท่านชอบอยู่ตามท้องถ้ำและภูเขาสูงตราบจนวัยชรา เก่งมนการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน ท่านสามารถอรรถาธิบายในกายคตาสติกรรมฐานพิจารณากระดูก ๓๐๐ ท่อนได้อย่างพิสดาร ท่านถือเคร่งใน "โสสานิกังคธุดงค์" คือ ธุดงค์ข้อ ๑๑ ว่าด้วย การเข้าไปเยี่ยมและอยู่ในป่าช้า พิจารณาซากศพเป็นวัตร ท่านเป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งหลาย

    ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายสาน และนางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา

    ในคืนที่ท่านมาปฏิสนธิ มารดานิมิตเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งเหาะมาจากท้องฟ้ามีรัศมีในกายเปล่งประกายแลดูเย็นตาเย็นใจ เหาะลงสู่กระต๊อบกลางทุ่งนา ด้วยนิมิตดังกล่าวนายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" (หมายถึงโบสถ์)

    เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณรฝ่ายมหานิกาย ณ วัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระปัพพาจารย์



    2.png

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กราบนมัสการหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร



    ต่อมาท่านได้มีโอกาสฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ณ วัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ปีติในธรรม บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ได้บรรพชาใหม่เป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต ที่โบสถ์น้ำวัดศรีสงคราม โดยท่านพระอาจารย์มั่น เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระปัพพาจารย์

    ท่านอุปสมบทเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ณ วัดศรีจันทราวาส ตำลบพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระครูพิศาล อรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวจารย์




    3.png

    วัดถ้ำผาปล่อง ตั้งอยู่บนดอยหลวงเชียงดาว



    4.png

    รูปเหมือนหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร


    หลังจากท่านอุปสมบท ได้เดินธุดงห์ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรม) จังหวัดขอนแก่น และท่านพระอาจารย์สิงห์ได้สอนอุบายในการพิจารณาอสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาไปขุดซากศพที่ป่าช้าขึ้นมาพิจารณา ท่านได้อสุภะกรรมฐานจากซากศพว่า "นี่แหละร่างกาย สักแต่ว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย คืออันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่ากัน อสุภํมรณํ ทั้งนั้น ไม่นานล่ะ เดี๋ยวมันก็ทยอยตาย ไปทีละคนสองคน หมดไปสิ้นไป ไม่มีเหลือ ตายจนกระทั่งหมดโลก"

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ท่านได้เดินทางธุดงค์มาพบถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ถ้ำนี้ทะลุถึงกันได้ มีลักษณะเป็นปล่อง อากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะสำหรับบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาท่านก็อยู่จำพรรษา และพัฒนาจนกลายเป็นสถานที่อบรมภาวนาปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้หวังความหลุดพ้น มาจนถึงจวบจนสิ้นอายุสังขารของท่าน



    5.png

    อัฐิธาตุหลวงปู่สิม ณ พระธุตังคเจดีย์


    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน ๖๓ พรรษา



    6.png

    7.png

    อัฐิธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่



    8.png

    พระธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่



    9.png

    เกศาและพระธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่

    ข้อมูลจาก: หนังสือพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
    ขอขอบคุณ ภาพเอื้อเฟื้อจาก
    http://www.relicsofbuddha.com/
    www.santidham.com
    http://www.tourwat.com/



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูป หลวงปู่สิม พุทธจาโร ถ้ำผาป่อง เชียงใหม่ขนาดประมาณ1นิ้วเป็นกระดาษแข้ง ให้บูชาใบละ 50 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ มี 6 ใบครับ

    ลป.สิม.JPG ลป.สิมหลัง.JPG
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่พวง สุวีโร ( พระครูวีรธรรมานุยุต )

    1647-c416-gif.gif วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    นามเดิม พวง สีทะเบียน

    เกิด วันจันทร์ ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะโรง บ้านเกิด ณ บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    บิดามารดา นายจุ่น สีทะเบียน และนางมา ขันตีพันธุวงศ์ พี่น้อง ทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    บรรพชา เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

    อุปสมบท วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๕.๔๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมากลางน้ำหนองแวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เรื่องราวในชีวิต เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ได้ทำงานประมงบ้าง ทำงานต้มสุราบ้าง ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่ามารดาป่วยหนักจึงลางานไปเยี่ยมมารดา ก่อนมารดาของท่านจะสิ้นลม ได้สั่งท่านว่า “บวชให้แม่นะ ถ้าลูกไม่บวชให้ แม่จะตายตาไม่หลับ” ท่านยก็รับปากแล้วมารดาก็สิ้นใจ ด้วยจิตศรัทธาอยากจะบวชอยู่แล้ว ในช่วงที่รอเวลาเหมาะที่จะบวชอยู่นั้น ท่านได้แสวงหาฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ เช่น ไปฟังธรรมะพระอาจารย์สิงห์ สหธมฺโม พระอาจารย์พร สุมโน พระอาจารย์สีลา เทวมิตโต เมื่อ ถึง พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้นุ่งขาวห่มขาวอยู่กับพระอาจารย์สีลา เทวมิตโต อยู่ถึง ๒ ปี จึงได้บวช ในช่วงระยะนั้นท่านยังได้ฟังธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มาแวะเวียนธุดงค์อยู่แถวนั้นด้วย อีกทั้งยังเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตอาพาธหนัก ท่านได้ช่วยหามหลวงปู่มั่นไปจนถึงวัดป่าสุทธาวาส และหลวงปู่มั่นก็มรณภาพ ณ ที่นั่น ท่านจึงได้อยู่ช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนแล้วเสร็จจึงได้บวช

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ออกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้ออกธุดงค์กรรมฐานไปในเขตหลายจังหวัด ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ และได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น และได้มาก่อตั้งวันป่าปูลูสันติวัฒนา ที่บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่พวง สุวีโร มีสหธรรมมิกที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร หลวงปู่ท่อน ญาณธโร หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เป็นต้น

    ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยองค์หนึ่ง และปฏิปทาอันสืบทอดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเป้นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กระจายไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยน้ำเสียงและสำนวนการเทศนาที่ไพเราะน่าฟังของท่านเป็นเหตูให้มีผู้เลื่อง ใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและองค์ท่านเป็นจำนวนมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในขณะกำลังนั่งภาวนา ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ

    มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๕๐ น. ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ
    ข้อมูลพิเศษ * คู่นาคที่บวชพร้อมกับหลวงปู่ในครั้งนั้น คือ พระราชญาณมุนี (บุญมี ฐิตปุญโญ) เจ้าคณะจังหวัดสกลนครองค์ปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๕๐)

    ธรรมโอวาท
    “...คนจะดีหรือเลวก็เพราะจิตนี่แหละเป็นตัวการอันสำคัญ เพราะจิตเป็นธรรมชาติอันวิจิตร จึงทำให้สัญญาคือความจำวิจิตร เพราะสัญญาวิจิตรจึงทำให้ตัณหาวิจิตร เพราะตัณหาคือความทะเยอทะยานอยากวิจิตรจึงทำให้คนเราทำกรรม”


    “...การไม่เกิดนั่นแหละเป็นการดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้ากิเลสยังมีอยู่ มันก็เกิดอยู่ร่ำไป เพราะความคิดเป็นเหตุให้เกิดความอยาก ความอยากเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำ การกระทำเป็นเหตุให้เกิดการได้คือบุญบาป เมื่อมีบุญบาปก็ต้องเกิดอีกต่อไป...”


    “...สมาธิและปัญญาเปรียบเสมือนตะเกียงและแสงสว่างของมันเอง มีตะเกียงก็มีแสง ไม่มีตะเกียงมันก็มืด ตะเกียงนั่นแหละที่เป็นตัวการแท้ของแสงสว่าง และแสงสว่างเป็นแค่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียงโดยชื่อ ฟังดูแล้วเป็นสองอย่าง แต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นของอย่างเดียวกัน และทั้งเป็นอันเดียวกันด้วย..”

    1648-ebc3-jpg.jpg

    ภาพหลวงปู่พวง กับหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ คราวไปนมัสการพุทธสถานอินเดีย

    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14422



    280101-1-jpg.jpg

    “เนื้อนาบุญอันประเสริฐ”
    การทำบุญกับพ่อแม่ครูอาจารย์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีผลานิสงส์มาก สามารถเปลี่ยนภพภูมิญาติพ่อแม่พี่น้องเราได้ ดังเช่นเรื่องที่จะเล่าดังต่อไปนี้ เป็นเรื่องของหลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู








    280101-2-jpg.jpg
    ท่านเล่าว่า ท่านเองได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วันหนึ่งนั่งสมาธิเห็นโยมแม่ที่ตายแล้ว ได้เป็นอยู่อย่างอัตคัด ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จึงอธิษฐานกับพระประธานว่า “ช่วงเช้าไปบิณฑบาต ขอให้มีคนมาถวายผ้า” ครั้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาถวายผ้าขาวจริงๆ ท่านจึงนำผ้าขาวไปย้อมด้วยหินสีแดง แล้วนำไปซักตาก พอแห้งก็นำมาย้อมแล้วซักตากอีกรอบ จากนั้นก็นำไปพับถวายหลวงปู่ขาว กราบเรียนท่านว่า “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ บังสกุลแหน่ อุทิศให้แม่” หลวงปู่ขาว จึงชักผ้าบังสุกุลให้ คืนนั้นหลวงปู่พวง นั่งภาวนาเห็นโยมแม่ มีผ้านุ่งผ้าห่มผืนใหม่ แล้วยังมีผ้าอีกหลายผืนห้อยเต็มไปหมด
    จากนั้นหลวงปู่พวงจึงคิดว่าทำอย่างไร โยมแม่จึงมีที่อยู่ที่อาศัย หลายวันต่อมา มีโยมนิมนต์หลวงปู่ขาว กับพระที่วัดไปสวดมนต์ที่บ้าน หลวงปู่พวง จึงได้มีโอกาสตามไปด้วย ญาติโยมได้ถวายปัจจัย หลวงปู่ขาว จึงบอกกับพระสงฆ์ว่า อัฐบริขารเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว ให้นำปัจจัยนี้ไปสร้างกุฏิ และถาน(ส้วม) ตามที่ท่านพวง อธิษฐานไว้ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่พวง จึงได้น้อมถวายกุฏิ และถาน(ส้วม) แก่หลวงปู่ขาว อนาลโย




    280101-3-jpg.jpg
    จากนั้นตกกลางคืน หลวงปู่พวงได้นั่งสมาธิ มองหาแม่ ออกตามหาทั้งคืนก็ไม่เห็น ผ่านไป ๔ วัน จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ขาว “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ หาแม่บ่เห็น” หลวงปู่ขาว บอกให้ "ขึ้นสูงๆ” หลวงปู่พวง จึงนั่งสมาธิหาตามยอดไม้ก็ไม่เห็น หรือจะเป็นที่สวรรค์กันแน่ ท่านจึงรวบรวมพลังจิตทั้งหมดขึ้นไปดู จึงเห็นวิมานของโยมแม่บนสวรรค์ เห็นร่างกายที่เป็นทิพย์ของโยมแม่ จึงสบายใจขึ้นว่า โยมแม่พ้นทุกข์แล้ว ก็เพราะด้วยบารมีธรรมของของพระผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ หากเราได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว อานิสงส์ย่อมส่งผลไปถึงญาติของเราแม้นอยู่ปรโลก ก็สามารถให้พ้นทุกข์ พ้นโทษภัยได้ อย่างองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านจึงถือว่าเป็นเนื้อนาบุญเอกของโลก
    ที่มา FB : เพจพระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จรุ่นแรกติดเกษาหลวงปู่พวง ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    วันนี้จัดส่ง

    EI521404344TH เชียงราย

    EI521404358TH ตลิ่งชัน

    ขอบคุณครับ
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    229-a221.jpg

    ๑. ออกบวช

    ทีนี้ก่อนอื่นที่จะออกบวชในศาสนานั้น แต่ก่อนมาโน้น ก็ยังไม่ได้ใฝ่ฝันในการบวชหรอก ให้เห็นพระตามสถานที่ต่าง ๆ นั้น ก็มีใจยินดีอยู่ แต่ยังไม่คิดว่าอยากจะบวช ต่อเมื่อได้สร้างโลก (มีครอบครัว) จบสิ้นลงไปแล้วทีนี้ก็เลยคิดอยากจะออกบวช ทั้งนี้เพราะมีความคิดถึงผู้บังเกิดเกล้าเหล่ามารดาบิดาผู้มีพระคุณอย่างสุดยิ่ง คิดว่าจะบวชบำเพ็ญบุญอุทิศไปให้ท่าน เพราะนักปราชญ์ทั้งหลายท่านพูดว่า จะทำอะไรเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดามารดานั้นทำได้แสนยากนัก จะไปทำไร่ทำนาค้าขายหารายได้จากสิ่งเหล่านั้นมาตอบแทนก็ไม่สมดุลกับบุญคุณนั้นจะเอาบิดามารดาขึ้นมานั่งบนบ่าถ่ายราดหนักเบา ให้ท่านอยู่เย็นสบายทั้งวันคืนก็ยังไม่สมดุลกับบุญคุณของท่าน

    บุญคุณของมารดาเท่ากับแผ่นดิน บุญคุณของบิดาเท่ากับแผ่นฟ้าอากาศกว้างกลางหาว จะหาสิ่งใดมาตอบแทนได้ไม่เสมอเหมือน

    ปี ๒๔๙๐ ก็เลยได้ออกบวช ครั้นเมื่อออกบวชแล้วก็ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยการเดินจงกรม ยืนภาวนา นั่งสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้ว ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม ก็อุทิศส่วนบุญไปให้ทุกวันว่า “แม่ข้าพเจ้าชื่อว่า นางเลี่ยม ชมพูวิเศษ ตายแล้วไปตกอยู่สถานที่ใดหนอ เป็นสุขหรือทุกข์ประการใด ขอบุญกุศีลส่วนนี้จงไปถึง และช่วยเหลือให้พ้นจากสถานที่ทุกข์ร้อนด้วยเกิด”

    นั่นแหละ กระทำอยู่อย่างนั้นตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ มาเป็นระยะ ๆ จนอายุพรรษาล่วงมาได้ ๘ พรรษา

    ในสมัยหนึ่งได้ไปภาวนาอยู่ที่ วัดป่าหนองแซง อ หนองวัวซอ จ อุดรธานี กับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น วันนั้นทำความเพียรอย่างหนัก ไม่ฉันอาหาร เดินจงกรมวันยังค่ำ พอค่ำมาก็เข้าที่นั่งสมาธิ ตลอดทั้งคืน ไม่ยอมนอน พอล่วงไปถึง ๔ ทุ่มความทุกข์เกิดขึ้น ความร้อนเกิดขึ้น จนถึงเที่ยงคืนจึงดับพอตี ๑ ความร้อนแสบเย็นเกิดขึ้นอีกเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งแจ้งเป็นวันใหม่ นั่งอยู่อย่างนั้น ไม่กระดุกกระดิก

    มาวันหลังเข้าที่นั่งสมาธิอีก จิตก็สงบ พอจิตสงบลงไปก็เกิดนิมิตเห็นสัตว์ทั้งหลาย มีกบเขียดปูหอยนกหนูปูปีกที่ตนได้ฆ่าเขามาแล้วนั้น ทั้งวัวและหมูก็ได้ทำมาแล้วแต่ควายไม่ได้ทำ และมนุษย์ก็ไม่ได้ทำ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลั่งไหลมาเต็มสถานที่นั้น จึงกำหนดจิตถามไปว่า

    “มาทำอะไรกันมากมายเช่นนี้ ?”

    เขาก็ตอบว่า “ได้ทราบข่าวว่าท่านมาบวชในศาสนาแล้ว จึงมาขอรับส่วนบุญ ขอท่านจงแบ่งส่วนบุญให้ด้วย เพราะท่านเมื่อสมัยที่เป็นฆราวาสนั้นได้ฆ่าพวกข้าพเจ้ากินเป็นอาหาร ฉะนั้น ถ้าไม่แบ่งส่วนบุญให้ จะขอจองเวรจองกรรมนะ ขอให้เป็นผู้ได้ประสบพบปะแต่เหตุเภทร้าย อายุสั้นพลันตาย ประกอบด้วยโรคภัยนานาชนิด ไม่มีวันจบสิ้น”

    เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้น ก็เลยตั้งจิตอุทิศแบ่งส่วนบุญไปให้และให้เขารับพระไตรสรณคมน์ และศีล ๕ แล้วก็บอกให้เขามารับทุกวัน

    เขาก็ว่า “ดีแล้ว นับว่าเป็นโชคลาภอันดี จะได้มีโอกาสไปเกิดเป็นมนุษย์ เพราะภพชาติของพวกข้าพเจ้านี้ต่ำช้าลามก ไม่มีอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น”

    ก็เลยอุทิศส่วนบุญไปให้อย่างนั้นไม่ลดละ จนกระทั่งอายุพรรษาล่วงมาได้ ๒๐ พรรษา ไม่พบเห็นสัตว์เหล่านั้นมาหาอีกเลย จึงได้ไปกราบเรียนถามหลวงปู่บัว

    ท่านก็ว่า “ผมเองก็เหมือนกัน เมื่อภาวนาจนจิตสงบลงไปแล้ว จะเห็นฝูงสัตว์ทั้งหลายมากันสนั่นหวั่นไหวหลั่งไหลมาขอรับส่วนบุญ เมื่ออุทิศให้แล้ว เขาก็รับ แล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ เขาไม่มาจองเวรจองกรรมอีกต่อไปเพราะเขาเห็นว่า ภพชาติสังขารของเขานั้นมันต่ำช้าลามก ไม่เหมือนกับพวกมนุษย์ มนุษย์เป็นภพชาติสูงส่งยิ่งกว่าใด ๆ ทั้งหมด สามารถทำคุณงามความดีได้ยิ่งเลิศประเสริฐทุกอย่าง”

    นั่นแหละ ที่เรียกว่า การบวชบำเพ็ญบุญล้างบาป เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นแล้วก็สิ้นสงสัย

    ทีนี้เรื่องการอุทิศส่วนบุญให้แม่นั้น พออายุพรรษาล่วงมาได้ ๒๕ พรรษา แม่ก็พ้นจากนรกมืดมาเกิดกับหลานสาว พออายุได้ ๒ ปี ก็พูดจาได้ความ รู้เรื่อง

    แม่ยายเขาเรียกใช้ว่า “อีหล้า ไปหยิบของมาให้แม่หน่อย”

    “มึงอย่ามาเรียกกูว่า อีหล้า กูเป็นแม่มึงนะ”

    “เป็นแม่ได้อย่างไร เพิ่งเกิดมาได้ ๒ ปี”

    สมบัติร่างกายนี้ไม่ใช่แม่หรอก เป็นหลาน แต่ว่า ใจของฉันนั้นเป็นแม่ของพวกท่าน”

    นั่นแหละ เขาก็เลยมานิมนต์ให้ไปซักไซ้ไต่ถามดู ก็เลยได้ความว่า เคยเป็นแม่ในชาติก่อน เมื่อถามว่า เป็นแม่นั้น มีบุตรกี่คน

    เขาก็ตอบได้ว่า มีบุตร ๖ คน คนที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, และ ๖ เขาก็ไล่ชื่อเสียงเรียงนามได้หมด รวมทั้งสามีภรรยา ญาติมิตรสายโลหิต ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อนบ้าน เขาบอกได้ถูกต้องทุกอย่าง ตลอดจนเรื่องเรือกสวนไร่นานั้น ก็บอกได้ถูกต้อง รวมทั้งหลักฐาน เครื่องหมายต่าง ๆ ก็บอกได้ไม่ผิด แต่แล้วก็ยังไม่ลงเอยก้นนะ จึงได้ถามเขาต่อไปอีกว่า

    “หลวงพ่อ คิดถึงเจ้านั่นแหละ จึงได้ออกบวช แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ ได้รับหรือไม่ ?”

    เขาว่า “ได้รับ ได้รับแต่ตอนกลางคืน ๕ ทุ่ม ได้รับทุกคืน แต่ตอนเช้าไม่ได้รับ ไปอยู่ที่ไหนเล่า ?” เขาต่อว่ากลับมาอีก

    “โอ๋...ตอนเช้าหลวงพ่อทำบุญน้อย พอตี ๒ ก็ลุกขึ้นมาทุกวัน แล้วนั่งสมาธิตั้งแต่นั้นไป จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วก็สวดมนต์ทำวัตรเช้า จากนั้นก็ไปทำกิจวัตร จึงไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้ อุทิศให้เฉพาะตอนเย็นเพราะตอนเย็น เดินจงกรมตั้งแต่ ๖ โมงเย็นไปจนถึง ๕ ทุ่ม ทุกวัน แล้วก็หยุดยืน นั่งสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์อุทิศส่วนบุญไปให้ เพราะตอนเย็นนั้นได้บำเพ็ญบุญมาก

    เขาว่า “ถ้าได้ทั้งเช้าและเย็น ก็คงจะพ้นจากนรกมืดได้เร็วกว่านี้”

    ก็เลยถามเขาต่อไปว่า “ไปอยู่ในนรกมืดนั้นเป็นอย่างไร ?”

    เขาก็ว่า “เมื่อขาดใจแล้ว นายนิริยบาลมาคุมตัวไปฝากไว้ในนรกมืด ไม่มีแสงสว่างเลย มืดทั้งวันคืน ไม่ได้เห็นแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์เลย”

    “ในนรกมีคนมากเท่าไหร่ ?”

    “โอ๋...ดวงวิญญาณในนรกมืดนั้นแน่นขนัด อัดแอกันอยู่เหมือนข้าวสารยัดกระสอบนั่นแหละ”

    ทีนี้เมื่อพวกท่านอุทิศส่วนบุญไปให้ จ่ายมบาลก็ว่า

    “นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ จงมารับเอาส่วนบุญ ที่ลูกบวชในศาสนาอุทิศมาให้ทุกวันคืน”

    นั่นแหละฉันก็ดีใจ เมื่อรับเอาบุญทุกวันคืน ตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ ไปถึง ๒๕ พรรษา ก็เลยพ้นจากกรรมชั่วช้าลามกทั้งหลายทั้งปวงนั้น มาอยู่เหนืออำนาจการบังคับของจ่ายมบาล เพราะอำนาจของบุญนั้นตัดกระแสของบาปกรรมในนรกออกได้ เขาก็ปล่อยไปตามเรื่อง หมดกรรมเวรแล้ว ขอแม่เจ้าจงไปตามเรื่องเถิด จงไปเกิดที่เมืองมนุษย์ แล้วเขาก็เปิดประตูเหล็กให้ เสียงประตูดังสั่นเหมือนฟ้าร้อง ได้เห็นแสงพระอาทิตย์สว่างจ้า ก็ดีใจ แล้วก็หันหน้าไปร้องบอกลาพวกที่ยังอยู่ในนรกว่า

    “พี่น้องทั้งหลาย ฉันขอลาไปเกิดเมืองมนุษย์ก่อน”

    พวกที่เหลืออยู่ก็ร้องไห้กันสนั่นหวั่นไหว เหมือนอึ่งอ่างในฤดูฝน ไปไหนไม่ได้ เพราะบาปกรรมรึงรัดผูกมัดไว้กับสถานที่นั้น บาปไม่อนุญาตให้ไป เพราะยังไม่หมดเขตเวรกรรม

    จากนั้น จ่ายมบาลก็ว่า “ขอให้ไปดี โชคแม่มีแล้วเพราะได้ลูกเป็นนักปราชญ์ชาติเมธี ใจดีมีศีลธรรม ออกบวชบำเพ็ญบุญส่งมาให้ก็ดีมาก นับว่าหาได้ยากในโลกนี้”

    นั่นแหละ ก็เห็นอำนาจของการบวชบำเพ็ญบุญ อุทิศส่วนบุญไปให้ แม่ไปตกนรกมืด บุญก็ไปช่วยเหลือให้มาเกิดตระกูลเดิมได้ ก็หมดความห่วงใยอาลัยแล้ว ได้เห็นผลประจักษ์อย่างนั้น

    ทีนี้ก็ย้อนมาถามพี่สาวบ้างว่า “ไม่ได้ทำบุญอุทิศไปให้แม่บ้างหรือ ?”

    พี่สาวก็ว่า ทำ ๓ ครั้ง น้าสาว (น้องแม่) เขาคิดถึงพี่สาวเขาก็เลยพาหลานสาวทำบุญอุทิศไปให้แม่ ทำถึง ๓ ครั้ง

    “ทำอย่างไรเล่า ?”

    น้าสาวพาทำบุญใส่เหล้าลงไปครั้งละโหลนะ ครั้งละโหลไหใหญ่ ๆ ฝังไว้ในป่าสับปะรด ป่ากล้วย ฆ่าวัว ฆ่าควาย สมัยนั้นวัวควายราคาถูก ทำบุญแต่ละครั้งหมดวัวควายไป ๔ - ๕ ตัว ตัวละ ๑๐ สลึงก็มี ตัวละ ๖ สลึงก็มี บาทหนึ่งก็มี ๕๐ สตางค์มี สมัยนั้น วัวควายไม่มีราคา

    “แล้วพระที่ไปทำบุญด้วยนั้น มีการประพฤติปฏิบัติอย่างไร ?”

    “โอ๋...พระเหล่านั้น กินข้าวแลงแกงร้อน (กินข้าวมื้อเย็น) เล่นสีกงสีกานารี ขุดดิน ฟันไม้ ถือเงินบายทองใช้จ่ายเงินทองเยี่ยงฆราวาส ) และที่วัดนั้นมีหมาพรานอยู่คู่หนึ่ง เย็นค่ำขึ้นมาก็พาหมาเข้าป่าไปล่าสัตว์ อีเห็น กระต่าย ได้มาก็เอามาทำอาหารกิน กินเหล้า กินยาต่าง ๆ นานา”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงหลวงปู่จันทรา ถาวโร ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.จันทา.jpg ลป.จันทาหลัง.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://palungjit.org/threads/ใครพอรู้จักและมีประสบการณ์-หลวงพ่อเก๋-วัดแม่น้ำ-แม่กลอง-บ้างครับ.337096/


    t=108&_nc_ohc=h1T77-pI84MAQnRtLZs8by2HsxtdDyM4qBmKylftLXkz_sNg-HX4FV1hA&_nc_ht=scontent.fbkk24-1.jpg
    ประวัติหลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    ศิษย์หลวงพ่อโต วัดคู้ หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ฯลฯ
    ท่านเป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ วัดวชิรคาม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีพระครูธรรมวิถีสถิต (หลวงพ่อโต) วัดคู้ธรรมสถิต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุตาภิรัต (หลวงพ่อรอด) วัดบางขันแตก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อทองอยู่ วัดแม่น้ำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์...
    หลวงพ่อเก๋มีความสามารถในเชิงช่างไม้ พอสอบนักธรรมตรีได้หลวงพ่อทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดแม่น้ำจึงขอตัวท่านให้มาช่วยงานที่วัดแม่น้ำ หลวงพ่อทองอยู่ท่านมีชื่อเสียงในด้านวิชาอาคมและแพทย์แผนโบราณ เก่งสมุนไพร ว่านยา ทำให้หลวงพ่อเก๋ได้ศึกษาวิชาการต่างๆเหล่านี้จากหลวงพ่อทองอยู่ไว้จนหมดสิ้น
    ต่อมาหลวงพ่อทองอยู่ได้นำท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์”หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิต” และ “หลวงพ่อรอด วัดบางขันแตก” ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิชาอาคมขลัง นอกจากนี้ท่านยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนกรรมฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่บ่าย วัดช่องลม หลวงพ่อแดง วัดท้ายหาด หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อเก๋มีพุทธคุณเด่นทั้งทางคงกระพันและเมตตา สมัยที่ท่านยังไม่ชรา ท่านจะลงไปเสกตะกรุดจันทร์เพ็ญในแม่น้ำ ตะกรุดนี้มีพุทธคุณทางคงกระพันสูง ส่วนวัตถุมงคลทางมหานิยม ค้าขายโชคลาภขึ้นชื่อของหลวงพ่อเก๋คือ ดอกบานไม่รู้โรยปลุกเสกตามวิชาที่ท่านเรียนมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ซึ่งลูกศิษย์ตลอดจนญาติโยมละแวกวัดรู้ดีว่า นั่นแหละเป็นของเมตตาชั้นเยี่ยม ท่านว่า...ดอกบานไม่รู้โรยเป็นของดี นามของดอกไม้นี้ก็บอกแล้วว่า “บานไม่รู้โรย ฉะนั้นความมั่งมีมันจะไม่โรยรา....” หลวงพ่อเก๋ มรณภาพในปีพ.ศ.๒๕๔๒

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.เก๋.jpg ลป.เก๋หลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2019
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติพระครูนิมาการโสภณ

    (หลวงพ่อครูบาสร้อย ขนฺติสาโร)

    วัดมงคลคีรีเขตร์ ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    เทพเจ้าแห่งท่าสองยาง บ้านมะตะวอ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นพระอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องจากลูกศิษย์ทั้งหลายว่า เป็นหลวงพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งบ้านมะตะวอ เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อสุข แห่งวัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าของรูปหล่ออันดับหนึ่งของภาคอีสาน และเป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่หงส์ พรหมปัญญา เทพเจ้าแห่งสุสานทุ่งมน จังหวัดสุรินทร์ เป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อสร้อย เป็นชาวละหานทราย เกิดปีมะเส็ง วันจันทร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ มีนามเดิมชื่อว่าสร้อย นามสกุล ศิริวรรณ์ บิดาชื่อ นายวัน ศิริวรรณ์ มารดาชื่อ นางจรจศิริวรรณ์ บ้านโคกใหม่ หมู่ที่๑ ตำบลละหานทราย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่สาวเพียงคนเดียว ภายหลังท่านได้กำเนิดมาได้ ๗วัน บิดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรมอีก หลังจากนั้นท่านได้อยู่กับคุณยาย ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่านตลอดเรื่อยมา โดยปกติแล้วคุณยายเป็นคนที่ชอบเข้าวัดฟังธรรม จึงพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านใกล้ชิดกับวัด นับตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งท่านเรียนจบประถม ๔ จึงได้ขออนุญาตคุณยายบวชเป็นสามเณร ที่วัดชุมพร ตำบลละหานทรายโดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อนุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับฉายาว่า ขันติสาโร หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ไปอยู่กับหลวงพ่อสุข โพธิ์ทรายทอง ในช่วงนั้นหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยเน้นหนักในเรื่องปฏิบัติกรรมฐาน หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ท่านปฏิบัติจนมีความสุข บางทีถึงกับไม่ได้หลับได้นอน แต่ก็แปลกไม่ง่วงนอนแต่อย่างไรเลย ต่อมาหลวงพ่อทองสุขได้สอนวิชาที่สำคัญให้กับท่านคือ วิชาการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาได้มีอาการปวดศีรษะจึงขอหลวงพ่อสุขไปนอนเพื่อพักผ่อน ในระหว่างนอนหลับ วิญญาณของท่านได้หลุดจากร่างไปเหมือนมรณภาพไปได้ ๗ วันเต็ม ในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีช่วยพาวิญญาณท่านกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งเป็นวิชาเดียวกันกับที่ท่านได้ช่วยชีวิตเด็กชาวกระเหรี่ยงให้ฟื้นคืนชีพกลับคืนมาแล้ว หลวงพ่อท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทองได้ ๒พรรษา หลังจากนั้นได้มาศึกษาประวัติธรรมที่วัดกลางนางรองอีก๒ พรรษา

    ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อกับพระอาจารย์ดำ เจ้าอาวาสวัดกลางนางรอง ได้เข้ามาสู่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ โดยมีพระอาจารย์แฝ่ง พระอาจารย์โชดก เป็นอาจารย์ใหญ่ช่วยอบรมสั่งสอนได้ ๗ เดือน แล้วจึงลากลับสู่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอยู่จำพรรษาเป็นเพื่อนกับพระเล็ก ที่วัดกลางนางรอง เพราะท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้ลาสิกขาออกไปและท่านได้สอนอบรมธรรมปฏิบัติกับหมู่คณะที่มาปฏิบัติธรรม จนหมดความสามารถของตนที่ได้ศึกษามา

    ในช่วงธุดงค์ หลังจากออกพรรษา จึงอำลาเจ้าคณะอำเภอนางรอง คือ พระครูสามารถ วัดขุนก้อง อำเภอนางรอง พร้อมทั้งพระอธิการเล็ก เพื่อออกจาริกธุดงค์ โดยมุ่งไปทางวัดสำโรง ในระหว่างทางได้พักวัดหนองหมีและมาพักที่วัดสำโรงได้ ๒ คืน ต่อจากนั้นเดินทางมายังวัดโพธิ์ทรายทอง โดยมีพระติดตามอีก ๔ รูป ได้มากราบหลวงพ่อสุข ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ตอนที่หลวงพ่ออุปสมบทเป็นพระและได้พักที่วัดนั้นเป็นเวลา๓ คืน หลังจากนั้นได้กราบลา หลวงพ่อสุขเพื่อออกเดินทางจาริกธุดงค์มุ่งหน้าต่อไป เข้าสู่วัดชุมพร เพื่อนมัสการหลวงพ่อมั่น ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ แต่อนิจจาหลวงพ่อมั่นได้มรณภาพไปแล้ว ต่อจากนั้นธุดงค์ไปยังเขาพระวิหาร และไปศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, นครพนม, หนองคาย, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา, เพชรบูรณ์, นครสวรรค์, อุตรดิตถ์, ลำปาง, ลำพูน จนถึงเชียงใหม่ ในขณะที่ท่านอยู่จังหวัดเชียงใหม่ได้พบกับหลวงปู่แหวนและได้ขอศึกษาวิชาจากหลวงปู่แหวนอีกด้วย หลังจากนั้นได้ลาหลวงปู่แหวนไปแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อ โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง

    เข้าสู่ท่าสองยาง หลังจากออกจากวัดศรีบุญเรืองแล้วมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอท่าสองยาง โดยผ่านเส้นทางนับว่าลำบากมาก โดยผ่านทางจากตำบลแม่กะต่วน (ซึ่งตรงกับวันขึ้น๖ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ.๒๔๙๘) จนมาถึงบ้านท่าเรือแม่ระมา ต่อจากนั้นได้ต่อเรือมาถึงบ้านแม่วะหลวง ซึ่งเป็นอันว่าเข้าเขตอำเภอท่าสองยางแล้ว จากนั้นเดินทางมาถึงบ้านซอแขระ จนกระทั่งถึงวัดท่าสอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘

    wt.jpg




    เมื่อมาถึงวัดท่าสองยางแล้ว หลวงพ่อได้พบกับพระรูปหนึ่ง ชื่อครูบาเสือ หรือชาวบ้านเรียกตุ๊เจ้าเสือ จำวัดอยู่เพียงรูปเดียว ซึ่งวัดนี้ยังไม่มีกุฏิ มีเพียงกระต๊อบเก่าๆเท่านั้น ในบรรดาศรัทธาของชาวบ้านท่าสองยางนี้ เมื่อเห็นหลวงพ่อมาถึงวัดนี้ จึงพากันมาเที่ยวหาหลวงพ่อประมาณ ๔-๕ คน และถามหลวงพ่อว่าท่านจะไปไหน หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาภาพจะไปที่ แม่ระมาดและแม่สอด แต่จะขอพักที่วัดนี้สักหนึ่งคืนพรุ่งนี้ อาตมาจะเดินทางต่อไป” คืนนั้นหลวงพ่อได้สนทนากับครูบาเสือพอสมควรและขอให้ครูบาเสือหาคนให้เพื่อนำทางส่ง แต่ครูบาเสือท่านกลับไปบอกกำนันจันทร์ แสนไชย ครูปลั่ง คำใส ลุงนนท์ เรืองใจ หมู่สมมะโนวงศ์ หมอสิงทอง วงศ์นิล ลุงดำ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านเหล่านี้และอีกหลายคนได้มาขอให้หลวงพ่อจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อหลวงพ่อเห็นว่าคณะศรัทธาทุกคน มีเจตนาที่ดีในทางพุทธศาสนา หลวงพ่อจึงตัดสินใจรับนิมนต์ของคณะศรัทธาของชาวบ้านและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ตลอดเรื่อยมา จนทำให้มีคณะศรัทธาต่างๆหลายคณะมาทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันลอยกระทง วันสงกรานต์ เป็นต้น ต่อจากนั้นมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีคณะศรัทธาทายก ทายิกา ได้นำเด็กมาฝากไว้เป็นศิษย์ ๑๐ คน เพื่อจะบวชเรียนเป็นสามเณร ทำให้หลวงพ่อต้องเดินทางไปขอใบใบอนุญาตบรรพชา อุปสมบท สามเณร ซึ่งในครั้งนี้ได้แสดงถึงความตั้งใจ ความอดทน และอดกลั้น ด้วยความมุ่งมานะของหลวงพ่อกว่าจะได้ไปขออนุญาตมาต้องเดินทางไปที่หลายแห่งใช้เวลาหลายวัน โดยเริ่มจากไปที่แม่ต้านแล้วไปแม่ระมาด และเข้าตัวเมืองอำเภอแม่สอด และยังได้ไปกราบครูบากัญไชย ที่วัดมาตานุสรณ์ อำเภอแม่สอด ได้พูดคุยกันและขออนุญาตจำวัตรที่นั่นหนึ่งคืน ซึ่งครูบากัญชัยได้ให้การหลวงพ่อเป็นอย่างดี ได้พูดกับหลวงพ่อว่า

    “ท่านไม่ต้องเกรงใจอะไรหรอกเราถือกันแบบเป็นกันเองเถอะ เพราะเราเป็นลูกของพระพุทธเจ้าเดียวกัน” คำพูดนี้เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจของครูบากัญไชย ทำให้หลวงพ่อรู้สึกเย็นซาบซ่าไปตามตัวเลยทีเดียว ต่อจากนั้นได้เดินทางเข้าสู่แม่สอดไปพบกับเจ้าคณะอำเภอและไปหาท่านเจ้าคุณที่วัดมณีไพรสณฑ์ จนได้รับการอนุญาตในการบวชพระบวชเณร ซึ่งในการเดินทางไปขอแต่ละครั้งแต่ละที่ต้องผ่านขั้นตอนอุปสรรคต่าง ๆนานานับประการ ต้องผ่านทางทุรกันดารและไกลมาก แต่หลวงพ่อคิดอยู่ในใจว่า เมื่อเราไม่ได้รับอนุญาตกลับไป ศรัทธาของคนผู้จะบรรพชาจะเสียและของที่จะทำทานก็จะเสียทั้งสิ้น อีกทั้งจะเสียพระพุทธศาสนาอีกด้วย เมื่อหลวงพ่อกลับไปที่วัดท่าสองยาง เมื่อได้ใบอนุญาตมาแล้วจึงทำการ บรรพชาสามเณร ๕ รูป และได้อุปสมบทพระภิกษุ ๒ รูป ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เสร็จพิธีบรรพชาอุปสมบทและทำบุญเป็นปฐมฤกษ์แล้ว นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คนทั้งหลายในหมู่บ้าน ทั้งท่าสองยาง แม่ต้าน แม่สะเรียง ค่อย ๆ รู้จักวัดและตัวหลวงพ่อมากขึ้น

    หลวงพ่อได้อยู่ที่วัดแห่งนี้ได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญเป็นอย่างมาก เช่น ได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่ มีการปรับปรุงที่ดินวัด ทำรั้ววัด ทำถนนไปสู่หมู่บ้าน และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางคณะสงฆ์และเจ้าคณะอำเภอแม่ระมาด ท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้มีมติเอาวัดท่าสองยางเข้าบัญชีในเขตการปกครองของอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และท่านก็ตั้งชื่อวัดนี้ใหม่ว่า วัดมงคลคีรีเขตร์เป็นต้นมา

    ช่วงชีวิตบั้นปลาย หลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวัยชรา จนกระทั่งวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ลูกศิษย์ได้พาท่านไปทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครธน พระราม ๒ จนถึงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ จ.สุรินทร์ ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อและในนิมิตเห็นว่า หลวงพ่อสร้อยท่านได้กระโดดจากเตียง และได้กล่าวกับหลวงปู่หงษ์ว่า จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม ซึ่งหลวงปู่หงษ์ท่านก็นิ่งแล้วเดินทางกลับ ต่อจากนั้นวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ หลวงพ่อสร้อยได้เรียก พระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมารวมตัวกันและกล่าวว่า “ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดีขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัด และอดทนทุกคนนะ” ต่อมาวันที่๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ หลวงพ่อได้สั่งให้ลูกศิษย์ นับเงินที่ลูกศิษย์ร่วมกันมาทำบุญกับท่านเพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาล ซึ่งทำความประหลาดใจและตกใจให้กับลูกศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการของหลวงพ่อยังไม่หายและแถมอาการยังจะทรุดหนักขึ้นเรื่อย ๆ แต่หลวงพ่อจะออกจากโรงพยาบาล พอช่วงกลางคืนวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ หลวงพ่อได้สำลักเสมหะ ท่านได้เข้าสมาธิ ในช่วงเวลาตี ๓ถึง ตี ๔ และพระทุกรูปได้ร่วมกันนั่งสมาธิภาวนาอยู่ที่หน้าห้องของหลวงพ่อจนถึงเวลา ๐๗.๑๙ น. ของวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ หลวงพ่อท่านได้ถึงมรณภาพลง สร้างความโศกเศร้าให้กับบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง สิริอายุ ๖๙ ปี เหลือไว้แต่คุณงามความดีของหลวงพ่อที่ทำไว้ และยังคงประทับอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์ทุกๆคน

    เหตุการณ์และประสบการณ์ที่สำคัญของหลวงพ่อครูบาสร้อย

    ๑. ในช่วงออกเดินธุดงค์เข้าไปในป่าเขาดงกันดารกับหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง ขณะที่เป็นสามเณรอยู่ ผจญกับฝูงควายป่าอย่างจัง ๆ แต่ก็พ้นอันตรายมาได้ด้วยพลังจิตของหลวงพ่อที่กล้าแข็งมาก และในช่วงที่ท่านธุดงค์มาอยู่ที่ป่าช้าร้าง ที่วัดมงคลคีรีเขตร์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นวัดร้างอยู่ ท่านมาปักกรดอยู่ที่โคนต้นตะเคียนในป่าช้าซึ่งเป็นที่ตั้งเผาศพของชาวมะตะวอ สมัยสามสิบกว่าปีที่แล้ว บ้านมะตะวะน่ากลัวมาก ยิ่งเมื่อตอนที่ท่านมาอยู่ใหม่ ๆ ท่านได้เคยโดนลองวิชาจากพวกที่เล่นคุณไสยดำ ขนาดเอาเลือดหมาดำมาสาดใส่ท่านเพื่อจะทำให้วิชาอาคมของท่านเสื่อม แต่ปรากฏว่าหลวงพ่อได้ใช้อำนาจพลังจิต พลังอิทธิอาคมของท่านป้องกันไว้ และไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่อย่างใด บางคืนชาวบ้านมะตะวอจะได้ยินเสียงผู้หญิงร้องไห้กันโหยหวน บางครั้งวิญญาณของหญิงสาวมานั่งอยู่ที่ต้นตะเคียนแต่หลวงพ่อไม่เคยหวาดหวั่นเกรงกลัวอันใด ท่านยังคงปฏิบัติบำเพ็ญเพียรศีลของท่านไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งชาวบ้านพากันมาอาราธนานิมนต์ท่านให้มาอยู่ข้างบนวัด ในคืนก่อนที่ท่านจะไป จากโคนต้นตะเคียนที่ท่านพำนักปักกลดอยู่วิญญาณที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นตะเคียนได้ส่งเสียงไห้อย่างโหยหวน เสียใจที่ท่านจะไป ตอนเช้าเมื่อท่านมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวบ้านถามท่านว่า เมื่อคืนได้ยินเสียงคนร้องไห้ในป่าช้า ใครร้องไห้ หลวงพ่อตอบด้วยอาการสำรวมว่า “ต้นไม้ร้องไห้” พอท่านขึ้นมาอยู่ข้างบนวัด ต้นตะเคียนต้นนั้นก็หักโค่นลงทันทีในวันนั้น ซึ่งซากตะเคียนต้นนั้นยังอยู่มาจนทุกวันนี้ เมื่อหลวงพ่อมาอยู่ข้างบนวัดก็มีความวิตกอยู่ว่า บนวัดล้วนเต็มไปด้วยหินก้อนใหญ่มาก และจมอยู่ในดินลึกมาก จะทำอย่างไรดี ขณะที่ท่านนั่งคิดอยู่นั้น ก็ได้ปรากฏวิญญาณของหญิงสาว๒ คน นุ่งห่มผ้าสไบเฉียงนั่งพนมมืออย่างนอบน้อม บอกว่าเป็นวิญญาณที่ได้รักษาดูแลสถานที่นี้มาช้านานแล้ว จะมาช่วยสร้างวัด ขอให้ท่านสร้างวัดนี้ด้วย หลวงพ่อบอกว่า ท่านคงทำไม่ไหว เพราะเต็มไปด้วยก้อนหินใหญ่ ๆ ทั้งนั้น วิญญาณเจ้าที่ทั้งสองนางบอกท่านว่า ไม่ต้องกลัวหรอก ถ้าท่านจะทำก็จะให้ควายเหล็กมาขวิดเอาหินพวกนี้ออกไปให้เอง หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็ปรากฏว่าทางราชการได้เอารถไถไปไถเอาก้อนหินเหล่านั้นออกไปให้จนหมด เป็นควายเหล็ก ช่วยมาขวิดให้จริง ๆ

    ๒. เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้นเป็นที่เลื่องลือกันมาช้านานที่บ้านมะตะวอ ซึ่งเป็นบ้านในท้องถิ่นที่กันดาร ติดกับชายแดนพม่า พื้นที่ตรงนั้นมักเกิดการสู่รบยิงถล่มกันอยู่เสมอ ระหว่างพม่ากับชาวกะเหรี่ยง เวลายิงกันผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก็คือชาวบ้านและเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆบริเวณ วัด เคยมีเด็กนักเรียนไปอาศัยหลบอยู่ใต้ถุนกุฏิของหลวงพ่อ ท่านจะไม่ยอมจำวัดไม่ยอมฉันอาหาร แต่ท่านจะกำหนดจิตเอาสายสิญจน์มาขึงล้อมรอบบริเวณวัดและบริเวณกุฏิของท่าน แล้วท่านจะเดินจงกลมรอบ ๆ นั้น ชาวบ้านมะตะวอทุกคนยืนยันกันว่า มีลูกระเบิดหลายลูกยิงเข้ามาตกในบริเวณวัด ระเบิดทุกลูกที่ตกลงมานั้นทุกลูกด้านหมด ไม่ระเบิดแม้แต่ลูกเดียว เหมือนสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหรือสงครามอินโดจีน เครื่องบินพันธมิตรได้บอมประเทศไทยหลายจุด หลายแห่ง เกจิฯ ชื่อดังหลายรูปในยุคนั้นมีด้วยกันหลายรูป ซึ่งบางรูปได้บริกรรมคาถา บางรูปใช้ธงโบกไม่ให้ลูกระเบิดตกลงในบริเวณวัดก็มี หรือตกลงในวัดลูกระเบิดด้านหมด แสดงว่าให้เห็นว่าหลวงพ่อครูบาสร้อย เป็นเกจิ ที่ไม่ใช่ธรรมดารูปหนึ่งที่ สามารถสะกดลูกระเบิดได้เหมือนกัน
    ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

    http://www.viangrahaengtak.com/

    เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญครูบาสร้อย ออกที่จ. สระบุรี ทันตัวท่านเสกครับ ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ครูบาสร้อย.JPG ครูบาสร้อยหลัง.JPG
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติ: หลวงพ่อลำใย สัญญโม เกิดวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2474 ณ อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยามีบิดาชื่อ หยวก มารดาชื่อ เที่ยง นามสกุล มานะชีพ และได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนวัดสะแก จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จึงกลับไปช่วยงานบิดาและมารดาทำนา จนอายุครบ 20 ปี เข้ารับตรวจคัดเลือกไปเป็นทหารอยู่ที่ กรมการทหารม้าสระบุรี รับใช้ประเทศชาติอยู่ 2 ปี เมื่อพ้นจากทหารจึงได้กลับมาช่วยงานทางบ้านทำนาต่อไป

    อุปสมบท: พ.ศ.2500 เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ณ วัดสะแก มีพระโบราณคณิศสร (ใหญ่ ติณสุวัณโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดสี (หลวงปู่สี) พินทสุวัณโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาหลาบ ธรรมสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "สัญญโม" ทั้งพระอุปัชฌาย์และคู่สวดของท่านล้วนเป็นศิษย์สายวัดประดู่ทรงธรรม และจำพรรษาวัดสะแกมาโดยตลอด

    ศึกษาธรรม: หลวงพ่อท่านได้ศึกษาวิชาทางธรรมจากหลวงปู่ดู่ วัดสะแก โดยท่านได้รับการยอมรับให้เป็นศิษย์เอก มีพระบางรุ่นหลวงปู่ดู่จะให้หลวงพ่อลำใยมาร่วมปลุกเสก หลวงพ่อเป็นพระที่ค่อนข้างเก็บตัว ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ

    ละสังขาร: วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2558 หลวงพ่อลำใย ได้ละสังขารไปด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ช่วงเวลาโดยประมาณบ่ายสองโมง
    สิริรวมอายุได้ 84 ปี


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    หลวงปู่ทวด หลวงพ่อลำใย วัดสะแก ปลุกเสกปี 2547 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.ทวด.JPG ลพ.ทวดหลัง.JPG
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงพ่อมหาอาคม อินทสโร พระผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “อาคมขลังเมืองมะขามหวาน”

    หลวงพ่อมหาอาคม วัดดาวนิมิตร จ.เพชรบูรณ์ ท่านเป็นเจ้าของตำรับ ตะกรุดโทนคู่ชีวิต ประสบการณ์สูงทางด้าน คงกระพัน มหาอุตม์ ...ท่านเก่งเรื่องตะกรุดมาก ขนาดหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับศิษย์เอกหลวงปู่ทิม และหลวงพ่อออด วัดอับสรสวรรค์ เจ้าของตำรับ"ฝังตะกรุดทองวิ่งได้ " ยังไปขอเีรียนวิชาลงตะกรุดกับหลวงพ่อมหาอาคมเลยครับ


    พระครูอนุรักษ์วาปีพิสัย (หลวงพ่อมหาอาคม อินฺทสโร)


    ชื่อเดิม : ชื่อ อาคม ตระกูล ประทุมทอง
    บ้านเกิด : วันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2467 ณ บ้านโนนแดง หมู่ที่ 20
    ต.หนองแปง อ.กมลาพิไสย จ.มหาสารคาม(ปัจจุบันเปลี่ยน
    เป็น ต.ลำชี อ.กมลาพิไสย จ.กาฬสินธุ์)
    เป็นบุตรโทนของนายเคน และนางแดง(เสียชีวิตแล้วทั้งสองท่าน)


    บรรพชา/อุปสมบท : ปี พ.ศ.2487 อุปสมบทต่อเนื่องจากการบรรพชา
    โดยมิได้สึกแต่อย่างใด ณ วัดบ้านโนนแดง(วัดบ้านเกิด)
    โดย พระสารคามมุณี เป็นพระอุปัชฌาย์
    ได้รับฉายา “อินทสโร”



    การปกครอง/สมณศักดิ์
    พ.ศ.2494 เป็นเจ้าอาวาสวัดบุ้งน้ำเต้า และเจ้าคณะตำบลบุ้งน้ำเต้า อ.หล่มสัก
    พ.ศ.2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดราหุล อ.บึงสามพัน และได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.2525 เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศ ชั้นโท ที่ “พระครูอนุรักษ์วาปีพิสัย” และเป็นเจ้าคณะอำเภอบึงสามพัน พร้อมทั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดาวนิมิต
    พ.ศ.2530 เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    เรื่องราวของ “หลวงพ่อมหาอาคม อินทสโร” พระผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “อาคมขลังเมืองมะขามหวาน” หากจะว่ากันให้ละเอียดแล้ว 2 ฉบับ ก็ไม่หมดเนื้อหา ดังนั้นต้องกราบขออภัยที่ต้องย่อเรื่องให้กระชับ แต่อย่างไรก็ตามผมจะพยายามให้รายละเอียดต่าง ๆ คงเดิม ตามที่ “ครูแดง” ให้ข้อมูลมาครับ


    กล่าวได้อย่างเต็มที่ว่า หลวงพ่อเป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าเรียนขั้นมูลหรือชั้นประถมต้น เมื่อายุ 10 ขวบ พ.ศ. 2477 ณ โรงเรียนวัดโนนแดง ต.หนองแปง อ.กมลาไสย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใกล้บ้าน หลวงพ่อใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้นก็จบชั้นประถมปีที่ 4 ใน พ.ศ. 2480 และในปีรุ่ง พ.ศ.2481 ท่านก็ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านตูมชัย ต.หนองแปง ในแถบบ้านเกิดของท่าน ขณะนั้นท่านอายุเพียง 14 ปี


    และดังที่ได้เรียนไว้เบื้องต้น หลวงพ่อเป็นผู้ใฝ่การศึกษา ดังนั้นในการศึกษาพระปริยัติธรรม ท่านจึงพ้นอย่างสะดวกสบาย โดยในขณะอายุ 19 ปี ท่านก็สอบนักธรรมชั้นเอกเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนั้น ท่านยังได้เรียนบาลีไวยากรควบคู่ไปอีกจนแตกฉานกว่าสามเณรในวัยเดียวกัน และเพราะความที่ชอบในการศึกษา หลังช่วงว่างจากการศึกษาบาลีไวยากรแล้ว หลวงพ่อก็เริ่มศึกษาวิชาอาคมกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งแต่ละเถรคณาจารย์จะเก่งทางด้านคงกระพันชาตรีและการขับภูติผีปีศาจ แก้คุณไสยต่าง ๆ อาทิ หลวงปู่ป้อ แห่งวัดบ้านเอียด ต.เขว้า อ.เมือง จ.มหาสารคาม แล

    24185-11364.jpg 24185-2dedb.jpg
    https://palungjit.org/threads/หลวงพ่อมหาอาคม-อินทสโร-วัดดาวนิมิต-จ-เพชรบูรณ์.269014/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงหลวงพ่ออาคม วัดดาวนิมิต ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.อาคม.jpg ลพ.อาคมหลัง.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    get_auc3_img-jpg.jpg
    ชีวประวัติ หลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ
    วัดบ้านกรับเป็นวัดเก่าแก่โบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี ที่อำเภอพนมทวน ต.ดอนแสลบ ในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี วัดบ้านกรับนี้เดิมชื่อว่าวัดบ่อไผ่ จากการสำรวจดูโบราณสถานภายในวัด มีอุโบสถหลังเก่าสร้างจากประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างเด่นชัด และที่ตำบลดอนแสลบอยู่ในละแวกใกล้วัดบ่อไผ่นี้ยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่เป็นวัดร้าง อย่างเช่นวัดสระกระเบื้อง วัดสระโรงเรือ และมีเนินเจดีย์ร้างที่ไม่สามารถทราบชื่ออีกหลายแห่ง ล้วนแล้วแต่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2303 พม่าได้ยกทัพเข้ามาทางเจดีย์สามองค์ ได้บุกเผาบ้านเรือน แล้วก็ยกทัพผ่านมาทางอำเภอพนมทวน พม่าได้เผาบ้านช่องคนไทยมากมาย เป็นเหตุให้ชาวบ้านตำบลดอนแสลบและละแวกใกล้เคียงต่างหนีพม่าทิ้งถิ่นฐานที่อยู่ไปวัดบ่อไผ่จึงเป็นวัดร้างไปช่วงหนึ่งนานพอสมควร ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้แตกเสียแก่พม่า และต่อมาพระเจ้าตากสินได้กอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาได้ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อสงครามสงบลง ชาวบ้านและผู้คนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถววัดบ่อไผ่ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาอยู่ถิ่นฐานเดิม ต่างได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัด เป็นชื่อวัดบ้านกรับ คำว่าวัดบ้านกรับคงจะมีความหมายมาจากคำว่ากลับบ้าน หรือกลับคืนถิ่นกำเนิดนั่นเอง วัดบ้ารกรับมีเนื้อที่ 48 ไร่ ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดสืบต่อ ๆ กันมาหลายสิบรูปด้วยกัน แต่ไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด เท่าที่ทราบวัดนี้มาเริ่มรุ่งเรืองในสมัยหลวงพ่อบ่ายซึ่งก็เป็นศิษย์เอกสืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จังหวัดกาญจนบุรี ได้พัฒนาวัดบ้านกรับหลังจากหลวงพ่อบ่ายได้มรณภาพลง หลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา หลังจากนั้นชาวบ้าน ต.ดอนแสลบ และเจ้าอาวาสปกครองวัดสืบต่อ หลังจากนั้น ชาวบ้าน ต.ดอนแสลบ และเจ้าคณะตำบลดอนแสลบได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อเพชร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ วัดบ้านกรับการคมนาคมจะเดินทางไปวัดบ้านกรับสะดวกมาก เป็นถนนลาดยางถึงหน้าวัด ถ้าท่านเดินทางมาจากกรุงเทพฯ มาทางสายนครปฐม สุพรรณบุรี พอถึงตลาดทุ่งคอก วิ่งต่อไปอีกประมาณ 8 ก.ม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดเขต เมื่อท่านถึงตลาดเขตแล้วสอบถามดู ใคร ๆ ก็รู้จักวัดบ้านกรับ แล้วท่านจะได้พบกับท่านพระครูจันทสโรภาส หรือหลวงพ่อเพชร จนฺทวโส ก่อนจะเข้าถึงวัด เชิญท่านลองสอบถามชาวบ้านละแวกนั้นดูให้ทั่วหน้าแล้วท่านจะทราบว่า ท่านมีวัยวุฒิและคุณวุฒิ และปฏิปทาน่าเลื่อมใสเพียงใด ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ เล่าว่าท่านสามารถเดินหายเข้าไปในห้องที่ปิดประตูใส่กุญแจไว้ได้โดยไม่ต้องไขกุญแจท่านอายุ 87 ปี พรรษาที่ 67 บวชตั้งแต่เป็นเณร บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งแต่ท่านถูกนิมนต์มาปกครองวัดบ้านกรับ ท่านพัฒนาบูรณะวัดให้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างศาลา สร้างกุฏิ และอุโบสถขึ้นใหม่แทนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก และได้สร้างศาลาเมรุควบคู่กันไป จึงขอเชิญชวนท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาร่วมทำบุญกับท่าน ท่านจะได้มหากุศล
    ท่านพระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเพชร จนทวโส ) ปัจจุบันอายุ 85 ปี พรรษาที่ 65 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ต.ดอนแสลบ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2450 ณ ที่บ้านหนองส้ม ต.หนองส้ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เดิมท่าน ชื่อหร่อง โยมพ่อท่านชื่อนายเทียน ฤกษ์งาม โยมแม่ชื่อทองพูล ฤกษ์งาม ท่านเป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ
    1. นายทูป ฤกษ์งาม
    2. นายอาจ ฤกษ์งาม
    3. นายเอก ฤกษ์งาม
    4. นางง่วน ฤกษ์งาม
    5. นางเสย ฤกษ์งาม
    6. นางสอย ฤกษ์งาม
    7. หลวงพ่อเพชร
    หลวงพ่อหร่องอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2470 ณ วัดหนองส้ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โดยมีหลวงปู่อ่อนวัดท้ายตลาด เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อจัน วัดหนองส้ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองส้ม ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และนักธรรมจนได้รับสมณศักดิ์เป็นชั้นพระครูจากนั้นได้ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน จากหลวงปู่อ่อนและแลวงพ่อจัน ได้ทำความเพียรจนสำเร็จแตกฉานเป็นอย่างดี ต่อจากนั้นหลวงพ่อหร่องก็ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านขู่ ถวายตนเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อน้อย วัดบ้านขู่ ขอเรียนไสยเวทด้านเมตตามหานิยมจากหลวงพ่อน้อย ได้อยู่ที่วัดบ้านขู่นี้ 5 พรรษา แล้วก็ได้ลาหลวงพ่อน้อยเดินทางไปยังวัดเขาบันไดอิฐ ขอศึกษาวิชาไสยเวท คาถาอาคมต่าง ๆ จากท่านพระครูญาณวิลาด (หลวงพ่อแดง) ในระหว่างนั้นหลวงพ่อแดงเพิ่มมีอายุเพียง 73 ปี หลวงพ่อหร่อง (หลวงพ่อเพชร) ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้รับการถ่ายทอดวิชากรรมฐานและเวทมนตร์ต่าง ๆ จนจบสิ้น จากนั้นหลวงพ่อหร่องก็ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ต.หนองโปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรีได้ศึกษาเรียนวิชาเป่าใบไม้ และไสยเวทวิสุทธิจากหลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อแก้วยังให้คติไว้ว่า สิงโตน้ำตาลทราย กัดที่ไนหวานตรงนั้น ต่อจากนั้น หลวงพ่อหร่องก็ได้ออกเดินธุดงค์เข้าป่าเมืองกาญจนบุรี เข้าอุ้มผาง จ.ตาก เข้าดงพญาเย็น แล้วย้อนกลับมาทางอำเภอพนมทวน ได้เป็นที่รู้จักของชาวบ้านห้วยกระเจาและดอนแสลบอย่างมาก ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาองค์พระภิกษุหร่องมาก ซึ่งขณะนั้นท่านยังเป็นพระลูกวัดอยู่ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว ได้เข้าพบ หลวงพ่อน้อยวัดขู่ และได้ลาพระอาจารย์ไปจำพรรษา ที่วัดโพธิ์ ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เข้าฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปู่ชื่น ปาสโส หรือท่านพระครูประสาทนวกิจ หลวงปู่ชื่นเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโส มีวิชาคาถาอาคมจอมขมังเวทอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อหร่องได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เป็นเวลานานหลายพรรษา ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และฝึกฝนเวทมนตร์อยู่ตลอดมา และได้พบกับท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิรังสี (หลวงพ่อเปลี่ยนอินทสโร) วัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้ )จ.กาญจนบุรี ซึ่งหลวงพ่อเปลี่ยน เป็นเพื่อนชอบพอกับหลวงปู่ชื่นมากได้ไปมาหาสู่กันเป็นประจำและหลวงพ่อเปลี่ยนได้มาช่วยหลวงปู่ชื่นบูรณะวัดโพธิ์ และสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อ หร่องก็ได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเปลี่ยนและขอศึกษาวิชาทำตระกรุด บรรจุพุทธคุณลงในโลหะจนจบสิ้น ต่อมาทางวัดบ้านกรับ ต.ดอนแสลบ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป เจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ได้มรณภาพลง ทางวัดขาดผู้นำที่จะเป็นเจ้าอาวาส ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านดอนแสลบที่มีมาแต่เมื่อครั้งหลวงพ่อหร่องได้ธุดงค์มาโปรดชาวบ้านแถบนั้น ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกัน มีความต้องการให้พระภิกษุหร่องมาเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านกรับ จึงได้นำเรื่องเข้าปรึกษาแจ้งความต้องการของชาวบ้านให้ท่านพระครูประดิษฐ์ หลวงพ่อทา วัดห้วยกระเจา เจ้าคณะตำบลทราบ หลวงพ่อทาจึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อหร่อง ที่วัดโพธิ์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับสืบต่อไป เมื่อหลวงพ่อหร่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับท่านยังได้พบตำราสืบทอดวิชาคาถาอาคม ที่เขียนด้วยใบลาน ซึ่งตกทอดมาจากหลวงพ่อบ่าย ได้เก็บไว้ที่วัดบ้านกรับนี้ ตำราวิชาอาคมเหล่านี้ส่วนใหญ่หลวงพ่อบ่ายได้รับสืบทอดมาจาเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ก็มีอยู่เช่นกัน ทำให้หลวงพ่อหร่องได้รับตำรับตำราอาคมมากมายด้วยอาคมขลังของหลวงพ่อหร่องทำให้ชาวบ้านเรียกกล่าวต่อกันว่าหลวงพ่อที่มาจากเพชรน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อองค์ที่มาจากเพชรเจิมรถเก่ง จนชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อเพชรจนทุกวันทั้งจังหวัดกาญจนบุรีก็เรียกหลวงพ่อเพชร ท่านเลยเปลี่ยนชื่อว่าหลวงพ่อเพชรมา สำหรับหลวงพ่อเพชร จนทวโส ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลดอนแสลบ และเป็นพระอุปัชฌาย์ ศีลาจารวัตรบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่ยอมรับนับถือ ทั้งจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงท่านอาวุโสที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรีท่านเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่สาธุชนทั้งหลายน่าเคารพนับถือ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    เหรียญปลอดภัยหลวงพ่อเพรช วัดบ้านกลับ รุ่นนิยมของท่านครับ ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%8A-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://palungjit.org/threads/หลวงพ...าผู้มากไปด้วยบุญฤทธิ์-แห่งวัดโพธิ์คุณ.325209/

    _1_-3-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระพุทธชินราชเสก๙วาระ หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ (สวนโพธิญาณ) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
    ให้บูชา500 บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    0-b8-a1-e0-b8-ab-e0-b8-b2-e0-b8-a7-e0-b8-b4-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-a5-e0-b8-a2-e0-b9-8c-jpg-jpg.jpg 0-b8-b4-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-a5-e0-b8-a2-e0-b9-8c-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg 0-b8-b9-e0-b8-a5-e0-b8-a2-e0-b9-8c-e0-b8-81-e0-b8-a3-e0-b8-b0-e0-b8-94-e0-b8-b2-e0-b8-a9-jpg-jpg.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    lp-toon-jpg-jpg-jpg.jpg

    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
    นามเดิม ทูล นนฤาชา ฉายา ขิปฺปปญฺโญ เกิด เมื่อวันจันทร์ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อุปสมบท ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัด

    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ เกิด ณ บ้านหนองค้อ ตำบลบัวค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ขณะอายุ ๒๖ ปี ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ช่วงแรกที่ออกปฏิบัติภาวนานั้น ท่านได้จาริกบำเพ็ญสมณธรรมไปยังสถานที่สัปปายะหลายแห่ง ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หลังจากที่หลวงปู่ขาวละสังขารแล้ว ท่านจึงได้นำคณะศิษย์มาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าบ้านค้อ
    ท่านได้อุทิศชีวิตให้กับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านได้เขียนหนังสือธรรมภาคปฏิบัติเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่า เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา
    จากการที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ นามว่า “พระปัญญาพิศาลเถร”
    หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ วัดป่าบ้านค้อ รวมสิริอายุ ๗๓ ปี ๔๘ พรรษา และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ณ วัดป่าบ้านค้อ
    อัฐิธาตุของหลวงพ่อทูลได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ เป็นเครื่องประกาศคุณธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นพระอริยบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมดังความมุ่งมั่นตามที่ท่านได้ตั้งสัจจะในครั้งออกบวชว่า
    “ท่านจะขอมอบกายและถวายชีวิตเพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จะทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7796
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    ล๊อคเก็ต หลวงพ่อทูล วัดป่าบ้านค้อ อุดรธานี

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    e0-b8-a5-e0-b8-9e-e0-b8-97-e0-b8-b9-e0-b8-a5-jpg-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9e-e0-b8-97-e0-b8-b9-e0-b8-a5-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg-jpg.jpg

    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญวิญญาณรักดอกประดู่ไม่ตอกโค๊ต
    เหรียญนี้สร้างในปี2504 ปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เป็นต้น ซึ่งได้แจกไปบางส่วนไม่ถึง10%

    ส่วนที่เหลือได้นำมาให้หลวงปู่เดินหนปลุกเสกอีกครั้ง โดยคุณดอกดิน กัลยามาลย์ คุณมิตร ชัยบัญชา คุณภาวนา ชนะจิต เป็นต้น เพื่อแจกให้ผู้เข้าชมภาพยนต์เรื่อง วิญญาณรักดอกประดู่ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กองทัพเรือ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    ให้บูชาเหรียญละ 500 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ มี 2 เหรียญครับ

    เหรียญที่1

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%821-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%821%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
    เหรียญที่2

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%822-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%822%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    189-03c8-jpg.jpg

    หลวงปู่โง่น โสรโย

    สถิต ณ วัดพระพุทธบาทเขารวก ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

    ฉายา
    โสรโย
    อุปสมบท
    พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม

    หลวงปู่โง่น โสรโย อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ผู้อุปการะคือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราชมหาวิหาร นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ซึ่งต่อมา เจ้าบุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๕๒๘

    พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย
    ณ เมรุชั่วคราว วัดพระพุทธบาทเขารวก
    อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
    จาก หนังสือโลกทิพย์ ฉบับที่ ๓๘๘ ปีที่ ๒๒ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๕

    วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕ คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนผู้มีความเคารพนับถือได้ร่วมกันประกอบพิธีใน การพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่โง่น โสรโย ณ เมรุวัดพระพุทธบาทเขารวก ตำบลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย ในครั้งนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ มิตรญาติ อย่างหาที่สุดมิได้

    หลวงปู่โง่น โสรโย ได้อุบัติมาใช้ชีวิตในสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์และคุณูปการแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ตลอดถึงสังคมทุกระดับอย่างดียิ่ง เป็นเนติแบบอย่างอันงดงามของผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองด้วย ความสะอาดบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นชีวิตจิตใจ หลวงปู่มีอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา สันโดษ รักสงบ เสียสละ ตามวิสัยของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอุบายแนะนำสั่งสอนเหล่าประชากรโดยพุทธวิธี มีกุศโลบายในการรักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งภายนอกและภายใน มีทัศนวิสัยในการปฏิบัติที่สมสมัย มีจิตใจใฝ่รู้วิชาทุกแขนง นำมาแก้ไขดัดแปลงก่อให้เกิดประโยชน์โสตถิผล ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำความแช่มชื่นให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มีความเยือกเย็นเป็นสุขใจแก่ผู้เข้าใกล้ ด้วยเมตตาบารมีธรรมของท่านอย่างน่าอัศจรรย์

    หลวงปู่โง่น โสรโย อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ผู้อุปการะคือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราชมหาวิหาร นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว ซึ่งต่อมา เจ้าบุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช แห่งราชอาณาจักรลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์แตกใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๕๒๘

    ส่วน หลวงปูโง่น โสรโยในขณะนั้นเป็นพระนวกะ ได้เรียนนักธรรมและบาลีแบบลาว ซึ่งเจ้ายอดแก้ว บุญทัน ทรงรักใคร่โปรดปรานมาก เพราะดั้งเดิมเป็นสายญาติกัน และใช้งานได้คล่อง พูดไทยได้เก่ง เว้าลาวได้ดี ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสก็อาศัยได้ เพราะในระยะนั้นประเทศลาว ยังเป็นอาณานิคม เมืองขึ้นของฝรั่งเศส ท่านจึงต้องการให้พระภิกษุที่เข้ากับชาวต่างชาติรู้เรื่อง อยู่ด้วย เมื่อเวลาว่างท่านให้เข้าป่าเพื่อแสวงหาต้นไม้ที่เป็นยาสมุนไพร เพราะพระองค์ท่านทรงสนใจรับรู้ในเรื่องยาสมุนไพรมาก ตอนเข้าไปในป่าถึงเขตทุ่งไหหิน โดนทหารลาวและทหารฝรั่งจับในข้อหาเป็นจารชนจากเมืองไทยไปสืบความลับ ถูกขังคุกขี้ไก่ ๓๐ วัน พร้อมพระลาว ๒ รูป กับเด็กอีก ๑ คน เด็กคนนั้น คือ เจ้าสิงคำ ซึ่งต่อมาก็คือ ท่านมหาสิงคำ ผู้ทำงานช่วยพวกลาวอพยพร่วมกับสหประชาชาติ อยู่ที่วัดยานนาวา กรุงเทพฯ ท่านจึงไปมาหาสู่บ่อย เพื่อขอความช่วยเหลือให้พี่น้องชาวลาว หลวงปู่โง่นก็ได้ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ความสามารถจะมี

    เรื่องการติดคุกขี้ไก่อยู่เมืองทุ่งไหหินนั้นสนุกมาก เขาเอาไก่ไว้ข้างบน คนและพระอยู่ข้างล่าง ไก่ขี้ใส่หัวตลอดเวลา เหม็นก็เหม็น ทรมานก็ทรมาน สนุกก็สนุก ได้ศึกษาธรรมไปในตัว ความทราบถึงเจ้ายอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ ท่านได้ร้องขอให้ปล่อยตัว แต่ทหารปล่อยเฉพาะพระลาว ๒ รูป กับเด็ก ๑ คน ส่วนหลวงปู่โง่นเขาไม่ปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นคนไทย ด้วยเหตุที่พูดไทยได้เก่ง ทั้งนี้ ขณะนั้นเป็นช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน ฝรั่งยุให้คนไทยกับคนลาวเป็นศัตรูกัน เห็นคนไทยก็จับขังหรือฆ่าทิ้งเสีย จึงมารู้ตัวเข้าคราวหลังว่า เรามันคนปากเสีย ปากพาเข้าคุก เพราะพูดภาษาไทย

    ภายหลังสมเด็จพระสังฆราชลาว ท่านออกใบสุทธิให้ใหม่ โอนเป็นพระลาวเป็นคนลาวไป เขาจึงปล่อยตัวออกมา แต่ก็ยังไม่พ้นสายตาของพวกนักสืบอยู่นั่นเอง จึงกราบทูลลาผู้มีพระคุณ หาทางมุ่งกลับเมืองไทย แต่ไม่รู้จะมาอย่างไร จึงตัดสินใจไปพบคนที่รู้จักรักใคร่คือ ท้าวโง่น ชนะนิกรซึ่งเป็นข้าราชการลาวอยู่ในระยะนั้น ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง มีแต่หลุมหลบภัยและเสียงปืน ที่พี่ไทยกับน้องลาวยิงกันไม่ขาดระยะ ต้องธุดงค์ปลอมแปลงตัว เดินเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงลงมาทางใต้ ถึงใกล้เมืองท่าแขก ได้รับความช่วยเหลือจากพระลาวที่รู้จักกัน คือ ครูบาน้อย หาทางให้ได้เกาะเรือของชาวประมงข้ามฝั่งมาไทย พอถึงแผ่นดินไทยก็โดนร้อยตำรวจเอกเดช เดชประยุทธ์ และ ร้อยตำรวจโทแฝด วิชชุพันธ์ จับในข้อหาเป็นพระลาวหลบเข้ามาสืบราชการลับในราชอาณาจักรไทย ถูกจับเข้าห้องขัง ฐานจารชน อยู่ ๑๐ วัน ร้อนถึงพระพนมคณานุรักษ์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมือง ได้เจรจาให้หลุดรอดออกมา

    พอพ้นจากห้องขังมาได้ ก็เข้ากราบพระอุปัชฌาย์คือ ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณี สั่งให้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานกับ พระอาจารย์วัง ที่ถ้ำไชยมงคล ภูลังกา และไปหา พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตอนเข้าพรรษา พระอุปัชฌาย์ให้มาจำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาหนีออกธุดงค์เข้าถ้ำ จำพรรษาที่ถ้ำบ้านยางงอย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กับอาจารย์สน อยู่ ๑ ปี พระอุปัชฌาย์รู้ข่าวเรียกตัวกลับ สั่งให้มาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม โดยบังคับให้เป็นครูสอนนักธรรมโท อยู่วัดศรีเทพ ๒ ปี เพราะวัดทั้งสองอยู่ใกล้กัน ไปกลับได้สบาย ผลของการสอนได้ผลดีมาก นักเรียนสอบได้ยกชั้นทั้ง ๒ ปี พระอุปัชฌาย์ชมเชยมาก และปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็นครูสอนนักธรรมเวลาเช้า ส่วนเวลาบ่าย หลวงปู่เป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ สอบเปรียญธรรม ป.ธ.๓ แต่ต้องตกโดยปริยาย เพราะข้อสอบรั่วทั่วประเทศ จึงต้องสอบกันใหม่ เกิดความไม่พอใจในวิธีการเรียนแบบสกปรก จึงย้อนกลับไปพึ่งใบบุญของสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศลาว และได้ตั้งใจเรียนแบบลาว สอบเทียบได้เปรียญ ๕โดยสมเด็จพระยอดแก้วสกลมหาปรินายก ออกใบประกาศนียบัตรให้ จากนั้นท่านสั่งให้ไปเรียนต่อที่ประเทศพม่า พอดีขณะนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพม่าพากันเดินขบวนขับไล่รัฐบาลของอูนุ มีการจับพระชาวต่างชาติเข้าคุก หลวงปู่โง่นก็พลอยโดนด้วย แต่โชคดีที่พระมหานายกของพม่า คือ ท่านอภิธชะมหา อัตฐะคุรุ ได้ขอร้องและทำใบเดินทางให้เข้าประเทศอินเดีย เลยเข้าไปเมืองฤๅษีเกษ แคว้นแคชเมียร์ ไปฝึกฝนอบรมวิชาโยคะ ๑ ปี เมื่อมีเพื่อนนักโยคะชักชวนขึ้นไปเมืองยางเซะ และเมืองลาสะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศธิเบต เพื่อศึกษาภูมิประเทศ และหลักการทางพระพุทธศาสนามหายาน

    พ.ศ. ๒๔๙๔ กลับมาเมืองไทย ท่านเจ้าคุณรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ ส่งให้ไปเป็นหัวหน้าก่อสร้างพระอุโบสถจตุรมุขหลังใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ที่วัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อยู่ได้ ๕ ปี พระอุโบสถจวนเสร็จ ขออำลาหนีไปพักผ่อนชั่วคราว ไปพักอยู่กับญาติๆ ที่เมืองอังกานุย ประเทศนิวซีแลนด์ แล้วไปอยู่แคนเบอร่า ประเทศออสเตรเลีย อยู่แห่งละ ๑ ปี แล้วไปอาศัยอยู่กับญาติโยมเก่า ที่เขาเคยอุปการะอยู่ประเทศลาว ที่เมืองรียอง ประเทศฝรั่งเศส

    พ.ศ. ๒๔๙๘ กลับเมืองไทย ไปช่วยท่านมหาโฮม คือ เจ้าคุณราชมุนี วัดสระประทุม ที่ปากช่อง จากนั้นเดินธุดงค์เข้าป่าเข้าถ้ำหลายแห่ง คือ ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วล่องใต้ไปอยู่ถ้ำจัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ถ้ำขวัญเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แล้วมาถ้ำมะเกลือ เหมืองปิล็อก จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขึ้นถ้ำฤๅษี (ถ้ำมหาสมบัติ) ถ้ำเรไร จังหวัดเพชรบูรณ์

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงพ่อแพร คือ ท่านเจ้าคุณเพชราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์องค์ก่อน ได้นิมนต์มาสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดท่าข้าม และสร้างพระประธานใหญ่ ไว้ที่เขตอำเภอชนแดน แล้วท่านร้องขอให้ไปอยู่แคมป์สน เขตอำเภอหล่มสัก อยู่ได้ปีเดียว ท่านเจ้าคุณวิมลญาณเวที วัดมงคลทับคล้อ ซึ่งเป็นเครือญาติกันมาก่อน ขอให้มาสร้างฌาปนสถาน และบูรณะศาลาการเปรียญวัดมงคลทับคล้อ พอเสร็จเรียบร้อย ท่านร้องขอให้มาช่วยเหลือประจำอยู่วัดพระพุทธบาทเขารวก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เพราะเป็นแดนทุรกันดาร หน้าแล้ง จะขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ด้วยความเห็นชอบและเลื่อมใสของท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยม ได้ลงมือพัฒนาสถานที่นี้ให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้นหลายอย่าง อาทิ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในบริเวณหมู่บ้าน เก็บน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี สร้างถนนจากบ้านวังหลุมถึงเขารวก เป็นระยะทาง ๕.๕ กิโลเมตร และสร้างโรงเรียนประถมศึกษา เป็นอาคารชั้นเดียว ยาว ๕๐ เมตร มีห้องเรียน ๘ ห้อง อีกทั้งปั้นหล่อรูปสมเด็จพระปิยมหาราชไว้ที่หน้าเสาธง มีขนาด ๑ เท่าครึ่ง ตั้งอยู่ตลอดจนถึงทุกวันนี้ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี จะให้มีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป และแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนไม่น้อยกว่าปีละ ๑๐๐ ทุน ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท ตลอดมาจนทุกวันนี้

    หลวงปู่ได้แปรผันสังขารของท่านเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๒ รวมสิริชนมายุได้ ๙๔ ปีเศษ นับว่ามีอายุมากในปัจจุบัน แต่สังขารของหลวงปู่ไม่แก่เฒ่าอย่างที่ทุกคนคิด เพราะท่านมีวิธีรักษาจิต เพื่อชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัติ มีธรรมสมบัติเป็นจิตใจ จึงเป็นใจที่สงบ อันใจที่สงบนั้น ย่อมไม่แก่ชราคร่ำคร่าดังพระพุทธภาษิต ว่า สตญฺจ ธมโม นชรํ อุเปติ ธรรมของผู้มีใจสงบนั้น ย่อมไม่เข้าถึงความแก่ชราคร่ำคร่า ก็คือการชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัตินั่นเอง

    คนส่วนมากมักปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม แต่หลวงปู่ท่านใช้ชีวิตของท่านเดินย้อนรอยกรรม โดยการนำตัวแฝงเข้ามาเป็นอุปกรณ์การเดินทางเพื่อย้อนรอยกรรม จึงทำให้ชีวประวัติของท่านโดดเด่น โลดโผน เป็นวรธรรมคติแก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

    อันปฏิปทาของหลวงปู่โง่น โสรโย นั้น ตรงกับคำว่า “ปะฐะ วิปปะภาโส” แปลว่า ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างไสว เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยที่เป็นดวงตาของโลก มีความชื่นชมยินดีเป็นที่รวมใจ มีรัศมีสีทองผ่องอำไพส่องโลกนี้ เป็นคาถาที่ปรากฏใน โมรปริตร์ ถ้าคิดถึงหลวงปู่ก็ให้เจริญมนต์บทนี้ จะได้รับความคุ้มครองจากธรรมสมบัติตามปฏิปทาบารมีของหลวงปู่โง่น โสรโย เหมือนท่านอยู่กับเราในฐานะตัวแฝง ตลอดไป
    (ข้อมูลจากหนังสือ พระราชทานเพลิงศพ)



    ข้อมูลอ้างอิงจาก : phuttha.com
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-ngon/lp-ngon-hist.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ผ้ายันต์ลป.โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก ลป.ศรี หน้าพระลาน
    ประมาณ10นิ้ว*10นิ้วครับ ผ้าเช็ดหน้า
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    -%E0%B9%82%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-jpg.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระดีพิธีใหญ่ พ.ศ ลึก น่าเก็บมากมาย สร้างปี 2514 พร้อมรุ่น 4 วัดปากน้ำ เนื้อเดียวกัน ปลุกเสกพิธีใหญ่วัดปากน้ำ โดยมีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลีเป็นประธานปลุกเสก (ส่วนหลวงพ่อโยกก่อนนำกลับมาอ่างทองแวะให้หลวงปู่เทียมวัดกษัตรา จ.อยุธยาปลุกเสกเดียวอีกหนึ่งครั้ง)และหลวงปู่เทียมวัดกษัตราเนี่ย เป็นพระสายเดียวกับหลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยาที่ใครก็รู้จักกันทั้งประเทศ พิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายวัดปากน้ำภาษีเจริญเพื่อเข้า อันเป็นระยะเวลาเดียวกัน และเป็นพิธีเดียวกันกับการปลุกเสกพระปากน้ำรุ่น ๔ นั่นเอง
    เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น
    พระผงของขวัญ
    ด้านหน้าของพระผงของขวัญที่นายช่างจำลองแบบมาจากหลวงพ่อโยก สาเหตุที่ต้องใช้หลวงพ่อโยกเป็นต้นแบบนั้น มีที่มาตั้งแต่สมัยที่ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์อุโบสถของวัดจันทรังษี ได้ดำริไว้ว่าหากทางวัดจะจัดสร้างพระเครื่องพระผงขึ้น ขอให้จำลองแบบจากหลวงพ่อโยก เพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน
    ด้านหลังของพระผงของขวัญ ปรากฏตัวหนังสือไทยว่า วัดจันทรังษี อยู่ด้านบนซ้ายขวา ส่วนด้านล่างเป็นอักขระขอม หัวใจตรีเพชรว่า “มะอะอุ”
    หาพระผงของขวัญวัดปากน้ำไม่ใด้ราคาเป็นแสนใช้พระวัดจันทรังษีแทนไม่แพ้กันเลยครับ...

    พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาพระครูอุปถัมถ์ธรรมกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ อันเป็นลูกศิษย์ และเป็นคนตำบลหัวไผ่เฉกเช่นเดียวกับหลวงพ่อแต้ม โดยนำผงที่สร้างพระของขวัญในคราวแรกจำนวนหนึ่งและได้เสาะหาผงตามตำราลักษณะการสร้างพระผงวัดปากน้ำรวบรวมขึ้นไว้ และได้นำเส้นเกษาของหลวงพ่อปากน้ำมาผสม(โดยมีส่วนผสมของพระของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นจำนวนมาก) เพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดปากน้ำรุ่นสี่ด้วย สำหรับพิมพ์พระนั้นคุณสมพร สินธุวิชัยเป็นผู้แกะพิมพ์พระถวาย โดยการพิมพ์พระนั้นได้ทำการพิธีผสมผงกดพิมพ์และปลุกเสกโดยพระอาจารย์เถรานุเถรสายธรรมกายในคณะเนกขัมและในโบสถ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น

    พระผงของขวัญ วัดจันทรังษีมีสัณฐานอยู่ในรูปกลีบบัว ขอบโดยรอบยกสูงเป็นเส้นนูน ภายในตรงกลางจำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่เหนืออาสนะเป็นรูปนูนเด่น จำลองจากรูปหลวงพ่อโยกเพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน ด้านหลังแบนเรียบ จารึกอักษรไทยว่าวัดจันทรรังษีเป็นส่วนลึกตามส่วนโค้ง มีอักษรขอมตอนต่อแถวว่า มะอะอุ หมายถึง พระรัตนตรัย.เนื้อหามีทั้งเนื้อออกขาวจนถึงขาวอมเหลือง มีขนาดสูง 2.9 x 1.8 ซ.ม. มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องเพื่อยืนยันความแท้และไม่มี หัก ซ่อมใดๆ และเช่นเคยครับ ตามมาตรฐานของนิว พระเครื่อง ซึ่งแท้อย่างเดียวนั้นยังไม่พอ ต้องสวยหมดจรดด้วย โดยเฉพาะพระปีลึกขนาดนี้ แท้ๆ ในราคาต่ำกว่าพระออกใหม่ เก็บแล้วสบายใจแน่นอนครับขอขอบคุณท่านเจ้า

    ของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ



    หลวงพ่อโยก พระของขวัญ วัดจันทรังษี รุ่นแรก ปี 14 พิธีเดียวกับสมเด็จปากน้ำรุ่น 4
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดายการ)

    ลพ.โยก.JPG ลพ.โยกหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2020
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    0n.jpg
    พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ – หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต
    ประวัติ
    หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต (ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    วัดอริยวงศาราม (หนองน้ำขาว)
    บ้านหนองน้ำขาว ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    ———————————————————–
    พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอริยวงศาราม (วัดหนองน้ำขาว) ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผู้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวเมืองราชบุรี หลวงพ่อมหาปิ่น ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สายธรรมพระป่า แต่เดิมหลวงพ่อมหาปิ่น เป็นชาวนครปฐม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2462 เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บวชเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุเพียง 13 ปี ที่วัด ท่าตำหนัก จ.นครปฐม โดยมีพระปฐมนครา จารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์ จนเมื่ออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นหลวงพ่อได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และถือวัตรปฏิบัติ เดินธุดงควัตรไปทั่วทุกสารทิศ ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านทั่วทุกภาค หลวงพ่อมหาปิ่น ได้มรณภาพอย่างสงบ ณ วัดอริยวงศาราม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2524 สิริอายุ 62 ปี 40 พรรษา

    “พวกเธอจงจำไว้ พระป่านั้น เขามีคติอยู่ว่า ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรมและทำงานเพื่องาน
    พระป่าโดยสายเลือดและวิญญาณเขามุ่งปฏิบัติมาทุกยุคทุกสมัย
    พระป่าหาใช่เพียงกิน ถ่าย นอน และนั่งหลับตาโดยมิได้ทำอะไรเลย
    พระป่าอาจโง่ในสายตาของผู้ที่เขาไม่ได้ “ปฏิบัติ” นั่งหลับตาศึกษาสัจธรรม
    พระป่าในเมืองไทยนี้นับแต่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น พระบุพพาจารย์เจ้าเหล่านี้ล้วนแต่เรียนรู้คำสั่งสอนของพระศาสดาด้วยการ ปฏิบัติด้วยกันทั้งสิ้นและท่านก็สามารถรู้แจ้งในสัจธรรม จนสามารถยังประโยชน์ตนและผู้อื่นได้ พวกเธอจงจำไว้”

    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต พื้นเพถิ่นกำเนิดของท่านอยู่ในจังหวัดนครปฐม ท่านเคยได้สมาธิตั้งแต่อายุ ๘-๙ ขวบเท่านั้น เพราะผู้หลักผู้ใหญ่คนพื้นบ้าน เขาชอบนั่งสมาธิไปดูนรก-สวรรค์กัน ในยุคที่ท่านยังเป็นเด็กนั้น ชาวบ้านนิยมกันว่า “ถ้าบุตรในตระกูลใด ได้บวชแล้วเที่ยวออกธุดงค์รุกขมูลไปในที่ต่าง ๆ จะได้รับการยกย่องนับถือในหมู่ชนต่าง ๆ”

    ดังนั้น ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสัมประทวน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์
    รสชาติของสมาธินั้น ยังตรึงจิตใจอยู่เสมอ ท่านได้ออกติดตามพระธุดงค์ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปี ท่านได้ไปมาเกือบทั่วประเทศไทยตลอดจนถึงมาเลเซีย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น

    อายุของท่านครบอุปสมบทก็ได้มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดท่าตำหนัก เป็นวัดฝ่ายธรรมยุต โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพเจติยาจารย์ วัดเสน่หา เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต หรือท่านพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ ท่านเคยดั้นด้นธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร จากภาคใต้มาถึงกรุงเทพ จากกรุงเทพไปถึงแม่ฮ่องสอน จากแม่ฮ่องสอนไปภาคอีสาน ก็ได้อาศัยเท้าทั้งสองเท่านั้น เดินเพื่อค้นคว้าหาความจริงในธรรมะ และความอดทนอันยอดเยี่ยม
    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วประเทศ
    อันธรรมะที่ท่านเคยประพฤติปฏิบัติมานั้น ท่านได้นำมาถ่ายทอดแก่สาธุชนผู้ใคร่ในธรรมจนหมดสิ้น ลีลาการแสดงธรรมะของท่าน ท่านเฟ้นหาสาระเนื้อหาอันจับใจแก่ผู้ฟังธรรมเป็นอย่างยิ่ง

    ท่านเป็นกำลังสำคัญ ในกองทัพธรรม สายหลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง ที่ได้เที่ยวเผยแพร่หลักธรรมความเป็นจริงขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ความดีงามของท่านนี้ ทำให้ชาวบ้านในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคกลางและภาคใต้ ต่างก็ได้ร่วมกันช่วยสร้างสำนักสงฆ์อันเป็นสาขาได้ ๒๐ กว่าแห่ง
    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต แสดงให้เห็นถึงความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้าในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

    นอกจากนี้แล้วท่านเคยเล่าว่า…”เคยแอบมากรุงเทพฯ เหมือนกัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรฯ วัดราชาฯ วัดราชบพิธฯ วัดมกุฎฯ เมื่อเรียนแล้วก็หนีเข้าป่าฝึกสมาธิภาวนาต่อไป

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เล่าเรื่องการออกเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติภาคใต้ว่า…
    “เมื่อได้ถวายเพลิงศพท่านอาจารย์มั่นแล้ว ก็มีความประสงค์จะเที่ยววิเวกทางภาคใต้ จึงพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หลายองค์ มีพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต เป็นผู้ติดตามไปด้วย ไปพักที่วัดควนมีด จ.สงขลา และได้ออกหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม จึงเดินทางต่อไปจนถึงจังหวัดพังงา รู้สึกอากาศถูกกับธาตุขันธ์อยู่มาก”

    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้เล่าความเป็นมาทางภาคใต้ให้หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ฟังว่า
    “กระผมได้เคยผจญภัยมาแล้ว ณ เมืองภูเก็ต พังงา สองแห่งนี้ ก็ได้รบกับความเดือดร้อนต่าง ๆ อย่างมากมาย ด้วยคณะพระธรรมยุตนิกาย ไม่เคยมีเลยในครั้งนั้นจึงได้พาคณะพรรคพวกกลับมาเผชิญเหตุการณ์ร้าย ๆ นี้อีก
    กระผมดีใจที่ท่านพระอาจารย์มาเป็นประธาน ในการเดินทางในครั้งนี้ แม้จะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงน่ารังเกียจ อันผิดวิสัยของสมณะ! ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเพศเดียวกันคอยกลั่นแกล้งทั้ง ๆ ที่นุ่งห่มสีเดียวกัน น่าละอาย

    เมื่อท่านอาจารย์มาเป็นประธานในการเผยแพร่ธรรมะ กระผมก็มีความหวังดีต่อพระพุทธศาสนา ขอร่วมด้วย เพื่อเป็นการช่วยกันฟื้นฟูธรรมปฏิบัติในเขตสองจังหวัดนี้ เป็นการดียิ่ง”
    การที่คณะเผยแพร่ธรรมะโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เป็นผู้นำแห่งกองทัพธรรม และมีท่านพระมหาอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้เข้าช่วยเหลือเผยแพร่ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าสู่จิตใจ ประชาชนได้เป็นอันมาก

    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ได้ถูกกำหนดให้ไปอยู่จำพรรษาที่กระโสม โดยมีพระคณะละ ๑๖ องค์ ตลอดเวลา ได้ถูกพวกที่ไร้คุณธรรมบุกรบกวน เช่น เผากุฏิ เอาก้อนหินขว้างปาขณะออกเดินบิณฑบาต ลอบวางยาพิษ ต้องผจญกับความทุกข์ยากแสนสาหัส
    แต่ก็ได้รับการเตือนสติจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ให้พยายามรักษาศีลบริสุทธิ์ อย่าทิ้งสติการภาวนา พิจารณาให้เป็นธรรมอย่าเผลอสติ นับเป็นความอดทนเป็นที่ยิ่ง

    ในชีวิตของพระสุปฏิบัติเช่นท่าน คือ…ท่านพระมหาอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านรักในความสันโดษวิเวกท่ามกลางป่าเขา
    ชีวิตธุดงคกรรมฐานของท่าน ได้เดินทางมาไกลแสนไกลบุกป่าฝ่าดง ปีนป่ายภูเขาลูกแล้วลูกเล่า จากลูกนี้สู่ลูกโน้น และในที่สุดท่านก็มาหยุด ณ ภูเขาลูกหนึ่ง รำพึงอยู่ที่เชิงเขา เป็น ภูเขาลูกย่อม มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในสถูปองค์น้อย ณ ที่นั้นเราจึงเรียกว่า “พระธาตุเขาน้อย” หรือ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย

    ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ท่านได้ก่อสร้างขึ้นเป็นวัดที่ถาวร เป็นเครื่องเตือนจิตเตือนใจให้ระลึกถึงท่านและพระธรรมคำสอนอยู่เสมอ
    แม้ว่าบัดนี้ท่านพระอาจารย์ท่านได้ละสังขารจากพวกเราไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีนั้นหาได้เสื่อมสลายตามไปไม่ ท่านยังทิ้งรอย ให้พวกเราทั้งหลายได้ดำเนินชีวิตอันถูกต้อง ตามไปเบื้องหน้าตลอดกาลนาน และเป็นความสุขนิรันดรอย่างแท้จริง

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลังหลวงพ่อมหาปิ่น
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    อ.ฝั้นอ.ปิ่น.JPG อ.ฝั้นอ.ปิ่นหลัง.JPG
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงพ่อบุญ เดิมชื่อบุญ สุขเถื่อน เกิดวันที่ 20 มีนาคม 2444 ปีฉลู ที่บ้านโคกโคเฒ่า อ.เมือง จ.พรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายไม้ นางสุ่น สุขเถื่อน ดังนี้ 1.นายน่วม 2.นางเนี่ยม 3 หลวงพ่อบุญ 4 นางนิ่ม 5.นายแนบ 6.นางหงส์
    อาชีพทำนา
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์และการศึกษา
    พ.ศ. 2454 เมื่ออายุ 10 ขวบ มาเรียนหนังสือที่วัดชายนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดไชนาวาส) โดยเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อท้วม เพราะเป็นญาติกัน
    พ.ศ. 2461อายุครบ 17 ปี ได้กลับมาช่วยพ่อแม่ทำนา
    พ.ศ. 2463 เมื่ออายุ19 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโคกโคเฒ่ากับหลวงพ่อช้าง
    วันที่ 6 พฤษภาคม 2465 อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดไชนาวาส โดยมีหลวงพ่อสอน สุวณฺณสุก ( พระครูโพธาภิรัต ). วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อท้วม (พระครูสมณะการพิสิฐ) วัดไชนาวาส เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช้าง วัดโคกโคเฒ่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาที่วัดไชนาวาส เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ได้รับฉายา ถาวโร
    กาลเวลาผ่านไป 6 เดือน พระอธิการช้างไปขอตัวหลวงพ่อบุญ ให้มาช่วยพัฒนาวัดโคกโคเฒ่ากับหลวงพ่อท้วม ซึ่งหลวงพ่อท้วม ก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใด
    งานพัฒนาวัดและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    พ.ศ. 2472 เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ตามที่กรรมการวัดเสนอและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี
    ระหว่างปี พ.ศ. 2470 – พ.ศ. 2527 ได้พัฒนาปฏิสังขรณ์วัดโคกโคเฒ่า อาทิ กุฏิ สาร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ฌาปนสถาน กำแพงอุโบสถ บ่อบาดาล กำแพงวัด ปลูกต้นไม้ และโรงเรียนปริยัติธรรม
    พ.ศ.2510 หลวงพ่อบุญเริ่มสร้างมงคลวัตถุ พุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม ค้าขายและแคล้วคลาด
    สมณศักดิ์และการบริหารคณะสงฆ์
    พ.ศ. 2470 ได้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโคกโคเฒ่า เนื่องจากพระอธิการช้างกลับไปจำพรรษา ที่วัดศรีบัวบาน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    วันที่ 27 มิถุนายน 2471 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกโคเฒ่า
    วันที่ 18 พฤษภาคม 2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการและเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโคเฒ่า
    วันที่ 28 มิถุนายน 2484 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    วันที่ 29 มีนาคม 2495 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูประทวน นามว่า พระครูบุญ ถาวโร
    วันที่ 5 ธันวาคม 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร นามว่า พระครูวุฒิธรรมนาถ
    มรณภาพ
    หลวงพ่อมรณภาพ วันที่ 20 มีนาคม 2527 สิริอายุรวม 83 ปี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงปู่บุญ รุ่น 4 ปี 2522
    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.บุญ.JPG ลป.บุญหลัง.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...