เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    โปรดติดตามรับชมพิจรณาครับ
    รับประกันพระแท้
    รับประกันความพอใจ7วัน
    จับพลังแล้วไม่มีพลังก็ส่งคืนได้ภายใน1วันจับนานเดี๋ยวเสียหาย
    จัดส่งตรงตามรูป
    ทุกการรับประกันพระต้องอยู่ในสภาพเดิมตามรูปนะครับ
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2019
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระผงหลวงปู่คูหาสวรรค์ วัดนาขวาง สมุทรสาคร หลังยันตืตะกร้อ เสาร์ ๕ ปี๒๕๑๖ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อธิฐานจิตปลุกเสก มากประสพการณ์พระที่หลวงปู่สุดอธิฐานจิตปลุกเสก แม้ตัวท่านเอง มรณภาพนานปี เผาก็ยังไม่ไหม้
    https://palungjit.org/threads/หลวงพ่อสุด-วัดกาหลง.296027/ อ่านตามนี้เลยครับ
    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ (ปิดรายการ)

    ลป.คูหาสวรรค์.jpg ลป.คูหาสวรรค์หลัง.jpg ลป.คูหาสวรรค์กล่อง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2019
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21487
    หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก แห่งวัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ถือเป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธามาเนิ่นนาน

    อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า พิสมัย โสภาจร เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2573 ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสาและ นางเพ็ง โสภาจร

    ชีวิตในวัยเด็กมีหน้าที่ช่วยบิดามารดาทำงานในเรือกสวนไร่นา พร้อมทั้งต้องทำหน้าที่ช่วยพี่ๆ น้องๆ บ้านเกิดก็เป็นป่า สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำงานกันตัวเป็นเกลียว ในการช่วยในการไถ ปักกล้า ดำนาด้วย

    จนอายุ 9 ขวบ ได้เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนประชาบาล ตั้งอยู่ในวัดอัมพวัน บ้านนาเตียง ต.เนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    กระทั่งเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงได้ลาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา
    ต่อมา โยมบิดาได้นำฝากให้เป็นเด็กวัดกับพระซึ่งอยู่วัดเหนือ อ.เมือง จ.สกลนคร พระที่อยู่ด้วยได้เอาไปฝากเข้าโรงเรียนช่างไม้สกลนคร ปัจจุบันมีชื่อว่าโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นเวลา 3 ปี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี ได้กลับมาอยู่ที่บ้านนาเตียง ช่วยบิดามารดาทำการงานในเรือกสวนไร่นาต่อไป ล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2493 ณ วัดสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.เนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    ในสมัยนั้นได้บวชด้วยกัน 4 รูป คือ บวชพระ 3 รูป และบวชเป็นสามเณร 1 รูป ที่ฉิมน้ำบ้านหนองดินดำ โดยมีพระครูพุฒิวราคม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ภายหลังอุปสมบท ท่านได้เดินทางไปจังหวัดนครพนม พร้อมกับพระกรรมวาจาจารย์ พักอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส โดยมีพระอาจารย์บุญมา มหายโส (พระครูไพโรจปัญญาคุณ) เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น

    สำหรับผู้ที่บวชพร้อมกับท่านทั้งหมด 4 รูป คือ

    1.หลวงปู่เคน เขมาสโย เจ้าอาวาสวัดป่าหนองหว้า บ้านหนองหว้า ต.ทรายมูล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    2.หลวงพ่อประสาร ปัญญาพโล (พระครูพิศาลปัญญาคม) เจ้าอาวาสวัดป่าคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และเจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน

    3.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก เจ้าอาวาสวัดป่าโนนแสงทอง บ้านสร้างดู่-ดอนเขือง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    4.สามเณรชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเณรและลาเพศสิกขาเป็นฆราวาสครองเรือนในปัจจุบัน
    ชีวิตในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ หลวงปู่สมัยได้เดินทางไปทุกที่ทุกแห่งที่เห็นว่าสงบ ออกวิเวกและอยู่ตามป่าเขา และในพรรษาที่ 12-13 หลวงปู่ได้เดินทางกลับจำพรรษาที่วัดป่าสามัคคีธรรมาวาส บ้านโพนทอง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    ครั้งหนึ่ง ได้มีโอกาสไปศึกษาพระธรรมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ที่วัดป่าอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    กระทั่งในพรรษาที่ 48 ได้มาจำพรรษาที่วัดป่าโนนแสงทอง บ้านสร้างดู่-ดอนเขือง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่สมัยเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดทางวินัย เป็นเนื้อนาบุญแก่พุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง
    ท่านมักกล่าวเสมอว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสัก แต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันจึงต้องยุ่งและเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง"
    ตลอดชีวิตสมณเพศ หลักธรรมที่ท่านได้พร่ำสอนญาติโยม คือ การรักษาศีล 5 และให้รู้จักดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เพราะความประมาทเป็นหนทางแห่งความหายนะ

    ขอบขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสุงครับ

    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่สมัย วัดป่าโนนแสงทอง ปี ๒๕๒๖ สร้างน้อย สภาพสวยเดิมๆครับ

    ให้บูชา 1400 บาท ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.สมัย.JPG ลป.สมัยหลัง.JPG
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    4.jpg

    ประวัติหลวงพ่อผอง ลูกศิษย์หลวงพ่อทบ วัดชนแดน และหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย

    หลวงพ่อพระครูธีรพัชโรภาส ( ผอง ธมฺมธีโร ) นามเดิมชื่อ ผอง นามสกุล อินทรผล เกิดที่บ้านหันน้อย ต. หนองมะเขือ อ. พล จ. ขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2467 บิดาชื่อ นายหลอด อินทรผล มารดาชื่อ นางบุญโฮม ผลโพธิ์ มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นพี่คนโต การศึกษาในวัยเยาว์ท่านเรียนจบชั้น ม.ศ. 3 จากโรงเรียนบำรุงไทย 2 อ. พล จ. ขอนแก่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เข้ารับการฝึกเป็นกองทหารอาสาในช่วงปี 2488 พอถึงช่วงปลายปีนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงท่านจึงไม่ได้ไปร่วมรบแต่อย่างใด ท่านอุปสมบทเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 ที่วัดศรีชมชื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 15 ต. บ้านเรือ อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น โดยมีพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังจากที่ได้บวชที่วัดศรีชมชื่นแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ชัย และวัดสระแก้ว วัดละ 1 พรรษา ท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรีที่วัดโพธิ์ชัยและนักธรรมชั้นโทที่วัดสระแก้ว หลังจากนั้นท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาทางเทือกเขาจังหวัดชัยภูมิ มาจำพรรษาที่วัด มะกอกหวาน อ. ชัยบาดาล จ. ลพบุรี อีก 2 พรรษา หลังจากจำพรรษาที่นี่แล้ว พอออกพรรษานั้นท่านได้เดินธุดงค์ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภาคกลาง เช่นพระนครศรีอยุธยา ชัยนาถ นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ และได้มาพักที่ อ. ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ก่อนจะเดินธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ เหมือนท่านได้เคยบำเพ็ญบารมีเป็นศิษย์กับอาจารย์ ร่วมกันมากับหลวงพ่อทบ ท่านได้รับการชักชวนจากเจ้าอาวาสวัดสว่างเนตร ต. ดงขุย อ. ชนแดน ให้มาจำพรรษาและพัฒนาวัดร่วมกัน ท่านจึงได้ตัดสินใจจำพรรษาที่วัดนี้ เป็นเวลาถึง 7 พรรษา ช่วง พ.ศ. 2492 – 2498 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกที่วัดสว่างเนตร หลังจากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดสิริรัตนาราม บ้านท่านข้าม อ. ชนแดนอีก 7 พรรษา ในช่วง 14 พรรษา ที่อยู่ที่ อ. ชนแดนนี้ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการทำหน้าที่เลขานุการเจ้าคณะตำบล และเคยรักษาการเจ้าคณะตำบลดงขุย ชนแดน อยู่หลายปี และท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทบ วัดเขาน้อย ( วัดพระพุทธบาทเขาน้อยในปัจจุบัน ) เทพเจ้าของชาวเพชรบูรณ์ ท่านได้เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ คู่กับพระอาจารย์เพ็ง ( พระที่จารตะกรุดให้หลวงพ่อทบ ) ศิษย์เอกของหลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่งจากหลวงพ่อทบจนหมดสิ้นวิชาความรู้ของหลวงพ่อทบ และยังได้ช่วยเป็นธุระในการสอนหนังสือนักธรรมให้แก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดหลวงพ่อทบตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ อ. ชนแดน อีกด้วย นอกจากนี้ท่านยัง เป็นพระคู่สวด คู่กับพระอาจารย์เพ็ง คอยสวดญัตติจตุถกรรมวาจาให้แก่ผู้ที่จะบวช โดยมีหลวงพ่อทบ นั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยท่านได้ร่วมเดินทางไปบวชพระกับหลวงพ่อทบในถิ่นทุรกันดารเกือบจะทุกที่ เช่น วังโป่ง ดงขุย ท่าข้าม สามแยกวังชมภู ยางหัวลม นาเฉลียง ฯลฯ

    หลังจากที่อยู่ฝากตัวเป็นศิษย์และช่วยหลวงพ่อทบสอนหนังสือและบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุที่วัดเขาน้อย และวัดที่ท่านจำพรรษาแล้ว จนมีความเจริญก้าวหน้าโดยลำดับแล้ว พอถึง ปี 2506 ท่านเบื่อหน่ายในตำแหน่งทางการปกครอง มุ่งแสวงหาความสงบทางด้านจิตใจ ท่านจึงได้ตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อทบ ออกเดินจาริกธุดงค์จาก อ. ชนแดน ข้ามเทือกเขารังสามแยกวังชมภู ผ่านมาทางบ้านนาเฉลียง หนองไผ่ บึงสามพัน และได้เดินธุดงค์มาทางบ้านถ้ำท่าเกย ต. สามแยก มาพักที่วัดถ้ำท่าเกยได้ระยะหนึ่ง ก็มีชาวบ้านจากบ้านพรหมยามและบ้านโค้งสุพรรณ ได้พากันเดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยสร้างวัดที่บ้านพรหมยาม ท่านจึงรับนิมนต์และเดินทางมายังบ้านพรหมยามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2506 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 8 ซึ่งเป็นวันโกนก่อนวันพระเข้าพรรษาเพียง 1 วัน ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักชั่วคราวเป็นเรือนไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าคา ให้ท่านได้พักจำพรรษาหลังจากนั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ชักชวนชาวบ้านในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียงให้ช่วยกันสร้างวัดพรหมยามขึ้นมา วัดพรหมยามได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสน่าเคารพของหลวงพ่อผอง ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างที่สุด ประกอบกับวัตถุมงคลของท่าน ที่ท่านปลุกเศกและได้ทำตามตำราวิชาที่เรียนมาจากหลวงพ่อทบ มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาของชาวบ้านโดยทั่วไป และยังเป็นประสบการณ์ที่หนัก ๆ อีกด้วย เช่น โดนถล่มยิงด้วย M 16 ถึง 40 นัด รถพรุนทั้งคัน คนขับลูกปืนถาก ๆ แขนขาบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คนนั่งไปด้วยเสื้อขาดหนังท้องถลอก อีกรายฟ้าผ่าลงมาเต็ม ๆ ที่ร่างไฟลุกเต็มหลังควันพวยพุ่งออกจากหัวแต่ไม่เป็นอะไรเลย อีกรายโดนยิงด้วยลูกซองยาวระยะ 7 เมตร ลูกตะกั่วเข้าเต็มหน้าอกทุกเม็ดกระเด็นหงายท้อง ไปหาหมอเอาคีบหนีบลูกตะกั่วแบน ๆ ที่ติดตามหน้าอกออกแล้วกลับบ้านได้ ทางด้านเมตตามหานิยมท่านก็เป็นเยี่ยมมาก โดยเฉพาะสีผึ้งมหาเสน่ห์มหานิยม แต่ท่านจะนาน ๆ ทำครั้งนึง ปัจจุบันเลิกทำแล้ว ฯลฯ และอีกอย่างหนึ่งวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องของท่านก็สร้างน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านหวงแหนและแสวงหาวัตถุมงคลของท่านเป็นอันมาก ปฏิปทาที่น่าเลี่ยมใสของท่านอีกอย่างคือท่านไม่ยึดติดในลาภสักการะแต่อย่างใด ไม่สะสมวัตถุข้าวของเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม บางครั้งท่านอาพาธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาท คณะศิษย์ยังต้องช่วยกันออกค่ารักษาพยาบาทให้ เพราะท่านไม่สะสมจตุปัจจัยไทยธรรมญาติโยมถวายมาเท่าไหร่ ท่านก็เอามาก่อสร้างถาวรวัตถุและบำเพ็ญทานบารมีจนหมดสิ้น กุฏิที่ท่านอยู่ก็เป็นเพียงกุฏิหลังเล็ก ๆ พอได้อาศัยจำวัดและปฏิบัติธรรมเท่านั้น ปัจจุบันนี้ท่านอายุ 83 ปี พรรษาที่ 62 แต่ท่านก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยแต่อย่างใด หลวงพ่อผองท่านนับว่าเป็นศิษย์สายตรงที่เหลือน้อยมาก ๆ ของ หลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่ง ที่มีระยะเวลาของช่วงชีวิตเกี่ยวพันกับหลวงพ่อทบนานถึง 14 ปี 2492 – 2506 ท่านนับว่าเป็นพระสุปฏิปันโนที่น่าเลื่อมใสและกราบไว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งของเมืองเพชรบูรณ์
    ขอบขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสุงครับ

    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ผอง มากประสพการณ์


    ให้บูชา 3500 บาทครับ

    ลป.ผอง.JPG ลป.ผองหลัง.JPG
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://www.tnews.co.th/contents/305772

    หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล" เจ้าอาวาสวัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธามาอย่างยาวนาน

    นอกจากนี้ ยังมีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์อีกด้วย ชาวเมืองอยุธยาที่มีการสักยันต์ในยุคนั้น จะต้องมีรอยสักของท่านเกือบทุกคน โดยเฉพาะยันต์จิ้งจก ที่โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม

    ประวัติหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง มีนามเดิม หน่าย มีความดี วัน-เดือนที่เกิดไม่ระบุชัด ปีพ.ศ.2446 ที่ ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา บิดา-มารดา ชื่อ นายหลาบ และนางพลอย มีความดี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัด ในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ค่อยเจริญ พออ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่กับบ้าน

    อายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาธรรมวินัยและวิทยาคมบ้างเล็กน้อย ด้วยอายุยังน้อย

    กระทั่งอายุครบ 22 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้ง มีพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า อินทสีโล

    หลังอุปสมบท พรรษาแรก ท่านเริ่มออกเดินธุดงค์ไปในป่าเขาตามภาคต่างๆ ซึ่งมีสัตว์ดุร้ายที่ชุกชุม แต่ก็ไม่มีความเกรงกลัวกับสัตว์ร้ายเหล่านั้น

    เมื่อท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่าจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้กลับมายังวัดแจ้ง อยู่ได้ 3 เดือน จึงเดินทางไปศึกษาวิทยาคมกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

    ขณะที่เรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้พบกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และศึกษาวิชากับท่านบ้าง แต่ส่วนมากจะได้วิชาจาก หลวงปู่ศุข แต่ยังไม่ทันที่จะได้วิชาแขนงสุดท้าย หลวงปู่ศุขก็มรณภาพไปเสียก่อน

    แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี แต่หลวงพ่อหน่ายได้ฝึกฝนทบทวนสรรพวิชาต่างๆ อย่างเข้มข้น ถือว่าเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุขอย่างแท้จริง

    หลังจากนั้นท่านได้ไปศึกษาวิชาเครื่องรางของขลังและวิทยาคมกับอาจารย์ย่ามแดง ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่ศุข หลังจากเรียนวิชาจากอาจารย์ย่ามแดง จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งในขณะนั้นมี พระครูอนุวัติสังฆกิจ (เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาสท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ในป่าช้านานถึง 20 ปี โดยบอกว่าในป่าช้าเงียบและสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    หลวงพ่อหน่าย ช่วยพระครูสังฆกิจ (เคลือบ) พัฒนาวัดบ้านแจ้ง ด้วยการสร้างอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ เมื่อพระครูสังฆกิจมรณภาพ ญาติโยมจึงนิมนต์หลวงพ่อหน่ายขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ขณะที่มีอายุได้ 71 ปี โดยที่ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร รวมทั้งเกื้อกูลต่ออุบาสก-อุบาสิกามายาวนาน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กุลบุตรทั้งหลายได้บรรพชาอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

    จากวัตรปฏิบัติและเมตตาธรรมที่หลวงพ่อหน่ายได้ให้แก่ลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลายมายาวนาน ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือ ประกอบกับเมื่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลและมีผู้นำไปบูชาแล้วเกิดผลเป็นสุข ความเจริญ หรือแคล้วคลาดจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อหน่ายอยู่ในทำเนียบของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย

    ทั้งนี้ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ได้สร้าง พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และ วัตถุมงคล ไว้หลายอย่าง อาทิ ตะกรุดโทน, ตะกรุดมหาอุด, พระโมคคัลลาน์พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก, พระพุทธโคดมพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก รวมถึงเหรียญรุ่นต่างๆ อีกหลายรุ่น

    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อหน่าย ท่านได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาช่วยเหลือชาวบ้านและลูกศิษย์อย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นสงฆ์ที่รักสันโดษ ครองบรรพชิตอย่างเรียบง่าย และไม่เคยโอ้อวดตน

    ต่อมาละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ค. 2531 รวมอายุ 86 ปี พรรษา 74
    ขอบขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง ออกจ.พิจิตร วัดลูกศิษย์ท่านหลวงพ่อพิมพ์ ที่ออกเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่หน่ายครับ

    ให้บูชา800บาทครับ

    ลป.หน่าย.JPG ลป.หน่ายหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2019
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    index.php?PHPSESSID=2hu0nrl1u0inknh17uh4ht1d17&action=dlattach;topic=1891.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อเส็ง วิสุทธสีโล วัดปราสาทเยอร์ใต้

    พระครูวิสุทธิสีลากร หรือ หลวงพ่อเส็ง วิสุทธสีโล แห่งวัดปราสาทเยอใต้ ต.ปราสาทเยอ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เกิดเมื่อ 20 กรกฏาคม 2484 ปีมะเส็ง มีนามเดิมว่า นายเส็ง สมศรี ท่านเป็นทั้งหลายชายและลูกศิษย์ใกล้ชิดอีกองค์ของหลวงปู่มุม อินทปัญโญ แห่งวัดปราสาทเยอเหนือ ปัจจุบันหลวงพ่อท่านมีอายุ 71 ปี พรรษาที่ 50

    - ทำการบรรพชาเป็นสามเณร ณ อุโบสถวัดปราสาทเยอเหนือ
    เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2499 โดยมีหลวงปู่มุมเป็นพระอุปัชฌาย์
    - ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดปราสาทเยอเหนือ
    เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2505 โดยมีหลวงพ่อมุม เป็นพระอุปัชฌาย์
    เจ้าอธิการจันทร์ ขฺนติโก วัดปราสาทเยอใต้ เป็นพระกรรมวาจารย์
    พระสาลี พุทธสโร วัดปราสาทเยอเหนือ เป็นพระอนุสาวณาจารย์

    อาจกล่าวได้ว่า หลวงพ่อเส็งเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิและศิษย์ใกล้ชิดที่สุดของหลวงปู่มุม ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถา ต่างๆ ตามตำราโบราณจากหลวงปู่มุม นอกจากนี้ยังไปเรียนวิชาต่าง ๆ กับหลวงพ่ออ่อน วัดเพียมาตรปัจจุบันหลวงพ่อเส็งท่านจะจารเหรียญหรือวัตถุมงคลและจะลงเหล็กจารด้วยตัวท่านเอง ท่านยังได้ตำราต่างๆ ที่หลวงปู่มุมได้มอบให้ไว้ ซึ่งเป็นตำราโบราณที่ สมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ได้มอบให้แก่หลวงปู่มุมปัจจุบันท่านเป็นร่มโพธิ์ทองของเหล่าญาติโยมทั้งใกล้และไกล วัตถุมงคลของท่านนั้นมีเพียงไม่มีรุ่น แต่ละรุ่นล้วนเป็นที่เสาะแสวงหาของลูกศิษย์ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเหรียญนักกล้ามรุ่นแรกและพระกริ่ง ปี 2551 นั้น หาไม่ค่อยเจอเพราะเจ้าของเก็บหมด ฉะนั้นท่านที่มีวัตุมงคลของหลวงพ่อโปรดเก็บไว้ให้ดีเถิด หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ที่ญาติโยมกราบได้อย่างสนิทใจ กล่าวได้ว่า ท่านเป็นพระดีศรีนครลำดวนอีกรูปหนึ่งก็ว่าได้
    ขอขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเส็ง วัดปราสาทเยอใต้มีรอยจารอักขระเต้มเหรียญด้านหลังรุ่นประสพการณ์ครับ ให้บูชา 800 บาทครับ

    ลพ.มุม ลพ.เส็ง.JPG ลพ.มุม ลพ.เส็งหลัง.JPG
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    images?q=tbn:ANd9GcT9-Dl3OP887O5GTolTfo20suycEFAnsh6xUMlVze8P-I7GXT3jGg.jpg


    ตามประวัติว่าท่านเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา พอคลอดออกมาบิดาท่านกำลังเอาไปฝังหลวงพ่อสิงห์ วัดบ้านโนนผ่านมาจึงทักว่าเด็กคนนี้ยังไม่สิ้นบุญจึงขอบิณฑบาตรเอาใว้ แล้วนำร่างของเด็กน้อยใส่พานตั้งใว้ที่หน้าพระประธานในโบสถ์วัดบ้านโนน หลวงพ่อสิงห์นั่งสมาธิจนถึงรุ่งเช้า ปรากฏว่าเด็กน้อยฟื้นขึ้นมาหลวงพ่อสิงห์จึงขอใว้เป็นบุตรบุญธรรมและตั้งชื่อว่า"สมบุญ" และได้สอนสัพวิชาอาคมต่างๆให้จนหมดใส้หมดพุง และยังได้ศึกษาวิชาต่างๆจากยอดพระเกจิอีกหลายท่านเช่นหลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ หลวงพ่อมา วัดกาดสูง หลวงพ่อแก้ว วัดหนองตำลึง ชลบุรี เป็นต้น

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงครับ

    รูปหล่อโบราณรุ่นแรกหลวงพ่อสมบุญ วัดบ้านตม วัดจันทรังษี ปราจีนบุรี ลูกศิษย์ของหลวงพ่อสิงห์ วัดบ้านโนน เรื่องราวประวัติท่านพิศดารแปลกมาก คนพื้นทมี่นับถือกันมากครับ ลองเข้าไปหาอ่านประวัติดูครับ วัดตถุมงคลสร้างไม่กี่รุ่น

    ให้บูชา 500 บาทครับ

    ลพ.สมบุญ.jpg ลพ.สมบุญหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2019
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รูปถ่ายสีแขวนคอหลังจารยันต์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐมครับ เก่าทันตัวหลวงพ่อนะครับ ไม่ค่อยเจอ
    ให้บูชา300 บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    ลพ.เปิ่น.JPG ลพ.เปิ่นหลัง.JPG
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญทรงผนวชในหลวงรัชกาลที่๑๐
    ให้บูชา300 บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    รัชกาลที่๑๐.JPG รัชกาลที่๑๐หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2019
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระผงสมเด็จพระภัทรมหาราช ที่ระลึกเทิดพระเกียรติ สมเด็จภัทรมหาราช พระชนมายุครบ 60 พรรษา ปี2530 พระเนื้อผงพุทธคุณ ผสมเส้นพระเจ้า ( เกศา ในหลวง ) จัดสร้างโดยคณะสงฆ์ไทย 2 นิกาย พร้อมเหรียญพระชัยหลังช้าง พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

    1.สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ

    2.สมเด็จพระญาณ สังวร วัดบรวนิเวศวิหาร
    3.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพยา

    4.สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวีหาร

    5.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปธุมคงคา

    6.พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ

    7.พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ

    8.พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ

    9.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

    10.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้น กระดูกกลายเป็นพระธาตุ

    11.พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม เทพเจ้าแห่งสังขระบุรี

    12.พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ

    13.พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม

    14.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก

    15.พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม

    ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้
    ขอขอบคุณที่มาบทความข้อมุลอย่างสูงครับ
    พระผงสมเด็จพระภัทรมหาราช ที่ระลึกเทิดพระเกียรติ พระชนมายุครบ 60 พรรษา ปี2530 พิธีเดียวกับพระชัยหลังช้างครับ เนื้อผงกลมสร้างน้อย

    ให้บูชา800 บาทครับค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    รัชกาลที่๙.JPG รัชกาลที่๙หลัง.JPG
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    1229590034.jpg
    รูปพ่อท่านจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ


    พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ ตามประวัติ หลวงพ่อจันทร์ ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า เครื่องราง ควายธนู พ่อท่านจันทร์ ถือเป็นควายธนูหนึ่งเดียวของเมืองใต้ ด้วยเอกลักษณ์และรูปแบบโดยเฉพาะ ประวัติพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองใต้

    ประวัติหลวงพ่อจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6ปีชวด ณ บ้านหลาแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช บิดาชื่อนายเขียว มารดาชื่อนางพุดแก้ว นามสกุล ทองแก้ว หลวงพ่อจันทร์ ท่านเป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้อง4คน มีอาชีพทำสวนทำไร่ ตอนเยาว์วัยได้ศึกษาในสำนักของ พระครูสังฆรักษ์ วัดหลาแก้ว ได้ศึกษาอักขระสมัยและวิชาอาคมต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นก็ศึกษาพุทธาเวทจากตำราต่างๆ มีวิชาอาคมพอตัวเลยทีเดียว นักเลงหัวไม้ต่างกลัวท่าน เนื่องจากท่านหนังเหนียวยิ่งนัก เมื่ออายุครบ 20ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดศาลาแก้ว มีพระครูพนังศรีวิสุทธิพุทธิภักดี เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์เห้ง วัดศาลามีแก้ว เป็นพระกรรมาวาจารย์ หลวงพ่อจันทร์ ได้ฉายาว่า "สุเมโธ"

    อักขระปรากฏแก่ พ่อท่านจันทร์ คราวหนึ่ง พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ ท่านเดินทางธุดงค์อยู่ในป่าช้าจังหวัดพัทลุงขณะที่ท่านเข้าพักแขวนกลดไว้กับกิ่งไม้ในป่าช้าวัดแห่งหนึ่งบริเวณใกล้ริมคลองป่าเรียบร้อยแล้ว “หลวงพ่อจันทร์”ท่านก็เดินจงกลมคลายความเหน็ดเหนื่อยพอสมควรแล้ว ท่านก็นั่งสมาธิภาวนาในกลด เพราะเป็นช่วงพลบค่ำพอดี

    ความอัศจรรย์เกิดขึ้นแก่จิต ขณะที่นั่งสมาธิจนจิตค่อยสงบลงแล้วสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แจ่มใสมาก “หลวงพ่อจันทร์”ท่านได้เล่าให้บรรดาศิษย์ฟังภายหลังว่าจิตสงบดีแล้วเหตุการณ์การอันอัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น ทำให้เห็นอักขระแบบภาษาขอมลอยขึ้นเด่นชัด จากริมแม่น้ำลำป่า ไปอยู่ในท่ามกลางอากาศก็ได้กำหนดอักขระเหล่านั้นมาพิจารณา แล้วทำอุบายเพ่งเป็นกสิณ โดยอาศัยอักขระโบราณที่ปรากฏมาเป็นนิมิตรหมายแห่งการบำเพ็ญเพ่งเป็นองค์กสิณยิ่งนานวัน ความสงบยิ่งแนบแน่นตามลำดับ

    พยัคฆามาเยี่ยม เมื่อความมืดมาปกคลุมไปทั่วลุ่มน้ำลำป่า จังหวัดพัทลุง บริเวณภายนอกกลดอากาศเย็นเป็นพิเศษ ขณะ"พ่อท่านจันทร์"และหมู่คณะของท่านนั่งกำหนดจิตอยู่ ทันใดนั้นความเงียบก็ถูกทำลายด้วยอำนาจเสือโคร่งตัวโต เสียงร้องของมันขู่ข่มขวัญ ทุกคนที่ได้ยิน มันเดินไปวนมาข้างๆกลดเพราะได้กลิ่นมนุษย์ พระธุดงค์ดังกล่าวได้ปฏิบัติตามคำเตือนให้อยู่ในความสงบ นั่งปฏิบัติกันโดยปกติ เสือเหมือนมาทดสอบจิตใจเมื่อพระธุดงค์ทุดท่านมีมานะอดทนที่แน่วแน่ พร้อมทั้งแผ่เมตตาไปยังเสือตัวนั้นในที่สุดเสือโคร่งก็สิ้นความพยายามผละหายกลับไปในป่าลึก


    หลวงพ่อจันทร์ พบดินแดนสงบ จากการเดินธุดงค์ไปทั่วทั้ง 14จังหวัดภาคใต้ ต่อมาในปี พ.ศ.2491 พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ ท่านได้จำพรรษาที่ วัดทุ่งเฟื้อ เพราะเล็งเห็นว่าเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาสมาธิเป็นอย่างยิ่ง จากอดีต วัดทุ่งเฟื้อ ที่เคยมีสภาพทรุดโทรม ก็ได้รับการพัฒนาเปิดป่า เปลี่ยนเป็นศาลาโรงธรรม หอระฆัง พระอุโบสถและกุฏิสงฆ์ขึ้นมาตามลำดับ ต่อมา พ่อท่านจันทร์ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดทุ่งเฟื้อ อย่างสมบูรณ์ พระสงฆ์ต่างจังหวัดและชาวบ้านต่างมาฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาตำราพิชัยสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องวิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด แต่งคนเลิศดีนักแลฯ ถือเป็นวิชาสุดยอดทั้งนั้นและ หลวงพ่อจันทร์ ก็เคยเดินทางไปศึกษาวิชากับ อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว อีกด้วย


    1229590333.jpg
    1229590340.jpg
    ข้อมูลจากคุณศิวเวทย์ (๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛)


    พุทธคุณพระเครื่อง “พ่อท่านจันทร์”
    ในเรื่องอิทธิมงคลวัตถุของพ่อท่านจันทร์ นั้นมีอานุภาพดีเด่นในทางพุทธคุณสูง อานุภาพสูงส่งจากประสบการณ์ผู้นำติดตัวไปใช้ก็มีมากมาย จึงเป็นที่หวงแหนของผู้ที่ครอบครองไว้ สำหรับความรู้สึกของศิษยานุศิษย์ที่ได้เรียนวิชาคงกระพัน วิชาชาตรี วิชาแคล้วคลาด วิชามหาอุด วิชาแต่งคน และรับมอบอิทธิวัตถุมงคลของหลวงพ่อจันทร์ พูดได้ว่ายอดเยี่ยมเลยทีเดียว




    หลวงพ่อจันทร์ มรณภาพตามกำหนด
    กฎแห่งไตรลักษณ์มีอย่างไรความจริงก็ย่อมปรากฏเช่นนั้น หลวงพ่อจันทร์ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติจนเกิดฌานจนแก่กล้า สามารถรู้เหตุการณ์ต่างๆแม้แต่วันตาย ดังบันทึกของคณะศิษย์วัดทุ่งเฟื้อ ทุกๆสาย คืนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 ท่านเข้าสมาธิภาวนาตั้งแต่หัวค่ำด้วยอิริยาบถอันสงบ แม้อาการป่วยกระเสาะกระแสะมาตลอดท่านก็ไม่ ทอดธุระเรื่องภาวนา ตลอดคืนจนได้เวลา 05.00น. อันเป็น เวลาใกล้สว่าง หลวงพ่อจันทร์ ท่านได้ให้บรรดาศิษย์ช่วยกันพยุงกายท่านให้ลุกขึ้น เพราะท่านนั่งสมาธิมาตั้งแต่หัวค่ำ เรี่ยวแรงก็น้อยลง เมื่อพระสมุห์พิงค์ ขึ้นแล้ว ท่านได้เปลี่ยน สบง จีวร สังฆาฏิ ใหม่หมดเสร็จแล้วท่านได้บอกให้ลูกศิษย์ประคองให้นั่งลงทำสมาธิต่อไปหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว หลวงพ่อจันทร์ท่านก็หลับตาลง และได้สั่งให้พระสมุห์พิงค์ ผู้เป็นศิษย์จุดเทียนไว้เบื้องหน้าหนึ่งเล่ม พร้อมทั้งไม่ให้ใครมาส่งเสียงบริเวณนั้นจะทำสมาธิครั้งสุดท้ายหลังจากกล่าวแก่ศิษย์ทุกคนแล้ว หลวงพ่อจันทร์ ท่านก็หลับตาลงเป็นครั้งสุดท้ายกำหนดจิตเข้าสู่สมาธิ เป็นลำดับเวลา 08.30น.บรรดาลูกศิษย์ ที่เฝ้าดูอาการของ พ่อท่านจันทร์ เห็นผิดสังเกต เพราะศีรษะของท่านโน้นเอียงลงมาเล็กน้อย ซึ่งปกติท่านจะนั่งตัวตรงไม่ไหวติง ศิษย์ที่อยู่ใกล้ชิดท่านย่อมรู้ดี จึงทราบว่า พ่อท่านจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ ท่านได้มรณภาพแล้ว วันที่ 10 พฤศจิกายน 2532


    1229590180.jpg
    ชาวบ้านที่ศรัทธา หลวงพ่อจันทร์


    ร่างกายไม่เน่าเปื่อย
    การนั่งมรณภาพของ หลวงพ่อจันทร์ เมื่อวันที่10 พฤศจิกายน 2532 ได้ลือกระฉ่อนไปทั่วสารทิศเมืองนครศรีธรรมราช สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย สังขารของท่านแข็งดุจหินแม้เวลาล่วงเลยมาหลายปี

    พระเครื่องพ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังต่างๆ
    ล้วนเป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจาก หลายคนมีประสบการณ์แบบบอกต่อๆกันไม่ว่าจะเป็น เหรียญรุ่นแรก รูปหล่อรุ่นต่างๆ พระบูชาหลวงพ่อจันทร์ รวมทั้งเครื่องรางควายธนู

    ข้อมูลจาก...นิตยสารศูนย์พระเครื่อง ปี 2535
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความที่มาข้อมุลอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.จันทร์.JPG ลป.จันทร์หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2019
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อสุนทร วัดหนองสะเดา สระบุรี

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.สุนทร.JPG ลพ.สุนทรหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2019
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระผงยอดขุนพล หลวงปู่บุญหนา สกลนคร สายพระป่ากรรมฐานหลวงปู่มั่นครับ

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    ลป.บุญหนา.JPG ลป.บุญหนาหลัง.JPG
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญหลวงพ่อผาง หลังเสือแผ่น หายากไม่ค่อยเจอ ขอนแก่น สายพระป่ากรรมฐานหลวงปู่มั่นครับ
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.ผาง.JPG ลพ.ผางหลัง.JPG
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระปิดตาหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ นครพนม
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.คำพันธ์.JPG ลป.คำพันธ์หลัง.JPG ลป.คำพันธ์กล่อง.JPG
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระสมเด็จหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ นครพนม
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลป.คำพันธ์1.JPG ลป.คำพันธ์1หลัง.JPG ลป.คำพันธ์กล่อง1.JPG
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ
    https://palungjit.org/threads/ร่วมก...มงคล-หลวงปู่คง-วัดตะคร้อ-จ-นครราชสีมา.100697/
    รูปเหมือนปั๊มครึ่งซีก หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ โคราช รุ่นชัยชนะ
    ให้บูชาองค์ละ 250 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ มี 3องค์สภาพสวยทุกองค์ครับ
    ลพ.คง.JPG ลพ.คงหลัง.JPG ลพ.คงกล่อง.JPG
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติหลวงพ่อพยุง สุนทโร
    หลวงพ่อพยุง สุนทโร เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านมีนามเดิมว่า พยุง เกิดเมื่อ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม พ.ศ. 2474 ณ.บ้านห้วยมะซาง หมู่ 1 ตำบลหนอหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อนายเจิม เกตุประทุม มารดาชื่อนางปั่น เกตุประทุม หลวงพ่อพยุงมีพี่น้องรวม 7 คน หลวงพ่อพยุงเป็นที่คน 5


    เมื่อวัยเด็ก

    พอมีอายุครบเกณฑ์การศึกษา บิดามารดาได้ส่งเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบัลลังก์ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนได้แค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก็ต้องลาออกจากโรงเรียน เนื่องจากท่านเป็นเด็กที่ไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว เมื่อออกจากโรงเรียนได้มาช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพ แม้ท่านจะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง แต่ก็เป็นคนขยันขันแข็งหาเด็กอื่นเทียบได้ยากในหมู่บ้านเดียวกัน เพราะเป็นคนที่นอนตื่นแต่เช้ามืดตื่นก่อนใครทั้งหมด เป็นอย่างนี้ประจำเสมอมา และยังเป็นคนรู้จักมัธยัสถ์แต่เด็ก ใช้จ่ายทรัพย์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งไม่เล่นการพนัน เสพของมึนเมา ไม่เที่ยวเตร่จนเสียงาน เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย จนเป็นบุตรที่รักใคร่ของบิดา มารดา ดุจหัวแก้วหัวแหวนเลยทีเดียว บิดาของท่านซึ่งมีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาอาคมต่าง ๆ และแพทย์แผนโบราณ จนชาวบ้านยอมรับนับถือ จนเมื่อหลวงพ่อพยุง เจริญวัยพอสมควรแล้วก็ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้จนหมดสิ้นช่วงชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อพยุง นับเป็นชีวิตที่สั่งสมประสบการณ์ได้อย่างคุ้มค่าทีเดียว

    เมื่อถึงวัยที่จะต้องทดแทนบุญคุณของบิดา มารดา เหมือนชายไทยทั่วไป บิดา มารดา ก็พาสู่ร่มกาสาวพัตร์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์


    ความกตัญญูรู้คุณ

    หลวงพ่อพยุง ท่านมีนิสัยมาตั้งแต่เด็ก คือความกตัญญู นอกเหนือจากตอบแทนคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความกตัญญูรู้คุณแล้ว เมื่อครั้งมารดาผู้ให้กำเนิด ได้ป่วยและมีอาการทรุดลงไปตามวัยชรา จึงเป็นเหตุให้ท่านไปอยู่ปรนนิบัติมารดาขณะเจ็บป่วย หลวงพ่อพยุงในเวลานั้น ท่านได้ตอบแทนบุญคุณของมารดาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ สงฆ์แล้วก็ตาม

    หลวงพ่อพยุง พยายามรักษาพยาบาล มารดาทุกอย่างไม่ว่าจะ ป้อนข้าว ป้อนยา เทกระโถนอุจาระ ปัสสาวะ นับได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการตอบแทนพระคุณได้อย่างสูงยิ่ง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของมารดาได้สิ้นใจลงในออ้มแขนของท่าน แต่ศพของมารดาก็มิได้เผา หลวงพ่อพยุงเอาใส่โลงอย่างดี แล้วเก็บเอาไว้บนหัวนอนภายในกุฎิ เพื่อสักการบูชาอยู่เสมอ มารดาได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2515 และบิดาเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2525 หลวงพ่อพยุงก็เก็บศพเอาไว้ในกุฏิเหมือนกับศพของโยมมารดา หลวงพ่อได้เก็บศพของโยมมารดาไว้ 21 ปี ศพของโยมบิดา 11 ปี และเมื่อปี 2536 หลวงพ่อพยุงได้สร้างเมรุเสร็จ จึงได้ทำการฌาปนกิจพร้อมกัน ท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองอย่างสูงสุด สมกับคำว่า “นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญญู กตเวทิตา” ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี

    การอุปสมบทเป็นภิกษุ

    หลวงพ่อพยุงได้อุปสมบทที่วัดหนองหลวง ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2494 พระครูศรีคณานุรักษ์ (หลวงพ่อสม) วัดดอนบุปผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาผล วัดพังม่วง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประปลัดเตี้ยม (พระครูอาภัสสรคุณ) วัดดอนบุปผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดปู่เจ้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย แต่ท่านก็ไม่เคยคิดที่จะไปสอบธรรมสนามหลวง เพราะท่านไม่เคยหวังในลาภยศอะไร ท่านมีความสันโดษ มักน้อย และมีความเมตตา จึงเป็นที่รักใคร่ของคนใกล้ชิดและรู้จักเป็นอย่างดี

    การศึกษาพุทธาคมและศาสตร์อื่น ๆ ของหลวงพ่อพยุง สุนทโรนั้น หลวงพ่อพยุงเกิดความสนใจเป็นอย่างมากที่จะศึกษาทางจิตศาสตร์วิทยา ท่านจึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ หลวงพ่อสด จนทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี

    หลวงพ่อพยุงได้ศึกษาเรียนวิชาอยู่กับหลวงพ่อสดเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นก็ได้กราบลาหลวงพ่อสด มาอยู่วัดน้ำพุ อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเต่า

    หลวงพ่อเต่าได้แนะนำพิธีการ การปฏิบัติวิชาอาคมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด หลวงพ่อเต่าได้เมตตาสั่งสอน อบรมจิตใจให้จนแก่กล้า แล้วจึงให้เริ่มศึกษาศาตร์วิทยาต่าง ๆ หลวงพ่อเต่า ได้ทำการมอบตำราที่เกี่ยวกับจิตศาตร์ วิทยาอาคมทั้งหลายให้จนหมดสิ้น

    ในปีต่อมาท่านกราบลาหลวงพ่อเต่า เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชา อาคม กับ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรกขิโต ( หลวงพ่อพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ ) แห่งวัดดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเถระที่มีคุณธรรมสูง จิตใจสงบเยือกเย็น เมตตาปราณีมากนอกจากนี้ท่านยังเป็นพระผู้มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในเรื่องอำนาจจิต และพุทธาคม

    หลังจากที่หลวงพ่อพยุง เรียนวิชาอยู่กับหลวงพ่อมุ่ยได้ระยะหนึ่ง ท่านก็กราบลาหลวงพ่อมุ่ยกลับมายังวัดปู่เจ้าอีกครั้งหนึ่ง พอดีทางวัดบัลลังก์ขาดสมภารวัด ญาติโยมจึงนิมนต์หลวงพ่อพยุงมาอยู่ที่วัดบัลลังก์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน เมื่อปี พ.ศ. 2499

    หลวงพ่อพยุง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบัลลังก์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 ขณะนั้นท่านอายุได้ 26 ปี ท่านต้องทำงานหนัก จากการพัฒนาวัดที่มีสภาพทรุดโทรมให้กลับกลายเป็นสภาพที่สมบูรณ์เจริญ รุ่งเรือง ถึงแม้ว่าสุขภาพจะไม่แข็งแรงเพราะมีโรคประจำตัวตั้งแต่เด็ก แต่ท่านก็ไม่เคยย่อท้อ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเป็นที่เคารพศัทธาของประชาชนทั่วไป


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงสุพรรณหลวงพ่อพยุง เนื้อผงผสมเกษา ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.พยุง.JPG ลพ.พยุงหลัง.JPG
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,155
    ค่าพลัง:
    +21,318
    showimage.jpg

    ชีวประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล)ชาติภูมิหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล มีนามเดิมว่า ฉาบ ด้วงดาราถือกำเนิดวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2471 เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อฉาบ 2.นายเอิบ 3.นายสังวาล 4.นายประสงค์ 5.นายถวิล 6.นายปุ่น 7.นางสมนึก ของโยมพ่อเน่า และโยมแม่สมบุญ ณ บ้านเลขที่ 27 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นป.4 ที่โรงเรียนวัดศรีสาคร อาชีพทำนา
    หลวงพ่อ ฉาบ มงฺคโล ในวัยเด็กตอนยังเป็นฆาราวาส เป็นคนถือสัจจะเป็นใหญ่มีความตั้งใจพูดจริงทำจริงและสนใจในเวทย์มนต์คาถา มักชอบไปกราบนมัสการหาพระอยู่เสมอ ในปีพ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น ได้แจกให้คณะศิษยานุศิษย์ ทายกทายิกาที่ร่วมทำบุญมาทำการทอดกฐินยังวัดศรีสาครและได้มาพำนักอยู่ที่วัด ศรีสาครเป็นเวลาถึง 6 เดือน เพราะท่านขอบพอสนิทกับหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดศรีสาครในสมัยนั้น หลวงพ่อฉาบ ในวัยเด็กขณะนั้นอายุได้ 14 ปี มีความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อแช่มมาก ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อแช่มบ่อยครั้ง และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ขอเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ในลำดับแรกหลวงพ่อแช่มได้สอนให้เรียนรู้ทางด้านการปฏิบัติจิต สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตนิ่งเป็นสมาธิก่อน และหลังจากทำกรรมฐานและวิปัสสนาอยู่ 3 เดือน หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สอนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ให้ ในปีพ.ศ.2486 หลวงพ่อแช่ม ก็ได้กลับไปวัดตาก้อง หลังจากนั้นในปีพงศ.2488 หลวงพ่อแช่มได้มาพำนักที่วัดศรีสาครอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 25 วัน หลวงพ่อฉาบ ตอนนั้นอายุได้ 17 ปี ได้เข้าพบรับใข้และเล่าเรียนสอบถามวิชาไสยเวทย์พร้อมให้หลวงพ่อแช่มช่วย ทบทวนวิชาคาถาที่เล่าเรียนจนสามารถปฏิบัติได้ตามคำสอนอย่างดี แล้วหลวงพ่อแช่มก็เดินทางกลับวัดตาก้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2490 หลวงพ่อแช่ม ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพลงในปีนั้น
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศรีสาคร เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2491 โดยมีพระครูเกศิวิกรม (หลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสังฆราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ประทุม เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉ่ำ เจ้าอาวาสวัดตึกราชาวาสเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้รับฉายาว่า มงฺคโล เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ตั้งจิตมั่นได้กล่าวคำสัจจะวาจาบอกกล่าว ต่อโยมบิดามารดาของท่านว่า เมื่อฉันได้บวชเรียนเป็นภิกษุแล้วจะขอรับใช้พระพุทธศาสนาตลอดชีวิต โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ทักทวงแต่ประการใด เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสาคร 2 พรรษา ได้เรียนพระธรรมวินัยไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมจากหลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ ซึ่งองค์นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพูล (เจ้าอาวาสองค์ก่อน) วัดสังฆราชาวาส ซึ่งเป็นสหายธรรมของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย และหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาสเป็นเหรียญยอดนิยมของชาวเมืองสิงห์บุรีมีค่านิยมหลักหมื่น ถือว่าเป็นสุดยอดเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์และคงกระพัน หลังจากหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทรัพย์แล้ว ก็ได้ปรึกษาหลวงพ่อทรัพย์ในการปฏิบัติกิจแห่งธุดงค์วัตร ก็ได้รับการแนะนำสั่งสอนอย่างดี
    ในปีพ.ศ.2493 โดยมุ่งสู่จังหวัดลพบุรีดินแดนซึ่งเคยเป็นอาณาจักร ลวปุระ (ละโว) อันรุ่งเรืองเกรียงไกรมาแล้ว หลวงพ่อฉาบได้เดินธุดงค์ไปยังถ้ำตะโก เพื่อจะไปหาความสงบวิเวก เมื่อถึงถ้ำตะโกมาทราบว่าหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ท่านได้ละสังขารมรณภาพไปแล้ว ก็ได้พบกับหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ศิษย์เอกหลวงพ่อเภา ซึ่งได้รับสืบทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่าง ๆ จากหลวงพ่อเภาทั้งหมด หลวงพ่อฉาบจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาต่าง ๆ ของหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จากหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา จากนั้นหลวงพ่อฉาบก็เดินทางมุ่งไปสู่วัดเขาสาริกา เพื่อจะไปศึกษาธรรมกรรมฐานจากหลวงพ่อกบ ก็ปรากฎว่าได้มรณภาพไปแล้วเช่นกัน จึงได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎ วัดเขาวงกฎอยู่ติดกับวัดเขาสาริกาอยู่คนละฝางเขา ที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ตั้งอยู่ที่สนามแจง ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของเขา เป็นลักษณะหุบเขาเปิด มีทางเข้าออกทางเดียว เมื่อปีพ.ศ.2465 หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโกธุดงค์มาพบสถานที่แห่งนี้เข้าเห็นว่าเหมาะแก่การอบรมสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก จึงได้ทำการก่อสร้างให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบ มีถ้ำคูหาสวรรค์อยู่ที่เชิงเขาด้านทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อเภาจะจำพรรษาและทำความเพียรในถ้ำคูหาสวรรค์แห่งนี้ ต่อมากรมพระนครสวรรค์ พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์เสด็จมาที่เขาวงกฎได้พบหลวงพ่อเภา ทรงเลื่อมใสในปฏิปทาและแนวทางในการปฏิบัติของหลวงพ่อ จึงได้ถวายปัจจัยให้ก่อสร้างวัด หลวงพ่อเภาได้สร้างกุฏิขึ้นหน้าถ้ำคูหาสวรรค์ให้ชื่อว่า "ตึกบริพัตร" ตามนามของผู้บริจาค และหลวงพ่อเภาได้มาจำพรรษาที่กุฏินี้ตลอดมา หลังจากหลวงพ่อเภาได้มรณภาพในปีพ.ศ.2474 ที่วัดแห่งนี้ในปีหนึ่งจะมีพระสงฆ์มาจากวัดต่างๆ ทุกภูมิภาคมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ หลวงพ่อฉาบได้มาปฏิบัติธรรมได้พบกับ พระมหาชวน มลิพันธ์ (หลวงพ่อโอภาสี) หลวงพ่อฉาบได้พบหลวงพ่อโอภาสี เล่าเรื่องมีความศรัทธาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา แต่มารู้ภายหลังว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วด้วยความตั้งใจมุ่งหวังจะศึกษาวิชา ต่าง ๆ จากท่าน ก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ที่รับการถ่ายทอดวิชามาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลวงพ่อฉาบจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี ขอศึกษาวิชากสิณต่าง ๆ และไสยเวทย์ หลวงพ่อโอภาสีได้ฝึกสอนวิชาต่าง ๆ ให้เช่นกสิณไฟ และคาถาอาคมต่างๆ ให้หลวงพ่อฉาบจำนวนมากและยังได้ชักชวนนิมนต์ให้หลวงพ่อฉาบเดินทางไปพบท่าน ที่อาศมบางมดกรุงเทพฯ ในครั้งนั้นที่วัดเขาวงกฎหลวงพ่อฉาบยังได้พบปะรู้จักเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อ ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันได้ขอศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท  หลวงพ่อชาเกิดปีพ.ศ.2471 ปีเดียวกับหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล หลวงพ่อชาท่านได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2536 ร่วมสิริอายุได้ 65 ปี หลวงพ่อฉาบอยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 45 วัน ก็ได้เดินทางกลับไปยังวัดถ้ำตะโกอีกครั้งหนึ่ง ได้พำนักอยู่ที่วัดถ้ำตะโกพบปะใกล้ชิดกับหลวงพ่อคงอีกครั้งก็มาศึกษาพบว่า ที่วัดถ้ำตะโกแห่งนี้อยู่ในบริเวณดอยเขาเทือกเขาเดียวกับวัดต่าง ๆ อีกถึง 3 วัดรวมดอยนี้มีวัดถึง 4 วัดคือ วัดเขาสมอคอน วัดถ้ำช้างเผือก วัดถ้ำตะโก และวัดบันไดสามแสน ในอดีตตั้งแต่ยุคสมัยทวาราวดีเป็นต้นมา ดอยเทือกเขานี้มีความสำคัญมากมีถ้ำใหญ่น้อยเป็นร้อย ๆ ถ้ำ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีล สมณะ ฤาษี พราหมณ์ เป็นแห่งกำเนิดของวิชาไสยเวทย์มนต์คาถาแหล่งรวมวิชาไสยศาสตร์ เช่นวิชาขอมดำดิน ก็ก่อเกิดในที่แห่งนี้เป็นตรรกศิลาแห่งไสยศาสตร์และเวทย์มนต์ วัดเขาสมอคอนเป็นวัดอยู่ต้นดอย มีถ้ำพระนอนและที่พำนักของฤาษีสุกกะทันตะและ ถ้ำพราหมณี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยก็มาศึกษาที่แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ หลวงพ่อฉาบ ก็ได้เดินทางมาที่วัดเขาสมอคอน เข้ากราบนมัสการฝากตัวขอเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อบุญมี อิสสรโร ศิษย์ผู้รับการสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อพระครูปัชฌาย์ก๋ง จฺนทสโร พระอุปัชฌาย์ก๋ง มีวิชาไสยเวทย์มากมายได้จากตำราเก่าอักขระยุคขอม
    ท่าน เก่งมากเหรียญรุ่นแรกของท่านชาวลพบุรีเล่นหากันหลักแสนจะขอย้อนกล่าวถึงความ เป็นมาของเทือกเขาสมอคอน ที่เป็นที่ตั้งของวัดเขาสมอคอนอยู่บนดอยสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ทราบถึงความ เป็นมาดังนี้ เทือกเขาสมอคอนหรือเรียกดอยธัมมิกราช ดอยธัมมิกราชวิทยาลัยราชะแห่งยุวทวาราวดี ดอยธัมมิก สาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เนื่องมาจาก สุกกทันตฤาษี (สุทันตะฤาษี)ในหนังสือชินกาลมนีกล่าวว่าสุกกทันตฤาษีำพำนัก ณ ดอยธัมมิก(เขาสมอคอน) อยู่ทางทิศใต้ของกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) ในสมัยพระเจ้าจักรวัตติราช แห่งกรุงละโว้ สุกกทันตฤาษี ในสมัยนั้นย่อมเป็นที่รู้จักต่อฝูงชนหมู่คณาจารย์ และบรรดากษัตริย์ต่าง ๆ ทั่วทุกแคว้น ดอยธัมมิกราช เป็นดอยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในสมัยทวาราวดี เพราะทั้งภาษาหนังสือและความหมายเป็นภาษาชั้นสูงของผู้คงแก่เรียนที่ได้รู้ ในทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงสถาปนายอดดอยแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของบรรดาฤาษีและผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่หรืออีกนัยหนึ่งว่าเจ้ากรุงละโว้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนา จนได้สมญาพระนามว่าพระเจ้าธัมมิกราช ความสำคัญของดอยธัมมิกราช เขาสมอคอนได้สมญานามว่าวิทยาลัยแห่งราชา ยุคทวาราวดียอมเป็นที่แน่นอนที่สุดที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดัง เรื่องไสยเวทย์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับในสมัยเก่าก่อนมากกว่า 150 ปีขึ้นไปนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการสืบทอดเผยแพร่วิชาไสยเวทย์ มาจากแหล่งกำเนิดวิชาจากดอยธัมมิกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น
    หลวงพ่อฉาบ ได้เข้าจากธุดงค์ครั้งที่ 2 แล้ว ก็อยู่แต่ภายในวัดศรีสาครไม่ได้เดินทางไปไหนอีกเลยท่านปิดกุฏิเป็นเวลานาน มุ่งบำเพ็ญกรรมฐานและสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาหลาย 10 ปี ในแต่ละวันจะเปิดกุฎิรับญาติโยมและพุทธศาสนิกชนเพียงบางเวลาเท่านั้นท่านไม่ มีโทรทัศน์, วิทยุปิดกุฎิไม่รับรู้เรื่องภายนอกแต่ท่านก็รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี ท่านจะเน้นเรื่องกรรมบางครั้งสิ่งที่เป็นกรรมเหตุจะเกิดก็ไม่อาจเลี่ยงได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมคุณสุนทร คนที่ดูแลหลวงพ่อคุยให้ฟังว่าหลวงพ่อจะพูดถึงหลวงพ่อชา สุภัทโท อยู่เสมอ เหมือนท่านได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตถึงกันเหมือนติดต่อกันทางจิตในวันที่หลวง พ่อชาได้ละสังขารลง หลวงพ่อฉาบได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปยังวัดหนองป่าพงและหลวงพ่อฉาบได้ไปร่วมใน งานพระราชทานเพลิงศพในครั้งนั้นด้วยหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาไสยเวทย์และคาถาต่าง ๆ จากพระเกจิอาจารย์และพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากอีกทั้งท่านได้ ปฏิบัติดีและประพฤติชอบตามพระธรรมวินัยคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพุทธและชาวจังหวัดสิงห์บุรีอีกทั้งจังหวัด ใกล้เคียงอีกจำนวนมาก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น๒หลวงพ่อฉาบวัดศรีสาคร หลังอรหังไทย สภาพผิวหิ้ง สร้างน้อย นิยมในเหล่าลุกศิษย์ ให้บูชา2000บาทครับ

    ลพ.ฉาบ.JPG ลพ.ฉาบหลัง.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...