พระพุทธเจ้าทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นพระศาสดา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Moderator6, 23 ธันวาคม 2013.

  1. Moderator6

    Moderator6 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +3,721
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 valign="Bottom"> <TBODY> <TR bgColor=white> <TD vAlign=top align=center vspace="0" hspace="0">
    ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นพระศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน
    </TD></TR> <TR> <TD vAlign=top align=left vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 valign="Bottom"> <TBODY> <TR> <TD align=left>
    [​IMG] ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทาน โอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยว กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน' [​IMG] พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุ พรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน' [​IMG] ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม [​IMG] ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย [​IMG] เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์ องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ฃัดเจนก่อนจะนิพพานว่า พระภิกษุรูปใด [​IMG] ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"

    [​IMG] ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" [​IMG] หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง


    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>[/SIZE]84000.org</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2013
  2. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,670
    พระองค์เคยตรัสไว้ว่า

    "ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย

    เหมือนภาชนะไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด"

    แสดงให้เห็นถึงพระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนม์ชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

    <O:p</O:p
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพาน

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=XDolsCyxOAo"]การ์ตูน พุทธโอวาท ก่อน ปรินิพาน ช่วงสำคัญที่สุด - YouTube[/ame]​
     
  3. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    อนิจจสูตรที่ ๔

    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
    เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ
    เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
    จริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... รสที่เป็นอดีต
    ไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใด
    ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
    สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา
    อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น
    อยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
    ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
    ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
    อย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... รสที่เป็น
    อนาคตไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต
    ไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่
    เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
    อย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... รสที่เป็น
    ปัจจุบันไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน
    ไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    84000.org
     
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    ข้อพิจารณาที่ว่า การเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม​


    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!... ก็แล คำ นี้ เป็นคำ ที่พระผู้มีพระ
    ภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท, ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม; ผู้ใด
    เห็นธรรม, ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท"
    , ดังนี้.

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุป-
    ปันนธรรม (ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น); กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้ง
    หลาย

    ธรรมใด เป็นความพอใจ (ฉนฺโท) เป็นความอาลัย (อาลโย) เป็นความ
    ติดตาม (อนุนโย) เป็นความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ประการ เหล่านี้, ธรรมนั้น ชื่อว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกฺขสมุทโย).

    ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันราคะ (ฉนฺทราควินโย) เป็นความ
    ละขาดซึ่งฉันทราคะ (ฉนฺทราคปฺปหานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ
    เหล่านี้, ธรรมนั้น ชื่อว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ).

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล
    คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้.

    ที่มา:๑มหาหัตถิปโทปมสูตร มู.ม. ๑๒/๓๕๙, ๓๖๐/๓๔๖, พระสารีบุตรกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.



    ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้ง
    เท่ากับเรื่องนิพพาน



    ดูก่อนราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้
    เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและ
    ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต.
    ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย;
    สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้
    คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ
    (อิทปฺปจฺจยตาปฎิจฺจสมุปฺปาโท); และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบ
    ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
    เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่น
    ไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา"

    โอ,ราชกุมาร! คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน

    ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า:

    "กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก.
    ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดย
    ง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะอันความมืด
    ห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็น
    ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู" ดังนี้.


    ที่มาคัดลอกจาก:โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค มูม. ๑๓/๔๖๑/๕๐๙, ตรัสแก่โพธิราชกุมาร ที่โกกนุทปราสาท เมือง
    สุงสุมารคิระ; ปาสราสิสูตร มู.ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๑, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.


    คลิก http://palungjit.org/threads/เชิญร่...ยพระพุทธบาท-ณ-วัดลำจังหัน-จ-เพชรบูรณ์.320743/
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959


    ....ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวยมีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีลปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย
    แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย....
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    นิพพานสูตรที่ ๑

    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
    พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง
    ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน
    ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
    น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
    ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่
    เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป
    หาอารมณ์มิได้นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
     
  7. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



    [๒๕๘] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ
    โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณอย่างไร ฯ

    อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑
    อัญญินทรีย์ ๑
    อัญญาตาวินทรีย์ ๑ ฯ

    อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
    อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
    อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร ฯ

    อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
    อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
    อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ
    อรหัตตผล ฯ

    [๒๕๙] ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธิน-
    *ทรีย์
    ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร
    สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร
    ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์
    มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป
    เป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็น
    สมุฏฐาน เป็นกุศลทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก
    เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์
    ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี
    สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
    มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
    ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี-
    *ตินทรีย์นั้น ฯ


    [๒๖๐] ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
    เชื่อเป็นบริวาร ... ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติผล ทั้งหมดนั่นแลเป็น
    อัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
    มีนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี
    สหชาตธรรมเป็นบริวาร ... ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญิน
    ทรีย์นั้น ฯ

    [๒๖๑] ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทคามิผล ฯลฯ
    ในขณะอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะอนาคามิผล ฯลฯ


    ในขณะอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็น
    บริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
    ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตมรรค นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมด
    นั่นแลเป็นกุศลล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึง
    ความไม่สั่งสม เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตมรรค
    อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ... ธรรมเหล่านั้น
    แลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น ฯ

    [๒๖๒] ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ ซึ่งมีความ
    น้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความ
    ตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็น
    เป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็น
    บริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในการสืบต่อ ที่กำลังเป็นไป เป็นบริวารธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤตนอกจากรูปที่มีจิต
    เป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะ
    อรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร
    มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็น
    บริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล
    เป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดเหล่านี้ รวม
    เป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    [๒๖๓] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ
    เหล่านั้น คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
    ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ๆ ภวาสวะ
    อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ
    อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะอนาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้น
    ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัตตมรรคนี้ ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ในอินทรีย์
    ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ ฯ
     
  8. homesmile

    homesmile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2014
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +178
    พระธรรมวินัยไตรปิฎก ที่ผมรู้มา เป็นพระศาสดา ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น 5คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
    1. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
    2. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
    3. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
    4. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
    5. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัยครับ
     
  9. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,913
    ค่าพลัง:
    +1,513
    อนุโมทนานะครับ


    น่าเสียดายนะครับ ผมไมไ่ด้พบพระพุทธองค์เฉพราะพระพักษื
    ไม่อย่างนั้นผมคงได้ทำบุญใหญ่ไปแล้ว

    แต่ตอนนี้ปลงเรื่องนี้ได้เยอะแล้ว

    ตอนนี้ผมพบพระองค์ใหม่ อีกพระองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...