พระธรรมบทน่ารู้ ตอน พระภิกษุผู้ว่ายากก่อเวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 เมษายน 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    พระธรรมบทน่ารู้ ตอน พระภิกษุผู้ว่ายากก่อเวร
    พระติสสะพระญาติผู้ว่ายาก
    [​IMG]
    เรื่องว่าด้วย พระติสสเถระ บวชเมื่ออายุมาก(แก่) และเป็นพระญาติเป็นผู้ว่ายากและถือตัว
    พระติสสเถระ มีร่างอ้วนพี เมื่อบวชใหม่ชอบนั่งอยู่กลางโรงฉันกลางวิหาร ปรากฏว่าพระอาคันตุกุ มาเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วไม่รู้จักท่านคิดว่าท่านพรรษามากกว่าเมื่อพระอาคันตุกะ ได้ถามพรรษา เพื่อจะแสดงความเคารพกัน
    พระติสสเถระก็ตอบว่าเพิ่งบวช ไม่ยอมแสดงคารวะต่อพระอาคันตุกะ ซึ่งมีพรรษาแก่กว่ายังผลให้พระอัคตุกะเหล่านั้นตำหนิท่านพระติสสเถระ จึงไปฟ้องพระพุทธเจ้า(ฟ้องไปก็ร้องไห้ไปด้วยค่ะ)พระพุทธเจ้าฟังแล้วก็รู้ว่าพระติสสเถระผิด ทำไม่ถูกจึงให้พระติสสเถระขอขมาพระอาคันตุกะเหล่านั้น ซึ่งพระติสสะ ก็คือไม่ยอมขอขมาพระพุทธเจ้าจึงเล่าเรื่องบุรพกรรมของพระติสสะ ในอดีตชาติให้ฟังว่า
    พระติสสะ นั้นดื้อมาตั้งแต่อดีตชาติแล้ว ดังนี้.-
    มีดาบสชื่อเทวละ (คือพระติสสะ ในชาตินี้)วันหนึ่งดาบสเทวละ ผ่านมาทางโรงนามช่างหม้อจึงได้ค้างพักที่โรงนายช่างหม้อนั่นเองแล้วพอดีดาบสอีกองค์หนึ่งชื่อนารทะมาขอพักเช่นกัน(แต่มาที่หลัง)และปรากฏว่า ในเวลาจะนอนดาบสนารทะ กำหนดที่นอนแล้วจึงนอนส่วนดาบสเทวละ นอนขวางกลางประตูดังนั้นเมื่อดาบสนารทะ ออกไปกลางดึก จึงไม่รู้และได้เหยียบที่ชฏาของดาบสเทวละซึ่งดาบสเทวละก็บ่นด่า ข้างฝ่ายดาบสนารทะ ก็บอกว่า“ท่านอาจารย์ ผมไม่ทราบ จงอดโทษแก่ผมเถิด” ดาบสนารทะ ขอโทษแล้ว จึงเลิกรากันไปดาบสนารทะดาบสเทวละ ก็ล้มตัวลงนอนใหม่ พลางคิดว่า“ดาบสนารทะ รูปนี้ออกไปข้างนอก เมื่อข้ามาอาจจะเหยียบเราอีก”ดังนั้นจึงกลับนอนหันศรีษะไปทางเท้าฝ่ายดาบสนารทะ เมื่อจะเข้าไป ก็คิดว่า
    “เมื่อออกมา เราได้ผิดไปแล้ว เหยียบอาจารย์ไปแล้ว
    บัดนี้ เราจะเข้าไปทางเท้าของท่านดีกว่า”
    ดังนั้น ดาบสนารทะ จึงเดินไปทางเท้าของอาจารย์ตามที่คิด
    ด้วยไม่รู้ว่า บัดนี้ดาบสเทวละ ได้หันศรีษะกลับมาทางเท้าแล้ว
    ปรากฏว่า ดาบสนารทะ จึงได้เหยียบไปที่คอแห่งดาบสเทวละ
    ดาบสเทวละโกรธมากๆ คิดว่าดาบสนารทะแกล้งตัวเอง จึงพูดสาป ดาบสนารทะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาในเวลาเช้าขอให้ศีรษะของดาบสนารทะ จงแตกออก ๗ เสี่ยงดาบสนารทะ กล่าวว่า
    “อาจารย์ โทษของผมไม่มีเมื่อท่านได้สาปแล้ว โทษของผู้ใดมีอยู่ ขอศรีษะของผู้นั้นจงแตก ขอผู้ไม่มีโทษ จะอย่าแตก”
    ความที่ดาบสนารทะ มีบุญมาก มีอานุภาพมาก ได้กำหนดรู้ว่า “อาจารย์ดาบสเทวะ ศรีษะจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง เมื่อพอพระอาทิตย์ขึ้นแน่นอน”จึงได้ไปห้ามพระอาทิตย์ขึ้น ไม่ให้ขึ้นด้วยกำลังฤทธิ์ของตัวเองเมื่อพระอาทิตย์ไม่ขึ้น ประชาชนก็เดือดร้อนมาก
    พระราชาจึงต้องมาไกล่เกลี่ยพระดาบสเทวละ ก็ไม่ยอมขอโทษเพราะด้วยทิฐิมานะ แม้จะศรีษะแตกก็ตามพระราชาจึงให้ทหารจับพระดาบสเทวละ ที่มือ ที่เท้า ที่ท้อง ที่คอ ให้ก้มลงที่บาทของดาบสนารทะ เพื่อขอขมาดังนั้นดาบสนารทะ ก็คลายฤทธิ์ให้ แล้วแนะให้ว่าหากเมื่อแสงอาทิตย์ขึ้น ให้ดาบสเทวละดำลงไปในน้ำ ให้ไปโผล่ขึ้นที่อื่นแทน
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสให้พระติสสเถระ ขอโทษพระอาคันธุกะ
    ซึ่งพระตัสสเถระ ก็ได้ปฏิบัติตามรับสั่งและหลังจากนั้นพระตัสสเถระ ก็เป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้ออีกเลย...
    เรื่องเป็นเช่นนี้....เอง
    ในกาลนั้น ดาบสเทวละ ก็คือพระติสสะ
    พระราชา ก็คือ พระอานนท์
    และดาบสนารทะ ก็คือ พระพุทธเจ้า นั่นเอง…
    เมื่อแสดงพระธรรมเทศนาจบ พระพุทธเจ้า ตรัสพระคาถาภาษิตว่า...
    อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
    เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ
    อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ มํ
    เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ

    ชนเหล่าใด เข้าไปผูกเวรว่าคนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
    ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบระงับ
    ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า
    คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป
    เวรของชนเหล่านั้น ย่อมสงบระงับ

    ที่มา: พระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
    เล่มที่ 25 ฉบับมหาจุฬา เฉลิมพระเกียร
    ที่มา http://palungjit.org/posts/9990616
     

แชร์หน้านี้

Loading...