พระฉันนะจึงเป็นผู้ว่ายากสอนยาก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 26 มีนาคม 2015.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    เนื้อความพระไตรปิฏก เล่ม ๑ หน้า ๖๕๔-๖๕๕ บรรทัดที่ ๑๖๙๙๔ dsc05303.jpg

    เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชก จนได้สำเร็จพระอรหันต์ปัจฉิมสาวก
    พระอานนท์เถระ ได้ทูลถามพระบรมศาสดาว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระฉันนะถือตัวว่า เป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์ คราวเสด็จสู่มหาภิเนกษกรม เป็นผู้ว่ายาก ไม่รับโอวาทใคร ๆ แม้จะกรุณาเตือน เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว จักเป็นผู้ว่ายากยิ่งขึ้น ด้วยหาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติแก่ท่านอย่างไร ในกาลเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว”
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    “อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์ แก่ฉันนะเถิด”
    พระอานนท์เถระ ได้ทูลถามพระบรมศาสดาว่า
    พรหมทัณฑ์ เป็นไฉนเล่า พระเจ้าข้า”
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    “อานนท์ การลงพรหมทัณฑ์ นั้น คือ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอนเลย ไม่พึงเจรจาคำใด ๆ ด้วยทั้งสิ้น เว้นแต่คำอันเป็นกิจธุระโดยเฉพาะ อานนท์ เมื่อฉันนะถูกสงฆ์พรหมทัณฑ์แล้ว จักสำนึกในความผิด และสำเหนียกในธรรมวินัย เป็นผู้ว่าง่าย ยอมรับโอวาท ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล”
    แล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่าให้ภิกษุทั้งหลายลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะอดีตมหาดเล็กผู้ถือว่าตนมีความสำคัญกว่าผู้ใดเพราะเคยติดตามพระพุทธองค์ตั้งแต่ครั้งเสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์ (ออกบวช) ด้วยเหตุนี้พระฉันนะจึงเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ไม่ยอมฟังคำของพระเถระอื่น ๆ
    หลังจากถูกลงพรหมทัณฑ์แล้ว คือ ภิกษุทั้งหลายไม่พึ่งว่ากล่าว ไม่พึงให้โอวาท ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงเจรจาคำใด ๆ ด้วยทั้งสิ้น พระฉันนะ จึงยอมสำนึกตัวและในที่สุดได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภายหลังที่พระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    พระฉันนะเป็นผู้ว่ายากจึงทำให้เกิดวินัยบัญญัติสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๗
    เรื่องพระฉันนะ

    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ วัดโฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น คฤหบดีอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ ได้กล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าโปรดตรวจดูสถานที่สร้างวิหาร กระผมจักให้สร้างวิหารถวายพระคุณเจ้า จึงท่านพระฉันนะให้แผ้วถางสถานที่สร้างวิหาร ให้โค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์ต้นหนึ่ง ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชา คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้โค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์ ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชาเล่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เบียดเบียนอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งมีชีพ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะจึงให้โค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์ ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชาเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า
    "ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธอให้เขาโค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์ ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชา จริงหรือ?
    ท่านพระฉันนะทูลรับว่า "จริง พระพุทธเจ้าข้า"
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ให้โค่นต้นไม้ อันเป็นเจดีย์ ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชาเล่า เพราะมนุษย์มีความสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีพ ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

    ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้ออยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้"

    ทรงตรัสให้พระภิกษุลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ | ปรินิพพาน | พระพุทธเจ้า :: เว็บไซต์พุทธะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...