ผู้บำเพ็ญเพียรควรปลอบจิตในเวลานั้น ด้วยสังเวควัตถุ ๘ ประการ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 17 กรกฎาคม 2019.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    c_oc=AQnyWv-EUQnmZPIR__PaBofIM6sJOtZthm7wURtdzD5yLhrbbrziB6h1pwWnl85IznU&_nc_ht=scontent.fnak1-1.jpg


    ผู้บำเพ็ญเพียรควรปลอบจิตในเวลานั้น
    โดยวิธียังจิตให้สังเวช
    ด้วยสังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ

    ๑. ความเกิด

    ๒. ความแก่

    ๓. ความเจ็บ

    ๔. ความตาย

    ๕. ทุกข์ในอบาย

    ๖. ทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต

    ๗. ทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต

    ...........

    เมื่อพิจารณาถึงสังคหวัตถุ ๘ ประการนี้แล้ว
    จิตใจที่หดหู่อยู่ย่อมแช่มชื่นเบิกบานในการที่
    จะบำเพ็ญความดีหรือสมณธรรม
    นี้ชื่อว่าปลอบจิตในสมัยที่ควรปลอบ

    ๗. เพ่งจิตในสมัยที่ควรเพ่ง

    คือในเวลาใดที่จิตของผู้บำเพ็ญ
    ไม่หดหู่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไปสม่ำเสมอ
    ในอารมณ์ดำเนินไปตามวิธีแห่งสมถะ

    ในเวลานั้นไม่ต้องประคอง หรือข่ม
    หรือปลอบจิต เพียงแต่เพ่งดูจิต
    เท่านั้นก็พอแล้วเหมือนสารถี
    นั่งดุม้าซึ่งวิ่งเรียบเสมอ

    ๘. เว้นการคบคนผู้มีจิตใจไม่มั่นคง

    ข้อนี้ หมายถึงการเว้นจากการคบหา
    สมาคมด้วยบุคคลซึ่งผู้มีอัธยาศัย
    ไม่น้อมไปในเนกขัมมปฏิปทา

    คือการใฝ่หาความสงบ
    เว้นจากบุคคลที่มีจิตมาก มีธุระมาก
    จิตใจฟุ้งซ่าน มีจิตใจไม่มั่นคง

    ๙. คบหาสมาคมด้วยบุคคล
    ผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในความสงบ
    มีกิจธุระน้อย มีจิตใจมั่นคง

    ๑๐. เป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไป
    เอียงไปในสมาธินั้น

    เมื่อถึงพร้อมด้วยอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ

    ดังกล่าวมา

    อัปปนาสมาธิย่อมเป็นไปสม่ำเสมอ
    ถ้าอัปปนายังไม่เกิดก็ไม่ควรละความเพียรเสีย

    พึงมีความพยายามเรื่อยไป
    เพราะว่าผู้ละความพยายามเสียแล้ว
    จะบรรลุคุณ วิเศษใดๆไม่ได้เลย

    เมื่อพยายามเรื่อยไปจิตย่อมถึงอัปปนา
    (ความแน่วแน่) เข้าสู่ปฐมฌาน
    ซึ่งมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

    ...........

    ละองค์ ๕ คือนิวรณ์ ๕
    ประกอบด้วยองค์ ๕
    คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อ ถีนมิทธะ (ความคร้านกายคร้านใจ)

    วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อ วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

    ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อ พยาบาท (ความปองร้าย)

    สุข เป็นปฏิปักษ์ต่อ อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ)

    สมาธิ เป็นปฏิปักษ์ต่อ กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)

    ปีติ ๕

    ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยมีอาการให้ขนลุกขนชัน

    ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ
    มีอาการเสมือนสายฟ้าแลบในอากาศ

    ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ
    มีอาการประดุจคลื่นกระทบฝั่ง

    ๔. อุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน
    มีอาการเหมือนล่องลอยไปในอากาศ

    ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย

    ท่านเปรียบเหมือนปัสสาวะ
    ที่ขังเต็มกระเพาะปัสสาวะ
    และเหมือนกระแสน้ำพุ่งกระทบหุบผา

    ปีติ เมื่อแก่เต็มที่ คือมีมากย่อมทำให้เกิดปัสสัทธิ
    คือความสงบระงับ ๒ ประการเกิดขึ้นคือ กายปัสสัทธ
    ความสงบระงับทางกาย จิตตปัสสัทธิ ความสงบระงับทางจิต

    ปัทสัทธิ เมื่อแก่เต็มที่ ย่อมก่อให้เกิดสุขกาย สุขใจ

    ความสุข เมื่อมีมาก ย่อมเป็นปัจจัย
    ให้เกิดขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

    ปีติในองค์ฌานนั้น คือ ผรณาปีติ

    ปีติและสุขทั้งสองประการนี้ บางทีก็มาด้วยกัน

    แต่บางทีก็มิได้มาด้วยกัน
    ในที่ใดมีปีติ ในที่นั้นมักจะมี
    สุข แต่ความสุขมิจำต้องมีปีติเสมอไป

    ท่านเปรียบปีติเหมือนผู้เดินทางกันดาร
    ได้ข่าวว่าจะถึงชายป่าหรือริมแม่น้ำ
    ส่วนสุขนั้น เปรียบเหมือนบุคคล
    ได้เดินทางกันดารถึงใต้ร่มไม้
    นั่งพักผ่อนตามสบายแล้ว
    และได้ดื่มน้ำแก้ความกระหายแล้ว


    ขอบคุณที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...