ผลงานการประพันธ์ จากบทประพันธ์ชื่อ " ขันธะวิมุติสะมัง ถอดจากลายมือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คีธรรมะ "

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย sereenon, 8 มกราคม 2020.

  1. sereenon

    sereenon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,715
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,931
    ผลงานการประพันธ์ จากบทประพันธ์ชื่อ " ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ "
    ถอดจากลายมือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    โดยคณะสงฆ์วัดป่าดานวิเวก
    เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

    (หน้าที่ 1)
    นะมะถุ สุคะตัสสะ ปัญจะ ธรรมะขันธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมะศาสดา สักยะมุนีสัมมาสัมพุทธะเจ้า แลพระนะวะโลกุตตะระธรรม ๙ ประการ แลอะริยะสงฆ์สาวก บัดนี้ข้าพะเจ้าจักกล่าว ซึ่งธรรมะขันธ์โดยสังเข็บ ตามสติปัญญา ฯ ยังมีท่านคน ๑ รักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้ศุขพ้นภัยเทียวผายผัน เขาบอกว่าศุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน นิสสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกศุขไม่หาย เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ฯชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์ทลาย แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ทำเมินไปเมินมาอยู่น่าเขา จะกลับไปป่าวร้องซึ่งพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเปนบ้าบอ สู้อยู่ผู้เดียวหาเรื่องเครื่องสงบ เปนอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ เดี่ยวถูกยอถูกติเปนเรื่องเครื่องรำคาน ฯ ยังมีบุรุษคน ๑ อีกกลัวตายน้ำไจฝ่อ

    (หน้าที่ ๒)
    มาหาแล้วพูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน เห็นธรรมที่จรีงแล้วหรือยังที่ไจหวัง เอ๊ะ ทำไมจึงรู้ไจฉัน บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาไสย ท่านว่าดีๆ ฉันอะนุโมทะนา จะพาดูเขาไหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายะคะตาสติภาวะนา ชมเล่นไห้เย็นไจหายเดือดร้อน หนทางจรอะริยะวงส์ จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ไช่หลอกเล่นบอกความไห้ตามจริง แล้วกล่าวปฤษณาท้าไห้ตอบ ปฤษณานั้นว่า ระวึง คืออะไร ตอบวิ่งเร็ว คือวิญญาณอาการไว เดินเปนแถวตามแนวกัน สัญญาตรงไม่สงไสย ไจอยู่ไนวิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิตร ทำไห้คิตวุ่นวายเที่ยวส่ายหา หลอกเปนธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่าห้าขันธ์ไครพ้นจนทั้งปวง แก้ว่าไจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิษหวง หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาลวงไม่ได้หมายหลงตามไป ถามว่า ที่ตายไครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารเขาตายทำลายผล ถามว่าสิ่งไดก่อไห้ต่อ

    (หน้าที่ ๓)
    วน แก้ว่ากลสัญญาพาไห้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิดติดยีนดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน เลยลืมจิตรจำปิดสนิดเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น ถามว่าไครกำหนดไครหมายเปนธรรม แก้ว่าไจกำหนด ไจหมายเรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดีคว้าชั่วผลักติดรักชัง ถามว่ากินหนเดียวไม่เที่ยวกิน แก้ว่าสี้นอยากดูรู้ไม่หวังไนเรื่องเหนต่อไปหายรุงรัง ไจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย ถามว่าสระสี่เหลี่ยมเปียมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสี้นอยากจากสงสัย สอาดหมดราคีไม่มีภัย ฯ สัญญาไนนั้นภาคสังขาระขันธ์นั้นไม่กวน ไจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบระงับดวงจิตร ไม่คิดครวญ เปนของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสีบแสน ก็ไม่เหมือนรู้จรีงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำสัญ จำอยู่ส่วนจำไม่ก้ำเกิน ไจไม่เพลินทั้งสี้นหายดี้นรน เหมือนดังว่ากระจกส่องเงาหน้า แล้วอย่าคิดติดสัญญา เพราะว่าสัญญานั้นเหมือนดังเงา อย่าได้เมาไปตามเรี่องเครื่องสังขาร ไจขยันจับไจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป ไจไม่เที่ยวของไจไช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชะนิดเมื่อจิตรไหว แต่ก่อนนั้น

    (หน้าที่ ๔)
    หลงสัญญาว่าเปนไจ สำคัญว่าไนว่านอกจึงหลอกลวง คราวนี้ไจเปนไหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาไดมิได้ห่วง เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา เปียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้ แลเหนดีนแลเหนสี้นทุกตัวสัตว์ แก้ว่าสูงยี่งนักแลเหนเรื่องของตนแต่ต้นมา เปนมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได ถามว่าน้ำขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ตอบว่าสังขารแปรแก้ไม่ได้ ธรรมะดากรรมแต่งไม่แกล้งไคร ขืนผลักไสจับต้องก็หมองมัวชั่วไนจิตร์ ไม่ต้องคิดขัดธัมมะดาสะภาวะสี่งเปนจรีง ฯ ดีชั่วตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเปนการเย็น รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารที่ผันแปรเมื่อแลเหน เบื่อแล้วปล่อยได้คร่องไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็เย็นไจระงับรับอาการ ถามว่าห้าน่าที่มีครบกัน ตอบว่าขันธ์แบงแจกแยกห้าฐาน เรื่องสังขารต่างกองรับน่าที่มีกิจการ จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มไนตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสะภาพตามเปนจริง ทั้งแปดอย่างไจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก่ ไข้มีได้เว้น นามก็มีได้พักเหมือน

    (หน้าที่ ๕)
    จักร์ยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา เรื่องดีพาเพลิดเพลินเจริญไจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตร์คิดไม่หยุด เหมือนไฟจุดจิตร์หมองไม่ผ่องไส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไปโทษใคร อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เปนของพ้น วิไสจะได้เชย เช่นไม่อยากไห้จิตร์เที่ยวคิดรู้ อยากไห้อยู่เปนหนึ่งหวังพึ่งเฉย จิตร์เปนของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเปนครั้งคราว ถ้ารู้เท่าธรรมะดาทั้งห้าขันธ์ ไจนั้นก็ขาวสอาดหมดมลทีนสี้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเหนจริงถอนหลุดสุดวิถี ไม่ฝ่าฝืนธัมมะดาตามเปนจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกไน ดีหรือชั่วต้องดับเรื่อนรับไป ยึดสิ่งไดไม่ได้ตามไจหมาย ไจไม่เที่ยวของไจไหววิบวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยี่ง เล็กบังไหญ่รู้ไม่ทัน ขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี้ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เหนเปนธุลีไป ส่วนธรรมมีไหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล ถามว่ามีไม่มี ไม่มีมี นี้คืออะไร ที่นี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ไห้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดไช่สัตว์คน นี้ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง

    (หน้าที่ ๖)
    ข้อปลายไม่มีมีนี้เป็นธรรม ที่ล้ำลึกไครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่หมั่นคง นั้นและองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็น ๑ ไม่แปรผัน เลิศภพสงบยี่ง เปนอารมณ์ของไจไม่ไหวตีง ระงับนี่งเงียบสงัดชัดกับไจ ไจก็ส่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอย่ากถอนได้หมดปลดสงสัย เรื่องพัวพันขันธ์ ๕ ชาสี้นไป เครื่องหมุนไนไตรจักร์ก็หักลง ความอยากไหญ่ยี่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิดสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังไจจง ฯเชิญโปรดชี้อีกสักอย่างหนทางไจ สมุทัยของจิตร์ที่ปีดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างไหญ่นัก ย่อลงก็คือความรักบีบไจอาลัยขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตร์เปนนิจจ์นิรันตร์ เปนเลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิธีจิตร์ ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เปนนิตย์ติดยีนดี ไจตกที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิตร เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะศุกข์ทุกข์เท่าไรมิได้กลัว ส่างจาก

    (หน้าที่ ๗)
    เครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน พอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรรู้ธรรมลืมจิตรที่ติดธุลี ไจรู้ธรรมที่เปนศุขขันธ์ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม ขันธ์คงขันธ์เท่านั้น และคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตรถอนจากผิดที่ติดแท้ แต่ส่วนสังขาระขันธ์ปราศจากศุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ ตายไม่วายวัน จิตรรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตรก็ถอนจากผิดเครื่องเสร้าหมองของแสลง ผิดเปนโทษของไจอย่างร้ายแรง เหนธรรมแจงถอนผิดหมดพิษไจ จิตรเหนธรรมดีล้นที่พ้นผิด พบปะธรรมเปลื้องเครื่องกระสัน มีสติอยู่ไนตัวไม่พัวพัน เรื่องรักขันธ์ขาดสี้นหายยีนดี สี้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงไย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสสัย เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งพ้นยุ่งไป พึงรู้ได้ว่าบาปมีขื้นเพราะขืนจริง ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยี่ง ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสี่งย่อมทุกข์ไม่ศุขเลย แต่ก่อนข้าพะเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเหนธรรมยึดไจจะไห้เฉย ยึดความจำว่าเป็นไจหมายจนเคย

    (หน้าที่ ๘)
    เลยเพลีนเชยชมจำทำมานาน ความจำผิดปิดไว้ไม่ไห้เหน จึงหลงเล่นขันธ์ห้าน่าสงสาร ไห้ยกตัวอวดตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเปนพื้นไปไม่เปนผล เที่ยวดูโทษคนอื่นนั้นขื่นไจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม ไครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ไจของเราเพียงระวังตั้งถนอม อย่าไห้อะกุสลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุสลผลสบาย เหนคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เปนราคียึดขันธ์ที่หมั่นหมาย ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยชำร้ายกิเลศกลุ้มเข้ารุมกวน เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งกลัวนักหนักจิตคิดโหยหวน ช้ำอารมณ์กามห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่างๆ ไป เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ภัยไปได้นา ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าชาเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ไจเคย คงได้เชยชมธรรมะอันเอกวิเวกจิตร ไม่เที่ยงนั้นหมายไจไหวจากจำ เหนแล้วช้ำดูๆ อยู่ที่ไหว พออารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม เหนธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิตร ๆ นั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้

    (หน้าที่ ๙)
    วิธีไจ รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตรต้นพ้นริเริ่ม คงจิตรเดิมอย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิตรพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตรผิดทันที คำที่ว่ามืดนั้น เพราะจิตรคิดหวงดี จิตรหวงนี้ปลายจิตรคิดออกไป จิตรต้นดีเมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เหนธรรมะอันเลิดล้ำโลกา เรื่องคิดค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดได้หมดสิ้น ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ไจเชื่องชิดต้นจิตรคิดไม่ครวญ ธรรมะดาของจิตรก็ต้องคิดนึก พอรู้สึกจิตรต้นพ้นโหยหวน เงียบสงัดจากเรื่องเครื่องรบกวน ธรรมะดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงทีไม่มีเลย ระวังไจเมื่อจำทำละเอียด มักจะเบียดไห้จิตรไปติดเฉย ไจไม่เที่ยงของไจซ้ำไห้เคย เมื่อถึงเวยหากรู้เองเพลงของไจ เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสะนูปะกิเลศ จำแรงเพศเหมือนดังจริงทีแท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเหน ไม่ไช่เช่นฟังเข้าไจชั้นไต่ถาม ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ไช่ความเหนเองจงเลงดู รู้ขึ้นเองไช่เพลงคิด

    (หน้าที่ ๑๐)
    รู้ต้นจิตร ๆ ต้นพ้นโหยหวน ต้นจิตรรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ไช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตรคงรู้จิตรเองเพราะเพลงไหว จิตรรุ้ไหวๆ ก็จิตรติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตรเปนสองอาการ เรียกว่าสัญญาพาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเลงไคร ไจรู้เสื้อมของตัวก็พ้นมัวมืด ไจก็จืดสี้นรสหมดสงสัย ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอกไน ความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย ทั้งโกรธรักเครื่องหนักไจก็ไปจาก เรื่องไจอยากก็หยุดได้หายหวนโหย พ้นหนักใจทั้งหลายหายโอดโอย เหมือนฝนโปรยไจไจเย็นเหนด้วยไจ ไจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตรต้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง อยู่เงียบๆ ต้นจิตรไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตรสี้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิตร ท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว ยังอีกอย่างทางไจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ไห้พิศะดารเปนการดี ตอบว่าสมุทัย

    (หน้าที่ ๑๑)
    คืออาลัยรัก เพลินยิ่งนักทำภพไหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต่ำกามะคุณห้าเปนราคี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน ถ้าจะจับตามวิธีมีไนจิตร ก็เรื่องคิดเพลินไปไนสังขาร เพลินทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเปนการดีไปไห้เจริญจิตร ไปไนส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งสร้านไหญ่ เที่ยวเพลินไปไนผิดไม่คิดเขิน สิ่งไดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เหนเปนไฉน โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำไห้เราตกนะรกเลย ฯ โทษของเราเสร้าหมองไม่ต้องมาก ส่งวิบากไปตกนะรกแสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไวไห้ไจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชยชมศุขพ้นทุกข์ภัย เมื่อเหนโทษตนชัดรีบตัดทิ้ง อ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้ เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เปนโทษไหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง ดีแลไม่ดีนี้เปนพิษของจิตรนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เปนเดิม ความอยากดีมี

    (หน้าที่ ๑๒)
    มากมักลากจิตร ไห้เทียวคิดวุ่นไปจนไจเหิม สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยี่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม ที่จรีงชี้สมุทัยนี้ไจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างนุงทางยุ่งยี่ง เมื่อชี้มรรคฟังไจไม่ไหวติง ระงับนิ่งไจสงบจบกันที ฯ อันนี้ชื่อว่าขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ ประจำอยู่กับที ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา สะภาวะธรรมทีเปนจริงสี่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน สี้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ฯ ผิดหรือถูกจงไช่ปัญญาตรองดูไห้รู้เถิด ฯ

    พระภูริทัตโตฯ (หมั่น)
    วัดสระประทุมวัน
    เป็นผู้แต่ง ฯ

    t=108&_nc_ohc=bVJsyUT08IIAQlqqhiNcPdwJNZz7ev1b4aIJ-jmjc4nNAio7y-KMFJ_cQ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=111&_nc_ohc=1wANSManp-QAQn_ePKKMDK_zWhXNhR8WgHvdw1w5ig5Nxo0ny8GON0N5Q&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=111&_nc_ohc=9qAm9h9av3MAQnRNeVDuFJuUAl8RgS8iSsv8M2DjfQ1-vpvXIeNV9ARpg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=107&_nc_ohc=GOyRNAfPfiUAQnBxBkQfAJntKxFEpoMZHITOLYGZ5AisoCGD8uUlqcYpA&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=103&_nc_ohc=e2xO-vVPtqgAQlAellWfIDtM_oAm9VqBbDWV9ph1jlysJYKfNlHhhAiEg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=102&_nc_ohc=LqXx-wGrBDQAQlvAex8h7eRq542N4mFFDmGSAIaoYGEraFa0sA4kqa1Hg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=103&_nc_ohc=kFyvgkceErcAQkDZiLtEKUB2K6lnP4VCf-6jzUYUfU0rAGWViNRjIG6PQ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=102&_nc_ohc=TCmiwufnJPUAQkEbb2AvYN-Si1QcmJclXY9xjLaKs5j3eLQgXHP9w1eow&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=101&_nc_ohc=YpN5dyj9xEUAQnXAQlG0SSjiQK72sjxgh4atD-STI1c1KmNd9uLPld3vw&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=104&_nc_ohc=1adxLajudUcAQmw2jVyO6DK9Q9oZVsY_gR5UuE6g2oRBige9DFyfjGMzg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=104&_nc_ohc=rY8W0_wu-UIAQk8T8iBUT3JhGEcfLnwHSdSQHLv8pFR7qER1SOFLJLyiA&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    t=105&_nc_ohc=_GeGPqTEdO4AQl-1dPs2UsXQdWbq4FDT5ZgQwSlveAbiVfqPcNPNVK-XQ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
    เครดิต เพจต้นโพธิ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...