ปิดรายการ..."ปลิงไม่เกาะ" "พระระฆังหลังฆ้อน"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย parata1, 14 ตุลาคม 2012.

  1. parata1

    parata1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,447
    ค่าพลัง:
    +326
    "ปลิงไม่เกาะ" นี่คือคำจำกัดความ ที่มีต่อ ความวิเศษของ "พระระฆังหลังฆ้อน"
    ผม ขอเอาคำอธิบาย ของกระทู้ๆหนึ่ง ใน G พระ มาลงเสนอนะครับเพราะผมอ่านดูแล้วมีคำอธิบายทุกอย่างและรายละเอียดที่เป็น ข้อมูลของ "พระระฆังหลังฆ้อน" ที่เห็นหากใครมีความประสงค์อยากจะบูชาสอบถามผมมาทางโทรศัพท์ครับผม
    นอก เหนือจากพระตระกูลสมเด็จอันได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และ พระปิลันทธ์ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์( ทัด ) ซึ่งสร้างต่อเนื่องสืบกันมาจนถึงสมัย หลวงปู่นาค จวบจนปัจจุบัน พระเครื่องอีกชนิดที่ได้รับความนิยมตลอดจนยอมรับเล่นหากันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ พระระฆังหลังค้อน ซึ่งนักสะสมรุ่นก่อน ๆ เชื่อถือในประสบการณ์ด้านคงกระพันถึงขนาดให้คำจำกัดความไว้ว่า " ปลิงไม่เกาะ" อันแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ทางด้านมหาอุตม์และคงกระพัน ที่ได้รับการเชื่อถือมาเป็นเวลายาวนาน
    พระระฆังหลังค้อนจัดเป็นพระเครื่องขนาดเล็กมีขนาดความกว้างประมาณ1.3ซม.สูงประมาณ
    2 ซม.ด้านหน้าปรากฏพุทธลักษณะเป็นรูปพระปฏิมากรปางสมาธิ ประทับบนอาสนะบัว 2 ชั้น ระหว่างพระเพลา กับอาสนะมีฐานเขียงกั้น องค์พระอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ผนังพื้นด้านหน้าข้างองค์พระจะปรากฏใบโพธิ์ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม รายรอบพระเศียร ด้านหลังเป็นพื้นเรียบ ตรงกลางมักมีรอยบุ๋มเป็นแอ่ง คล้ายรอยค้อนที่ใช้ตบแต่งพื้นด้านหลังพระหลังจากที่หล่อให้เรียบร้อยอันเป็น ที่มาของชื่อที่ใช้เรียกขานพระพิมพ์นี้ บางองค์ที่หลังเรียบสนิท จะมีรอยตะไบตบแต่ง เพื่อให้พระเรียบร้อยสวยงาม เนื้อหาของพระระฆังหลังค้อน เป็นพระเครื่องเนื้อโลหะทองผสม แก่ทองเหลือง การหล่อนั้น ส่วนใหญ่จะนำแผ่นยันต์ของพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี และชนวนหล่อพระของเก่าที่ใช้หล่อในพิธีสำคัญต่าง ๆ ในสมัยนั้น มาร่วมหล่อด้วย
    สำหรับ ผู้สร้างในปัจจุบันยังแบ่งความเชื่อออกเป็น 2 กระแส กระแสหนึ่งว่า สร้างโดยและปลุกเศกอาจารย์พา พระลูกวัดระฆังฯ แล้วหลังจากนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(มรว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นเพียงผู้นำมาแจกจ่าย
    ส่วนอีกกระแสหนึ่งเห็นว่า การหล่อพระแบบโบราณ มีพิธีการสร้างที่ยุ่งยากและซับซ้อน ยิ่งเป็นการสร้างพระหล่อในยุคสมัยนั้น นับเป็นเรื่องใหญ่โตมาก อาจารย์พา เป็นเพียงพระลูกวัดไม่น่าที่จะทำสำเร็จได้เพียงลำพัง
    ซึ่งหากประมูลข้อมมูลตามหลักฐานที่ปรากฏจึงน่าจะเป็นการดำเนินการของพระอาจารย์พา ในฐานะแม่งานที่ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานแทนสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ ซึ่งมีอายุมากเข้าสู่บั้นปลายของชีวิต และเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ส่วนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์น่าจะมีส่วนร่วมในการจัดหาวัสดุอุปรณ์ให้พอเพียง แก่การสร้างพระเป็นจำนวนมาก อีกทั้งช่วยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาร่วมในพิธีพุทธา ภิเษก ซึ่งพระระฆังหลังฆ้อนมีการสร้างขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรก สร้างและประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม ส่วนครั้งต่อมา ประกอบพิธีกันที่หอกลาง คณะ1 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
    หาก จะแยกแยะถึงพระที่หล่อในครั้งแรกและครั้งที่2 ดูจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีจำนวนพระมากและหล่อด้วยกรรมวิธีโบราณและมีหลายพิมพ์ทรง ส่วนใหญ่นักสะสมจะแยกแยะจากกระแสเนื้อหาของพระเป็นหลัก โดยพระที่จัดสร้างขึ้นครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกเหลืองแบบทองดอกบวบ บางองค์จะออกกระแสเหลืองอมเขียว ส่วนที่สร้างในครั้งต่อมา กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อน ส่วนพระที่กระแสเนื้อออกแดงเข้มคล้ายสีทองแดงเถื่อนหรือที่เรียกว่าเป็น เนื้อสัมฤทธิ์เท่าที่พบเข้าใจว่าเป็นเนื้อโลหะก้นเบ้าไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เป็นพระที่สร้างครั้งแรกหรือครั้งหลัง
    ประวัติ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(มรว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา ) องค์นี้เป็นคนละองค์กับ สมเด็จฯ แห่งวัดเทพศิรินทร์ และเขาบางทรายที่มีความสัมพันธ์เป็นองค์อุปัฌาช์ของท่านเจ้าคุณนรฯ
    ทรง มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นโอรสของหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา
    เกิด ที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก เป็นที่ซึ่งบิดาตั้งบ้านเรือนอยู่จวบจนในรัชสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงย้ายตามบิดาเข้ามาในพระนคร และเริ่มต้นเรียนอักขระสมัยในสำนักบิดาก่อน แล้วจึงเรียนบาลีที่สำนักอาจารย์จีน จนมีอยุได้ 7 ชันษา หม่อมเจ้าถึกจึงนำเข้าถวายเป็นศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) แห่งวัดระฆังเมื่อครั้งยังเป็นเปรียญอยู่ที่วัดระฆังและต่อมาได้เรียนพระ ปริยัติธรรมที่สำนักนี้ และอีกหลายสำนักเช่น สำนักพระอมรเมธาจารย์(เกษ), สำนักหม่อมเจ้าชุมแสงผู้เป็นลุง, สำนักพระโหราธิบดี(ชม) นอกจากนี้ที่สำคัญยังได้ร่ำเรียนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง) แห่งวัดสุทัศน์จนถึงปีพศ.2413 จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆษิตาราม จนกระทั่งอายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับเป็นนาคหลวง และได้อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) โดยมีหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทธ์เป็นองค์อุปัชฌาช์มีฉายาว่า ญาณฉันโท โดยทางการศึกษาท่านสามารถสอบเปรียญ 3 ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่อปี พศ.2413 และต่อมาในปี พศ. 2419 สามารถสอบได้เปรียญ 4 พศ.2425 สอบได้เปรียญ5
    จาก นั้นเมื่อถึงพศ. 2430 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามพิเศษ(โดยปรกติตำแหน่งของพระจะมีราชทินนามอยู่แล้วเช่นสมเด็จพระ พุทโฆษาจารย์ ราชทินนามพิเศษเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่เท่านั้น)ที่ พระราชานุพัทธมุนี โปดให้อาราธนาไปครองวัดโมลีโลกยารามเป็นปฐม และต่อมาในปี พศ.2435 หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒจารย์(ทัด)ย้ายไปครองวัดพระเชตพนฯ จึงอาราธนาให้ท่านมาครองวัดระฆังฯจากนั้นเป็นต้นมา หวังข้อมมูลนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจนะครับ ว่าง ๆ มีอะไรที่เป็นสาระน่ารู้จะลองมาเรียบเรียงให้ฟังใหม่ครับ มีข้อผิดพลาดขออภัยด้วยครับ สำหรับผู้ที่รู้แล้วขอขอบคุณที่สนใจเข้ามาชมครับผม....

    สนใจสอบถามทาง pm หรือโทร 085-1806452
    วีระพงษ์ ทวะชาลี
    511-296-212-2 ธ.ไทยพาณิชย์
    ออมทรัพย์ ขอนแก่น

    [FONT=Verdana, Helvetica, Arial, sans-serif]


    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ตุลาคม 2012
  2. parata1

    parata1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,447
    ค่าพลัง:
    +326
    สวยมากครับ ขอทราบราคาทาง pm ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  3. parata1

    parata1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,447
    ค่าพลัง:
    +326
    สวยงามครับ ขอทราบราคาทาง pm ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ตุลาคม 2012
  4. parata1

    parata1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,447
    ค่าพลัง:
    +326
    ....ขอปิดรายการนี้ให้กับคุณพี่หลังไมค์แล้วครับผม....ขอบคุณครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...