ปลูกป่าปลูกใจ ปิดเทอมพบธรรม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชัยบวร, 1 มิถุนายน 2013.

  1. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ปลูกป่าปลูกใจ ปิดเทอมพบธรรม

    ป่าชุมชนบ้านพุยาง ต. ทุ่งหลวง อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติบนพื้นที่ 2,000 ไร่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนจากกรมป่าไม้เมื่อปี 2550

    เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าเสื่อมโทรมต่อมาได้รับการพัฒนาจนสามารถคืนกลับมาเป็นป่าอุดมของคนในชุมชน ด้วยการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน พระสงฆ์ และกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นพลังสำคัญในการริเริ่มคืนลมหายใจให้ป่าชุมชนผืนนี้

    "กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมสันติการาม" คือกลุ่มพลังเยาวชนรุ่นใหม่ เกิดจากการรวมตัวของนักเรียนโรงเรียนวัดสันติการาม ต. ทุ่งหลวง อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี เริ่มต้นเข้าไปทำงานรักษาดูแลป่าด้วยการนำพันธ์ไม้ไปปลูก ขุดหลุมน้ำทำฝาย ซ่อมแซมต้นไม้ที่เสียหาย

    อาจารย์ณฐพร พรหมโม อาจารย์โรงเรียนวัดสันติการามและอาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมสันติการาม เล่าว่า "กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมสันติการามเป็นกลุ่มเยาวชนระหว่าง 13 - 18 ปี รวมพลังจิตอาสาโดยส่งไม้ต่อกันจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 9 แล้ว เราจะมีกิจกรรมกันประมาณเดือนละครั้ง แต่ละครั้งที่มาเราจะตั้งจุดประสงค์กันว่าจะมาทำอะไรกันบ้าง นอกจากได้สร้างประโยชน์ให้ป่าแล้วอีกนัยหนึ่งคือการผสานความสัมพันธ์ระหว่างเด็กด้วยกันเอง และเด็กกับวัด รวมทั้งคนในชุมชนด้วย"

    นอกจากพื้นที่ป่าชุมชนพุยางแล้ว ป่าบริเวณสำนักสงฆ์พุยางจำนวน 100 ไร่ ภายในเขตพื้นที่ดำเนินงานเดียวกันยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพุทธอุทยาน โดยการดูแลของท่านพระครูสมุห์สุรพล สุรปัญโญ เจ้าสำนักสงฆ์พุยาง ที่เริ่มเข้ามาบุกเบิกถากถางป่าเสื่อมโทรม ปลูกต้นไม้ยืนต้นให้ร่มเงา สร้างที่พักสงฆ์ กระทั่งปัจจุบันพื้นที่สำนักสงฆ์แห่งนี้พัฒนามาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านและจุดนัดพบทำกิจกรรมดูแลป่าของกลุ่มเยาวชน

    พระครูสมุห์สุรพล สุรปัญโญ เจ้าสำนักสงฆ์พุยาง อีกหนี่งแรงผลักดันสำคัญที่นำกลุ่มเยาวชนทั้งนักเรียนและสามเณรเข้าไปพลิกฟื้นผืนป่า เล่าว่า ก่อนจะปลูกป่าเราต้องเริ่มปลูกใจตนก่อน หากคนในพื้นที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและผืนป่าของตนเองแล้วก็เป็นเรื่องง่ายที่จะร่วมมือกันดูแลรักษาป่าให้คงอยู่

    พื้นป่าชุมชนพุยางแห่งนี้ได้รับการดูแลโดยหลักบวร คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ตั้งแต่รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง สัมผัสมือส่งต่องานกันจากรุ่นสู่รุ่นด้วยพลังจิตอาสาที่เข้มแข็งทำให้วันนี้ป่าที่เคยเสื่อมโทรมกลับมามีลมหายใจใหม่อีกครั้ง

    นภาวัลย์ มาเหมาะโชค หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0004.psd
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      30
    • scan0006.psd
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      38

แชร์หน้านี้

Loading...